พรรณไม้

สวนกับต้นไม้เป็นของคู่กัน ความสวยของสวนขึ้นกับต้นไม้ พรรณไม้ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และ การจัดวางอย่างมีศิลปะ สวนขนาดเล็ก จัดได้จัดแบ่งกลุ่ม พรรณไม้ ไว้ดังนี้

  1. ไม้ยืนต้น
  2. ไม้ประธาน
  3. ไม้พุ่ม
  4. ไม้คลุมดิน

1. ไม้ยืนต้น เป็นต้นไม้ใหญ่ สูงกว่า 3 เมตร สำหรับปลูกเพื่อให้ร่มเงากับพื้นที่ บ้าน หรือสนาม และเป็นฉาก ของต้นไม้อื่น สวนขนาดเล็ก ปลูกไม้ใหญ่ได้น้อยต้น จะปลูกได้กี่ต้นขึ้นกับขนาดพื้นที่ ในการใช้จัดสวน มีหลักในการปลูกดังต่อไปนี้

ปลูกต้นไม้มุมบ้านเพื่อลดความกระด้างของเหลี่ยมเสา อาจปลูกต้นเดียว หรือปลูกสามต้นทำมุมกัน ขึ้นกับสภาพพื้นที่ ขนาดต้นไม้ การเจริญเติบโตของพืชนั้น ไม่นิยมปลูกเป็นแถว นอกจากจะปลูกเพื่อบังลมหรือบังสายตา

ให้ปลุกไม้ยืนต้นทางด้านทิศตะวันตก เพื่อช่วยบังแสดงแดดที่ร้อนแรงของช่วงบ่ายจะช่วยลดความร้อนในตัวบ้าน ประหยัดค่าไฟแอร์ พัดลมไปได้มาก

ปลูกต้นไม้ให้สมดุลกับพื้นที ไม่ควรปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่มากๆในที่แคบๆ ไม่ควรปลูกต้นไม้ขนาดเล็กในพื้นที่กว้างใหญ่

2. ไม้ประธาน

พรรณไม้ กลุ่มนี้สูงประมาณ 1.2-3 เมตร ถ้เป็นสวนขนาดใหญ่ พรรณไม้ มีความสูงระดับนี้จะใช้เพื่อเป็นจุดหยุดสายตา หรือมุมมองเป็นบางช่วงของสวน แต่ในสวนขนาดเล็กนี้ เราจะใช้เป็นไม้ประธานเพื่อเป็นจุดเด่น หรือจุดดึงสายตา การวางตำแหน่งแสดงดังภาพ

3.ไม้พุ่ม

มีความสูงประมาณ 0.3-1.20 เมตร การปลูกไม้พุ่มให้สวยนั้น มีความสูงของไม้พุ่มมากกว่าหนึ่งระดับ เพื่อให้ ลดหลั่น และ เกิดมิติทาง ด้านสูง-ต่ำ นิยมปลูกเป็นแปลงเพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม ดูแลรักษาง่าย และ เพื่อให้เห็น เส้นและรูปทรง ที่ชัดเจน โดยการแบ่งแปลงเป็นชั้นเพื่อให้เกิดมิติทางด้านหน้า-หลัง การออกแบบ จะเริ่มจาก เขียนขอบเขตของแปลง ไม้พุ่ม จากนั้นจึงเริ่มแบ่งแปลงต่อไป ไม่ควรแบ่งแปลงให้มีขนาดเท่ากันเกินไป โดยแปลงด้านหลัง ควรมีขนาดกว้างและสูงกว่าแปลงด้านหน้า และ แปลงด้านหน้าสุด จะมีความต่ำสุด และใช้เป็นไม้คลุมดิน นิยมแบ่งให้ได้ 3 ระดับ แต่สำหรับสวนขนาดเล็กอาจแบ่งแปลงเพียง 2 ระดับ ขึ้นอยู่กับกำแหน่ง และขนาดของพื้นที่

