สร้างพลังสู่ความสำเร็จ Power with People

บทที่ 1 หาตัวช่วย

ทุกคนที่เกิดมาต่างก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมาย 2 อย่างที่ทุกคน ต่างก็มีเหมือนๆกัน ก็คือ ต้องการที่จะประสบความสำเร็จ และต้องการที่จะมีความสุขในชีวิตแต่การที่จะประสบความสำเร็จ และมีความสุขนั้น เราก็ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นเพื่อที่จะให้ถึงเป้าหมายของเรา ซึ่งวิธีที่สร้างความก้าวหน้าได้ดีที่สุด คือ การใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ตนมีควบคุมบุคคลที่จะเป็นตัวช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ ซึ่งในหนังสือจะพูดถึงทัศนะคติของ จอร์น ที แวน เดอร์ฮอฟฟ์ ประธานบริษัทฮอลแลนด์อินดัสตรี ว่า “ถ้าเรายอมรับว่าการมีคนช่วยเราทำงานดีกว่าทำตามลำพังคนเดียว ก็เป็นสัญญาณว่าเราจะก้าวหน้าต่อไปอีกมาก” เพราะเราไม่อาจไปถึง เป้าหมายเพียงลำพังโดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ดังนั้นก่อนที่เราจะไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้สิ่งแรกเราควรหาคนที่ช่วยเรา ได้มากที่สุด เราจะประหยัดทั้งแรงกายและเวลา
โดยเฉลี่ยแล้วเราจะแบ่งคนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.คนที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จได้
2.คนที่ขัดขวางไม่ให้เราประสบความสำเร็จ
3.คนที่ไม่ช่วยและไม่ทำร้ายเรา

ลักษณะของแกนนำหรือคนที่จะเป็นตัวช่วยให้เรา

  • ชอบที่แก้ปัญหา เพราะเวลาที่เรามีปัญหาเขาก็จะสามารถแก้ปัญหาให้กับเราได้
  • นักคิดสร้างสรรค์ไม่ชอบเดิมตามกรอบแบบเดิมๆ มีนิสัยต่อต้านความพยายามที่จะมาปิดกั้นความคิดอ่านของเขา
  • เป็นเสาหลักให้ผู้อื่นได้ ทุกคนในกลุ่มจะหันหน้ามาขอคำแนะนำกับเขาหรือมาขอความช่วยเหลือ แล้วคนในกลุ่มก็จะเลือกเขาเป็นผู้นำโดยสมัครใจ

จงใช้ความสามารถของเราครอบครองใจแกนนำหรือตัวช่วยของเรา แล้วเราก็จะได้รับประโยชน์ตอบแทน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการหาตัวช่วย

1. เราสามารถที่จะควบคุมคนได้ โดยผ่านคนไม่กี่คน
2.ประหยัดเวลา เราจะประหยัดเวลาหากเราเลือกเดินให้ถูกทาง เลือกคนที่จะสามารถช่วยเหลือเราได้จริงไม่ใช่มั่วแต่ไปเสียเวลากับคนที่ช่วยเราไม่ได้เลย
3.ประหยัดแรง เราจะเสียเหงื่อน้อยลงหากเราเลือกคนที่เหมาะสมมาเป็นแกนนำหรือมาเป็นผู้ช่วยของเรา
4.มีแกนนำมีชัยไปกว่าครึ่ง คือ เมื่อเราหาแกนนำได้แล้วก็ดึงเขาให้มาอยู่ฝ่ายเรา ส่วนคนอื่นๆก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเป็นนักขายแล้วไปขายสินค้าที่บ้านหลังหนึ่ง เราต้องหาให้ได้ว่าใครที่เป็นคนตัดสินใจภายในบ้าน ภรรยาหรือว่าสามี เพราะหากเราเลือกผิดคนก็จะเสียเวลากับคนที่ช่วยเหลือเราไม่ได้ พอเรารู้แล้วว่าเป็นใครเราก็ทุ่มเทความพยายามกับคนๆนั้นดึงดูดให้เขาซื้อสินค้าเราให้ได้เพราะเขาเป็นคนตัดสินใจเด็ดขาดในบ้าน

บทที่ 2 ฝึกเป็นสายลับ (ให้ตัวเอง)

