แผนที่กรุงเทพ

  • แผนที่กรุงเทพ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • การเดินทาง
  • งานประเพณี
  • สถานที่ท่องเที่ยว

Grand Palace

กรุงเทพมหานคร หรือ บางกอก เมืองหลวงของประเทศไทยเริ่มก่อตั้งภายหลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงครองราชย์ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชจักรีวงศ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน เดือนห้า แรม 9 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2325 พระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแนวคูเมือง ทางด้านตะวันตกและด้านใต้ อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือแนว คลองหลอด ตั้งแต่ปากคลอง ตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตารางกิโลเมตร บริเวณที่สร้างพระราชวังนั้น เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชเศรษฐีและชาวจีน ซึ่งได้โปรดให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กอง คุมการก่อสร้าง ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิพย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที (21 เมษายน 2325) พระราชวังแล้วเสร็จเมือง พ.ศ. 2328 จึงได้จัดให้มีพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบแผนรวมทั้งงานฉลองพระนคร โดยพระราชทานนามพระนครใหม่ว่ากรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์" และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รวมจังหวัดธนบุรี เข้าไว้ด้วยกัน กับกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515

กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต คือ พระนครป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ บางรัก ยานนาวา สาธร บางคอแหลม บางซื่อ ดุสิต พญาไท ราชเทวี หัวยขวาง ดินแดง ประเวศ สวนหลวง จตุจักร ลาดพร้าว หนองจอก ลาดกระบัง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ หนองแขม พระโขนง บางนา คลองเตย วัฒนา บางเขน สายไหม ดอนเมือง หลักสี่ บางกะปิ วังทองหลาง บึงกุ่ม คันนายาว สะพานสูง มีนบุรี คลองสามวา ภาษีเจริญ บางแค บางขุนเทียน บางบอน ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา

ทางบก
มีรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการ วิ่งบริการในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ให้บริการตั้งแต่เวลา 04.00-23.00 น. และในบางสายเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีรถรับจ้างอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา ติดต่อสอบถามเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ที่ โทร. 184 หรือ www.bmta.co.th

ทางน้ำ
มีบริการเรือโดยสารข้ามฟากบริเวณท่าช้าง ท่าพระจันทร์ ท่าเตียน ท่าเทเวศร์ ท่าคลองสาน ท่าสี่พระยา ฯลฯ และบริการเรือด่วนเจ้าพระยาไปจังหวัดนนทบุรีทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-18.00 น. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา โทร. 0 2225-3002-3 นอกจากนี้ยังมีเรือหางยาววิ่งไปตามคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองบางกอกน้อย และวิ่งไปตามคลองต่างๆ เป็นต้น สอบถามเส้นทางเดินเรือได้ที่ สำนักการจราจร และขนส่ง กองการขนส่ง โทร. 0 2910 3709-10

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการเดินรถไฟไปตามสถานีรถไฟชานเมืองภายในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ สายเหนือ และสายอีสาน วิ่งไปถึงสถานีรถไฟดอนเมือง สายตะวันออก วิ่งไปถึงสถานีรถไฟหัวตะเข้ และสายใต้ วิ่งไปถึงสถานีรถไฟตลิ่งชั้น ติดต่อสอบถามตารางเวลา และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟ หัวลำโพง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 และ 1690 หรือ www.railway.co.th

รถไฟฟ้ามหานคร (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในเส้นทางสายบางซื่อ-หัวลำโพง รวมทั้งสิ้น 18 สถานี อัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ราคา 14 บาท สูงสุดที่ราคา 36 บาท โดยในปีแรกนับจากวันที่เปิดให้บริการ ทางบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL) มอบส่วนลด 15% ให้กับผู้ใช้บริการทุกท่าน โดยเริ่มต้นที่ราคา 12 บาท สูงสุดที่ราคา 31 บาท เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2354 2000 หรือเว็บไซต์ www.bangkokmetro.co.th

รถไฟฟ้า บีทีเอส
รถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ใน 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท ซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 1" และสายสีลม ซึ่งได้รับชื่อพระราชทานว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สาย 2" เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 10 บาท สูงสุดที่ราคา 40 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2617 7141-2 หรือเว็บไซต์ www.bts.co.th 

การเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทางรถยนต์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพฯ (บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประมาณ 24 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางเท่ากับไปดอนเมือง โดยมีเส้นทางที่สะดวก 3 เส้นทางคือ คือ
1. เส้นทางมอเตอร์เวย์ วิ่งมาออกทางด่วนสาย กรุงเทพฯ-ชลบุรี ผ่านวงแหวนรอบนอก และชิดซ้ายเข้าสนามบิน
2. เส้นทางบางนา-ตราด กม.ที่15 มีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าสนามบิน ถ้าใช้ทางด่วนบูรพาวิถีต้องลงที่บางพลีก่อน
3. เส้นทางฝั่งถนนร่มเกล้า วิ่งมาผ่านวงแหวน ผ่านป้าย Free Zone เลยมาอีกเล็กน้อยก็ถึงอาคารผู้โดยสาร

สำหรับรถแท็กซี่มิเตอร์จากสนามบินไปยังสถานที่ต่าง ๆ คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 50 บาทจากปกติ

รถประจำทาง 
มี 7 สาย ค่าโดยสารตามระยะทางประมาณ 12-35 บาท
1. สาย 549 สุวรรณภูมิ - มีนบุรี - บางกะปิ (ผ่านถนนลาดกระบัง-ร่มเกล้า-สีหบูรณานุกิจ-เสรีไทย)
2. สาย 550 สุวรรณภูมิ - แฮปปี้แลนด์ (ผ่านถนนลาดกระบัง-อ่อนนุช-ศรีนครินทร์)
3. สาย 551 สุวรรณภูมิ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) (ผ่านถนนพระราม 9 -ถนนอโศก-ดินแดง-ถนนราชวิถี)
4. สาย 554 สุวรรณภูมิ - รังสิต (ทางด่วน) (ผ่านถนนวงแหวนตะวันออก-รามอินทรา-แจ้งวัฒนะ-วิภาวดี- ดอนเมือง-รังสิต)
5. สาย 552 สุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช (ผ่านบางนา-ตราด - ถนนสุขุมวิท)
6. สาย 553 สุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ (ผ่านถนนลาดกระบัง-วัดกิ่งแก้ว-บางนา-บางปะกง-ศรีนครินทร์-สุขุมวิท- ถนนสายลวด)
7. สายเฉพาะกิจ ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ ผ่านถนนวิภาวดีรังสิต-แยกดินแดง-ทางด่วนพระราม 9 - ศรีนครินทร์-มอเตอร์เวย์

รถแอร์พอร์ตบัส
มี 4 เส้นทาง ค่าโดยสาร 150 บาทตลอดสาย
- สาย AE1 สุวรรณภูมิ-สีลม (ทางด่วน)
- สาย AE 2 สุวรรณภูมิ-บางลำภู (ทางด่วน)
- สาย AE 3 สุวรรณภูมิ-ถนนวิทยุและสุวรรณภูมิ-สุขุมวิท 3 (นานาเหนือ)
- สาย AE 4 สุวรรณภูมิ-หัวลำโพง (ทางด่วน)

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถกรุงเทพ - สุวรรณภูมิ(หัวตะเข้) 7:30 น และ 16:00 น เป็นรถปรับอากาศ ค่าโดยสาร 50 บาทตลอดสาย เมื่อลงรถไฟต้องต่อรถโดยสารเข้าสู่สนามบิน ค่าโดยสารคนละ 15 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1690 ตารางรถไฟสายตะวันออกคลิ้กที่นี่

การเดินทางจากสนามบินไปยังต่างจังหวัดทางรถยนต์
บริษัทขนส่งจำกัดจัดระโดยสารปรับอากาศในเส้นทางต่อไปนี้

1. สุวรรณภูมิ - พัทยา
2. สุวรรณภูมิ - ตลาดโรงเกลือ (อรัญประเทศ)
3. สุวรรณภูมิ -หนองคาย