นอกจากนี้ยังสามารถปลูกไม้ประธาน เพื่อเพิ่มมิติให้ไม้พุ่ม หรือลดระดับ ความต่างกัน ของ ความสูง ระหว่าง ไม้ยืนต้น กับ ไม้พุ่ม ได้อีกด้วย

สำหรับสวนขนาดเล็กที่ไม่สามารถปลูกเป็นแปลง แต่ต้องการรายละเอียดสูงให้ดูเป็นธรรมชาติ การวางตำแหน่ง พรรณไม้ จะวางตำแหน่งชนิดละ 1 หรือ 2 ต้น หรือมากกว่า ขึ้นอยุ่กับสภาพพื้นที่ และความต้องการในออกแบบ ดังภาพข้างล่าง

 

4.ไม้คลุมดิน (Ground Covering Plants)

เป็น พรรณไม้ ที่อยู่ริมนอกสุดของแปลง มีความสูงน้อยกว่า 30 เซนติเมตร ปลูกเพื่อเชื่อมระดับ ความสูงของ ไม้พุ่มกับหญ้าหรือพื้นด้านหน้า และช่วยเน้นแนวขอบแปลงให้ชัดเจน สร้างความสูงของไม้พุ่มกับหญ้า หรือพื้นด้านหน้า และช่วยเน้นแนวของแปลงให้ชัดเจน สร้างความเป็น ระเบียบให้กับแปลงให้พื้นที่สวนมากขึ้น สำหรับไม้พุ่มบางชนิด โคนต้นจะทิ้งใบ ทำให้โคนต้นดูโล่ง ไม่สวยงาม การนำไม้คลุมดินมาใช้จะช่วยแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ในกรณีที่ไม้พุ่ม ภายในแปลงมีความสูงมาก ไม้คลุมดินก็ควรมีระดับสูงให้เหมาะสมกับไม้พุ่ม ซึ่งไม้พุ่ม บางชนิดอาจตัดให้สั้น เลี้ยงเป็นไม้คลุมดินได้ และในทางกลับกัน ไม้คลุมดินบางชนิดอาจเลี้ยงแบบปล่อยให้สูงเป็นไม้พุ่มได้เช่นเดียวกัน

กาบหอยแคลง ก้ามปูหลุด เงินไหลมา ดาดตะกั่ว ดาดทับทิม ปีกแมลงสาป เปเปอโรเมีย ผีเสื้อราตรี พรมกำมะหยี่ พลูด่าง(พลูทอง) เฟินเกล็ดหอย เฟินเงิน เฟินบอสตัน เหินใบมะขาม ระฆังทอง เศรษฐีเรือนนอก เศรษฐีก้านทอง หนวดปลาดุกแคระ กระดุมทองเลื้อย กำมะหยี่ เกล็ดแก้ว คุณนายตื่นสาย ซุ้มกระต่ายเขียว ซุ้มกระต่ายด่าง ดาห์ลเบิร์กเดซี่ ริบิ้นชาลี ไทรทอง บัวดิน บุษบาฮาวาย ผกากรองเลื้อย ผักเป็ดแดง ผักโขมแดง พิทูเนีย แพรเซี่ยงไฮ้ ฟ้าประดิษฐ์ ลิ้นมังกรแคระ

ต้นไม้ประธาน ชนิดที่ชอบแสงแดดจัด

กรรณิการ์ กาหลง กุหลาบเมาะลำเลิง แก้วเจ้าจอม ข่อยดัด คอร์เดีย จันทร์ผา ซองออฟจาไมกา ซองออฟอินเดีย ดอนญ่า ตะโก เทียนหยด ไทร ไทรด่าง ปรงญี่ปุ่น ปาล์มแชมเปญ ปาล์มมนิลา ปาล์มแว็กซ์ ปาล์สิบสองปันนา ไผ่น้ำเต้า พุดพิชญาตอ พุดสามสี โมก สนแผง สนมังกร แสงจันทร์ หลิวทอง