การที่รู้ว่าคู่แข่งกำลังทำอะไรอยู่ จะทำให้เราผลิตงานที่เหนือกว่าเขาได้ การฝึกเป็นสายลับอาจจะทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถนำมาใช้กับ องค์กรของเราได้ การจะทำให้ประสบความสำเร็จในข้อมูลที่ได้มาเราต้องรู้วิธีการนำไปใช้ด้วย เราต้องสืบให้รู้ว่าคู่แข่งของเราตอนนี้เขากำลังทำอะไรอยู่ ลูกค้าต้องการอะไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ใช่อยู่แต่กับตัวเองไม่มองคนรอบข้างเพราะในปัจจุบันเศรษฐกิจในปัจจุบันตกต่ำการแข่งขันเพื่อการอยู่รอดก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราควรนำคำโบราณที่ว่า รู้เขารู้เรามีชัยไปกว่าครึ่ง ไปใช้ก็ได้

การใช้หลักการถามแบบนักข่าวก็สามารถที่จะนำไปใช้ได้ คือ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร

บันได 5 ขั้นของการสนทนาที่ดีทำให้ล่วงรู้ความลับได้

  1. ให้ความสนใจอีกฝ่ายอย่างแท้จริง
  2. เป็นนักฟังที่ดี
  3. ยุอีกฝ่ายให้พูดเรื่องของเขาเอง
  4. คุยแต่เรื่องที่อีกฝ่ายสนใจและเป็นสิ่งที่เขต้องการ
  5. ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเขามีความสำคัญโดยทำอย่างจริงใจ

ความต้องการใต้สำนึก 9 ประการ

  1. ความมั่นคงทางจิตใจ
  2. ความเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
  3. อวดฝีมือ
  4. ความรู้สึกแห่งพลังส่วนตัว
  5. ความรู้สึกเป็นเจ้าของ
  6. ความเป็นนิรันดร์
  7. ความหลงตัวเอง
  8. รักในทุกรูปแบบ
  9. ประสบการณ์ใหม่ๆ

การใช้ความต้องการใต้สำนึก 9 ประการ จะป้องกันไม่ให้เสียเวลาไปกับการหาข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ เพราะข้อมูลทุกชิ้นที่อยู่ในแฟ้มควรมีส่วนเอื้อต่อความสำเร็จจากการใช้ความสามารถของคนอื่น ถ้าไม่เช่นนั้นเราก็ไม่เรียกว่าข่าวกรอง

บทที่ 3 ดึงความสามารถของคนอื่นมาใช้

เมื่อเราเลือกผู้ที่จะมาช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้แล้วและรู้ข้อมูลของเขามากพอ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการวางแผนเพื่อที่จะให้ได้ในสิงที่เราต้องการมา สิ่งนั้นก็คือการก้าวไปให้ถึงสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ การที่เราจะไปถึงเป้าหมายได้เราต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น ในหนังสือจะบอกถึงปัจจัย 3 ประการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คือ

1. เป้าหมาย
2. แผนการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
3. คนที่จะช่วยดำเนินการตามแผนจนบรรลุเป้าหมาย

การที่เรารู้เป้าหมายมันก็จะทำให้เราทราบคนที่จะสามารถช่วยเหลือเราได้ ว่าคนคนนั้นคือใคร ในบทนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงปัจจัยข้อเดียวที่ยังไม่รู้ นั่นก็คือ แผนการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย ผู้เขียนจะเขียนแผนการเป็นเค้าโครงซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถที่จะนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวางแผน

1.ชีวิตจะมีเป้าหมายและทิศทางเดินที่ชัดเจน การวางแผนเพื่อดึงความสามารถของคนอื่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์นั้น จะทำให้เรามีจุดมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน เมื่อเรามีจุดมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน การดำเนินชีวิตก็จะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น แต่ละวันจะเป็นวันที่มีความหมายและมีชีวิตชีวามากขึ้น
2.ตัดสินใจในสิ่งที่จะทำและจะเป็น การที่เราสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าเราต้องการที่จะทำอะไรและต้องการที่จะเป็นอะไร ควรมีการวางแผนให้แน่นอน อย่าตั้งเป้าหมายที่เลือนราง เราต้องตั้งให้ชัดเจนมากที่สุด เช่น เราต้องการที่จะเป็นอะไร อยากจะทำอะไร เมื่อเรารู้ทั้งหมดแล้วเราก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าใครจะเป็นคนช่วยเราหรือสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จได้ การที่รู้ถึงสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดจะเป็นตัวบังคับให้เราวางแผนเพื่อให้ไปถึงสิ่งนั้น
3.ความเพียรจะเกิดขึ้นจนกว่าจะบรรลุความสำเร็จ การวางแผนเพื่อให้มีอิทธิพลเหนือคนอื่น จะทำให้เรามีความมานะพยายามมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ ในการวางแผนเพื่อให้ไปถึงความสำเร็จเราควรที่จะวางแผนในระยะสั้นไว้ก่อน แล้วค่อยตั้งเป้าต่อไปอีกทีละน้อย ซึ่งขอหยิบยกคำกล่าวในหนังสือที่ว่า “ไม่มีอุปสรรคใดสกัดกั้นผู้มีความเพียรได้ เว้นแต่ใจของเขาเองเท่านั้น”

