กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์

ระยะไข่ ( Ovum )

พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์นั้นโดยทั่วไปมี 5 ช่วงคือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชราดังจะอธิบายเรื่องแรกคือ กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์เพื่อจะได้เข้าใจในพัฒนาการขั้นต่อๆ ไป

กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์

ระยะไข่ ( Ovum )

ไข่ที่มีการปฎิสนธิเป็นขั้นแรกเรียกว่า Fertilized ovum โดยมีมดลูก ( Uterus )เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มดลูกติดต่อ กับท่อนำไข่ เมื่อถึงวัยสาว ไอโอไซด์ระยะแรกหนึ่ง เซลล์จะเริ่มเกิด เปลี่ยนแปลง โดยการแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิส ครั้งที่ 1 กลายเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและค่อย ๆ เคลื่อนมาที่ผิวของรังไข่ในระยะนี้ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น เมื่อเซลล์ไข่ในฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่แล้ว ผนังฟอลลิเคิล จะแตกออก ทำให้เซลล์ไข่หลุดออกมา และเซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่จะเข้าไปในปีกมดลูก เซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่นี้ยังเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 อยู่ ส่วนเซลล์ที่เป็นฟอลลิเคิลก็จะกลายเป็นเนื้อเยื้อสีเหลืองเรียกว่า คอร์ปัสสูเทียม (Corpus Iuteum) เมื่อเซลล์ไข่นี้ได้รับการผสมกับอสุจิที่ท่อนำไข่ ก็จะได้ไซโกด (Zygote) ซึ่งจะพัฒนาเป็น เอ็มบริโอ (embryo) ต่อไปเอ็นบริโอ จะเคลื่อนที่มาฝังอยู่กับผนังของมดลูก ( Uterine wall ) ในขณะเดียวกัน คอร์ปัสลูเทียมจะสร้างฮอร์โมน ซี่งจะทำงานร่วมกับฮอร์โมน จากฟอลลิเคิล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังมดลูก ด้านใน หรือ เอนโดมีเทรียมให้หนาขึ้น และมีเส้นฝอยมากขึ้น ถ้าหากเซลล์ไข่ไม่ถูกผสมคอร์ปัสลูเทียมจะสลายตัวภายในเวลาสองสัปดาห์ และหยุดสร้างฮอร์โมนทำให้เกิดสลายตัวของ เนื้อเยื่อเอนโดมีเทรียม ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วขับออกมาจากมดลูกเป็นผลให้มีรอบประจำเดือนใหม่

ระยะตัวอ่อน ( Embryo )

ระยะ 2 สัปดาห์แรก เราเรียก Zygote ว่า Ovum เป็นระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวไปในลักษณะเดียวกันหมด และแบ่งทุกทิศทุกทาง ไม่ได้มีการแบ่งเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ดังแสดงในรูป กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์

 

ถัดจากระยะ Ovum ก็มาถึงระยะ Embryo ระยะนี้จะเกิดเวลา 6 สัปดาห์ และสิ้นสุดเมื่ออายุได้ 2 เดือน ระยะนี้เซลล์เริ่มแบ่งแยก (differentiate) และแจกแจงหน้าที่ไปตามตำแหน่งที่เซลล์ นั้นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในตัวเซลล์เอง ทำให้เซลล์พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา การแบ่งแยกนี้จะแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ

เซลล์ นั้นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในตัวเซลล์เอง ทำให้เซลล์พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา การแบ่งแยกนี้จะแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ

1. ชั้นในสุด (Endoderm) ชั้นนี้จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นอวัยวะย่อยอาหาร คือ กระเพาะ ลำไส ปอด หัวใจ เป็นต้น

2. ชั้นกลาง (Mesoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เลือด เส้นเลือด

3. ชั้นนอกสุด (Ectoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นผิวหนัง อวัยวะรับสัมผัส (sense organ) และระบบประสาท พัฒนาการของมนุษย์ Development Theories พัฒนาการทารกในครรภ์ พัฒนาการทารก พัฒนาการของทารก

