จิต Mind
เรายังไม่ทราบอย่างแน่นอนว่า จิตของคนมีธรรมชาติอันแท้จริงเป็นอย่างไร? นักวิทยาศาสตร์บางคน จูเลียน ฮักสลีย์ (Julian Hexley) เห็นว่า จิต เป็นพลังงานรูปหนึ่งเรียกว่า พลังจิต (Gsychergy) แต่เจอรัลด์ ไฟน์เบอร์ก (Gerald Feinberg) แห่งมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย เห็นว่า กระแสจิต อาจประกอบด้วย อนุภาคปฐมภูมิ (Elementary particles) บางชนิดที่ยังค้นไม่พบ เขาให้ชื่อ อนุภาคปฐมภูมินี้ว่า ไมน์ดอน (Mindons) บ้าง ไซคอนส์ (Psychons) บ้าง ตาซิออนส์ (Tachyons) บ้าง และยังสันนิษฐานว่า อนุภาคชนิดนี้เดินทางได้เร็วกว่าแสง ศาสนาทุกศาสนายืนยันว่า จิตวิญญาณ มีอยู่จริงและมีอยู่ในฐานะเป็นตัวตนแท้ (อัตตา) ของคนสิงสถิตอยู่ภายในร่างกาย จิตวิญญาณเป็นอมตะ ไม่รู้จักตาย แม้ร่างกายถึงคราวแตกสลายลง จิตวิญญาณ จะยังคงอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
จิตตามหลักศาสนาฮินดู
ในศาสนาฮินดู มีความเชื่อว่าคนเราประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญซ้อนกันอยู่ 7 ชั้นด้วยกัน นับตั้งแต่ชั้นในสุดถึงชั้นนอกสุด ดังนี้
- อาตมัน หรือ วิญญาณ เป็นอมตภาพ เป็นตัวตนแท้ของคน เป็นแกนกลางของชีวิต และอาตมันนี้โดยเนื้อแท้แล้ว เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกับพรหมัน คือ วิญญาณสากล
- จิต เป็นผู้ทำหน้าที่ออกคำสั่ง บังคับบัญชากิจการทุกอย่างในชีวิต
- ปัญญา หมายถึง มโนธรรม หรือความรู้สึกผิด ชอบ ชั่ว ดี
- สัญญา หมายถึง การรับรู้ทางทวารทั้ง 5 และความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากการรับรู้นั้น
- ปราณ หมายถึง ลมหายใจ คนโบราณแทบทุกชาติเชื่อว่าลมหายใจเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของชีวิต
- เจตภูต หมายถึง ร่างทิพย์ (Adytsl body) ซึ่งซ้อนอยู่ภายในกายเนื้อนี้ เวลาตายร่างทิพย์จะเคลื่อนออกจากร่าง และอาจปรากฎตัวให้คนเห็นได้เป็นครั้งคราว
- กาย หมายถึง สรีระร่างกายอันเป็นวัตถุที่หยาบที่อยู่ชั้นนอกสุด
อาตมันตามหลักศาสนาฮินดูเป็นสิ่งหนึ่งต่างหากที่อาศัยอยู่ในกาย แต่เป็นอิสระจากร่างกาย เวลาคนตายลง จิตจะออกจาก ร่างไป เกิดใหม่ในร่างอื่น อาตมันเป็นอมตะ ไม่รู้จักตาย อาตมันในชาติปัจจุบัน เป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ อาตมันในอดีตชาติ และ อาตมันในชาติอนาคต
จิตตามหลักศาสนาพุทธ
ทางพุทธศาสนาถือว่า คนเราประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
นามรูป นาม หมายถึง ส่วนที่เรียกว่า “จิต” เป็นสิ่งนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน (อสรีรํ) อาศัยอยู่ในถ้ำคือกายนี้ (คูหาสยํ) มีลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ
(วิญญาณ) รับรู้อารมณ์ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน
(สัญญา) จำอารมณ์ได้
(สังขาร) คิดเกี่ยวกับอารมณ์นั้น
(เวทนา) เกิดความรู้สึกสุขทุกข์หรือกลาง ๆ เกี่ยวกับอารมณ์นั้น ๆ
