ความรู้สึกใกล้ชิด Immediacy

Immediacy หมายถึง ความเข้มของความรู้สึกใกล้ชิด ทางร่างกายและจิตใจของบุคคล Mehrabian (1971) เป็นผู้ที่นำแนวคิดนี้ มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมีพื้นฐานของแนวคิดมาจาก ความเชื่อที่ว่า "คนเราจะถูกดึงดูดให้เข้าใกล้บุคคล หรือสิ่งของที่เรา ชื่นชอบและตีคุณค่าไว้สูง แต่จะหลีกหนีจากบุคคล หรือสิ่งของที่เราไม่ชอบ และตีคุณค่าไว้ต่ำ" นอกจากการใช้ภาษาแล้ว พฤติกรรม ที่ไม่ใช้ภาษา หรืออ วัจนพฤติกรรม ที่สามารถทำให้เกิด ความรู้สึกใกล้ชิด ทางร่างกายและจิตใจ มีดังนี้ คือ

ลักษณะภายนอก

ได้แก่ ความสวยงาม ขนาด รูปร่าง กลิ่น ทรงผม เสื้อผ้า และเครื่องประดับ เป็นต้น

ท่าทางและการเคลื่อนไหว

ได้แก่ ท่าทางที่สื่อความหมายที่เป็นที่รู้กันของคนในสังคม ท่าทางประกอบคำพูด ท่าทางที่ควบคุมการสื่อสารระหว่างบุคคล ท่าทางที่แสดงอารมณ์ ท่าทางที่แสดงถึงความรู้สึกที่ไม่ดีหรือวิตกกังกวล ท่าทางในการยืน เดินและนั่ง เป็นต้น

สีหน้าและพฤติกรรมทางตา

ใบหน้าของบุคคลเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงอารมณ์และความรู้สึกของบุคคลเราเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กว่า คนที่หน้าตาดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มักเป็นคนดี และคนที่หน้าตาบึ้งตึงหรือดุร้ายมักเป็นคนไม่ดี จากการสังเกตสีหน้า เรามักจะบอกเกี่ยวกับ เชื้อชาติ อายุ บุคลิกภาพ และ อารมณ์ของคน คนนั้นได้ถูกต้อง นอกจากนั้น การสบตา การทำตาโต การหรี่ตา หรือ การหลบตา ล้วนมีความหมายใน การสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งสิ้น

คำพูดและน้ำเสียง

เรามักจะชอบฟังคนที่มีน้ำเสียงไพเราะ พูดจาสุภาพเรียบร้อย ชัดถ้อยชัดคำ และมีจังหวะจะโคน แต่เราจะไม่ชอบฟังเสียงที่แหบ กร้าว สูงหรือต่ำเกินไป ตลอดจนไม่ชอบฟังคำพูดที่หยาบคาย ก้าวร้าว เยาะเย้ย หรือส่อเสียด

ระยะห่างระหว่างบุคคล

โดยทั่วไปแล้ว สัญชาติญาณของมนุษย์ การระแวดระวังภัยและการป้องกันการบุกรุกอาณาเขต การยืนหรือนั่งใกล้กัน หรือการโน้มตัว เข้าหากัน แสดงให้เห็นถึง ความไว้วางใจและใกล้ชิด แต่คนที่ยืนห่างออกไป หรือไม่ได้โน้มตัวเข้าหากัน จะแสดงถึง ความห่างเหิน อย่างไรก็ตามเราต้องระวังที่ เราต้องระวังที่จะไม่ก้าวล้ำเข้าไปในอาณาเขตส่วนตัวของบุคคลอื่น มิฉะนั้นเราจะถูกมองว่าก้าวร้าว ไม่สุภาพ หรือไม่มีมารยาท

การสัมผัส

การสัมผัสมักแสดงถึงความใกล้ชิด แต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย อย่างไรก็ตาม ส่วนของร่างกาย ที่เราสามารถสัมผัสผู้อื่น ได้จะเป็น มือ แขน หลัง ไหล่ และศีรษะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึง วัฒนธรรมของแต่ละสังคมด้วย

องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม

สภาวะแวดล้อมของการสื่อสาร มีอิทธิพลต่อความรู้สึกใกล้ชิดด้วยเช่น สภาวะแวดล้อมในโบสถ์ ซึ่งต้องการ ให้คนที่เข้ามา รู้สึกถึง ความสงบ และความยำเกรงพระเจ้า จะมีการจัดที่นั่งที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ และไม่สะดวกต่อ การพูดคุยกัน รวมทั้งการมีเพดานสูง และใช้สีค่อนข้างขรึม การจัดห้องเรียน และห้องสัมมนา ที่ต้องการให้มี การพูดแสดง ความคิดเห็น จะมีเก้าอี้ที่เคลื่อนย้ายได้ มีการใช้สีและแสงที่สว่างสดใส เป็นต้น การจัดโต๊ะประชุม เป็นรูปวงกลม แสดงถึง ความเท่าเทียมกัน ของผู้เข้าร่วมประชุม ในขณะที่โต๊ะที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีหัวโต๊ะสำหรับประธาน จะแสดงให้เห็น ความแตกต่างระหว่างสถานะของผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนั้น ความสะอาด ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของสถานที่ รวมทั้งอากาศที่ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป จะช่วยสร้าง บรรยากาศให้เกิด ความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ได้มากขึ้นด้วย

กลิ่น

กลิ่นมีอิทธิพลทั้งในการดึงดูดให้บุคคลใกล้ชิดกัน หรือผลักดันให้หลีกหนีออกจากกัน งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า กลิ่นน้ำหอม ที่รุนแรงไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิด และน้ำหอมราคาแพงก็ไม่ได้เป็นสิ่งประกันว่า จะทำให้ผู้ใช้มีเสน่ห์ดึงดูดใจได้เสมอไป

องค์ประกอบด้านเวลา

ในสังคมสมัยใหม่ เราจะตัดสินคนตามการใช้เวลาของเขา เช่น คนที่มาสายบ่อยๆ จะถูกมองว่าไม่เอาใจใส่เกียจคร้าน เชื่องช้า ไม่น่าสนใจ และขาดการอบรม ส่วนคนที่ตรงต่อเวลา หรือมาก่อนเวลาเล็กน้อย จะถูกมองว่าเป็น คนเอาใจใส่เฉลียวฉลาด กระฉับกระเฉงน่าสนใจ และได้รับการ อบรมมาอย่างดี ในสังคมของเรา การทำตัวให้ถูกต้องตาม กาลเทศะมีความสำคัญ เช่น เมื่อได้รับการถาม เราจะต้องตอบทันที แต่ถ้าเราตอบช้าจะแสดงให้เห็นว่าเราไม่แน่ใจ ไม่สบายใจ หรือไม่อยากพูดด้วย ปริมาณของเวลาที่เราให้แก่ผู้อื่น ก็แสดงว่า เรามีความใกล้ชิดกับเขามากน้อยเพียงใด ถ้าเราไม่ต้องการใกล้ชิด เราก็อาจจะมองนาฬิกา หรือบอกกับผู้นั้นตรงๆ ว่าเรามีงานอื่นต้องทำ หรือไม่มีเวลาสำหรับเขา

ข้อดีของความรู้สึกใกล้ชิด

ทำให้เกิดความรู้สึกชอบพอ และมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น คู่สนทนารู้สึกมั่นใจ และกล้าพูดมากขึ้น
ทำให้เกิดการตอบสนอง ความเข้าใจ และความกล้าที่จะยืนยันสิทธิของตนเอง
ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ทำให้ลดความวิตกกังวลลง
ทำให้ลดความแตกต่างระหว่างสถานะลง
ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สามารถยืนยันสิทธิของตนเอง
- สามารถเป็นผู้ฟังที่ดี และเข้าใจผู้ อื่น
- สามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะพูด อะไร เมื่อไร

ข้อเสียของความรู้สึกใกล้ชิด

ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเราต้องการความสนิทสนมมากกว่าการเป็นเพื่อน คนบางคนจะรู้สึกอึดอัดถ้ามีคนมาใกล้ชิดมากเกินไป
ในบางสถานการณ์ที่เราไม่ต้องการติดต่อ สื่อสารการทำตัวใกล้ชิดจะทำให้เราเสียเวลาในการพูดคุย มากเกินไป