แบบแผน

องค์รวม (Hilism) คือ “แบบแผนเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ อย่างมีความหมาย ในบริบทหนึ่งๆ”องค์รวมเป็นประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของความคิดมนุษย์ ซึ่งจำต้องอาศัยแบบแผนเชื่อมโยงดังกล่าว ดังนั้น องค์รวมกับองค์ประกอบจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจแยกจากกันได้ และสิ่งที่ทำให้ทั้งหมด “โยงถึงกัน” ได้ในลักษณะหนึ่ง ก็คือแบบแผนที่อิงอาศัยความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งการแยกส่วน (fragmentation) กับการลดทอน (reduction) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และเมื่อพิจารณาแนวความคิดหลายประการที่มักถือกันว่าเป็น แนวทางลดทอนแยกส่วน (reductionism) อย่างจริงจังแล้วจะพบว่า แท้ที่จริงก็มีองค์รวมและความหมายเป็นพื้นฐานอยู่แนวคิดเกี่ยวกับองค์รวมมีความสอดคล้องกันในประเด็นเรื่อง การให้ความสำคัญต่อความหมายและบริบท และพยายามนำเอาประเด็นเรื่องความหมายในบริบทต่าง ๆ กลับเข้ามาสู่การสร้างองค์ความรู้ประเด็นหลักขององค์รวมจึงอยู่ที่ การตระหนัก (awareness) ในองค์รวมซึ่งเป็นพื้นฐานแนวทางการสร้างความรู้ในปัจจุบัน และควรเน้น “ความหมาย” หรือ คุณค่า” อันเป็นตัวกำหนดหน่วยภาวะรวม องค์ประกอบ และบริบทของการแสวงหาความรู้ ประเด็นดังกล่าวนี้อาจเรียกได้ว่า “อธิวิธีวิทยา” (meta-methodology) ซึ่งหมายถึง การตระหนักรู้และเลือกใช้ความหมาย (meaning) แบบหนึ่ง กำหนดนิยามหน่วยภาวะทั้งหมด (whole entity) องค์ประกอบ (parts) บริบท (context) และสร้างแบบแผนเชื่อมโยง (connecting pattern) ของสิ่งที่กล่าวถึงหรือสังเกตศึกษา รวมทั้งการทำความเข้าใจหรือถกเถียงเกี่ยวกับความหมายที่นำมาใช้

 

การคิดเชิงระบบเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในหลัก 5 ประการขององค์กรเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ Peter M. Senge ให้ความสำคัญกับ Systems Thinking มาก จึงเริ่มต้นชื่อหนังสือของเขา ทั้งสองเล่มว่า The Fifth Discipline ซึ่งเป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม หรือภาพจากตานก คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าวิเคราะห์แยกแยะ มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนต่าง ๆของระบบ ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุ-ผล เชิงเส้นตรง คิดเน้นที่กระบวนการหรือแบบแผน (pattern) มากกว่าภาพเป็นจุด ๆ (events)

Stephen P.Robbins และ Mary Coulter นักวิชาการด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงได้กล่าว ถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้ในหนังสือ Management 8th Edition ว่าแนวคิดเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างองค์กรแบบใดแบบหนึ่ง โดยเฉพาะ แต่เป็นเรื่องของกรอบความคิด (Mindset) หรือปรัชญา (Philosophy) ที่มีอิทธิพลต่อการ ออกแบบองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง พนักงานในองค์กรจะจัดการ กับองค์ความรู้ต่างๆ ด้วยการศึกษา และการถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเต็มใจที่จะประยุกต์ความรู้เหล่านั้น ไปใช้กับการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน Stephen P.Robbins และ Mary Coulter ได้กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ว่า เป็นองค์กรที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

รูปแบบขององค์กร (Organization Design) คือ ไร้พรมแดน (Boundless) การทำงานเป็นทีม (Team) และการให้อำนาจ (Empowerment) บุคลากรขององค์กรแห่งการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแบ่งปัน (Share) ข้อมูล และให้ความร่วมมือ (Collaboration) กับทุกกิจกรรมของงานต่างๆ ของทุกหน่วยงานในองค์กร ถึงแม้ว่างานนั้นจะเป็นงานของหน่วยงานอื่น หรือแม้แต่งานในลำดับชั้นอื่นๆ ขององค์กรก็ตาม ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลด หรือกำจัดโครงสร้างหรือขอบเขตที่เป็นทางการขององค์กรในบรรยากาศการทำงาน

บุคคลากรจะมีอิสระในการทำงานร่วมกันและเต็มใจให้ความร่วมมือในการทำงานขององค์กรด้วยวิธีการที่ดีที่สุดที่เขาสามารถทำได้ ตลอดจนเรียนรู้ร่วมกัน ความจำเป็นของความร่วมมือในรูปแบบต่างๆทำให้การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ พนักงานจะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการดำเนินทุกกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับองค์กร โดยทีมงานต่างๆเหล่านี้จะได้รับมอบอำนาจให้ตัดสินใจเกี่ยวกับงาน หรือประเด็นปัญหาต่างๆ เมื่อพนักงานและทีมได้รับมอบอำนาจ ผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องกำกับหรือควบคุมการทำงาน บทบาทของผู้จัดการจึงเป็นเพียง ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ผู้สนับสนุน (Supporter) และที่ปรึกษา (Advocate) ของทีมงาน

บทบาทผู้นำ (Leadership) ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision) และความร่วมมือ (Collaboration) คือการส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม เกี่ยวกับอนาคต ขององค์กร ตลอดจนการโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์กรมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมนั้นๆ นอกจากนี้ผู้นำยังต้องส่งเสริมและผลักดันบรรยากาศแห่งความร่วมมือ ให้เกิดขึ้น ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและเข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถแสดงบทบาทดังกล่าวได้อย่างสัมฤทธิผล

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ต้องมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด (Strong Mutual Relationship) สำนึกของความเป็นกลุ่ม (Sense of Community) ความใส่ใจ (Caring) และความไว้วางใจ (Trust) คือวัฒนธรรมขององค์กรที่ทุกคนเห็นด้วยและยึดมั่นในวิสัยทัศน์ร่วม และทุกคนตระหนักถึง ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกระบวนการ กิจกรรม และหน้าที่ขององค์กรกับสิ่งแวดล้อมภายนอก บรรยากาศขององค์กรจะเต็มไปด้วยสำนึกของความเป็นกลุ่ม ความใส่ใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนความไว้วางใจ ดังนั้น พนักงานในองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงสามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยน ทดลองและเรียนรู้อย่างเต็มที่โดย ไม่ต้องกังวลกับการวิพากษ์วิจารณ์หรือการลงโทษขององค์กร