รูป หมายถึง ส่วนรูปธรรม ประกอบด้วยธาตุดิน (ของแข็ง) ธาตุน้ำ (ของเหลว) ธาตุลม (แก๊ส) และธาตุไฟ (พลาสม่า)
รูปกับนามต้องอาศัยกันอย่างใกล้ชิด ขาดเสียแต่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ นอกจากจะไปเกิดในบางภพเท่านั้น (อรูปภพ-มีแต่นาม ไม่มีรูป)
จิตในทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นเป็นดวง ๆ ในเมื่อมีอารมณ์มากระทบ กระทำหน้าที่เสร็จแล้วก็ดับไป แต่แล้วก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับสลับกันไป อย่างรวดเร็วจนดูเป็นจิตดวงเดียวอยู่ตลอดเวลา เปรียบเหมือนดวงไฟฟ้าที่เราเห็น เป็นไฟดวงเดียวตลอดเวลานั้น ความจริงสว่างแล้วดับ ติดต่อกันไปอย่างรวดเร็ววินาทีละ 50 ครั้ง
แดนทั้ง 3 ของจิต ตามหลักพุทธศาสนา จิตทำงานอยู่ใน 3 แดน คือ
- แดนปัญจทวาร หมายถึง จิตตื่นจากภวังค์ออกมารับอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อจิตรับอารมณ์ทางทวารทั้ง 5 จิตจะอยู่ในภาวะตื่นตัวเต็มที่ เรียกว่า “วิถีจิต”
- แดนมโนทวาร หมายถึง จิตตื่นจากภวังค์ขึ้นสู่วิถี แต่ไม่ออกมารับอารมณ์ภายนอก หันเข้ากลับรับอารมณ์ภายในที่เรียกว่า ธรรมารมณ์ ซึ่งได้แก่ บรรดามโนภาพและจินตภาพต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในมโนทวาร จิตทำงานอยู่ในแดนมโนทวาร ในขณะที่คนกำลังคิดถึงอดีตหรือคิดอย่างลึกซึ้งหรือในขณะทำสมาธิ
- แดนภวังค์ หมายถึง จิตที่นอนนิ่งอยู่ในฐานเดิมของตนที่ศูนย์กลางของสมอง เป็นจิตกำลังอ่อนไม่ขึ้นสู่ วิถีรับรู้ อารมณ์ ภายนอกใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ก็เกิดดับรับอารมณ์ภายในของตนเองอยู่เป็นปกติ อารมณ์ภายในของจิตในแดนภวังค์ ท่านว่าได้แก่ พลังกรรม ที่ก่อให้ เกิดกรรมนิมิตและคตินิมิต (เพราะจิตจะอยู่โดยไม่มีอารมณ์ใด ๆ ไม่ได้) ในขณะที่คนนอนหลับสนิทโดยไม่ฝัน หรือในขณะสลบ จิตจะอยู่ในแดนภวังค์
จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด
การทำงานของจิตใจ เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับจิตสำนึก (consciousness) ซึ่งมีอยู่ 4 ระดับ
- จิตสำนึก (conscious)
- จิตใต้สำนึก (sub-conscious)
- จิตไร้สำนึก (unconscious)
- จิตเหนือสำนึก (supra-conscious)
1. จิตสำนึก คือทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดมาดูโลก ถูกบันทึกไว้ในสำนึก และมีเพียง 10% เท่านั้นที่เราสามารถจำได้ การทำงานของสำนึก มีกฎอยู่ 2 ข้อ คือ
1.1. กฎแห่งอิสระภาพ คือมันสามารถคิดอะไรก็ได้ อย่างอิสระ เช่นมีอะไรเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน
1.2. กฎของการเลือก จิตใจสามารถเลือกสิ่งที่มันชอบได้ และจะสนใจเฉพาะสิ่งนั้น ซึ่งมันจะทำงานเหมือนกับตรรกะ คือมีเหตุมีผล
2. จิตใต้สำนึก มันอยู่ลึกกว่าจิตสำนึก แต่อาจจะแสดงออกมาอย่างชัดเจนในบางครั้ง เช่นในขณะที่เรากำลังอาบน้ำ ผ่อนคลาย หรือขับรถอยู่บนถนนเปลี่ยวโดยลำพัง เราอาจคิดว่า เราเคยเห็นอะไรหรือเคยทำอะไรมาก่อน
การเปลี่ยนจิตใต้สำนึก
