สมองเมื่อมีควมารัก

สมองเมื่อมีควมารัก

บริเวณสมองหมายเลข 1 Dorsolateral middle frontal gyrus จะเป็นเยื่อหุ้มสมอง ด้านกลีบหน้าผากที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การให้เหตุผลและการแสดงภาษา สมองส่วนนี้จะได้รับข้อมูลจากสมองแฉกต่างๆ เพื่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ด้านของหมายเลข 2 คือสมองส่วน Insula ทำหน้าตอบรับกับสิ่งเร้า สภาวะร่างกาย และอารมณ์ความรู้สึก ก่อให้เกิดตัณหา หรือความติดใจหรือความอยาก ไม่ว่าจะมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง เช่น เมื่อเห็นภาพของคนรัก จะรู้สึกมีความสุขขึ้นมา นอกจากความอยากแล้ว ตัณหาที่กลับด้านกัน คือ “ความไม่อยาก” เช่น ความกลัวเจ็บ ความขยะแขยง ความอับอาย ไม่กล้าสู้หน้าคน ฯลฯ
ส่วนหมายเลข 3, 6 และ 7 นั้นจะอยู่ในกลุ่มของ Temporal อยู่ในส่วนของกลีบขมับและอยู่ที่ส่วนล่างสุดของสมอง This lobe is also the location of the primary auditory cortex, which is important for interpreting sounds and the language we hear.

กลีบนี้ยังเป็นที่ตั้งหลักของเยื่อหุ้มสมองที่เกี่ยวกับการฟังซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแปลความหมายของเสียงและภาษาที่เราได้ยิน The hippocampus is also located in the temporal lobe, which is why this portion of the brain is also heavily associated with the formation of memories. Hippocampus ยังตั้งอยู่ในส่วนขมับ ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของสมองนี้ที่เชื่อมโยงอย่างมากกับการมีความทรงจำ และในบางส่วนของ Temporal ยังทำหน้าที่ในเรื่องของการมีเหตุผล รวมทั้งการตัดสินใจต่างๆ สมองส่วนนี้จะทำงานลดลงในขณะมีความรักหรือขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นเวลามีเรามีความรัก ความใคร่ หรือความรู้สึกทางเพศ การทำงานบางส่วนของสมองส่วนนี้จะลดลง จึงทำให้เราควบคุมตนเองไม่ค่อยได้ อ่อนไหว และไม่ค่อยมีเหตุผล

ในส่วนของ Angular Gyrus หมายเลข 4 เป็นศูนย์กลางทางด้านภาษา โดยจะป้อนสัญญาณการเห็นจากการอ่านหนังสือหรือแปลความหมายของภาพ สมองส่วนนี้ถูกใช้ในการมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของบุคคลที่หนึ่งหรือบุคคลที่สาม และในด้านส่วนหมายเลข 5 และ 6 นั้น จะอยู่ในส่วนของ Occipital lobe คือกลีบท้ายทอยที่ตั้งอยู่ส่วนหลังของสมองมีความเกี่ยวข้องกับการตีความในภาพและข้อมูลที่ได้รับการส่งผ่าน สมองส่วนนี้ยังเป็นส่วนที่ได้รับ และแปลความหมายของภาพที่ได้รับจากดวงตา

สมองเมื่อมีควมารัก

ในด้านการทำงานของระบบเลือด จะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า Cortisol หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตและจะหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อมีความรัก ส่งผลทำให้เรา เกิดความตึงเครียด (Stress) และการตื่นตัว (Alertness) มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ความรู้สึกต่อการเจ็บปวดลดลง (Pain Sensitivity)
ในด้านของสารเคมีในสมองเมื่อเวลาที่เรามีความรัก สารเคมีที่รู้จักกันดีในชื่อของโดพามีน (Dopamine)จะถูกหลั่งออกมา ทำให้เรารู้สึกมีความสุข ทำให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น (Pleasure)รวมถึงเกิดแรงบันดาลใจ (Motivation) ที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าหมองลดลง (Sadness) ส่วน ออกซิโตซิน (Oxytocin) และวาโซเปรสซิน (Vasopressin) สารเคมีสองประเภทนี้เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรัก ความผูกพัน (Attachment) ความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน (Trust) เมื่อมีการหลั่งออกมามากขึ้นความรู้สึกหวาดกลัวด้านต่างๆ (Fear) จะลดลง สารดังกล่าวจะหลั่งออกมา ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ (Sexual arousal) หรือระหว่างการคลอดลูกและให้นมลูก ทำให้เกิดความรู้สึกดึงดูด อยากจะอยู่ใกล้หรือมีความสัมพันธ์กับคนที่รัก (Attraction) และสารเคมีสุดท้าย คือ สารเซโรโทนิน (Serotonin) จะมีปริมาณลดลงโดยเฉพาะช่วงแรกรัก ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คิดมาก หมกหมุ่นกับเรื่องความรัก (Obsessive thinking) มากขึ้น รวมทั้งความบ้าบิ่น กล้าเสี่ยงที่จะรุก (Aggression) ในด้านความรัก หากเกิดในช่วงนี้ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน หรือที่เราพูดกันว่าความรักทำให้คนตาบอด ทำอะไรไม่ได้ยั้งคิด

สมองในส่วนของกระบวนการรับรู้จะทำงานมากขึ้นเวลาที่เรามีความรัก ดังนั้นเราจะมองเห็นคู่รักของเราดีกว่าตัวตนที่แท้จริงของเขาหรือเธอคนนั้น เราจะรู้สึกว่า เขาหรือเธอเหล่านั้นมาเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย ในสายตาของเรา เขาหรือเธอผู้นั้นเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ทำให้เราสนใจเพียงแต่คู่รักของเรา และมองข้าม คนอื่นๆ นอกจากนี้ความรักทำให้เราเข้าใจเขาหรือเธอในเรื่องต่างๆ (Social cognition) ได้ง่ายขึ้นด้วย