อุปนิสัย 7 ประการ เพื่อประสิทธิผลสูง
อุปนิสัย 7 ประการ The Seven Habit of Highly Effective People
Fundamental Principles (หลักการพื้นฐาน)1.1 การพัฒนาอุปนิสัย (Developing Habits) : ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ : Knowledge / Skill / Desire (ความอยาก) สิ่งที่ยากในการพัฒนาอุปนิสัย คือการสร้างความอยากที่จะทำ
1.2 คุณลักษณะ (Character) / บุคลิกภาพ (Personality)
- Character : เป็นสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งมองไม่เห็น เช่น ความเป็นคนมี Service mind , ความเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ความเป็นคนดี)
- Personality บุคลิกภาพ : เป็นสิ่งที่มองเห็นจากภายนอก เป็นภาพพจน์ ความรู้ความสามารถ (ความเป็นคนเก่ง) แม้ว่าภาพพจน์ เทคนิค และ ทักษะ สามารถส่งผลให้เกิดความสำเร็จภายนอกก็ตาม แต่น้ำหนักของความมีประสิทธิผลที่แท้จริงจะอยู่ใน คุณลักษณะที่ดี (ไม่ฝืนธรรมชาติ)
1.3 Four Levels of Leadership (4 ระดับแห่งภาวะผู้นำ)
- Personal Trustworthiness
- Interpersonal Trust การไว้วางใจระหว่างบุคคล
- Managerial Empowerment
- Organizational Alignment
การสร้าง Leadership ต้องเริ่มที่ การสร้างความไว้วางใจในตัวบุคคลเองก่อน ซึ่งการที่จะสร้างความไว้วางใจได้ ต้องประกอบด้วย Character และ Competence ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความสมดุล ก็จะมีภาพที่ทำให้ผู้อื่น เกิดความไว้วางใจ และ จะนำไปสู่ การไว้วางใจระหว่างบุคคล (Interpersonal Trust) และเมื่อเรามีความไว้วางใจกัน ระหว่างบุคคล ก็สามารถมอบหมายอำนาจ ในการบริหารให้ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนนั้นได้ และ เมื่อมีการกกระจายอำนาจ และทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดผลใน การบริหารงานขององค์กรที่มีประสิทธิผล ต่อไป
สำหรับหลักสูตร The 7 Habits เป็นการสอนให้เกิดในเรื่องของการสร้าง Level ที่ 1 และ 2 คือเป็นการสร้าง ให้เกิดความไว้วางใจ ในตัวบุคคล และนำไปสู่ความไว้วางใจ ต่อกันกับผู้อื่น ซึ่งประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่า คำว่า Empowerment จะต้องมีการพัฒนา ผู้ความรู้ความสามารถ ของคนที่จะมา รับมอบอำนาจก่อน การกระจายอำนาจ จึงจะเกิดประโยชน์แก่องค์กร และเมื่อคนที่รับ มอบอำนาจ มีความสามารถและไว้วางใจได้ ก็จะเกิดการพัฒน ความคิดในการทำงาน ไม่ใช้ทำงานเฉพาะตาม Job ที่ได้รับมอบหมาย
1.4 วงจรวุฒิภาวะ (The Maturity Contunuum) : เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง 7 อุปนิสัย โดยแบ่งเป็น
ชัยชนะส่วนตน (Private Victory) ชนะใจตน ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย ;
- Be Proactive
คนที่มีนิสัย "Proactive" คือคนที่เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ คือคนที่ "รู้ตัวว่าเลือกได้" คนที่มีนิสัยแบบนี้ จะมีความกระตือรือล้น เป็นคนที่ Active เป็นคนที่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร คนที่ Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเขา แต่เขาจะเป็น คนทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ด้วยตัวเขาเอง เพราะเมื่อเขาเลือกที่จะเป็น เมื่อเขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เขาก็จะมีความริเริ่มที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในทันที
- Begin with the end in Mind (เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ)
- Put First Things First (ทำสิ่งทีสำคัญก่อน)
ถ้าเราสามารถฝึก 3 อุปนิสัยแรกทั้ง 3ได้ จะทำให้นำไปสู่ การที่เราสามารถพึงพาตนเองได้ (Independence) และหลุดพ้นจาก การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ซึ่งทั้ง 3 นิสัยดังกล่าว เป็นการเรียนรู้การฝึกตนเอง เพื่อให้เกิดการสร้างวินัยให้ตนเอง
ชัยชนะในสังคม (Public Victory) ชนะใจผู้อื่น ประกอบด้วย 3 อุปนิสัย :
- Think Win-Win (คิดแบบ ชนะ-ชนะ)
