งานประตูหน้าต่าง

การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง

วงกบประตูหน้าต่าง เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างผนังของตัวบ้าน กับบานประตูหน้าต่าง เป็นส่วนที่ยึดเหนี่ยว ผนังกับบานประตู หน้าต่าง ให้อยู่ด้วยกันอย่างมั่นคงแข็งแรง และทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ วัสดุที่ใช้ทำวงกบสำหรับ อาคารบ้านเรือนทั่วไปมักจะ ทำจากไม้ หรืออะลูมิเนียม ซึ่งถ้าทำจากไม้ก็ควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะจะให้ความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า การใช้วัสดุทำวงกบ ที่เหมาะสมประกอบ กับการติดตั้งอย่างถูกวิธีจะทำให้การติดตั้งประตูหน้าต่างมีความมั่นคงแข็งแรงและ ใช้งานได้ดี ลดปัญหา การชำรุดแตกร้าวของผนัง อันเกิดจากการติดตั้งวงกบไม่ถูกต้อง รวมทั้งลดปัญหาการรั่วซึมที่เกิดจากรอยแตก หว่างวงกบและผนัง
ขั้นตอนการติดตั้งวงกบเป็น เรื่องทางเทคนิค ซึ่งมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับแบบและขนาดของวงกบ วัสดุที่ใช้ ตลอดจนความชำ นาญ ของผู้รับเหมาหรือช่างแต่ละราย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง

1. วัสดุที่ใช้ทำวงกบต้องอยู่ในสภาพที่ดีถ้าเป็นวงกบอะลูมิเนียมต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีรอยบุบหรือบิดงอถ้าเป็น วงกบไม้ ควรเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ฯลฯ ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทาน สภาพของไม้จะต้องไม่มีรอยแตกหรือบิ่นมาก ไม่โก่ง หรือบิดงอจนเห็นได้ชัด และไม่มีรอยผุมาก่อน
2. ขนาดของวงกบจะต้องตรงกับขนาดที่ระบุไว้ในแบบโดยเฉพาะประตูขนาดของประตูห้องในบ้านทั่วไปควรจะกว้าง 80 เซนติเมตร สูง 200 เซนติเมตร เพื่อการเข้าออกที่สะดวกยกเว้นประตูทางเข้าหลักด้านหน้าบ้านหรือประตูห้องซึ่งคาดว่าอาจต้องนำของ ขนาดใหญ่ เข้าไปไว้ก็อาจกำหนด ให้กว้างกว่านี้ ขนาดของตัวไม้วงกบโดยทั่วไปจะเป็นขนาด 2" x 4" ซึ่งความหนา 4" นี้จะเสมอกับ ความหนา ของผนังทั่วไป ยกเว้นวงกบ ที่หนาขึ้นเป็นขนาด 2" x 5" ซึ่งความหนา 5" นี้จะเสมอกับ ความหนาของผนัง หลังจากบุกระเบื้องผนังแล้ว ทำให้ดูสวยงามเรียบร้อย
3. ในกรณีที่เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างทุกบานจะต้องมีเสาเอ็นและทับหลังโดยรอบเพื่อให้ตัววง กบยึดติด กับผนังได้อย่างมั่นคงไม่เกิดการแตกร้าว ไม่ใช่ทำโดยก่ออิฐฉาบปูนให้มาชนกับวงกบเฉยๆ ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้การเชื่อมต่อ ไม่แข็งแรง เกิดการแตกร้าวได้ง่ายในภายหลัง
4. การหล่อเสาเอ็นและทับหลังควรทำโดยการวางตำแหน่งของวงกบก่อนแล้วก่ออิฐทำผนังเข้าหาวงกบที่ทำไว้ เว้นช่องให้มี ขนาดเท่ากับเสาเอ็น ที่กำหนดใบแบบ จากนั้นทำการผูกเหล็ก วางไม้แบบ แล้วเทคอนกรีตตามไม้แบบที่วางไว้จะได้เสาเอ็นและทับหลังที่ เชื่อมตัวผนังกับวงกบอย่างแนบสนิท และแข็งแรง หรืออย่างน้อยก็ควรจะติดตั้งวงกบก่อนแล้วค่อยทำเสาเอ็นและทับหลังประกอบเข้าไป ไม่ควรทำเสาเอ็นและทับหลังก่อน โดยเว้นช่องไว้แล้ว ค่อยมาติดตั้งวงกบในภายหลังการกระทำดังกล่าวจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง วงกบกับเสาเอ็นและทับหลังไม่เชื่อมสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน อาจเกิดร่องห่าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำฝนซึมเข้า หรือเกิดการ แตกร้าวตรงรอยต่อ ได้ในภายหลัง
5. บางบ้านอาจมีการเสริมคิ้วปูนตามขอบวงกบประตูและหน้าต่างคิ้วปูนนี้จะก่อติดเป็นส่วนหนึ่งของผนังภายนอกของตัวบ้าน โดยอาจวางอยู่เหนือ แนวขอบวงกบ ด้านบนหรือวางอยู่ใต้แนวขอบวงกบด้านล่างหรือทั้งสองแนว เพื่อเพิ่มความคมเข้มและสวยงามให้ แก่ตัวบ้าน ทำให้แลดูไม่จืดตา

