งานโครงหลังคา

โครงสร้างของหลังคานับว่าเป็นโครงสร้างส่วนที่สำคัญของบ้านอีกส่วนหนึ่งเช่นกัน เพราะหลังคา จะทำหน้าที่ คุ้มแดดคุ้มฝนให้แก่ตัวบ้าน รวมทั้งผู้อยู่อาศัยด้วย เพราะเหตุว่าด้วยโครงสร้างหลังคา และตัวหลังคา เป็นส่วนที่อยู่ สูงสุดของตัวบ้าน ดังนั้นปัญหาเรื่อง การรับน้ำหนักของตัวหลังคา จึงไม่ค่อยพบ แต่ที่พบ บ่อยจะเป็นปัญหาเรื่องการเกาะยึดของตัว หลังคาและโครงหลังคา มากกว่า เช่น เมื่อมีลมพายุพัดแรง ๆ หลังคา ที่สร้างไว้ไม่มั่นคง หรือมีการเกาะยึดไม่ดี ก็มีโอกาสจะปลิวหลุด หรือเกิดความเสียหาย ได้มากกว่า นอกจากนี้ ปัญหาที่ได้บ่อย อีกอย่างหนึ่งคือการแตกหรือรั่วของหลังคาปัญหาเหล่านี้มักมีสาเหตุมา จากวัสดุที่ใช้ทำ หลังคา หรือการขาดความประณีต ในการทำ หลังคา เหตุเพราะว่าหลังคาเป็นส่วนที่อยู่สูงที่ สุดของตัวบ้าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมัก มองไม่เห็น และทำการแก้ไขได้ยาก ฉะนั้นขั้นตอนการทำ ที่ประณีต และการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมาก หากจะกล่าวถึง โครงสร้างของหลังคาอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. โครงหลังคา
2. วัสดุมุงหลังคา

 

โครงหลังคา

โครงหลังคาเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา โดยทำหน้าที่ยึดมุงหลังคาอย่าง เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ให้อยู่ใน ลักษณะ ที่มั่นคงแข็งแรงและเป็นระเบียบ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ยึดตัว หลังคาทั้งหมด ให้เชื่อมต่อกับ โครงสร้างของเสา และคาน ของตัวบ้าน อย่างแข็งแรง โครงหลังคาที่ดีนอกจาก จะต้องมีการเชื่อมต่อ หรือเกาะยึดอย่างแข็งแรงแล้ว ยังมีความคง ทนต่อดินฟ้าอากาศ และสภาพกาลเวลาที่ผ่านไป อีกทั้งการสร้างจะต้องกระทำอย่างประณีตและถูกต้องในแง่ของขนาดและระยะต่าง ๆ เพื่อให้แนวหลังคาที่มุงเสร็จอยู่ในลักษณะเข้าที่เรียบร้อย โครงหลังคา ที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัสดุที่ใช้ กล่าวคือ

1. โครงหลังคาไม้ โครงหลังคาที่ทำด้วยไม้นิยมใช้กันมากในสมัยก่อน เพราะต้นทุนของวัสดุต่ำ ขั้นตอนการปลูกสร้าง ก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก อีกประการหนึ่งบ้านในสมัยก่อนยังนิยมปลูกเป็นบ้านไม้ การเชื่อมต่อระหว่างโครงหลังคา กับโครงสร้างของ เสาและคาน ที่ทำด้วยไม้เหมือนกัน สามารถ ทำได้โดยสะดวก แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่จะปลูกเป็นตึก ประกอบกับไม้เป็นวัสดุที่หายากและมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะไม้คุณภาพดี ที่ให้ความแข็งแรงทนทานและคงรูปก็ยิ่งหายากและมีราคาแพง นอกจากนี้ โครงหลัง คาไม้ยังอาจมีปัญหาของปลวกเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ฉะนั้นโครงหลังคาไม้จึงไม่เป็นที่นิยมทำกันในปัจจุบัน สำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไปที่เป็นตึก แต่ยังมีใช้กันอยู่สำหรับบ้านไม้

