งานฐานราก-เสาเข็ม

โครงสร้างของฐานราก

ฐานรากของบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความมั่นคง และแข็งแรงแก่ตัวบ้าน เป็นอันดับแรก ถ้าจะเปรียบเทียบกับ ต้นไม้ใหญ่ก็เปรียบเสมือน รากแก้วของต้นไม้เลย ทีเดียว ต้นไม้ที่มีรากแก้วใหญ่ และหยั่งรากลึกลงไปในดิน ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง แก่ต้นไม้นั้นมากขึ้นเท่านั้น บ้านก็เช่น เดียวกัน ถ้ามีฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง ผู้อยู่อาศัยก็ย่อมอุ่นใจ ได้ว่าบ้านที่อยู่นั้น จะไม่เอียง หรือ ทรุดลงมาในภายหลัง ซึ่งผู้อ่านก็คงจะเคยได้ยินข่าว เกี่ยวกับตึกแถวที่เอียง และพังถล่มลงมา ซึ่งมีสาเหตุมาจาก โครงสร้างของฐานราก ที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง

ส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของฐานราก ก็คือส่วนที่อยู่ลึกที่สุดลงไปในดินนั่นก็คือเสาเข็ม ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่ มักจะไม่ค่อยสนใจ หรือให้ความสำคัญกับเสาเข็มมากนัก เหตุผลหนึ่งอาจเป็น เพราะเสาเข็มซ่อนอยู่ใต้ดิน เมื่อตอกลงไปแล้ว ก็หายไปไม่ได้ ปรากฏ เป็นหน้าเป็นตาของ ตัวบ้าน แต่ประการใดอีกเหตุผลหนึ่ง คงจะเป็นเพราะว่า การกำหนดว่าบ้าน แต่ละแบบ แต่ละหลังจะต้องใช้เสาเข็มชนิดใด ชนาดใด เป็นจำนวนเท่าใดนั้น จะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาคำนวณ และกำหนดลงไป ซึ่งควรจะเป็น หน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง ที่จะดำเนิน ขั้นตอนเหล่านี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ซื้อบ้านหรือ ผู้ปลูกบ้านส่วนใหญ่มิได้มีพื้นความรู้ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่น่าจะเป็น ภาระที่จะต้องมากังวล หรือสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ความคิดเช่นนี้จะว่า ถูกหรือผิดเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ในการออกแบบหรือควบคุมการปลูกสร้างบ้านแต่ละหลัง บางครั้งก็มิใช่ ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐาน ประสบการณ์ และความชำนาญของผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่ละรายด้วย การที่ผู้ซื้อบ้านหรือผู้ปลูกบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้านบ้างก็ย่อมจะเป็นการได้เปรียบ อย่างน้อยก็เพื่อเป็น ข้อคิดหรือ ข้อสังเกต เมื่อพบสิ่งที่ผิดสังเกต หรือข้อสงสัยจะได้สามารถสอบถามเพื่อขอคำชี้แจงได้ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถป้องกันหรือแก้ ปัญหาต่างๆ ได้ตั้งแต่แรก เสาเข็มที่ใช้กับ อาคาร บ้านเรือนทั่วไป ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของการผลิต และการใช้งาน ได้แก่

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพาณิชย์ และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจาก ปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว และโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทก ลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่น ซึ่งเป็นกรรมวิธี ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง สามารถแบ่งแยกย่อย ออกไปได้อีก ตามรูปร่างลักษณะของตัวเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่

1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที

ชนิดของเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็มรูปตัวไอ ส่วนขนาด และความยาวนั้นขึ้นอยู่กับ วิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็ก กว่า หรือต้องการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานรากของรั้ว

เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษระของการใช้งาน กรรมวิธีในการทำ เสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้น ผ่านศูนย์กลาง และความลึกของเสาเข็ม ตามที่กำหนดจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อให้เป็นเสาเข็ม การใช้เสาเข็มเจาะ จะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือ นอันอาจเป็น อันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่มีการตอกกระแทกของ ปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะ ก็อาจทำให้มี ขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่น และน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง นั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของ เสาเข็มเจาะก็ สามารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารสูงซึ่งต้องรับน้ำหนัก มาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิดกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบ หล่อซึ่งหมุน ด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำ หนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาเชนิด นี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด เสาเข็มสปันมีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-100 เซนติเมตร มีความหนา ของเนื้อคอนกรึตอยู่นช่วง 6-14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6-18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้ โดยการนำเสา มาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปัน มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรง ดันของดิน ในขณะตอกได้โดยการเจาะนำ และลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสาซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียง ได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรง และการเกิด แผ่นดินไหว

รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้ เหมาะสม กับงาน หรือรูปแบบของอาคาร

1.เสาเข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิค และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพง ดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้าน ข้างเคียง มีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าพื่นที่ก่อสร้าง มีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเสาเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้เข็มเจาะ

หลักการของเข็มเจาะก็คือ ใช้การขุดดินผ่านท่อเหล็กกลมกลวง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตรขึ้นไป แล้วแต่ การรับน้ำหนัก ของอาคาร โดยที่ปลาย 2 ข้างเป็นเกลียวหมุนต่อเนื่องลงไปในดิน เข็มเจาะสำหรับบ้านมักจะลึกโดยเฉลี่ย 21 เมตร (ผลการเจาะสำรวจ ชั้นดินในทางวิศวกรรม โดยปกติชั้นดินทรายที่รับน้ำหนักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะลึกโดยประมาณ 19-22 เมตร) แล้วก็ตอก ท่อเหล็กกลมลงไปทีละท่อน แล้วขุดดินขึ้นมา ตอกลงไป จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ แล้วจึงผูกเหล็ก ตามสเปค หย่อนลงไปในท่อ เทคอนกรีตตามส่วน จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงท่อเหล็กขึ้นมาช้าๆ ทีละท่อนจนหมด แล้วจึงปิดปากหลุม รอจนกว่าปูนแห้งก็เป็นอันเสร็จพิธี จะเห็นได้ว่าความสะเทือนที่เกิดขึ้นรอบๆ เข็มเจาะนั้นน้อยกว่าระบบการใช้เข็มตอกลงไป ต่อกันเป็นท่อนๆ จนกว่าจะครบเป็นไหนๆ

2. เสาเข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่ง และไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากดโดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวก และรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็ม ต้องตั้งให้ตรงแล้ว จึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เสาเข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภท และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไป แทนที่หน้าตัดของเข็ม อาจจะเป็นรูปตัว I หรือ สี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อน เพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาว ก่อให้เกิดความ ไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้าย
ดังนั้น จะเห็นว่าเข็มแต่ละประเภท ก็มีข้อดีข้อด้อย ให้ท่านผู้อ่านพินิจพิจารณาตามความเหมาะสม

ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ฐานรากแผ่ เป็นฐานรากที่แผ่ไปกับพื้น ไม่มีเข็มมารองรับ เหมาะสำหรับดินที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น บริเวณดินเชิงเขา

2. ฐานรากแบบมีเข็ม ใช้ในบริเวณที่มีสภาพดินอ่อน เช่น กรุงเทพมหานคร ฐานรากชนิดนี้ จะรับน้ำหนักจาก เสาถ่ายลง เสาเข็ม และดิน ตามลำดับ

3. ฐานรากแท่งตอม่อ เป็นฐานคอนกรีตหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ จนถึงระดับที่ต้องการ ฐานรากชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับ บ้านพักอาศัย

ในการทำฐานราก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบ วิศวกรรม โดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland Cement) ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบ เพราะหากฐานราก ทรุดตัวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างมากมายแก่บ้าน หรืออาคารทั้งยากต่อการแก้ไขด้วย อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ควรใช้ปูนโครงสร้าง ดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่า หิน และทราย มีความสะอาดเพียงพอ