การติดตั้งบานประตูหน้าต่าง

บานประตูหลังจากติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการติดตั้งบานประตูหน้าต่าง อันที่จริง การติดตั้งบานประตูหน้าต่าง มักจะไม่ได้ ทำทันทีหลังการ ติดตั้งวงกบ เพราะ การติดตั้งวงกบ จะต้องทำควบคู่กันไปกับ การก่อผนัง แต่การติดตั้งบานประตูหน้า ต่างมักจะ เว้นระยะเวลาไปอีก อาจจะติดตั้งในตอนที่บ้านใกล้จะเสร็จก็ได้ เพราะในระหว่าง การก่อสร้างบ้าน จะต้องมีการขนวัสดุก่อสร้าง มากมาย การติดบานประตูหน้าต่าง เร็วเกินไป จะทำให้การทำงาน เกิดความไม่สะดวก และยังเป็นการยากต่อการดูแลรักษาด้วย บานประตูหน้าต่าง นับเป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน ที่มีความสำคัญไม่น้อย เพราะนอกจาก จะช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่ตัวบ้าน แล้วยัง ทำหน้าที่คุ้มครอง ให้ความปลอดภัย แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่ภายในบ้านจากบรรดาโจรผู้ร้าย ให้การปกป้องบ้านและผู้ที่อยู่อาศัย จากสภาพลมฟ้าอากาศ ต่างๆ ภายนอกบ้าน นอกจากนี้บานประตูหน้าต่างจะต้องใช้สอยสะดวก ไม่ติดขัด และไม่เกิดการชำรุดเสียหาย ก่อนถึงเวลาอันควร บานประตูหน้าต่าง ที่ดีที่ให้ ความสวยงาม และแข็งแรงทนทาน จะต้องเริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่ดี การติดตั้งที่ประณีตถูกวิธี ตลอดจน ถึงการทาสี หรือตกแต่งผิววัสดุอย่างเหมาะสม

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุและการติดตั้งบานประตูหน้าต่าง