โครงร่างการวางแผนที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จและสิ่งที่เราต้องการได้ ซึ่งในหนังสือจะพูดถึงแผนทั้ง 7 ประการ คือ

1. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
2. ตั้งเป้าหมายทั้งรูปธรรมและนามประธรรม
3. พิจารณาให้รู้ถึงอุปสรรคและปัญหา แล้วหลีกเลี่ยง แก้ไข หรือกำจัดให้พ้นเส้นทาง
4. ใช้ความคิดริเริ่มและจิตนาการ
5. วัดตำแหน่งที่เราอยู่ในขณะนี้โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย และวัดความก้าวหน้าโดยอาศัยเกณฑ์การวัดที่เหมาะสม
6. กำหนดวันที่จะต้องบรรลุเป้าหมายแต่ละขั้นให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงและสมเหตุสมผล
7. วาดมโนภาพว่าจะได้รับอะไรรางวัลหากทำได้ตามเป้าหมาย


1.ตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

เป้าหมายระยะยาวควรจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ส่วนเป้าหมายระยะสั้นจะเป็นชัยชนะเล็กๆน้อยๆเป็นคล้ายหลักบอกระยะทางสู้เป้าหมายระยะยาว
โดยจะยกตัวอย่างจากในหนังสือ จะเป็นเรื่องของอีโมยีน เดวิส เจ้าของร้านออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าสุภาพสตรี ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวที่อีโมยีน เดวิส ไว้
“อีโมยีน เดวิส เริ่มทำงานในแผนกเสื้อผ้าสตรีของห้างสรรพสินค้าแห้งหนึ่ง อีโมยีน เดวิส เป็นแค่พนักงานขาย แต่การเป็นแค่พนักงานขายก็ไม่ใช่สิ่งที่อีโมยีน เดวิส ต้องการไปตลอดชีวิต ดังนั้นอีโมยีน เดวิส จึงได้ตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวขึ้นมา
เป้าหมายระยะสั้นของอีโมยีน เดวิส ก็คือ
1. เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในงานที่ทำและทำให้ดีกว่าคนอื่นๆ
2. เป็นผู้จัดการแผนก
3. เป็นคนจัดซื้อเครื่องแต่งกายของผู้หญิงทุกชิ้นที่อยู่ในร้าน
4. เก็บเงินจากเงินเดือนให้เพียงพอที่ธนาคารยินดีร่วมหุ้นเพื่อเปิดร้านของตัวเองได้
นี่เป็นการตั้งเป้าหมายระยะสั้นของอีโมยีน เดวิส ที่เพิ่มระยะทีละน้อยเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งเป้าหมายไว้ จนในที่สุดอีโมยีน เดวิส ก็มาถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้คือมีร้านขายเสื้อผ้าเป็นของตนเองและเธอก็ต้องการที่จะขยายสาขาออกไปอีก”
วิธีการ 4 ข้อที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จเหมือนอีโมยีน เดวิส
1.เรียนรู้เกี่ยวกับงานที่กำลังทำอยู่ให้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสามารถจะเรียนรู้ได้ มันจะทำให้เรารู้มากกว่าคนอื่น
2.ใช้ความรู้ที่เราเรียนรู้มาเป็นสิ่งผลักดันสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และทำตามข้อที่ 1 ซ้ำอีก
3.เก็บเงินจากรายได้ที่ได้รับให้เพียงพอเพื่อที่จะสามารถเปิดกิจการของเราเองได้
4.หาทำเลและซื้อกิจการเป็นของตนเอง หรือตั้งกิจการใหม่ขึ้นมาก็ได้ที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายข้อสุดท้ายที่เราต้องไว้ หรือทำให้พึงพอใจในเป้าหมายสุดท้ายที่ตั้งไว้