ต้นไม้ประธานสูงมากกว่า 1.2 เมตร ชนิดที่ชอบแสงปานกลางถึงร่ม

กระดาดขาว กระดาดดำ กล้วยด่าง ของแดง จั๋งจีน ดาหลา ไทรย้อยใบแหลม ปาล์มจีบ ปาล์มไผ่ ปาล์มพัด ไผ่ฟิลิปปินส์ โมซ้อน วาสนา สร้อยกัทลี หน้าวัวใบ หมากเขียว หมากแดง เฮลิโคเนีย

ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.3-1.2 เมตร

ก้ามกุ้ง การะเกดหนู กำแพงเงิน โกสน ข้าวตอกพระร่วง เข็มเชียงใหม่ เข็มม่วง เข็มเงินอินเดีย ชบา ช้องนาง ชาฮกเกี้ยน แดงซีลอน ตรีชวา เทียนทอง นีออน บลูฮาวาย บานเช้า ใบเงิน ใบนาก ประทัดไต้หวัน ผกากรองเสียบกิ่ง ไผ่แคระด่าง พยับหมอก พลับพลึงหนู พุดซ้อน พุดตะแคง ฤาษีผสม

ต้นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.3-1.20 เมตร ชนิดที่ชอบแสงปานกลางถึงร่ม

กล้วยบัวชมพู ขาไก่ด่าง เขียวหมื่นปี คล้าแววมยุรา คล้าเสน่ห์ขุนแผน ซานาดู เดหลี เตยหอม ไผ่กวนอิม เฟินข้าหลวง มะขามเทศ่าง ลิ้นกระบือ สังกรณี สาคูด่าง สาวน้อยประแป้ง เสน่ห์จันทร์แดง หนวดปลาหมึกแคระ เหลืองคีรีบูน

ลั่นทม ( Plumeria spp.)
ไม้ยืนต้น สูง 6-8 เมตร แม้จะไม่ใช่ต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในบ้านเรา แต่ด้วยลีลาของกิ่งก้านที่แผ่กว้าง สวยงามเป็นธรรมชาติ ทำให้สามารถปลูกลั่นทมประดับคู่เรือนไทยได้โดยไม่ขัดกัน และหากปลูกกลางสวนไทยที่มักเป็นสนามหญ้าโล่ง จะยิ่งทำให้ลั่นทมต้นสวยกลายเป็นประติมากรรมธรรมชาติที่ดึงดูดสายตา ให้สวนบ้านไทยชวนมอง

พิกุล ( Mimusops elengi L.)
พิกุล ชื่อนี้ที่คนไทยคุ้นมานาน เป็นไม้ยืนต้นสูง 5-18 เมตร ลักษณะเด่นของพิกุลอยู่ที่ทรงพุ่มแน่นทึบ และมีรูปร่างค่อนข้างเป็นพุ่มกลม กอปรกับมีใบละเอียดเล็ก ทำให้ภาพรวมออกมาเป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงเรขาคณิต หากปลูกพิกุลเรียงเป็นแนว จัดจังหวะให้สมมาตรในสไตล์คล้ายสวนฟอร์มัล จะช่วยส่งเสริมให้เห็นความสง่างามของเรือนไทย

หมากเขียว ( Ptychosperma macarthurii H.A. Wendl.)
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 3-6 เมตร จัดอยู่ในกลุ่มวงศ์ปาล์ม-มะพร้าว ใบเป็นรูปขนนกดูพลิ้วไหว สวยงาม เมื่อนำปลูกลงดิน แตกกอใหญ่กึ่งทึบกึ่งโปร่ง โดยทั่วไปจึงนิยมนำมาปลูกเป็นแนวรั้วข้างบ้าน เพื่อปิดบังสิ่งไม่น่ามอง หรือปลูกเป็นฉากหลัง เป็นจุดจบสายตาในสวน บ้างก็ปลูกเป็นกอวางเข้ามุมเพื่อลบความแข็งกระด้างของเหลี่ยมมุมนั้น สำหรับเรือนไม้แบบไทยๆ ก็สามารถนำหลักการเดียวกันมาใช้ได้ ทำให้นึกหวนกลับไปที่ภาพเรือนไทยในอดีต ยกพื้นสูง ปลูกไม้ผลไม้กินได้รอบบ้าน โดยเฉพาะต้นหมากที่หน้าตาและเส้นใบคล้ายกัน