1. วัสดุที่ใช้ทำบานประตูหน้าต่างในปัจจุบันมักจะทำจากอะลูมิเนียมหรือไม้ ซึ่งอาจทำในรูปของ ประตูหน้าต่างกระจกโดยมี กรอบบานที่ทำด้วยอะลูมิเนียมหรือไม้ หรืออาจทำเป็น แบบบานทึบ สำหรับบานประตูที่ใช้ภายในอาคาร โดยใช้วัสดุที่เป็นไม้ซึ่งมีทั้งไม้ จริงทั้งบานและไม้อัด วัสดุที่ใช้ทำบานประตูหน้าต่างต้องอยู่ในสภาพที่ดี ถ้าเป็นกรอบบานอะลูมิเนียม ต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีรอย บุบหรือบิดงอ ถ้าเป็นบานประตูหน้าต่าง ที่ทำด้วยไม้ จะต้องไม่มีรอยแตกหรือผุ ไม่บิดงออย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะบานประตูที่ทำด้วย ไม้อัดจะต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีรอยแตกปริ หรือปูดของแผ่นไม้อัด อันเนื่องมาจาก ความชื้น ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อย
2. กรณีที่เป็นประตูหน้าต่างชนิดบานเลื่อน วัสดุที่ใช้ทำกรอบบานควรเลือกใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียม เพราะมีน้ำหนักเบา มี การยืดหด หรือบิดงอน้อย แต่ถ้าเลือกใช้วัสดุที่เป็นไม้จะมีน้ำหนักมากกว่าและอาจเกิดการบิดงอในภายหลัง อันจะมีผลทำให้การใช้งาน เกิดการ ติดขัดได้ แต่ถ้าเป็นประตูหน้าต่างชนิดบานเปิดออกสามารถใช้วัสดุได้ทั้งสองแบบโดยไม่เกิดข้อแตกต่างในด้านการใช้งานมาก นัก
3. บานประตูที่ทำด้วยไม้อัดจะมีราคาถูกแต่ไม่ค่อยแข็งแรง อายุใช้งานสั้นยิ่งถ้าถูกแดดถูกฝนบ่อยๆ แล้วจะเกิดการผุเปื่อยของ ไม้ได้ง่าย บานประตูชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับทำประตูภายในที่ไม่ต้องถูกแดดถูกฝน และในกรณีที่เป็นประตูห้องน้ำถ้าใช้บานประตูไม้อัด ชนิดกันน้ำ ซึ่งจะช่วยให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ถ้าเป็นบานประตูไม้ที่ใช้งานด้านนอกของบ้านซึ่งมีโอกาสถูกแดดถูกฝนแล้ว ควรเลือกใช้บานประตู ที่ทำด้วยไม้จริง เพราะแม้ว่าราคาจะแพงกว่ากันมาก แต่ก็ให้ความแข็งแรงทนทานกว่ากันมากเช่นกัน และบาน ประตูดังกล่าวโดยเฉพาะด้านที่อยู่ภายนอกซึ่งมีโอกาสถูกแดดถูกฝนควรทาด้วยสีน้ำมันเพราะจะให้ความทนทานมากกว่าการทาด้วย เชลแล็ก
4. ประตูด้านนอกของบ้านที่มีโอกาสถูกฝนถ้าเป็นประตูชนิดบานเปิด (ไม่ใช่ประตูชนิดบานเลื่อน) บานประตูจะต้องเปิดออก นอกบ้านเสมอ ไม่ใช่เปิดเข้าและด้านล่างของบานประตูจะต้องคลุมต่ำลงมาต่ำกว่าพื้นภายในของตัวบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลเข้า ทางร่องประตูด้านล่าง และถ้าจะให้ดีแล้วตรงบริเวณพื้นด้านล่างของประตูควรทำเป็นขั้นเสริมขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งให้สูงเกือบถึงขอบประตู ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำฝนกระเด็นเข้าทางร่องประตูด้านล่างได้ดีขึ้น
5. ประตูหน้าต่างที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องเปิดและปิดได้สะดวกโดยการใช้แรงตามปกติ หน้าต่างชนิดที่เปิดออกทำ มุม 45 องศา ที่ใช้ความฝืดของบานพับในการบังคับมุมเปิดของหน้าต่างจะต้องปรับความฝืดให้พอเหมาะ การเปิดและปิดจะต้องทำได้ โดยไม่ต้อง ออกแรงมาก จนเกินไป ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ง่ายจนเกินไป มิฉะนั้นหน้าต่างจะทนต่อแรงลมไม่ได้ สำหรับประตู ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว การเปิดและปิดจะต้องสะดวก ไม่เกิดเสียงดัง ไม่รู้สึกฝืนเวลาเปิดหรือปิดซึ่งอาจหมายถึงการ ติดบานพับไม่ได้แนวเส้นตรง อันอาจก่อให้เกิด การแตกชำรุดของวงกบ หรือตัวบานประตูได้ในภายหลัง และการใส่กลอนประตูหน้าต่าง จะต้องใส่ได้สะดวก ไม่ต้องออกแรงดึงหรือฝืนมากจนเกินไป

ที่มา : หนังสือ : บ้านแสนรัก ผู้แต่ง : คำนวณ คุณาพร

1. คุณสมบัติไม้ ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี เป็นไม้ที่ไม่มีตำหนิไม่มีตาไม้ หรือกระพี้ ไม่มีโพรง รอยแตกร้าว ไม่บิดงอ และข้อบกพร่อง อื่น ๆ ต้องเป็นไม้ ที่ผ่านการอบ และผึ่งแห้งดีแล้ว ไม้ที่มีความชื้นเกิน 18 % ห้ามนำมาใช้ในงานถาวร หากมีการยืดหดภายหลัง

2. ไม้ทุกชิ้นที่มองเห็นด้วยตา จะต้องไสและตกแต่งให้เรียบร้อย
3. ไม้ที่นำมาใช้ทำวงกบ กรอบบานประตู หน้าต่าง หรือไม้ประดับตกแต่ง จะต้องไสให้เรียบร้อยทุกด้าน และขัดด้วยกระดาษทราย
4. ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั่วไป ซึ่งมิใช่ไม้สำหรับโครงสร้างหลัก อาทิเช่น ไม้สำหรับทำคร่าวผนัง ถ้าแบบ และรายการ มิได้ระบุไว้เป็นไม้เนื้อแข็งแล้วให้ใช้ไม้เนื้ออ่อนได้
5. ขนาดของไม้ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทั้งหมด ยอมให้เสียเนื้อไม้เป็นคลองแลคเกอร์ และเมื่อไสตกแต่งเรียบร้อย พร้อมที่จะประกอบเข้าเป็น ส่วนของอาคารแล้ว อนุญาตให้ขนาดไม้ลดลงได้ไม่เกินจากขนาดที่จะได้ระบุต่อไป การหดตัวของไม้ จะต้องไม่ทำให้การรับแรง และรูปโฉม เปลี่ยนแปลง และไม่เป็นผลเสียต่อวัสดุที่อยู่ติดกัน