2.การตั้งเป้าหมายเป็นรูปธรรมนามธรรม

การที่เราจะตั้งเป้าหมายเป็นรูปธรรมนั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก อย่าตั้งเป้าหมายเป็นรูปธรรมหรือเป็นวัตถุเพียงข้อเดียว คนส่วนใหญ่มักจะกำหนดเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมเพื่อประกาศถึงความประสบผลสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น บ้าน รถ ฯลฯ และเราอาจกำหนดเป้าหมายให้เป็นนามธรรมให้เป็นลักษณะคล้ายรูปธรรมก็ได้ แต่ไม่ได้กำหนดให้เป็นวัตถุหรือไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุ ซึ่งเป้าหมายทั้งนามธรรมและรูปธรรมมักจะเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ เช่น ความมุมานะเพื่อความสำเร็จจะนำมาซึ่งความพึงพอใจของตนเอง ขอยกตัวอย่างจากในหนังสือซึ่งเกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปของนามธรรมและรูปธรรม เป็นแผนสู่ความสำเร็จล้านเหรียญของพอล เมเยอร์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธาน Success Motivation Institute of Waco ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1. ทำความคิดให้เป็นรูปร่าง

กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ลังเลในเป้าหมายหรือสิ่งที่ทำ ต้องมีความเชื่อมั่นและแนวแน่ มีความกระตือรือร้นแบบนักสู้

2. วางแผนขั้นตอนที่จะไปให้ถึงเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

วางแผนความก้าวหน้าอย่างระมัดระวัง ชั่วโมงต่อชั่วโมง วันต่อวัน กิจกรรมที่มีการวางรูปแบบและการกระทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายจะเป็นดั่งรากฐานที่มั่นคงแข็งแรง

3.จุดไฟปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ

ความปรารถนาที่ร้อนแรงเป็นตัวกระตุ้นการกระทำของมนุษย์ที่ดีที่สุด ความปรารถนาที่จะได้รับความสำเร็จก่อให้เกิดจิตสำนึกแห่งความสำเร็จ ซึ่งจิตสำนึกนี้จะก่อให้เกิดความเคยชินต่อความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา

4.สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและความสามารถของตนเอง

ลงมือทำทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ในใจ โฟกัสที่จุดแข็งของตัวเอง อย่าไปสนใจจุดอ่อน และอย่าไปกังวลแต่กับปัญหา

5. มุ่งมั่นปฏิบัติตามแผน

การกระทำเช่นนี้จะต้องไม่ใส่ใจต่ออุปสรรคหรือสิ่งที่คนอื่นพูด คิด และทำโดยเด็ดขาด มุ่งเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ลดละ คนที่มัวแต่รอจะไม่พบโอกาส คนที่กล้าลงมือเท่านั้นจะได้รับโอกาส
แผนทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแผนที่ทำให้พอล เมเยอร์ ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นความสามารถของตัวเขาเอง ผู้อ่านสามารถที่จะนำไปใช้หรือเป็นการประยุกต์ใช้ได้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆได้