2. โครงหลังคาเหล็ก โครงหลังคาที่ทำด้วยเหล็กเป็นโครงหลังคาที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน ปัจจุบัน เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่หาง่าย ในท้องตลาด อีกทั้งมีรูปแบบและขนาดต่าง ๆ ให้เลือกมากมายเพื่อ ให้เหมาะสมกับการรับน้ำหนักและรูปทรงที่แตกต่างกันของบ้านเรือนแต่ละหลัง นอกจากนี้ เหล็กยังเป็นวัสดุ ที่ให้ความแข็งแรงและความคงรูปเป็นอย่างดี ปราศจากปัญหาเรื่องปลวก ในแง่ของความคงทนและอายุการ ใช้งานนั้น เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม เช่น การชุบสังกะสีหรือการเคลือบสีอย่างดีจะมีอายุการใช้งาน ยาวนานหลายสิบปีในสภาพใช้งานปกติ

การเลือกใช้หลังคา

การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้ แบบหลังคา1. หลังคาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา คือสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งมีทั้งความร้อน จากแสงอาทิตย์ และความชื้นในอากาศ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคา จึงต้อง คำนึงถึงความสามารถ ในการป้องกันความร้อน รวมถึงการออกแบบ ระบบการระบายความร้อน ใต้หลังคา และการป้องกันความร้อน โดยใช้วัสดุประเภท ฉนวน ที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี ส่วนกรณี การระบาย ความร้อนใต้หลังคา ควรมีการเจาะช่องลม ให้ลมพัดมาเอา ความร้อนใต้หลังคา ออกจากตัวบ้านออกไปได้สะดวก ไม่เก็บความร้อน จนระบายผ่าน ฝ้าเพดาน สู่ห้องด้านล่าง รูปทรงหลังคาที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราคือ หลังคาทรงจั่ว และหลังคาทรงปั้นหยา เพราะสามารถ กันแดดกันฝน ทั้งยังระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี หลังคาประเภทอื่นก็ใช้ได้ หากมีการแก้ปัญหา เรื่องกันแดดกันฝน และเรื่องการระบายความร้อน ใต้หลังคากันอย่างถี่ถ้วน ตลอดจนคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆในข้อถัดไป

2. หลังคาต้องมีความสวยงามกลมกลืนกับรูปทรงของบ้าน หลังคาแต่ละประเภทควรมีลักษณะเฉพาะ สะท้อนภาพ ลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ออกมาแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้หลังคา ประเภทใดก็ควรดูจาก ลักษณะรูปทรง ของบ้าน ตลอดจนสภาพแวดล้อม ภายนอกของบ้านด้วย

3. หลังคาต้องเหมาะสมกับงบประมาณ หลังคาแต่ละชนิดถึงแม้ว่าในเนื้อที่เท่ากัน แต่ราคาค่าก่อสร้างนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากความยากง่ายในการก่อสร้าง ที่แตกต่างกัน รวมถึงวัสดุที่ใช้มากน้อยต่างกัน โดยจำแนกหลังคาบ้าน ที่นิยมกันอยู่ทั่วไป จากแบบที่ถูกไปสู่แบบที่แพงที่สุดคือ

  • หลังคาแบน (Slab)
  • หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To)
  • หลังคาทรงจั่ว (Gable)
  • หลังคาทรงปั้นหยา(Hip)
  • หลังคาแบบไร้ทิศทาง (Modern Style)

4. ความแข็งแรงทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ,

5. เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการทนไฟเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้,

6. เป็นวัสดุที่ไม่เก็บความร้อนและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ เป็นต้น

ประเภทของหลังคา

ประเภทของหลังคารูปแบบต่างๆ ที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป ซึ่งหลังคาแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ให้ท่านพิจารณาเลือกใช้ ตามความเหมาะสม รูปแบบของหลังคาสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ กันได้ดังนี้

1. หลังคาแบน (Flat Slab) มีลักษณะแบนราบคล้ายกับเป็นพื้นจึงมักถูกใช้เป็นพื้นดาดฟ้า แต่เนื่องจากรับความร้อนมาก และกันแดดกันฝน ไม่ค่อยได้ จึงไม่ใคร่เหมาะกับบ้านเราสักเท่าไร แต่ที่เห็นนำมาใช้กันได้ก็เห็นจะเป็นอาคารตึกแถวหรืออาคารพานิชย์สูงหลายชั้น และอาคารที่ไม่เน้น ความสวยงาม ของรูปทรงหลังคา การก่อสร้างหลังคาประเภทนี้คล้ายๆ กับการก่อสร้างพื้น แต่มีข้อควรทำคือ ควรจะผสมน้ำยากันซึม หรือควรมีวัสดุกันซึมปูทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทำให้บนพื้นที่หลังคาประเภทนี้ขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้