รกและสายสะดือจะค่อยเจริญเติบโตขึ้น รกจะทำหน้าที่กรองสารอาหารจากแม่ไปหาลูกและจะนำของจากลูกไปหาแม่ รกจะนำของเสียระบายทิ้งผ่านมาทางสายสะดือซึ่งได้แก่โลหิตที่ออกซิเจนถูกใช้หมดแล้ว ในช่วงนี้เซลต่างๆจะเริ่มแบ่งตัวจำนวนมากจนเกิดปุ่มของอวัยวะในขั้นนี้เรียกว่าตัวอ่อนซึ่งมีลักษณะคล้ายกุ้งฝอยมีหัวและหางยาวมีปุ่ม ที่จะเจริญเป็นแขนขาเมื่อตัวอ่อนครบ 1 เดือนตัวอ่อนจะมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร และหนัก 28 กรัมเศษ

เดือนที่ 2 ในเดือนนี้ผู้เป็นแม่จะไม่มีประจำเดือน อาจมีการคลื่นเหียนอาเจียน เนื่องจากฮอร์โมนผิดปกติ ภายในมดลูกจะมีถุงน้ำคร่ำค่อยๆโตขึ้น ตัวอ่อนมีการสร้างอวัยวะต่างๆอย่างรวดเร็ว ปุ่มที่จะกลายเป็นแขนขาเห็นชัดขึ้นและมีการเจริญเติบโตของศีรษะและมีมันสมองในระยะนี้มีนักจิตวิทยากล่าวว่าสมองของมนุษย์เจริญเติบโตเร็วที่สุด เริ่มปรากฏใบหน้าและริมฝีปาก และมีรูจมูกดวงตาและหูกำลังเริ่มก่อตัวมีเลือกตาให้เห็นได้เลาๆเริ่มมองเห็นเป็นหน้าคนภายในตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตของหัวใจและมีการสูบฉีดโลหิต เพื่อเลี้ยงตัวอ่อน ในช่วงนี้หัวใจยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่คือหัวใจมีเพียง 2 ห้องและตัวอ่อนสร้างระบบย่อยอาหารและระบบลำไส้ ทารกจะกินอาหารโดยผ่านสารสะดือ ความยาวของตัวอ่อนมีสิ้นระยะที่ 2 ประมาณ 2.5 เซนติเมตร

ระยะ Embryo นี้มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก จึงเรียกระยะนี้ว่า เป็นระยะวิกฤติ (Critical period) ในระยะนี้ถ้ามารดาของเด็กเกิดเป็นโรคขึ้นในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์จะมีผลต่อทารกอย่างมาก และก่อให้เกิดอันตรายแก่มารดา หรือสร้างความพิกลพิการในรูปต่าง ๆ ให้แก่ทารก ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต้องหยุดชะงักหรือไม่สมบูรณ์ เมื่อเด็กคลอดออกมาอาจเสียชีวิต หรือเป็นเด็กปัญญาอ่อน หรือรร่างกายไม่สมประกอบดังนั้นมารดาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ป่วยไข้ด้วยโรคต่างๆ เพราะจะกระทบกระเทือนถึงทารกในครรภ์ด้วย เช่น ถ้ามารดาเป็นโรคหัวใจพิการหรือมีอาการหูหนวกได้