ติดต่อสอบถาม
ประชาสัมพันธ์สนามบิน โทร. 0 2132 1888 

งานนมัสการพระบรมบรรพต หรืองานวัดภูเขาทอง
บรมบรรพต หรือภูเขาทองนี้ สร้างเป็นรูปภูเขามีพระเจดีย์อยู่บน ยอด มีบันไดเวียนขึ้นทางทิศเหนือและทิศใต้ การสร้างนี้ได้เริ่มขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 พร้อมพระราชทานนามว่า "พระเจดีย์ภูเขา ทอง" แต่เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นดินอ่อนพระเจดีย์จึงทรุดลง ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทำการปรับปรุงและเปลี่ยนนามเป็น "บรม บรรพต" การปรับปรุงซ่อมแซมนี้ได้ดำเนินมาจนแล้วเสร็จในสมัย รัชกาลที่ 5 และได้โปรดให้ตัดถนน ถมคลอง และทำสะพานเพื่อ ความสะดวกในการเข้าไปยังลานบรมบรรพต

บรมบรรพตหรือภูเขาทองมีความสูงจากฐานถึงยอดพระเจดีย์ 63.6 เมตร ตกแต่งด้วยการบุโมเสค กระเบื้องสีจากอิตาลีที่องค์ พระเจดีย์เป็นสีทองสุกอร่าม และได้รับการปรับพื้นดาดฟ้าสร้าง พระเจดีย์ทิศ 4 มุม ภายในพระเจดีย์ใหญ่บนบรมบรรพตนี้ บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุจากกรุงกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย และพระ ทันตธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธองค์ไว้ด้วย ต่อมาในปี 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้ทรงบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์บนลูกแก้ว

งานนมัสการพระบรมบรรพตหรืองานวัดภูเขาทอง ได้เริ่มมีขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 3 และได้จัดให้มีงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันใน วันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวันแรม 3 ค่ำ เดือน 12 รวม 7 คืน 8 วัน โดยใน งานจะ มีการนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ที่ประดิษฐานอยู่ในพระ เจดีย์ใหญ่ และปิดทองพระอัฏฐารส พระพุทธรูปสำคัญของวัด มี การออกร้านขายสินค้า อาหาร มีการละเล่น มหรสพ และสวนสนุก สำหรับเด็กๆ ทุกวัน

ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์
งานสงกรานต์ วิสุทธิกษัตริย์ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.2478 โดยมีชาว วิสุทธิกษัตริย์กลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมกันจัดทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ในวัน สงกรานต์ รวมทั้งมีการปล่อยนกปล่อยปลา เล่นเข้าผี และมีมหรสพ มากมาย ซึ่งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ภายหลังได้ตั้ง ชื่องานว่า "ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์" และกำหนดให้จัด ขึ้นในวันที่ 12-13 เมษายน

พ.ศ.2489 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานเงินสมทบทุนให้จัดงานขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากระงับไประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2485-2488) และได้มีการประกวดเทพีสงกรานต์ขึ้นเป็นครั้งแรก

กิจกรรมในงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน มีการแห่พระพุทธรูป จากวัดตรีทศเทพมาประดิษฐาน ณ บริเวณงานย่าน ถนนวิสุทธิ กษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ มีการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นเมือง กีฬาสำหรับเด็ก กลางคืนมีมหรสพต่าง ๆ

ในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ มีการตักบาตรและ ประกวดเทพีสงกรานต์ในช่วงเช้า และการแสดงในยามค่ำคืน

งานวันปิยมหาราช จัดในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ทำเนียบรัฐบาล

งานลอยกระทง จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ( ขึ้น 15 เดือน 12 )

พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำเพื่อความเป็น สิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการบำรุงขวัญ เกษตรกรไทย โดยพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ แต่มีจุดประสงค์อย่าง เดียวกัน พระราชพิธีนี้กระทำต่อเนื่องกัน จึงเรียกว่า "พระราชพิธี พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ"

