งานฝ้าเพดาน

การบุฝ้าเพดาน

ในปัจจุบันอาคารบ้านเรือนแทบทุกแห่งจะต้องมีการบุฝ้าเพดานตามห้องต่างๆ เพื่อความสวยงาม โดยเฉพาะห้องชั้นบนสุดเพื่อ ไม่ให้เห็นโครงสร้างหลังคา และแผ่นกระเบื้อง ส่วนห้องชั้นล่าง ที่ด้านบนเป็นพื้นหล่อหรือพื้นแผ่นเรียบอาจบุฝ้าเพดานหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่ กับความต้องการความสวยงาม เทียบกับความต้องการประหยัดของเจ้าของบ้านแต่ละราย เจ้าของบ้านบางรายอาจจะเห็นว่า การบุฝ้าเพดานไม่ใช่สิ่งจำเป็นมากนัก สำหรับการอยู่อาศัย บ้านที่ไม่ได้บุฝ้าเพดานก็ยังสามารถ อยู่อาศัยได้ สามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีฝ้าเพดานจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยหลายประการ เช่น ทำให้เกิดความ สวยงามเรียบร้อย ช่วยปิดกั้นการเดินท่อ และสายไฟต่างๆ ด้านบนเอาไว้ ป้องกันฝุ่นตามร่องหลังคาที่อาจหลุดร่วงลงมา ช่วยให้การวาง ตำแหน่งดวงไฟต่างๆ ทำได้อย่างสะดวก และช่วยลดความร้อนจากหลังคาด้านบน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะเห็นว่าการบุฝ้าเพดานก็เป็นสิ่ง จำเป็นอย่างหนึ่ง และให้ประโยชน์ใช้สอยอย่างคุ้มค่าทีเดียว เจ้าของบ้านจึงไม่ควรจะมองข้ามความสำคัญนี้ไป

ฝ้าเพดาน


วัสดุที่ใช้ทำฝ้าเพดาน

การบุฝ้าเพดาน

เนื่องจากประโยชน์ใช้สอยของฝ้าเพดาน มีอยู่หลายแง่หลายมุมดังกล่าวแล้ว ฝ้าเพดานที่ผลิตออกมาในท้องตลาดจึงมีหลายแบบ หลายชนิด เพื่อสนองความต้องการในการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ทั้งนี้ การแบ่งชนิดของฝ้าเพดานจะขึ้นอยู่อยู่กับวัสดุ และองค์ประกอบ ของวัสดุที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ วัสดุที่ใช้ทำฝ้าเพดานสำหรับบ้านเรือนทั่วไปที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ

1. กระเบื้องแผ่นเรียบ

2. แผ่นยิปซัม

3. ไม้

4. อลูมิเนียม

กระเบื้องแผ่นเรียบ

กระเบื้องแผ่นเรียบซึ่งมีชื่อเต็มว่า กระเบื้องซีเมนต์ใยหินแผ่นเรียบ (asbestos cement sheet) เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐาน ที่รู้จักกัน และใช้กันมาเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติที่แข็งแรง ไม่ติดไฟ ทนต่อน้ำ และความชื้น จึงสามารถใช้ทำได้ทั้งผนังของตัวบ้าน และ ฝ้าเพดาน แต่กระเบื้องแผ่นเรียบก็มีข้อเสียบางประการ เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งจึงยืดหยุ่นได้น้อย เมื่อโครงไม้ที่กระเบื้องแผ่น เรียบยึดติดอยู่เกิดการยืดหดตัวเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้กระเบื้องแผ่นเรียบเกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย นอกจากนี้ การใช้ กระเบื้องแผ่นเรียบยังเกิดร่องหรือรอยต่อระหว่างแผ่นซึ่งดูไม่สวยงาม ปัจจุบันความนิยม ในการใช้กระเบื้องแผ่นเรียบ ลดน้อยลง เนื่องจากข้อเสียดังกล่าว ประกอบกับมีวัสดุอื่นที่มีคุณภาพดีกว่ามา ทดแทน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระเบื้องแผ่นเรียบ ยังมีคุณสมบัติเด่นคือทนต่อน้ำ และความชื้นจึงยังคงมีผู้ใช้กันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะ ใช้ในการบุฝ้าเพดานตามชายคา บริเวณบ้าน หรือโรงรถที่มักจะมีความชื้นจากน้ำฝน

