ห้องรับประทานอาหาร

การรับประทานอาหารที่บ้านนั้น มีความหมายไป ตั้งแต่ การวิ่งเข้า ครัวเพื่อหาอะไร ก็ได้สักอย่าง มาแก้หิว การนั่งดูโทรทัศน์ไปพลาง ๆ ขณะที่เจ้าตู้อบ ไมโครเวฟ กำลังอุ่น แซนด์วิชสักชิ้น ไปจนถึง การจัดเลี้ยง อย่างเป็นการ เป็นงานสำหรับแขก คนสำคัญ
ข้อดีของการจัดเลี้ยงอาหารที่บ้าน มีตั้งแต่ การสังสรรค์ เพื่อนเก่า ๆ กระชับสัมพันธ์ กับเพื่อนใหม่ หรือแม้แต่ การสร้างความประทับใจ ให้กับเจ้านาย นอกจากนี้ บางคนยังถือเป็นโอกาส ที่จะแสดงฝีมือ การปรุงอาหาร ไปด้วยก็ได้ ดังนั้น ห้องรับประทานอาหารเอง ก็จะมี ความสำคัญในการสร้าง บรรยากาศเมื่อมี การจัดเลี้ยงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดรูปแบบ ของงานที่เราต้องการให้เป็นไป การตกแต่งที่ ช่วยเสริมได้ แม้กระทั่งรสชาติของอาหาร ความเหมาะสม ในการใช้ ห้องรับประทานอาหาร เป็นห้องสนทนาต่อไป ภายหลัง จากการรับประทานอาหารแล้ว

ห้องรับประทานอาหารสามารถยืดหยุ่นได้ดีไม่ว่าจะเป็นขนาดของห้องและรูปร่าง เช่น อาจจะใช้ มุมใดมุมหนึ่ง ของห้องครัว ไปจนถึงการจัดห้องอาหาร โดยเฉพาะในบ้านสมัยใหม่ส่วนใหญ่ แล้วห้อง รับประทานอาหาร มักจะเป็นที่ที่กำหนดขึ้นมา อย่างเหมาะสมเพื่อใช้ให้ เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ในการรับประทานอาหาร

ในบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่ง การเลือกชนิดของอุปกรณ์ ในการ รับประทานอาหาร อาจจะทำให้ สามารถดัดแปลง ห้องรับประทานอาหาร ให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้อีกหลายลักษณะ เช่น ใช้เป็นห้องทำการบ้านของเด็ก ๆ เป็นห้องสมุดเล็ก ๆ หรือบางครั้ง ก็อาจจะเป็น ห้องนอน สำรอง สำหรับแขกผู้มาเยือน

ห้องรับประทานอาหาร

จุดที่มักจะต้องให้ความสำคัญก็คือ ห้องรับประทานอาหาร ไม่ควรจะ อยู่ไกลจาก ห้องครัว เพราะอาหาร บางชนิด หากเสียเวลาไป กับการลำเลียง มาสู่ห้องรับประทานอาหาร นานเกินไป ก็อาจจะเสียรส ชาด หรือบางครั้ง ในการจัด งานปาร์ตี้ ในหมู่เพื่อนฝูง คนที่เข้าครัวปรุงอาหาร ก็จะขาด บรรยากาศ ที่สนุกสนาน ของงานไป แต่ข้อที่ควร ระวังสำหรับครัว ที่อยู่ติดกับห้อง รับประทานอาหาร ก็คือเรื่องของ กลิ่นอาหาร ขณะที่กำลังปรุง จะเข้ามารบกวนได้ ดังนั้น การระบายอากาศ หรือการใช้ เครื่องดูดควัน จึงกลายเป็น เรื่องจำเป็น ที่ขาดเสียไม่ได้ บรรยากาศ และ อิทธิพลต่อจิตใจ ของ ห้องรับประทาน อาหาร จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์ การใช้แสง การเลือกใช้สี ทั้งหมดนี้ จะขึ้นกับรสนิยม และความต้องการ ของเจ้าบ้าน การจัดวางตำแหน่ง ห้องรับประทาน อาหารภายในบ้าน จะต้องคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอย ร่วมกับห้องอื่น ๆ ด้วย