พระราชพิธีพืชมงคล เริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนพระราช พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสามัญว่า "พิธีแรกนา ขวัญ" สันนิษฐานว่ามีมาก่อนกรุงสุโขทัย ส่วนในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นพิธีสำคัญ เพราะมีตราไว้ในกฎมณเฑียรบาล ให้ถือเป็นพระ ราชพิธีที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำในเดือน 6 ต่อมาในสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ พระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ จะทำที่ท้องสนาม หลวงและพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธี พราหมณ์จะทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร แต่พิธีทั้งสองนี้ทำในวัน และเวลาเดียวกัน พระราชพิธีนี้ได้ถูกระงับไปครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2479-2502 เพราะเป็นระยะเวลาหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง แต่พิธีพืชมงคลก็ยังถือปฏิบัติอยู่

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ พ.ศ. 2503 และโปรดให้ กระทำทั้งสองพระราชพิธี คือ พระราชพิธีพืชมงคลและพระราช พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามโบราณราชประเพณี และให้เป็น พระราชพิธีต่อเนื่องกัน โดยพระราชพิธีพืชมงคลจะทำก่อน พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วัน ในเดือนพฤษภาคม

 

  • พระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่โดย ในบริเวณพระบรมมหาราชวังเมื่อแรกสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนคือ พระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ 132 ไร่ ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ในบริเวรวัง เหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชญ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บรรดาหมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้คือ
  • พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาทใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีการมงคล และบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ 
  • พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท อยู่ใกล้กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทใช้เป็นที่ประทับทรงพระราชพาหนะและประทับเปลื้องเครื่อง ในงานพระราชพิธีที่มีขบวนแห่
  • พระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2332 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่ชุมนุมมหาสมาคมสำหรับ พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชบริพารฝ่ายใน เข้ารับพระราชทานอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2419 ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชาธิบดี หรือชั้นประมุขของรัฐ นอกจากนี้ยังมีหมู่พระที่นั่งที่สำคัญอื่นๆ เช่น พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯลฯ
  • วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระมหามณีรัตนปฏิมากร และใช้เป็นที่ประกอบ พระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถและระเบียงรอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมาก วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาล สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ หอพระเทพบิดร (เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดรในสมัยรัชกาลที่ 6) พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนคร วัดจำลอง ฯลฯ
  •  ศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ด้านขวามือก่อนถึงทางเข้าพระราชวังส่วนใน จัดแสดงเหรียญกษาปณ์และเงินตรา ที่ใช้ในประเทศไทย รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณืของสำนักฝ่ายในเปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 09.00 น.-15.30 น. ไม่เสียค่าเข้าชม ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 225-0968 พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 น.-15.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม(สำหรับชาวต่างประเทศจะต้องเสียค่าเข้าชม 125 บาท ซึ่งรวมบัตรเข้าชมศาลาเครื่องราชอิสสริยยศและเหรียญกษาปณ์ ค่าเข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆและพระที่นั่งอภิเษกดุสิตด้วย) รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. 222-0094, 222-2208, 222-6889, 224-3273
  • ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาติไทย เมื่อจะสร้างบ้านเมือง ต้องมีการฝังเสาหลักเมืองรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝั่งเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมืองวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายในเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สูง 27 เซนติเมตร แล้วสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 แทนของเดิมที่ชำรุดเป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว มีอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปเจ้าพ่อสำคัญอีก 5 องค์คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
  • สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ เป็นสนามกว้างอยู่ใกล้กับกำแพงพระราชวังหลวง และติดกับกำแพงวังหน้า ด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ บริเวณนี้เป็นที่ทำนาของประชาชน เพิ่งจะมาเลิกในสมัยรัชกาลที่ 4 นอกจากจะใช้เป็นที่นาแล้ว ที่แห่งนี้ยังใช้เป็นที่ตั้งพระเมรุเผาศพของเจ้านาย จึงเรียกกันติดปากว่า ทุ่งพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่านามนี้ไม่เป็นมงคล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า "ท้องสนามหลวง" สืบมาจนในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงป้อมปราการของวังหน้า ทิศตะวันออกลงขยายพื้นที่สนามหลวงให้กว้างดังเช่นปัจจุบันมีเนื้อที่ 78 ไร่ ใช้เป็นที่ตั้งพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเจ้านายชั้นสูง รวมทั้งเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกีฬา ทั้งยังทรงโปรดฯ ให้ปลูกต้นมะขามไว้ดดยรอบสนามหลวงจำนวน 365 ต้นอีกด้วย
