โยงใยที่ซ่อนเร้น

ปาฐกถาชเรอดิงเจอร์ 1997

หนังสือ “โยงใยที่ซ่อนเร้น” (The Hidden connections) ของ ดร. ฟริตจ๊อฟ คาปร้า ได้ขยายความเข้าใจใหม่ใน เรื่องราวความลึกลับ อันมหัศจรรย์ของชีวิต ที่นำามาจากทฤษฎีแห่งความซับซ้อนไปถึง ปริมณฑลทางสังคม นำเสนอโครงความคิด ที่ได้หลอมรวมชีวิตในด้านชีววิทยา การรับรู้-เรียนรู้ และมิติทางสังคมเข้าด้วยกัน ต้องการพัฒนาวิธีการเข้าหาความรู้ที่เป็นระบบ และให้สอดคล้องกับประเด็นวิกฤตต่างๆ ของยุคสมัยปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ประกอบด้วย

 

ภาคที่ 1 ว่าด้วยชีวิต จิตใจ (สมอง) และสังคม ซึ่งประกอบด้วย 3 บทย่อย คือ

 

บทที่ 1 ธรรมชาติของชีวิต เป็นการนำเสนอเพื่อตอบคำถามว่า “ชีวิตคืออะไร” “อะไร คือระบบที่มีชีวิต” ระบุได้ว่า เซลล์ที่มีชีวิตเป็นเครือข่าย ของกระบวนการเมตาบอลิซึมซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม สามารถสร้างตัวเองได้ และมีการจัดองค์กรแบบปิด เครือข่ายนี้เกี่ยวพันกับ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนสูงหลายชนิด ได้แก่โปรตีนโครงสร้าง (structural protein) เอนไซม์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในกระบวนการเมตาบอลิซึม อาร์เอ็นเอ โมเลกุลที่ทำหน้าที่ เป็นตัวนำสารในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางพันธุกรรม และดีเอ็นเอ ซึ่งทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข่าวสารทางพันธุกรรมและรับผิดชอบ ในการสร้างสำเนาตัวเองของเซลล์ เครือข่ายระดับเซลล์เป็นระบบเปิด ทั้งในแง่สสารและพลังงาน ซึ่งใช้การไหลเวียนอย่างต่อเนื่องของสสารและพลังงานเพื่อสร้างและซ่อมแซมและทวีจำนวนตัวเอง ระบบเครือข่ายนี้ทำงานภายใต้สภาวะที่ห่างจากสมดุล โดยที่โครงสร้างใหม่และระเบียบรูปแบบใหม่ สามารถผุดบังเกิดขึ้นเองได้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและ วิวัฒนาการ ซึ่งวิวัฒนาการยุคก่อนที่จะมีสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นขึ้น ก่อนหน้าที่จะมีเซลล์ที่มีชีวิตเซลล์แรกผุดบังเกิดขึ้น เกี่ยวพันกับฟองชีวิตระดับพื้นฐานที่สุดซึ่งหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม และรากฐานของชีวิตหยั่งลึกลงในกฎพื้นฐานทางฟิสิกส์และเคมีของ โปรโตเซลล์เหล่านี้ และนอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นแนวทางสามแนวทางของการสร้างสรรค์เชิงวิวัฒนาการ กล่าวคือ การกลายพันธุ์ การแลกเปลี่ยนหน่วยพันธุกรรม และกระบวนการซิมไบโอซิส ซึ่งชีวิตคลี่คลายขยายออกตลอดช่วงกว่าสามพันล้านปี จากบรรพบุรุษร่วมกันของแบคทีเรีย จนกระทั่งผุดบังเกิดเป็นมนุษย์ โดยที่ไม่หลุดออกจากรูปแบบ พื้นฐานของระบบเครือข่ายที่สร้างตนเองได้เลย

 

บทที่ 2 จิตและตัวรู้ นำเสนอแนวคิดใหม่ล่าสุดในเรื่องธรรมชาติของจิตและตัวรู้ อันถึงที่สุดแล้วก็ข้ามพ้นการแบ่งแยกกายจิตแบบเดส์คาร์ตไปได้ การวิจัยค้นคว้าในวิทยาศาสตร์ด้านรับรู้-เรียนรู้เมื่อเร็วๆ นี้ยืนยันและให้รายละเอียดยิ่งขึ้นที่ว่า กระบวนการทางการรับรู้-เรียนรู้ได้วิ
วัฒนาเป็นรูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้นอย่างสอดคล้องกับความสลับซับซ้อนของโครงสร้างทางชีวภาพ ดังที่ความสามารถจะควบคุม การเคลื่อนไหวมือและลิ้นได้อย่างแม่นยำพัฒนาขึ้นมาเป็นภาษาสำนึกรู้ที่สะท้อนย้อนกลับ และความคิดเชิงมโนทัศน์ก็วิวัฒนาการขึ้นมา ในมนุษย์ยุคแรกๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารที่เพิ่มความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกที ทั้งหมดเป็นการสำแดงออกแห่งกระบวนการรับรู้-เรียนรู้ และแต่ละระดับที่เกิดขึ้นใหม่ มันก็จะไปเกี่ยวข้องกับ โครงสร้างทางระบบประสาท และร่างกายที่ก่อเกิดขึ้นใหม่ เช่นเดียวกัน ดังที่การค้นพบใหม่ๆ ทางภาษาศาสตร์ได้แสดงให้เห็น เราจะเห็นว่าจิตมนุษย์นั้น แม้ในการสำแดงออกอย่างเป็นนามธรรมที่สุด จะไม่แยกขาดออกไปจากกาย แต่จะก่อจากกายและก่อรูปขึ้นโดยกาย ทัศนะยุคหลังเดส์คาร์ต ที่เห็นจิต วัตถุและชีวิตเป็นหนึ่งเดียว ยังส่งนัยถึงการประเมินใหม่อย่างถอนรากในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ตลอดมา ในปรัชญาตะวันตกโดยส่วนใหญ่ ความสามารถในการให้เหตุผลถูกมองว่าเป็นคุณลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของมนุษย์ที่แยกออกมาจากสัตว์ทั้งหลาย