บางครั้งจิตใต้สำนึก สามารถทำให้เราทำในสิ่งที่จิตสำนึกไม่อยากจะทำ บัดนี้เราได้ค้นพบว่า การฝึกสมาธิเป็นการขจัดความโกรธ ซึ่งได้ผลดี เป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ทำไมเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ อะไรเกิดขึ้น? จิตสำนึก ต้องการที่จะควบคุมให้ได้ แต่สิ่งที่สะสมไว้ในจิตใต้สำนึกนั้น มันตรงกันข้าม ดังนั้นจิตใต้สำนึกทำให้เราโมโห จิตใต้สำนึก เป็นแหล่งที่มีพลังมาก ซึ่งมันถูกควบคุมโดยกฎ 2 ข้อ คือ
1. กฎของการยอมรับ มันจะยอมรับทุกอย่างที่เราพูด มันเหมือนกับบ่าวที่เชื่อง ไม่เคยเถียง
2. กฎแห่งสัจจะ มันจะเก็บทุกอย่างไว้ จิตใต้สำนึกมันจะไม่คิด ไม่เถียง ไม่ต้องมีตรรกะ (เหตุผล) แล้วมันทำอะไร มันทำงานที่ทุกอย่างจะถูกพิมพ์ไว้ในจิตใต้สำนึก และทำงานคล้ายบ่าวที่เชื่อง ถ้าต้องการเปลี่ยนจิตใต้สำนึก เราต้องติดต่อกับมัน โดยผ่านสภาวะที่ผ่อนคลายและสมาธิ เราจะเข้าไปพิมพ์ทุกสิ่งที่คิด พูด จะถูกพิมพ์ไว้ ถ้าเราไม่เข้าใจกฎนี้ เราจะพิมพ์สิ่งที่ผิดๆ เข้าไปในจิตใต้สำนึก มีตัวอย่าง
มีชายหนุ่มคนหนึ่งเขาต้องการเป็นเศรษฐี เขาต้องการอยู่ท่ามกลางเงินสด ต่อมาเขาได้เป็นพนักงานเก็บเงินในธนาคาร
หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ไม่มีบุตร กล่าวว่าฉันต้องการเล่นกับเด็กๆ และอยู่ร่วมกับพวกเขา ต่อมาเธอได้เป็นครู
ทั้งหมดนี้เป็นคำอธิบายที่เกี่ยวกับจิตสำนึกที่ถูกพิมพ์โดยคำพูด และในอนาคตก็ส่งผลให้เป็นจริงขึ้นมาได้ จิตสำนึกจะไม่เข้าใจ ภาษาที่ซับซ้อน มันคล้ายๆ กับแรงงานที่ไร้การศึกษา พูดคำง่ายๆ และเป็นไปในทางบวก
3. จิตไร้สำนึก จะอยู่ลึกกว่าจิตใต้สำนึก จะไม่แสดงออกเป็นสำนึก แต่จะเป็นเรื่องราวของอดีตชาติ จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก จะควบคุมจิตสำนึก บ่อยครั้งเรามีประสบการณ์ว่า เราต้องกระทำบางสิ่ง แต่เราไม่สามารถทำได้ ซึ่งเกิดจากจิตใต้สำนึก ที่ดึงเรากลับ จากการเดินไปข้างหน้า ดังเช่น บางคนไม่เคยตื่นตอนตี 4 แต่มีวันหนึ่งจำเป็นต้องตื่นเพื่อให้ทันรถไฟ หรือเที่ยวบิน เขาปลุก นาฬิกา ตี 3 แต่เขากลับตื่นสาย อะไรเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่นาฬิกาก็ปลุก แต่เขาปิดมันและนอนต่อ นี่เป็น เพราะอิทธิพลของ จิตใต้สำนึก นั้นเอง
4. จิตเหนือสำนึก เป็นชั้นที่อยู่ลึกที่สุด ไม่มีขีดจำกัด และมีการสร้างที่ไม่มีที่สิ้นสุด มันคล้ายๆ กับการหลับไหล ของนางฟ้าจิต เหนือสำนึก จะไม่ถูกปลุกได้โดยง่าย มีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่จะปลุกได้ ในขณะที่ 99% ของจิตสำนึกและจิตสลบถูกปลุกได้ มีน้อยคนที่จะปลุกจิตเหนือสำนึกได้ ดังเช่น คานธี บราห์มาบาบา ในการฝึกสมาธิที่ลึก ๆ จนสามารถลืมร่างกายทั้งหมด ซึ่งไม่ง่าย แต่ถ้าฝึกเป็นประจำ เราจะสามารถอยู่เหนือจิตและโลกได้
ขั้นตอนในการฝึก ถ้าเราต้องการจัดการกับสภาพจิตใจอย่างเหมาะสม ต้องอาศัย ความเข้าใจใน 4 ขั้นตอนคือ