ห้องรับประทานอาหารในแบบฉบับของตัวเอง

ห้องรับประทานอาหารมีคนแนะนำว่า การจะจัด ห้องรับประทานอาหาร สักห้อง ในบ้านให้ดีอย่างที่เราต้องการ ให้นึกไปถึง ร้านอาหาร ร้านโปรดของเรา โดยเฉพาะ ร้านอาหาร หรือภัตตาคาร ที่ประสพ ความสำเร็จ แน่นอนรสชาดอาหาร คือจุด สำคัญที่สุด แต่สิ่งแวดล้อม ที่ช่วยสร้างบรรยากาศ ซึ่งร้านอาหาร สามารถจัดได้หลายแบบเช่น มุมหนึ่ง อาจจะเป็น บรรยากาศ แบบพื้นบ้าน ส่วนอีกด้าน ก็เป็นแบบทันสมัย ซึ่งตกแต่งด้วย วัสดุจำพวกโลหะ ชุบโครเมียม แวววาวและฟอร์ไมกา ฯลฯ ผู้มาใช้บริการ ของร้าน จึงสามารถเลือกบรรยากาศ ให้เหมาะ กับวัตถุประสงค์ของตนเอง ภายในบ้านก็เช่นกัน ห้องรับประทานอาหาร อาจจะใช้ในหลายโอกาส ที่ต่างบรรยากาศกัน เช่นห้องจะสามารถตกแต่งให้ บรรยากาศ ดูสนใจสำหรับ การจัดปาร์ตี้ และห้องเดียวกันนี้ จะต้องไม่ดูเงียบเหงาจนเกินไปนัก หากจะต้องอยู่บ้าน รับประทานอาหาร ค่ำคนเดียว
ข้อสำคัญที่สุด จึงอยู่ที่ตัวเจ้าของบ้านเอง เพราะจะต้อง มีส่วนร่วม ในการรับประทานอาหาร อยู่เสมอ บางคนชอบรูปแบบ ที่เรียบร้อย ก็จัดห้องแบบสบาย ๆ เป็นกันเอง บางคนชอบปรุงแต่งรสอาหารเอง หรือบางคน ชอบมีเครื่องดื่ม ระหว่างอาหารไปด้วย ก็อาจจะจัด เคาน์เตอร์บาร์ สำหรับเสิร์ฟ ไวน์ หรือบรั่นดี ควบคู่ไปด้วย การที่ตกแต่ง ห้องรับประทานอาหาร ก่อนอื่นควรที่จะมอง แบบกว้าง ๆ ก่อนว่า ห้องควรจะเข้ากันได้ กับการตกแต่ง โดยทั่วไปของบ้าน ทดลองดูได้ โดยยก เฟอร์นิเจอร์ สักชิ้นจากห้องครัว มาไว้ใน ห้องรับประทานอาหาร จะต้องไม่รู้สึก ว่ามีความขัดแย้งกัน จนเห็นได้ชัด

จากนั้นก็มาดูกันที่ส่วนประกอบอื่น ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บของที่ผนัง และอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ ควรจะเข้าชุดกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสี แบบและ ความอ่อนแก่ของ โทนสี วัตถุประสงค์ที่ รองลงมาก็คือ เราต้องการให้ ห้องรับประทานอาหาร นี้ แสดงความคิดของเราในแง่ใดบ้าง เช่น การจัดบรรยากาศ แบบธรรมชาติ การจัดแสดงเฟอร์นิเจอร์แบบโบราณ ฯลฯ รวมไปถึงการใช้ห้องนี้ เพื่อประโยชน์ อย่างอื่นด้วย ดังกล่าวแล้ว ข้างต้น