ในขั้นแรกนั้น ควรมีการเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดิน ก่อนเทควรมีการทำความสะอาดเสาเข็ม และใช้ไฟเบอร์ตกแต่งเข็ม ให้ได้ระดับ เสียก่อน แล้วเทคอนกรีตหยาบให้เสาเข็มโผล่พ้นคอนกรีตหยาบประมาณ 5 ซม. เพื่อให้มั่นใจว่า ฐานราก ได้นั่งถ่ายแรงลงบน เสาเข็ม การเทคอนกรีตหยาบนั้นก็เพื่อ เป็นท้องแบบวางตะแกรงเหล็กฐานราก หลังจากนั้นใช้ ลูกปูน หนุนตะแกรงเหล็ก ทั้งด้านล่าง และด้านข้าง (ประมาณ 5 ซม.) เพื่อให้ปูนสามารถ หุ้มเหล็กได้ ทั้งหมด ก่อนการเทควร ทำให้พื้นที่ ที่จะเท มีความชุ่มชื้น ป้องกันดิน ดูดน้ำจากคอนกรีต ซึ่งจะทำให้คอนกรีตลดความแข็งแรงลง อีกทั้ง ต้องทำ ความสะอาดตรวจเช็ค ให้แน่ใจ ก่อนการเทว่า ไม่มีคราบโคลน หรือคราบปูนทราย ที่หลุดง่ายติดอยู่ ในระหว่างการเท ต้องมีการกระทุ้ง คอนกรีตด้วยมือ หรือใช้เครื่องสั่น (Vibrator) ป้องกันไม่ให้ เกิดโพรงหรือ ช่องว่างในเนื้อ คอนกรีต ในฐานราก

ประเภทของเสาเข็ม เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิต และการใช้งาน ได้แก่

1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ( prestressed concrete pile ) 2. เสาเข็มเจาะ ( bored pile ) 3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ( prestressed concrete spun pile ) ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเสาเข็มแต่ละประเภทพร้อมทั้งข้อสังเกตที่สำคัญบางประการ ดังต่อไปนี้

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์ และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาคอนกรีต ที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว และโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ใน การลงเสาเข็มจะเป็น การตอกกระแทกลงไปในดิน โดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็น กรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน และประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง สามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอ ส่วนขนาด และ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับ วิศวกรผู้ออกแบบ เป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้น มักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่า หรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว

เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้ งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะ ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง และความลึกของเสาเข็ม ตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามขนาดของเสาเข็ม และกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่

1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process ) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา

2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งแตกต่างจาก ระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมากๆถึงชั้นทราย หรือหลุม ที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะ และยึดประ สานผิวดิน ในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา

การใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง เพราะไม่มี การตอกกระแทกของปั้นจั่น ดังเช่นที่ใช้กับ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะ ก็อาจทำให้มีขนาดใหญ่ โดยมีขนาดของ เส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 200 เซนติเมตร เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ ข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่น และน้ำหนักของตัวเสาเข็ม ขณะที่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง นั้นขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่ใช้กันทั่วไป มีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะ ก็สามมารถเจาะได้ลึกกว่า ความยาวของเสาเข็ม คอนกรีต อัดแรง ฉะนั้นเสาเข็มเจาะ จึงเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับอาคารสูงซึ่ง ต้องรับน้ำหนักมาก และอาคารที่สร้างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคาร ข้างเคียง ในทางปฏิบัติแล้ว ขั้นตอนใน การทำเสาเข็มเจาะ จะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก ที่กล่าวมาข้างต้น ก็เพียงต้องการให้ มองเห็นภาพ และ ขั้นตอนของ การทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น การปลูกบ้านพักอาศัย โดยทั่วไป มักจะใช้ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เพราะมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า และราคาถูกกว่า เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ ปั่นคอนกรีต ในแบบหล่อซึ่งหมุน ด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้ สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด เสาเข็ม สปัน มีให้เลือกใช้หลายขนาด ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 100 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีต อยู่ในช่วง 6 - 14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 6 - 18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ซึ่งความยาวนี้ สามารถเพิ่มได้โดย การนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจาก เสาเข็มสปัน มีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความ ยาวมาก ก็สามารถลด แรงดันของดิน ในขณะตอกได้โดยการเจาะนำ และลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่ง จะช่วย ลดความกระทบกระเทือน ที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูง ที่ต้องการ ความมั่นคงแข็งแรงสูง เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรง และการเกิดแผ่นดินไหว

