ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา (Humanistic Theory)

ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา (Humanistic Theory)

นวลละออ สุภาผล ( 2527 : 255-288 )อธิบายว่า ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา เป็นทฤษฎีจิตวิทยาร่วมสมัยในปัจจุบันมากที่สุด แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ทำให้เกิด การเคลื่อนไหวอย่างมากในวงการจิตวิทยา เพราะได้เสนอภาพหรือ ความคิดเห็นในมนุษย์แตกต่างไปจาก ความคิดของ ทฤษฎีบุคลิกภาพที่ผ่านมาเช่น ทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นต้นผู้คิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Abraham Maslow เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยามานุษยนิยม ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น A Humanistic Theory of Personality ( ทฤษฎีบุคลิกภาพมานุษยนิยม ) และ Self-Actualizationism Theory ( ทฤษฎีการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ) เป็นต้น ทฤษฎีมานุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบุคลิกภาพโดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์มีความดีและมีคุณค่าต่อการยอมรับมนุษย์มีความต้องการที่จะมุ่งไปสู่ ความเข้าใจในศักยภาพของตนเอง ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมของเขาดีพอหรือเอื้ออำนวย ดังนั้นทฤษฎีจึงมีแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการศึกษาบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ความบริบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่ง Maslow กล่าวว่า มนุษย์จะไม่เข้าใจตนเองจนกว่า จะเกิด ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแสวงหาสิ่งต่อไปนี้คือ ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ความบริบูรณ์งอกงาม เอกลักษณ์และ ความเป็นตัวของตัวเอง และสิ่งสำคัญที่ทฤษฎีของ Maslow เน้นคือ เอกลักษณ์ของบุคคล ความสำคัญและ ความหมายของคุณค่าต่างๆ (values) ศักยภาพสำหรับการชี้นำตนเอง และ ความต้องการเจริญเติบโตของบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอิทธิพลสำคัญของ ความคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

ประวัติผู้กำเนิดทฤษฎี

Abraham Maslow เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1908 ที่เมือง Brooklyn ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐ New York บิดามารดาเป็นชาวยิว (Jews) ซึ่งอพยพมาจากรัสเซีย Maslow เป็นพี่ชายคนโตมีพี่น้อง 7 คน พ่อแม่ของเขามีความปรารถนาที่จะให้เขาได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดซึ่ง Maslow ก็ยอมรับใน ความปรารถนานี้ อย่างไรก็ตามการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายที่พ่อแม่ตั้งไว้ในระยะวัยเด็กและวัยรุ่นตอนต้นก็สร้าง ความขมขื่นให้แก่เขามากเหมือนกัน ดังที่เขาได้เขียนเกี่ยวกับตัวเองได้ว่า" ด้วย ความเป็นเด็กจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมฉันจึงไม่ป่วยเป็นโรคจิตฉันเป็นเด็กชายยิวตัวเล็กๆอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งมันเหมือนกับสภาพของ เด็กนิโกรคนแรก ที่เข้าไปอยู่โรงเรียนที่มีแต่เด็กผิวขาว ฉันรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีความสุข ฉันใช้เวลาอยู่แต่ในห้องสมุดและห้อมล้อมด้วยหนังสือต่างๆ โดยปราศจากเพื่อน" จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนอาจคิดว่า ความปรารถนาของ Maslow ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มีชีวิต ความเป็นอยู่ดีขึ้นนั้นเริ่มต้นมาจาก ความปรารถนาที่จะให้ชีวิต ความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นนั่นเอง Maslowได้ทุ่มเทเวลาอย่างมากให้กับการศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์ แต่เขาก็ยังมีประสบการณ์งานด้านอื่นๆ เช่น ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบธุรกิจสร้างถังไม้ ซึ่งน้องชายของเขาก็ยังทำกิจการนี้อยู่ทุกวันนี้ Maslow เริ่มต้นการศึกษาในระดับปริญญาในวิชากฎหมายตามคำเสนอแนะของพ่อที่ City College of New Yorkแต่เมื่อเรียนไปเพียง 2 สัปดาห์เขาก็ตัดสินใจว่าเขาไม่สามารถเป็นนักกฎหมายได้ เขาจึงเปลี่ยนมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยCornellและต่อมาก็มาเรียนที่มหาวิทยาลัย Wisconsin ในสาขาจิตวิทยา เขาได้รับปริญญาตรีเมื่อค.ศ. 1930 ปริญญาโท ในปีค.ศ. 1931 และปริญญาเอกในปีค.ศ. 1934 ทางด้านชีวิตครอบครัว เขาได้แต่งงานกับ Bertha Goodman ซึ่ง Maslow ยกย่องภรรยาว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเขามาก ดังที่เขากล่าวว่า" ชีวิตยังไม่ได้เริ่มต้นสำหรับฉันจนกระทั่งเมื่อฉันแต่งงานและได้ย้ายเข้ามาอยู่ใน Wisconsin"

ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยวิทยา ( Humanistic Theory ) และ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

งานวิจัย เพื่อรับปริญญาเอกของเขาเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ การศึกษาเรื่องเพศและคุณลักษณะของลิง การศึกษาเรื่องนี้ทำให้ Maslow เกิด ความสนใจในเรื่องเพศและ ความรักซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ความสนใจนี้มาสู่มนุษย์ Maslow ได้ทำวิจัยเรื่องเพศโดยเฉพาะการศึกษารักร่วมเพศ (homosexuality) ซึ่งมีสระสำคัญทำให้เข้าใจมนุษย์ลึกซึ้งมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1930–1934 Maslow เป็นผู้ช่วยหัวหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Wisconsin ต่อมาได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย Columbia เขาทำงานอยู่ที่นี่ ระหว่างปีค.ศ.1935–1937 ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Brooklyn จนถึงปีค.ศ. 1951 Maslow ก็ได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย New York ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาจิตวิทยา ณ ที่นี้เอง เขาได้พบกับนักจิตวิทยาชั้นนำหลายคนที่หลบหนีจาก Hitler ในสมัยนั้น ได้แก่ Erich From , Alfred Adler, Karen Horney, Ruth Benedick และ Max Wertheimer ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เขาได้แลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์กับนักจิตวิทยาเหล่านั้นอย่างมากมาย และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ Maslow ได้ศึกษาถึงกฎพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์และในระหว่างนั้นทำให้เขากลายเป็นนักจิตวิเคราะห์ไปด้วย Maslow มีความปรารถนาอย่างมากที่จะศึกษาพฤติกรรมที่ครอบคลุมมนุษย์อย่างแท้จริง Maslow มีลูกสาว 2 คน เมื่อมีลูกสาวคนแรกเขากล่าวว่า "ลูกคนแรกได้เปลี่ยนฉันให้มาเป็นนักจิตวิทยา และพบว่าจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงดู ฉันกล่าวได้ว่าทุกๆ คนที่มีลูกจะไม่สามารถเป็นนักพฤติกรรมนิยมได้" Maslow ได้พบพฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ซึ่งแสดงออกโดยลูกๆ ของเขา เขากล่าว่า "จิตวิทยาพฤติกรรมนิยมมีความสัมพันธ์ที่จะเข้าใจหนู (rodents) มากกว่าจะเข้าใจมนุษย์"
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเป็นสาเหตุให้การทำงานของ Maslow เปลี่ยนแปลงไป ใน ความเห็นของเขาสงครามก่อให้เกิดอคติ ความเกลียดชังซึ่งเป็น ความชั่วร้ายของมนุษย์ หลังจากที่ทหารยึด Pearl Harborได้นั้นมีผลต่องานของ Maslow มากดังที่เขาบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า"ข้าพเจ้ายืนมองการรบด้วยน้ำตานองหน้า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลยว่าพวก Hitlerพวก Germanพวก Stalin หรือพวก Communist มีจุดมุ่งหมายอะไร ไม่มีใครที่จะเข้าใจการกระทำของเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะเห็นโต๊ะสันติภาพ ซึ่งมีบุคคลนั่งอยู่รอบโต๊ะนั้นและพูดกันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่พูดถึง ความเกลียดชังสงคราม พูดแต่เรื่องสันติภาพและ ความเป็นพี่เป็นน้องกัน" ในเวลาที่ข้าพเจ้าคิดเช่นนี้ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจได้ว่าควรจะทำอะไรต่อไปนับตั้งแต่วินาทีนั้น ในปีค.ศ. 1941 ข้าพเจ้าได้อุทิศตัวเองในการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งทฤษฎีนี้ จะสามารถทดสอบได้จากการทดลองและการวิจัย
ปีค.ศ.1951Maslowได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของคณะจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Brandeisและอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงปีค.ศ.1961 และหลังจากนั้นเขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา ในระหว่างนี้เขาเป็นบุคคลสำคัญในการเคลื่อนไหวในกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมในหมู่นักจิตวิทยาชาวอเมริกันถึงปี 1969 เขาได้ย้ายไปเป็นประธานมูลนิธิ W.P.Laughlin ใน Menlo Part ที่Californiaและที่นี้เอง เขาได้ศึกษาในเรื่องที่เขาสนใจคือปรัชญาทางการเมืองและจริยธรรม และแล้ววาระสุดท้ายของเขาก็มาถึง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1970 เมื่ออายุเพียง 62 ปี เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจวายหลังจากที่เขาป่วยเป็นโรคหัวใจเรื้อรังมาเป็นเวลานาน หนังสือที่ Maslow เขียนมีเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น Toward a Psychology of Being ,Religions, Values and Peak Experiences,The Psychology of Science : A Reconnaissance,

หลักเบื้องต้นของจิตวิทยามานุษยนิยม (BasicTenets of Humanistic Psychology )

คำว่า "จิตวิทยามานุษยนิยม" (Humanistic psychology) ตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักจิตวิทยาเมื่อประมาณต้นๆ ปี 1960 โดยมี Maslow เป็นหัวหน้ากลุ่มในสมัยนั้น ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวงการจิตวิทยาคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (psychoanalysis and behaviorism) แต่ Maslow ได้ตั้งทฤษฎีที่มีตัวแปรแตกต่างออกไปจากกลุ่มทฤษฎีทั้ง 2 และเป็นทฤษฎีที่ไม่เหมือนกับทฤษฎีอื่นๆ จิตวิทยามานุษยนิยมไม่ได้มีระบบหรือการรวบบรวมเฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่มันแสดงคุณลักษณะของ ความเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการเข้ามารวมกันของ ความคิดหลายๆ อย่าง Maslow เรียกว่า "พลังที่ 3 ของจิตวิทยา" (third force psychology) ถึงแม้ว่า การเคลื่อนไหวนี้จะแสดง ความคิดเห็นได้กว้างขวางแต่ทั้งหมดแสดงถึง ความคิดพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ และ ความคิดพื้นฐานในทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากปรัชญาตะวันตก กลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมเน้นอย่างมากในปรัชญาเรื่องอัตถิภาวนิยม (Existential) ซึ่งเป็นปรัชญาที่กล่าวว่า บุคคลมีความรับผิดชอบในตนเอง อิทธิพลจากปรัชญานี้มีต่อแนว ความคิดทางจิตวิทยาได้พัฒนาขึ้นโดยนักคิดและนักเขียนหลายคน เช่น Kierkegaarad, Startre, Camus, Binswanger, Boss และ Frankl ส่วนนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เช่น Rollo May ก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้เช่นกัน

ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existential) กล่าวถึง มนุษย์ในแง่ของ ความเป็นเอกัตบุคคลและปัญหาเกี่ยวกับ ความคงอยู่ของแต่ละบุคคล มนุษย์เป็นผู้ที่มีความสำนึกในตนเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตที่ทุกคนต้องประสบคือ ความตาย ปรัชญาของลัทธินี้ไม่ยอมรับว่าบุคคลเป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะชีวิตในตอนต้นๆ และเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกทางเดินชีวิตของตนเอง ไม่มีสาเหตุหรือเหตุผลใดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง และมีอิสรภาพที่จะเลือกในสิ่งที่ตนสนใจหรือต้องการ กล่าวได้ว่า "ชีวิตเป็นไปตามที่ตนสร้างขึ้น" มนุษย์เป็นผู้กำหนดว่าสิ่งใดที่เขาจะกระทำหรือสิ่งใดที่เขาจะไม่กระทำ มนุษย์มีอิสระที่จะเป็นในสิ่งที่เขาต้องการ การมีอิสระในการเลือกไม่ได้เป็นสิ่งที่ประกันว่าสิ่งที่เขาเลือกนั้นจะดีสำหรับเขา เพราะถ้าเช่นนั้นบุคคลก็จะไม่พบกับ ความผิดหวังหรือมีความวิตกกังวล หรือมีความเบื่อหน่าย หรือ ความรู้สึกผิดเกิดขึ้น
แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยม ส่วนมากนำมาใช้จากปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( Existential ) คือ มนุษย์เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง มนุษย์จะแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นเด็กวัยรุ่นที่ร่าเริงสนุกสนาน แต่เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้น เด็กวัยรุ่นเหล่านั้นก็กลายเป็นผู้จรรโลงสังคม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในเวลาต่อมาทั้งนี้เนื่องมาจากมนุษย์สามารถตระหนักใน ความรับผิดชอบและพยายามค้นหาศักยภาพแห่งตน เพื่อกระทำในสิ่งที่ตนเองสามารถจะกระทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงสามารถเผชิญกับ ความจริงของชีวิตได้ ในทัศนะของกลุ่มอัตถิภาวนิยมและกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมมีความสอดคล้องกันว่า มนุษย์เป็นผู้ค้นหา ความเป็นจริงของชีวิตนอกเหนือไปจาก ความต้องการในการตอบสนองทางชีวภาพหรือการตอบสนองทางเพศ และสัญชาตญาณของ ความก้าวร้าวแล้ว และถ้าบุคคลใดปฏิเสธการเจริญเติบโต หรือไม่ต้องการ ความเจริญก้าวหน้าแสดงว่าบุคคลนั้นไม่ยอมรับตนเองไม่ยอมรับใน ความสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้กับชีวิตด้วยตนเอง ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มมานุษยนิยมได้กล่าวว่า เป็นเรื่องเศร้าที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องบิดเบือนไปและเป็นสาเหตุให้ Maslow เริ่มสนใจกระบวนการของ ความเจริญเติบโตหรือการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงในธรรมชาติที่เกี่ยวกับมนุษย์
แนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ( existential ) ได้เน้นมนุษย์ในเรื่อง ความรู้สึกและอารมณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่วัดได้ยากรวม ทั้งเน้นประสบการณ์ส่วนตัว ที่ทำให้บุคคลสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ดังนั้นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์จึงมุ่งอธิบายพฤติกรรมที่เกิดภายในจิต ซึ่งเขาถือว่า เป็นประสบการณ์ภายในหรือประสบการณ์ส่วนตัว ทฤษฎีบุคลิกภาพ Maslow มีแนวคิดสำคัญๆ 5 เรื่อง ดังนี้

  1. เอกัตบุคคลเป็นบูรณาการโดยส่วนรวมทั้งหมด (The Individual as an Integrated whole)
    พื้นฐานสำคัญที่สุดของทฤษฎีจิตวิทยามานุษยนิยมคือ นักจิตวิทยาจะต้องศึกษาสิ่งที่ทำให้เกิดบูรณาการ ความเป็นเอกลักษณ์และการจัดระบบร่วมกันทั้งหมด Maslow รู้สึกว่านักจิตวิทยาได้เสียเวลาเน้นการวิเคราะห์ส่วนย่อยที่แตกแยกออกมา โดยไม่คิดถึงบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและขาดการระลึกถึงธรรมชาติของมนุษย์ อุปมาเสมือนการศึกษาต้นไม้โดยไม่มีความรู้เรื่องป่าเลย ด้วยเหตุนี้ทฤษฎีของ Maslow จึงเป็นทฤษฎีเริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยต่อต้านทฤษฎีเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) เพราะทฤษฎีพฤติกรรมนิยมได้เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย หรือเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมและละเลยบุคคลในฐานะที่เป็นเอกภาพรวม Maslow ได้กล่าวถึงทฤษฎีบุคลิกภาพที่ดีไว้ว่าควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
    "ทฤษฎีที่ดีนั้นต้องไม่กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์เฉพาะในเรื่องท้อง ปาก หรือ ความต้องการทางเพศ แต่จะต้องกล่าวถึง ความต้องการทั้งหมดของตัวบุคคล เช่น John Smith ต้องการอาหารซึ่งมิใช่แต่เพียงเพื่อบำบัด ความหิวเท่านั้น แต่เขาต้องการ ความพึงพอใจด้วย ดังนั้นเมื่อเกิด ความหิว John Smith จึงมิได้ท้องหิวแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็น ความหิวที่เกิดจากส่วนรวมของตัวเขาทั้งหมด"
    ดังนั้นสำหรับทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow สนใจเรื่องศูนย์กลางคุณลักษณะของบุคลิกภาพจะต้องมีลักษณะเป็นเอกภาพและรวมเข้ามาด้วยกันทั้งหมด มองบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดและทำ ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของมนุษย์แต่ละคน
  2. ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างผลการวิจัยพฤติกรรมของสัตว์กับพฤติกรรมมนุษย์ (Irrelevance of Animal Research)
    สิ่งหนึ่งที่สนับสนุน ความคิดของนักจิตวิทยามานุษยนิยมที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ก็คือ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีมากกว่าสัตว์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์ชนิดพิเศษก็ตามซึ่ง ความคิดนี้ค้านกันอย่างแรงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งให้ ความสำคัญของมนุษย์ดำเนินไปอย่างเดียวกับโลกของสัตว์ Maslow ได้ให้ ความเห็นว่ามนุษย์มีความเป็นเอกภาพและแตกต่างจากสัตว์ เขากล่าวว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีปรัชญาว่า "มนุษย์เป็นเอกัตบุคคลมีชีวิตอยู่เสมือนเครื่องจักรซึ่งประกอบไปด้วยพันธนาการที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขหรือ ความไม่มีเงื่อนไข"
    แนวคิดของ Maslow เชื่อว่าแท้จริงแล้วการวิจัยพฤติกรรมจากสัตว์ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์เนื่องจากสัตว์และการศึกษา พฤติกรรมของสัตว์ก็ไม่ได้ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่อไปนี้ ความคิดของมนุษย์ ค่านิยมของมนุษย์ ความอายของมนุษย์ อารมณ์ขันของมนุษย์ ความกล้าหาญของมนุษย์ ความรักของมนุษย์รวมไปถึง งานศิลปะ ความรู้สึกอิจฉา ริษยา และที่สำคัญคือสัตว์ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานในด้านการประพันธ์ ดนตรี วิทยาศาสตร์ และงานอื่นๆ อันเป็นผลมาจากสมองและจิตใจของมนุษย์ได้เลย และไม่พบเลยว่ามีตำราเล่มใดที่กล่าวขวัญหรือยกย่องใน ความสามารถของหนู นกพิราบ ลิง และแม้แต่ปลาโลมาว่ามันฉลาดเทียบเคียงมนุษย์ฉะนั้นจะเอาพฤติกรรมสัตว์มาสรุปเป็นพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้
  3. ธรรมชาติภายในของมนุษย์ ( Man's Inner Nature )
    ทฤษฎีของ Freud เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีความชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน แรงกระตุ้นของมนุษย์ถ้าไม่มีการควบคุมก็จะนำไปสู่การทำลายผู้อื่นและทำลายตนเองได้ ทัศนะนี้จะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม Freud มองว่า "คนมีความดีบ้างเล็กน้อย" อย่างไรก็ดีแนวคิดของทฤษฎีมานุษยนิยมเชื่อว่า แท้จริงแล้ว "มนุษย์เป็นคนดีหรืออย่างน้อยก็มีทั้งดีและเลวพอ ๆ กัน" ทั้งทฤษฎีกลุ่มจิตวิเคราะห์และทฤษฎีมานุษยนิยมต่างมีเจตคติแตกต่างกัน กลุ่มมานุษยนิยมจะมองว่า " ความชั่วร้าย การทำลาย และแรงที่ผลักดันรุนแรงในตัวมนุษย์ จะเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ชั่วร้ายมากกว่า จะเกิดจากสันดานของมนุษย์เอง"
  4. ศักยภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ( Human Creative Potential )
    การสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็น ความคิดสำคัญของจิตวิทยามานุษยนิยม โดย Maslow กล่าวยกย่องว่า บุคคลที่เขาศึกษาหรือสังเกตนั้น ส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพประการแรกคือ เป็นผู้มีลักษณะการสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะทั่วไปของธรรมชาติของมนุษย์ และเป็นศักยภาพที่แสดงออกนับตั้งแต่เกิดมา และการสร้างสรรค์ถือว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ เหมือนกับที่ต้นไม้ผลิใบ หรือนกสามารถบิน เป็นต้น อย่างไรก็ดี Maslow ให้ ความเห็นว่ามนุษย์ส่วนใหญ่จะสูญเสียการสร้างสรรค์ไปเมื่อเขาเจริญเติบโต เพราะการเข้าสู่กรอบของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาในโรงเรียนมักจะทำให้การสร้างสรรค์ลบเลือนไป แต่ก็มีคนเป็นจำนวนน้อยที่ยังรักษาไว้ได้ การสร้างสรรค์ที่สูญเสียไปนี้สามารถเรียกกลับคืนมาได้ในระยะต่อมาของชีวิต Maslow กล่าวว่า การสร้างสรรค์เป็นศักยภาพของแต่ละบุคคลไม่ใช่เป็น ความสามารถพิเศษ เพราะ ความสามารถพิเศษมีเฉพาะบางคนเท่านั้น ซึ่งแสดงออกเป็นผลงานที่มีคนเป็นจำนวนน้อยสามารถทำได้ เช่น ความสามารถพิเศษในการเป็นนักประพันธ์ ความสามารถพิเศษในการเป็นศิลปิน เป็นต้น ส่วน ความสามารถสร้างสรรค์เป็น ความสามารถทั้งหมดของมนุษย์ที่แสดงออกมาได้ในอาชีพต่างๆ เช่น ช่างสร้างบ้าน จ๊อกกี้ ช่างทำรองเท้า นักเต้นรำ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
  5. การให้ความสำคัญของจิตใจที่สมบูรณ์ (Emphasis on Psychological Health)
    Maslow กล่าวว่าการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ของนักจิตวิทยาที่ผ่านๆ มานั้นไม่มีวิธีการทางจิตวิทยาวิธีใดที่จะศึกษาพฤติกรรมต่อไปนี้ได้ถูกต้อง การทำหน้าที่ของการมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ของมนุษย์ รูปแบบของชีวิต เป้าหมายของชีวิต โดยเฉพาะเขาวิจารณ์ทฤษฎีของ Freud ว่าเป็นทฤษฎีที่หมกมุ่นในการศึกษาโรคประสาทและโรคจิตมากเกินไปและทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นการมองคนในด้านเดียว และขาด ความเข้าใจที่แท้จริงคือ มองมนุษย์เฉพาะด้าน ความผิดปกติหรือ ความเจ็บป่วยของพฤติกรรมเท่านั้น ( มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติในด้านที่ไม่พึงปรารถนาเพียงด้านเดียวมนุษย์มีทั้งที่ผิดปกติและปกติ ถ้าสนใจมนุษย์ด้านผิดปกติเราก็จะพบ ความล้มเหลว และ ความไม่ดีต่างๆ ในตัวมนุษย์


เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ Maslow และผู้ร่วมงานในกลุ่มมานุษยนิยม ของเขาจึงหันมาสนใจ"ธรรมชาติทางจิตที่ดีงามของมนุษย์" และการเข้าใจสภาพจิตดังกล่าว โดยจะศึกษากับคนปกติมากกว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจMaslowเชื่อว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจ ความเจ็บป่วยทางจิตใจได้จนกว่าเราจะเข้าใจสภาพจิตใจที่มีความสมบูรณ์Maslow ยอมรับว่าการศึกษาคนพิการ บุคคลที่มีปัญหาทางจิต ผู้ที่ไม่มีวุฒิภาวะ (immature) และผู้ที่สติปัญญาอ่อน เป็นตัวอย่างการศึกษาผู้มีความบกพร่องทางจิตได้ เขามีความเชื่อมั่นว่า การศึกษาในเรื่อง ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualizing ) จะเป็นการศึกษาบุคคลที่มีรากฐานกว้างขวางในศาสตร์ของจิตวิทยา กล่าวโดยสรุปจิตวิทยาในกลุ่มมานุษยนิยมพิจารณาว่า "การกระทำตนให้สมบูรณ์" (Self-fulfillment) เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ และหลักการดังกล่าวนี้จะไม่สามารถพบจากการศึกษาบุคคลที่ผิดปกติได้เลย

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ ( Maslow's Hierarchical Theory of Motivation )

Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบายโดยใช้แนวโน้มของบุคคลในการค้นหาเป้าหมายที่จะ ทำให้ชีวิตของเขาได้รับ ความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็น ความจริงที่จะกล่าวว่ากระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีความต้องการ" (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของ ความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ ในทฤษฎีลำดับขั้น ความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับ ความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับ ความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้อง ความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
Maslow กล่าวว่า ความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและ ความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของ ความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ


ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับ ความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการ ความปลอดภัย ( Safety needs )
3. ความต้องการ ความรักและ ความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )
4. ความต้องการได้รับ ความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )
ลำดับขั้น ความต้องการของมาสโล มีการเรียงลำดับขั้น ความต้องการที่อยู่ในขั้นต่ำสุด
จะต้องได้รับ ความพึงพอใจเสียก่อนบุคคลจึงจะสามารถผ่านพ้นไปสู่ ความต้องการที่อยู่ในขั้นสูงขึ้นตามลำดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้

