ห้องนอนเด็ก

ห้องนอนเด็ก การจัดห้องให้กับเด็กนั้นถือเป็น การสร้างนิสัยให้เด็ก มีความเป็นตัวของตัวเองรู้จักที่ะรับผิดชอบมากขึ้น แต่ก็มีหลายคน ที่จัดทำห้องให้เด็กกัน ตั้งแต่แรกเกิดเลยก็มี ซึ่งตามหลัก ในการตกแต่ง ได้มีการแบ่งวัยของเด็ก ออกเป็น แรกเกิด – 3 ปี, 4 – 8 ปี, 9 – 14 ปี และ 15 ขึ้นไป โดยแต่ละวัยนั้น ก็จะมีพัฒนาการ หรือรสนิยมส่วนตัว ที่แตกต่างกันไป ถึงแม้ ครอบครัว ไทย ๆ จะนิยมให้ลูกนอนด้วย ตั้งแต่แรกเกิดจนโต แต่ในปัจจุบัน หลายครอบครัวก็มักจะจัดเตรียมห้อง ไว้เป็นพิเศษ สำหรับลูกด้วย ซึ่งหากเตรียมการ ตกแต่งไว้อย่างดีแล้ว ก็จะเป็นห้องที่เอื้ออำนวย ความสะดวก ให้กับคุณแม่ในการดูแลลูกน้อย และยังสามารถ ปรับเปลี่ยน การใช้งานสำหรับในยาม ที่ลูกโตพอ จะมีห้องเป็นของตัวเองได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นมาเตรียม สร้าง โลกของเด็ก ให้เหมาะสม กันดีกว่า

สัดส่วนในห้องเด็ก ภายในห้องของเด็กควรมีส่วนต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ส่วนนอน
    เตียงเด็กควรจะจัดเข้ามุมเพื่อให้มีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผนังห้องยังช่วยห้องกันไม่ให้เด็กตกเตียง ขณะที่เด็ก ยัง เล็ก ควรจัดให้นอน รวมกันเพื่อให้เด็ก ๆ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และควรหลีกเลี่ยงการใช้เตียงสองชั้น เนื่องจากอาจ เกิดอันตรายจากการปีนป่าย และการตกจากเตียงชั้นบนได้

  • ส่วนเด็กเล่น
    เด็ก ๆ เป็นวัยที่ต้องการเล่นสนุกสนาน ส่วนที่จัดไว้ให้เด็กเล่นทั้งกลางแจ้งและในบ้านจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ภายในห้องเด็กควรกันส่วนหนึ่ง ไว้เป็นที่เล่น มีเครื่องเล่นสำหรับพัฒนาการทางกายและสมองของเด็กไว้ให้เด็กด้วย

  • ส่วนทำงาน
    ความต้องการในส่วนนี้เหมาะสำหรับเด็กที่เข้าสู่วัยศึกษาเล่าเรียนแล้วเด้กต้องใช้โต๊ะสำหรับทำการบ้านการฝีมือ เขียนภาพระบายสี ฯลฯ อาจทำเป็นโต๊ะที่พับเก็บได้โดยพับติดฝาผนังหรือติดชั้น หรือเป็นโต๊ะมีล้อเลื่อนเก็บเข้าใต้เตียงหรือพับเก็บเข้าตู้เก็บของได้

