ขั้นตอนการจัดสวน

ขั้นตอนการจัดสวน Gadening Process

หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้ สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวก ในการ ทำงาน และมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี

1) การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant)

เป็นการสำรวจ และ หาแหล่ง พรรณไม้ ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้ง ชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิม นอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้ หรือมีแต่ไม่ได้ขนาด ตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวน ควรจะอธิบายเหตุผล ให้เจ้าของบ้าน เข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่า เป็นชนิดใด และราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือก พรรณไม้ ตามที่ต้องการแล้ว ควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้น ก่อนจนกว่า จะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้อง ขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็น การประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันเดียว อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระ ในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

2) การปรับที่ (Grading)

การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้น เป็นงานที่ยาก ใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่า การก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีกก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จ เมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดิน เป็นร่องทำให้เสียเวลา ในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงาน ที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้
การปรับที่อาจเริ่มจาก การปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไป หรือถากดินออก บริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนิน ก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาว ให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุด มายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกัน การทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก
การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวัง เลือกใช้พรรณไม้ และ ปรับทาง ระบายน้ำ บริเวณนั้นให้ดี ส่วนของสนาม ที่ระดับดิน เท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนาม สูงกว่าถนน ที่ควรแต่งขอบให้โค้งและ ปูหญ้า ถึง ขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation)

ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไป
การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาว ตามสูตรหลังจากนั้น ก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ

4) การกำจัดวัชพืช (Weed Control)

ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้ว ก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก

5) การวางก้อนหิน (Setting Stones)

ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหิน ที่เปลี่ยแปลงไป โดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอกถึง บรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้ว จะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยม เพราะขาวเกินไป และไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยง การใช้สีก้อนหินที่ติดกัน
นักจัดสวน จะสำรวจรอบ ๆ หินแต่ละก้อนอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อที่จะตัดสินใจดูว่า ด้านไหนเป็นด้านหน้า ควรจะโชว์แก่ผู้ที่มาพบเห็น สังเกตจุดศูนย์ถ่วงของก้อนหิน ควรวางตรงไหน และจมลงดินเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในแต่ละก้อนที่วาง

การวางก้อนหิน 2 ก้อน
นอกจากก้อนหิน 2 ก้อนแล้วก็จะจัดเป็น 3 ก้อน, 7 ก้อน ถ้ากลุ่มใหญ่ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย สองหรือสามกลุ่มโดยมี 1 กลุ่มจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสูงสูงที่สุด และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก วางให้สมดุลกับกลุ่มแรก

การจัดวางหิน 3 ก้อน
หลีกเลี่ยงการจัดวางก้อนหินที่มีขนาดรูปร่าง และกลุ่มก้อนวางอยู่ใกล้กัน เพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่จุดเด่นใน กลุ่มหินนั้น ๆ
การเคลื่อนย้ายก้อนหิน ควรมีเครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น รถเข็น ท่อนไม้ สำหรับงัดหิน เชือกสำหรับดึงหรือผูกก้อนหินเพื่อหาม เป็นต้น ถ้ามีการปรับที่แล้วไม่ต้องการให้ดินยุบไปตามน้ำหนักของล้อรถเข็นก็ใช้ไม้กระดาน วางพาดบนรองล้อรถเข็นไว้ ก็จะช่วยให้ดินไม่เป็นรอย ถ้าในกรณีหินก้อนใหญ่มากก็ต้องใช้บั้นจั่นช่วยยก ก่อนที่จะยกไปวาง ควรจะกะให้ดีถึงมุมใด ที่ก้อนหินจะตั้งและขุดดินไว้ลึกพอสมควร ที่ต้องการฝังหินลงจะได้ง่ายในการขยับ และเคลื่อนย้ายหิน เพื่อไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย

6) การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน (Planting)

เมื่อได้เตรียมหลุม และเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจาก แหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตก เพื่อกันการกระเทือนของราก โกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับ ความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้ โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้ เพื่อการกันโยกของต้น เมื่อลมพัด เพราะการโยกของต้น จะทำให้รากกระเทือน หรือขาดได้
การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอ การเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่ง ที่ลมพัดแรง ก็จะทำให้ทุกต้นและ ควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้ จนแตกใบใหม่ออกมา จึงเริ่มตัดแต่งที่ตรงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการ
การปลูกไม้คลุมง่ายต่อ การถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็ก จะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอด อย่างลืมเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออก ด้วยถ้าภายในกระถาง มีหลายต้นก็แยกออกปลูกได้ จะได้ประหยัดต้นไม้อีก เพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็ว และต้องตัดแต่งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้หนาแน่นไป

การปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ สมควรให้เป็นไปตามที่กำหนด แต่เมื่อได้ทำการปลูกและจัดวางตามแปลงไว้ ความรู้สึกของ ผู้ออกแบบ ที่มองสวนในขณะนั้นไม่สมบูรณ์ หรือมีความรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป ก็สมควรที่ จะเพิ่มเติมบางส่วนโดยใช้ต้นไม้, หิน ฯลฯ เพื่อให้บริเวณนั้น ๆ ดูเหมาะสมกลมกลืนมากขึ้น การปรับปรุง และการเพิ่มเติมนี้จำเป็นแทบทุกครั้ง เพราะเคยกล่าวแล้วว่า แบบจะให้ผล สมบูรณ์เพียง 80 – 85 % เท่านั้นจะไม่ครบถึง 100% เต็มตามที่ได้กล่าวไว้ นอกจากในกรณีจำเป็นจริง ๆ เช่นงบประมาณที่กล่าวไว้มีจำนวนจำกัดมาก หรือเจ้าของบ้าน พอใจให้เป็นตามแบบ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบ อาจชี้แจงให้เข้าใจ หรือจะจบงานไว้เพียงแค่นี้ไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นผลดีต่อผู้ออกแบบ เพราะในความรู้สึกของผู้ออกแบบจะทราบถึงข้อบกพร่อง ที่ต้องเพิ่มเติมแก้ไข แต่เมื่อทำไม่ได้ก็จะทำให้ผู้ออกแบบ ไม่ภูมิใจในผลงานเท่าที่ควร เพราะถือว่าไม่ได้ ทำหน้าที่ของตนเอง อย่างสมบูรณ์