  1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs) เป็น ความต้องการขั้นพื้นฐาน
    ที่มีอำนาจมากที่สุดและสังเกตเห็นได้ชัดที่สุด จาก ความต้องการทั้งหมดเป็น ความต้องการที่ช่วยการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ออกซิเจน การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ ความต้องการ ความอบอุ่น ตลอดจน ความต้องการที่จะถูกกระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของร่างกายเหล่านี้ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ความอยู่รอดของร่างกายและของอินทรีย์ ความพึงพอใจที่ได้รับ ในขั้นนี้จะกระตุ้นให้เกิด ความต้องการในขั้นที่สูงกว่า และถ้าบุคคลใดประสบ ความล้มเหลวที่จะสนอง ความต้องการพื้นฐานนี้ ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น ให้เกิด ความต้องการในระดับที่สูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ถ้าความต้องการอย่างหนึ่งยังไม่ได้รับ ความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยู่ภายใต้ ความต้องการนั้นตลอดไป ซึ่งทำให้ ความต้องการอื่นๆ ไม่ปรากฏหรือกลายเป็น ความต้องการระดับรองลงไป เช่น คนที่อดอยากหิวโหยเป็นเวลานาน จะไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกได้ บุคคลเช่นนี้จะหมกมุ่นอยู่กับการจัดหาบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้มีอาหารไว้รับประทาน Maslowอธิบายต่อไปว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกเป็นสุขอย่างเต็มที่เมื่อมีอาหารเพียงพอสำหรับเขาและจะไม่ต้องการสิ่งอื่นใดอีก ชีวิติของเขากล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการรับประทาน สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้จะไม่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ ความรัก ความรู้สึกต่อชุมชน การได้รับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเช่นนี้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะรับประทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่าง การขาดแคลนอาหารมีผลต่อพฤติกรรม ได้มีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงว่า ความต้องการทางด้านร่างกายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และได้พบผลว่าเกิด ความเสียหายอย่างรุนแรงของพฤติกรรมซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอาหารหรือน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ในค่าย Nazi ซึ่งเป็นที่กักขังเชลย เชลยเหล่านั้นจะละทิ้งมาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ ที่เขาเคยยึดถือภายใต้สภาพการณ์ปกติ เช่น ขโมยอาหารของคนอื่น หรือใช้วิธีการต่างๆ ที่จะได้รับอาหารเพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งในปี ค.ศ. 1970 เครื่องบินของสายการบิน Peruvian ตกลงที่ฝั่งอ่าวอเมริกาใต้ ผู้ที่รอดตายรวมทั้งพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยู่รอดโดยการกินซากศพของผู้ที่ตายจากเครื่องบินตก จากปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์เกิด ความหิวขึ้น จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามนุษย์มีความต้องการทางด้านร่างกายเหนือ ความต้องการอื่นๆ และแรงผลักดันของ ความต้องการนี้ได้เกิดขึ้นกับบุคคลก่อน ความต้องการอื่นๆ
  2. ความต้องการ ความปลอดภัย(Safety needs) เมื่อ ความต้องการทางด้านร่างกาย ได้รับความพึงพอใจแล้วบุคคลก็จะพัฒนาการไปสู่ขั้นใหม่ต่อไป ซึ่งขั้นนี้เรียกว่า ความต้องการ ความปลอดภัยหรือ ความรู้สึกมั่นคง (safety or security) Maslow กล่าวว่า ความต้องการ ความปลอดภัยนี้ จะสังเกตได้ง่ายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ต้องการ ความช่วยเหลือและต้องพึ่งพออาศัยผู้อื่น ตัวอย่าง ทารกจะรู้สึกกลัวเมื่อถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือเมื่อเขาได้ยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสว่างมาก ๆ แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้จะทำให้ ความรู้สึกกลัวหมดไป ดังคำพูดที่ว่า "ฉันไม่กลัวเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบอีกต่อไปแล้ว เพราะฉันรู้ธรรมชาติในการเกิดของมัน" พลัง ความต้องการ ความปลอดภัยจะเห็นได้ชัดเจนเช่นกันเมื่อเด็กเกิด ความเจ็บป่วย ตัวอย่างเด็กที่ประสบอุบัติเหตุขาหักก็ตะรู้สึกกลัวและอาจแสดงออกด้วยอาการฝันร้ายและ ความต้องการที่จะได้รับ ความปกป้องคุ้มครอง และการให้กำลังใจ
    Maslow กล่าวเพิ่มเติมว่า พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างไม่กวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะไม่ทำให้เด็กเกิด ความรู้สึกว่าได้รับ ความพึงพอใจจาก ความต้องการ ความปลอดภัยการให้นอนหรือให้กินไม่เป็นเวลาไม่เพียง แต่ทำให้เด็กสับสนเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา สัมพันธภาพของพ่อแม่ที่ไม่ดีต่อกัน เช่น ทะเลาะกันทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่า ตายจากไป สภาพการณ์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อ ความรู้ที่ดีของเด็ก ทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่มั่นคง ไม่สามารถคาดการณ์ได้และนำไปสู่ ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
    ความต้องการ ความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลต่อบุคคลแม้ว่าจะผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว แม้ในบุคคลที่ทำงานในฐานะเป็นผู้คุ้มครอง เช่น ผู้รักษาเงิน นักบัญชี หรือทำงานเกี่ยวกับการประกันต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเพื่อ ความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หา ความปลอดภัยของผู้อื่น เช่น แพทย์ พยาบาล แม้กระทั่งคนชรา บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะใฝ่หา ความปลอดภัยด้วยกันทั้งสิ้น ศาสนาและปรัชญาที่มนุษย์ยึดถือทำให้เกิด ความรู้สึกมั่นคง เพราะทำให้บุคคลได้จัดระบบของตัวเองให้มีเหตุผลและวิถีทางที่ทำให้บุคคลรู้สึก "ปลอดภัย" ความต้องการ ความปลอดภัยในเรื่องอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับการเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สงคราม อาชญากรรม น้ำท่วม แผ่นดินไหว การจลาจล ความสับสนไม่เป็นระเบียบของสังคม และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสภาพเหล่านี้
    Maslow ได้ให้ ความคิดต่อไปว่าอาการโรคประสาทในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ำคิด-ย้ำทำ (obsessive-compulsive neurotic) เป็นลักษณะเด่นชัดของการค้นหา ความรู้สึกปลอดภัย ผู้ป่วยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมว่าเขากำลังประสบเหตุการณ์ทที่ร้ายกาจและกำลังมีอันตรายต่างๆ เขาจึงต้องการมีใครสักคนที่ปกป้องคุ้มครองเขาและเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งซึ่งเขาสามารถจะพึ่งพาอาศัยได้
  3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love needs) ความต้องการ ความรักและ ความเป็นเจ้าของเป็น ความต้องการขั้นที่ 3 ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ความต้องการทางด้านร่างกาย และ ความต้องการ ความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับ ความรักและ ความเป็นเจ้าของโดยการสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวหรือกับผู้อื่น สมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบุคคล กล่าวคือ บุคคลจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อถูกทอดทิ้งไม่มีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไม่มีเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเพื่อนๆ ญาติพี่น้อง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ได้ลดน้อยลงไป นักเรียนที่เข้าโรงเรียนที่ห่างไกลบ้านจะเกิด ความต้องการเป็นเจ้าของอย่างยิ่ง และจะแสวงหาอย่างมากที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
    Maslow คัดค้านกลุ่ม Freud ที่ว่า ความรักเป็นผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ (sublimation) สำหรับ Maslow ความรักไม่ใช่สัญลักษณ์ของเรื่องเพศ (sex) เขาอธิบายว่า ความรักที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับ ความรู้สึกที่ดี ความสัมพันธ์ของ ความรักระหว่างคน 2 คน จะรวมถึง ความรู้สึกนับถือซึ่งกันและกัน การยกย่องและ ความไว้วางใจแก่กัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ำว่า ความต้องการ ความรักของคนจะเป็น ความรักที่เป็นไปในลักษณะทั้งการรู้จักให้ ความรักต่อผู้อื่นและรู้จักที่จะรับ ความรักจากผู้อื่น การได้รับ ความรักและได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิด ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า บุคคลที่ขาด ความรักก็จะรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่ามีความรู้สึกอ้างว้างและเคียดแค้น กล่าวโดยสรุป Maslow มีความเห็นว่าบุคคลต้องการ ความรักและ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และการขาดสิ่งนี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิด ความข้องคับใจและทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวไม่ได้ และ ความยินดีในพฤติกรรมหรือ ความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจในลักษณะต่างๆ