- Seek First to Understand Then to Be Understood (เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา)
- Synergie (ผนึกพลังประสานความต่าง)
เมื่อเรามีความน่าไว้วางใจและสามารถพึงพาตนเองได้ (dependence) และ มีการฝึกฝนอุปนิสัยที่ 4-6 จะนำไปสู่ ความไว้วางใจระหว่างบุคคล และเกิดการพึงพาซึ่งกันและกัน (Interdependence) และจะนำไปสู่การสร้าง ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างบุคคลที่ยืนยาว การฝึกฝน โดยใช้อุปนิสัยสุดท้าย
- Sharpen the Saw (ลับเลื่อยให้คม)
สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นการฝึกฝนในการปฏิบัติอุปนิสัยทั้ง 6 อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถฝึกให้บรรลุ อุปนิสัยทั้ง 7 ได้ตลอดเวลา จะมีการกลับไปกลับมาของนิสัยเสมอ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก แต่ถ้ามีการฝึกฝนอยู่เสมอ การเบี่ยงเบนของอุปนิสัย ต่อสิ่งเร้าก็จะเกิดขึ้นน้อย
1.5 Three-Person Teaching : เป็นหลักที่น่าสนใจและนำมาปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ การเรียนรู้สิ่งใดให้เกิดความเข้าใจ ในขณะเรียน จะต้องสมมุติเสมอว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องนำสิ่งที่เราเรียนรู้หรือเข้าใจไปสอนต่อให้ผู้อื่น / และในทางปฏิบัติ มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
- Capture : จับประเด็นแนวคิดพื้นฐาน
- Expand : เพิ่มประสบการณ์ หรือความรู้ของตนเองเข้าไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
- Apply : การนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน และถ่ายทอดตัวอย่างต่างๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้
1.6 Basic Change Model : (แบบจำลองพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง)
- See : what we see drive what we do / การมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละคน ทำให้เกิดการกระทำ (Do) ที่แตกต่างกัน
- DO : เป็นการกระทำที่เกิดจากการมอง
- GET : ผลที่ได้จากการกระทำ / ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการมองและทัศนะคติใหม่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยน พฤติกรรม
1.7 องค์ประกอบพื้นฐานของอุปนิสัยทั้ง 7
- Principle (หลักการ) : กฎธรรมชาติ หรือความจริงขั้นพื้นฐานอยู่ภายนอกตัวเรา ซึ่งมาคู่กับคำว่า ค่านิยม (Value) ซึ่งเป็นความเชื่อ หรือ อุคมคติที่เราเลือกขึ้นเอง ซึ่งสิ่งสำคัญในการพัฒนาอุปนิสัยที่ดี ต้องเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่เป็นค่านิยม ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ (Value บางอย่างเป็น Principle บางอย่างไม่เป็น )
- Paradigms (กระบวนทัศน์หรือกรอบความคิด) : เป็นตัวที่ทำให้คนเรามองสิ่งเดียวกันแตกต่างกัน ถ้าเราเปลี่ยนกรอบความคิด จะนำไปสู่การมองที่แตกต่างไป ใน วงจร See / Do / Get และมีคำกล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกือบทุกครั้ง ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนอื่นต้องเป็นการฉีกออกจากแนวเดิม วิธีการคิดแบบเดิมๆ หรือ กรอบความคิดแบบเก่านั่นเอง" นอกจากนี้ในเรื่องของกรอบความคิดจะมีอิทธิพลพลมาจาก กระจกเงาสังคม (The Social Mirror) ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจาก ความทรงจำของการที่ผู้อื่นมองเห็นเราอย่างไร และ ความเชื่อที่กลายเป็นความจริง (Self-Fulfilling Prophecy) เช่น การทีเราคิดว่าคนๆหนึ่งไม่มีความสามารถ เราจะคอยช่วยเหลือเขา และคอยปกป้องเขามากเกินควร ด้วยความกลัวว่าเขาจะล้มเหลว ทำให้ขาดการให้โอกาสที่จะให้เขาทำอะไรด้วยตนเอง
- Processes (กระบวนการ) ชุดของกิจกรรมทางความคิด หรือ กายภาพซึ่งเชื่อมโยงกัน
1.8 ความสมดุลของ Production (P) และ Production Capability (PC)
เราจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง P/PC เช่น ดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพดี จึงจะสามารถให้ ผลผลิตที่ดีได้ และคำว่า PC รวมไปถึงบุคลากรในองค์กรด้วยซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร
1.9 The Emotional Bank Account (บัญชีออมใจ) เป็นการเปรียบเทียบสำหรับปริมาณของความไว้วางใจที่คนอื่นมีต่อเรา ซึง การกระทำของเรา มีผลกับ การฝาก หรือ ถอน ความมั่นใจในตัวเรา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องทำเสอม คือ การเติมบัญชีออมใจของเรากับ เพื่อนๆ หรือบุคคลรอบข้างของเรา
กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ The 7 Habits (อุปนิสัย 7 อย่าง)
เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ชนะใจตน
1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ
ชนะใจผู้อื่น
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม
อุปนิสัยที่ 1 Be Proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน ( Individuals are responsible for their own choices and have the freedom to choose.)
“ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูด”การรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก “ฉันทำได้”สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
แก่นสารของความอยู่รอด
อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัวหน้า เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ
ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย
- ตอบสนองตามค่านิยม โดยไม่ยอมให้ อิทธิพลภายนอก (อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาวการณ์) มาควบคุมการตอบสนองของตน
- รับผิดชอบต่อ พฤติกรรมของตนเอง (ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะทำอะไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเลือก)
- มุ่งเน้นที่ Circle of Influence (หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความกังวล หรือ ไม่มองหรือคิดกังวลแต่เรื่องปัญหา) และถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่ระดับ ให้อภัยต่อผู้อื่น (Transition Figure)
ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ – สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ – แบ่งปันความคิด – เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)
อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Mental creation precedes physical creation)
จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
You are what you think.
การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน
จินตภาพ = Mind Map
วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เ พราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้ การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
ยุทธศาสตร์ - วางแผน – ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
- การเริ่มต้นที่จุดมุ่งหมายในใจ คือ การสร้างหรือวางแผน การออกแบบ และ วางโครงร่างสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น ก่อน โดยคิดหลายๆ ทางเลือก และ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในใจก่อน แล้วค่อยนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ ให้เกิดผล ตามความคิดหรือสิ่งที่เราคาดหวังไว้
- การฝึกฝน อุปนิสัยที่ 2 นี้ ต้องเริ่มต้นที่ ต้องตั้ง Personal Mission ก่อน แล้ว จาก Personal Mission ค่อยๆ แตกมาเป็น Activity ย่อยๆ ในการทำอะไรในแต่ละช่วงของชีวิต และ ทบทวนสิ่งที่เรากระทำว่า support หรือ เป็นไปตาม Mission ที่เราอยากได้ หรือ อยากเป็น หรือไม่
- นิสัยข้อนี้เป็นการสร้าง ความปรารถนา และแรงจูงใจ ให้ทำในสิ่งที่เราควรจะทำ แต่เรามัก ผลัดวันกับตัวเองเสมอ
อุปนิสัยที่ 3 Put First Things First ลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Effectiveness requires balancing important relationships, roles, and activities.)