จั๋งจีน (Rhapis humilis Bl.)
ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร มีลักษณะเด่นที่ใบประกอบเป็นรูปพัด พุ่มกอแน่นสวยงาม เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุม ด้วยพื้นเพชาติกำเนิด จึงทำให้จั๋งจีนมักปรากฏร่วมอยู่คู่กับการตกแต่งสไตล์โอเรียนทัล เรือนไทยเองก็สามารถใช้ได้เช่นกัน และหากนำจั๋งจีนมาปลูกวางเป็นกอริมเชิงบันไดขึ้นเรือน นอกจากจะเพิ่มความนุ่มนวลชวนมองให้หน้าตัวเรือนแล้ว ยังเป็นพุ่มปิดบังช่องว่างไม่น่ามองใต้ชานพักบันไดได้อีกด้วย

พลับพลึง (Crinum asiaticum Linn.)
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ สีขาวหรือม่วงแดง มีกลิ่นหอมและสวยงาม ทรงต้นสวยด้วยแผ่นใบเรียวยาวรูปดาบ เรียงสลับเวียนรอบต้น แม้ปลูกเพียงต้นเดียวริมสวนก็ เป็นจุดเด่นและจุดพักสายตาที่ชวนมองได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าได้ปลูกริมตลิ่ง จะเข้ากันได้ดีกับสวนน้ำ จึงเป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ที่อยากแนะนำให้ปลูกคู่บ้านไทย

เอื้องหมายนาด่าง ( Costus speciosus "Marginatus" )
เป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอสวยงาม สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบยาวรีปลายใบแหลม สีเขียวสด ขอบใบสีเหลืองนวล แตกเวียนรอบลำต้น ออกดอกสีขาวที่ยอด จากสีใบที่ค่อนข้างสว่างเมื่อนำมาประดับใส่ในกระถางใบสวย วางตั้งประดับบนเรือน จะช่วยดึงบรรยากาศเรือนไม้ที่เข้มขรึม ให้ดูสบายตาและอ่อนโยนลง

ปาล์มไผ่ ( Chamaedorea erumpens H.E. Moore)
เป็นปาล์มที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโตช้า สูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกอสวยงาม ดูอ่อนช้อยคล้ายกอไผ่ และเหมาะดีกับการตกแต่งสไตล์โอเรียนทัล รวมทั้งสไตล์ไทย เมื่อปลูกใส่กระถางวางประดับหน้าฝาบ้านสามารถลดความแข็งกระด้างของแผ่นไม้ให้ดูอ่อนช้อยลงได้ทันตา

เสน่ห์จันทน์แดง ( Homalomena rubescens Kunth)
ไม้พุ่ม สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ด้วยลักษณะทรงพุ่มต้น และใบที่มีสีเขียวเป็นมัน เส้นใบจมเป็นลอนเห็นชัดเจน และก้านใบสีแดงเข้ม ทำให้เสน่ห์จันทน์แดงเป็นต้นไม้ที่มีเสน่ห์สมชื่อ ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร จึงสามารถปลูกเป็นไม้กระถางประดับในตัวเรือน ตั้งวางให้โดดเด่น เป็นจุดพักสายตา สร้างจังหวะของแนวระเบียงหรือฝาเรือนได้เป็นอย่างดี