    สิ่งที่ควรสังเกตประการหนึ่ง ก็คือมีบุคคลจำนวนมากที่มีความลำบากใจที่จะเปิดเผยตัวเองเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับเพศตรงข้ามเนื่องจากกลัวว่า จะถูกปฏิเสธ ความรู้สึกเช่นนี้ Maslow กล่าวว่าสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การได้รับ ความรักหรือการขาด ความรักในวัยเด็ก ย่อมมีผลกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเรื่องของ ความรัก Maslow เปรียบเทียบว่า ความต้องการ ความรักก็เป็นเช่นเดียวกับรถยนต์ที่สร้างขึ้นมาโดยต้องการก๊าซหรือน้ำมันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)
  4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง (Self-Esteem needs) เมื่อ ความต้องการได้รับ ความรักและการให้ ความรักแก่ผู้อื่นเป็นไปอย่างมีเหตุผล และทำให้บุคคล เกิด ความพึงพอใจแล้ว พลังผลักดันในขั้นที่ 3 ก็จะลดลงและมีความต้องการในขั้นต่อไปมาแทนที่ กล่าวคือมนุษย์ต้องการที่จะได้รับ ความนับถือยกย่องออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็น ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) ส่วนลักษณะที่ 2 เป็นความต้องการ ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others)
    4.1 ความต้องการนับถือตนเอง (self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธิ์ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น และมีความเป็นอิสระ ทุกคนต้องการที่จะรู้สึกว่าเขามีคุณค่าและมีความสามารถที่จะประสบ ความสำเร็จในงานภาระกิจต่างๆ และมีชีวิตที่เด่นดัง
    4.2 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่น (esteem from others) คือ ความต้องการมีเกียรติยศ การได้รับยกย่อง ได้รับการยอมรับ ได้รับ ความสนใจ มีสถานภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขาน และเป็นที่ชื่นชมยินดี มีความต้องการที่จะได้รับ ความยกย่องชมเชยในสิ่งที่เขากระทำ ซึ่งทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าว่า ความสามารถของเขาได้รับ การยอมรับจากผู้อื่น ความต้องการได้รับ ความนับถือยกย่อง ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมชาติของลำดับชั้นในเรื่อง ความต้องการด้านแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ในเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหา ความต้องการได้รับการยกย่องก็เมื่อภายหลังจาก ความต้องการ ความรักและ ความเป็นเจ้าของได้รับการตอบสนอง ความพึงพอใจของเขาแล้ว และ Maslow กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่บุคคลจะย้อนกลับจากระดับขั้น ความต้องการในขั้นที่ 4 กลับไปสู่ระดับขั้นที่ 3 อีกถ้า ความต้องการระดับขั้นที่ 3 ซึ่งบุคคลได้รับไว้แล้วนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอย่างที่ Maslow นำมาอ้างคือหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเธอคิดว่าการตอบสนอง ความต้องการ ความรักของเธอได้ดำเนินไปด้วยดี แล้วเธอจึงทุ่มเทและเอาใจใส่ในธุรกิจของเธอ และได้ประสบความสำเร็จ เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและอย่างไม่คาดฝันสามีได้ผละจากเธอไป ในเหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏว่าเธอวางมือจากธุรกิจต่างๆ ในการที่จะส่งเสริมให้เธอได้รับ ความยกย่องนับถือ และหันมาใช้ ความพยายามที่จะเรียกร้องสามีให้กลับคืนมา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของเธอเป็นตัวอย่างของ ความต้องการ ความรักซึ่งครั้งหนึ่งเธอได้รับแล้ว และถ้าเธอได้รับ ความพึงพอใน ความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยวข้องในโลกธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง
    ความพึงพอใจของ ความต้องการได้รับการยกย่องโดยทั่วๆ ไป เป็นความรู้สึกและทัศนคติของ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การมีพละกำลัง การมีความสามารถ และ ความรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์และเป็นบุคคลที่มีความจำเป็นต่อโลก ในทางตรงกันข้ามการขาด ความรู้สึกต่างๆ ดังกล่าวนี้ย่อมนำไปสู่ ความรู้สึกและทัศนคติของปมด้อยและ ความรู้สึกไม่พอเพียง เกิด ความรู้สึกอ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการรับรู้ตนเองในทางนิเสธ (negative) ซึ่งอาจก่อให้เกิด ความรู้สึกขลาดกลัวและรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์และสิ้นหวังในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความต้องการของชีวิต และประเมินตนเองต่ำกว่าชีวิต ความเป็นอยู่กับการได้รับการยกย่อง และยอมรับจากผู้อื่นอย่างจริงใจมากกว่าการมีชื่อเสียงจากสถานภาพหรือการได้รับการประจบประแจง การได้รับ ความนับถือยกย่องเป็นผลมาจาก ความเพียรพยายามของบุคคล และ ความต้องการนี้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ถ้าบุคคลนั้นต้องการคำชมเชยจากผู้อื่นมากกว่าการยอมรับ ความจริงและเป็นที่ยอมรับกันว่า การได้รับ ความนับถือยกย่อง มีพื้นฐานจากการกระทำของบุคคลมากกว่าการควบคุมจากภายนอก
  5. วามต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs) ถึงลำดับขั้นสุดท้าย ถ้า ความต้องการลำดับขั้นก่อนๆ ได้ทำให้เกิด ความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็จะเกิดขึ้น Maslow อธิบาย ความต้องการเข้าใจตนองอย่างแท้จริง ว่าเป็น ความปรารถนาในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งบุคคลสามารถจะได้รับอย่างเหมาะสมบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในขั้นสูงสุดนี้จะใช้พลังอย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ท้าทาย ความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทำพฤติกรรมตรงกับ ความสามารถของตน กล่าวโดยสรุปการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเป็น ความต้องการอย่างหนึ่งของบุคคลที่จะบรรลุถึงวจุดสูงสุดของศักยภาพ เช่น "นักดนตรีก็ต้องใช้ ความสามารถทางด้านดนตรี ศิลปินก็จะต้องวาดรูป กวีจะต้องเขียนโคลงกลอน ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้ก็เชื่อได้ว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนที่รู้จักตนเองอย่างแท้จริง" Maslow ( 1970 : 46)
    ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะดำเนินไปอย่างง่ายหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดย ความเป็นจริงแล้ว Maslow เชื่อว่า คนเรามักจะกลัวตัวเองในสิ่งเหล่านี้ "ด้านที่ดีที่สุดของเรา ความสามารถพิเศษของเรา สิ่งที่ดีงามที่สุดของเรา พลัง ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์" Maslow (1962 : 58)
    ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมิได้มีแต่เฉพาะในศิลปินเท่านั้น คนทั่วๆ ไป เช่น นักกีฬา นักเรียน หรือแม้แต่กรรมกรก็สามารถจะมีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงได้ถ้าทุกคนสามารถทำในสิ่งที่ตนต้องการให้ดีที่สุด รูปแบบเฉพาะของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างอย่างกว้างขวางจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง กล่าวได้ว่ามันคือระดับ ความต้องการที่แสดง ความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด
    Maslow ได้ยกตัวอย่างของ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในกรณีของนักศึกษาชื่อ Mark ซึ่งเขาได้ศึกษาวิชาบุคลิกภาพเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเป็นนักจิตวิทยาคลีนิค นักทฤษฎีคนอื่นๆ อาจจะอธิบายว่าทำไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอย่าง เช่น Freud อาจกล่าวว่ามันสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับสิ่งที่เขาเก็บกด ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่ Adler อาจมองว่ามันเป็น ความพยายามเพื่อชดเชย ความรู้สึกด้อยบางอย่างในวัยเด็ก Skinner อาจมองว่าเป็นผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะที่ Bandura สัมพันธ์เรื่องนี้กับตัวแปรต่างๆ ทางการเรียนรู้ทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณาว่า Mark กำลังจะพุ่งตรงไปเพื่อที่จะเป็นบุคคลที่เขาต้องการจะเป็นตัวอย่างที่แสดงถึง การมุ่งตรงไปสู่เป้าประสงค์ในอาชีพโดย ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงและถ้าจะพิจารณากรณีของ Mark ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ถ้า Mark ได้ผ่านกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและได้เขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกและในที่สุดก็ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลีนิค สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ Mark ต่อไปก็คือ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้วถ้ามีบุคคลหนึ่งได้เสนองานให้เขาในตำแหน่งตำรวจสืบสวน ซึ่งงานในหน้าที่นีจะได้รับค่าตอบแทนอย่างสูงและได้รับผลประโยชน์พิเศษหลายๆ อย่างตลอดจนรับประกันการว่าจ้างและ ความมั่นคงสำหรับชีวิต เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ Mark จะทำอย่างไร ถ้าคำตอบของเขาคือ "ตกลง" เขาก็จะย้อนกลับมาสู่ ความต้องการระดับที่ 2 คือ ความต้องการ ความปลอดภัย สำหรับการวิเคราะห์ ความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง Maslow กล่าวว่า "อะไรที่มนุษย์สามารถจะเป็นได้เขาจะต้องเป็นในสิ่งนั้น" เรื่องของ Mark เป็นตัวอย่างง่ายๆ ว่า ถ้าเขาตกลงเป็นตำรวจสืบสวน เขาก็จะไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
    ทำไมทุกๆ คนจึงไม่สัมฤทธิผลในการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Why Can't All People Achieve Self-Actualization) ตาม ความคิดของ Maslow ส่วนมากมนุษย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดที่ต้องการแสวงหาเพื่อให้เกิด ความสมบูรณ์ภายในตน