ประเภทของหลังคา2. หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To) เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่ต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น ในกรณีที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่น้ำฝนจะไหลย้อนซึมเข้ามาได้ ก็ควรใช้ความลาดชันมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็วขึ้น

3. หลังคาแบบผีเสื้อ (Butterfly) หลังคาชนิดนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกัน ไม่ค่อยเหมาะกับ สภาพภูมิอากาศ ที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไร เนื่องจากต้องมีรางน้ำที่รองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน ทำให้รางน้ำมีโอกาศรั่วซึมได้สูง จึงไม่เป็นที่นิยมสร้างกัน มากนัก ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะพิเศษที่แปลกตาออกไป

4. หลังคาทรงหน้าจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทยเรา มีลักษณะเป็นหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังมาชนกัน มีสันสูงตรงกลาง เป็นหลังคาที่มีความสะดวกในการก่อสร้าง สามารถกันแดดกันฝนได้ดี และสามารถระบายความร้อน ใต้หลังคาได้ดีอีกด้วย

5. หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ดีทุกๆด้าน มีความโอ่อ่าสง่างาม แต่หลังคาชนิดนี้มีราคาแพง เนื่องจากเปลืองวัสดุ มากกว่า หลังคาชนิดอื่นๆ ตลอดจนต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง เพราะมีรายละเอียดเยอะกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ

6. หลังคาแบบร่วมสมัย (Modern& Contemporary) เป็นหลังคาที่มีรูปทรงทันสมัย แตกต่างจาก 5 แบบข้างต้น และใช้วัสดุที่ทันสมัย ก่อให้เกิดรูปทรง แปลกตา แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนและการรั่วซึมนะ

วัสดุโครงหลังคา

รูปแบบของหลังคาชนิดต่างๆ ฉบับนี้เราจะมาว่ากันถึงวัสดุที่ใช้ทำโครงหลังคา ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในบ้านเรา ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. โครงหลังคาเหล็ก

โครงหลังคาที่เป็นเหล็กนั้นยังสามารถแยกเป็น โครงหลังคาเหล็กกลม ซึ่งนิยมใช้ในหลังคาที่ต้องการรูปทรงที่แปลกตา ตลอดจนมี ระยะช่วงกว้างของเสา มากๆ ส่วนโครงสร้างหลังคาเหล็กอีกประเภทคือ โครงหลังคาที่เป็นเหล็กตัว C ซึ่งมัก จะเป็นเหล็กที่มี ความหนาราวๆ 2.3 มม. เหมาะสำหรับใช้กับ กระเบื้องลอนคู่ และความหนาขึ้นมาหน่อยขนาด 3.2 มม. ใช้กับ กระเบื้องโมเนีย นอกจากนี้เหล็กที่ใช้ต้องเป็นเหล็กที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม และจำเป็นต้อง ทาด้วยสีกันสนิม ที่ได้รับมาตรฐานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
การเว้นระยะโครงเหล็ก สำหรับ การวางแปเหล็กเพื่อรับกระเบื้อง หรือภาษาช่างเรียกว่า "จันทัน" นันควร จะต้องเว้นระยะช่วง ห่างประมาณ 1 - 1.5 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดกระเบื้องที่เราใช้ หากใช้กระเบื้องลอนคู่จันทันก็ห่างหน่อย เพราะมีน้ำหนักเบา แต่หากเป็น กระเบื้องโมเนีย จันทันของท่านก็ชิดกันหน่อย

2. โครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง

โครงหลังคาไม้เนื้อแข็งต้องเป็นไม้ที่ได้รับการอบ หรือผึ่งจนแห้ง จะต้องไม่มีร้อยแตกร้าวบิด หรืองอ ต้องเป็นไม้ที่ได้มาตรฐาน ของกรมป่าไม้ นอกจากนี้ควรทาน้ำยากันปลวกอย่างน้อย 2 ครั้ง เพราะปลวกในบ้านเราชุกชุมและขยันเหลือเกิน การขึ้นโครงหลังคา ที่เป็นไม้ ควรใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหนา 2" x 6" หรือ 2" x 8" ขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนัก และความกว้างของอาคารตาม ความเหมาะสม หากอาคารมีช่วงกว้างมาก ควรใช้ไม้ค้ำยันเสริมความแข็งแรง เป็นโครงถัก ที่ภาษาช่างมักเรียกว่า โครงทรัส (Truss) ส่วนระยะการวางจันทันต้องเว้นระยะประมาณ 1 เมตร เนื่องจากการวางจันทัน ระยะที่ถี่จะช่วยลด ความเสี่ยงที่ทำให้ หลังคาแอ่นได้
หลักสำคัญ ในการที่จะเลือกใช้โครงหลังคาไม่ว่าจะเป็นเหล็ก หรือไม้นั้นให้ท่านคำนึงถึงอายุการใช้งานและวัสดุที่ใช้มุงหลังคา เท่านี้ท่าน ก็จะได้โครงหลังคาที่เหมาะกับบ้าน

ส่วนประกอบต่างๆของหลังคามีดังนี้ส่วนประกอบของหลังคา

1. อะเส คือส่วนของโครงหลังคาที่วางพาดอยู่บนหัวเสา ลักษณะคล้ายๆคาน ทำหน้าที่ยึดและรัดหัวเสา และยังทำหน้าที่รับแรงจาก โครงหลังคาถ่ายลง สู่เสาอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วในการวางอะแส มักจะวางทางด้านริมนอกของเสา และวางเฉพาะด้านที่มีความลาดเอียงของหลังคา ดังนั้นหลังคามะนิลา (Gable Roof) จะมีอะเสหลักเพียง 2 ด้านในขณะที่หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) จะมีอะเสหลัก 4 ด้าน
2. ขื่อ คือส่วนของโครงสร้างที่ว่าอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกัน กับจันทันทำหน้าที่รับทั้งแรงดึงและยึดหัวเสา ในแนวคานสกัด และช่วยยึดโครงผนัง
3. ดั้งเอก คือส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในแนวสันหลังคา โดยวางอยู่บนขื่อตัวฉากตรงขึ้นไป โดยมีอกไก่วางพาดตามแนวสันหลังคาเป็นตัวยึด
4. อกไก่ คือส่วนของโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับจันทัน
5. จันทัน คือสวนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสา โดยวางพาดอยู่บนอะเสและอกไก่รองรับแป หรือระแนงที่รับกระเบื้องมุงหลังคา จันทันยัง แบ่งเป็น จันทันเอกคือ จันทันที่วางอยู่บนหัวเสาและจันทันที่มิได้วางพาดอยู่บนหัวเสา โดยทั่วไปจันทันจะวางทุกระยรประมาณ 1.00 ม. โดยระยะห่างของจันทัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาและระยะแปด้วย
6. แปหรือระแนง คือส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนจันทัน รองรับวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มจากส่วนที่ต่ำสุด ไปสู่ส่วนที่สูงสุดของหลังคา
7. เชิงชาย คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดอยู่บริเวณปลายจันทัน เพื่อปกปิดความไม่เรียบร้อยของปลายจันทัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ใช้ยึดเหล็ก รับรางน้ำ และยังทำหน้าที่เป็นแผ่นปิดด้านสกัดของจันทันที่ช่วยกันมิให้ฝนสาดย้อนกลับด้วย
8. ปั้นลม คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดไม่ให้เห็นสันกระเบื้องทางด้านหน้าจั่ว และปิดหัวแป จะใช้กับอาคารประเภทมีหน้าจั่วเท่านั้น
9. ไม้ปิดลอน หรือไม้เซาะตามลอนกระเบื้อง เป็นไม้ที่มีลักษณะโค้งตามขนาดลอนของวัสดุมุงหลังคา เพื่อปิดช่องว่างระหว่าง ปลายกระเบื้อง กับเชิงชายกันนกและแมลงเล็ดลอดเข้าไปก่อความรำคาญในบ้านของท่าน
10. ตะเฆ่สัน จะอยู่บริเวณครอบมุมหลังคา ที่ความลาดเอียง 2 ด้านมาบรรจบกัน โดยหันหน้าออกจากกัน โดยมีครอบกระเบื้องและวัสดุมุงอีกที
11. ตะเฆ่ราง เป็นส่วนที่ความลาดเอียงของหลังคาสองด้านมาชนกันเป็นราง ซึ่งบริเวณส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีรางน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจาก หลังคา

