เฟอร์นิเจอร์

เฟอร์นิเจอร์

หากเราจะแบ่ง เฟอร์นิเจอร์ไม้ ตามลักษณะการติดตั้งแล้วเราสามารถ แบ่งเฟอร์นิเจอร์ไม้ออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆคือ

1. เฟอร์นิเจอร์ ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture หรือ Fixed Furniture)
2. เฟอร์นิเจอร์ ลอยตัว (Movable Furniture หรือ Loose Furniture)
3. เฟอร์นิเจอร์ ที่สามารถถอดประกอบได้ (Knock down Furniture)

เฟอร์นิเจอร์ ติดตั้งกับที่ (Built-in Furniture หรือ Fixed Furniture)

หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ ที่ได้รับการออกแบบ และ ติดตั้งสำหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นการเฉพาะ ยากที่จะเคลื่อนย้าย และติดตั้งใหม่ ข้อดีของ เฟอร์นิเจอร์ แบบนี้ คือ มีความแข็งแรงสูงมาก เนื่องจากยึดเกาะกับอาคาร หรือ โครงสร้างอาคาร มีรูปแบบเฉพาะตัว หรูหรา (Elegance) เป็นเอกเทศ (Unique) สามารถติดตั้ง และดัดแปลงให้เข้ากับพื้นที่ต่างๆ ได้โดยไม่จำกัด รวมทั้งมักจะนิยมออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ ให้สูง จนชนฝ้าเพดาน เพื่อประโยชน์การใช้สอยสูงสุด และป้องกันการสะสมตัวของฝุ่นได้เป็นอย่างดี (เหมาะสำหรับ ประเทศ ที่มีฝุ่นมาก อย่างบ้านเรา) อย่างไรก็ดี ข้อเสียที่สำคัญของ เฟอร์นิเจอร์ ติดตั้งกับที่ คือไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และเปลี่ยน รูปร่าง หน้าตาได้ยาก ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ หรือต้องการย้ายที่อยู่ เฟอร์นิเจอร์ เหล่านี้ จะต้องถูกรื้อถอนทิ้งไป โดยแทบจะไม่สามารถนำกลับ มาใช้ใหม่ได้อีกเลยรวมทั้งราคาของ เฟอร์นิเจอร์ ประเภทนี้ จะมีราคาแพงมาก เนื่องจากต้องใช้ แรงงานฝีมือ มาทำการ ติดตั้งที่หน่วยงานของลูกค้าเป็นการเฉพาะ และบ่อยครั้งที่ลูกค้าจะต้องทนกับปัญหา ในเรื่องของฝุ่น ที่เกิดจาก การทำงานในหน่วยงาน และกลิ่นสีที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพอีกด้วย

เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (Movable Furniture หรือ Loose Furniture)

หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตสำเร็จที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ แล้วนำมาวางในหน่วยงาน ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอย ได้จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง ในร้านค้าได้ ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ คือเลือกรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยได้ จากตัวอย่างที่มีอยู่จริง สามารถทดลองการใช้งานได้จริง ราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ และสามารถเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้การที่ผลิตสำเร็จจากโรงงานยังทำให้ตัดปัญหา เรื่องฝุ่นไม้ที่เกิดจากการทำงานในพื้นที่ และกลิ่นสีอีกด้วย ส่วนข้อเสียที่สำคัญ ของเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ ได้แก่มีรูปแบบ และขนาดจำกัดไม่สามารถปรับเปลี่ยน ให้เข้าพอดีกับพื้นที่ได้ และเฟอร์นิเจอร์ ที่มีความสูงมากๆ จะมีปัญหา เรื่องการสะสมตัวของฝุ่นบนหลังตู้ (เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสูงไม่เต็มพื้นที่) และอาจทำให้เกิด ภูมิแพ้ได้ รวมทั้งรูปแบบ ที่มีมักจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากๆ เนื่องจากเป็น ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ขาดความ เป็นเอกเทศ นอกจากนี้ งานตกแต่งภายใน ที่ใช้ แต่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพียงอย่างเดียวจะให้ ความรู้สึกเหมือนห้องเช่า และส่วนใหญ่ มักมีประโยชน์ใช้สอยไม่ครบถ้วน ตามพื้นที่ที่มีอยู่ (เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวต้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจาก จะต้องขนย้ายได้) รวมทั้งอาจจะทำให้ดูไม่หรูหราเท่าที่ควร ในงานตกแต่งภายใน แล้วจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องผสมผสาน ทั้งงาน เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และติดตั้งกับที่เข้าด้วยกัน โดยเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ มักจะมีหน้าที่จัดเก็บของ ให้เป็นระเบียบ ในขณะที่เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว มักจะเป็นจุดเด่นที่คอยโชว์ความสวยงาม หากเน้นที่เฟอร์นิเจอร์ชนิดใด ชนิดหนึ่ง มากเกินไปแล้ว งานออกแบบมักจะไม่สมดุล เช่น หากมีเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ มากเกินไปห้อง หรือบ้านอาจดูเหมือน ห้องเก็บของขนาดใหญ่ ในขณะที่มีแต่ เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว บ้านก็ดูเหมือนบ้านเช่า ที่เจ้าของพร้อมจะย้ายออกได้เสมอ ดังนั้นงานออกแบบในปัจจุบัน จึงมักจะสร้างความสมดุลด้วยเฟอร์นิเจอร์ทั้งสอง ชนิดนี้เสมอ

เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้ (Knock down Furniture)

หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ที่รวมเอาข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองระบบแรกเข้าด้วยกัน โดยมี ลักษณะเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งกับที่ ในขณะที่มีการผลิตที่เกือบจะ สำเร็จรูปจากโรงงาน เพียงแต่นำมาติดตั้งด้วยช่างผู้ชำนาญงานเพียงไม่กี่คน และใช้เวลาไม่นานนัก ทำให้ลดปัญหาเรื่องฝุ่นไม้ และกลิ่นสีในหน่วยงานได้เป็น อย่างมาก อย่างไรก็ดี เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้ มักต้องการการออกแบบ และการตั้งเครื่องเพื่อเตรียมการผลิต ที่ยุ่งยาก และซับซ้อน ดังนั้น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้ จึงต้องทำการผลิตเป็นจำนวนมาก Mass Production เพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการออกแบบ และการเตรียม การผลิตให้ลดลงมามากที่สุด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบ Knock down ในบ้านเรา นิยมผลิตโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ ประเภท Particle Board หรือ Chip Board ที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ง่าย ในการผลิต จึงส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ มีอายุการใช้งานต่ำกว่า เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้จริง หรือไม้อัด นอกจากนี้ รูปแบบการผลิต ของเฟอร์นิเจอร์ Knock down ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากขั้นตอนการผลิต ค่อนข้างยุ่งยาก และเครื่องจักร ในการผลิตก็มีราคาสูงมาก ดังนั้นหน้าตาของเฟอร์นิเจอร์ ประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จึงเหมือนๆ กัน ทำให้เกิดสงครามราคา มีการตัดราคากันอย่างมากมาย และ สุดท้าย ผู้ผลิตก็ต้องไปทำการลดคุณภาพของสินค้าลงไปอีก ทำให้เฟอร์นิเจอร์ Knock down กลายไป เฟอร์นิเจอร์ราคาถูกไปในที่สุด

การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์

งานเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ดูเผินๆ แล้วไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบ้านแต่ประการใดถ้าเป็นการซื้อเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป และ นำเข้ามาตั้งใน ภายหลัง แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดติดตรึงอยู่กับที่ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่จะต้องติดตั้งให้เข้าซอกเข้ามุมพอดีที่เรียกกัน
ทั่วไปว่า เฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อิน (built-in furniture) แล้วจะต้องมีการเตรียมการกันตั้งแต่ต้นมือเลยทีเดียว เพราะเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้
จะประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบ้านซึ่งมีความสัมพันธ์กับส่วนประกอบของตัวบ้านหลายอย่าง เช่นคิ้วเพดาน บัวเชิงผนัง ปลั๊กไฟ หรือ
แม้แต่ทางเดินของสายไฟ และท่อน้ำ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในลักษณะนี้ควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ดูว่าแบบที่ออกมานั้นเข้ากับตัว
บ้านได้ดีเพียงใด มีจุดขัดข้องที่ต้องแก้ไขหรือไม่ เผื่อว่าอาจต้องมีการดัดแปลงเกี่ยวกับส่วนประกอบของตัวบ้านบ้างเพื่อความเหมาะสม
ยิ่งขึ้นก็อาจจะทำได้
เฟอร์นิเจอร์ทั้งแบบบิลต์อิน และแบบซื้อสำเร็จรูปมาตั้งวางต่างก็เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และสามารถใช้ทดแทนกันได้ แต่ประเด็น
การพิจารณาตัดสินใจในขั้นต้นนั้นมักจะเน้นในจุดที่ว่าจะทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินหรือไม่ เพราะถ้าจะทำต้องมีการตระเตรียม และ
ประสานงานกันไว้ตั้งแต่แรก ก่อนที่จะทำการตัดสินใจว่าควรใช้เฟอร์นิเจอร์แบบใดนั้น เรามาลองพิจารณาถึงข้อดี และข้อเสียของการ
เลือกทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปกันเสียก่อน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบอย่างถี่ถ้วนแล้วจะตัดสินใจอย่าง
ไรก็ขึ้นกับรสนิยม และความต้องการของเจ้าของบ้านแต่ละคน

ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อิน

ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ไม่สูญเสียเนื้อที่
เช่น ตู้ใส่เสื้อผ้าหรือตู้เคาน์เตอร์สามารถสร้างให้สูงจรดเพดาน และชิดผนังทั้งด้านหลัง และด้านข้างทำให้สามารถใช้จุของได้
เต็มที่เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากในบ้านหรือห้องพักอากาศที่มีเนื้อที่จำกัด ซึ่งจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ด้านบนให้เกิดประโยชน์เต็มที่

สามารถออกแบบรูปร่าง และขนาดได้ตามต้องการ
เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดสั่งทำเพื่อให้เข้ากับสถานที่โดยเฉพาะอยู่แล้วจึงสามารถออกแบบรูปร่าง และ
ขนาด ของตู้หรือลิ้นชักต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการหรือการใช้สอยของเจ้าของบ้านได้อย่างเต็มที่

ให้ความสวยงามกลมกลืน
เพราะเป็นการทำเฟอร์นิเจอร์แบบเข้ารูปจึงดูกลมกลืนเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน

ทำความสะอาดได้ง่าย
เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้มักจะสร้างให้ชิดผนังหรือจรดเพดานทำห้เกิดซอกมุมน้อย ไม่สะสมฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก

ข้อเสียของเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อิน

ราคาแพง
เพราะเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องออกแบบ และทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับแต่ละสถานที่โดยเฉพาะ จึงมีราคาแพงกว่าเฟอร์นิเจอร์แบบ
ซื้อสำเร็จรูปมากเมื่อเทียบขนาด และการใช้วัสดุที่ใก้เคียงกัน

ขั้นตอนการทำยุ่งยาก และใช้เวลามาก
ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และประสานงานกันหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ปลูกสร้างบ้าน และฝ่ายที่ทำเฟอร์นิเจอร์การนัดหมาย และ
การควบคุมจังหวะเวลาในการทำงานของทั้งสองฝ่ายมักจะไม่ค่อยประสานกันหรือสอดคล้องกัน จึงมักก่อให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการ
ทำงาน และเกิดความล่าช้าขึ้น