1. การตระหนักรู้ ถ้าเราทำทุกอย่างด้วยความตระหนักรู้ เราจะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก มีคำกล่าว ว่า "จับความคิดของท่านก่อน ที่มันจะกลายเป็นความรู้สึก และจับความรู้สึกของท่านก่อนที่มันจะกลายเป็นอารมณ์" การที่จะจับความคิดได้ ต้องมีการฝึกฝน
2. ความเข้าใจ คือการเข้าใจว่าความเป็นจริงอะไรเกิดขึ้น เช่น ทำไมฉันต้องอิจฉาคนนั้น รู้สึกมีช่องว่าง มีความโกรธ รู้สึกไม่ปลอดภัย ฯลฯ ถ้าเราเข้าใจ เราสามารถเข้าไปแก้ตรงรากฐาน
3. การวิเคราะห์ ให้วิเคราะห์ว่า ทำไมฉันจึงรู้สึกในทางลบ
4. การยอมรับ เป็นการยอมรับ ที่มีเพียงไม่กี่คนที่จะยอมรับสิ่งที่เป็นลบได้ ดังนั้นถ้าฉันถามบางคนว่า เขาต้องการเปลี่ยน และจัดการกับ สภาพจิตใจ ของเขาไหม เขามักจะตอบว่า "ไม่" ทั้งที่ความเป็นจริง เรามีความจำเป็น ที่จะต้องจัดการ กับสภาพจิตใจ ของเรา เพื่อที่จะให้อยู่ใน สภาวะที่สมบูรณ์ เราจำเป็นต้อง ตระหนักรู้ เพื่อที่จะฝึกฝน ต่อไป เราจะต้องให้ ตัวเองได้อยู่ใน โลกปัจจุบันให้มากที่สุด ไม่ควรปล่อยตัวเอง อยู่ในอดีต และอนาคตมากเกินไป เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง มีคำกล่าวว่า อดีตเหมือนกับ เช็คที่ถูก ยกเลิก และอนาคตเหมือนกับ บันทึกสัญญา ที่เอาไปเบิกเป็นเงินไม่ได้ ดังนั้นปัจจุบันคือ เงินสดที่คุณ ต้องใช้มัน อย่างฉลาด มีคำกล่าวที่สวยงามว่า อดีตเป็นประวัติศาสตร์ อนาคตเป็นความลึกลับ และปัจจุบันเป็นของขวัญ
สิ่งสำคัญคือให้เข้าใจและรู้สึกว่า ฉันเป็นหนึ่งในโลกที่มีแนวคิดเชิงบวก ฉันจะใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ มากกว่าสิ่งที่อยู่ข้างนอก เราสามารถพักจิตใจของเรา แม้นแต่การนอนหลับก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการพักผ่อนที่แท้จริง ถ้าจิตยังทำงานอยู่ เราต้องทำจิตของเราให้นิ่ง เอาใจใส่ต่อความคิด และไม่แสดงปฏิกริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์ที่เราเห็น สายตาของเรา ต้องเหมือนกับ กล้องถ่ายภาพ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความคิด ต้องมีความสมดุล เราจะรู้สึกสงบ และมีความสุขในชีวิต
ในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเอาใจใส่สังเกตดูการกระทำของจิตอย่างใกล้ชิด เราจะเห็นได้ว่า จิตของเราทำงานอยู่ในสภาพ 8 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. จิตดับ (ภวังคจิต) Unconscious mind ตรงกับ จิตไร้สำนึก (unconscious)
2. จิตฝัน Dreaming mind ตรงกับ จิตใต้สำนึก (subconscious)
3. จิตตื่น (วิถีจิต) Conscious mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious)
4. จิตลอย Drifting mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious)
5. จิตคิด Thinking mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious)
6. จิตนิ่ง Concentrating mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious)
7. จิตทำงาน (มโนมยิทธิ) Psychokinetic mind ตรงกับ จิตเหนือสำนึก (superconscious)
8. จิตอภิญญา Extrasensorily Perceiving mind (ESP) ตรงกับ จิตเหนือสำนึก (superconscious)