  • ส่วนเก็บของ
    ใช้เก็บสิ่งของจำพวกเสื้อผ้า หนังสือและของเล่น จัดไว้ตามที่ที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ เช่น ตามมุมห้อง ที่ว่างหลังประตู ฯลฯ โดยทำเป็น ชั้นสูง เลือกเก็บของที่หยิบใช้บ่อย ๆ ไว้ในชั้นที่เด็กหยิบถึง ชั้นเก็บของเด็ก อาจใช้ไม้ทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส เปิดด้านหนึ่ง ทาสีสดใสและมีตัวอักษรติดอยู่ เด็กสามารถใช้เรียงตัวอักษรเล่น หรือ ต่อเป็นโต๊ะได้ เมื่อเลิกใช้แล้ว ก็นำขึ้นวาง ซ้อนกันเป็น ชั้นเก็บของ
ห้องนอนเด็ก
การจัดห้องให้กับเด็กนั้นถือเป็น การสร้างนิสัยให้เด็ก มีความเป็นตัวของตัวเองรู้จักที่ะรับผิดชอบมากขึ้น แต่ก็มีหลายคน ที่จัดทำห้องให้เด็กกัน ตั้งแต่แรกเกิดเลยก็มี ซึ่งตามหลัก ในการตกแต่ง ได้มีการแบ่งวัยของเด็ก ออกเป็น แรกเกิด – 3 ปี, 4 – 8 ปี, 9 – 14 ปี และ 15 ขึ้นไป โดยแต่ละวัยนั้น ก็จะมีพัฒนาการ หรือรสนิยมส่วนตัว ที่แตกต่างกันไป ถึงแม้ ครอบครัว ไทย ๆ จะนิยมให้ลูกนอนด้วย ตั้งแต่แรกเกิดจนโต แต่ในปัจจุบัน หลายครอบครัวก็มักจะจัดเตรียมห้อง ไว้เป็นพิเศษ สำหรับลูกด้วย ซึ่งหากเตรียมการ ตกแต่งไว้อย่างดีแล้ว ก็จะเป็นห้องที่เอื้ออำนวย ความสะดวก ให้กับคุณแม่ในการดูแลลูกน้อย และยังสามารถ ปรับเปลี่ยน การใช้งานสำหรับในยาม ที่ลูกโตพอ จะมีห้องเป็นของตัวเองได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นมาเตรียม สร้างโลกของเด็ก ให้เหมาะสม กันดีกว่า
ห้องเด็ก
ไม่ว่าคุณจะให้ ลูกนอนห้องเดียวกันไปจนโตหรือไม่ คุณก็ควรจะเตรียม ห้องสำหรับลูก ไว้ ตั้งแต่แรกเกิด เพราะเด็ก จะมีข้าวของส่วนตัว มากมายไม่น้อยไปกว่าผู้ใหญ่ จึงควรมีที่สำหรับเก็บ เพื่อความเป็นระเบียบ และช่วย อำนวยความสะดวก ให้กับคุณ หรือผู้ที่ดูแลเด็ก ด้วยควรเลือก ห้องที่อยู่ใกล้ห้อง ของคุณ และห้องน้ำ เพื่อความสะดวก แต่ถ้าไม่มีพื้นที่พอ สำหรับจัดเป็นห้องเด็ก โดยเฉพาะอาจจัด มุมใดมุมหนึ่ง ในห้องนอนของคุณก็ได้ โดยควรวาง เตียงนอนเด็ก ให้ห่างจากทางเดิน เพื่อที่จะได้ไม่มีใครเดินผ่านไปมา ตลอดเวลา และควรมี ตู้เก็บของ สำหรับเด็ก โดยเฉพาะ ซึ่งอาจนำมาใช้กั้นแบ่งพื้นที่ เพื่อความเป็นสัดส่วนได้

 การเลือกสีแบบโมโนโครม ( Monochromatics Scheme ) หรือ การเลือกสีเดียว แต่หลาย ๆ เฉด เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สำหรับ การตกแต่ง และเลือกสีอีกสอง หรือสามสี สำหรับเน้น ความสนใจ เป็นสีที่ตรงข้ามกัน หรือตัดกัน เช่น ส้ม-น้ำเงิน เขียว-แดง คู่สีเช่นนี้เมื่อนำมาไว้ด้วยกัน จะเพิ่ม ความเข้มข้น และรุนแรง ให้กันและกัน หมายถึงว่า สีเขียวที่อยู่กับสีแดง จะดูเขียวขึ้น แต่การใช้สีประเภทนี้ จะข่มสีอื่น ๆ ฉะนั้นควรใช้เพียงเล็กน้อย เพื่อเน้นจุดสนใจ ไม่ว่าจะเลือกเป็นสีไหนก็ตาม สีเหล่านั้นจะดู สมดุลกันมากที่สุด เมื่อใช้มันในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน การใช้สีหลายสี แบบเท่ากันหมด ในห้องเดียวกัน จะทำให้ดูเชยและน่าเบื่อ และถ้าสีค่อนข้างแรง ก็จะทำให้รู้สึกอึดอัดด้วย เพราะฉะนั้น เลือกสีเดียว สำหรับเป็นสีหลัก และเลือกอีกสีหนึ่งใช้ในจำนวนที่น้อยกว่า และใช้อีกสีหรือสองสีสำหรับเน้นจุดสนใจ.