7) การปูหญ้า (Lawn Installation)

ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถม หลุมอัดให้แน่น ดูการระบายน้ำเมื่อฝนตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้า
เมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้ว ก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้อง
หญ้าควรเลือกชนิด ให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่า อย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก 10 – 20 m ควรสั่งหญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวัน ควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลือง
ทราย อาจใช้หนา 1 – 2 cm คำนวณคร่าว ๆ ใช้ทราย 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร กะสั่งทรายมาส่งก่อนหญ้า 1 วัน
ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย ก.ท.ม 1 กระสอบต่อพื้นที่ 60
ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดของดิน 1 ถุงต่อพื้นที่ 60 ใช้ปูนขาวฝุ่น ไม่ควรใช้ปูนขาวก่อสร้าง
มีดสำหรับตัดหญ้า, ไม้สำหรับทุบขอบหญ้า หรือลูกกลิ้งบกหญ้า
เมื่อวัตถุมีพร้อมทุกอย่าง ควรเริ่มโดย การนำทรายไปเกลี่ย บนพื้นที่ปลูกหญ้าใช้ไม้ปาดให้เรียบ เพื่อปรับระดับที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อย ให้สม่ำเสมอ โปยปูนขาวและปุ๋ย คอยหรือปุ๋ยเทศบาลให้ทั่วเริ่มปลูกหญ้าที่วางพับกันไว้ อาจปูตามแนวใดแนวหนึ่ง ของสนามก็ได้ วางหญ้าให้ขอบชิดกันพอดี หรือห่างกัน 1 cm เพื่อจะได้ใช้ลูกกลิ้งอัดทั้ง 4 ด้าน อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีลูกกลิ้งก็ปูหญ้า โดยจับขอบให้ชิดกันสูงจากนั้น 1 นิ้ว แล้วใช้มือทุบลงให้ชนกัน สนิทที่พ้น หรือใช้ไม้ทุกอีกครั้งหนึ่ง ให้ทั่วและปูต่อกันไปเรื่อย ๆ บริเวณโคนต้นไม้ควรปูให้ทับโคนแล้วตัดออกเป็นรูปวงกลม หลีกเลี่ยงการปูที่ต้องแซมหญ้านั้นเล็ก ๆ นิดเดียวเพราะโดยโอกาสตาย จะมีมากกว่าพื้นใหญ ่เมือปูให้ส่วนหนึ่งแล้ว ควรลดน้ำตามให้ชุ่มนอกจากดิน จะชื้นมากอยู่แล้ว แต่ถ้ารดน้ำทันทีที่ปูเสร็จวันละ 2 – 4 ครั้งจนถึง 2 อาทิตย์ จึงลดวันละครั้งให้ชุ่ม

8) การปูทางเท้า (Laying pavements)

ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็น แนวทางตามแบบ
เลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ

หินล้าง : สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง
หินกาบ : ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง
ซีเมนต์อัด : เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์
ซีเมนต์ : แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี ราคาถูก
ศิลาแลง : หนา 10 cm สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย

นอกจากตัวอย่าง ทางเท้าสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้วก็อาจมีทางเท้าที่ทำขึ้น ด้วยซีเมนต์เป็น ตลอดแนว เช่น ลาดซีเมนต์เอากรวดโรย, หินหรืออิฐเป็นก้อน ๆ เป็นต้น ถ้าทำทางเท้าแบบนี้ควรทำก่อนจะปลูกหญ้า
เมื่อเลือกวัสด ุที่จะทำเป็น ทางเท้าได้แล้ว ก็จะทำการปูไดเลย โดยปูห่างจาก จุดศูนย์กลางของแผ่นเท่ากับ 60 cm เพราะถ้าใกล้กันเกินไป จังหวะที่พลาดไปคือเดินลงไปบนหญ้าสลับกับทางเท้า ถ้าจะให้แน่ใจควรลองวางดูด่อนเล้ว เดินดูก่อนแล้วเดินดูก็จะดี เมื่อวางแผ่นทางทางเท้าลงบนเส้นที่กำหนด คือ ให้แนวปูนขาวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นทางเท้าเท่ากันตลอด ใช้มีดเฉือนหญ้าตามรูปแผ่นทางเท้า

9) การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง (Mowing, Fertilizing and Past Control)

เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอก เพราะจะทำให้ หญ้าเหลือง เมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ แต่โดยประมาณ 12 – 14 วันต่อ 1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ ส่วน
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี

1. กรรไกร ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ
2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว
3. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 13 สลับกับปุ๋ยยูเรีย

10) การเก็บงานและส่งมอบงาน (Completed work)

หลังจากที่ปลูกต้นไม้เสร็จในระยะ 1 เดือนก่อนที่จะส่งงานมอบต่อเจ้าของบ้านควรจะมีการเจริญเติบโตของต้นไม้, โรคแมลง และต้องตัดหญ้าสม่ำเสมอ ถ้ามีต้นไม้ใดเกิดตายหรือชำรุดก็ควรเปลี่ยนให้เรียบร้อย
ถ้าหากมีปัญหาหรือสวนรกก็สามารถแก้ไขได้โดยการแตกหน่อ, ตอน, ตัดแต่ง ย้ายต้นถ้าแน่นไป จะช่วยให้สวนคงสภาพความสวยงามไว้ได้