ปฏิสนธิจิต คือการเกิดใหม่ของจิต ตามวิบากผลกรรม เป็นการเกิดใหม่ของจิต ตามแรงผลักดัน ของกรรมที่สืบทอด ต่อจากจุติจิต ส่งไปสู่ปฏิสนธิจิต สภาพของจิตจะด ีหรือไม่จึงอยู่ที่ กระทำทางกาย วาจา และเจตนา ที่เคยปฏิบัติมาในอดีต
การเกิดดับของจิต หรือวิญญาณในแต่ละขณะจิต ทำให้เกิดภวังคจิต คือ อารมณ์เก่าที่จิต เก็บประทับไว้ในใจ และเกิดอาวัชชนจิต คือจิตที่รับอารมณ์ใหม่, จิตมีการเกิดดับต่อเนื่องรวดเร็วมาก ขณะจิตแต่ละอารมณ์ มีอิทธิพลต่อจิตที่ปฏิสนธิใหม่อยู่ตลอดเวลา และมีการสั่งสมอารมณ์เก่า ที่เกิดขึ้นไว้ในจิตจนเกิดสันดาน คือ การรับรู้อารมณ์นั้น บ่อยจนจิต มีความหวั่นไหว ต่อลักษณะ อารมณ์ นั้น จนเป็นลักษณะอารมณ์ ประจำตัว การเกิดดับของจิต หรือวิญญาณ เป็นการกระทำ ที่มีแรงผลักดันจากเจตนา ภวังคจิตจึงเป็น เหตุปัจจัย ให้เกิดจิตอารมณ์ใหม่ได้ การกระทำทั้งทางกาย และวาจา สำเร็จมาจากจิตเป็นใหญ่ในการบงการ การกระทำทุก รูปแบบ จึงไปประทับสั่งสมไว้ในการรับรู้ของจิตเรียกว่า การสั่งสม
ปฏิจจสมุปปาท ซึ่งมีความหมายว่า สภาพทั้งหลายอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น การที่ทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์ประกอบ 12 ข้อ คือ
เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) จึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขาร (การปรุงแต่งอารมณ์) จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณ (การรับรู้สมบูรณ์) จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะ (การรับรู้) จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะ (การสัมผัสการรับรู้) จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนา (การเสวยอารมณ์) จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหา (ความทยาน อยาก) จึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทาน (การยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์) จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพ (ภาวะ) จึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติ (การเกิดของอารมณ์) จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ (การแก่ตาย) จึงมี เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย
โสกปริเทวทุกขโทมนสสุปายาสา สมภวนติ (ความทุกข์โศกเศร้าเสียใจ) จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้
กลไกของจิตตามหลักอภิธรรม และตัวอย่างการทำงานของจิตขณะกินมะม่วง (Mechanism)
เมื่อมีสิ่งมากระทบกับทวารทั้งห้า อารมณ์ที่เป็นพลังงานจะเข้าไปกระตุ้นภวังคจิต (จิตตอนหลับ)
- อดีตภวังคะ คือตอนที่ภวังคจิตถูกอารมณ์กระทบครั้งแรก (ตอนตื่นจากหลับ)
- ภวังคจลนะ คือตอนที่ภวังคจิตเริ่มเคลื่อนไหว (ตอนงัวเงียหลังจากตื่น)
- ภวังคปัจเฉทะ คืออาการไหวตัวของภวังคจิตสิ้นสุด (ตอนตาสว่างหายงัวเงีย)
- อาวัชชนะ คือตอนที่จิตพุ่งไปรับอารมณ์ (ตอนหันไปมองทางเสียงมะม่วงตก)