- อุปนิสัยนี้เป็นการฝึก การบริหารเวลา โดยต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยจะโยงมาจาก Personal Mission คือทำในสิ่งที่ support mission ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ คิดว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร
การสั่งสม (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้) | การลบล้าง (สิ่งที่ควรเลิก) |
|
|
- ใช้หลักในการแบ่ง สิ่งที่ต้องทำออกเป็น 4 ส่วนคือ
I. สำคัญ และ เร่งด่วน (Emergency Job)
II. สำคัญ แต่ ไม่เร่งด่วน (Planing Job) ถ้า Plan ไม่ดี จะกลายไปเป็น ข้อ I
III. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Yes Man คือ ใครชวนทำอะไร ทำหมด)
IV. ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วน (สิ่งบันเทิง ที่เกินความจำเป็นในชีวิต ) ต้องเลิกทำ
1. Urgent (เร่งด่วน) Important (สำคัญ) เช่น วิกฤตการณ์ การแก้ปัญหางานเฉพาะหน้า |
2. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Important (สำคัญ) เช่น การวางแผน การพักผ่อนหย่อนใจ การวางแผน |
3.Urgent (เร่งด่วน) Unimportant (ไม่สำคัญ) |
4. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Unimportant(ไม่สำคัญ) เช่น การดูละครโทรทัศน์ กิจกรรมเสียเวลาต่าง ๆ |
- สรุป คือต้องเลือกทำในข้อ I & II และ พยายามอย่าปล่อยให้ ข้อ II กลายมาเป็นข้อ I (Try to Keep Schedule)
Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity
อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win (Effective long-term relationships require mutual benefit)
- แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน
- ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แข่งขันชิงดีกัน
- เน้นการฟัง ใช้เวลาในการสื่อสารกันให้ยาวนานขึ้น และ พูดคุยกันด้วยความกล้าแสดงออก
- จุดประสงค์ ของ การฝึกนิสัยที่ 4 คือ การสร้าง ความเชื่อซึ่งกันและกัน (Interpersonal Thrust ) หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง
วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออก และด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็น ความสัมพันธ์ (Relationship)
นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
Knowledge & Skill (What to, Why to)
Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
Desire = I want to (ความต้องการ)
กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็น กรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
กรอบความคิด หรือ กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ บุคคล เป็นผลผลิต ของ การเรียนรู้ และ ประสบการณ์ และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึง ไม่มีบุคคลสองคน ที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่า เป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจาก การพัฒนาสิ่งที่ผิด ให้ทำถูกและดีขึ้น
ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเอง และผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า “เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี”
สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน – กล้าพูด กล้าทำ
คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่
คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ
Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มองเห็นความชัดเจนของข้อมูล การมองกว้าง – ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส
ใจถึง – กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง – ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งในใจคนให้เป็น
เงินถึง – เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมองมากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง – เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี
คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้
ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Responsive Listening Skills)
โดยไม่ใช้คำพูด โดยใช้คำพูด
- ฟังอย่างสนใจ
- มีสีหน้าที่เอาใจใส
- สบตา
- พยักหน้า
- เอนตัวมาข้างหน้า
- เล่าต่ออีกซิครับ/ค่ะ
- อ้อ/ งั้นหรือ/ จริงหรือ
- ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ…กรุณาเล่า อีกครั้งได้ไหมครับ
เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง
H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)
อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand , Then to Be Understood (การวินิจฉัยโรคต้องมาก่อนการจ่ายยา ความเข้าใจได้มาจากการฟัง)
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นกุญแจสำคัญของหลักการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิผลการติดต่อสื่อสารถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในชีวิต
- อุปนิสัยนี้ เป็นการฝึก การฟัง โดยพยายามให้เป็นการฟังแบบ เข้าอกเข้าใจกัน หลักการสำคัญที่สุดก็คือ การฟัง แต่ต้องเป็นการฟังอย่างเข้าใจผู้อื่นเลยว่า เขาคิดอย่างไร ไม่ใช่แค่ฟังอย่างตั้งใจเท่านั้น เรียกว่าต้องเข้าใจคนอื่นกันเลย เหมือนกับเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นเลย
การฟังจึงเป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้ ทักษะการฟังที่ดีนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะการเข้าสังคม สามารถลดความเข้าใจผิด ความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์กับคน นอกจากนี้การพัฒนาทักษะการฟังยังส่งผลต่อการพัฒนาในด้านสติปัญญา ในแง่ของการฝึกใช้ความคิด การจับประเด็น ฝึกความจำ และฝึกฝนการจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือมีสมาธิที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มักจะพบว่าในองค์กร มีคนที่มักจะ ตัดสินใจ หรือ ออกคำสั่ง โดยยังไม่ได้ ทำความเข้าใจกับ สิ่ง ที่ผู้สื่อสาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนร่วมงาน ต้องการให้เราเข้าใจ
อุปนิสัยที่ 6 Synergize (ผลรวมที่ได้รับทั้งหมดมีค่ามากกว่าการเอา แต่ละส่วนมาร่วมกัน)
การผนึกพลังผสานความต่าง โดยการร่วมมือกันกับคนอื่นอย่างสร้างสรรค์ เป็นการนำข้อดีของอุปนิสัยทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำงานใหญ่ให้สำเร็จ
- ถ้าเราสามารถ ฝึก อุปนิสัยที่ 4 และ 5 ผ่านแล้ว จะทำให้เราสามารถ ผนึกพลังแนวความคิด ที่แตกต่างของแต่ละคน มาช่วยกันเป็นจุดเสริม เป็นทางเลือกใหม่ ทีมีประสิทธิผลมากขึ้น
- ผลรวมทั้งปวงจะมากกว่าการเอาแต่ละส่วนประกอบมาบวกกัน เช่น การเกิด Synergize ไม่ใช้การหารือร่วมกันเพื่อเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ของแต่ละคน แต่เป็นการนำ ข้อดีของแนวทางของแต่ละคน มารวมกันเป็นทางเลือกใหม่ ให้มีประสิทธิผลการขึ้น กว่าการนำแนวทางของแต่ละคนมารวมกัน
คนที่จะสามารถสร้าง Synergy ได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- Communication คือ การสื่อสาร จะต้องเป็นคนที่คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง สามารถที่จะสื่อภาษายากๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ได้ เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นภาพเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรรหาวิธีการไปสู่เป้าหมายแบบใหม่ๆ ได้นั่นเอง หลายๆ คนที่ไม่สามารถสร้าง Synergy ได้สาเหตุก็มาจากการที่เขาพูดไม่รู้เรื่อง พูดโดยใช้แต่คำศัพท์ที่เลิศหรู ภาษาเทพ ซึ่งทำให้ทีมงานงงเป็นไก่ตาแตก แล้วแบบนี้ใครจะมาช่วยคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เพราะแค่เป้าหมายยังมองไม่เห็นเลย แล้วจะไปหาวิธีการไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