Dining Roomลักษณะการใช้งานห้องรับประทานอาหาร

ไม่ว่าห้องอาหารจะตกแต่งไว้หรูหราเพียงใดก็ตาม สิ่งที่จะต้องคำนึง เป็นอย่างมากก็คือ ประโยชน์ใช้สอย สำหรับตัวเจ้าบ้านเอง และผู้มาร่วมรับประทานอาหาร การที่จะตัดสินใจ เกี่ยวกับ เรื่องนี้ ให้ได้ดี คงจะต้องเข้าใจ เสียก่อน ว่าห้องนี้จะใช้งานมากที่สุด ในช่วงใด เลี้ยงอาหารกลางวัน ในวันหยุด จัดเลี้ยงเฉพาะ ตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวัน ต้องใช้ประโยชน์อย่างอื่น ขนาดของโต๊ะ ที่จะต้องใช้การ จัดลำเลียงอาหารจากครัว ที่เก็บอุปกรณ์ ที่จะต้องใช้ ในการรับประทาน อาหาร การเลือกใช้แสง ผ้าม่าน ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะต้อง กำหนดขึ้นมา เสียก่อน ที่จะออกไปซื้อ หรือสั่งทำเฟอร์นิเจอร์
ถ้าภายในบ้าน มีที่พอจะจัดเป็นห้องอาหารได้ โดยเฉพาะ ก็นับเป็นเรื่องที่ดีมาก ห้องรับประทานอาหาร ควรจะอยู่ติดกับ ห้องครัว กรณีเช่นนี้การจัดหาโต๊ะมา สำหรับวางอาหาร ก่อนเสิร์ฟ และการใช้ตู้เก็บของ ใน ห้องรับประทานอาหาร ก็กลายเป็น เรื่องที่ไม่จำเป็น แต่ถ้า ห้องรับประทานอาหาร อยู่ห่างจากห้องครัว ก็อาจจะต้องใช้การลำเลียงอาหารด้วย รถเข็น ซึ่งจะให้ ประโยชน์ ทั้งการนำอาหาร เข้ามาในห้อง และการขนเอา ภาชนะใช้แล้ว ออกไปจากห้องด้วย รถเข็นที่ออกแบบมา โดยมี เครื่องอุ่นอาหารไฟฟ้าในตัว ก็ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าไม่สามารถจัดหามาได้ ก็อาจจะต้องใช้ การอุ่นอาหาร จากตู้อุ่น ซึ่งจะต้องวาง ในห้อง รับประทานอาหารด้วย

สำหรับครัวที่อยู่ติดกับ ห้องรับประทานอาหาร วิธีที่สะดวกอีกวิธีหนึ่ง ก็คือการทำช่อง สำหรับจัดส่ง อาหารที่ผนัง ระหว่างครัว กับห้องรับประทานอาหาร เพราะสามารถตัดความวุ่นวาย จากการส่งอาหาร ทางประตู ได้เป็นอย่างดี ช่องส่งอาหารนี้ จะต้องมี ที่วางอาหาร จานใหญ่ ๆ ได้อย่างเพียงพอ ทั้งสองข้าง และเมื่อส่งอาหารเข้ามาในห้อง หมดแล้ว ต้องมีบาน หน้าต่างเล็ก ๆ ปิดเพื่อความสวยงาม และความเป็น สัดส่วน การใช้งาน ห้องรับประทานอาหาร

ห้องรับประทานอาหาร 2การจัดแสงสว่าง

การใช้โคมไฟดวงใหญ่แขวนไว้เหนือโต๊ะกลางห้อง นับเป็นวิธีที่ใช้กันเป็นส่วนมาก เพราะถึงแม้ ไม่ได้เปิดไฟ ดวงโคมเองก็เป็นเครื่องประดับที่ดีได้ ปัญหาของการจัดไฟ แบบนี้จึงอยู่ที่ว่า ความสูงเท่าไร จึงจะพอเหมาะ การปรับความสูงจึงทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการจัดให้คน 2 คน นั่งหันหน้าเข้าหากัน ที่โต๊ะกลาง จากนั้นก็จัดความสูง โดยความสูงที่ถูกต้องก็ คือต้องไม่เห็นเงา ของโคมไฟฟ้า ที่หน้าของคนใด คนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะต้อง ไม่สามารถมองเห็นหลอดไฟ โดยตรงที่ระดับสายตา บางครั้งก็สามารถ แก้ปัญหา เรื่องแสงเข้าตา โดยการเลือกใช้หลอด แบบที่มีโลหะเคลือบที่ช่วงล่างครึ่งหลอด
การเลือกใช้แสงที่ต่างกัน ในห้องเดียวกัน ก็ให้ความรู้สึก หรือบรรยากาศ ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เวลากลางวัน หรือกลางคืน รวมไปถึงการจัดแสง เพื่อเน้นจุด ที่ต้องการให้เด่น เช่น จัดให้แสงตกที่ผนัง เพื่อที่จะให้ ภาพแขวนดูเด่นขึ้น ถ้าแสงจัด ลงที่โต๊ะกลาง ก็เป็นการเน้นที่จานอาหาร หรืออุปกรณ์ ที่ใช้บนโต๊ะ รับประทานอาหาร
นอกจากนี้การเลือกใช้โต๊ะ และเก้าอี้ ในห้อง รับประทานอาหาร จะต้องคำนึงถึง จำนวนผู้ที่จะมา ร่วมรับประทานอาหาร ที่มากที่สุดที่คิดว่าเป็นไปได้ จากนั้นก็จะมาดู ที่รูปร่างของโต๊ะ ซึ่งอาจจะเป็นโต๊ะกลม รูปไข่ จัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า การพิจารณา จากแปลนห้อง ก็พอจะบอกได้ว่า ควรจะใช้โต๊ะแบบใด