- ปัญจวิญญาณ คือตอนที่จิตรับรู้ชนิดและลักษณะของอารมณ์ (ตอนที่รู้ว่าเป็นมะม่วง)
- สัมปฏิจฉันนะ คือตอนที่จิตเป็นวิบากเข้ารับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ (ตอนลุกไปเก็บมะม่วง)
- สันตีรณะ คือตอนที่จิตเป็นวิบากตรวจตราอารมณ์ (ตอนที่ตรวจดูและรู้ว่ามะม่วงสุก)
- โวฏฐัพพนะ คือตอนที่จิตตัดสินอารมณ์ว่าดีหรือไม่ดี (ตอนที่หยิบมะม่วงมากิน)
- ชวนะ คือตอนที่จิตเสวยผลการตัดสินเจ็ดขณะ (ตอนที่เคี้ยวมะม่วงให้แหลก)
- ตทาลัมพณะ คือตอนที่จิตรับเอาผลการตัดสินมาเสวยต่อจากชวนะอีกสองขณะ (ตอนที่กลืนมะม่วงที่เคี้ยวแหลกแล้ว)หลังจากนั้นจิตจะกลับเข้าสู่ภวังค์ตามเดิม รออารมณ์อื่นมา กระทบแล้ว จะขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์เช่นนี้อีกวนเวียนไปเรื่อยๆ
หมายเหตุ
จิตที่อยู่ในสภาวะภวังคจิตแต่ทำหน้าที่เป็น จุติจิต เป็นจิตดวงสุดท้ายในขณะที่ตาย และ ปฏิสนธิจิต เป็นจิตดวงแรก ที่เกิดขึ้นในภพใหม่ด้วยพลังกรรมนิมิตและคตินิมิตร
อารมณ์ (อาเวค = emotion) หมายถึงภาวะกระทบกระเทือนใจ เช่น โกรธ, กลัว, ดีใจ, ใคร่, ขำ, รัก มีนิยามต่างจาก อารมณ์ (อาลัมพณะ) ในเชิงศาสนาพุทธ ซึ่งจะหมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ โดยอาศัยทวารได้แก่
- ตารับรู้รูป
- หูหรับรู้เสียง
- จมูกรับรู้กลิ่น
- ลิ้นรับรู้รส
- กายรับรู้การสัมผัส
- สมองรับรู้มโนภาพ
สิ่งสำคัญคือให้เข้าใจและรู้สึกว่า ฉันเป็นหนึ่งในโลกที่มีแนวคิดเชิงบวก ฉันจะใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ มากกว่าสิ่งที่อยู่ข้างนอก เราสามารถพักจิตใจของเรา แม้นแต่การนอนหลับก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการพักผ่อนที่แท้จริง ถ้าจิตยังทำงานอยู่ เราต้องทำจิตของเราให้นิ่ง เอาใจใส่ต่อความคิด และไม่แสดงปฏิกริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์ที่เราเห็น สายตาของเราต้องเหมือนกับ กล้องถ่ายภาพ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความคิด ต้องมีความสมดุล เราจะรู้สึกสงบ และมีความสุขในชีวิต
ในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเราเอาใจใส่สังเกตดูการกระทำของจิตอย่างใกล้ชิด เราจะเห็นได้ว่า จิตของเราทำงานอยู่ในสภาพ 8 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- จิตดับ (ภวังคจิต) Unconscious mind ตรงกับ จิตไร้สำนึก (unconscious)
- จิตฝัน Dreaming mind ตรงกับ จิตใต้สำนึก (subconscious) อยู่ในระหว่างระดับจิตไร้สำนึกและกึ่งสำนึก มีสิ่งเร้าเล็ดลอด มากระตุ้นจิตไร้สำนึกผ่านทวารต่างๆได้ แล้วจิตเกิดตื่นขึ้นในแดนไร้สำนึก แต่ร่างกายยังอยู่ในสภาวะหลับ จิตจะเล่นไป ตามมโนภาพของความทรงจำที่ฝังอยู่ ซึ่งบางครั้งจะกระตุ้นให้สมองทำงานและสั่งอวัยวะอื่นทำงานโดยที่ยังไม่รู้สึกตัว เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "การละเมอ" แต่ถ้าสิ่งเร้ากระตุ้นแรงขึ้น จิตก็อาจจะเคลื่อนไปสู่แดนสำนึก ทำให้คนเราตื่นจากภาวะหลับ ในบางครั้งจิตเป็นอิสระจากมิติแห่งกาลเวลา เราก็จะสามารถฝันถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