สี

เป็นวิธีที่ถูกที่สุดสำหรับ การตกแต่ง ผนังห้อง สามารถ ขัดล้างทำำ ความสะอาดได้ดี เมื่อเสียหาย ซ่อมแซม แก้ไขเฉพาะจุดได้ ส่วน จะไม่มีกลิ่นเหม็น ตกค้าง ในห้องเหมือนทาสี และยังได้เปรียบ ในการปิดบัง ริ้วรอยต่าง ๆ บนผนังได้ดีกว่า แต่ราคาแพงกว่า สามารถถูกดึงฉีกขาดได้ และซ่อมแซม ยากกว่าสี

วอลล์เปเปอร์

วอลล์เปเปอร์ มีให้เลือก มากแบบ แต่อย่าเลือก ลวดลายยุ่งเหยิงจนเกินไป เพราะจะทำให้ ห้องยิ่งดูเล็กลง ห้องเล็กดู กว้างขึ้น ถ้าคุณเลือกลายเล็ก ๆ บนพื้นสีอ่อน และถ้าเพดาน มีส่วนลาดเอียงลงมา ให้ติด วอลล์เปเปอร์ บนส่วนนั้นด้วย จะพรางตา ให้ห้องดูเป็นปกติมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยงลายทาง หรือ ลายเรขาคณิต กับห้องที่มีผนังไม่เท่ากัน เพราะจะทำให้ข้อบกพร่องชัดเจนขึ้น
นอกจากเลือกชนิดของ วอลล์เปเปอร์ ให้ดีด้วย สำหรับห้องเด็กที่ต้องการ ความคงทนสูง ควรจะลงทุนใช้แบบที่เคลือบ ไวนิล หรือเป็น ไวนิล ซึ่งจะสามารถเช็ดถูทำความสะอาดได้
ห้องมีปัญหา ไม่มีห้องใดสมบูรณ์แบบ การเลือกสีสันหรือองค์ประกอบอื่น ๆ จะช่วยพราง ข้อบกพร่องของห้อง และทำให้ดูดีขึ้นได้
ห้องที่หันหน้าไปทางเหนือ หรือ ตะวันออก ควรใช้สีในโทนอุ่นเช่นเหลืองหรือชมพู
ห้องที่หันหน้าไปทางใต้หรือตะวันตก ควรใช้สีโทนเย็น เช่น น้ำเงินหรือเขียว
ห้องที่หน้าต่างถูกัน ด้วยต้นไม้ใหญ่หรือตึกอื่น จะดูดีขึ้นด้วยการใช้สีอุ่นในแบบอ่อนจาง
ห้องเล็กควรใช้สีเย็นและอ่อนๆ เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนกำแพงอยู่ห่างออกไป
การเลือกผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ลาย หรือสีเดียว กับผนัง ทำให้ห้อง ดูมีพื้นที่มากขึ้น ห้องเพดานต่ำ ทำให้ดูสูงขึ้น ได้ด้วยการทาสีอ่อน กว่าผนัง พื้นสีอ่อน ทำให้ห้องรู้สึกกว้างขึ้น

ห้องที่ใหญ่เกินไป ทำให้ดูเล็กลงและอบอุ่นมากขึ้นด้วยโทนสีอุ่นหรือสีที่เข้มแรง เพราะสีอุ่น ลวงความรู้สึก ให้เหมือนว่า ผนังอยู่ใกล้เข้ามา วอลล์เปเปอร์ที่มีลายใหญ่ ๆ ก็ให้ผลเช่นเดียวกับ เพดานห้องที่สูงเกินไปทำให้ดูต่ำลงได้ โดยการทาสีเข้ม แต่อย่าเข้มมาก เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัน และใช้สีที่พื้นเป็นสีเข้มเช่นกัน เพื่อช่วยให้ดูสมดุล
วอลล์เปเปอร์ ลายทางแนวนอน ทำให้ห้องดูกว้างขึ้น และ ลายทางแนวตั้ง ทำให้ห้องดูสูงขึ้น
เพื่อทำให้ห้องที่แคบ ๆ ยาว ๆ ดูสมส่วนขึ้น ให้ทาสีด้านหนึ่งด้วยสีอุ่นและค่อนข้างเข้ม เพื่อให้ทำให้มันรู้สึกว่า อยู่ใกล้เข้ามา ถ้าห้องมีเหลี่ยมมุมมากมาย ตกแต่กำแพงและเพดานด้วยสีเดียวกัน เพื่อทำให้มันดูกลมกลืนกัน วอลล์เปเปอร์ ที่มีลายเล็ก ๆ และไม่วุ่นวาย ก็ช่วยได้ดี เช่นกัน