ขณะนั่งรับประทานอาหารต้องสามารถปล่อยตัวห้อยขาได้ตามสบายโดยไม่มีขาโต๊ะมาเกะกะ เก้าอี้ต้องรับน้ำหนักตัวได้ดี เบาะต้องไม่นุ่ม จนเกินไป และมีพนักที่พิงได้สบาย เมื่อจะลุกจากที่นั่ง หรือเดินเข้าออกจากห้อง ต้องไม่รบกวนผู้อื่นที่นั่งอยู่รอบโต๊ะโดยรอบ

การจัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการ

ห้องรับประทานอาหาร 3ลักษณะการจัดเลี้ยงแบบนี้ต้องการความเป็นระเบียบ ค่อนข้างมาก ดังนั้น ห้องที่จะใช้ จึงต้องเป็น ห้องรับประทานอาหาร โดยเฉพาะ เพราะขณะนั่ง รับประทานอาหาร แขกของเราไม่ควรจะมองเห็นสิ่งอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการจัดเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้า เตียงพับ หรือแม้แต่การบ้าน ที่วางบนโต๊ะ ของเด็ก ๆ ฯลฯ ระดับของพื้นห้อง ไม่ควรจะอยู่ ู่ต่ำกว่า ระดับพื้นดิน เพราะอากาศ ต้องถ่ายเท ได้สะดวก การจัดห้องนี้ สามารถทำได้ แบบเฉพาะตัว คือไม่ต้อง กลมกลืน กับห้องอื่น ๆ ก็ได้ เพราะเวลาที่ใช้งาน จะไม่ค่อยเกี่ยว กับห้องอื่น ๆ มากนัก

การจัดห้องรับประทานแบบนี้จะทำให้สมบูรณ์แบบได้ไม่ยากนัก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง แทบจะตายตัว ทั้งหมด นับตั้งแต่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ฯลฯ การจัดวางสิ่งเหล่านี้ จะมีที่อยู่ ของตัวเอง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือรสนิยมของเรา ในการจัดสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
การจัดห้องแบบนี้เรื่องของสีจะเข้ามามีบทบาท ค่อนข้างมาก เช่น ถ้าใช้สีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลปนแดงสีอิฐ จะทำให้ห้องดูอบอุ่นขึ้น ท่ามกลางแสงเทียน แต่สีนี้กลับดูกระด้าง ในเวลากลางวัน แต่ถ้าแต่งห้อง ด้วยสีชมพูหรือสีครีม เวลากลางคืน จะดูอ่อนหวาน ในเวลากลางวัน ก็จะสามารถใช้ห้องได้เช่นเดียวกัน การตกแต่งด้วยสิ่งของ หรือ เฟอร์นิเจอร์ ที่ทำขึ้น ตามสมัยนิยม ไม่ควรนำมาใช้กับการนี้ เพราะว่าจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย ในเวลาต่อมา การตกแต่งแบบเรียบง่ายและคลาสสิค จะเหมาะกว่า

