การดูแลรักษาสวน

การจัดสวน ประดับตกแต่ง อาคารสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่า การออกแบบสวน การจัดสวน จะทําให้ผลที่ออกมาสวยงาม เพียงใดก็ตาม หากสวนนั้น ขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษา หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ความสวยงาม ดังกล่าวก็จะค่อย ๆ สูญเสียไปในที่สุด
การออกแบบสวน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ การดูแลรักษาสวน ง่ายหรือยากได้ หากเจ้าของสถานที่ ไม่มีเวลาที่จะเอาใจใส่ ดูแลรักษาสวนมากนัก ก็ควรจะจัดสวนให้ดูแลรักษาได้ง่าย ใช้พรรณไม้ ที่ไม่ต้องการการดูแลมาก ทนทานต่อ สภาวะแวดล้อม ได้ดี และค่อนข้างเจริญเติบโตช้า แต่ถ้าหากเจ้าของเป็น คนรักธรรมชาติ มีเวลาให้กับสวนได้มาก มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับ พรรณไม้ต่าง ๆ การออกแบบจัดสวน ก็สามารถเลือกใช้ พรรณไม้แปลก ๆ ที่ต้องการการเอาใจใส่ ดูแลรักษามากได้ นอกจากนี้ การออกแบบจัดสวน จะต้องให้สะดวก เหมาะสมกับการเข้าไป ปฏิบัติงาน ในการดูแลรักษา ได้ง่ายด้วย เพราะ การจัดสวน เป็น การจัดวางสิ่งที่มีชีวิต มีการเจริญเติบโต ต้องการการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากปล่อยทิ้ง ให้สวนนั้น เจริญเติบโตไปตาม ธรรมชาติ สักระยะหนึ่ง พรรณไม้ต่าง ๆ จะเจริญเติบโตมากเกินไป สวนที่เคยสวยงามใน ครั้งแรกก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพได้ ดังนั้น การดูแลรักษา จึงเป็น สิ่งสําคัญ ที่จะช่วยให้สวนนั้น คงสภาพ
ความสวยงามให้ทนนานที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสวนให้คงสภาพนั้น จะเป็นจํานวนเงิน ที่ค่อนข้างมากกว่า การออกแบบจัดสวน ในปัจจุบัน อาชีพ การดูแลรักษาสวน เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ ทํารายได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ค่อนข้างมาก

สวนการดูแลรักษาสวน (maintenance) เพื่อให้สวนสวยงาม คงสภาพเดิมนานที่สุด มีวิธีที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • การตัดแต่งพรรณไม้ (pruning)
  • การดูแลบํารุงรักษาสนามหญ้า (lawn maintenance)
  • การให้ปุ๋ย (fertilization)
  • การป้องกันกําจัดศัตรูพืช (pest control)
  • การปรับปรุงสวน (gardening improvement)

การตัดแต่งพรรณไม้

การตัดแต่งพรรณไม้ เป็นการตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก วัตถุประสงค์ของการตัดแต่งก็เพื่อจะให้ไม้นั้น ๆ มีรูปทรงตามที่ต้องการ การตัดแต่งเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับไม้ต้น (tree) และไม้พุ่ม (shrub)

ไม้ต้นและไม้พุ่ม ที่นํามาจัดสวนจะมีการเจริญเติบโต จนรูปทรงเปลี่ยนแปลงไป การตัดแต่งจะช่วยให้ไม้นั้น ๆ คงสภาพรูปทรงที่เราต้องการได้

การตัดแต่งที่ถือปฏิบัติเริ่มแรกจะเป็นการตัดแต่ง
- กิ่งที่แห้งตาย
- กิ่งที่อ่อนแอ ฉีกขาด
- กิ่งที่เป็นโรค
- กิ่งที่เจริญผิดปกติ
- กิ่งที่แทงเข้าภายในพุ่มต้น

