ธรรมชาติของมนุษย์

ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของกลุ่มจิตวิทยาเกสตอล เช่น Frederick Solomon Perls ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา "กลุ่มจิตวิทยา

เกสตอล" อธิบายว่า ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มี 8 ประการคือ

1. มนุษย์เป็นส่วนเต็มที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ ที่ทำงานประสานกัน คือ ร่างกายความคิดความรู้สึกการรับรู้ ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้ จะเข้าใจในแต่ละส่วน เฉพาะไม่ได้ ตั้งเข้าใจในลักษณะของเต็มส่วนทั้งตัวบุคคล
2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมจะเข้าใจบุคคลได้ โดยปราศจากการเข้าใจ สภาพแวดล้อมของเขาไม่ได้
3. มนุษย์เป็นผู้เลือกว่าเขาจะตอบสนองกับสิ่งเร้าภายนอก และสิ่งเร้าภายในตัวเขา อย่างไร มนุษย์เป็นผู้แสดงพฤติกรรม
4. มนุษย์มีศักยภาพที่จะรับรู้ สัมผัสในตัวเองได้เกี่ยวกับความคิดความรู้สึก และอารมณ์ของตัวเอง
5. มนุษย์สามารถตัดสินใจได้ เพราะเขาเกิดการรับรู้
6. มนุษย์สามารถรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองกลับไปสู่อดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ในสภาวะปัจจุบันเท่านั้น

ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของ "กลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์" กลุ่มนี้มีนักจิตวิทยาที่สำคัญคือ Sigmund Freud ซึ่งเป็นนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์อธิบายว่า ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มี คือ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับ สัญชาตญาณ ( instinctual drives ) แรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ได้ สัญชาตญาณพื้นฐาน คือ สัญชาตญาณแห่งชีวิตและสัญชาตญาณแห่งความตาย พฤติกรรมและการแสดงออกต่างๆ ของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับ แรงจูงใจ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ พฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลแสดงไป โดยไม่รู้สึกตัวเป็น เพราะพลังจากจิตไร้สำนึก กระตุ้นให้บุคคล แสดงออกไปตาม หลักความพึงพอใจของตนอาการป่วยของบุคคลจึงเกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก( unconscious ) ทำให้มนุษย์ใช้กลไกในการป้องกันตัวเอง ( defense mechanism )

ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของ "กลุ่มพฤติกรรมนิยม"กลุ่มนี้มีนักจิตวิทยาที่สำคัญคือ Pavlov และ B.F. skinner ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาไม่ทั้งดีและเลวมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมพฤติกรรมทั้งที่ปกติและผิดปกติเป็น ผลมาจากการเรียนรุ้ซึ่ง การเรียนรู้นี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายใต้เงื่อนไขต่างๆและ การเรียนรู้เก่า สามารถทำให้หมดไป และสามารถสร้างระบบ การเรียนรู้ใหม่ขึ้นได้ มนุษย์มีความสามารถที่จะควบคุม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง แม้จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ธรรมชาติเกี่ยวกับบุคคล ในเรื่องนี้ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ ( 2541 : 40-42 ) อธิบายว่าธรรมชาติเกี่ยวกับบุคคล พอสรุปได้ดังนี้คือ

