งานพื้นคอนกรีต

โครงสร้างของพื้นและบันได

โครงสร้างของพื้นและบันไดนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญของตัวบ้านอีกส่วนหนึ่ง ที่จะต้องให้ความสำคัญในด้านของความแข็งแรงและ ความคงทน เพราะพื้นเป็น ส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ ทุกชนิดที่ตั้งอยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นตู้ เตียง โต๊ะ หรืออาจจะเป็นชั้นวางหนังสือ ซึ่งบางจุดอาจจะต้องรับน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม ต่อตารางเมตรเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในบางครั้งพื้นและบันไดอาจจะต้องรับแรง
กระแทกต่างๆ นอกเหนือจากความคาดหมาย เช่น แจกันกระเบื้องใบใหญ่ตก ตู้หนังสือล้ม หรือแม้กระทั่งเกิดไฟไหม้หรือเกิดแผ่นดินไหว ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้ จะไม่ใช่สิ่งปกติที่จะเกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ และหากบังเอิญ เกิดขึ้นมาแล้วโครงสร้างของพื้นที่
มั่นคงแข็งแรงกว่าก็ย่อมจะเกิดความเสียหายน้อยกว่าและให้ความปลอดภัย แก่ชีวิตของผู้อยู่อาศัยและทรัพย์สินมากกว่า ไม่เกิดการพัง
ทลายลงมาง่ายๆ
เมื่อทราบถึงความสำคัญของพื้นและบันไดเช่นนี้แล้ว จึงอยากให้ผู้อ่านทำ ความรู้จักกับสิ่งเหล่านี้ไว้พอเป็นพื้นความรู้บ้าง โดยจะ ขอเน้นที่เรื่องของพื้น เป็นหลัก เพราะเป็นส่วนประกอบที่กินบริเวณมากของตัวบ้าน และมีเรื่องราว ที่ต้องศึกษากันมากกว่า พื้นที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วๆปสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. พื้นไม้
2. พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งยังสามารถแบ่งชนิดออกได้อีกตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่
- พื้นหล่อกับที่
- พื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ
- พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง
ส่วนบันไดนั้นก็มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับพื้น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นโครงสร้างที่ทำด้วยไม้หรือ คอนกรีตเสริมเหล็กชนิดหล่อกับที่

พื้นไม้

พื้นไม้เป็นโครงสร้างของพื้นแบบง่ายๆ โดยใช้คานทำด้วยไม้ปูด้วยไม้แผ่นพื้นเรียงกันโดยวิธีเข้าลิ้นแล้วตอกตะปูยึดไว้ มัก
จะใช้ไม้เนื้อแข็งที่ให้ความแข็งแรง เช่น ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้สัก ไม้เต็ง เป็นต้น
โครงสร้างชนิดนี้มีข้อดี คือ ทำง่าย ประหยัดเวลา แต่มีข้อเสีย คือ รับน้ำหนักได้น้อย อาจมีเสียงดังเวลาใช้งานเนื่องจากไม้หด
ตัว ไม้หายากขึ้นและมีราคาแพงขึ้น ปัจจุบันพื้นไม้มักไม่ค่อยนิยมทำกันแล้วเนื่องด้วยเหตุผลข้างต้น แต่การทำบันไดยังนิยมใช้โครงสร้าง
ไม้กันอยู่มาก เพราะให้ความสวยงามแบบธรรมชาติและไม่ต้องใช้ไม้จำนวนมากนัก

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆตามลักษณะการผลิตและการใช้งาน ได้แก่

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อกับที่

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อกับที่เป็นรูปแบบของโครงสร้างพื้นที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม กรรมวิธีในการทำจะคล้ายกับการ
ทำเสาและคาน กล่าวคือ จะต้องมีการทำไม้แบบ ผูกเหล็กเส้นในลักษณะเป็นตะแกรงโดยขนาดของเหล็กเส้นที่ใช้และความถี่ของช่วง
ตารางจะขึ้นอยู่กับการคำนวณการรับน้ำหนัก ในการใช้งานแล้วเทคอนกรีตหล่อลงไป
การทำพื้นด้วยวิธีนี้มักไม่ค่อยนิยมกันแล้วใน การปลูกสร้างบ้านเรือนในปัจจุบัน เพราะขั้นตอนยุ่งยากต้องเสียเวลาในการทำ
ไม้แบบ และต้องใช้เวลานานกว่าปูนที่หล่อจะอยู่ตัวจนสามารถใช้งานรับน้ำหนักได้ แต่ก็ยังมีการใช้กันบ้างในงานบางลักษณะ เช่น การทำ
พื้นชั้นล่างที่ไม่ได้ยกพื้นอยู่บนคาน การทำพื้นห้องน้ำที่จะต้องมีการเจาะรูเพื่อเดินท่อต่างๆ เพราะสามารถวางตำแหน่งของโครงเหล็ก
เส้นไม่ให้ตรงกับรูที่เจาะได้ ต่างกับพื้นแผ่นสำเร็จรูปที่จะมีโครงลวดเหล็กฝังมาอยู่แล้วการเจาะรูพื้นนั้นถ้าหากทำให้ลวดเหล็กขาดตรง
จุดใดบริเวณนั้นก็จะไม่แข็งแรงหรือการทำโครงสร้างของบันไดคอนกรีตก็ยังคงต้องทำแบบหล่ออยู่กับที่