พื้นห้องเด็ก

การตกแต่งพื้น ช่วยพรางข้อบกพร่องของห้อง ได้เช่นกัน เช่น ลายทแยงมุม ทำให้ห้องรู้สึกกว้างขึ้น แต่ถ้าห้อง มีรูปร่าง ไม่ปกติ ให้หลีกเลี่ยงพื้นลายตาราง หรือลายสลับสีกัน หรือลายทางยาว เพราะจะเน้น ความไม่ปกติยิ่งขึ้น เด็กมักจะ ชอบนั่งบนพื้น เพราะฉะนั้นพื้นห้องเด็ก ควรจะนุ่มสบาย และทำความสะอาดง่าย เพราะการรักษา ความสะอาด ของพื้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับ ห้องเด็ก โดยเฉพาะเด็ก ที่ยังคลานกับพื้น อาจจะเอานิ้วใส่ปากได้ นอกจากนี้พื้น ยังเป็นที่เล่นของเด็ก จึงควรอำนวย ความสะดวก ในการเล่นด้วย คือเรียบ สามารถวาง ของเล่นต่าง ๆ ได้ และควรจะเก็บเสียงได้ดีเวลาคุณเดินเข้าไปดูลูก ตอนกลางคืน ลูกจะได้ไม่ตื่น เช่น พรมไวนิล พรมไม้ก๊อก

ม่านหน้าต่าง

babyroom kid

ม่านจะช่วยบังแสง ที่รบกวน การนอนของเด็ก และเป็นของตกแต่งที่ทำให้ห้อง ดูสวยงาม ได้อีกอย่างหนึ่ง ม่านมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ม่านแบบที่รวบสองข้าง แบบธรรมดา ควรยาวแค่ระดับขอบหน้าต่าง ไม่ควรยาวถึงพื้น เพราะเด็กอาจ ดึงเล่น และ จะสกปรกได้ง่าย

พื้นไม้ ที่ใช้พรมผืนเล็ก ปูเป็นส่วน ๆ การปูพรมทั้งห้อง ไม่เหมาะกับ ห้องเด็ก เพราะถึงจะนุ่ม เก็บเสียง แต่ก็เก็บฝุ่น ดูแลยาก บางทีก็นุ่มเกินไป สำหรับการเล่น ของเล่น บางอย่างบนพื้น ถ้าจะเลือกพรม ควรเลือก พรมทอจากใยสังเคราะห์ ที่แข็งแรงทนทาน และทำความสะอาดง่ายซึ่งปัจจุบัน มีให้เลือกหลายชนิด

ส่วน Venetian Blind หรือมู่ลี่ ม่านแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นบานเกล็ดสำหรับเปิดปิด ให้รับแสงได้ตามต้องการหรือจะรูดขึ้นไปหมดก็ได้ จึงประหยัดพื้นที่ ส่วนมาก ทำด้วย ไม้หรือโลหะ เดี๋ยวนี้มีแบบ พลาสติกและพีวีซีด้วย เป็นม่านที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อเปิดไฟ ตอนกลางคืนข้างนอก จะมองเห็นเข้ามาข้างในได้ ควรหาม่านคลุมทับ อีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำ ความสะอาด ค่อนข้างยากด้วย

Roman Blinds หรือ ม่านผ้าที่เปิดปิดด้วยการรูดขึ้นลง เป็นจีบอยู่ด้านบน เป็นอีกแบบหนึ่ง ที่เหมาะ กับห้องเด็กเพราะประหยัดที่ และใช้ผ้าน้อยกว่า ม่านธรรมดา ทำความสะอาดได้ด้วยการซัก