- จิตตื่น (วิถีจิต) Conscious mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious) จิตที่เคลื่อนมาอยู่บริเวณทวารทั้งห้า(ปัญจทวาร) และ มโนทวาร จิตจะอยู่ในวิถีที่รับอารมณ์ภายนอกผ่านปัญจทวารบ้าง ถ้าไม่มีอารมณ์เหล่านั้นมากระทบ จิตก็จะหันไปรับ ธรรมารมณ์เก่าๆ จากมโนทวารบ้าง แต่ถ้าจิตเพลินกับธรรมารมณ์ต่างๆ จนไม่ยอมรับอารมณ์ที่ ผ่านทาง ปัญจทวาร ก็จะเกิดอาการ "ใจลอย" หรือ "ฝันกลางวัน" เป็นลักษณะจิตลอย
- จิตลอย Drifting mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious) จิตลอยอยู่ในแดนสำนึก รับรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางปัญจทวาร อย่างไม่เลือก ไม่มีระเบียบ ไม่ตั้งใจ ไม่มีจุดหมาย อารมณ์ใดปรากฏทางทวารใด ก็รับรู้ เมื่อมีอารมณ์อื่นกระทบทวารอื่น หรือทวารเดิม ก็หันไปรับรู้อารมณ์ทางทวารนั้นต่อไป ฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ เมื่อมีการควบคุม จิตจะเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะ จิตคิด
- จิตคิด Thinking mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious) จิตจะรับรู้อารมณ์จำนวนจำกัดเท่าที่จำเป็นชุดหนึ่งอย่างตั้งใจ และมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน มีการควบคุมให้จิตดำเนินไปตามทางที่แน่นอน มีการเลือกสรรและจำกัดจำนวนอารมณ์ มีการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า การคิดมีแบบต่างๆดังต่อไปนี้
ก.คิดตาม เช่นตอนดูหนัง ที่เรารับรู้เหตุการณ์ที่ปรากฏตามลำดับ
ข.คิดค้น เริ่มเมื่อเราเริ่มคิดว่า อะไร ใคร ที่ไหน เท่าใด อย่างไร เป็นต้น
ค.คิดสร้าง คือจิตที่พยามยามสร้างจินตภาพต่างๆขึ้นมา
- คิดสร้างตาม อาศัยเค้าโครงของสิ่งที่เคยรับรู้มา แล้วนำมาคิดทบทวนจนเกิดความเข้าใจ
- คิดสร้างด้วยตัวเอง คิดสร้างจินตภาพใหม่โดยใช้จินตภาพเก่าๆเป็นเครื่องมือ สร้างสรรสิ่งใหม่ๆ
ง.คิดหาเหตุ เมื่อมีประสบกับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
จ.คิดหาผล คือคิดคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อทราบเหตุและปัจจัย
ฉ.คิดวิเคราะห์ คือการคิดแยกแยะหาส่วนประกอบต่างๆอย่างละเอียด
ช.คิดสังเคราะห์ คือการคิดหาลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ แล้วรวมเป็นหมวดหมู่
ซ.คิดเปรียบเทียบ คือการเอาลักษณะของสิ่งตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปมาเทียบกัน
ฌ.คิดตัดสิน คือการคิดเลือกสิ่งที่ถูกพิจารณามาจากการคิดอื่นๆแล้ว
- จิตนิ่ง Concentrating mind ตรงกับ จิตสำนึก (conscious) ป็นจิตที่อยู่ในแดนสำนึก เน้นมากกว่าจิตคิด เนื่องจากบังคับให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ซึ่งคนส่วนใหญ่ จิตจะอยู่ในสถานะจิตลอย ซึ่งบังคับให้อยู่ในสถานะจิตนิ่งได้ยาก การบังคับให้จิตอยู่ในสถานะนี้จึงต้องทำสมาธิ หรือทำสมถะ