ถ้าห้องมีขนาดเล็ก เกินกว่าจะขยายออกไปได้อีก ก็ควรที่จะทำให้ ดูกว้างขึ้น ด้วยการตกแต่ง ให้เพดานมีสีสดใส เพื่อเบี่ยงเบน ความสนใจ ไปจากผนัง ถ้าห้องนั้น มีผนัง เดิมที่มีสีสันค่อนข้างจัด หรือฉูดฉาดมากเกินไป ก็ควรลดสีสันลง ด้วยการใช้ผ้าม่านแบบโปร่งบาง ก็จะช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้นได้บ้าง

การจัดแสง

การจัดเลี้ยงแบบนี้ค่อนข้างเน้นเรื่องแสงเทียน แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่อง ที่จำกัดเสมอไป ที่จะต้องแสงเทียนจริง ๆ ปัจจุบันสามารถ ทดแทนได้ ด้วยโคมระย้า หรือไฟฟ้า ที่แขวนเหนือโต๊ะ โดยมีอุปกรณ์ที่ช่วยหรี่ไฟ ก็จะช่วยให้ สามารถลดปัญหา เรื่องแสงเทียน ที่ลุกโชติช่วง บนโต๊ะได้ โดยไม่เสียบรรยากาศได้

ห้องรับประทานอาหาร 4

ขนาด

ขนาดของห้องรับประทานอาหารอย่างน้อยที่สุด ต้องมีที่นั่งเพียงพอกับ สมาชิกทุกคน ในครอบครัว และควรจัดให้อยู่ในสภาพที่ยืดหยุ่นได้ กล่าวคือ สามารถขยายขอบเขตให้กว้างออกได้ เมื่อต้องการ สามารถรับรองแขก ที่มาร่วมรับประทานอาหารได้ เมื่อเทียบ จำนวนคนที่โต๊ะรับประทานอาหารรวมทั้ง ที่เก็บเครื่องใช้ต่าง ๆ จะได้ขนาดของห้อง ดังนี้

จำนวนคน - ขนาดกว้าง X ยาว (เมตร)
4 - 3.00 x 3.50
6 - 3.00 x 4.20
8 - 3.00 x 4.90
10 - 3.00 x 5.60
12 - 3.00 x 6.30

ที่ตั้ง

ถ้าต้องการจัดให้ห้องอาหารอยู่ส่วนกลางของบ้าน ด้านหน้าควรเป็น ห้องรับแขก หรือห้องพักผ่อน และด้านหลังเป็น ห้องเตรียมอาหาร ซึ่งติดต่อกับห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ไม่ควรถูกรบกวน ด้วยเสียงดังเกิน 80 เดซิเบล เพราะจะทำให้รู้สึกรำคาญ และอาจ มีผลต่อ ระบบย่อยอาหารได้ ควรที่ทางเปิด เปิดออกสู่ระเบียง หรือสนามได้ เมื่อต้องการ ขยายที่นั่งรับประทานอาหาร เช่น เมื่อมีงานเลี้ยง ระหว่างมิตรสหาย เป็นต้น

ตู้เก็บของ

การจัดเก็บจานชาม อุปกรณ์การจัดเลี้ยง เครื่องแก้วต่าง ๆ ที่ใช้ไม่บ่อยนัก ก็ควรจัดเก็บ ให้เรียบร้อย ในตู้เก็บของ ในห้องรับประทาน อาหาร เช่น แก้วไวน์ราคาแพง เครื่องจัดเลี้ยงที่ทำด้วยเงิน สำหรับโอกาสพิเศษเท่านั้น จึงจะนำออกมาใช้ จึงควรหลีกเลี่ยงการแตกหัก หรือบุบสลาย ส่วนของที่ใช้ เป็นประจำควรแยกเก็บ ในห้องครัว เพราะสะดวก ในการหยิบใช้ และเมื่อล้าง ทำความสะอาดแล้ว ก็เก็บเข้าที่ได้ง่าย สำหรับอุปกรณ์อื่น เช่น ผ้าปูโต๊ะ ที่รองจาน ผ้ากันเปื้อน อาจจะเก็บ ในตู้เก็บของ ในห้องครัว หรือบางครั้งที่ รถเข็นก็มี ลิ้นชัก สำหรับเก็บอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย

ประตูห้อง

ประตูห้องรับประทานอาหารที่ถูกหลัก จะมีหนึ่งบานที่ใช้ร่วมกันกับห้องครัว ต้องพิจารณาถึงเนื้อที่ ที่บานประตูจะต้องเปิด-ปิด หากบานประตูติดสปริง สำหรับปิดได้เองก็ควรตั้งสปริงให้อ่อนไว้เล็กน้อย ระดับพื้น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร ควรเสมอกัน ทั้งสองข้างของประตู เพื่อป้องกันการเดินสะดุด ถ้ามีธรณ ประตูก็อาจจะต้องมีแผ่นอะลูมิเนียมลาดลงทั้งสองข้างประกบ บานประตูที่ดี สำหรับงานนี้ ก็คือบานประตูที่มีกระจกใส อยู่ครึ่งบานตอนบน ทำให้สามารถมองเห็น ฝั่งตรงกันข้ามได้ ช่วยลดปัญหาการเปิด-ปิด แล้วกระทบกับคนที่อยู่อีกข้าง ยิ่งบ้านที่มีเด็ก ๆ ยิ่งเหมาะสมมากเป็นพิเศษ

ผนังและหน้าต่าง

ปกติแล้วห้องรับประทานอาหาร มักจะมีขนาด ไม่ใหญ่โตนัก ดังนั้น การใช้สี ควรเป็นสีโทนอ่อน จะทำให้ห้องดูโล่งขึ้นอีกด้วย การใช้กระจกเงา ติดที่ผนัง การติดวอลเปเปอร์สีอ่อน ๆ นอกจากจะช่วย ให้ภาพที่แขวน ที่ผนัง ดูเด่นขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วย ทำให้โต๊ะกลางห้อง กลายเป็นจุดรวม ของห้อง ด้วย หน้าต่างห้องถ้าขนาด ไม่กว้างมากควรทำให้ดูโปร่งตา ด้วยผ้าม่านลูกไม้แทนที่ จะเป็นผ้าม่านแบบปิดทึบ

พื้นห้อง

การเลือกใช้วัสดุเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับสไตล์ การตกแต่งห้อง การใช้พรม ที่สวยงามอาจจะเป็นเรื่อง ที่ไม่เหมาะเพราะให้ได้ เฉพาะความสวยงามเท่านั้น การจัดเลี้ยง ไม่ว่างานจะหรูหราเพียงใด ก็ยาก จะหลีกเลี่ยง เศษอาหารที่หล่น ลงบนพื้น การใช้พื้น ไม้ปาร์เก้ ดูจะเหมาะกว่า ไม่ว่าจะเป็น ปาร์เก้ไม้สัก ไม้สน หรือไม้ยางพารา ก็จะเข้ากันได้ดี กับเฟอร์นิเจอร์ไม้ การใช้กระเบื้อง ปูพื้นขาว- ดำ ก็ไปกันได้ดี กับเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่

ห้องรับประทานอาหาร 5โต๊ะไม้ขัดเรียบเป็นเงา แก้วเจียระไน เครื่องชุด กระเบื้องเคลือบ และเครื่องเงิน นับเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา สำหรับการจัดเลี้ยง แบบนี้ แต่ถ้างบประมาณจำกัด อาจจะเลี่ยงมาใช้ โต๊ะธรรมดาแล้ว ปูด้วยผ้าปูโต๊ะที่สะอาด และสวยงาม ก็จะช่วยให้เข้า บรรยากาศได้เป็น อย่างดี การจัดโต๊ะและเก้าอี้ ให้เข้าชุดกัน เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องระลึกไว้ เสมอว่า เก้าอี้ต้องนั่งสบาย ถ้ามีของที่จะจัดโชว์ได้ ก็นำออกแสดง ที่ตู้โชว์ หรือตู้ติดผนังในห้อง ก็จะได้ชุดแต่งห้องที่เข้าชุดกันได้ดี

โต๊ะรับประทานอาหาร ซึ่งมีหลายแบบและหลายขนาด แตกต่างกันไปดังนี้

  • โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 1.00 x 1.20 เมตร จนถึง 1.20 x 2.40 เมตร
  • โต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1.00 – 1.20 เมตร
  • โต๊ะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00-1.30 เมตร