แสงไฟในห้องเด็ก

แสงไฟใน ห้องเด็ก ควรเป็นแสงที่สว่างพอแต่ไม่มาก จนแสบตา ไม่ควรใช้ไฟที่ห้อยลงมา จากเพดานตรงกลางห้อง เพราะนอกจาก แสงจะแข็งแล้ว มันยังส่องแยงตาเด็ก เวลานอนอยู่ในเตียงหรือเปลด้วย แต่ถ้าไฟที่บ้านคุณ เป็นแบบนี้อยู่แล้ว และไม่สามารถ เปลี่ยนได้ ให้เลือกแบบ ที่มีที่ครอบดวงไฟ เพื่อทำให้แสงฟุ้ง กระจายไปมากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ไฟผนังเป็นไฟที่เหมาะกว่า โดยเฉพาะ แบบที่ส่องแสงขึ้นข้างบน กระทบเพดาน แล้วสะท้อนแสง ลงมาข้างล่างอีกทีหนึ่ง ทำให้ได้แสดงไฟที่นุ่มนวลขึ้น ควรใช้แบบที่มี โคมบังหลอดไฟไว้ข้างใน เพื่อที่เด็ก จะได้ไม่ต้องจ้องมอง แสงจากหลอดไฟโดยตรง ให้เสียสายตา ควรมีสักสองจุด เพื่อที่จะได้แสงสว่าง ที่เพียงพอสำหรับทั้งห้อง หรืออาจจะใช้สปอตไลท์ 2-3 อัน ติดบนราว ซึ่งสามารถปรับมุมให้แสงส่องเข้าที่ผนัง แล้วสะท้อนออกมาอีกที เพื่อลดความจ้าของแสงลง เช่นเดียวกับดาวน์ไลท์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี แต่อย่าติดดาวน์ไลท์ เหนือที่นอน ของเด็ก ไม่อย่างนั้นมันจะส่องแยงตาแกตลอดเวลาเลยทีเดียว และไม่ว่าจะใช้ไฟชนิดใดก็ตาม คุณควรใช้ดิมเมอร์ แทนสวิทซ์ไฟธรรมดา ซึ่งทำให้คุณสามารถเลือกปรับ ความเข้มข้นของแสงตามที่ต้องการได้ เช่นเวลาที่เข้าดู ลูกกลางดึก หรืออาจใช้ดิมเมอร์หรี่ไฟ เพื่อใช้เป็นไฟเปิด ในห้องตอนกลางคืนก็ได้ จะได้สะดวกเวลาเข้ามาดูแลเด็ก และเวลาเด็กโตขึ้น เด็กจะได้ไม่กลัวเวลาตื่นขึ้นมากลางดึก นอกจากนี้ควรมีไฟเฉพาะจุดสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย ในตอนที่ลูกยังเล็ก กิจกรรมหลัก ๆ จะเป็นการทำงาน ของคุณแม่ คือเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวให้ลูก ควรจัดให้มี แสงสว่างพอที่จะทำงานได้สะดวก แต่อย่าใช้หลอด ที่วัตต์สูงมากไป เพราะจะทำให้เด็กแสบตา และควรอยู่ ในระยะที่เด็กเอื้อมไม่ถึง สปอตไลท์ติดกำแพง ดูจะเหมาะที่สุด เพราะเด็กเอื้อมไม่ถึง และต่อมา เมื่อเด็กโตขึ้น ยังปรับใช้เป็นไฟโต๊ะทำงานของเด็ก ได้ด้วย

บางครั้งคุณอาจจะต้องอ่านนิทานให้ลูกฟังเวลานอนเพราะฉะนั้น ควรมีแสงไฟข้างเตียงไว้ด้วย และควรอยู่สูงพอที่เด็กจะเอื้อมไม่ถึง เช่น สปอตไลท์ติดกำแพง ยังไม่ควรใช้โคมไฟแบบตั้งพื้น จนกว่าเด็กจะโต ถึงระดับหนึ่ง เพราะเด็กอาจคลานและดึงสายไฟจนโคมล้มลงมาได้ และไม่ว่าจะเป็น แสงไฟอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่คุณต้องคำนึงถึง สำหรับห้องเด็กก็คือความปลอดภัย เช่น ปลั๊กไฟในห้องเด็ก ควรเป็นแบบที่ปิดได้ และต้องอยู่ห่างในระยะที่เด็กเอื้อมไม่ถึง เป็นต้น