- จิตทำงาน (มโนมยิทธิ) Psychokinetic mind ตรงกับ จิตเหนือสำนึก (superconscious) การใช้พลังจิตทำงานโดยตรง ทางพุทธศาสนาคือ มโนมยิทธิ
- จิตอภิญญา Extrasensorily Perceiving mind (ESP) ตรงกับ จิตเหนือสำนึก (superconscious) ถูกอธิบายอย่างละเอียด ในหนังสือชื่อ ทิพยอำนาจของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ตั้งแต่ลักษณะธรรมชาติของจิต ตั้งแต่ทำสมาธิขั้นแรกจนถึง หลุดพ้นทุกขั้นญาณ โดยมีผลพลอยได้เป็น ทิพยจักขุ ทิพยโสต เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น
ปฏิสนธิจิต คือการเกิดใหม่ของจิต ตามวิบากผลกรรม เป็นการเกิดใหม่ของจิต ตามแรงผลักดัน ของกรรมที่สืบทอด ต่อจากจุติจิต ส่งไปสู่ปฏิสนธิจิต สภาพของจิตจะด ีหรือไม่จึงอยู่ที่ กระทำทางกาย วาจา และเจตนา ที่เคยปฏิบัติมาในอดีต
การเกิดดับของจิต หรือวิญญาณในแต่ละขณะจิต ทำให้เกิดภวังคจิต คือ อารมณ์เก่าที่จิต เก็บประทับไว้ในใจ และเกิดอาวัชชนจิต คือจิตที่รับอารมณ์ใหม่, จิตมีการเกิดดับต่อเนื่องรวดเร็วมาก ขณะจิตแต่ละอารมณ์ มีอิทธิพลต่อจิตที่ปฏิสนธิใหม่อยู่ตลอดเวลา และมีการสั่งสมอารมณ์เก่า ที่เกิดขึ้นไว้ในจิตจนเกิดสันดาน คือ การรับรู้อารมณ์นั้น บ่อยจนจิต มีความหวั่นไหว ต่อลักษณะ อารมณ์ นั้น จนเป็นลักษณะอารมณ์ ประจำตัว การเกิดดับของจิต หรือวิญญาณ เป็นการกระทำ ที่มีแรงผลักดันจากเจตนา ภวังคจิตจึงเป็น เหตุปัจจัย ให้เกิดจิตอารมณ์ใหม่ได้ การกระทำทั้งทางกาย และวาจา สำเร็จมาจากจิตเป็นใหญ่ในการบงการ การกระทำทุก รูปแบบ จึงไปประทับสั่งสมไว้ในการรับรู้ของจิตเรียกว่า การสั่งสม
ปฏิจจสมุปปาท ซึ่งมีความหมายว่า สภาพทั้งหลายอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น การที่ทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์ประกอบ 12 ข้อ คือ
เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) จึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขาร (การปรุงแต่งอารมณ์) จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณ (การรับรู้สมบูรณ์) จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะ (การรับรู้) จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะ (การสัมผัสการรับรู้) จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนา (การเสวยอารมณ์) จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหา (ความทยาน อยาก) จึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทาน (การยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์) จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพ (ภาวะ) จึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติ (การเกิดของอารมณ์) จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ (การแก่ตาย) จึงมี เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย
โสกปริเทวทุกขโทมนสสุปายาสา สมภวนติ (ความทุกข์โศกเศร้าเสียใจ) จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้