-การเลือกขนาดของโต๊ะรับประทานอาหารควรพิจารณาจาก จำนวนผู้ใช้ โดยยึดหลักว่า คนหนึ่งคนต้องการความยาวของโต๊ะ 0.70 เมตร เพื่อการนั่งรับประทานอย่างสะดวกสบาย
เก้าอี้ขนาด 0.45 x 0.50 เมตร สูง 0.45 เมตร และพนักสูง 0.45 เมตรวัดจากที่นั่ง
-โต๊ะเสิร์ฟอาหาร
-ตู้โชว์ ขนาดกว้าง 0.45-0.50 เมตร มีความยาวกว่าโต๊ะอาหารเล็กน้อย สูง0.90-2.00 เมตร
-ถ้าเป็นการนั่งรับประทานอาหารบนพื้นควรมีโต๊ะหรือโตกซึ่งมีความสูงจากพื้นประมาณ 0.30 เมตร สำหรับวางอาหารด้วย

ห้องรับประทานอาหาร 6

ตำแหน่งการวางโต๊ะ

สำหรับการจัดเลี้ยงแบบนี้ โต๊ะกลางมักจะอยู่กลางห้อง ข้อดีของ การจัดเลี้ยงแบบนี้ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถจัด ไว้ล่วงหน้า ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผ้าปูโต๊ะ ผ้ากันเปื้อน เทียน ก็จัดชุดให้ เข้าสีกันได้ ในบางครั้ง การจัดสี ก็รวมไปถึง สีของอาหารด้วย ซึ่งถ้าทำได้ ก็หมายถึง ความสมบูรณ์แบบ ที่มากยิ่งขึ้นไปด้วย
บางครั้ง การจัดเลี้ยงแบบนี้ ก็สามารถใช้แสดงสิ่งของ ที่เจ้าภาพ สะสมไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นชุดจาน และถ้วยกาแฟ เครื่องแก้วเจียระไน การจัดวางหนังสือ ที่ไม่รกจนเกินไป ภาพแขวนผนังขนาดใหญ่จะให้ ความรู้สึกที่ดี กว่าภาพแขวนเล็ก ๆ หลายอัน ข้อสำคัญ สำหรับการจัดห้องสำหรับ งานเลี้ยงแบบนี้ ไม่ควรใช้ กระถางต้นไม้มาตั้งแสดง เช่นเดียวกับ การจัดดอกไม้ ควรจะใช้ ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่ควร ใช้หลายชนิดปนกัน

การจัด

การจัดโต๊ะรับประทานอาหารต้องคำนึงถึง ความสะดวกสบาย ที่ผู้นั่ง รับประทาน อาหาร จะได้รับเป็นสำคัญ โต๊ะอาหารควรตั้งห่างจาก ผนังห้อง หรือ เครื่องเรือน ชิ้นที่อยู่ใกล้ที่สุด ประมาณ 1.25 เมตร

การจัดโต๊ะและเก้าอี้ทำได้ 2 แบบ คือ

  1. โต๊ะอยู่ตรงกลาง มีเก้าอี้วางรอบ ๆ ถ้าโต๊ะเป็นรูปกลมก็วางเก้าอี้รอบ ๆ โต๊ะให้มีระยะห่างเท่า ๆ กันทุกตัว เก้าอี้จะวางได้มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ความยาวหรือเส้นผ่านสูนย์กลางของโต๊ะนั้น ถ้าเป็นโต๊ะสี่เหลี่ยมก็วางเก้าอี้ทุก ๆ ด้านของโต๊ะ หรือถ้าโต๊ะแคบ อาจเว้นที่ตรงหัวท้ายโต๊ะว่างไว้ และวางเก้าอี้ เฉพาะสองด้านเท่านั้น
  2. จัดให้ด้านหนึ่งของโต๊ะชิดผนังหรือใกล้เครื่องเรือนชิ้นอื่น วิธีนี้จะช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก และช่วยทำให้เครื่องเรือนดูเป็นส่วนหนึ่งของห้อง