เครื่องเรือน ควรคำนึงเสมอว่าเด็กจะต้องเติบโตขึ้น เครื่องเรือนในห้องเด็กจึง ควรเป็นแบบที่ต้องเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อให้สัมพันธ์กับตัวและวัยของเด็ก ที่เพิ่มขึ้น เครื่องเรือนของเด็กควรมีสดใส และที่สำคัญคือต้องไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เครื่องเรือนที่สำคัญในห้องเด็กมีดังนี้

เตียงนอนเด็ก

เตียงนอน

การเลือกเตียงสำหรับลูกควรเลือกชนิด ที่แข็งแรง และปลอดภัย ถ้าลูกยังเล็ก เลือกเตียงแบบที่มี ลูกกรงโดยรอบ (Cot) เพื่อกันไม่ให้เด็กตกเตียง ลูกกรง ควรจะสูงอย่างน้อย 59.5ซม. และใช้ลูกกรงแนวตั้ง เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ใช้เป็นบันได ปีนออกมาได้ ระยะห่าง ระหว่างลูกกรงแต่ละซี่ไม่ควรน้อยกว่า 25 ซม. หรือ 1 นิ้ว และไม่มากกว่า 6 ซม. หรือ 2 นิ้ว เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ยื่น ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เข้าไปติดอยู่ ในระหว่าง ลูกกรงได้ และเตียงเด็กส่วนมากจะมีด้านที่ปรับขึ้นลงได้ เพื่อความสะดวก ในการทำเตียงและอุ้มเด็กเข้าออก ตัวล็อกลูกกรงนี้ต้องแข็งแรง และแน่นหนาพอที่เด็กจะ ไม่กดมันลงไปได้เอง เมื่อเด็กโตขึ้น จนไม่ต้องนอน เตียงแบบนี้แล้ว อาจดัดแปลง มันเป็นโซฟา สำหรับพักผ่อนก็ได้

ที่นอน

ไม่ควรให้เด็กนอนที่นอนเก่า เพราะนอกจาก จะไม่ถูกสุข ลักษณะแล้ว ที่นอนเก่ายังมักจะเสียรูปแล้ว ทำให้รูปร่างของเด็กที่กำลังโตเสียได้ เพราะเด็กจะเติบโต มากที่สุดเวลาที่แกนอนหลับ ควรซื้อที่นอนที่ดีที่สุดให้ลูก
ควรเลือกเที่นอนให้มีความกว้างอย่างน้อย 100 ซม. เพราะเด็ก มักจะนอนดิ้นมากกว่าผู้ใหญ่ การเลือก ที่นอน นิ่ม หรือแข็งนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของคน ที่นอนคนที่น้ำหนักมาก ต้องการที่นอนแข็ง ๆ ซึ่งสามารถ รับน้ำหนักได้ดี และคนที่เบากว่า ก็ต้องการเตียง ที่นุ่มกว่า เพราะฉะนั้นอย่าเลือก เตียงที่แข็งเกินไป สำหรับเด็กเล็ก ๆ เวลาซื้อที่นอนให้ลูก ให้พาแกไปด้วย แล้วให้ลองนอนดู จากนั้นสอดมือเข้าไปโดยคว่ำฝ่ามือลง ใต้ชายกระเบน เหน็บ ถ้ามีช่องว่าง แสดงว่าเตียงแข็งเกินไป หรือถ้าสอดมือเข้าไปลำบาก ก็แสดงว่ามันนิ่มไป แต่ถ้าสอดมือเข้าไปได้ โดยไม่มี ช่องว่าง ก็แสดงว่าที่นอนนั้น เหมาะสม ดีแล้ว และเพื่อช่วย ยืดอายุ การใช้งาน ของที่นอน อย่าให้ลูกกระโดดเล่น บนเตียง เป็นอันขาด .

เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ และที่เก็บของ

เฟอร์นิเจอร์ใน ห้องเด็ก แต่ละวัยจะมีความพิเศษ แตกต่างกันไป อย่างเช่น ในยามที่ลูกยังดูแลตัวเองไม่ได้ ผู้ที่จะมีส่วนใน การใช้ ห้องเด็ก มากที่สุดก็คือ แม่หรือ ผู้ดูแลเด็ก ดังนั้นควรจัด เฟอร์นิเจอร์ ที่จะเอื้อประโยชน์ ให้กับคุณแม่ด้วย เช่น พื้นที่สำหรับดูแล เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือแต่งตัวให้ลูก ซึ่งควรมี ตู้เก็บของจำเป็นอยู่ใกล้มือ เพื่อความสะดวก ของคุณแม่ ซึ่งพื้นที่นี้สามารถปรับเปลี่ยน เป็นโต๊ะเขียนหนังสือ หรือโต๊ะเครื่องแป้งของลูกได้ เมื่อแกโตขึ้น เพราะฉะนั้น ควรเลือกเป็นโต๊ะเครื่องแป้ง ของลูกได้ เมื่อแกโตขึ้น เพราะฉะนั้นควรเลือกเป็นโต๊ะ หรือตู้เตี้ยที่เว้นช่องล่าง เพื่อความสะดวก ในการใช้งาน ต่อไปในอนาคต และนอกจากพื้นที่สำหรับดูแล เปลี่ยนผ้าอ้อมแล้ว ควรเตรียม เก้าอี้นั่งสบายไว้สักตัว เลือกแบบที่รองรับหลัง ได้อย่างเต็มที่ สำหรับเป็นที่นั่ง เวลาให้นมลูก

นอกจากเตียงนอน ที่ต้องเปลี่ยนเมื่อลูกโตขึ้นแล้ว เฟอร์นิเจอร์ อย่างอื่นควรปรับเปลี่ยนได้ เช่น ตู้เสื้อผ้าเด็ก ตอนแรกเกิดนั้น เสื้อผ้าเด็ก มักจะใช้พับมากกว่าแขวน ดังนั้นลิ้นชักจะสำคัญกว่า ราวแขวนเสื้อ ตู้เสื้อผ้า ของเด็ก จึงควรจะใช้ราว แบบที่ปรับระดับได้ หรือถอดออกได้ โดยคุณอาจเสริม ลิ้นชักแบบตะแกรงลวดเข้าไปชั่วคราว เมื่อเด็กไตขึ้นก็ถอดออก และใส่ราวแขวนเข้าไปแทน ระดับของราวแขวนเสื้อ ก็ควรให้เหมาะกับวัยของเด็ก เพื่อที่เด็กจะสามารถหยิบมาแต่งตัวเองได้
เฟอร์นิเจอร์ สำหรับเก็บของเป็นอีกสิ่งที่จำเป็น สำหรับ ห้องนอนทุกห้องไม่เฉพาะห้องเด็กซึ่งมีทั้งแบบที่เป็น
เฟอร์นิเจอร์ บิลด์-อิน หรือแบบลอยตัว แบบแรกจะเป็นแบบ ที่ใช้งาน ได้ดีที่สุดเพราะประหยัดพื้นที่ และสามารถ ใช้พื้นที่ได้ ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ทำให้ได้พื้นที่ เก็บของมากด้วย คุณสามารถออกแบบพื้นที่ ภายในตู้ได้ ตามต้องการ และเหมาะกับห้อง ที่มีรูปร่าง ไม่สมส่วน เพราะสามารถทำให้ลงตัว กับพื้นที่ได้ทุกแบบ เฟอร์นิเจอร์ แบบบิลด์-อิน ยังติดตั้งอย่างมั่นคง ซึ่งทำให้ปลอดภัย เวลาที่เด็กใช้ เฟอร์นิเจอร์ เป็นหลักเกาะเวลาลุกขึ้นยืน หรือปีนขึ้นไป ส่วนเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว มีข้อดีตรงราคา ถูกกว่า สามารถโยกย้ายได้ตามต้องการหรือซื้อของมา เพิ่มเติมได้ เมื่อเวลาผ่านไป แต่ต้องมั่นใจว่า มันตั้งได้ อย่างมั่นคง พอที่จะไม่ล้มมาทับเด็กได้

ชั้นวางของแบบโล่งก็เป็นเฟอร์นิเจอร์อีกแบบที่มีประโยชน์มากสำหรับห้องเด็ก อาจใช้ชั้นแบบ ปรับระดับได้ เพื่อให้เหมาะกับ เด็กแต่ละวัย เด็กจะได้หัดเก็บข้าวของด้วยตนเอง แต่อย่าวางของหนัก ๆ เอาไว้บนชั้นสูง ๆ เพื่อให้ เด็กหยิบไม่ถึง แต่เด็กอาจจะปีนขึ้น ไป ดึงลงมาจนหล่นลงมาทับเอาก็ได้