เดือนที่ 3 ในเดือนนี้ตัวอ่อนจะพัฒนาเป็นทารกเรียกว่า Fetus ทารกจะเริ่มดิ้นโดยทารกจะออกแรกผ่านกล้ามเนื้อและกระดูก แต่คุณแม่จะไม่รู้สึก เนื่องจากทารกในช่วงนี้เท่ากับผลสตอว์เบอร์รี่ ทารกจะมีนิ้วมือและนิ้วเท้า ทำให้ทารกขยับตัว และในช่วงนี้ทารกจะฝึกการหายใจการกลืนการดูด ศีรษะของทารกจะมีขนาดใหญ่และจะเริ่มยกศีรษะออกจากหน้าอกเล็กน้อย กระดูกและกล้ามเนื้อเริ่มปรากฏ เปลือกตาเจริญขึ้นมากแต่ทารกยังหลับตาทารกเริ่มพัฒนาการรับรู้ หูของทารกจะรับเสียงแล้ว ในเดือนนี้มีการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ และทารกเริ่มผลิตเซลเม็ดเลือดผ่านไขกระดูก ผ่านตับ และผ่านม้าม

เดือนที่ 4 เดือนนี้มีการพัฒนาอวัยวะเพศ ถ้าทำอัลตร้าซาวนด์สามารถเห็นว่าทารกในครรภ์เป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ศีรษะของทารกเริ่มมีผมงอก มีคิ้ว แขนขาเริ่มยาวได้สัดส่วนกับร่างกายทั่วลำตัวมีผิวหนังใสห่อหุ้มซึ่งปรากฏขนอ่อนตามผิวหนัง หัวใจเริ่มเต้นแรงระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อทำงานประสานกันจำนวนปลายประสาทเริ่มเท่ากับจำนวนของผู้ใหญ่ ทารกจะเริ่มรับรู้รสของอาหาร การทำงานของหูมีการพัฒนาจนทารกได้ยินเสียงภายนอกครรภ์ได้

เดือนที่ 5 เดือนนี้ทารกเจริญเติบโตเป็นตัวตนและรกทำงานเต็มที่ ทารกจะมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ทั่วร่างของทารกจะมีขนขึ้นปกคลุมเพื่อป้องกันไขมันเกาะติดผิวในเดือนนี้ผู้เป็นแม่จะรู้สึกว่าทารกดิ้น ทารกมีพฤติกรรมถอนใจ เริ่มดูดหัวแม่มือ

เดือนที่ 6 ทารกจะเริ่มมีเล็บมือ และเส้นลายมือแขขาและร่างกายจะเข้าสัดส่วน รูจมูกเริ่มเปิดและกระบังลมเริ่มขยับขึ้นลง ทารกจะรับรู้เรื่องเสียงและแสง ในเดือนนี้ประสาทสัมผัสเจริญเติบโตดีขึ้นหรือเรียกได้ว่าเกือบจะสมบูรณ์ ทารกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ทารกจะขยับตัวไปมาจนคุณแม่รับรู้ได้ ทารกสามารถหันหน้าหนีแสงได้ หรือถ้าได้ยินเสียงดังจากภายนอกอาจเคลื่นตัวตามเสียงหรือจังหวะเพลงได้

เดือนที่ 7 ระบบต่างของทารกเกือบจะสมบูรณ์ ทารกสามารถปรับระดับอุณหภูมิ และปรับการไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น ไขกระดูกทำงานดีขึ้นทำให้สามารถผลิตเซลเม็ดเลือดแดง ทารกจะมีความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1 กิโลกรัมเศษ ในช่วงนี้ตัวทารกใหญ่ขึ้น

เดือนที่ 8 ทารกในเดือนนี้โตมาก ทารกจะมีน้ำหนักถึง 2 กิโลกรัมมี ทารกมีความยาวของลำตัว ตั้งแต่ศีรษะถึงก้นกบ ยาว 32 เซนติเมตร ทารกมีไขมันใต้ผิวหนังผิวหนังเรียบมีสีชมพู ศีรษะมีขนขึ้นหนา การหายใจมีจังหวะ ทารกจะดิ้นแรงขึ้นแลการดิ้นมีระดับเหมือนจะบอกอะไรคุณแม่จนคุณแม่สามารถรับรู้ความแตกต่างของการดิ้นได้ ประสาทตาทำงานสมบูรณ์ทารกแยกแยะออกว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน

