ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ

สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ปรับระบบความคิด พิชิตอัฉริยภาพ" โดย นางสาววนิษา เรซ ในการสัมมนาเครือข่ายสัมพันธ์ครั้งที่ 2 "เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นนทบุรี

ภารกิจหลักของสมองที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่สมองอยู่ในร่างกายนั้น สมองของมนุษย์มีคนละ 1 ก้อน ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

- ส่วนคิด ส่วนเปลือกสมองใหม่ อยู่ตรงส่วนท้ายทอยเติบโตมาช้าที่สุด เก็บข้อมูลที่เป็นความทรงจำระยะยาวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นมนุษย์ บุคลิกภาพ การทำงาน การวางแผนระยะยาว ลิงชิมแปนซีซึ่งมีดีเอ็นเอซ้ำกับมนุษย์ถึง 99.5 % ก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอารมณ์ อยู่ในเปลือกสมองใหม่ มีองค์ประกอบเยอะมาก เป็นชิ้นเล็กๆ เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมอารมณ์ทุกชนิด ดีใจ โกรธ เศร้า มีความหวัง มีความทุกข์ ความสุข ทำงานไม่มีวันหยุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

- ส่วนอัตโนมัติ ก้านสมองต่อจากระดูกสันหลัง ดูแลเรื่องระบบอัตโนมัติ เราควบคุมไม่ได้เพราะเขาทำงานเอง เช่นการ หายใจ การสูบฉีดโลกหิต ระบบการย่อยอาหาร การขับถ่าย จะอยู่ในนี้ สัตว์เลื้อยคลานก็มีสมองส่วนนี้เหมือนกับมนุษย์

ความจำระยะสั้น

เมื่อเราลืมตาตื่นขึ้นมาสมองส่วนทีเก็บความจำระยะสั้นก็จะเริ่มทำงานเ ก็บข้อมูลช่วงสั้น 30 วินาทีต่อเนื่องทั้งวัน เก็บข้อมูลได้ครั้ง 3-7 ข้อมูล หากเกินกว่า 30 วินาที เราจะจำไม่ได้ เราก็ต้องจด สมองนี้อยู่ในส่วนคิด และจะถูกปิดทันทีเมื่อระบบหลัก คือการเอาชีวิตรอดทำงาน

Amygdala

สมองส่วนนี้มีลักษณะเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ จะอยู่นิ่งๆ ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการเอาตัวรอด ประเมินสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ ที่มีลักษณะที่คุกคาม ประเมินทางจิตวิทยา ที่อาจจะเป็นอันตรายกับชีวิตได้ เมื่อพบแล้วจะมีปรากฏการณ์ อามิดาลาไฮแจ็ค เกิดขึ้นในสมองส่วนอื่นๆเพื่อหยุดกระบวนการคิด และเกิดกระบวนการเอาตัวรอด สภาพร่างกายจะอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะหนีหรือต่อสู้ สารเคมีในการต่อสู้หลั่งออกมา คือสารอดรีนาลิน จะตกค้างอยู่ในระบบ ทำให้หัวใจเต้นแรงไม่มีความสงบมีแต่ความหวาดกลัว ร่างกายจะถูกบังคับให้เคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัว วิธีแก้ก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำในลักษณะของการเคลื่อนไหว
สมอง 3 ส่วน อีกรูปแบบหนึ่ง

รูปแบบนี้จะอธิบายกระบวนการรับและจัดการข้อมูลของสมองที่มีลักษณะเป็น network โดยส่งข้อมูลเป็นประจุไฟฟ้าและสารเคมี

  1. Recognition network คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สมองส่วนนี้เริ่มจากท้ายทอยต่อจากด้านสมอง ขึ้นมาทางกกหูของเรา ภาพที่ทุกคนมองอยู่จะตกกระทบที่ตาและถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนของสมองที่ลึกที่สุด ภาพที่เรามองเห็นมาตั้งแต่เด็ก จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาวที่นี่ ส่วนเสียงจะเก็บไว้ใกล้ๆที่กกหู
  2. Strategic Network เมื่อเรารับข้อมูล มาจากสภาพแวดล้อมแล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยบัญชาการข้อมูล ที่หน้าผาก มาถึงประมาณ กลางกระหม่อม เป็นสมองส่วนหน้าสุด เป็นสมองส่วนของหัวหน้า เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
  3. Affective Network อยู่ในเปลือกสมอง อยู่ส่วนกลาง บัญชาการอารมณ์ทั้งหมด ทุกการทำงาน ทุกการตัดสินใจ ทุกลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ สมองส่วนอารมณ์เป็นตัวที่เริ่มตัดสินใจให้เราก่อน แล้วจึงมาที่สมองส่วนคิด สมอง 2 ส่วนแรก ทำงานไม่ได้ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานไม่สมประกอบ