พื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ

โครงสร้างของพื้นชนิดนี้จะประกอบด้วยพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ (prestressed cncrete floor plank) นำมาจัดวางเรียงกันเป็นพื้นห้องแล้วเททับด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอีกชั้นหนึ่ง พื้นประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทั่วไป เพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยากและประหยัดเวลาเนื่องจากไม่ต้องทำไม้แบบ อีกทั้งเมื่อทำสำเร็จแล้วก็
สามารถใช้งานรับน้ำหนักได้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ต้องคอยให้คอนกรีตอยู่ตัวหรือบ่มตัวนานเหมือนกับการทำพื้นคอนกรีตแบบหล่อกับที่
และสามารถรับน้ำหนักได้ดี

พื้นคอนกรีตอัดแรงแบบแผ่นท้องเรียบที่นิยมใช้กันและมีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดนั้น ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว
เสริมด้วยลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูงส่วนใหญ่จะเป็นพื้นสำเร็จรูปที่มีขนาดความกว้าง 30-35 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร และมีช่วง
ความยาว (span length) 1.0-4.5 เมตร ใช้โครงลวดเหล็กอัดแรงขนาด 4-5 มิลลิเมตรฝังตามแนวยาวเป็นจำนวน 4-7 เส้น ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับความยาวของแผ่นพื้นสำเร็จรูปและการใช้งานว่าต้องการให้รับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด

พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง

พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (hollow core slab) เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างไป
จากพื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ พื้นชนิดนี้จะมีช่วงความยาวที่ยาวกว่า โดยอาจมีช่วงพาดที่ยาวถึง 12 เมตร
โดยไม่เกิดการแอ่นตัวและไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันชั่วคราวในการก่อสร้าง มีขนาดและความหนาให้เลือกมากกว่า สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า
มักใช้กับอาคารสำนักงาน อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารจอดรถมากกว่าการใช้ตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป การเทคอนกรีตทับหน้านั้นอาจ
ทำหรือไม่ทำก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และเนื่องจากพื้นสำเร็จรูปชนิดนี้เป็นแบบกลวง ฉะนั้นช่องภายในที่กลวงยัง
สามารถใช้ประโยชน์ในการเดินสายไฟหรือท่อน้ำได้อีกด้วย

พื้นสำเร็จรูป

การก่อสร้างพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปในปัจจุบันนั้นมีโครงสร้างพื้นที่นิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ
พื้นสำเร็จรูป และ พื้นหล่อในที่ สำหรับพื้นสำเร็จนั้นเป็นพื้นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว ในการก่อสร้าง และมีราคาประหยัด แต่สำหรับพื้นหล่อในที่ ก็ยังจำเป็นต้องใช้ในส่วน ที่เป็นห้องน้ำ หรือส่วนที่ต้องเจาะรูที่พื้น เนื่องจากพื้นสำเร็จรูปไม่นิยม และไม่ควรเจาะรูที่พื้น เพราะอาจทำให้ความแข็งแรง ของแผ่นพื้นลดลงได้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงยัง ต้องใช้พื้นแบบหล่อกับที่ ก่อนที่จะหล่อพื้นห้องน้ำนั้น ควรมีการเลือกสุขภัณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากระยะของท่อต่าง ๆ ของสุขภัณฑ์รุ่นต่าง ๆ นั้น ไม่เท่ากัน ตำแหน่งการฝังท่อ เพื่อเจาะรูที่พื้นสำหรับงานเดินท่อจึงไม่เท่ากันด้วย

พื้นสำเร็จรูป

ในสมัยก่อนเวลาจะก่อสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีขั้นตอนมากมาย ต้องตั้งไม้แบบผูกเหล็กเสริม ทำค้ำยันแล้วค่อยเทคอนกรีต และกว่าจะทำงานขั้นต่อไป ได้ต้องรออีกหลายวัน แต่ในสมัยปัจจุบัน มีการก่อสร้างพื้นโดยใช้พื้นสำเร็จรูป ซึ่งทำให้การก่อสร้าง สะดวกรวดเร็ว และประหยัดมากการใช้งานพื้นสำเร็จรูปมีวิธีการที่สะดวก ง่ายดาย กว่าการหล่อพื้นแบบปกติมาก วิธีการ คือ หล่อคานคอนกรีต เสริมเหล็ก หรือตั้งคานเหล็กเตรียมไว ้แล้วค่อยวาง พื้นสำเร็จรูป พาดเรียง ระหว่างคานแล้ว ดำเนินการ ผูกเหล็กตะแกรง ด้านบนพื้น แล้วเทคอนกรีต ปรับระดับทับหน้า เมื่อคอนกรีต ทับหน้า เซ็ตตัวดีแล้วก็สามารถ ทำผิวพื้นหรือ ใช้งานได้เลย ข้อจำกัด ของพื้นสำเร็จรูป คือไม่สามารถเจาะพื้นได้ ดังนั้น ส่วนที่เป็นงาน ระบบท่อ ที่ต้อง ผ่านพื้นจะต้อง มีการวางแผนและสั่งล่วงหน้าอีกทั้ง พื้นสำเร็จจะมีการรั่วซึมน้ำ ได้ส่วนของบ้านที่เป็นห้องน้ำและระเบียงหรือ พื้นที่ต้องสัมผัสกับน้ำตลอดเวลาจึงไม่ควรใช้พื้นสำเร็จ