แผ่นยิปซัม

แผ่นยิปซัม (gypsum board) เป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้สำหรับบุฝ้าเพดาน และกั้นห้องภายในที่นิยมใช้กันแพร่หลายใน ปัจจุบันมีคุณสมบัติเด่น คือ น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ให้ความปราณีตสวยงาม มีลวดลายต่างๆให้เลือก และยังมีหลายชนิดหลายขนาด ให้เลือก ใช้ตามวัตถุประสงค์ ที่ต่างกัน เช่น แผ่นยิปซัมชนิดธรรมดา ชนิดทนความชื้น ชนิดมีอลูมินัมฟอยล์กันความร้อน นอกจากนี้ ยังมีทั้งชนิดแผ่นใหญ่ สำหรับการติดฝ้าเพดานแบบฉาบเรียบไร้รอยต่อ และชนิดแผ่นเล็กสำหรับการติดฝ้าเพดานแบบแขวน (ที-บาร์) ซึ่งสามารถประกอบใส่ และถอดออกได้โดยง่าย

ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยไม้

ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยไม้นี้มิใช่วัสดุสำเร็จรูปที่ใช้ทำฝ้าเพดานโดยเฉพาะ แต่จะเป็นลักษณะของฝ้าระแนงไม้ โดยการนำไม้ ที่มีลักษณะ เป็นแผ่นยาวหน้าแคบมาวางเรียงกันโดยแต่ละแผ่นอาจเว้นช่องเล็กน้อย เมื่อบุเสร็จแล้วฝ้าเพดานจะมีลักษณะเป็นซี่ไม้วาง เรียงกัน ส่วนใหญ่มักใช้ทำฝ้าเพดานสำหรับชายคาภายนอก ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยไม้มีข้อดีคือให้ความสวยงามแปลกตาเป็นธรรมชาติ แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ คือ วัสดุที่ทำด้วยไม้มีราคาแพง ติดไฟง่าย เกิดการผุกร่อนได้เมื่อใช้ไปนานปี ฝ้าเพดานชนิดนี้ถ้าการวางไม้ แต่ละซี่เว้นช่องห่างมากเกินไปก็จะเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงต่างๆ และเป็นที่สะสมสิ่งสกปรก บางแห่งจำเป็นต้องบุมุ้งลวดไนลอน เพิ่ม เติมเข้าไปเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวซึ่งก็เป็นการเพิ่มขั้นตอน และค่าใช้จ่ายอีก ฝ้าเพดานชนิดนี้จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้กันมากนัก

ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยอลูมิเนียม

ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยอลูมิเนียมฝ้าเพดานชนิดทำด้วยอะลูมิเนียมนี้จะมีลักษณะ และหน้าตาคล้ายกับ ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยไม้ ข้างต้น คือจะป็นการนำซี่ อลูมิเนียมมา วางเรียงกัน โดยการสวมประกอบเข้าร่อง เมื่อบุเสร็จแล้วฝ้าเพดาน จะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายกับ ฝ้าเพดานที่ทำด้วยไม้ แต่จะไม่ มีช่องห่างระหว่างซี่ ดังเช่นฝ้าเพดาน ที่ทำด้วยไม้ เพราะเป็น การสวมเข้าร่อง ฝ้าเพดานชนิดทำด้วยอะลูมิเนียม ข้อดีคือให้ความสวยงาม แปลกตา และไม่ติดไฟ แต่มีข้อเสียคือ ไม่กันความร้อน และดูแข็งกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติส่วนใหญ่ มักใช้ทำ ฝ้าเพดานสำหรับชายคาภาย นอกอาคาร ที่มีลักษณะเป็น ห้างร้านมากกว่า ที่จะพบเห็นตามบ้านฝ้าเพดานรางอลูมิเนียม
นอกจากวัสดุที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีวัสดุอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาทำเป็นฝ้าเพดานได้เช่นกัน ได้แก่ไม้อัด ไม้อัด เป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากในงานทำเฟอร์นิเจอร์ และงานตกแต่งต่างๆ ในด้านของงานก่อสร้าง ก็มีการนำมาใช้กันบ้างเพื่อทำผนังกั้นห้อง และฝ้าเพดาน ข้อดีของไม้อัด คือ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง แต่มีข้อเสีย คือ ติดไฟง่าย ขึ้นราง่าย และถ้าเป็นไม้อัดที่คุณภาพ ไม่ดีจะแตกปริ และเสื่อมสภาพได้เร็ว ปัจจุบันยังมีการใช้ไม้อัด ทำผนังกั้นห้องกันบ้างเนื่องจากให้ความสวยงามเป็นธรรมชาติของลายไม้ แต่ไม่ค่อยนิยม นำมาบุฝ้าเพดานเนื่องจากข้อเสียดังกล่าว ประกอบกับมีวัสดุทดแทนชนิดอื่น ที่มีคุณภาพดีกว่า มาใช้แทน ได้แก่ แผ่นยิปซัม และกระเบื้องแผ่นเรียบตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมบางประการเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุเพื่อเป็นข้อมูล และข้อคิดในการเลือกใช้วัสดุให้ เหมาะสมกับการใช้งาน ในแต่ละจุดโดยเฉพาะ แผ่นยิปซัมซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และข้อสังเกตเกี่ยวกับขั้นตอนในการบุฝ้าเพดาน เพื่อให้ผลงานที่ออกมามีความเรียบร้อย ไม่ต้องแก้ไขกันภายหลัง

ทำฝ้าเพดาน 1ทำฝ้าเพดาน 2ทำฝ้าเพดาน 3ทำฝ้าเพดาน 4ทำฝ้าเพดาน 5การบุฝ้าเพดาน 6ทำฝ้าเพดาน 7ทำฝ้าเพดาน 8ทำฝ้าเพดาน 9ทำฝ้าเพดาน 10ทำฝ้าเพดาน 11ทำฝ้าเพดาน 12ทำฝ้าเพดาน 13ทำฝ้าเพดาน 14ทำฝ้าเพดาน 15ทำฝ้าเพดาน 16ทำฝ้าเพดาน 17ทำฝ้าเพดาน 18ทำฝ้าเพดาน 19ทำฝ้าเพดาน 20