เซลล์สมองและเส้นใยสมอง

ประกอบไปด้วยนิวเคลียสและเส้นประสาท หน้าที่หลักคือประมวลผลข้อมูล โดยทำการส่งข้อมูลในสมองทุกอย่างที่เราทำในชีวิต ทุกการตัดสินใจ ทุกการคิด เกิดขึ้นในเซลล์สมอง เกิดจากการส่งปฏิกิริยาเคมี และส่งประจุไฟฟ้าเล็กๆ โดยเซลล์สมอง มีเส้นใยสมองทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับเส้นใยอื่นๆเหมือนกับสายโทรศัพท์ 1 เซลล์มี 1 หมื่นเส้น สามารถติดต่อกับเซลล์อื่นได้ 1 หมื่นเซลล์ เซลล์สมองของคนมี 1 แสนล้านเซลล์ สามารถทำงานพร้อมกันได้มากกว่า 10 โปรแกรม โดยไม่ทำให้การทำงานช้าลง การส่งข้อมูลเกิดขึ้นทุกวินาที แม้ในเวลาเราหลับหรือในเวลาที่ป่วยแบบไม่รู้สึกตัว ซึ่งเซลล์สมองและเส้นใยสมองสามารถสร้างได้ใหม่ทุกวัน

กระบวนการบันทึกข้อมูลในสมองลงสู่ความจำ มี 5 กระบวนการด้วยกัน

  1. รับข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
  2. ข้อมูลไม่สำคัญสมองจะผ่านไป เช่น บิลบอร์ดที่อยู่ข้างทางที่เรามองเห็น อยู่ริมถนนสมองจะชะล้างข้อมูลนั้นออกไป ถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา
  3. ถ้าสมองเราคิดและตัดสินใจแล้วว่าน่าสนใจ จะส่งข้อมูลไปที่ Hippocampus อวัยวะที่ทำหน้าที่บันทึกจากความทรงจำระยะสั้น ลงสู่ความทรงจำระยะยาว
  4. Amygdala จะเป็นตัวบอกว่าข้อมูลนี้มีประจุทางอารมณ์สูงหรือน้อยแค่ไหน ข้อมูลที่ถูกเก็บได้ดีจะมีประจุทางอารมณ์สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรือลบ ทุกข้อมูลต้องผ่าน อามิดาลาหมด
  5. ท้ายที่สุดจะส่งไป Hippocampus อีกครั้งหนึ่งเพื่อบันทึกความจำลงสู่เปลือกสมองด้านนอกหรือ Cortex หรือ การเก็บข้อมูลความทรงจำระยะยาว โดยสถานที่เก็บข้อมูลต่างๆมักจะแยกกันอยู่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาพ จะถูกเก็บไว้ที่ท้ายทอย ข้อมูลเสียงจะถูกเก็บที่ใกล้กกหู ข้อมูลการเคลื่อนไหวของร่างกายจะถูกเก็บอยู่ที่สมองน้อย

ถ้าข้อมูลถูกบันทึกมาถึงขั้นตอนที่ 5 เราสามารถดึงข้อมูลนั้นมาใช้ได้ตลอดชีวิต แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ของมนุษย์เราจะเดินทาง ไม่ถึงขั้นตอนที่ 5 จะค้างอยู่ขั้นที่ 3 หรือขั้น ที่ 2

กระบวนการจำมี 3 ขั้นตอน

  1. Registration การรับข้อมูลเข้าสู่สมอง การรับข้อมูลผ่านการมอง ฟัง และการสัมผัส แต่ละบุคคลมีการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้การรับรู้จึงแตกต่างกัน
  2. Retention เก็บเอาไว้
  3. Retrieval ดึงออกมาใช้

Adoping a Brain-friendly Lifestye

วิธีการใช้ชีวิตที่จำเป็นสำหรับการใช้สมองในชีวิตประจำวัน

สังคมในปัจจุบัน การทำงาน การเดินทาง ทั้งหมดนี้เป็นการรุมทำร้ายสมองมาก สมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมาก แต่ก็บอบบางมาก การดูแลเป็นเรื่องที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการใช้ความคิด สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

Goal setting

การวางเป้าหมายในชีวิต ทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่ สมองชอบมาก สมองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตรอด หากเราไม่มีเป้าหมาย ที่ชัดเจน จะเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะสมองชอบสิ่งที่ปลอดภัย คาดเดาได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการวางแผน และเป้าหมายในชีวิต ที่จะบอกล่วงหน้าว่าเราจะทำอะไร การวางเป้าหมายเป็นการทำให้สมอง ไม่กลัวการถูกคุกคาม และสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่

