หลักการออกแบบแปลนสวน

หลักการออกแบบแปลนสวน

1. หลักศิลปะในการออกแบบสวน เช่น ความกลมกลืนกัน รูปแบบของสวน เวลา สัดส่วน การแบ่งพื้นที่จัดสวน เส้น รูปร่าง ผิวสัมผัส สี หลักจิตวิทยาในการออกแบบแปลนสวน
2. เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สัญลักษณ์ ในการออกแบบแปลนสวน
2.1 เครื่องมือเขียนแบบ
2.2 หลักการเขียนแบบแปลนสวน
3. ขั้นตอนการออกแบบแปลนสวน
3.1 สำรวจสภาพพื้นที่
3.2 สัมภาษณ์ข้อมูลจากเจ้าของสวน
3.3 การเขียนแบบแปลนสวน รูปด้านบน - รูปด้านข้างหรือรูปทัศนียภาพ
3.4 องค์ประกอบต่างๆในการออกแบบแปลนสวน

ขั้นตอนการออกแบบตามที่กล่าวมาแล้วจะช่วยให้ผู้ออกแบบทํางานได้ถูกต้องจากข้อมูล ต่าง ๆ ที่ร่างไว้ เมื่อเริ่มเขียนแปลน ก็จะเริ่มจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1. กําหนดทางเดิน ให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร สังเกตทางเข้าออก ตัวบ้าน จัดวางทางเดิน ให้ได้โดยรอบตัวบ้าน จากหน้าบ้านไปหลังบ้าน จากหลังบ้านมาหน้าบ้าน ทางเดินไปจุดต่าง ๆ จัดให้ไหลเวียนไปโดยไม่ติดขัด จากโรงรถ ก็ควรจะมี ทางเดิน ไปหลังบ้านได้โดยไม่ต้องผ่านภายในบ้าน ทางเดินแต่ละจุด อาจเชื่อมต่อกัน โดยไม่ทําให้สนามหญ้าเสียไป และ ไม่ควรทํา ทางเดิน ที่ไร้จุดหมาย วัสดุที่ใช้ทําทางเดินขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และรูปแบบของการจัดสวนนั้น ๆ


2. วางตําแหน่งไม้ต้น เมื่อกําหนดทางเดินภายในสวนแล้ว งานต่อไปคือวางตําแหน่ง ไม้ต้น เพราะไม้ต้นจะเป็นไม้ใหญ่มีระดับสูงสุด และเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในจุดต่าง ๆ ตําแหน่งที่ปลูกไม้ต้น ได้แก่ บริเวณรั้วรอบบ้าน จุดที่ต้องการร่มเงาใช้พักผ่อน ริมถนน ไปยัง ที่จอดรถ ด้านทิศตะวันตกของอาคาร ที่ใช้เป็นห้องพักฟ่อนรับแขก เหล่านี้ เป็นต้น
การจัดวางไม้ต้น ถ้าเป็น สวนแบบประดิษฐ์ มักจะปลูกเรียงแถวเป็นเส้นตรงตามแนวทางเดินที่กําหนดไว้ ถ้าเป็น สวนธรรมชาติ จะปลูกเป็นกลุ่ม 3-5 ต้น การปลูกไม้ต้นนี้อาจจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือปลูกสลับกับไม้พุ่มก็ได้ การเลือกใช้พรรณไม้จะต้องระมัดระวัง เพราะ พรรณไม้ บางชนิดจะต้องการ การดูแลทําความสะอาดบริเวณนั้น ๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากการทิ้งใบของพรรณไม้ หรือในกรณีที่มีโรคแมลงรบกวนมาก ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่นํามาใช้ และตําแหน่งการใช้งานก็ควรจะพิจารณาเลือกพรรณไม้ให้ถูกต้อง


3. กําหนดพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความงาม

เมื่อกําหนดทางเดิน และวางตําแหน่งต้นไม้แล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือจะต้องวิเคราะห์ดูว่า จุดไหน เหมาะสําหรับความต้องการอะไร โดยยืดหลักเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อน แล้วจึงตกแต่งให้เกิดความสวยงามตามมา เช่น บริเวณหลังบ้าน จะต้องใช้พื้นที่เป็น ส่วนบริการ ใช้ซักผ้า ตากผ้า เก็บของ เหล่านี้ เป็นต้น ลานซักล้าง จะต่อเนื่องจาก ห้องครัว บริเวณพื้นต้องเป็นซีเมนต์ เมื่อกําหนดส่วนใช้สอยแล้วจึงพิจารณาพรรณไม้ประดับตกแต่ง ปิดบังส่วนที่ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเห็น บริเวณใกล้ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน วางตําแหน่งจัดสวนหย่อม อาจจะทํานํ้าตก นํ้าพุหรือสระนํ้า เลี้ยงปลา ปลูกบัว เพื่อให้มองเห็นได้จากภายในสู่ภายนอก การจัดสวนหย่อม ควรมีเพียง 1-2 จุดเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทําให้ความเด่นของสวน ลดน้อยลง ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น มุมพักผ่อน สนามเด็กเล่น แปลงไม้ดอก ควรจะ กําหนดลงไปพร้อมพรรณไม้และวัสดุอื่น ๆ

การวางพรรณไม้ลงในจุดต่าง ๆ จะต้องพิจารณาเรื่องแสงประกอบด้วยเพราะพรรณไม้ที่ใช้ต้องการแสงสว่างมากน้อยต่างกัน ในจุดที่มีแสง เช่น ริมทางเดิน ถนน ควรเลือกใช้ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม เช่น หูปลาช่อน เข็ม หรือจะเลือกใช้ไม้ดอก เช่น บานบุรี พวงทอง ช้องนาง ปลูกสลับกับ ไม้ต้น ก็ได้บริเวณมุมสนามระหว่างถนนกับระเบียง จุดนี้จะต้องมี การจัดวางพรรณไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ลดความกระด้างของแนวถนน การจัดวางพรรณไม้อาจจะใช้ไม้ตระกูลปาล์มร่วมกับไม้คลุมดิน หรือไม้พุ่ม ก้อนหินร่วมกับ ไม้คลุมดิน ก็ได้
ในกรณีที่เจ้าของสถานที่ต้องการปลูกไม้ผลและทําสวนครัว ก็ควรจะกําหนดจุดนี้ไว้ บริเวณหลังบ้านที่ได้รับแสงแดดจัด มีไม้ผลบางชนิด เช่น สาเก ละมุดสีดา ซึ่งสามารถนํามาปลูกตกแต่งบริเวณบ้านได้
ในการออกแบบจัดสวน หากมีพื้นที่มากพอควรทําสนามหญ้าด้วย เพราะสนามหญ้าจะช่วยให้สวนนั้นสวยงามยิ่งขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ทําสนามหญ้า ควรเป็นด้านหน้าซึ่งได้รับแสงแดดเต็มที่ รูปแบบของสนามหญ้าจะเป็นรูปใดขึ้นอยู่กับชนิดของสวนนั้น ๆ
การจัดสวนก็คล้ายกับการเขียนภาพสี ซึ่งภาพที่ออกมาจะสวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ รู้จักธรรมชาติของพรรณไม้ รวมถึงสีสัน ทรงต้น ตลอดจนการดูแลรักษาพรรณไม้เหล่านั้น การออกแบบสวนที่สวยงามจะต้องมีความเป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็น สวนแบบประดิษฐ์ หรือ สวนแบบธรรมชาติ มีจุดเด่นไม่มากเกินไป มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างจุดต่างๆ ตลอดจนให้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่นั้น ๆ ได้ตามความต้องการการออกแบบแต่ละครั้ง ถ้าหากผู้ออกแบบได้ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทราบปัญหาทุกอย่างในสถานที่นั้น ๆ แล้ว แบบที่ออกมาจะมีโอกาสใช้ได้เป็นที่น่าพอใจถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การออกแบบที่ดีควรให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบน้อยที่สุด เมื่อนําไปใช้จัดสวนจริงๆ เพราะในขณะทํา การจัดสวน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงแบบมากเกินไป ก็จะทําให้ ความเชื่อถือลดน้อยลง