จากงานวิจัยของเขาทำให้ Maslow สรุปว่าการรู้ถึงศักยภาพของตนนั้นมาจากพลังตามธรรมชาติและจาก ความจำเป็นบังคับ ส่วนบุคคลที่มีพรสวรรค์มีจำนวนน้อยมากเพียง 1% ของประชากรที่ Maslow ประมาณ Maslow เชื่อว่าการนำศักยภาพของตนออกมาใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก บุคคลมักไม่รู้ว่า ตนเองมีความสามารถและไม่ทราบว่าศักยภาพนั้นจะได้รับการส่งเสริมได้อย่างไร มนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงไม่มั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจใน ความสามารถของตนจึงทำให้หมดโอกาสเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มาบดบังพัฒนาการทางด้าน ความต้องการของบุคคลดังนี้ สำหรับลำดับความต้องการของมนุษย์ทั้ง 5 ขั้นแสดงเป็นแผนภูมิ 2.1 ได้ดังนี้


Self-Actualization needs
Self-Esteem needs
Belongingness and Love needs
Safety needs
Physiological needs


แผนภูมิ 2.1 แสดงเรื่องลำดับขั้น ความต้องการของมนุษย์ของ Maslow

อิทธิพลของวัฒนธรรม ตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของสังคมมีต่อการเข้าใจตนเอง คือแบบพิมพ์ของวัฒนธรรม (cultural stereotype) ซึ่งกำหนดว่าลักษณะเช่นไรที่แสดง ความเป็นชาย (masculine) และลักษณะใดที่ไม่ใช่ ความเป็นชาย เช่นจัดพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเมตตากรุณา ความสุภาพและ ความอ่อนโยน สิ่งเหล่านี้วัฒนธรรมมีแนวโน้ม ที่จะพิจารณาว่า "ไม่ใช่ลักษณะของ ความเป็นชาย" (unmasculine) หรือ ความเชื่อถือของวัฒนธรรมด้านอื่นๆ ซึ่งเป็น ความเชื่อที่ไม่มีคุณค่า เช่น ยึดถือว่าบทบาทของผู้หญิงขึ้นอยู่กับจิตวิทยาพัฒนาการของผู้หญิง เป็นต้น การพิจารณาจากเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้เป็นเพียงการเข้าใจ "สภาพการณ์ที่ดี" มากกว่าเป็นเกณฑ์ของการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

ประการสุดท้าย Maslow ได้สรุปว่าการไม่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงเกิดจาก ความพยายามที่ไม่ถูกต้องของการแสวงหา ความมั่นคงปลอดภัย เช่น การที่บุคคลสร้าง ความรู้สึกให้ผู้อื่นเกิด ความพึงพอใจตนโดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ของตน บุคคลเช่นนี้จึงมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ ความมั่นคงปลอดภัยของตน โดยแสดงพฤติกรรมในอดีตที่เคยประสบผลสำเร็จ แสวงหา ความอบอุ่น และสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดขวางวิถีทางที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

แรงจูงใจเบื้องต้นและแรงจูงใจระดับสูง (Deficit Motivation versus Growth Motivation)

ในระยะต่อมา Maslow ได้อธิบาย ความคิดของเขาเรื่องลำดับของแรงจูงใจเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว คือ เขาได้แบ่งแรงจูงใจของมนุษย์ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ แรงจูงใจเบื้องต้น (deficit motive) และแรงจูงใจระดับสูง (growth motive)

  1. แรงจูงใจเบื้องต้น (Deficit motive or Deficiency or D motive) คือแรงจูงใจที่อยู่ในลำดับต่ำซึ่งเกี่ยวข้องกับสรีรภาพของอินทรีย์และ ความต้องการ ความปลอดภัย จุดมุ่งหมายของแรงจูงใจชนิดนี้ คือ การขจัดไม่ให้อินทรีย์เกิด ความตึงเครียดจากสภาพการขาดแคลน เช่น ความหิว ความกระหาย ความหนาว ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ในสภาพการณ์นี้แรงจูงใจเบื้องต้นจะทำให้เกิดแรงขับพฤติกรรม ลักษณะของแรงจูงใจเบื้องต้นทำให้เกิดแรงจูงใจเบื้องต้น 5 ประการดังนี้
    1. การขาดแรงจูงใจเบื้องต้นทำให้บุคคลเกิด ความเจ็บป่วยไม่สบาย ตัวอย่างเช่น ความหิว ถ้ามนุษย์ไม่ได้รับประทานอาหาร เขาก็จะเกิด ความเจ็บป่วย
    2. การเกิดขึ้นของแรงจูงใจเบื้องต้นจะป้องกันมิให้เกิด ความเจ็บป่วย เช่น เมื่อหิวถ้าเรารับประทานอาหาร อย่างเหมาะสมเราก็จะไม่เกิด ความเจ็บป่วย
    3. แรงจูงใจเบื้องต้นจะซ่อมแซมและรักษา ความเจ็บป่วย หมาย ความว่า ไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะรักษา ความอดอยากได้เหมือนอาหาร
    4. ภายใต้ ความซับซ้อนของสภาพการณ์ที่ให้บุคคลเลือกได้โดยอิสระ แรงจูงใจเบื้องต้น จะได้รับการเลือกจากบุคคล ที่ขาดแคลนมากกว่า คนที่ได้รับ ความพึงพอใจแล้ว เช่น คนที่อดอยากย่อมเลือกอาหารมากกว่าเรื่องเพศ
    5. คนที่มีสุขภาพดีพฤติกรรมของเขาจะไม่ถูกควบคุมโดยแรงจูงใจเบื้องต้นทั้งนี้ เพราะคนที่มีสุขภาพดีก็เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ต้องการอย่างพอเพียง ดังนั้นพฤติกรรมของเขาก็จะไม่ถูกควบคุมโดยการแสวงหาอาหาร เป็นต้น
  2. แรงจูงใจระดับสูง ( Growth motive or Metaneeds or B motive ) แรงจูงใจระดับสูงจะตรงข้ามกับแรงจูงใจเบื้องต้น เพราะเป้าหมายของแรงจูงใจชนิดนี้เป็นเป้าหมายระยะไกลซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคล จุดประสงค์ของแรงจูงใจระดับสูงก็เพื่อจะปรับปรุง ความเป็นอยู่โดยการเพิ่มพูนประสบการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกับแรงจูงใจเบื้องต้น เพราะแรงจูงใจเบื้องต้นเกิดขึ้นเพื่อลดหรือเพิ่ม ความตึงเครียด ตัวอย่างของแรงจูงใจระดับสูง เช่น บุคคลที่เลือกเรียนวิชาอินทรียเคมีก็ เพราะว่าเขาต้องการที่จะทราบเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับวิชานี้ซึ่งสะท้อนให้เห็นแรงจูงใจระดับสูงมากกว่าจะเป็นแรงจูงใจเบื้องต้น แรงจูงใจระดับสูงจะแสดงออกอย่างเด่นชัดภายหลังที่แรงจูงใจเบื้องต้น แรงจูงใจระดับสูงจะแสดงออกอย่างเด่นชัดภายหลังที่แรงจูงใจเบื้องต้นได้รับ ความพึงพอใจแล้ว เช่น บุคคลจะไม่มีความสนใจที่จะเรียนวิชาอินทรียเคมีอย่างแน่นอนถ้าเขากำลังได้รับ ความอดอยากแทบจะสิ้นชีวิต
    แรงจูงใจระดับสูงและ ความเจ็บป่วยทางจิต (Metaneeds and Metapathologies) หลังจากที่ Maslow ได้อธิบายถึงแรงจูงใจเบื้องต้นและแรงจูงใจระดับสูงแล้ว เขาได้ศึกษาค้นคว้าเเรื่องแรงจูงใจระดับสูง ซึ่งเป็นเสมือนสัญชาตญาณหรือเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่นเดียวกับแรงจูงใจเบื้องต้น และแรงจูงใจระดับสูง ถ้าบุคคลได้รับการตอบสนองจนเกิด ความพึงพอใจแล้ว ก็จะรักษาสภาพและพัฒนาให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าบุคคลอาจเกิด ความเจ็บป่วยทางจิต(psychologically sick)เป็น ความเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจาก ความล้มเหลวในการบรรลุถึง ความสมบูรณ์หรือ ความเจริญก้าวหน้าMaslowเรียก ความเจ็บป่วยนี้ว่า "metapathologies" ซึ่งเป็นสภาพของจิตใจที่มีอาการเฉยเมย (apathy) มีความผิดปกติทางจิต (alienation) เศร้าซึม (depress) เป็นต้น ความคับข้องใจของแรงจูงใจระดับสูงและ ความเจ็บป่วยทางจิตได้แสดงไว้ในตาราง 2.1ดังต่อไปนี้

 