ส่วนประกอบหลังคา


วัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคากันในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่หลากสีหลายชนิดเลยทีเดียว ที่พบเห็นกันทั่วไปในบ้านเราก็มีดังนี้

1. วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้อง สามรถแบ่งออกได้เป็น

- กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคากันมาแต่โบราณปัจจุบันใช้มุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆ มิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้

- กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนค้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคา ที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่า กระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถ มุงหลังคา ในความชันตั้งแต่ 17 องศา

- กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ

- กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟ และเป็นฉนวนป้องกันความร้อน มีราคาไม่แพงและมุงหลังคา ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10 องศากระเบื้องซีเมนต์ใยหินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามที่พบในท้องตลาดมี 2ชนิดคือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก ใช้กับบ้านพักอาศัย ส่วนลูกฟูกลอนใหญ่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตามสัดส่วนที่รับกันพอดี

- กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า

2. วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีด ทำจากแผ่นเหล็กอาบสังกะสีดัดเป็นลอน นิยมใช้ในการมุงหลังคา ขนาดใหญ่เพิ่มสีสัน ให้กับอาคารสมัยใหม่ แต่วัสดุชนิดนี้มีปัญหาเรื่องความร้อน เนื่องจากหลังคาโลหะกันความร้อนได้น้อยมาก และมีปัญหาเรื่องเสียงในเวลาฝนตก

3. วัสดุประเภทพลาสติกหรือไพเบอร์ที่เป็นแผ่นโปร่งใสทำเป็นรูปร่างเหมือนกระเบื้องชนิดต่างๆ เพื่อใช้มุงกับกระเบื้องเหล่านั้น ในบริเวณที่ต้องการ แสงสว่างจากหลังคาเช่นห้องน้ำ เป็นต้น ก็ทราบวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆที่นิยมใช้กันไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนการเลือกใช้นั้น ต้องคำนึงถึงลักษณะของ หลังคาความลาดเอียงรูปแบบของอาคารบ้านเรือนของท่านตลอดจน ราคาวัสดุค่าโครงหลังคาจะรักจะชอบแบบไหนก็เลือกใช้กันตามความเหมาะสม

4. วัสดุประเภทแผ่นชิงเกิ้ล ซึ่งเป็นประเภทวัสดุสังเคราะห์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในบ้านเราโดยเฉพาะอาคารประเภท รีสอร์ทตากอากาศ เพราะเล่นรูปทรงได้ หลายรูปแบบ

5. วัสดุมุงประเภทอื่นๆ เช่นวัสดุประเภททองแดงหรือแผ่นตะกั่ว เป็นต้น

เนื่องจากบ้านนั้นจุดเด่นที่สะดุดตาที่สุดก็คือ หลังคา งานหลังคาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าทำไม่ดีก็มีปัญหารั่วซึม ซึ่งจะลามไป ถึงปัญหาต่าง ๆ อีก แก้ไขกันลำบาก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะเริ่มจาก การเลือกวัสดุมุงหลังคา กันก่อน ก็คงต้องแล้ว แต่รสนิยมของท่าน เมื่อเลือกแล้วก็มาดูความลาดเอียงของหลังคา เนื่องจากวัสดุหลังคา แต่ละประเภทนั้น มีความลาดชันในการมุง ได้ไม่เท่ากันคือ

- กระเบื้องซีเมนต์ใยหินใช้มุงความลาดชันตั้งแต่ 10 องศา
- กระเบื้องคอนกรีตรูปสี่เหลียมขนมเปียกปูน ใช้มุงหลังคาความลาดเอียง 30-45 องศา
- กระเบื้องโมเนียร์ ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 17 องศา
- กระเบื้องดินเผา ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 20 องศา

ส่วนหลังคาประเภทอื่นๆ ก็ใช้มุงกันที่ประมาณ 30-45 องศา ในบ้านเมืองร้อนเช่นบ้านเรานั้น การเลือกใช้หลังคา ทีมีความชันมาก จะส่งผลดีต่อ การระบายน้ำ และการระบายความร้อนใต้หลังคา