เดหลี ( Spathiphyllum sp.)
เดหลีเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 0.3-0.5 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มมันเป็นวาว ตัดกับดอกสีขาว อาจปลูกเรียงรอบเสาบ้านแถวใต้ถุนเรือน สีขาวของดอกตัดกับสีเข้มของเสาไม้ ทำให้มุมนั้นดูสว่างสดใส มีชีวิตชีวา หรืออาจนำไปปลูกลงกระถางเคลือบใบสวย วางตามมุมห้องหรือข้างตั่งไม้สไตล์ไทย เป็นการนำสีเขียวเข้ามาไว้ในบ้าน สร้างความชุ่มชื่นได้อีกแบบ

พลูด่าง (Epipremnum aureus Engl.)
เป็นไม้เลื้อยที่หลายบ้านชอบปลูก อาจปลูกเป็นแปลงไม้คลุมดิน ทนร่มได้ดี จึงเหมาะกับสวนไทยที่ร่มครึ้ม เพราะแปลงพลูด่างจะช่วยเพิ่มความสว่างขึ้นมาได้ด้วยสีใบด่าง เขียวแกมขาวหรือเหลือง หรืออาจตัดปลูกใส่กระถางใบเตี้ยแช่น้ำให้ทอดเลื้อย วางประดับบนโต๊ะไม้ ช่วยให้บรรยากาศในบ้านไทยสว่าง ดูสดใส


ไม้คลุมดิน

ตามบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้น การปลูกต้นไม้ช่วยคลายเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใส การจัดสวนประดับ พันธุ์ไม้ที่นำมาจัดตกแต่ง มีมากมายหลาย ชนิดหลายแบบ เพื่อให้การจัดสวนนั้น มีความกลมกลืนสวยงามและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ระดับความ สูงต่ำของต้นไม้นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการจัด สวนประดับ กล่าวคือ ในสวนหย่อมหนึ่ง ๆ หรือมุมหนึ่ง จะประกอบไปด้วยต้นไม้หลัก ซึ่งจะเป็นจุดเด่นของมุมนั้น และมีต้นไม้รองเป็นส่วนประกอบอีก ซึ่งจะมีความสูงลดหลั่นกันไป ต้นไม้ประเภทหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ ในการจัดสวนก็คือ ต้นไม้ประเภท ไม้คลุมดินหรือ ไม้คลุมดิน

ไม้คลุมดินเป็นพืชที่มีความสูงจากพื้นดินไม่มากนัก นับตั้งแต่ผิวดินไปจนถึงสูงประมาณ 30 ซ.ม. ประโยชน์ของไม้คลุมดิน ใช้เป็นพืชรองรับไม้ประธาน และไม้พุ่มใช้เพิ่มสีสันของสวน ใช้ตัดสีของต้นไม้กับสนามหญ้า หรือใช้ปลูกเป็นแปลงในรูปร่างต่าง ๆ ที่ออกแบบขึ้น เช่น รูปนาฬิกา รูปตัวอักษรต่าง ๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของไม้คลุมดิน ก็คือ ไม้คลุมดินจะช่วยให้พื้นดินเก็บรักษาความชุ่มชื้นของน้ำได้ดีขึ้น ช่วยรักษาผิวหน้าดินไม่ให้ถูกน้ำไหลเซาะ ช่วยป้องกัน การเจริญของวัชพืช และไม้คลุมดินเช่น พืชตระกูลถั่ว ยังช่วยบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นด้วย

ไม้คลุมดินนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีดอก และไม่มีดอก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ไม้คลุมดินในร่ม และไม้คลุมดินกลางแจ้ง

ไม้คลุมดินในร่ม

ไม้คลุมดินในร่ม เป็นพืชที่ชอบแสงแดดน้อย สามารถปลูกได้ดีในสวนหย่อมบริเวณที่มีแสง-แดดส่องรำไร เช่นบริเวณใต้ชายคา ใต้ต้นไม้ใหญ่ ริมผนัง เป็นต้น ส่วนมากเป็นพืชที่มีสีใบสวยงาม ลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ มีหลายชนิดที่สามารถปรับตัวเองให้รับแสงแดดมากได้ แต่จะมีสีและความยาวของข้อปล้อง แตกต่างกันออกไปบ้าง ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกในร่มเงา ได้แก่ ก้ามปูหลุด หนวดปลาดุกเปปเปอร์โรเมียกาบหอยแครง หัวใจม่วง อีพีเซีย เศรษฐีเรือนใน-เรือนนอก ฯลฯ