แรงจูงใจระดับสูง
ค่านิยมของแรงจูงใจระดับสูง
ความเจ็บป่วยทางจิต
1. ความซื่อสัตย์
ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ความรู้สึกสงสัย
2. ความสวยงาม
จิตใจแข็งกระด้าง ไม่มีรสนิยม รู้สึกโดดเดี่ยว 
และเศร้าหมอง
3. ความเป็นเอกลักษณ์
สูญเสีย ความรู้สึกที่มีต่อตัวเองและ ความเป็นเอกัตบุคคล
4. ความสมบูรณ์แบบ
สิ้นหวัง ขาดจุดหมายในการทำงาน มีความสับสน
5. ความยุติธรรม
มีความโกรธ ไม่เคารพกฎหมาย เห็นแก่ตัว 
6. ความสนุกสนาน
เคร่งเครียด เศร้าซึม ขาด ความมีชีวิตชีวา ไม่รื่นเริง
7. ความดีงาม
ความรู้สึกเกลียดชัง แสดง ความรังเกียจ ไว้วางใจตนเอง 
8. ความรู้สึกง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
ความซับซ้อนมากเกินไป มีความสับสน งุนงง
 
ตาราง 2.1 แสดงเรื่อง ความคับข้องใจของแรงจูงใจระดับสูงและ ความเจ็บป่วยทางจิต

 

ความคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ( Maslow's Basic Assumptions Concerning Human Nature)

ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นของทฤษฎีบุคลิกภาพที่ว่าจิตวิทยามานุษยนิยมแตกต่างอย่างมากกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีพฤติกรรมนิยมในเรื่อง ความคิดเห็นเบื้องต้นของธรรมชาติมนุษย์ และถ้าจะวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาแล้ว จะเห็นได้ว่าจิตวิทยามานุษยนิยมสร้างขึ้นมาเพื่อคัดค้านอย่างรุนแรงกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีพฤติกรรมนิยมใน ความคิดเห็นเกี่ยวมนุษย์ ความแตกต่างอย่างยิ่งก็คือเรื่อง "แรง" (force) เพราะทฤษฎีมานุษยนิยมจะแตกต่างอย่างเด่นชัดกับทฤษฎีของ Freud และ Skinner
ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎีของ Maslow มี 7 ประการดังนี้

  1. ความเป็นอิสระ – การถูกกำหนดมาแล้ว ( Freedom – Determine )
  2. ความเป็นเหตุผล – ความไม่มีเหตุผล ( Rationality – Irrationality )
  3. การรวมเข้าเป็นส่วนรวม – ประกอบด้วยส่วนย่อย ( Holism – Elementalism )
  4. สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด – สิ่งแวดล้อม ( Constitutionalism – Environmentalism )
  5. ความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง– ความไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ( Changeability – Unchangeability )
  6. ความรู้สึกส่วนตัว – ความรู้สึกเป็นกลาง ( Subjectivity – Objectivity )
  7. การกระทำ – การตอบสนอง ( Proactivity – Reactivity )


ดังจะอธิบายโดยละเอียดเป็นข้อๆ คือ

  1. ความเป็นอิสระ – การถูกกำหนดมาแล้ว (Freedom – Determine)
    กลุ่มอัตถิภาวะนิยม Eexistentialists ยังไม่แน่ใจในการยอมรับ ความคิดเกี่ยวกับ ความเป็นอิสระของมนุษย์ แต่แนวคิดจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมเชื่อว่า มนุษย์สามารถที่จะเลือกวิถีทางของตน และ มนุษย์มีรากฐานของ ความเป็นอิสระและรับผิดชอบพฤติกรรมของเขาเอง ซึ่ง ความเป็นอิสระนี้ จะปรากฎชัดเจนในสิ่งที่บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อที่จะทำให้เกิด ความพึงพอใจใน ความต้องการของตน เช่น บุคคลจะเลือกสิ่งใดหรือเลือกอย่างไรที่จะทำให้เขาเกิด ความพึงพอใจ และสิ่งสำคัญก็คือบุคคลมีอิสระในการแสวงหาเพื่อมุ่งไปสู่การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง และการที่บุคคลจะเลือกอะไรนั้นคือศักยภาพของตัวเขา และเขาจะพัฒนาศักยภาพนั้นได้อย่างไรก็ตัวเขาเองนั่นแหละที่เป็นตัวกำหนด ในทฤษฎีของ Maslow เชื่อว่าบุคคลที่อายุมากจะไปถึงขั้นของ ความต้องการก่อนผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าและเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความมีอิสระก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย เช่น ในช่วงวัยทารกบุคคลจะยังไม่มีอิสระอย่างแท้จริง เพราะในวัยนี้บุคคลยังถูกควบคุมด้วย ความต้องการต่างๆ จากสภาพร่างกาย บุคคลยังไม่สามารถเลือกที่จะรับประทานอาหารเอง เลือกที่จะนอนหลับหรือการขับถ่าย แต่อย่างไรก็ตามศักยภาพของบุคคลได้มีอยู่โดยธรรมชาติ ในขณะที่บุคคลมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้นบุคคลก็จะเคลื่อนไปสู่ ความต้องการตามลำดับขึ้น และมีความเจริญเติบโตที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยบุคคลจะมีอิสระที่จะสร้างสรรค์ตนเองและสร้างตนเองให้เป็นไปตามทิศทางที่ตนเองต้องการ ตลอดระยะเวลาของการเคลื่อนไปตามลำดับ ความต้องการของแต่ละบุคคลก็มีศักยภาพที่จะนำตัวเองไปตามวิถีทางของตน นั่นก็คือ ความมีอิสระที่จะชี้นำตนเองนั่นเอง
  2. ความเป็นเหตุผล – ความไม่มีเหตุผล (Rationality – Irrationality)
    การพิจารณาว่ามนุษยมีเหตุผลหรือไม่ตาม ความคิดของ Maslow นั้น สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนก็คือ ความคิดของ Maslow ที่มีต่อการวิจัยสัตว์ Maslow กล่าวว่าการวิจัยสัตว์ไม่มีเหตุผลพอเพียงที่จะนำมาอ้างอิงกับจิตวิทยามนุษย์ เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิเสธเรื่องนี้คือ สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตขั้นต่ำซึ่งไม่สามารถจำประสบการณ์ในอดีตได้ สัตว์คิดได้เฉพาะเรื่องที่เป็นสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน และสำหรับเรื่องอนาคตแล้ว สัตว์ไม่สามารถที่จะคิดได้เลย ดังนั้นทฤษฎีของ Maslow จึงยึดถือ ความมีเหตุผลของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งถือว่ามนุษย์นั้นเป็นผู้ที่รู้จักเหตุผล มีสติ และรู้สำนึกในพฤติกรรมของตน
    อย่างไรก็ตาม Maslow ยอมรับว่ามีพฤติกรรมบางอย่างที่แสดงถึง ความไม่มีเหตุผลของมนุษย์ เช่น ขณะที่บุคคลมีความคิดขัดแย้งระหว่าง ความต้องการ หรืออยู่ในภาวะที่ถูกบังคับ เป็นต้น ในสภาพการณ์เช่นนี้พฤติกรรมของบุคคลจะไม่คงเส้นคงวาและบางครั้งจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการของจิตไร้สำนึก (unconscious) Maslow เชื่อว่า การกระทำหรือพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ถูกควบคุมโดยพลังที่มีเหตุมีผลและรู้สำนึก Maslow พิจารณาว่าบุคคลจะรู้สึกหรือสำนึกในตนเองและ ความรู้สึกหรือรู้สำนึกดังกล่าวนี้จะแสดงออกโดยประสบการณ์ทาง ความคิดของเขาซึ่งนับว่า เป็นข้อมูลที่เที่ยงตรงสำหรับการศึกษามนุษย์ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการของ ความไม่มีเหตุผลหรือ ความไม่รู้ตัวนั้นไม่ได้ควบคุมชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ Maslow ได้เสนอภาพของมนุษย์ใหม่ว่ามนุษย์นั้นเป็นผู้มีเหตุผล มีความรู้สึกตัว มีการรับรู้ในตนเอง ซึ่งสิ่งต่างๆ ดังกล่าวนี้ช่วยให้มนุษย์ตัดสินใจ และค้นหาศักยภาพของตนเอง
  3. การรวมเข้าเป็นส่วนรวม – ประกอบด้วยส่วนย่อย (Holism – Elementalism)
    Maslow กล่าวว่ามนุษย์นั้นรวมเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งร่างกาย และจิตใจหรือมนุษย์จะบูรณาการเข้าเป็นส่วนรวม Maslow ได้ยกตัวอย่างที่แสดงถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคคลดังนี้ ถ้า John Smith หิว "นั่นก็คือ John Smith ต้องการอาหาร ไม่ใช่ท้องของ John Smith ที่ต้องการอาหาร" (Maslow 1980 p. 19 - 20) ในเรื่องอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือ John Smith ต้องการ ความปลอดภัย John Smith ต้องการได้รับ ความนับถือยกย่อง และ John Smith ต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า Maslow รวมทุกๆ ด้านของบุคลิกภาพเข้ามาเป็นส่วนรวม และการศึกษาบุคคลโดยส่วนรวมทั้งหมดเท่านั้นจึงจะมีความเที่ยงตรงต้องการให้ข้อมูลทางจิตวิทยา บุคคลไม่ได้แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ดังนั้นการเลือกศึกษาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของบุคคลย่อมก่อให้เกิด ความผิดพลาดได้
  4. สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด – สิ่งแวดล้อม (Constitutionalism – Environmentalism)
    กลุ่มอิตถิภาวนิยม (existentialist) เน้นถึง ความเป็นอิสระที่บุคคลแสดงออก ทฤษฎีของ Maslow ก็ยอมรับในธรรมชาตินี้ของมนุษย์แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ถ้าบุคคลมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะปรุงแต่งตัวเอง และสร้างสรรค์แนวโน้มการกำหนดตัวเองได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้วไม่ว่า สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือสิ่งแวดล้อมก็จะไม่มีบทบาทสำคัญใน การสร้างลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นถึงแม้ว่า Maslow จะยอมรับใน ความเป็นอิสระของมนุษย์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เขาก็ยังคำนึงถึงอิทธิพลของสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และสิ่งแวดล้อมว่า ได้เข้ามามีบทบาทในการปรุงแต่งพฤติกรรมมนุษย์ระหว่าง สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดกับสิ่งแวดล้อม Maslow มีความโน้มเอียงที่จะให้สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีความสำคัญกว่าเล็กน้อย เช่น ความต้องการทางด้านร่างกาย เห็นได้ชัดว่าเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และ ความต้องการทางร่างกายเป็น พื้นฐานของลำดับขั้นความต้องการของแรงจูงใจของมนุษย์ และที่สำคัญกว่านี้คือ Maslow ถือว่าแรงจูงใจระดับสูง (B motive) และ ความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (self-actualization) เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด โดย Maslow อาจใช้ชื่อต่างๆ ต่อไปนี้ เช่น "พลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด" (inborn urge) "สัญชาตญาณ" (instinct) และ "สันดานมนุษย์" (inherent in human) และ Maslow ยังพิจารณาลึกซึ่งไปกว่านี้ว่าแรงขับที่มุ่งไปสู่การเข้าใจศักยภาพของตน เป็นสันดานของมนุษย์มากกว่าจะเป็นสิ่งที่มนุษยได้เรียนรู้ หรือเป็นแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิดนั่นเอง
    ในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม Maslow ยอมรับว่าอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมจะมีต่อบุคคลในระยะเริ่มแรกของชีวิตและมีผลต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพ แต่ดูเหมือนว่า Maslow จะให้ ความสำคัญดังกล่าวนี้ในด้านที่ทำให้เกิด ความเสียหายในด้านที่ทำลายพลังซึ่งทำให้เกิด ความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ในระยะต่อมามากกว่าจะให้ ความสำคัญในด้านการสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ระหว่างสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดกับสิ่งแวดล้อม Maslow ให้ ความสำคัญของสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดว่า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบ้างแต่ก็ไม่สำคัญมากนักทั้งนี้ เพราะว่าสิ่งที่เขาให้ ความสำคัญก็คือเรื่องของ ความมีอิสระ ( freedom )
  5. ความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง– ความไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง (Changeability – Unchangeability)
    การจะเข้าใจ ความคิดของ Maslow ในเรื่องที่ว่าบุคคลมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เราจำเป็นจะต้องเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถที่จะเปลี่ยแปลงหรือไม่ เราจำเป็นจะต้องเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่าง ความมีอิสระและแรงจูงใจระดับสูง ในแนวคิดของทฤษฎีมานุษยนิยมตามที่กล่าวมาแล้วเสียก่อน Maslow เชื่อว่าบุคคลมีอิสระอย่างใหญ่หลวงที่จะกำหนดจุดมุ่งหมายของตนเอง ส่วนแรงจูงใจระดับสูงซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางในทฤษฎีนี้เชื่อว่าบุคคลแสวงหาวิถีทางเพื่อ ความก้าวหน้าของตนตลอดเวลา และเพื่อการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง อันเป็นจุดยอดของปิรามิดลำดับขั้นของควมต้องการ ความเป็นอิสระและแรงจูงใจระดับสูง จะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กันและปรากฎในบุคลิกภาพ คือขณะที่บุคคลมีความต้องการต่อเนื่องไปตามลำดับขั้นของ ความต้องการเขาก็มีอิสระที่จะคิด และเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้ ความต้องการในแต่ละขั้นของเขาได้รับการตอบสนอง บุคคลจึงมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ วิถีทางของการมีชีวิตของตนเอง
  6. ความรู้สึกส่วนตัว – ความรู้สึกเป็นกลาง (Subjectivity – Objectivity)
    Maslow มีความเชื่อในเรื่อง ความรู้สึกส่วนตัวว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เขาเห็นว่าประสบการณ์หรือ ความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลเป็นข้อมูลที่สำคัญ ทางจิตศาสตร์ (Psychological science) เขากล่าวว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจมนุษย์ได้ ถ้าปราศจากการอ้างอิงถึงโลกส่วนตัวของเขา (private world) สำหรับจิตศาสตร์แล้วประสบการณ์หรือ ความรู้สึกส่วนตัวมีความสำคัญมากกว่าพฤติกรรมที่ได้จากการสังเกต ในขณะที่ Maslow ได้แสดงลำดับขั้นของ ความต้องการว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยของมนุษย์ เขาก็ยอมรับว่า ความต้องการเหล่านี้จะมีลักษณะเฉพาะในแต่ละคน จะแสดงออกในวิถีทางที่เป็น เอกลักษณ์ของตน ตัวอย่าง เช่น Ann และ Betty ทั้ง 2 คนต่างก็มีความต้องการที่จะได้รับการยกย่อง แต่ทั้ง 2 คนนี้ ต่างก็มีประสบการณ์ส่วนตัว และพยายามที่จะทำให้เกิด ความพึงพอใจใน ความต้องการนี้แตกต่างกัน เช่น Ann อาจจะแสดงตัวว่าเป็นแม่ที่ดีของลูกเพื่อให้คนอื่นยอมรับเธอในด้านของ ความเป็นแม่ แต่ Betty อาจจะได้รับ ความพึงพอใจที่จะได้รับการยกย่องจากการประสบ ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ดังนั้นการจะเข้าใจบุคลิกภาพของบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจของเขาซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาวิเคราะห์พฤติกรรม
  7. การกระทำ – การตอบสนอง (Proactivity – Reactivity)
    นักจิตวิทยาในกลุ่ม Maslowian ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก แต่เขาเชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้กระทำ (act) มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายโต้ตอบ (react) ตัวอย่าง เช่น การที่บุคคลพยายามจะสนอง ความพึงพอใจใน ความต้องการต่างๆ เขาก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเอง หรือ ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงก็ไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใดมากระตุ้น มนุษย์จึงมีธรรมชาติที่จะแสดงพฤติกรรมมากกว่าจะเป็นฝ่ายโต้ตอบ