การตัดแต่งต่างๆ เหล่านี้ จะทําให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงสว่าง ลม จะได้พัดผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้สะดวก ในกรณีของไม้ยืนต้น การตัดแต่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยเพิ่มผลผลิต ส่วนไม้พุ่มจะทําให้รูปทรงของพุ่มต้นสมดุล การตัดแต่งไม้พุ่ม จะเริ่มตั้งแต่การเด็ดยอด (pinching) เพื่อให้ไม้พุ่มแตกตาข้าง ทําให้การเจริญเติบโตทางด้านยอดลดลง หลังจากนั้นอาจจะมีการขลิบ (trimming) แต่ง ลิดใบและยอดที่เจริญแทงออกมาจากทรงพุ่ม ในกรณีที่ทรงพุ่มแน่นเกินไปก็จะตัดแต่งกิ่งแก่ออกบ้าง โดยตัดให้ชิดพื้นดิน ส่วนไม้พุ่มที่แทงหน่อออกมาจะต้องตัดออก โดยตัดให้ลึกลงไปใต้ระดับดิน

ส่วนไม้พุ่มที่ต้องการให้มีการเจริญเติบโตใหม่ (rejuvenate) เนื่องจากมีอายุมากแล้ว ให้ตัดส่วนของไม้นั้น เหลือเพียงหนึ่งในสามของความสูงเดิม ดูแลรักษาให้เจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งไม้พุ่มให้เล็กลง จะช่วยให้มีการแตกกิ่งยอดใหม่ ทําให้ไม้พุ่มนั้นมีดอกมากขึ้น
การตัดแต่งพรรณไม้ แต่ละครั้ง เครื่องมือที่ใช้จะต้อง เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เครื่องมือจะต้องคมและใช้ให้ถูกต้อง นอกจากนี้หากรอยแผลที่ถูกตัดแต่งมีขนาดใหญ่จะต้องใช้ยาทาแผล เพื่อป้องกันการเข้าทําลายของเชื้อโรค

เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่ง
- กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ซึ่งมีทั้งชนิดที่ถือมือเดียวและชนิดที่ต้องใช้สองมือช่วย
- เลื่อยตัดแต่งกิ่ง

สนามหญ้าสนามหญ้า เป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการจัดสวน ทําให้สวนสวยงาม ช่วยให้อาคารสถานที่ดูเด่นเป็นสง่า และให้ความ เป็นระเบียบแก่สถานที่นั้น ๆการดูแล สนามหญ้า เริ่มตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งตั้งตัวและเจริญเติบโต มีวิธีการดังต่อไปนี้
การให้นํ้า การขาดนํ้าในช่วงแรกจะทําให้หญ้าสนามไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นในระหว่างช่วงสัปดาห์แรก ของ การปลูกหญ้า จะต้องให้นํ้าวันละหลาย ๆ ครั้ง โดยที่จะต้องคอยดูแลไม่ให้บริเวณนั้นแห้ง ในช่วงสัปดาห์ที่สอง การให้นํ้าจะลดลงเหลือ เพียงวันละครั้ง แต่ทั้งนี้จะต้องคอยสังเกตว่าแต่ละวันนั้นจะต้องให้นํ้าเพิ่ม หรือ ไม่ ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป การให้นํ้าแต่ละครั้ง จะต้องให้ปริมาณนํ้าซึมลึกลงไปในดินมากขึ้น เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของราก


การดูแลบํารุงรักษา สนามหญ้า

สนามหญ้า ที่มีการเจริญเติบโตของหญ้าสนามดีแล้ว ความถี่ของการให้นํ้า จะลดน้อยลง แต่ปริมาณนํ้า ที่ให้ต่อครั้ง จะมากขึ้น เพื่อให้รากหยั่งลึกลงไปในดินดีขึ้น ลดปัญหาการสะสมเกลือจากใต้ดิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ย นอกจากการให้นํ้าแก่ สนามหญ้า แล้ว การใส่ปุ๋ยให้แก่หญ้าสนามก็เป็นสิ่งจําเป็น สนามหญ้า ที่เริ่มมี การเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง หากตรวจสอบแล้วไม่ใช้อาการที่เกิดจากสภาพของดิน หรือ โรครบกวน ก็แสดงว่า สนามหญ้า เริ่มขาดธาตุอาหาร จําเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยที่ใส่ให้กับ สนามหญ้า มีทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยที่ใช้ ครั้งแรกในขณะเตรียมดินก่อนปลูกหญ้า ส่วน ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ จะใช้เมื่อต้องการให้ หญ้าสนาม มีการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ยให้แก่ สนามหญ้า หญ้าสนามเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งต้องการอาหารและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่พอเหมาะ การเลือกใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ในปริมาณที่พอเหมาะและให้ในเวลาที่ต้องการ จะทําให้ผลที่ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด การใส่ปุ๋ยให้กับ สนามหญ้า จะให้ปุ๋ยสูตรที่มี N-P-K เพราะไนโตรเจน (N) จะช่วยในการเจริญเติบโตของกิ่งก้านใบ ช่วยให้ใบมีสีเขียว ส่วนฟอสฟอรัส (P) จะช่วยในการเจริญเติบโตของราก ทําให้เกิดการแตกรากใหม่ของหญ้า (rhizome) ส่งผลให้เกิดต้นหญ้าใหม่ สําหรับโปแตสเซียม (K) ช่วยให้การเจริญเติบโตโดยทั่ว ๆ ไปดีขึ้น ช่วยให้หญ้าสนามมีควาทนทาน แข็งแรง ทนทานต่อสภาวะแห้งแล้ง หรือ ทนทานต่อโรคได้
ปุ๋ยที่ให้กับ สนามหญ้า จะให้ปุ๋ยสูตรใดนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา การเจริญเติบโต โดยทั่ว ๆไป ปุ๋ยที่ใช้จะมีธาตุ ไนโตรเจน สูงกว่าธาตุอื่น ๆ เช่น อาจให้ปุ๋ยสูตร 30-10-20 เป็นต้น แต่ในช่วงฤดูร้อน ปุ๋ยที่ให้ควรมีธาตุ ฟอสฟอรัส สูงขึ้น และในต่างประเทศช่วงฤดูหนาว ปุ๋ยที่ให้แก่ สนาม หญ้า จะมีธาตุ โปแตสเซียม สูงขึ้น การให้ปุ๋ยแก่ สนามหญ้า จะให้เดือนละครั้ง ภายหลังการใส่ปุ๋ยจะต้องรดนํ้าตามทันทีไม่ให้ปุ๋ยตกค้างอยู่บนใบหญ้า การควบคุมโรค แมลงและวัชพืช หญ้าสนามก็เหมือนพืชอื่น ๆ ย่อมมีศัตรูต่าง ๆ รบกวน ศัตรูชนิดแรกคือวัชพืช พบมากใน สนามหญ้า ที่มีการเตรียมพื้นที่ไม่ถูกต้อง วัชพืชที่ขึ้นใน สนามหญ้า มีทั้งชนิดใบแคบ เช่น หญ้าตีนตุ๊กแก หญ้าตีนกา แห้วหมู ฯลฯ และชนิดใบกว้าง เช่นผักโขม บานไม่รู้โรยป่า ไมยราพ ฯลฯ จะต้องคอยเอาใจใส่ขุดออก ทันทีที่พบเห็น หากทิ้งไว้จะทําให้มีการเจริญเติบโตเบียดบังหญ้าสนาม ทําให้ความสวยงามของ สนามหญ้า ลดลง