พื้นสำเร็จรูปมีมากมายหลายชนิด ให้เลือกใช้ ในบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้น นิยมใช้พื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ ซึ่งใช้ได้ดีในช่วงเสา 3.5 - 4.5 เมตร ในขณะที่ แบบมีรูกลวง (hallow core) นั้นสามารถใช้ในช่วงเสาที่มีความกว้างถึง 6 -15 เมตร นิยมใช้กันใน อาคารขนาดใหญ่ ส่วนพื้นระบบ Post tension คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กชนิดพิเศษ ที่ออกแบบมา ให้สามารถ รับแรงดึง ได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเหล็กชนิดพิเศษนั้น ให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้น ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักมากขึ้น การที่มีเหล็กแรงดึงสูงเสริม และดึงอยู่ในพื้นคอนกรีต ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสา เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้นสู่เสาด้วย แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้กับอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ ไม่ค่อยพบเห็นพื้นชนิดนี้ ในบ้านพักอาศัย เท่าใดนัก เนื่องจากต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นสูงยุ่งยาก และมีราคาแพงมาก นอกจากกรรมวิธีการทำพื้นบ้านแบบต่าง ๆ แล้ว

ลักษณะการวางพื้นเองก็ยังแบ่งได้ 2 วิธี คือ การวางพื้นถ่ายน้ำหนักบนคาน (slab on beam) และการวางพื้นให้ถ่ายน้ำหนักบนดิน (slab on ground) โดยการวางพื้นบนดินนั้น นิยมทำกันในชั้นที่ติด กับพื้นดินที่ต้องได้รับน้ำหนักมากๆ เช่นบริเวณจอดรถ ลดปัญหา เรื่องการทรุดร้าวของโครงสร้าง และคานได้ เนื่องจากน้ำหนักพื้นทั้งหมดได้ถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงนั่นเอง ในเรื่องการเทพื้นนั้น ควรเทต่อเนื่องให้เสร็จเสียทีเดียว จะเป็นการดีเพราะคอนกรีตจะได้เป็นเนื้อเดียวกัน ตามมาตรฐานแล้ว พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องมีคอนกรีตหุ้มเหล็กเส้นไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร โดยใช้คอนกรีต ที่มีอัตราส่วน ปูน : ทราย : หิน เป็น 1:2:4

วิธีตรวจสอบความแข็งแรงของพื้นกัน คำว่า พื้น ในที่นี้หมายถึง โครงสร้างพื้น ไม่ใช่ วัสดุปูพื้น หากพื้นมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ มักจะปรากฎมีรอยร้าวให้เห็น ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้น และเป็นการบอกให้รู้ว่าโครงสร้างอาคาร หรือบ้านนั้น กำลังจะมีปัญหาอาจจะ ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยเสียแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการแก้ไข จึงควรที่จะตรวจสอบ เพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตกันจนแก้ไม่ทัน

ในการตรวจสอบหาสาเหตุการร้าว หรือทดสอบความแข็งแรงของพื้นนั้นบางครั้ง ก็เป็นเรื่องยากเพราะเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ท่านแทบจะไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบภายในได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ชนิดเหล็ก ขนาดเหล็ก จำนวนเหล็ก การผูกเหล็ก จึงเป็นการป้องกันที่ดี หากคุณเอาใจใส่ดูแล ในระหว่างการก่อสร้างเป็นอย่างดีตั้งแต่แรก แต่หากไม่แน่ใจในคุณภาพการก่อสร้าง หรือมีรอยร้าวให้เห็นแล้วนั้น ในการตรวจสอบรอยร้าวนั้นก็พอจะทำได้ และวิธีที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ การทดสอบด้วย การเอาน้ำหนักจริงที่โครงสร้างจะต้องรองรับ ( ตามมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ได้ออกแบบไว้ )ขึ้นไปวางซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธีคือ

1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบ เพราะปูนแต่ละลูกจะมีน้ำหนักกำกับไว้แน่นอน
2. ใช้ถุงปูนบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ ต้องคำนวณคร่าวๆว่า ทรายถุงหนักเท่าไร
3. กั้นพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ำลงไป วิธีนี้นอกจากใช้ทดสอบรอยร้าวแล้วยังทดสอบได้ว่าพื้นมีการรั่วซึมของน้ำหรือไม่

ถึงวิธีตรวจสอบจะมีอยู่ แต่การป้องกันไว้ก่อนด้วยการเอาใจใส่ ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำตั้งแต่ต้น เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ครับ และในการทดสอบความแข็งแรงของพื้น ก็ต้องมีวิศวกรดูแลทุกครั้งด้วย