  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกว่าวัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราชเป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียน พระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์ ได้โปรดฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด ได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว 49 เมตร สูง 12 เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย
  • วัดอรุณราชวราราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีถนนอรุณอัมรินทร์เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดแจ้ง ต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีย้ายราชธานีจาก กรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีได้โปรดฯ ให้กำหนดเอาวัดแจ้งเป้นวัดในเขตพระราชฐาน ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ วัดนี้ได้รับ การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะเสร็จแล้วได้พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธารามหรือ วัดแจ้ง มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ พระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งมีความสูง 82 เมตร กว้าง 234 เมตร เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม" จัดเป็นพระอารามหลวง ชั้นวรมหาวิหาร เรียกชื่อเต็มว่า "วัดอรุณราชวรมหาวิหาร"
  • วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ฝั่งกรุงเทพฯ วัดนี้เป็นวัดหนึ่งในจำนวนวัดสำคัญประจำเมืองเอก 3 วัด (วัดเอกประจำเมือง ได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตุ) วัดราชบูรณะนี้เป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อ วัดเลียบ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชทานนามว่า "วัดราชบูรณะ" วัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 1-7 เว้นรัชกาลที่ 6 รัชกาลเดียว ในคราวสงครามมหาเอเซียบูรพา สถานที่สำคัญๆ ของวัดถูกระเบิดพังเกือบหมด โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราษฎร์บูรณะ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน
  • วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อยู่ที่ถนนราชบพิธบริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวง บดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์ จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ใน พระอุโบสถด้วยสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรักประดับมุกเป็นรูปดวงตราเครื่องราชอิสริยภรณ์ต่างๆ สวยงามมาก
  • วัดเทพธิดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย วัดนี้เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานแก ่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพเมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382 ได้รับพระราชทานนามวัดเทพธิดาราม สิ่งที่น่าสนใจวัดนี้ ได้แก่พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธานภายในโบสถ์ ที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม และที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์แบบอย่างในรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2383-2385 วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวบวชเป้นพระภิกษุ ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่งเรียกว่า "บ้านกวี" เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจเข้าขมได้ทุกวัน
  • วัดราชนัดดารามวรวิหาร อยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 เป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า โสมนัสวัฒนาวดี โดยในการก่อสร้างครั้งนี้ มีเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบและจัดหาที่ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาทที่วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือโปรดฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์ (นับเป็นแห่งที่ 3 ของโลก) มีความสูง 36 เมตร ประกอบด้วย เจดีย์ล้อมรอบ 37 องค์เพื่อให้เท่ากับ "โพธิปักขียธรรม 37 ประการ" ในปัจจุบันนี้โลหะปราสาทแห่งนี้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เพราะโลหะปราสาท ที่ประเทศอินเดียและศรีลังกา ได้ปรับหักพังไปหมดแล้ว
  • วัดมหาธาตุราชรังสฤษดิ์ ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ เดิมชื่อวัดสลัก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ พร้อมๆ กับพระบรมมหาราชวัง แล้วพระราชทานนามว่า "วัดนิพพานาราม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระศรีสรรเพชรญ์" เคยใช้เป็นที่สังคายนาพระไตรปิฏก หลังจากกรมพระราชวังบวรฯเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเปลี่ยนนามพระอารามใหม่ว่า"วัดมหาธาตุ" ส่วนคำว่า"ยุวราชรังสฤษดิ์"มาเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากทรงปฏิสังขรณ์แล้ว วัดนี้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย"
  • วัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ที่ถนนพระสุเมรุ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เป็นแม่กองก่อสร้างเคยเป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4,6,7 และ 9 เมื่อคราวทรงผนวช สิ่งที่น่าชมในวัดนี้ได้แก่ พระพุทธชินสีห์ พระรูปสมเด็จพระสมเจ้า 2 องค์คือ สมเด็จกรมพระยาปวเสศวิยาลงกรณ์และสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ตำหนักปั้นหยา และพระศาสดา พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900
  • วัดสะเกศ อยู่นอกกำแพงเมือง ริมคลองมหานาค ตรงที่บรรจบกับคลองบางลำพู เดิมเป็นวัดเก่าชื่อวัดสะแก ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอารามในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระราชทานนามว่าวัดสระเกศ ส่วนเจดีย์ภูเขาทองนั้นเริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเลียนแบบมาจากภูเขาทองในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" สูง 77 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพตเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดม ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของ พระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ขณะนี้กำลังทรงผนวชอยู่ที่อินเดีย ส่งพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวยในฐานะที่พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น
  • วัดสุทัศน์เทพวราราม ตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชประสงค์จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เป็นศรีสง่าแก่พระนคร ได้พระราชทานนามไว้ว่า "วัดมหาสุทธาวาส" แต่สร้างยังมิทันสำเร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านนภาลัยได้ทรงดำเนินงานต่อ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสุทัศน์เทพวราราม" สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วัดสุทัศน์ไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่นๆ เพราะมีสัตตมหา สถานเป็นอุเทสิกเจดีย์ (ต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา 7 ชนิด) แทนที่อยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) พระประธานของวัดที่ได้ชะลอมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย และบานประตูพระวิหาร ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยม ทางด้านการแกะสลักในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะคู่ที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 
  • เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มากเมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้าง โบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัทหลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ซ่อมใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.12 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุกๆ ปี เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2478 นี้เอง
  • วัดเบญจมบพิตร อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา เดิมเป็นวัดร้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า 2 วัดคือ วัดแหลม กับวัดไทรทอง โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศืเธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศืเป็นนายช่างออกแบบ และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ ซึ่งสร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเหลือมาจากการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรวบรวมพระปางต่าง ๆ ที่ได้นำมาจากหัวเมือง 25 องค์ ไว้โดยรอบ นอกจากนี้พระประธานของวัด ได้จำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ด้วย
  • วัดไตรมิตรวิทยาราม อยู่ที่ถนนเจริญกรุง (ใกล้หัวลำโพง) เดิมชื่อวัดสามจีน ภายในวัดมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์หนึ่ง เมื่อคราวเปลี่ยนที่ตั้ง ปูนที่หุ้มอยู่ได้กะเทาะออก เห็นภายในเป็นพระพุทธรูปทองคำ ลักษณะองค์พระเป็นศิลปะสุโขทัย จึงได้ถวายพระนามว่าพระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีส่วนผสมของทองคำสูงมาก เรียกว่าทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา มีขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว
  • วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ตั้งอยู่ติดกับด้านเหนือสวนสราญรมย์มีเนื้อที่เพียง 2 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา นัยว่าเป็นวัดที่มีเนื้อที่เล็กมากวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นวัดธรรมยุติ และเป็นไปตามโบราณประเพณีว่า ในราชธานีต้องมีวัดสำคัญ 3 วัดเสมอ จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อสวนกาแฟหลวงในรัชกาลที่ 3 สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นวัดหนึ่งพระราชทานนามว่า วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม แล้วต่อมาทรงเปลี่ยนชื่อว่า วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนี้คือ พระวิหารหลวง ซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธีสิบสองเดือน ภาพสุริยุปราคาในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้น
  • วัดธรรมมงคล ตั้งอยู่ในซอย 101 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนงมีพระมหาเจดีย์สูง 14 ชั้น วัดจากพื้นดินถึงยอดพระเจดีย์ได้ 94.78 เมตร ภายในบรรจุพระเกศา พระอุรังคธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระญารวิริยาจารย์เจ้าอาวาสได้อัญเชิญมาจากโคตะมะวิหาร เมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ.2517 พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์นี้ใช้เวลาก่อสร้าง 9 ปี เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2529 ใช้งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทั้งสิ้น 70 ล้านบาท 