1. มนุษย์มีธรรมชาติของความเป็นผู้มีเหตุผลและการใช้อารมณ์ บุคคลที่ถูกมองว่า เป็นผู้มีเหตุผลเหมือน คอมพิวเตอร์ที่มีชีวิต คนเป็นผู้มีระบบใน การรวบรวมข่าวสารตามที่ต้องการ สามารถวิเคราะห์งานได้ละเอียดและระมัดระวัง สามารถชั่งน้ำหนัก และประเมินสถานการณ์และรวมถึง ความมีเหตุผลในการใช้ความคิด เอ็ดเวิร์ด ( Edward . 1954 , ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ . 2541: 41 ) นักจิตวิทยาได้ให้สมญานามมนุษย์ว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลในกระบวนการของข่าวสารใน แนวคิดที่ตรงข้ามมนุษย์เป็น ผู้ใช้อารมณ์ หรือมนุษย์เป็นผู้ใช้อารมณ์หลากหลายบางคนก็ควบคุมตนเองไม่ได้และขาดสติ ตัวอย่างเช่น งานของ Freud ได้ชี้ให้เห็น จิตไร้สำนึก ของบุคคลเต็มไปด้วยความคับข้องใจซึ่งมีผลมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กคือ มีการคิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหมือนกับพ่อกับลูก
2. มนุษย์มีธรรมชาติในลักษณะพฤติกรรมนิยมกับปรากฏการณ์นิยม นักจิตวิทยา กลุ่มพฤติกรรมนิยม อธิบายว่าการมองบุคคลในการแสดงออก ถึงพฤติกรรม ต่างๆและเชื่อว่าพฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าถูกวางเงื่อนไขให้กระทำได้ วัตสัน ( Watson. 1930, อ้างอิงจากปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2541 : 41 ) ได้อธิบายว่า "ให้เด็กทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์สักกลุ่มหนึ่ง ฉันสามารถอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเป็นไปตามที่ฉันต้องการได้ ตั้งแต่เป็นนายแพทย์ จิตกร แม้แต่ขอทานและโจร โดยดูจากความสามารถ ความถนัดในอาชีพตลอดจนเชื้อชาติของบรรพบุรุษ" และ สกินเนอร์ ( Skiners. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2541 : 41 ) อธิบายว่า "พฤติกรรมของมนุษย์สามารถปรับได้ แต่ก็มีนักจิตวิทยาบางท่านที่อาจเห็นว่า บุคคลมีความสามารถตามระดับสติปัญญาของเขาเอง เราไม่สามารถทำนายได้ว่าเขาเป็นอย่างไร เขาอยู่ในโลกของเขา เขามีความเป็นตัวของเขาเอง บุคคลแต่ละคนมีบุคลิกภาพเฉพาะตัว การศึกษาเกี่ยวกับคนต้องศึกษาทุกๆ ด้าน บุคคลเป็นผู้มีสมรรถภาพมากกว่าที่เรารู้จัก
3. มนุษย์มีธรรมชาติที่จะคำนึงเศรษฐกิจและการรู้จักตนเอง ในหัวข้อนี้อธิบายว่า มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและใช้เหตุผล การคำนึงถึง สิ่งที่จะสร้าง ความพึงพอใจของตนเองในการลงทุนและลงแรงน้อยที่สุด ความพึงพอใจไม่ได้หมายถึง ความภูมิใจในงานเท่านั้น หากแต่เป็นความรู้สึกถึง ความสามารถกระทำสิ่งใดๆได้สำเร็จ และบางคนอาจหมายถึง เงินหรือเศรษฐกิจ นั่นเอง การที่มนุษย์จะเป็น ผู้ที่รู้จักตนเองได้มนุษย์ก็ต้องศึกษาเรื่องของตนเองอย่างละเอียด ว่าตนเองต้องการอะไร มีปัจจัยใดบ้าง ที่ทำให้ตนเองสามารถพัฒนา พฤติกรรมที่เรากระทำอยู่นี้เป็นเหตุเป็นผลเรื่องใด แต่หลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องเศรษฐกิจนั่นเอง

ธรรมชาติของมนุษย์

แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ผู้เขียนขอสรุปแนวคิด
เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ไว้ดังนี้ คือ

1. มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี แนวความคิดนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความดีงามติดตัวมาตั้งแต่เกิด และมนุษย์มีความสามารถที่จะพัฒนาตนเอง ให้เต็มศักยภาพเท่าที่ตนเอง ต้องการ การเคารพและให้เกียรติกันจึงเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา
2. มนุษย์มีความแตกต่างกัน แตกต่างในเรื่องพันธุกรรม ในเรื่องสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันในเรื่องการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึง วัฒนธรรม ที่ตนเองอยู่ เราไม่เหมือนคนอื่นและคนอื่นก็ไม่เหมือนกับเรา เราก็มีความรู้ความสามารถ ความถนัดอย่างหนึ่ง คนอื่นก็มีความรู้ ความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ต่างคนต่างมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันจะให้เขาเหมือนเราและจะให้เราเหมือนเขาคงเป็นไปไม่ได้ หรือในเรื่องเพศต่างกันการกระทำ ความคิด ความสนใจ เจตคติก็แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อรู้ว่า มนุษย์มีความแตกต่างกัน เราก็ยอมรับ ธรรมชาติของแต่ละคน ไม่เอาเขามาเปรียบกับเรา ไม่เอาตัวเราไปตั้งเกณฑ์ประเมินค่าตามคนอื่น อยู่แบบเขาเป็นเขาและเราก็เป็นเรา เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันชีวิตก็มีค่า ชีวิตก็มีความสุข
3. มนุษย์มีแรงจูงใจในทางที่ดี ที่สูงขึ้นมนุษย์ต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น มนุษย์มีแรงจูงใจ จะทำให้มนุษย์กระทำ สิ่งต่างๆ เพื่อให้ตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
4. พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างต้องมีสาเหตุ มีที่มามีที่ไปบุคคลจะไม่กระทำสิ่งใด ๆ แบบไร้สติ ไร้ความนึกคิด แต่การกระทำของ บุคคล มีเหตุผลแห่งการกระทำโดยทั้งสิ้น เช่น คนที่ขยันทำงานอาจมาจากความต้องการผลสัมฤทธิ์ในงาน ต้องการความภูมิใจ ในตนเอง หรือแม้บางคนอาจต้องการเงินเป็นต้น อย่างไรก็ดีเราไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของคนอื่นว่ามาจากสาเหตุใด แต่ว่าเราทราบสิ่งที่ตัวเราเป็น ตัวเรากำลังจะทำอะไร การที่จะเป็นและการที่จะทำจะต้องมีพื้นฐานที่ชอบธรรม มีคุณธรรมกำกับ มีมโนธรรมสอนใจ ซึ่งจะทำให้เราเป็นคนที่ดีมีสุข และมนุษย์ก็รู้ว่าสิ่งที่ตนเองกระทำมีสาเหตุมาจากอะไร
5. มนุษย์มีความต้องการ ความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการ ดำรงชีวิตและเมื่อความต้องการนั้นๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลก็จะมีความต้องการในลำดับที่สูงขึ้นตามลำดับ เช่น ต้องการความรัก ต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ฯลฯ
6. มนุษย์มีความต้องการพัฒนาการชีวิต การพัฒนาการของมนุษย์จะพัฒนาการเป็นไป ตามช่วงวัย วัยต่างๆของมนุษย์ จะทำให้เห็น การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ตามช่วงวัย ถ้าบุคคลที่มีการพัฒนาการปกติ พัฒนาการบุคลิกภาพก็จะเพิ่มขึ้น หรือพัฒนา ตามอายุ หรือตามช่วงวัยเช่นเดียวกัน เช่น พัฒนาการบุคลิกภาพของวัยผู้ใหญ่ย่อมจะดีกว่าวัยรุ่น แต่อย่างไรก็ดี พัฒนาการ ที่เป็นไปตาม ลำดับขั้นก็จะสร้างเสริมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นรอยประสบการณ์ของบุคคลด้วย
7. มนุษย์ต้องการการผักผ่อน การนอนหลับหรือแม้แต่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจก็ เป็นการทำให้ชีวิตสดชื่นขึ้น ยามใดที่บุคคลทำงานจนลืมนึกถึงตนเอง ยามนั้นความเหนื่อยความเมื่อยล้าทำให้ประสิทธิภาพของบุคคลลดน้อยถอยลง นั่นเป็นสิ่งที่เตือนว่าถึงเวลาที่ต้องพักผ่อนแล้ว
8. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ต้องการเพื่อน ต้องการกลุ่ม ต้องการสมาคม ไม่มีใครอยู่คนเดียวในโลก เราไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ เราทุกคนมีพ่อมีแม่ มีคนหลายคนเลี้ยงดูเรา มีหลายคนที่ดูแลอบรมให้การศึกษาเรา การมีเพื่อน การมีกลุ่มจะทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ยามทุกข์หรือสุข มีใครสักคนที่พร้อมจะฟังเราอยู่ข้างๆ เรา นี่แหละที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
9. มนุษย์ต้องการขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมี กรอบในการดำเนินชีวิตตาม กระแสของสังคม และประเทศชาติ และสิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยในการปลูกฝังเจตคติ ค่านิยม แนวคิด การตัดสินใจ รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันด้วย
10. มนุษย์มีความต้องการ การอยากรู้อยากเห็น การอยากเข้าใจในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ดังนั้นมนุษย์ต้องเรียนรู้เพื่อ พัฒนาศักยภาพ ของตนเอง และตอบคำถามความอยากรู้ การใคร่จะรู้ด้วยตนเอง และการอยากรู้อยากเห็น ในแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันด้วย

ในเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับตนเองเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพนั้นยังมีแนวคิดอื่น ๆ อีก ที่ช่วยให้การศึกษาเรื่องการพัฒนา บุคลิกภาพของบุคคล นั้นๆ แต่สิ่งสำคัญ ที่ควรทำความเข้าใจร่วมกัน กล่าวคือความหมายของคำว่า บุคลิกภาพหมายถึงอะไร บุคลิกภาพ หมายถึง ทุก ๆ อย่างที่เป็นตัวเราทั้งที่ปรากฏและที่ซ่อนเร้น หรือในส่วนที่เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อ คุณภาพทางจิต จิตแบบยึดติด หรือจิตแบบสารธารณะ คือจิตที่รู้จักให้ รู้จักอภัย รู้จักปล่อยวางและรู้จักที่จะเกื้อกูล ในสังคมมีคนหลากหลายมากมายท่านรู้หรือไม่ว่า มนุษย์มีความต้องการอะไรเขาอาจจะต้องการเงิน ต้องการเกียรติ ต้องการอำนาจ หรือไม่ก็ขอให้ถูกรางวัล กับเขาสักงวด บางคนอาจขอแค่มีกินก็มีความสุขแล้ว บางคนอาจขอแค่ลูก ๆ เป็นคนดีเท่านี้ก็พอใจแล้ว หลากหลายคำตอบหลากหลายความคิด ซึ่งทุกคนคิดได้ ฝันได้และหวังได้ ส่วนจะเป็นตามที่หลายคนฝันหรือหลายคนหวังหรือไม่นั้น จะเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับแนวคิดของนักจิตวิทยาหลายท่านเชื่อว่ามนุษย์มีความต้องการ และได้อธิบายว่า มนุษย์มีความต้องการอะไร