การเลือกวัสดุมุงหลังคาคือ โครงหลังคา เพราะวัสดุมุงที่มีน้ำหนักมาก ก็จะเพิ่มราคาโครงหลังคา ที่จะมารับน้ำหนักวัสดุมุง ให้ท่านได้เหมือนกัน เมื่อได้วัสดุมุงหลังคา และความลาดชันแล้วมาดูระยะลักษณะของการทับซ้อน ระยะและมุมลาดเอียงของหลังคากัน

1. ความลาดชันของหลังคา 10-20 องศาระยะทับซ้อน 20 ซม.
2. ความลาดชันของหลังคา 21-40 องศาระยะทับซ้อน 15 ซม.
3. ความลาดชันของหลังคา 41-60 องศ่าระยะทับซ้อน 10 ซม.
4. ความลาดชันของหลังคา 60 องศาขึ้นไประยะทับซ้อน 5 ซม.

ระยะทับซ้อนดังกล่าวเป็นระยะอย่างน้อย หากมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน แต่จะทำให้เปลืองวัสดุมุงขึ้นอีก วัสดุที่ใช้สำหรับงานหลังคา อีกชิ้น ก็คือ ครอบหลังคา ก็ควรเลือกง่าย ๆ คือ เลือกครอบหลังคาชนิดเดียวกัน กับกระเบื้องมุงหลังคา ส่วนใหญ่เขาจะผลิตมาคู่กันตามองศา ที่นิยมใช้ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ครอบหลังคา 30, 35, 40 องศา หากเป็นมุงลาดชันอื่น ๆ ก็ใช้ครอบหลังคาปูนปั้น ซึ่งต้องทำตามแบบอย่างเคร่งครัด และก็ไม่ลืมที่จะผสมน้ำยากันซึมด้วย

โครงสร้างของรั้ว

โครงสร้างของรั้ว รั้วเป็นสิ่งที่กำหนดอาณาเขต กำหนดสิทธิความเป็นเจ้าของของอาณาบริเวณ และให้ความเป็น ส่วน ตัวแก่ผู้เป็นเจ้าของ สิ่งเหล่านี้เป็น ประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานของรั้วที่มีมาแต่เดิม รั้วบ้านอาจทำขึ้นอย่างง่าย ๆ เพียงเพื่อให้เห็นเป็นเส้นแบ่งอาณาเขต เช่น อาจเป็นเพียงการปักเสาไม้แล้ว ขึงด้วยเชือกหรือ ลวดหนามหรืออาจจะเป็นรูปแบบอื่นใดที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีโครงสร้าง อะไรที่แข็งแรงนักก็ถือ เป็นการเพียงพอ แต่ในปัจจุบัน สภาวะทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปประชาชนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นยิ่ง ขึ้นก่อให้เกิดปัญหาโจนผู้ร้ายเพิ่มขึ้นตามมาโดยเฉพาะในบ้านเรา ทุกวันนี้รั้วบ้าน นอกจาก จะเป็นเครื่องกำหนด อาณาเขตของบ้านแล้ว ยังเป็นด่านแรกในการป้องกันภัยจากโจนผู้ร้าย และผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งหลายที่จะรุก ล้ำเข้ามาใน บริเวณบ้าน รั้วที่เห็นกันอยู่ทั่วไป จะมีลักษณะสูง มีการทำโครงสร้าง และใช้วัสดุที่แข็งแรง เพื่อป้องกัน ภัยอันตรายดังกล่าว

รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ในการทำรั้วมีให้เลือกมากมายไม่มีข้อกำหนดตายตัวบางคนอาจต้องการเน้น ความโดดเด่นของตัวบ้าน โดยการทำเพียงรั้วพุ่มไม้ หรือรั้วไม้เตี้ยๆ บางคนอาจจะเน้นความสวยงามของตัว รั้วโดยประดับด้วยโลหะอัลลอยหรือหินอ่อนราคาแพง ในขณะที่บางคนอาจจะ เน้นความมั่นคง ปลอดภัยโดย ทำรั้วสูง พร้อมเสริมเหล็กปลายแหลม ด้านบน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าแต่ละคน จะมีความชอบ ความต้องการ หรือความคิดในการทำรั้วอย่างไร ก็ขอ ให้มองทั้งในแง่ของความสวยงาม ความมั่นคงแข็งแรง และความสามารถในการป้องกันคุ้มภัยควบคู่กันไป โดยดูองค์ประกอบของ สภาวะแวดล้อม รอบด้านด้วย เช่น เพื่อนบ้านข้างเคียง ความชุกชุมของโจนผู้ร้าย ในบริเวณนั้น เป็นต้น เพื่อที่ได้อยู่อาศัยได้อย่างอุ่นใจ เกี่ยวกับโครงสร้างของรั้ว ถ้าเป็นรั้วไม้ หรือ รั้วสังกะสี แบบง่าย ๆ ก็คงแทบจะไม่มีโครงสร้างอะไร เพราะเป็นเพียงการปักเสาลงไปเท่านั้น รั้วลักษณะดังกล่าวจึงเหมาะที่จะเป็นรั้วชั่วคราวเท่านั้น รั้วที่ทำ กันมากในปัจจุบันก็ถือเป็นรั้วที่ให้ความมั่นคงแข็งแรงให้แก่รั้วคอนกรีต รั้วประเภทนี้จะมีการลง เสาเข็ม หล่อฐานตอม่อ มีคานคอดิน เสารั้ว และทับหลังที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนตัวกำแพงรั้วอาจจะทำด้วยคอนกรีตบล็อก อิฐมอญหรือหินประเภทอื่นก็ได้ แล้วแต่ความต้องการ และทุนทรัพย์ของเจ้าของบ้าน รั้วประเภทนี้จะพบเห็นได้ทั่วไป บางแห่งอาจมี การดัดแปลงรูปแบบ ให้แตกต่างออกไปบ้าง เช่น เสริมด้วย ไม้ โลหะหรือช่องแสงบางส่วน แต่โครงสร้างของฐานราก จะมีลักษณะเดียวกันหมด จะมีความแตกต่างกันบ้าง ก็ในด้านของรายละเอียด เช่น รั้วที่สูง และมีขนาดใหญ่อาจใช้เสาเข็มที่ยาวขึ้น ใช้จำนวนเสาเข็มให้มาก ขึ้น ใช้เหล็กเส้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือรั้วที่สร้าง อยู่บนดินที่อ่อนหรืออยู่ติดชายน้ำจะต้องมีการเสริมความ แข็งแรงของฐานราก เพื่อป้องกันมิให้รั้วทรุดตัวหรือเอียงในภายหลัง ซึ่งรายละเอียด ต่าง ๆ ในแต่ละแห่งแตก ต่างกันออกไป เป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ ที่จะต้องกำหนดให้เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ที่น่าสนใจอีกบางประการเกี่ยวกับการทำรั้ว และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ รั้ว กล่าวคือ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำรั้ว และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรั้ว
  1. ในการทำรั้วควรมีการกำหนดรูปแบบ และรายละเอียดด้านโครงสร้างของฐานรากรวมอยู่ใน แบบ บ้านตั้งแต่แรกเลย โดยมีการศึกษาถึง สภาพแวดล้อม ของพื้นที่บริเวณที่ทำรั้วเสียก่อนว่ามีสภาพของ ดินเป็น อย่างไร เพื่อจะได้ออกแบบโครงสร้างของฐานรากได้อย่างเหมาะสม มิใช่ออกแบบกัน อย่างหยาบ ๆ แล้ว ปล่อยให้ช่างที่ทำอาศัยประสบการณ์ของตนเองทำกันเพราะเห็นว่าเป็นแค่งานรั้วไม่ใช่ส่วนที่เป็นตัวบ้าน การทำเช่นนี้อาจ ก่อให้เกิด ปัญหารั้วทรุดหรือเอียงในภายหลังได้ เนื่องจากการวางฐานรากที่ไม่แข็งแรงพอ ปัญหา นี้จะพบเห็นได้บ่อย โดยเฉพาะรั้วของบ้าน ที่บริเวณข้างเคียงเป็นคูน้ำหรือมีผิวหน้าดินที่อยู่ลึกลงไป เนื่องจากยังไม่ได้ถมดิน
