ระบบระบายน้ำ

ตามปกติอาคารบ้านเรือนนั้น นอกจากจะต้องมีระบบน้ำภายในอาคารแล้ว จะต้องมีระบบน้ำนอกอาคารอีกด้วย ระบบน้ำนอกอาคารจะหมายถึงระบบการ
ระบายน้ำนอกอาคารโดยจะแบ่งเป็น2 ระบบใหญ่ด้วยกัน

1) ระบบระบายน้ำรอบอาคาร (Site Drainage System)
คือระบบท่อระบายน้ำ บ่อพักรางระบายน้ำ โดยระบบระบายน้ำที่ดีพื้นที่อาคารควรอยู่สูงกว่าถนน หรือระบบน้ำสาธารณะโดยระบบนี้ เป็นที่นิยมกันมากเพราะง่ายสะดวกและไม่แพง จะมีปัญหาก็คือระบบการลาดเอียงของท่อ ทำให้ท่อต้องค่อนข้างลึกโดยให้มีความเอียงอย่างน้อย 1:500

Storm Drainage System

2) ระบบระบายน้ำฝน (Storm Drainage System)
เนื่องจากประเทศไทยมีฝนตกชุกจึงต้องจัดระบบการระบายน้ำฝน ให้เพียงพอโดยปัญหาที่พบหลัก ๆคือการรั่วซึม จากบริเวณหลังคาและรอยต่ออาคารต่าง ๆ และมีปัญหาอื่น ๆ อีกดังนี้

- คำนวณพื้นที่รับน้ำฝนไม่พอเหมาะ
- วัสดุมุงและรอยต่อส่วนมุมของหลังคา
- ท่อระบายน้ำฝนคดงอมากเกินไป
- ขนาดท่อน้ำฝนเล็กเกินไป
- การอุดตันของท่อระบายน้ำฝน
- การยืดหดตัวของวัสดุทำให้เป็นรอยร้าวรอยต่อ

สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ไม่ควรทำรางระบายน้ำฝนไว้ในอาคาร เพราะอาจเกิดการรั่วซึมได้ นอกจากนี้การออกแบบทางระบายน้ำฝน ย่อมมีผลต่อรูปลักษณ์ของอาคาร
และสุดท้าย การซ่อนท่อน้ำฝนไม่ควรซ่อนในช่องที่เป็นวัสดุถาวร เพราะหากเกิดว่าต้องการซ่อมแซมท่อ จะทำให้ลำบากให้การดำเนินการ

ในปัจจุบันการออกแบบบ้าน จะเน้นพื้นที่ใช้สอย ของอาคารให้มากที่สุด บ้านที่มี 2 ชั้นก็จะใช้ประโยชน์จากชั้นล่างด้วย โดยมีห้องต่าง ๆ สำหรับการใช้งาน แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งไม่เหมือนกับบ้านทรงไทยในอดีต ซึ่งมีลักษณะเป็นใต้ถุนสูง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในอดีต จะมีน้ำท่วมช่วงฤดูฝนทุกปี การยก ใต้ถุนสูงจะทำให้แก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมได้ ในฤดูอื่นๆ ก็สามารถใช้ใต้ถุนในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามสมควรแต่บ้านสมัยใหม่นั้น การมีพื้นที่ใช้สอยชั้นล่างจะมีปัญหาเวลาน้ำท่วมเพราะน้ำจะเข้ามาในบ้านได้ และเกิดความ เสียหายแก่บ้านและข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีระบบระบายน้ำที่ดีรวมทั้งระบบป้องกันน้ำท่วมของสาธารณะที่ดีด้วย