สําหรับโรคและแมลง โดยทั่ว ๆ ไปจะเกิดน้อยมาก โรคที่พบใน สนามหญ้า ได้แก่ โรคราสนิม โรคใบขีดโปร่งแสง ส่วนแมลงที่รบกวนหญ้าสนาม ได้แก่ หนอนด้วง หนอนต่าง ๆ รวมทั้งมดคันไฟ การใช้สารเคมีกําจัด โรคแมลงต่าง ๆ จะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง การตัดหญ้า สนามหญ้า ที่สวยงามต้องการการตัดแต่งเหมือนพืชอื่น ๆ สนามหญ้า ใหม่จะทําการตัดหญ้าครั้งแรก เมื่อหญ้าสนามมีความสูงประมาณ 2 นิ้ว การตัดหญ้าครั้งแรกนี้ จะต้องระมัดระวัง ไม่ตัดออกมากเกินไป เครื่องมือที่ใช้จะต้องไม่กระทบกระเทือนราก ขณะที่ตัด สนามหญ้า จะต้องแห้ง สนามหญ้า ที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์แล้ว ควรตัดหญ้าประมาณ 15 วันต่อครั้ง แต่ในช่วงฤด ูที่มีการเจริญเติบโตมาก อาจมี การตัดหญ้า สัปดาห์ละครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเจริญเติบโต ของ หญ้าสนาม นั้น ๆ การปล่อยให้ หญ้าสนาม มีการเจริญเติบโต จนกระทั่งมีดอกแล้วจึงตัด จะทําให้การเจริญเติบโตของส่วนที่เหลือ ภายหลัง การตัดค่อนข้างช้า สนามหญ้า จะมองดูเหลือง ซึ่งจะ ใช้เวลาบํารุงรักษา ค่อนข้างนาน สนามหญ้า จึงจะเขียวสดดังเดิม วิธีการตัดหญ้า การตัดหญ้าที่ตํ่าเกินไป เป็นวิธีที่ผิด การตัดหญ้าแต่ละครั้งจะตัดออกไม่เกิน 1 ใน 3 ของควาามยาวก่อนตัด โดยทั่ว ๆไป จะตัดให้เหลือ ความสูงประมาณ หนึ่งนิ้วครึ่งถึง สองนิ้วครึ่ง การเลือกใช้เครื่องมือ ใน การตัดหญ้า จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน สนามหญ้า ที่มีขนาดเล็ก อาจจะเลือกใช้กรรไกรตัดหญ้า หรือ เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง ส่วนพื้นที่ขนาดใหญ่ อาจจะเลือกใช้ เครื่องตัดหญ้าแบบเข็น ที่ใช้ไฟฟ้า หรือ นํ้ามัน สําหรับ สนามหญ้า ขนาดใหญ่ที่ ไม่ต้องการ ความประณีตมากนัก ก็อาจจะ เลือกใช้รถตัดหญ้าแบบเข็น มีใบพัด ทั้งนี้ เครื่องมือทุกชนิดใบมีดจะต้องคม และไม่ทําการตัดหญ้า ในขณะที่ สนามหญ้า นั้นเปียกชื้น ภายหลังตัดหญ้า เรียบร้อยแล้ว จะต้องทําความสะอาด และ ตรวจสอบ ความเรียบร้อยของเครื่องมือก่อนเก็บไว้ใช้งานคราวต่อไป

การให้ปุ๋ย

พรรณไม้ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโตเหมือนสิ่งมี ชีวิตอื่น ๆปัจจัยหนึ่งซึ่งสําคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโต คือ อาหารธาตุ การให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตามที่พืชต้องการจะช่วยให้พืชนั้น ๆ มีการเจริญเติบโตตามปกติ ธาตุอาหารที่พืชต้องการมีอยู่ 16 ธาตุแบ่งออกเป็น

ธาตุอาหารหลัก (macro elements) ซึ่งได้แก่ C H O N P K
ธาตุอาหารรอง (micro elements) ได้แก่ Ca Mg S
ธาตุอาหารประกอบ (trace elements) ได้แก่ Fe Mn Cu Zn Mo B Cl

ธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้พืชจะต้องการในปริมาณที่ต่าง ๆ กัน ธาตุอาหารหลักพืชจะต้องการในปริมาณค่อนข้างมาก ส่วนธาตุอาหารประกอบพืชจะต้องการในปริมาณที่น้อยมากการให้ธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ จะให้ในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) และปุ๋ยอนินทรีย์ (inorganic fertilizer) ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเทศบาล ซากพืชซากสัตว์ เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะสลายตัวค่อนข้างช้า ธาตุอาหารมีน้อย การใช้ปุ๋ยเหล่านี้ มักจะเป็นการใช้เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้น เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่าง ๆ โดยจะเน้นที่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปแตสเซียม (K) เป็นหลัก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ นี้มีขายทั่วไปในท้องตลาด มีสูตรอาหารต่าง ๆ กัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ที่เลือกใช้ใน การบํารุงรักษาพรรณไม้ ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ ปุ๋ยสูตร 30-10-20 เป็นต้น
การให้ปุ๋ยกับ พรรณไม้ต่าง ๆ ควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของไม้นั้น รวมทั้งให้เหมาะกับระยะของการเจริญเติบโต และใส่ให้ถูกเวลา ซึ่งเวลาที่เหมาะสมใน การใส่ปุ๋ย ควรจะเป็นเวลาเช้าใน การดูแลรักษาสวน อาจจะมีการใส่ปุ๋ย ทุกสัปดาห์โดยแต่ละ สัปดาห์จะให้ในปริมาณที่ ไม่เข้มข้นมากนัก ใน ไม้กระถาง อาจจะใช้ปุ๋ยที่ สลายตัวช้า ให้ปุ๋ยนั้น ค่อย ๆ สลายตัวเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยไม่ต้อง ใส่ปุ๋ยบ่อยครั้งก็ได้

การป้องกันกําจัดศัตรูพืช

การบํารุงดูแลรักษาสวน นอกจากการให้นํ้า ให้ปุ๋ย ดูแล สนามหญ้า รวมทั้งตัดแต่งพรรณไม้ ให้อยู่ในสภาพ ที่ต้องการแล้ว การป้องกันกําจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งสําคัญเช่นกัน เพราะการเจริญเติบโตของพืชในธรรมชาติจะมีศัตรูต่าง ๆ คอยรบกวน ศัตรูเหล่านั้นอาจจะเป็นโรค หรือ แมลงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจจะเกิดได้ทั้งโรคและแมลงพร้อม ๆ กันโรคที่พบ อาจจะเกิดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย วิสา หรือ ไส้เดือนฝอยแมลง อาจจะเป็นแมลงปากกัด เช่น ด้วง หนอนต่าง ๆ หรือ แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไฟเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ไรแดง เป็นต้น
การฉีดพ่นสารเคมี เพื่อช่วยป้องกันโรคและแมลง ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะสวนที่จัดไว้จะอยู่ใน บริเวณ ที่ผู้คน จะต้องมา ใช้ประโยชน์ ควรเลือกใช้ชนิดที่มีอันตรายค่อนข้างน้อยใช้ให้ถูกต้อง โดยจะต้องศึกษา วิธีการใช้ ให้ละเอียดก่อนนํามาใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังภายหลังการฉีดพ่นสารเคมีผู้ฉีดจะต้องล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า ชําระร่างกาย ให้สะอาดก่อน ที่จะไปทํากิจกรรมอื่น ๆ

การปรับปรุงสวน

สถานที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดสวนอย่างสวยงามและใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการนั้น แม้ว่าจะมีการดูแลรักษาเอาใจใส่ดีเพียงใดก็ตาม ช่วงเวลาที่ผ่านไปนานเข้า ความสวยงามต่างๆก็จะลดลง ตามกฎของธรรมชาติ เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดสวน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเช่น พรรณไม้ต่าง ๆ หรือสิ่งไม่มีชีวิต เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่งในสวน ทุกสิ่งจะต้องมีวันเสื่อมทรุดโทรม และตายไป ดังนั้นจําเป็น ที่จะต้องมี ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แก้ไข ให้สภาพของสวนสวยงามดังเดิม การดูแลบํารุงรักษาสวน ทั้งการให้นํ้า ใส่ปุ๋ย ป้องกันศัตรูพืช รวมทั้งการตัดแต่งจะช่วยให้พรรณพืชต่าง ๆ เจริญเติบโตสวยงาม แม้ว่า การตัดแต่ง จะช่วยให้ พรรณไม้ เจริญเติบโตใหม่ได้ แต่นานวันเข้า รูปทรงของพรรณไม้นั้น ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลง จนไม่สามารถ ทําให้ได้รูปทรงที่ ต้องการ หรือ พรรณไม้ บางชนิดถูก โรคแมลงรบกวนจนตายไป การปรับปรุงสวนจะเริ่มตั้งแต่