ปัญหาในด้านคุณภาพ และความเรียบร้อย
ปัญหานี้อาจมีสาเหตุมาจากตัวบ้าน และส่งผลกระทบในการทำเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าว หรืออาจเกิดขึ้นจากด้านตัวบ้าน และส่ง
ผลกระทบในการทำเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าว หรืออาจเกิดขึ้นจากด้านการทำเฟอร์นิเจอร์เอง ปัญหาซึ่งเกิดจากตัวบ้าน ได้แก่ พื้นเอียงไม่ได้
ระดับหรือผิวพื้นเป็นคลื่นไม่ราบเรียบ ผนังไม่ได้ฉากหรือผิวผนังเป็นคลื่นไม่เรียบ มุมเสา และผนังไม่ได้ฉาก ฝ้าเพดานไม่ได้แนว ผนังปูน
แตกล่อนง่ายเมื่อทำการเจาะรูเพื่อติดยึด สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เกิดการบิดเบี้ยวไม่เข้ารูป เกิดซอกมุมมาก หรือทำให้
เปิด/ปิดตู้ และลิ้นชักลำบาก ส่วนปัญหาที่เกิดจาการทำเฟอร์นิเจอร์เอง ได้แก่ การวัดระยะหรือขนาดต่างๆ ผิดพลาด การวัดมุมผิดพลาด
สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะการวัดระยะ และขนาดต่างๆ บางครั้งมีความซับซ้อนอาจเกิดการผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะช่างที่
ขาดประสบการณ์มักจะไม่มีการคำนวณเผื่อไว้ อีกประการหนึ่งงานในลักษณะนี้มักจะเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นได้เสมอ ช่างที่ไม่ชำนาญ
หรือมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือมาไม่พร้อมย่อมจะแก้ปัญหาไม่ได้หรือทำการแก้ปัญหาแบบขอไปที แต่จะแฝงจุดบกพร่องเสียหายเอา
ไว้ให้เจ้าของบ้านต้องปวดหัวต่อไป

ใช้วัสดุได้อย่างจำกัด
ถึงแม้ว่าเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินจะสามารถออกแบบให้มีรูปร่าง และขนาดต่างๆ ได้ตามต้องการอย่างหลากหลายแต่ก็มีข้อ
จำกัดในด้านการใช้วัสดุเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในโรงงานที่มีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เพียบพร้อมกว่า เช่น ถ้า
ต้องการตู้เสื้อผ้าฝังมุกหรือตู้โชว์แกะสลักลายวิจิตรก็คงเหมาะสมที่จะซื้อสำเร็จรูปมากกว่า เพราะการนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบหรือ
ประดิดประดอยที่บ้านคงทำได้ลำบาก ฉะนั้นวัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินทั่วไปจึงมักจะเป็นไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้แบบ
เรียบๆ ไม่มีการตกแต่งลวดลายมากนัก

ปัญหาในการบำรุงรักษา
เฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินเมื่อเกิดการชำรุดเสียหายเนื่องจากกาลเวลาหรือการใช้งาน เช่น ไม้ผุ ไม่ปริแตก สีเก่าซีด หรือปลวก
ขึ้น การซ่อมแซมแก้ไขย่อมทำได้ยาก ยิ่งถ้าเกิดความเสียหายขึ้นตรงส่วนที่อยู่ด้านในแล้วการถอดรื้อก็ยิ่งทำได้ลำบาก เมื่อเทียบกับเฟอร์
นิเจอร์แบบสำเร็จรูปแล้วการจะยกไปซ่อมแซมหรือทำสีใหม่ย่อมทำได้ง่ายกว่า หรือแม้แต่จะขายของเก่า และซื้อของใหม่มาใช้แทนก็ย่อม
จะทำได้โดยสะดวก ผิดกับเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินซึ่งจะต้องทนใช้กันไปเรื่อยๆ ฉะนั้นการใช้เฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินควรจะเลือกใช้
วัสดุที่มีคุณภาพดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการซ่อมแซมแก้ไขในอนาคต
ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการทำเฟอร์นิเจอร์แบบบิลต์อินก็คือควรพยายามหลีกเลี่ยงการเดินสายไฟ และท่อน้ำอยู่
ข้างใต้หรือด้านหลังเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ เพราะถ้าเกิดปัญหาไฟฟ้าช็อตหรือน้ำรั่วซึมย่อมก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายได้มาก การ
แก้ไขก็ยุ่งยาก ต้องรื้อเฟอร์นิเจอร์ออกมา