  • วัดอินทรารามวิหาร ตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม ถนนวิสุทธิกษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธศรีอารยเมตรัย" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูง 32 เมตร กว้าง 10 เมตร 24 นิ้ว บนยอดพระเกตุมาลาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกาเปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เสียค่าเข้าชมใดๆ
  • สถานศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นสถานที่จัดให้ความรู้ในเรื่องพุทธศาสนาและการทำสมาธิ โดยจัดชั้นเรียนสมาธิทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) และชั้นเรียนพุทธศาสนา ทุกวันอาทิตย์ที่สามและอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ตั้งแต่เวลา 13.00-18.00 น. ติดต่อได้ที่ สำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เลขที่ 33 ถนนสุขุมวิท (ระหว่างซอย 1 และซอย 3) ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ โทร. 251-1188-90
  • อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อยู่บริเวณวงเวียนใหญ่ ถนนประชาธิปก ประดิษฐานอยู่ในลักษณะทรงม้า พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ส่วนสูงวัดจากพระบาทมาถึงยอดพระมาลา รวม 14 เมตรเศษ ประกอบด้วยชานชลาคอนกรีตสูงจากพื้นดินโดยรอบ 1.70 เมตร ได้ทำการเปิดเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 ในวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสร็จไปทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์นี้ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อยู่บริเวณวงเวียนใหญ่ ถนนประชาธิปก ประดิษฐานอยู่ในลักษณะทรงม้า พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ส่วนสูงวัดจากพระบาทมาถึงยอดพระมาลา รวม 14 เมตรเศษ ประกอบด้วยชานชลาคอนกรีตสูงจากพื้นดินโดยรอบ 1.70 เมตร ได้ทำการเปิดเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 ในวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสร็จไปทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์นี้
  • อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐานอยู่ ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ฝั่งพระนคร สร้างขึ้นเมื่องานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ. 2475 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ประสูติ ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 เสด็จขึ้นเสวยราชย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 อยู่ในราชสมบัตินาน 27 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ได้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของชาวไทยเมื่อปี 2325
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณพลับพลาพระราชพิธี มุมถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าวัดราชนัดดารามสร้างขึ้นในปี 2533 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ เป็นพระรูปหล่อด้วยสำริดประทับบนพระที่นั่งสูงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ภายในบริเวณมีพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้รับราชอาคันตุกะนอกจากนั้นมีศาลาราย 3 หลัง และสวนสาธารณะ
  • พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2451 ด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุนโดยจ้างนายช่างชาวฝรั่งเศสแห่งบริษัทซุซ เซอรเฟรส ฟองเดอร์ หล่อมาจากกรุงปารีสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ส่วนเงินที่เหลือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำไปใช้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้นมีนามตามพระปรมาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
  • อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่หน้าสวนลุมพินี ผู้ปั้นคือ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ปั้นหล่อเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2485
  • อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต มีเนื้อที่ 38 ไร่ อยู่ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2525 และเปิดเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ภายในอาคารมีการจัดแสดงจิตรกรรมฝาผนังแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภาพจำหลักนูนต่ำแสดงเรื่องการสร้างเมือง และหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การสงครามของไทย เปิดให้เข้าชมเฉพาะเป็นหมู่คณะ ในวันและเวลาราชการ รายละเอียดติดต่อ โทร. 532-1021
  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2484 เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่
  • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อนุสาวรีย์นี้ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ตรงกลางเป็นพานประดิษฐานรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นพานทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน
  • อนุสาวรีย์ทหารอาสา ตั้งอยู่ ณ มุมสนามหลวงด้านเหนือ เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมร ภูมิยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 ประเทศไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมัน และได้ส่งทหารอาสาไปในสมรภูมิใน ยุโรป เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ได้เดินทางกลับเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2462 และได้นำอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462



แผนที่กรุงเทพ
แผนที่กรุงเทพ 1 แผนที่กรุงเทพ 2 แผนที่กรุงเทพ 3

แผนที่กรุงเทพ 4 แผนที่กรุงเทพ 5 แผนที่กรุงเทพ 6

แผนที่กรุงเทพ 7 แผนที่กรุงเทพ 8 แผนที่กรุงเทพ 9