ไม้คลุมดินกลางแจ้ง

ไม้คลุมดินกลางแจ้ง เป็นพืชที่ชอบแสงแดดมากหรือแสงแดดจัด สามารถปลูกอยู่กลางแจ้งได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีดอกสวยงาม และมีการนำไปใช้ จัดสวน ได้อย่างกว้างขวาง ประโยชน์ในด้านการตกแต่งมีมาก เช่นปลูกประดับในแปลง ปลูกในรูปร่างต่าง ๆ ขนานกับผิวดิน ปลูกประกอบกับไม้พุ่ม ฯลฯ ไม้คลุมดินกลางแจ้งที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ผกากรองเลื้อย ฟ้าประดิษฐ์ ปอร์ทูลากาผักเป็ดสีต่าง ๆเกร็ดแก้ว บุษบาฮาวาย ไวท์ฮาวาย เวอร์บีน่า เดซี่เหลือง ฯลฯ

วิธีการปลูกไม้คลุมดิน ควรปลูกเป็นจำนวนมากหรือปลูกเป็นกลุ่มเพื่อความสวยงามดินที่ปลูกควรเป็นดินผสมอินทรียวัตถุ เช่น แกลบ ขุยมะพร้าว เปลือกมะพร้าวสับและปุ๋ยคอกเพราะรากของไม้คลุมดิน และอยู่ใต้ระดับผิวดินลงไปไม่มากนัก ถ้าปลูกในดินเหนียวแข็งพืชจะชะงักการเจริญเติบโต เพราะรากอยู่กับที่ ขยายออกไปไม่ได้ การปลูกไม้คลุมดิน โดยอาจทำเป็นร่องก็ได้ เพื่อแบ่งส่วนที่ปลูกพืชกับสนามหญ้าออกจากกัน เป็นการรักษาความชื้นและทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา

การดูแลรักษาไม้คลุมดิน จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากในเรื่องของการตัดแต่งกิ่ง และการควบคุมขนาด เนื่องจากไม้คลุมดิน มีการเจริญเติบโต รวดเร็วมาก ต้องมีการตัดแต่งอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะเจริญเติบโตมากจนเกินไป ทำให้มองดูรก ไม่เป็นระเบียบ ไม้คลุมดินนั้น หากยิ่งตัดแต่งมาก จะมีความสวยงามมาก เพราะทำให้แตกกิ่งก้านสาขาและยอดออกมามาก ทำให้ทรงต้นแน่นเป็นระเบียบ

โดยเฉพาะไม้คลุมดินที่ให้ดอกจำเป็นต้องตัดดอกออก เมื่อดอกเริ่มโรย หมั่นตัดดอก และเล็มยอดจะทำให้พืชแตกยอดและออกดอกมากขึ้น หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 กรณีที่ไม้คลุมดิน ควรใส่ปุ๋ยอัตรา 1 ช้อนชา บริเวณขอบ-กระถาง อาทิตย์ละครั้ง แล้วกลบทับด้วยปุ๋ยหมักและปลูกรดน้ำให้ชุ่ม เคล็ดลับของการปลูกใน ลักษณะกระถางดินผสมจะต้องสามารถระบายน้ำได้ดี เพราะไม้กระถางชอบชื้น ไม่ชอบแฉะ ไม้คลุมดินจะสดชื่นออกดอกออกผลสวยงามอยู่ตลอดไป ในลักษณะเป็นกระถางแขวนควรทำขอบที่แปลงด้วย