- Cooperation คือ การประสานและร่วมมือกัน การที่จะสร้าง Synergy ได้ คนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้าทีม จะต้องมองเห็นจุดเด่นของทุกคนในทีม และสามารถที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนเข้ามาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ผิดกับหัวหน้างานบางคนที่พอเห็นลูกน้องบางคนบริหารยาก เป็นคนที่นิสัยไม่ค่อยดี ก็จะพยายามไม่ให้ลูกน้องคนนี้เข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ทั้งๆที่เขาอาจจะมีอะไรดีๆ ก็ได้ ดังนั้นคนที่จะสร้าง Synergy ได้ก็คือ จะต้องไม่มองคนแบบฉาบฉวย แต่ต้องมองให้ลึกลงไป หาต้องหาจุดดีของแต่ละคนให้เจอ หรือบางคนคิดแค่เพียงว่า ถ้าใครคิดไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องมาทำงานร่วมกัน แบบนี้ไม่ใช่คนที่จะสร้าง Synergy ได้เลย
อุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw (Production (results) requires development of Production Capability (resources) )
“ผมไม่มีเวลามาลับคมหรอก เพราะผมกำลังยุ่งกับการเลื่อยอยู่” ชีวิตของคุณเป็นแบบชายตัดไม้คนนี้หรือเปล่า ก็คือ มัวแต่ยุ่งกับการทำงานจนไม่มีเวลาที่จะพัฒนาตนเอง เราจะต้องหมั่นลับคมเลื่อยเพื่อให้เราเป็นคนที่มีประสิทธิผลมากที่สุด โดยแบ่งเป็น
- การฝึกฝนด้านกายภาพ (ทำร่างกายให้สมบูรณ์)ด้านแรกที่คนเราทุกคนควรจะหมั่นลับคมเลื่อยอยู่เสมอ ก็คือ ความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายนั่นเอง การที่เราจะทำงานได้ดี มีผลงานชั้นเยี่ยมได้นั้น เราต้องอาศัยร่างกายที่แข็งแรงด้วย ดังนั้นถ้าเราปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรม ทำงานหามรุ่งหามค่ำ โดยไม่สนใจตัวเองเลย เราจะทำงานได้ไม่นานครับ สักพักเราอาจจะต้องเอาเงินที่หามาได้ทุกบาททุกสตางค์มาเป็นค่ารักษาพยาบาลตัวเราเองนี่และ ดังนั้น อย่าลืมหมั่นลับคมเลื่อยทางด้านร่างกาย โดยการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และหาวิธีขจัดความเครียดที่เกิดขึ้น เพราะความเครียดไม่มีผลดีต่อร่างกายของเราเลย
- การฝึกฝนด้านสติปัญญา (อ่าน หนังสือ หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ) ด้านที่สองที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านสติปัญญาของเรานั่นเอง ซึ่งหมายถึงความรู้และทักษะต่างๆ ที่ทำให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้นนั่นเอง วิธีการพัฒนาความรู้และทักษะมีอยู่หลายวิธีครับ ลองเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองน่าจะดีที่สุดครับ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาความรู้ต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ การเข้าหลักสูตรฝึกอบรมด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิต การพิจารณากรณีศึกษาของคนอื่น ทั้งที่เป็นคนเก่ง และไม่เก่ง เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากกรณีเหล่านี้
- การฝึกฝน ด้านจิตวิญญาณ ( ทำสมาธิ หรือ การใช้เวลากับธรรมชาติ) ด้านที่สามที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านจิตใจ ก็คือการพัฒนาจิตใจของเราให้มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี เข้าใจผู้อื่น และสร้างความสงบให้กับจิตใจของเราบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเพื่อสร้างพลังใจ และการนั่งสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบ และสร้างพลังของจิตใจให้พร้อมที่จะต่อสู้ต่อไป
เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด - การฝึกฝนด้านความสัมพันธ์ ด้านที่สี่ที่เราต้องหมั่นลับคมเลื่อยก็คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นที่เรารู้จัก การที่เรารู้จักใครแล้ว เราไม่สานความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยการพูดคุยกัน หรือติดต่อสื่อสารกัน นานๆ เข้า ความสัมพันธ์ที่ดีก็จะค่อยๆ หายไป จนอาจจะกลายเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลยก็ได้