ไม้ขนาด 1/2 " 1 " 1 1/2" 2 " 3 " 4" 5" 6 " 8 " 10 " 12 "
ไสตกแต่งแล้วเหลือไม่น้อยกว่า 3/8 " 7/8 " 1 7/8" 2 3/4" 3 5/8" 3 5/8" 4 5/8" 5 5/8" 7 1/2" 9 1/2" 11 1/2"

การติดตั้งประตูไม้

คานทับหลัง
1. ให้ติดตั้งโดยการทำการก่อผนังอิฐ แล้วเทคอนกรีตตั้งเป็นเสาเอ็น หรือ คานเอ็น โดยใช้เคร่าไม้เป็นแบบหล่อ หลังจากนั้นจึงติดตั้งวงกบ เข้ากับ เคร่าไม้ โดยยึดด้วยตะปูเกลียวทุกระยะ 40 ซม.

2. ก่อนติดตั้ง จะต้องตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องของวงกบประตูเสียก่อน ถ้าเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการคดโก่งของวงกบ หรือการชำรุดอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประตูภายหลัง แล้วทำการติดตั้งประตูต่อไปได้
การประกอบไม้วงกบ ให้ใช้วิธีประกอบเดือยเข้ามุม 45 องศา และยึดด้วย ตะปูควง การติดตั้งวงกบไม้ จะต้องได้ฉาก และดิ่ง จะต้องมีการป้องกัน ไม่ให้มุมของวงกบไม้บิ่น หรือเกิดเสี้ยน

3. การติดตั้งบาน อาจต้องมีการตัดแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับวงกบประตู และสะดวกในการเปิดปิดและสอดคล้องกัน การทำงานของช่างสี ผู้รับจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยถือระยะเหล่านี้เป็นพื้นฐาน คือ
ด้านบน ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านข้าง ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านล่าง ควรจะห่างจากพื้นประมาณ 5 มม. สำหรับห้องทั่วไป และประมาณ 10 มม. สำหรับห้องน้ำ

การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม

เมื่อวางวงกบอลูมิเนียมบนผนัง จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ประมาณ 0.5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอที่ซิลิโคนจะเข้าไปอุดรอย ต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากน้ำ ฝน เพราะถ้าติดตั้งโดยไม่เว้นช่องว่างไว้ เนื้อซิลิโคนก็จะไม่ สามารถแทรกตัวเข้าไป ในรอยต่อ ผลที่ตามมาก็คือ น้ำฝนก็จะ รั่วซึมเข้ามาภายในบ้าน มีวิธีแก้ไขก็คือ รื้อออกแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซิลิโคนเป็นวัสดุคล้ายเยลลี่ มีความยืดหยุ่น เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี และกันการรั่วซึมได้ ใช้เชื่อมกระจกกับกระจก ในกรณีที่เป็น ผนังกระจกไม่มีกรอบ ก็จะใช้แผ่นกระจกชนกัน แล้วอุดด้วย ซิลิโคน ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงสูง มีสีใสมองทะลุกระจกได้ หรือ ใช้เชื่อมกระจกกับ กรอบบาน อลูมิเนียม หรือผนังปูนที่แผ่นกระจกไปชน เพื่อป้องกันการ รั่วซึม

วงกบ PVC. ผลิตจากเนื้อ PVC. ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บิดงอ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โครงสร้างภายในจะมีเหล็กเสริม ติดตั้งได้ทั้งผนังไม้ ปูน และโลหะ การเข้ามุมต่างๆ จะใช้ความร้อน สามารถทำให้ประสานกันได้สนิท สวยงาม มีขนาดมาตรฐาน และขนาดตามสั่ง

การติดตั้งอุปกรณ์ประตู

การติดตั้งอุปกรณ์ เช่น กุญแจ ลูกบิด ขอรับ ขอสับ ฯลฯ จะต้องใช้ Template กำหนดที่ที่จะเจาะประตูก่อน แล้วจึงทำการเจาะเพื่อไม่ให้เกิด ความผิดพลาดขึ้นได้ หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้วให้ถอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกให้หมด (ยกเว้นบานพับ) แล้วนำเก็บลงกล่องบรรจุเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ช่างทาสีทำงานได้โดยสะดวก และเมื่อสีที่ทาประตู หรือวงกบแห้งสนิทแล้ว จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นใหม่ และทดสอบจนใช้การได้ดีดังเดิม อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจ ลูกบิด บานพับ