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการออกแบบสวน การออกแบบแต่ละครั้งแม้จะดีที่สุด แต่บ่อยครั้งพบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบบ้างบางส่วน ข้อผิดพลาดที่ทําให้ต้องเปลี่ยนแปลงแบบเกิดจากพรรณไม้ องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน รวมทั้งโครงสร้างของสวน

  1. พรรณไม้ ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเป็นเพราะไม่ได้ศึกษารายละเอียดของพรรณไม้นั้น ทําให้วางตําแหน่ง การปลูกผิดพลาด ทั้งตําแหน่งที่ปลูก ระยะปลูก บางครั้งจํานวน พรรณไม้ ที่ระบุไว้ในแบบมาก ทําให้ไม่สามารถ จะหาได้เพียงพอ เหล่านี้ เป็นต้น นอกจากนี้ การจัดกลุ่มพรรณไม้ เข้าด้วยกันจะต้องคํานึงถึง หลักของศิลปะ ที่จะต้อง พิจารณาความสมดุล ความกลมกลืน ลักษณะพื้นผิว รวมทั้งความสูงและการเจริญเติบโตของพรรณไม้แต่ละชนิดด้วย การจัดสวนเลียนแบบธรรมชาติ จะต้องจัดหาพรรณไม้ที่ให้บรรยากาศของป่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องใช้การสังเกต และอาศัยระยะเวลาใน การสะสมประสบการณ์ซึ่งจะช่วยให้ การออกแบบจัดสวน ในครั้งต่อ ๆ ไปดียิ่งขึ้น
  2. องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน การจัดสวนนอกจากจะใช้พรรณไม้ต่าง ๆ แล้วยังมีองค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น หิน ตอไม้ โอ่ง ไห รูปปั้น สระนํ้า นํ้าพุศาลาพัก ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ราคาก็แตกต่างกัน ผู้ออกแบบที่รู้จักวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้มาก รู้แหล่งใน การจัดซื้อก็สามารถจัดหา นํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ได้มากขึ้น ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่ารู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ เพียงใด รู้ขนาด ความเหมาะสมใน การนํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ตลอดจนรู้ราคาและความยากง่ายในการจัดซื้อ หากออกแบบไว้แล้วไม่สามารถจัดหาได้ แบบแปลนนั้นก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
  3. โครงสร้างของสวน การจัดสวนที่สวยงามนอกจากการออกแบบดี พรรณไม้และองค์ประกอบเหมาะสมแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นสิ่งสําคัญ เพราะโครงสร้างของสวนก็เปรียบเสมือนฐานรากของสวน การศึกษาเรื่องวิธี การปลูกพรรณไม้ ตลอดจน การดูแลรักษา เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับนักจัดสวน เพราะความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้จัดเตรียมโครงสร้างของสวนได้ถูกต้อง ทั้งในส่วนของการเตรียมดิน เตรียมหลุมปลูกที่เหมาะสม พรรณไม้ต่าง ๆ ที่จัดลงไปก็จะเจริญเติบโตได้ดี ปัญหาใน การดูแลรักษา จะน้อยลง

การจัดสวนแต่ละครั้งจะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็น ประสบการณ์ให้เกิด ความรู้ที่จะนําไป ดัดแปลง ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ผู้ออกแบบจัดสวน จะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้มากหรือน้อย การจัดสวน เป็นทั้ง ศาสตร์และศิลปะ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ร่วมกัน