เดือนที่ 9 ทารกเจริญเติบโตถึงขีดสุดอวัยวะทุกระบบทำงานได้สมบูรณ์ร่างกายของทารกยังอยู่ในทาขดน้ำหนักตัวของทารกประมาณจะประมาณ 3 กิโลกรัม ผิวหนังเรียบหนาเป็นสีชมพูและเมื่อใกล้คลอดทารกจะกลับหัวลงและพร้อมที่จะคลอด (เดือนที่ 7 ทารกกลับหัวลงแล้ว) ทารกในครรภ์จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน จึงจะคลอดออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกภายนอก (Y0ur growing baby/pregnancy.เก้าเดือนของทารกในครรภ์.แม่และเด็ก.ปีที่32เดือนมกราคม 2543 หน้า19-21.)

การพัฒนาระบบประสาทสัมผัสของทารกภายในครรภ์

ทารกที่อยู่ภายในครรภ์มารดา สามารถพัฒนาศักยภาพได้โดยผ่านสัมผัสทั้ง 5 คือ

สัมผัสตา คือการมองเห็นเริ่มต้นด้วยดวงตาซึ่งทารกจะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ 7 เดือนและเริ่มลืมตาเมื่ออายเข้า 8 เดือนโดยจะเริ่มรับรู้แสงและความสามารถตอบสนองด้วยการดิ้น คุณแม่สามารถกระตุ้นได้ด้วยการใช้ไฟฉายส่องเพื่อให้แสงทะลุผ่านหน้าท้องไปถึงน้ำคร่ำให้ทารกได้รับรู้ความแตกต่างระหว่างความมืดกับความสว่าง

สัมผัสรส เริ่มต้นเมื่ออายุ 7 เดือน ทารกสามารถรับรู้รสน้ำคร่ำและรับรู้รสผ่านทางมารดาแม่ควรทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลต่ำเพื่อให้คุณแม่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะอาหารที่แม่ทานจะส่งผลโดยตรงต่อลูกน้อยคุณแม่ทานอะไรลูกก็จะได้อย่างนั้น

สัมผัสกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นโดยสัมผัสลูกน้อยโดยการลูบหน้าท้องเบาๆ พร้อมคุยกับลูกโดยทารกจะเริ่มรับรู้สัมผัสได้เมื่อ 2 เดือนแรก

สัมผัสเสียง ทารกมีพัฒนาการตั้งแต่อายุ 6 เดือนโดยจะเริ่มได้ยินเสียงต่างๆ รวมทั้งเสียงพูดคุยของคุณแม่การกระตุ้นการได้ยินสามารถทำได้โดยการเปิดเพลงหรือแนบหูฟังไว้ที่ท้องเพื่อให้ลูกน้อยได้รับรู้เสียงซึ่งปกติแล้ว ความดังของเสียงเมื่อผ่านหน้าท้องจะลดลง 30 เดซิเบลเพลงที่เปิดให้ลูกฟังควรเป็นเพลงที่ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจไม่ควรเป็นเพลงที่สร้างความตึงเครียดนอกจากนี้แม่ควรพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์ซึ่ง จะช่วยให้ลูกสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้

สัมผัสกลิ่น ทารกจะเริ่มพัฒนาการได้กลิ่นเมื่ออายุ9เดือนแต่ยังไม่ชัดเจนนักโดยในการพัฒนาการนั้นเด็กมีการหายใจเอาน้ำค่ำเข้าไปเพื่อขยายปอด เพื่อเตรียมระบบการหายใจเมื่อคลอดออกมา การกระตุ้นที่สามารถทำได้คือ การใช้กลิ่นอโรมาอ่อนๆจะช่วยให้แม่ผ่อนคลายนอกจากนั้น ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจรายงานว่าลูกมีความสามารถจำกลิ่นน้ำนมแม่ได้ ดังแสดงใน

ตารางสรุปการเสริมศักยภาพลูกน้อยในครรภ์คุณแม่ด้วย 5 สัมผัส อติวุธ กมุทมาศ.(2553.114-115)