1. ไม้กระถาง หากพบว่าดินปลูกในกระถางเหลือน้อยลง จําเป็นจะต้องเติมดินลงในกระถางหรือไม้กระถางนั้น เจริญเติบโตเกินกว่า จะอยู่ในกระถางเดิมได้ ก็ควรจะ เปลี่ยนกระถาง หรือ ย้ายไม้นั้น ลงปลูกในดิน หรือทําการเปลี่ยน ไม้กระถางใหม่

2. พรรณไม้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเลื้อย เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีพรรณไม้ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเจริญเติบโตจนเบียดกัน จําเป็นจะต้องแยกออกบางต้นหรือตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการ หากจุดใด พรรณไม้ตายไปก็ควรจะรีบหาพรรณไม้นั้น ๆ มาปลูกทด แทน หรือจะเปลี่ยนแปลงเป็นไม้ชนิดอื่นก็อาจทําได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณา ความเหมาะสมของพรรณไม้ นั้น ๆ ด้วย

3. สนามหญ้า การจัดสวนครั้งแรก ในขณะที่พรรณไม้ต่าง ๆ ยังมีขนาดเล็กอยู่ การใช้หญ้าสนาม มักจะเลือกใช้ หญ้านวลน้อย ซึ่งทนแดดและ เจริญเติบโตดี ทนต่อการเหยียบยํ่า ปูบริเวณสนามทั้งหมด แต่เมื่อไม้ต้น ที่นํามาใช้ จัดสวนเจริญเติบโตขึ้น ก็จะมีร่มเงาตามจุดนั้น ๆ หญ้านวลน้อย ก็จะค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ดังนั้น บริเวณร่มเงา ไม้ใหญ่นี้ หากจะทําเป็น สนามหญ้า เหมือนเดิม ก็จะต้องใช้หญ้ามาเลเซียซึ่งทนร่มได้มาปูทดแทน หรือ จะรื้อหญ้า ออกแล้วใช้อิฐปูเป็นบริเวณลานพักผ่อนก็อาจทําได้

4. องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น รั้ว ทางเท้า เก้าอี้สนาม ฯลฯ จะต้องตรวจสอบ หากพบว่า
ชํารุด เสียหาย ก็ควรจะทําการซ่อมแซม ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ สมควรจะเปลี่ยนของใหม่มาใช้แทนตามจุดนั้น ๆ
นอกจากการปรับปรุงสวน ตามที่กล่าวแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพสวนทั้งหมดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าของ สถานที่ อาจจะเบื่อหน่ายความจําเจ หรือ มีความจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับ สภาวะนั้น ๆ เช่น การจัดสวนครั้งแรก เริ่มเมื่อมีครอบครัวใหม่ ๆ ต่อมาเมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นจําเป็นจะต้องมีสถานที่สําหรับเด็ก อาจจะต้องการบ่อทราย ชิงช้า บ้านตุ๊กตา

ต่อมาสมาชิกในบ้านเติบโตขึ้น เป็นหนุ่มสาว มีเพื่อนฝูงมาบ้าน สถานที่ต่าง ๆ ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงจาก บ่อทราย กลายเป็นเตาย่าง ลานพักผ่อน บ้านตุ๊กตาก็อาจจะเป็นที่เลี้ยงสัตว์ จนท้ายที่สุด เมื่อสมาชิก เริ่มแยกย้ายไป มีครอบครัวใหม่สภาพสวนก็จะเปลี่ยนเป็น สวนธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ต้องการการเอาใจใส่ดูแลไม่มากนัก รวมทั้งอาจจะมี แปลงพืชผักสวนครัว ให้เจ้าของสถานที่ได้ใช้ประโยชน์และใช้ ออกกําลังกายใน ช่วงปลายของชีวิต