ระบบบ่อเกรอะ

ระบบบ่อเกรอะ

ระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) บ่อเกรอะมีลักษณะเป็นบ่อปิด ซึ่งน้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ ดังนั้นสภาวะในบ่อจึงเป็นแบบไร้อากาศ (Anaerobic) โดยทั่วไปมักใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากส้วม แต่จะใช้บำบัดน้ำเสียจากครัวหรือน้ำเสียอื่นๆ ด้วยก็ได้

ถ้าหากสิ่งที่ไหลเข้ามาในบ่อเกรอะมีแต่อุจจาระหรือสารอินทรีย์ที่ย่อยง่าย หลังการย่อยแล้ว ก็จะกลายเป็น ก๊าซกับน้ำและ กากตะกอน (Septage) ในปริมาณที่น้อยจึงทำให้บ่อไม่เต็มได้ง่าย (อัตราการเกิดกากตะกอนประมาณ 1 ลิตร/คน/วัน) แต่อาจต้องมีการสูบกากตะกอนในบ่อเกรอะ (Septage) ออกเป็นครั้งคราว (ประมาณปีละหนึ่งครั้ง สำหรับ บ่อเกรอะ มาตรฐาน) แต่ถ้าหากมีการทิ้งสิ่งที่ย่อย หรือ สลายยาก เช่น พลาสติก ผ้าอนามัย กระดาษชำระ สิ่งเหล่านี้ จะยังคงค้างอยู่ในบ่อและทำให้บ่อเต็มก่อนเวลาอันสมควร เพื่อให้บ่อเกรอะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พารามิเตอร์
ความเข้มข้น (มก./ล.)
ค่าโดยทั่วไป(1)
ค่าโดยทั่วไป(2)
1. ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand:BOD)
6,000
5,000
2.ค่าของแข็งทั้งหมด (Total Solids: TS)
40,000
40,000
3.ค่าของแข็งแขวนลอย (Supended Solids : SS)
15,000
20,000
4.ค่าไนโตรเจนในรูปที เค เอ็น (TKN)
700
1,200
5.ค่าไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย (NH 3)
400
350
6.ค่าฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP)
250
250
7. ค่าไขมัน (Grease)
8,000
-

2) โครงการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดการน้ำเสียชุมชน เล่ม 3, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2538

เนื่องจากประสิทธิภาพใน การบำบัดน้ำเสีย ของ บ่อเกรอะ ไม่สูงนัก คือประมาณร้อยละ 40 - 60 ทำให้น้ำทิ้งจาก บ่อเกรอะ ยังคงมี ค่าบีโอดี สูงเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่สามารถ ปล่อยทิ้ง แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือ ท่อระบายน้ำสาธารณะ ได้ จึงจำเป็นจะต้องผ่าน ระบบบำบัด ขั้นสองเพื่อลด ค่าบีโอดี ต่อไป

ลักษณะของบ่อเกรอะ

ลักษณะที่สำคัญของ บ่อเกรอะ คือ ต้องป้องกันตะกอนลอย (ฝ้าไข: Scum) และตะกอนจม ไม่ให้ไหลไปยัง บ่อเกรอะ ขั้นสอง เช่น ใช้แผ่นกั้นขวาง หรือท่อรูปตัวที (สามทาง)

บ่อเกรอะ มีใช้อยู่ตาม อาคารสถานที่ทั่วไป จะสร้างเป็น บ่อคอนกรีต ในที่ หรือ ถ้าเป็น อาคารขนาดเล็ก หรือ บ้านพักอาศัย ก็มักนิยมสร้างโดยใช้ วงขอบซีเมนต์ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไป แต่ปัจจุบันมีการสร้าง ถังเกรอะสำเร็จรูป จำหน่ายโดยใช้หลักการเดียวกัน

เกณฑ์การออกแบบ บ่อเกรอะที่รับน้ำเสียเฉพาะน้ำเสียจากส้วมของบ้านพักอาศัย ซึ่งหาขนาดได้จากสูตร

1. กรณีจำนวนคนน้อยกว่า 5 คน ให้ใช้ปริมาตรบ่อขนาดตั้งแต่ 1.5 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป
2. กรณีจำนวนคนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

ปริมาตรบ่อ (ลูกบาศก์เมตร) = 1.5 + 0.1 คูณด้วย (จำนวน -5)

ขนาดบ่อเกรอะรับเฉพาะน้ำส้วมจากบ้านพักอาศัย
จำนวนผู้พัก
ปริมาณน้ำสส้วม (ลบ.ม/วัน)
ขนาดบ่อ (วัดจากรยะขอบบ่อด้านใน)
ราด
ซักดครก
ปริมาตร (ลบ.ม)
ความลึก (เมตร)
ความกว้าง (เมตร)
ความยาว(เมตร)
5
0.1
0.3
1.5
1.00
0.90
1.70
5-10
0.2
0.6
2.0

1.00

1.00
2.00
10-15
0.3
0.9
2.5
1.25
1.00
2.00
15-20
0.4
1.2
3.0
1.25
1.10
2.20
20-25
0.5
1.5
3.5
1.25
1.20
2.40
25-30
0.6
1.8
4.0
1.40
1.20
2.40
30-35
0.7
2.1
4.5
1.50
1.20
2.50
35-40
0.8
2.4
5.0
1.60
1.20
2.60
40-45
0.9
2.7
5.5
1.60
1.30
2.60
45-50
1.0
3.0
6.3
1.60
1.40
2.80

ที่มา : คู่มือเล่มที่ 2 สำหรับผู้ออกแบบและผู้ผลิตระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่, กรมควบคุมมลพิษ 2537

การใช้งานและการดูแลรักษา

1. ห้ามเทสารที่เป็นพิษต่อจุลินทรีย์ลงใน บ่อเกรอะ เช่นน้ำกรด หรือ ด่างเข้มข้น น้ำยาล้างห้องน้ำเข้มข้น คลอรีนเข้มข้น ฯลฯ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของ บ่อเกรอะ ลดลง เพราะน้ำทิ้งไม่ได้คุณภาพตามต้องการ

2. ห้ามทิ้งสารอนินทรีย์หรือ สารย่อยยาก เช่น พลาสติก ผ้าอนามัย ฯลฯ ซึ่งนอกจาก มีผลทำให้ส้วมเต็ม ก่อนกำหนดแล้วยังอาจเกิดการอุดตันในท่อระบายได้

3. ในกรณีน้ำในบ่อเกรอะสูงและราดส้วมไม่ลง ให้ตรวจดูการระบายของบ่อซึม (ถ้ามี) ว่ามีการซึมออกดีหรือไม่ ถ้าไม่มีบ่อซึม ปัญหาอาจมาจากน้ำภายนอกไหลท่วมเข้ามาในถัง ต้องแก้ไขโดยการยกถังขึ้นสูง ในกรณีใช้ บ่อเกรอะสำเร็จรูป ให้ติดต่อผู้แทนจำหน่ายเพื่อตรวจสอบและแก้ไขต่อไป


Resource : กองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