ฐานราก
  1. ในด้านของเจ้าของบ้านหรือปลูกบ้านจะมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับโครงสร้างของเสา และคาน ที่จะต้องคอยสอดส่องดูแลว่ าเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ ทั้งในด้านของแบบก่อสร้าง วัสดุที่ ใช้ ตลอดจนกรรมวิธี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพที่ตั้งใจไว้ 1. แบบ ก่อสร้างควรระบุถึงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ และชัดเจน เช่น ขนาดของเสา และ คาน ทุกจุด ขนาด และจำนวนของเหล็กเส้น ที่ใช้ในเสา แต่ละต้น และคานแต่ละคาน ลักษณะการผูกเหล็ก เชื่อมต่อระหว่างฐานราก เสา คาน และพื้น เป็นต้น แบบที่ระบุถึงรายละเอียดยิ่งมากเท่าใด ย่อมแสดงถึง ความละเอียดรอบคอบ และประสบการณ์ของผู้ออกแบบว่ามีมากเท่านั้น ซึ่งจะมีผลทำให้งานก่อสร้างทำได้ ง่ายขึ้น และไม่สับสน เพราะมีแบบกำหนดไว้ การควบคุมดูแลก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น โอกาสที่จะเกิดความ ผิดพลาดเสียหายก็ย่อมจะน้อยลง
  2. วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้โดยเฉพาะเหล็กเส้นจะต้องได้ขนาดมีจำนวนครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในแบบ เพราะความแข็งแรง และความปลอดภัยของเสา และคานจะขึ้นอยู่กับขนาด และจำนวนของเหล็กเส้นที่ใช้ รวม ทั้งการผูกมัดหรือการเชื่อมต่ออย่างเหมาะสมด้วย เนื้อคอนกรีตที่หล่อขึ้นมาเป็นเสา และคานจะ ทำหน้าที่ยึด ให้ตัวเสา และคานแข็งแกร่ง และคงรูป ในขณะที่เหล็กเส้นที่ฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตจะทำหน้า ที่ยึดไม่ให้เนื้อคอนกรีตแตกหัก ออกจากกันง่าย ถึงแม้ว่าบางครั้งตัวเสา และคานจะถูกกระทบกระเทือนจน มีรอยร้าวแต่ก็จะไม่แตกหักออกจากกัน
  3. ปูนซีเมนต์ที่นำมาใช้ในการหล่อเสา และคานควรจะเป็นปูนที่ผลิตขึ้นเพื่อจะใช้กับงานประเภท นี้โดยเฉพาะ เพราะปูนประเภทนี้จะแข็งตัวเร็ว รับน้ำหนัก ได้เร็ว และมีความแข็งแรงทนทานต่อการ รับ น้ำหนัก ถ้าเป็นปูนที่ใช้สำหรับงานประเภทอื่น เช่น งานฉาบ จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน มีความ แข็ง แรง และรับน้ำหนักได้น้อยกว่า เป็นต้น ปูนซีเมนต์ประเภทต่าง ๆ ในท้องตลาดจะมีเครื่องหมายตรา และยี่ห้อที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของ การใช้งานเป็นที่สังเกต ซึ่งสามารถจะศึกษา และสอบถามข้อมูลได้ จากร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไป
  4. เสา และคานที่จะหล่อเสร็จผิวคอนกรีตควรอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยลักษณะของเนื้อคอนกรีตควร จะสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เป็นลักษณะของหิน ที่ยังผสมไม่เข้ากันกับเนื้อปูน ไม่มีรอยแตกหรือรอย แหว่งขนาดใหญ่อันจะเป็นผลเสียต่อความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก
  5. เสา และคานที่เพิ่งจะทำเสร็จควรจะมีการบ่มผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เช่น อาจจะทำการคลุมด้วย ผ้ากระสอบแล้วลดน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื่น จากผิวคอนกรีตระเหยออกมาเร็วเกินไป อันจะมีผลทำ ให้เสาหรือคานแตกร้าว หรือลดความแข็งแรงลงไปได้ ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการบ่นนั้น ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทของปูนซีเมนต์ที่ใช้ และสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดในด้านเทคนิคซึ่งจะไม่ขอนำมากล่าวในที่นี้