 

บทที่ 3 ความเป็นจริงทางสังคม ความเข้าใจเชิงระบบของชีวิตสามารถขยายอออกไป ครอบคลุมปริมณฑลทางสังคม ที่ครอบคลุม 4 มุมมอง คือ รูปแบบ (form) วัตถุ (matter) กระบวนการ และความหมาย การบูรณาการสี่มุมมอง หมายถึง การตระหนักถึงคุณูปการของแต่ละ
มุมมองที่มีความสำคัญ ที่จะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นว่า วัฒนธรรมนั้นถูกสร้างขึ้นและดำรงอยู่ด้วยเครือข่าย (รูปแบบ) ของการสื่อสาร (กระบวนการ) ที่ซึ่งความหมายจะก่อเกิดขึ้นมา การแฝงฝังวัฒนธรรมลงในวัตถุ (วัตถุ) จะรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ และ
ข้อเขียนโดยผ่านสิ่งเหล่านี้ ความหมายจะถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง

 

ภาคที่ 2 ความท้าทายที่รออยู่ในศตวรรษที่ 21

 

บทที่ 4 ชีวิตกับความเป็นผู้นำในองค์กร เป็นการประยุกต์ทฤษฎีทางสังคมที่พัฒนามาจากบทก่อนหน้า สำหรับการบริหารจัดการองค์กรมนุษย์ โดยมุ่งประเด็นเฉพาะไปที่ว่าองค์กร มนุษย์จะสามารถมองว่าเป็นระบบชีวิตได้แค่ไหนเพียงไร เศรษฐกิจใหม่มีโครงสร้างอยู่บนกระแส
ธารของข้อมูล อำนาจและความมั่งคั่ง ที่ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารอันล้ำยุค โดยพื้นฐานแล้ว มันถูกก่อรูปอยู่ในวิถีทางของเครื่องจักร ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมและ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นไม่เอื้อต่อชีวิต หากแต่บั่นทอนชีวิต

 

บทที่ 5 เครือข่ายทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เป็นการนำเสนอการเคลื่อนจุดเน้นของเรื่องไปยัง เรื่องราวระดับโลก เพื่อจะไปดูเรื่องราวที่เร่งด่วน และโต้แย้งกันมากที่สุดในยุคสมัยของเรา นั่นคือ ความท้าทายและอันตรายจาก โลกาภิวัตน์ภายใต้กฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) และ สถาบันทุนนิยมระดับโลกอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ในรูปแบบที่เป็นอยู่นี้เป็น ระบบที่นำไปสู่ความไม่ยั่งยืน และจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนแก้ไข และออกแบบใหม่ทางโครงสร้างพื้นฐานของระบบ

 

บทที่ 6 เมื่อเทคโนโลยีชีวภาพมาถึงจุดเปลี่ยน เป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบใน ปัญหาของเทคโนโลยีชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น พันธุวิศวกรรม โคลนนิ่ง อาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมและอื่นๆ และเน้นเป็นพิเศษในเรื่องแนวคิดการปฏิวัติทางพันธุกรรมที่ถูกจุดชนวนขึ้น
โดยการค้นพบโครงการจีโนมของมนุษย์

 

บทที่ 7 เปลี่ยนเกม เป็นการอภิปรายประเด็นสภาวะของโลกในจุดเริ่มต้นแห่งศตวรรษนี้ หลังจากที่ได้ทบทวนปัญหาทางสังคม และปัญหาทางสิ่งแวดล้อมใหญ่ๆ และความเชื่อมโยงของ พวกมันกับระบบเศรษฐกิจ บรรยายให้เห็นการเติบโตในระดับโลกของ “พันธมิตรซีแอตเทิล” ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และแผนการของพวกเขาที่จะแปลงร่างโลกาภิวัตน์ใหม่ ตามระบบค่านิยม อันแตกต่างออกไป ในส่วนท้ายของบทก็ได้สำรวจตรวจทานวิถีปฏิบัติทางการออกแบบเชิงนิเวศ ที่ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และอภิปรายถึงผลกระทบของมันที่จะมีต่อการเคลื่อนย้ายไปสู่อนาคตอันยั่งยืน