 

คุณลักษณะของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Characteristics of Self- Actualizing People)

Maslow ได้กำหนดคุณลักษณะของบุคคล ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงไว้15 ข้อดังนี้

  1. มีความสามารถที่จะรับรู้ ความเป็นจริงอย่างถูกต้อง ( Efficient Perception of Reality ) คุณลักษณะที่เด่นอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงคือมีความสามารถที่จะรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ถูกต้องและตรงตาม ความจริงและจะมีความสัมพันธ์กับ ความเป็นจริงนั้น ๆ อย่างมีความสุข โดยไม่มองว่า ความเป็นจริงเหล่านั้นเป็นปัญหากับตน เขาจะไม่ยอมให้ ความปรารถนาและ ความหวังของเขาบิดเบือนสิ่งที่เขาได้ประสบ เขาจะมีความเข้าใจผู้อื่นและสามารถตัดสินผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วในพฤติกรรมต่างๆ เช่น การเสแสร้ง ความไม่จริงใจ ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ Maslow ค้นพบว่า ความสามารถที่จะรับรู้ ความเป็นจริงอย่างถูกต้องจะเห็นได้ชัดเจนในบุคคลหลายๆ อาชีพ เช่น ศิลปิน นักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง และนักปรัชญา เป็นต้น
    บุคคลที่มีความสามารถรับรู้ ความเป็นจริงอย่างถูกต้องจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี ไม่มีความวิตกกังวล ไม่มองโลกในแง่ร้าย และมีความสามารถอดทนต่อ ความไม่สมหวังหรือ ความผันแปรไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ และเมื่อมีความผิดหวังใดๆ เกิดขึ้นก็จะยอมรับ และไม่รู้สึกกระทบกระเทือนใจโดยจะอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายใจ
  2. ยอมรับในตนเอง ยอมรับผู้อื่น และยอมรับธรรมชาติ (Acceptance of Self, others, and Nature) บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีจะมีความรู้สึกยกย่องนับถือตนเองและผู้อื่น เป็น ความรู้สึกยกย่องที่ไม่มากเกินไปจนเกิน ความเป็นจริง และมีความอดทนในข้อบกพร่อง ความผิดหวัง ความอ่อนแอของตน และเป็นคนที่มีอิสระจากการถูกครอบงำใน ความรู้สึกผิด ความรู้สึกอาย ความรู้สึกท้อแท้ใจ หรือ ความวิตกกังวล สำหรับการยอมรับในธรรมชาติ หมายถึงการยอมรับในธรรมชาตินั้นๆ เช่น ยอมรับว่าน้ำย่อมทำให้เปียกหินย่อมแข็ง ต้นไม้ใบไม้ย่อมมีสีเขียว เป็นต้น
    ลักษณะของบุคคลที่ยอมรับในตนเองแสดงออกและเห็นได้ชัดเจนในระดับการสนอง ความต้องการทางร่างกายคือจะเป็นคนที่รับประทานอาหารได้ นอนหลับสนิทและมีความสุขในเรื่องเพศ
  3. มีความคล่องตัว มีความเป็นธรรมชาติโดยไม่เสแสร้ง ( Spontaneity, Simplicity, Naturalness ) พฤติกรรมของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะแสดงให้เห็นถึง ความคล่องตัวและไม่มีการแสร้งทำ เขาจะแสดงออกถึงชีวิตภายในที่เป็นตัวของตัวเอง เช่น ความคิด และแรงกระตุ้นต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ชื่นชมหรือประทับใจผู้อื่น หรือบางครั้งอาจดูเหมือนกับว่าขาด ความสุภาพ แต่พฤติกรรมต่างๆ ของเขาก็จะไม่ผิดไปจากขนบธรรมเนียมประเพณี
  4. ใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลาง (Problem Centering) เมื่อมีปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการประกอบอาชีพ การทำงานในหน้าที่ ฯลฯ เขาจะไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือเอาแต่ใจตนในการแก้ปัญหาเหล่านั้น แต่จะแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุโดยไม่เข้าข้างตนเอง นอกจากนี้การทำงานของเขา จะมีหลักการว่า มีชิวิตอยู่เพื่องานมากกว่าที่จะทำงาน เพื่อให้มีชีวิตอยู่ คือมีแนวโน้มที่จะอุทิศตนเองในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็ม ความสามารถ
  5. มีความสันโดษมีความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสงบเรียบร้อย (Detachment : Need for Privacy) เป็นผู้ที่ไม่สร้าง ความผูกพันหรือพึ่งพาอาศัยผู้อื่นมากนัก ซึ่งมีลักษณะเช่นนี้ทำให้ผู้อื่นมองว่าเป็นคนไว้ตัว ทำตัวห่างเหิน หยิ่ง หัวสูง และเย็นชา ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ไม่มีความต้องการสร้างมิตรภาพกับผู้อื่นมากเกินไป เขาจะเชื่อมั่นใน ความสมบูรณ์ภายในตัวของเขาเองและไม่รู้สึกเดือดร้อนที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
  6. เป็นตัวของตัวเองมีอิสระจากวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (Autonomy : Independence of Culture and Environment) ผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะไม่สร้างเงื่อนไขให้ ความพึงพอใจของตนเองขึ้นอยู่กับวัตถุและสิ่งแวดล้อมของสังคม เขาเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองที่มีต่อ ความเจริญเติบโตและพัฒนาการ ในลักษณะเช่นนี้ เขาจึงไม่เรียกร้องสิ่งแวดล้อมพิเศษที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้
    บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีย่อมต้องการนำตนเองและต้องการ ความอิสระ เขาจะมองตนเองว่าเป็นผู้บังคับบัญชาหรือปกครองตนเอง เขาจะมีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเองในอันที่จะกำหนดวิถีชีวิต หรือจุดมุ่งหมายของเขาและมีความเชื่อมั่นในตนเองในด้าน ความคิดเห็นต่างๆ โดยจะให้ ความสำคัญน้อยมากในเรื่อง ความมีหน้ามีตา การได้รับเกียรติยศ หรือการเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่เขากลับให้ ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาตนและการเจริญเติบโตของจิตใจ
  7. มีความรู้สึกชื่นชมยินดีอยู่เสมอ (Continued Freshness of Appreciation) Maslow พบว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและมีวุฒิภาวะจะมีความชื่นชมในชีวิต ความเป็นอยู่ของตนโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายหรือท้อแท้สิ้นหวัง เขาจะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วย ความสุขสดชื่น เห็น ความสดชื่นสวยงามของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น เห็น ความสวยงามของพระอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า เห็น ความน่ารักของดอกไม้ที่กำลังแย้มบาน กล่าวได้ว่าชั่วทุกขณะของเขาจะเป็นชีวิตที่ตื่นเต้นเร้าใจและมีความหมายตลอดเวลา
  8. มีความรู้สึกล้ำลึกกับธรรมชาติ (Peak of Mystic Experience) ความรู้สึกล้ำลึกกับธรรมชาติหมายถึง ความรู้สึกว่าตัวเองผสมกล้ำกลืนไปกับธรรมชาติหรือกับโลก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้สูญเสีย ความรู้สึกตัว เช่น การแสดงออกถึงการหยั่งรู้และค้นพบสิ่งที่แอบแฝงลึกลับ ทำให้บางครั้งดูเหมือนว่าเขาไม่ได้อยู่ใน ความเป็นจริงของโลกในปัจจุบัน
  9. สนใจสังคม (Social Interest) เขาจะมีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่น มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และมีความรักในเพื่อนมนุษย์ มีทัศนคติต่อตัวเองว่าเสมือนเป็นพี่ที่จะให้ ความอบอุ่นและคุ้มครองน้องๆ
  10. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relations) บุคคลที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมีแนวโน้มที่จะสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ลึกซึ้งและสนิทสนมเป็นเพื่อนสนิทเพียง 2 – 3 คน เขาไม่ต้องการเพื่อนมากแต่ต้องการเพื่อนแท้และมีแนวโน้มที่จะสร้าง ความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีลักษณะและมีความสามารถพิเศษคล้ายคลึงกับส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้จะมีความรู้สึกอ่อนโยนกับเด็กและมักจะทำให้เด็กเกิด ความไว้วางใจได้ง่าย เขาเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา และจะแสดง ความรู้สึกไม่พอใจอย่างเปิดเผยกับคนที่หลอกลวงหรือไม่จริงใจกับเขา
  11. มีความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Character Structure) จะเป็นผู้ที่มีค่านิยมของ ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่มีอคติ มีความเคารพต่อผู้อื่น มีความเต็มใจที่จะเรียนรู้จากบุคคลใดก็ได้ที่มีความสามารถจะเป็นครูเขา Maslow พบว่าผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะไม่แบ่งแยกว่ามนุษย์นั้นไม่เท่าเทียมกัน
  12. รู้ความแตกต่างระหว่างวิธีการและเป้าประสงค์ (Discrimination between Means and Ends) เขาจะยึดมั่นในหลักศีลธรรมจรรยาอย่างมั่นคงในการกระทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุถึงเป้าประสงค์ที่ดีงามและไม่มีความรู้สึกสับสนหรือ ความคิดขัดแย้งว่าสิ่งใดถูกหรือผิดสิ่งใดดีหรือเลวเขาสามารถที่จะวิเคราะห์ระหว่างสิ่งที่เขาพยายามค้นหากับวิธีการที่จะประสบ ความสำเร็จ และรู้สึกมีความสุขที่จะแสดงพฤติกรรมอันถูกต้องเหมาะสมอันจะนำไปสู่เป้าประสงค์
  13. มีอารมณ์ขันอย่างมีสันติ (Sense of Philosophical Humor) เขาจะมีอารมณ์ขันอย่างมีความคิด เช่น ไม่ขบขันในสิ่งโหดร้ายทารุณ หรือขบขันในสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องหรือเป็นปมด้อยของผู้อื่น และไม่สร้างสถานการณ์ขบขันที่จะทำให้ผู้อื่นอับอายหรือเจ็บปวด ส่วนการแสดงอารมณ์ขันนั้นจะใช้การยิ้มมากกว่าหัวเราะ
  14. มีความสามารถในการสร้างสรรค์ (Creativeness) Maslow พบว่า ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะมีในคนที่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงมากกว่าบุคคลอื่นๆ ความคิดสร้างสรรค์ของเขาจะแสดงออกในการดำเนินชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป และแสดงออกในบุคลิกภาพ หรือในผลงานต่างๆ เช่น บทกวี ศิลป ดนตรี งานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  15. การต่อต้านวัฒนธรรมภายนอกที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมภายในตน ( Resistance to Enculturation) บุคคลที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจะมีความพร้อมที่จะเผชิญกับวัฒนธรรมหรือประสบการณ์ใหม่ๆ จากสิ่งแวดล้อมของเขา และสามารถที่จะบูรณาการประสบการณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับตน หรืออาจจะรับวัฒนธรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ก็จะมีความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่ตรงกับปทัสฐานทางวัฒนธรรม เช่น เขาอาจมีความพอใจที่จะทำ พฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งขัดแย้งกับ ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ไม่ได้หมาย ความว่า การกระทำของเขาจะขัดต่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือไม่มีขอบเขตจำกัดของพฤติกรรมนั้นๆ โดยแท้จริงแล้ว เขายังมีข้อจำกัดที่จะอยู่ใน กฎเกณฑ์แต่จะมี ค่านิยมของตนเอง ที่จะเลือกประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองพึงพอใจ
Maslow เชื่อว่าการพัฒนาตนเพื่อไปสู่ ความต้องการขั้นสูงสุด คือ การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง สามารถเกิดขึ้นได้กับ บุคคลทุกคนโดยไม่จำเป็นจะต้องมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แม้ว่าจะเป็น ความจริงที่ว่า สติปัญญามีส่วนช่วยใน การพัฒนาแต่ก็มิใช่องค์ประกอบที่สำคัญ อย่างไรก็ตามบุคคลที่พัฒนามาถึงจุดสูงสุดของ ความต้องการก็มิได้หมาย ความว่า เขาจะเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์แบบทุกอย่าง เพราะเขาก็ยังเป็นบุคคลธรรมดาที่ยังมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป เช่น มีความรู้สึกเสียใจ โกรธ กลัว มีความระแวงสงสัย หรือมีความรู้สึกอ่อนไหวที่อาจทำให้เกิด ความรู้สึกเบื่อหน่าย เห็นแก่ตัว ใจน้อย หรือเศร้าซึม แต่เขาสามารถระงับและขจัดอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างดีไม่ให้แสดงออกมาอย่างไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นผู้ที่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงจึงไม่ใช่บุคคลที่มีความสุขสมบูรณ์ในชีวิตหรือประสบ ความสำเร็จใน ความปรารถนาทุกอย่างหรือมีความสามารถปรับตัวได้ดียิ่ง แต่สิ่งสำคัญของบุคคลเหล่านี้คือมีความเข้าใจตนเอง เข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะชี้นำการดำเนินชีวิตของตนได้ประสบ ความสุขและ ความสำเร็จได้ดีกว่าคนอื่นๆ

กระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพ (The Process of Personality Development)

การพัฒนาบุลิกภาพในทัศนะของ Maslow คือการได้รับ ความพึงพอใจจาก ความต้องการขั้นต่ำไปสู่ ความต้องการขั้นต่ำไปสู่ ความต้องการขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับ การผ่านพ้น ความต้องการแต่ละขั้นนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิด ความหวาดหวั่นและไม่สนอง ความต้องการต่างๆ ย่อมจะส่งเสริม ความเจริญเติบโตของบุคลิกภาพและนำไปสู่การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ในทัศนะของ Maslow สิ่งแวดล้อมสำคัญมากใน ความต้องการเบื้องต้น ตัวอย่างที่แสดง ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นที่เข้าใจชัดเจนว่า ความต้องการต่างๆ ต่อไปนี้ ความปลอดภัย ความรักและ ความเป็นเจ้าของ เป็น ความต้องการที่ขึ้นอยู่กับ ความร่วมมือจากบุคคลอื่นที่จะทำให้เกิด ความพึงพอใจ ต่อมาในความต้องการระดับสูงขึ้นบุคคล จะอาศัยสิ่งแวดล้อมน้อยลงแต่จะใช้ประสบการณ์ภายในตน เพื่อชี้นำพฤติกรรม ดังนั้นใน ความต้องการระดับสูง พฤติกรรมจึงถูกกำหนดโดยธรรมชาติภายในของบุคคล เช่น ความสามารถ ศักยภาพ ความสามารถพิเศษ และแรงกระตุ้นทางการสร้างสรรค์ เมื่อถึงระยะนี้ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งว่าบุคคลต้องการรางวัลหรือ ความเห็นชอบจากผู้อื่นลดน้อยลง เป็นการเปลี่ยนการเรียนรู้จาก การเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ไปสู่การเรียนรู้โดยวิธีรับรู้ด้วยตนเอง (associative learning to perceptual learning) การเรียนรู้โดยวิธีรับรู้ด้วยตนเองจะเป็นการเรียนรู้โดย ความสมัครใจ มีความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) มีความสามารถเข้าใจตนเอง และไปสู่พัฒนาการของบุคลิกภาพขั้นสุดท้าย คือมีความเข้าใจตนเอง และโลกอย่างแท้จริงซึ่งจะช่วยให้การดำเนินชีวิต เป็นไปอย่างราบรื่น และประสบ ความสำเร็จ
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow เป็นทฤษฎีที่ให้ ความรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมนุษย์แตกต่างไปจากทฤษฎีที่ตั้งขึ้นในระยะแรกๆ ของการศึกษาในเรื่องนี้ เป็นทฤษฎีที่มองมนุษย์ในมิติใหม่ว่ามนุษย์นั้นมีความดี มีความงาม มีคุณค่า และมีความปรารถนาที่จะพัฒนาตนเองซึ่งนับว่าเป็น ความคิดเห็นที่มีประโยชน์ในการศึกษาจิตวิทยาบุคลิกภาพทำให้เข้าใจพฤติกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่งจะเป็นข้อมูลสำหรับ การพัฒนาบุคลิกภาพให้ไปสู่จุดมุ่งหมายสุดท้ายคือบุคลิกภาพที่สมบูรณ์แบบหรือในทัศนะของ Maslow คือการพัฒนาบุคคลไปสู่การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงนั่นเอง