Eating right

การกินอาหารที่ถูกต้อง สมองเราแบ่งอาหารออกเป็น 2 หมวด คือ Good-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์ดี และ Bad-mood food อาหารที่กินแล้วอารมณ์เสีย หากเราอารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ ให้มองกลับไปว่าก่อนหน้าที่เรากินอะไร การแยกอาหารสองชนิดนี้คือ Slow-release สมองของเราหากได้รับประทานอาหารที่ปล่อยพลังงานช้าๆ สมองจะมีการรับคลื่นพลังงานอย่างช้าๆ ต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ถ้าเรากินอาหารที่ให้พลังงานสูงและเร็วมาก เช่น น้ำตาลทรายขาว คลื่นพลังงานของเราจะขึ้นมาสูงมาก นาทีที่คลื่นขึ้นสูง เราจะสันดาปอาหารทันที พลังงานก็จะตกทันที เมื่อพลังงานตกทันที เราจำเป็นต้องเสริมพลังงานใหม่เข้าไป คลื่นก็จะขึ้นสูงอีกครั้งและตกทันที ลักษณะที่คลื่นขึ้นสูง-ต่ำ ผิดธรรมชาติแบบนี้ หากเรากินแบบนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก หากเป็นเด็กมีอารมณ์แปรรวน และจะฝังอยู่ใน ความทรงจำของเขา ทำให้เขากลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวนง่ายตลอดชีวิต

Good-mood food Bad-mood food

  • Cereal & milk
  • ข้าวซ้อมมือหรือขนมปังโฮลวีท
  • นมไม่พร่องมันเนย
  • แพนเค้ก
  • ผลไม้
  • ผักสด
  • ผักปรุง
  • พืชหัว เมล็ดพืช
  • เครื่องดื่มผลไม้ เครื่องดื่มซ่อมแซมโปรตีน - คุ้กกี้
  • ขนมหวานมากๆ
  • ชาปริมาณมากๆ
  • กาแฟปริมาณมากๆ
  • ชีสจำนวนมาก
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • น้ำตาลทรายขาว

ดังนั้นเราจึงต้องบำรุงสมองด้วยวิตามินดังนี้

- วิตามิน B12 และ Folate มีในส้ม ผักโขม ผักบร็อคโคลี่ ช่วยซ่อมแซมและดูแลการเสื่อมของเซลล์สมอง
- ธาตุเหล็ก มีในตับ และผักใบเขียวจัด ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
เมื่อสมองประกอบไปด้วย โปรตีน 8 % ไขมัน 10 % และ น้ำ 72 % ดังนั้นในการดูแลสมองเราจึงควรจิบน้ำตลอดทั้งวัน เป็นการเติมน้ำให้สมอง เพราะเซลล์สมองต้องการน้ำ หากมีน้ำไปเลี้ยงน้อย จะมีอาการเดียวกับพืชขาดน้ำ คือหดเล็กลง ช่องที่จะส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ก็จะกว้างขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้ามาก เวลาที่เราคิดอะไรไม่ออกเป็นไปได้ว่า เราลืมดื่มน้ำ การดื่มน้ำจึงจำเป็นมาก
สารเคมีอีกชนิดที่ใช้สำหรับ การดูแลสมองคือ "ออกซิเจน" ทำได้ด้วยท่าการนั่งและท่าการยืน ถ้าเรานั่งนานตัวเราจะงอลง มีผลต่อปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอย่างมาก ท่าที่ถูกต้องก็คือการยืดตัว หรือการยืนตัวตรงหลังไหล่ไม่ค้อม ทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น 20%

Exercising regularly ออกกำลังกายเป็นประจำ

1. จำเป็นมากสำหรับการดูแลเรื่องเส้นเลือดในสมอง ถ้าฝึกเป็นประจำโอกาสที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะน้อยมากเมื่อเราอายุมากขึ้น
2. เมื่อเราออกกำลังกาย สมองของเราจะหลั่งสารเคมีเอนโดรฟินหรือความสุขออกมา มีลักษณะเสพติดได้คล้ายยาเสพติด ชื่อ มอร์ฟีน ซึ่งมีโครงสร้างเดียวกันกับ เอนโดรฟิน จะทำให้มีความสุขและมีความหวังไปพร้อมๆกัน ช่วยในการมองอนาคตระยะยาว
หากเราออกกำลังกายเป็นประจำแล้วหยุด การไม่ได้ออกกำลังจะหงุดหงิดมาก เป็นอาการเดียวกับการถอนยาหรือลงแดง เพราะสมองเราไม่ได้รับสารเคมีในเวลาที่ควรจะได้รับ และจะต้องออกกำลังได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการออกกำบังกายนี้ ช่วยในการสร้างเซลล์สมองใหม่ใน Hippocampus และมีออกซิเจนในเลือดมากขึ้น และเซลล์สมองถูกฆ่าได้ด้วยสารเคมีที่เกิดจากความเครียด ถ้าเซลล์สมองนี้ตายไปมากจะเป็นโรคความจำเสื่อม

Learning new things การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยธรรมชาติแล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ใหญ

เมื่อเราอายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของสมองน้อยลง แต่เราสามารถหลอกสมองได้ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวันเป็นประจำ สมองจะคิดว่า สภาพแวดล้อมต้องเรียนรู้เยอะมาก เพราะต้องมีชีวิตรอด ต้องเรียนรู้ใหม่ทุกวันเพื่อเก็บ Brain practice ให้อยู่กับเราได้นานๆ