การเลือกใช้วัสดุ และขั้นตอนการบุฝ้าเพดาน

  1. แผ่นฝ้าเพดานที่ทำจากแผ่นยิปซัมที่ใช้บุตามห้องทั่วไปภายในบ้านมีให้เลือกใช้ทั้งแบบแผ่นใหญ่ซึ่งติดตั้งโดยการยึดเข้ากับ โครงคร่าว และฉาบรอยต่อเรียบเพื่อเน้นความสวยงามเรียร้อย และแบบแผ่นเล็กโดยการติดตั้งกับโครงคร่าวแบบแขวน (ที-บาร์) ซึ่งจะ ให้ความประหยัด และคล่องตัวกว่า และยังมีลวดลายของผิวแผ่นยิปซัมให้เลือกมากกว่าแบบแผ่นใหญ่ แต่จะมีข้อเสียคือจะเห็นแนวเส้น ของโครงคร่าวที่ทำจากอะลูมิเนียมหรือเหล็กเป็นตารางอยู่โดยตลอด และยิ่งถ้าการติดตั้ง ขาดความประณีตแล้วจะเห็นเป็นแนวเส้น อลูมิเนียมคดเคี้ยวไปมา ดูไม่สวยงาม
  2. ในห้องน้ำซึ่งต้องมีการวางท่อระบายสิ่งปฏิกูล และท่อระบายน้ำอยู่เหนือเพดาน เช่น บ้านที่มีห้องน้ำชั้นบน และชั้นล่างอยู่ใน แนวเดียวกัน ควรใช้ฝ้าเพดานชนิดแผ่นยิปซัมแบบแผ่นเล็กที่มีการติดตั้งกับโครงคร่าวแบบแขวน (ที-บาร์) เพื่อความ สะดวกในการซ่อม บำรุง เพราะฝ้าเพดานชนิดนี้สามารถประกอบใส่ และถอดออกได้โดยง่าย
  3. ในจุดที่อาจต้องเปียกน้ำหรือบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ชายคาหรือเพดานห้องน้ำ ถ้าเลือกใช้ฝ้าเพดานชนิดที่ทำจากแผ่น ยิปซัมชนิดทนความชื้นเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น เพราะแผ่นยิปซัม ชนิดดังกล่าวจะประกอบด้วย กระดาษเหนียวชนิดพิเศษ และแกน หรือเนื้อของแผ่นยิปซัมภายใน จะประกอบด้วยยิปซัม และสารซิลิโคน (silicone) ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น และกัน น้ำได้ดี
  4. ในห้องชั้นบนสุดของตัวบ้านซึ่งต้องได้รับความร้อนจากหลังคาอันเนื่องมาจากแสงแดด และมิได้มีวัสดุกันความร้อนชนิดอื่น ใดติดตั้งอยู่ หรือในห้องที่ชั้นบนเป็นดาดฟ้า และได้รับความร้อนจากแสงแดดซึ่งส่องมายังพื้นดาดฟ้า ถ้าเลือกใช้ฝ้าเพดาน ชนิดที่ทำจาก แผ่นยิปซัมชนิดนี้จะช่วยลดความร้อนได้มากพอควร อีกทั้งราคาก็แพงกว่าแผ่นยิปซัมชนิดธรรมดาไม่มาก
  5. ก่อนการบุฝ้าเพดานโดยเฉพาะฝ้าเพดานแบบแผ่นใหญ่ที่มีการติดตั้งโดยการติดยึดเข้ากับโครงคร่าว และฉาบรอยต่อเรียบ หรือการติดตั้งฝ้าเพดานแบบอื่นซึ่งเป็นแบบถาวรไม่สามารถรื้อหรือถอดออกมาทำการแก้ไขได้โดยง่ายควรมีการตรวจตราสิ่งต่างๆ ที่อยู่ เหนือฝ้าเพดานอย่างละเอียดรอบคอบว่าทุกอย่งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย เช่น กระเบื้องหลังคาจะต้องไม่มีรอยแตกรั่ว การผูกยึดแผ่นกระ เบื้องหลังคากับโครงหลังคาจะต้องแน่นหนาเรียบร้อย การเดินท่อน้ำ และท่อร้อยสายไฟ โดยเฉพาะตรงจุดเชื่อมต่อต่างๆ ตลอดจนการ เดินสายไฟ และการต่อสายไฟตามจุดต่างๆ ที่อยู่เหนือฝ้าเพดาน จะต้องมีการทดสอบเสียก่อน ว่าทุกอย่างทำงานได้ดี และอยู่ในสภาพที่ เรียบร้อยจึงค่อยทำ การบุฝ้าเพดานปิดขึ้นไปมิฉะนั้น หากเกิดปัญหา หรือข้อผิดพลาดขึ้น ภายหลังอาจจะต้องรื้อฝ้าเพดาออกเพื่อทำการ ซ่อมแซม
ที่มา : หนังสือ : บ้านแสนรัก ผู้แต่ง : คำนวณ คุณาพร www.konrukbaan.com