  2. ประตูรั้วส่วนใหญ่ที่ใช้กับทางรถเข้าบ้านมักจะทำด้วยเหล็กหรือโลหะผสม ( alloy) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วต้องสั่งทำกับ ร้านที่รับทำประตูประเภทนี้ โดยเฉพาะ เมื่อทางร้านทำเสร็จแล้วจึงนำมาติดตั้งโดยการ ยึดประกอบเข้ากับเสาประตู เนื่องจากผู้รับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่ ไม่ได้งานติดตั้ง ประตูรั้วเข้าไปด้วยเพราะ ถือว่าเป็นงานคนละด้านกัน จึงอาจเกิดปัญหาด้านการผสานงานขึ้น ดังนั้นเจ้าของบ้านหรือผู้ซื้อบ้านควร จะต้องมีการผสานงาน โดยนัดช่างทำประตูมาปรึกษาพูดคุยก่อนที่ทำการหล่อเสาประตูว่าจะทำประตูแบบ ไหน จะยึดติดเข้ากับเสาอย่างไร เพื่อให้ช่างก่อสร้าง ที่ทำได้เตรียม การโดยการทำเหล็กให้ยื่นออกมานอกเสา ด้วยขนาด และตำแหน่งที่สอดคล้องกับบานประตูที่ติดตั้ง เพื่อให้ได้ผลงานที่แข็งแรง และดูเรียบร้อย ไม่ใช่ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างทำกันไปแล้วจึงมาสกัดเสา และเชื่อมเหล็กกันภายหลัง ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุ่งยาก และ ได้ผลงานไม่ดีเท่าที่ควร
  3. ในปัจจุบันรั้วบ้านเป็นจำนวนมากมีการติดตั้งลูกศรเหล็กด้านบนของรั้วเพื่อป้องกันขโมย ซึ่งโดยทั่วไปร้านทำเหล็กดัด จะเป็นผู้ทำแผงลูกศรเหล็กแล้ว นำมาติดตั้งเข้ากับทับหลังหรือแนวคานด้านบน ของรั้ว การติดยึดแผงลูกศรเหล็กนี้มักใช้วิธีการเจาะรูตรงแนวทับหลังของรั้วเป็นระยะๆแล้วเสียบเหล็กลง ไปเพื่อยึดแผงลูกศรให้ติดกับแนวคานด้านบนของรั้ว หรือบางแห่งอาจทำการยึดโดยการฝังพุกลงไปซึ่งผล งานที่ได้อาจไม่แข็งแรงนัก วิธีหนึ่งที่อาจทำได้ หากเจ้าของบ้านหรือผู้ซื้อบ้านคิดจะติดตั้งลูกศรเหล็กบนรั้วอยู่แล้ว โดยการนัด ร้าน ที่ทำลูกศรรั้วมาปรึกษากัน เพื่อเตรียมการ ไว้ก่อน ที่จะทำการหล่อทับหลังหรือคานด้านบนของรั้ว การ เตรียมการในกรณีนี้อาจทำได้โดยการผูกเหล็กเส้นเป็นช่วง ๆ เข้ากับเหล็กเส้น ตามแนวยาวของทับหลังก่อนการหล่อทับหลัง โดยการให้เหล็กเส้นนั้นโผล่พ้นขึ้นมาเป็นช่วง ๆ เพื่อเอาไว้เชื่อมยึดกับ แนวลูกศรเหล็ก ในภาย หลัง เหล็กที่โผล่พ้นขึ้นมานี้มักจะเรียกกันตามภาษาช่างว่า เหล็กหนวดกุ้ง การเตรียมการดังกล่าวจะช่วย ให้การติดตั้งแผงลูกศรเหล็ก ทำได้ง่ายขึ้น แข็งแรงขึ้นโดยไม่ต้องทำการเจาะหรือสกัดด้านบนของกำแพงรั้ว ให้ยุ่งยากในภายหลัง
  4. การทำรั้วโดยเฉพาะรั้วหน้าบ้าน สำหรับบ้านที่มีตัวบ้านปลูกชิดกับแนวรั้วบ้านอาจจะเลือกทำรั้ว ทึบเพื่อผลในด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าตัวบ้านปลูกห่างจากรั้วหน้าบ้านจะทำรั้วแบบ ไหนก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้มิได้ถือเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแต่อย่างใด เพียงแต่เสนอไว้เป็น ข้อพิจารณา เท่านั้น เพราะเจ้าของบ้านบางรายอาจมองข้ามเรื่องเหล่านี้ไป