แผนที่อำนาจเจริญ

  • แผนที่อำนาจเจริญ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • การเดินทาง
  • งานประเพณี
  • สถานที่ท่องเที่ยว

Phra Mongkhonอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. 2337 เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 ได้มีใบบอกลงไปกราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระราชทานตั้งบ้านโคกก่งกงพะเนียง (ปัจจุบันเป็นตำบลอยู่ในการปกครองของอำเภอชานุมาน) เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกก่งกงพะเนียงเป็นเมืองเขมราฐธานี ตามที่พระพรหมวรราชสิริยวงศากราบทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดก่ำ บุตรชายคนโตของพระวอจากเมืองอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี (ที่ตั้งอยู่เมืองบริเวณบ้านคำแห้ว เมืองเก่า อำเภอชานุมาน) ได้รับสถาปนาเป็นพระเทพวงศา (ก่ำ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ได้ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี ขอให้พระเทพวงศา (ก่ำ) เข้าเป็นพวกด้วย แต่พระเทพวงศาไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิต พระเทพวงศา (ก่ำ) มีบุตรชาย 3 คน คือ พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) คนที่ 3 ท้าวแดง มียศเป็นพระกำจนตุรงค์ ได้เป็นเจ้าเมืองวารินชำราบ พระเทพวงศา (บุญจันทร์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย ต่อมา ท้าวบุญสิงห์ได้เป็นเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี มียศเป็นพระเทพวงศา (บุญสิงห์) มีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวเสือและท้าวพ่วย ซึ่งได้รับยศเป็น ท้าวจันทบุรมหรือจันทบรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2401 ได้กราบบังคมทูลยกฐานะบ้านค้อใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอลืออำนาจ) ขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมือง ให้ชื่อว่า เมืองอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ. 2410 และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวจันทบรม (เสือ) เป็นเจ้าเมือง มียศเป็นพระอมรอำนาจ (ต้นสกุลอมรสิน) ดังปรากฏตราสารตั้งเจ้าเมืองอำนาจเจริญ

เมืองอำนาจเจริญจึงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยขึ้นการบังคับบัญชาของเจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี โดยมีท้าวจันทบุรม (เสือ) มีพระอมรอำนาจ ซึ่งเป็นบุตรชายของพระเทพวงศา (ท้าวบุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี และเป็นหลานเจ้าพระวอ เจ้าเมืองอุบลราชธานี เป็นเจ้าเมืองอำนาจเจริญคนแรก นับว่าเมืองอำนาจเจริญเป็นเชื้อสายของเจ้าพระวอพระตาโดยตรง

ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองให้เข้าสู่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินแบบยุโรปตามแบบสากล เป็นเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. 2429-2454 โดยยกเลิกการปกครองแบบเดิมที่ให้มีเจ้าเมือง พระอุปราช ราชวงศ์ และราชบุตร ที่เรียกว่า อาญาสี่

นับแต่ปี พ.ศ. 2429-2454 ได้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า คือ ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่สืบสกุลในการเป็นเจ้าเมืองนั้นเสีย จัดให้ข้าราชการจากราชสำนักในกรุงเทพมหานครมาปกครอง เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้ปกครองจากเจ้าเมืองมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทน และปรับปรุงการปกครองหัวเมืองมณฑลอีสาน จึงยุบเมืองเล็กเมืองน้อยรวมเป็นเมืองใหญ่ ยุบเมืองเป็นอำเภอ เช่น เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองยศ (ยโสธร) เมืองฟ้าหยาด (มหาชนะชัย) เมืองลุมพุก (คำเขื่อนแก้ว) เมืองขุหลุ (ตระการพืชผล) เมืองอำนาจเจริญ ไปขึ้นการปกครองกับเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อำเภออำนาจเจริญ จึงได้แต่งตั้งนายอำเภอปกครอง

นายอำเภอคนแรก คือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ) พ.ศ. 2454-2459 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2459 ย้ายตัวอำเภอจากที่เดิม (บ้านค้อ บ้านอำนาจ อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ ตำบลบุ่งซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน ตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอีสาน ได้เดินทางมาตรวจราชการโดยใช้เกวียนเป็นพาหนะ มีความเห็นว่าหากย้ายอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านบุ่งซึ่งเป็นชุมชนและชุมทางสี่แยกระหว่างเมืองอุบลราชธานีกับมุกดาหาร และเมืองเขมราฐกับเมืองยศ (ยโสธร) โดยคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคต โดยใช้ชื่อว่า อำเภอบุ่ง [เสนอแนะย้ายพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ย้ายจากเมืองขุขันธ์ (ในเขตจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน) มาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี] และยุบเมืองอำนาจเจริญเดิมเป็นตำบลชื่อว่าตำบลอำนาจ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "เมืองอำนาจน้อย" อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลืออำนาจในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอบุ่ง เป็น "อำเภออำนาจเจริญ" ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุบลราชธานี

ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พุทธศักราช 2536 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ตรงกับวันพุธ แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันอำเภอลืออำนาจ) รวม 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ออกจากการปกครองจังหวัดอุบลราชธานีรวมกันขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ชื่อว่า จังหวัดอำนาจเจริญ และยกฐานะอำเภออำนาจเจริญเป็น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4-5-6 เล่ม 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536)

อํานาจเจริญ แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อําเภอ คือ อําเภอเมือง อําเภอหัวตะพาน อําเภอพนา อําเภอเสนางคนิคม อําเภอชานุมาน อําเภอปทุมราชวงศา อําเภอลืออํานาจ


ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอเลิงนกทา และจังหวัดมุดาหาร ที่อำเภอดอนตาล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงด้าน อำเภอชานุมาน เป็นระยะทาง 38 กิโลเมตร และติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอ เขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอ ตระการพืชผล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร ที่อำเภอป่าติ้ว และ อำเภอเลิงนกทา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอเมือง อุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ

การเดินทาง

ทางรถยนต์

แผนที่เส้นทางกรุงเทพ-อำนาจเจริญ

ทางรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทาง 580 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทาง 704 กิโลเมตร

ทางรถประจำทาง

ทางรถโดยสารประจำทาง มีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ ซึ่งเป็นรถโดยสารที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 02-936-2852-66 หรือ Call Center 1490 จากนั้นใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราชธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม ซึ่งจะผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ มี 2 บริษัท คือ - บริษัทสายัณห์เดินรถ จำกัด เป็นรถโดยสารธรรมดา มีเวลารถออกดังนี้คือ 06.00 น. 07.00 น. 09.00 น. 11.00 น. 12.00 น. และเวลา 13.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่คิวรถตลาดบ้านดอนกลาง รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. (045) 242163, 241820 - บริษัทสหมิตรทัวร์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศ ซึ่งวิ่งระหว่างอุบลราชธานี-นครพนม มีเวลาออกดังนี้คือ 06.30 น. และเวลา 14.00 น. ซื้อตั๋วและขึ้นรถได้ที่ บริษัทสหมิตรทัวร์ ถนนเขื่อนธานี ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชสีมา อีกด้วยจากนั้น ใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราช ธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม หรือใช้รถประจำทางที่วิ่งระหวางอุบลราชธานี-นครพนม ก็ได้ รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690

ทางรถไฟ

รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วทุกวัน ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และยังมีรถธรรมดาจากนครราชสีมา-อุบลราชธานี และสุรินทร์-อุบลราชสีมา อีกด้วยจากนั้น ใช้รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างอุบลราช ธานี-มุกดาหาร-ธาตุพนม หรือใช้รถประจำทางที่วิ่งระหวางอุบลราชธานี-นครพนม ก็ได้ รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690

ทางเครื่องบิน

เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินรับส่งผู้โดยสาร และพัสดุภัณฑ์ ระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี และอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด ถนนหลานหลวง โทร. 02-356-1111 อุบลราชธานี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานขายตั๋ว โทร. (045) 313340-43 หรือที่ทำการสนามบิน โทร. (045) 243037-38

ชาวอำนาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือมี ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน คำว่า “ฮีต” มาจากคำว่า “จารีต” ส่วนมากมักจะเป็นงานบุญ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น งานบุญกฐิน งานบุญบั้งไฟ งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง (ลอยกระทง) งานบุญสรงน้ำ (สงกรานต์) เป็นต้น ส่วน “คองสิบสี่” หมายถึง ครรลองคลองธรรม หรือแบบแผนในการประพฤติ ปฏิบัติ สิบสี่ประการ เช่น ให้ล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน ตื่นแต่เช้ามาใส่บาตร ห้ามเดินเหยียบเงาพระสงฆ์ ให้กราบไหว้บิดามารดา เก็บดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ และหมั่นฟังธรรมทุกวัน เป็นต้น ส่วนด้านวัฒนธรรมของชาวอำนาจเจริญที่มีชื่อเสียงก็คือ การทอผ้าไหม ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น ผ้าไหมบ้านจานลาน ผ้าไหมบ้านสร้อย ที่อำเภอพนา และผ้าไหมบ้านเปือย ผ้าไหมบ้านหัวดง และผ้าไหมบ้านน้ำท่วม ที่กิ่งอำเภอลืออำนาจ เป็นต้น นอกจากนั้นที่อำเภอชานุมาน ประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไทหรือผู้ไทย ที่อพยพมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวภูไทมีความสามารถในการทอผ้าขิดเป็นพิเศษ การให้สีสันและลวดลายของผ้าจะเป็นเอกลักษณ์ของภูไทโดยเฉพาะ และยังมีดนตรีนาฏศิลป์พื้นบ้าน ได้แก่ หมอลำ ที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข นอกจากนั้นชาวอำนาจเจริญ ยังมีดำริที่จะฟื้นฟูประเพณีลงข่วง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของชาวจังหวัดอำนาจเจริญในสมัยเก่า ให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ประจำจังหวัด การลงข่วงเป็นการชุมนุมกันของหนุ่มสาว ที่ฝ่ายสาวจะมีกิจกรรมทอผ้า สาวไหม เป็นต้น ขณะเดียวกันพวกหนุ่มๆ ก็จะมาร่วมวงสนุกโดยบรรเลงเพลงพื้นบ้านด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน อาทิ แคน พิณ ประกอบกับกิจกรรมทอผ้า และสาวไหม และที่อำเภอชานุมาน ในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ทางจังหวัดจัดให้มีประเพณีการแข่งเรือยาว ซึ่งมีเรือจากอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เรือจากอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเรือจากอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มาร่วมแข่งขันเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี งานแข่งเรือจัดขึ้นที่บริเวณท่าน้ำ แม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ช่วงเช้าและช่วงบ่ายจะเป็นการแข่งเรือ ส่วนตอนกลางคืนบริเวณที่ว่าการอำเภอ จะมีการออกร้านขายสินค้าและมีมหรสพสมโภชน์ตลอดทั้งคืน

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมือง

 พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดประกอบด้วย หินดานธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น “พุทธอุทยาน” ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปอินเดียเหนือ (ปาละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร บัวบุศย์ โดยการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กครอบ พระองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีฐานกว้าง 8.4 เมตร ยาว 12.6 เมตร สูง 5.2 เมตร แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลืองลออตา มีนามว่า “พระละฮาย” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “พระขี่ล่าย” หมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทำฝายกั้นน้ำ ถือกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ชาวบ้านมักมาบนบานขอพรอยู่เสมอ
วัดถ้ำแสงเพชร หรือวัดศาลาพันห้อง ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย วิหารอยู่บนยอดเขาสูง ทางด้านทิศเหนือของวิหารมีถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ “พระเหลาเทพนิมิตร” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มากเป็นต้นว่าเค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลา และพระบาทซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24
 วัดไชยาติการาม ตั้งอยู่ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยสูง 55 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วเมืองเวียงจันทน์ และพระพุทธรูปที่วัดวิชุล เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23
 แหล่งทอผ้าไหม ตั้งอยู่ที่บ้านสร้อย ตำบลจานลาน เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ทอผ้าไหม จัดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน และเป็นอุตสาหกรรมแบบครบวงจร คือ ปลูกหม่อนเลี้ยงตัวไหมเอง ทอผ้าไหมเอง และจัดจำหน่ายผ้าไหมเองด้วย

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอชานุมาน

อุทยานแห่งชาติภูสระบัว เป็นอุทยานที่มีเนื้อที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ 252 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 145,000 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกว่า “ดาน” กระจายอยู่ตามป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่างๆ บริเวณพื้นที่ป่าเหล่านี้ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะที่เทือกเขาภูสระบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำ สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ลิง บ่าง เม่น กระจง และสัตว์ปีกประเภทต่างๆ ได้แก่ ไก่ฟ้า ไก่ป่า เป็นต้น บริเวณเขตอุทยานฯ ประกอบด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม ความวิจิตรพิสดารของหินผามีความเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ตลอดจนร่องรอยของการต่อสู้อันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานภูสระบัว

 -ภูผาแต้ม เป็นหน้าผาประกอบด้วยรูปรอยฝ่ามือ และการเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษบานว่าเป็นยุคเดียวกับภาพเขียนสีของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบที่จังหวัดมุกดาหาร และอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน้าผามีลักษณะคล้ายถ้ำเพราะหินไหลเลื่อนลงมา ภาพเหล่านี้อยู่สูงจากพื้นถ้ำประมาณ 7-12 เมตร และถ้ำมีความยาวประมาณ 60 เมตร
 -ผามะเกลือ จุดพักผ่อนหย่อนใจและที่ชมวิว อยู่ใกล้บริเวณภูผาแต้ม มีลักษณะเป็นลานหินใต้เพิงผา ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้เหมาะสำหรับนั่งเล่นพักผ่อน
-ลานหินบนภูวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวท้องถิ่นโดยรอบภูผาแต้ม ในช่วงวันสงกรานต์และวันสำคัญทางศาสนา มีชาวบ้านมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก 
 -ภูผาหอม เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากของเทือกเขาภูผาแต้ม จุดนี้สามารมองเห็นทิวทัศน์ได้ในระยะไกลออกไปทางทิศตะวันตก มีความสูงประมาณ 366 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้านหลังจะมองเห็นภูหมู ภูแผงม้า ภูไม้ซาง ภูซอง ภูอัครชาด ในยามเย็นตรงจุดนี้มีนักท่องเที่ยวนิยมมาชมพระอาทิตย์อัสดง เพื่อเก็บภาพอันน่าประทับใจและพักค้างแรมกันมาก
-ภูสระดอกบัว เป็นภูเขาที่มีความสูงประมาณ 423 เมตร บนรอยต่อเขต 3 จังหวัด ที่ยอดภูสระบัวมีแอ่งหินขนาดกว้างประมาณ 2-5 เมตร อยู่ 5-6 แห่ง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็กขึ้นอยู่เต็มสระ เมื่อออกดอกจะดูสวยงามมาก ชาวบ้านเล่ากันว่ามีบัวขึ้นอยู่อย่างนี้มานานแล้ว และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า “ภูสระดอกบัว” และบริเวณเดียวกันมีถ้ำขนาดใหญ่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สามารถจุคนได้ถึง 100 คน -ภูสระดอกบัว เป็นภูเขาที่มีความสูงประมาณ 423 เมตร บนรอยต่อเขต 3 จังหวัด ที่ยอดภูสระบัวมีแอ่งหินขนาดกว้างประมาณ 2-5 เมตร อยู่ 5-6 แห่ง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็กขึ้นอยู่เต็มสระ เมื่อออกดอกจะดูสวยงามมาก ชาวบ้านเล่ากันว่ามีบัวขึ้นอยู่อย่างนี้มานานแล้ว และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า “ภูสระดอกบัว” และบริเวณเดียวกันมีถ้ำขนาดใหญ่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สามารถจุคนได้ถึง 100 คน
-ภูผาแตก หรือชื่อยุทธการสงครามว่า “เนิน 420” ที่นี่มีจุดชมวิวที่มีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงาม ทางด้านทิศเหนือสามารมองเห็นทิวเขาของอุทยานแห่งชาติมุดาหารในระยะไกลได้ 
-ลานหินและป่าเต็งรังแคระ พบได้ทั่วไปและมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20-40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมาก และพบได้หลายแห่ง เช่น ภูผาหอม หลังภูผาด่าง หลังภูผา ภูสระดอกบัว ภูกบก ภูหัวนาค เป็นต้น การเดินทางไปอุทยานฯ ภูสระดอกบัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 2277 สายอำเภอเลิงนกทา-อำเภอดอนตาล ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24-26 ประมาณ 1 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดิน อยู่ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ตั้งอยู่ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินข้อ หมู่ที่ 3 บ้านหนองเม็ก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สนใจสอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-0529, 579-4842 -ลานหินและป่าเต็งรังแคระ พบได้ทั่วไปและมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20-40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมาก และพบได้หลายแห่ง เช่น ภูผาหอม หลังภูผาด่าง หลังภูผา ภูสระดอกบัว ภูกบก ภูหัวนาค เป็นต้น การเดินทางไปอุทยานฯ ภูสระดอกบัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 2277 สายอำเภอเลิงนกทา-อำเภอดอนตาล ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24-26 ประมาณ 1 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดิน อยู่ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ตั้งอยู่ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินข้อ หมู่ที่ 3 บ้านหนองเม็ก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สนใจสอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-0529, 579-4842
-ลานหินและป่าเต็งรังแคระ พบได้ทั่วไปและมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20-40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมาก และพบได้หลายแห่ง เช่น ภูผาหอม หลังภูผาด่าง หลังภูผา ภูสระดอกบัว ภูกบก ภูหัวนาค เป็นต้น การเดินทางไปอุทยานฯ ภูสระดอกบัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 2277 สายอำเภอเลิงนกทา-อำเภอดอนตาล ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24-26 ประมาณ 1 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดิน อยู่ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ตั้งอยู่ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหินข้อ หมู่ที่ 3 บ้านหนองเม็ก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สนใจสอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-0529, 579-4842




แผนที่ท่องเที่ยว
แผนที่อำนาจเจริญ