3. พิจารณาให้รู้ถึงอุปสรรคและปัญหา แล้วหลีกเลี่ยงแก้ไขหรือกำจัดให้พ้นทาง

ถ้าเราต้องการที่จะมีอิทธิพลเหนือคนอื่น ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่จะทำให้เราก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ แก้ปัญหาทั้งที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยเพราะหากเราปล่อยไว้นานปัญหาเพียงเล็กน้อยก็อาจจะลุกลามเป็นปัญหาที่ใหญ่ได้ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นการแก้ปัญหาก็จะเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น ในการแก้ปัญหาเราสามารถนำประสบการณ์ที่ผ่ามาหรือที่เราเคยเจอมาเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากขึ้น เราต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งเราจะมีวิธีการแก้ปัญหา ดังนี้
1.รู้ปัญหา
ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร สถานการณ์ใดที่เป็นอุปสรรคในการไปถึงเป้าหมายหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ของเรา เราต้องหาปัญหาและกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน เราต้องทราบข้อมูลที่ชัดเจน แล้วรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด
2. ประเมินสถานการณ์ โดย
2.1 หาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะค้นหาสาเหตุที่แน่ชัดของปัญหาเท่าที่จะเป็นไปได้เราควรตอบคำถาม 5 ข้อดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เกี่ยวข้องคือใคร
- สถานการณ์ที่ชัดเจนและเงื่อนไขต่างๆคืออะไร
- ปัญหาเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อไหร่
- ปัญหาอยู่ที่ไหน
- เกิดขึ้นได้อย่างไร
2.2 หาวิธีแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้ทุกกรณี หลังจากที่เราหาสาเหตุได้แล้ว พร้อมที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาที่พอจะเป็นไปได้ อย่ามองข้ามวิธีแก้ปัญหาที่เหมือนจะดุว่าไม่มีเหตุผล เพราะมันอาจจะเป็นความคิดที่มีค่าต่อการแก้ปัญหาในวันข้างหน้า ยิ่งมีวิธีแก้ปัญหามากเท่าไหร่ เราก็จะหาวิธีแก้ปัญหาได้จริงและเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้นมากเท่านั้น
2.3 ประเมินวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ เป็นการประเมินความเป็นไปได้ของวิธีแก้ปัญหา แต่ก่อนที่เราจะประเมินเราควรชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียก่อนเพื่อประหยัดเวลา
2.4 เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด วิธีแก้ปัญหาที่เลือกนั้นอาจจะเป็นการผสมผสานวิธีแก้ปัญหาที่มีการเสนอแนะวิธีแก้มาสองวิธี นำมารวมกันให้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด
3.ดำเนินการอย่างเหมาะสม
เป็นการนำวีการแก้ปัญหาที่เลือกไว้มาปฏิบัติให้เกิดผล เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับบุคลิกหรือวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้แก้ปัญหา การดำเนินการที่เหมาะสมคือ ออกคำสั่งที่จำเป็น แล้วควบคลุมการปฏิบัติให้สอดคล้องกับคำสั่งนั้น
4. ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ
ในการแก้ปัญหาเราควรมีความคิดริเริ่มและจินตนาการ กล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ บางทีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องมาจากตัวของผู้แก้ปัญหาเพียงคนเดียว สามารถที่จะมาจากความคิดของใครหลายๆคนที่มีความคิดริเริ่มจินตนาการ เพียงแต่ว่าเราจะสามารถใช้คนหรือหาผู้ช่วยเราได้ดีเพียงใด

5. วัดตำแหน่งที่เราอยู่ในขณะนี้

ดูว่าตอนนี้เราอยู่ที่ตรงส่วนไหนของเป้าหมายแล้ว มีความก้าวหน้ามากเพียงใด คือดูว่าระยะห่างเป้าหมายและตัวเราที่ยืนอยู่ตอนนี้ห่างไกลกันมากแค่ไหน สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเราควรจะทำอะไรต่อไปรู้ว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ที่ไหน

6. กำหนดวันถึงเป้าหมาย

เป็นการกำหนดระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายและขั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่ใครหลายๆคนไม่ได้ทำหรือมีความลังเลที่จะกำหนดวันเวลาอย่างชัดเจน เพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้น การกำหนดระยะเวลาควรเป็นการกำหนดที่สมเหตุสมผลเป็นไปในหลักความเป็นจริง และคิดว่าเราเองจะสามารถปฏิบัติได้

7. วาดภาพรางวัลในใจ

เป็นการจินตนาการหรือวาดภาพรางวัลที่เราต้องการจะได้รับเมื่อประสบผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ รางวัลจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเกิดความพยายามหรือเป็นแรงจูงใจที่ดี

บทที่4 วิธีสั่งงานแบบง่ายๆแต่ได้ผล

ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จเราต้องอาศัยหรือทำงานผ่านคนอื่น ดังนั้นเราต้องมีวิธีการออกคำสั่งที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย หลังจากนั้นต้องติดตามดูว่าผู้รับคำสั่งนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงตามคำสั่งหรือไม่ สิ่งที่เราจะได้รับจากวิธีสั่งงานแบบง่ายๆ คือ

  1. จูงใจคนอื่นได้
    เราจะจูงใจคนให้ทำงานดีที่สุดได้ถ้าเรารู้ว่างานของเขาคืออะไร เราต้องการที่จะให้เขาทำอะไร ผลลัพธ์ที่เราต้องการคืออะไร การที่คนบางคนทำงานตามที่เจ้านายต้องการหรือสั่งไม่ได้นั้นไม่ใช่เพราะเขามีความสามารถน้อยหรือมีเจตนาอื่นแอบแฝง แต่อาจจะเป็นเพราะการออกคำสั่งของเราเองที่ไม่ชัดเจน กระชับ และสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจยาก ทำให้ผู้รับคำสั่งไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไรกันแน่
  2. ได้รับการตอบสนอง
    คนที่เป็นคนรับคำสั่งของเราจะตอบสนองต่อคำสั่งได้อย่างรวดเร็วหากเราสั่งการได้อย่างถูกต้อง หรือออกคำสั่งได้อย่างเหมาะสมสามารถเข้าใจได้ง่าย แค่เราบอกให้เขารู้ว่าเราต้องการอะไรเพียงเท่านั้นก็เพียงพอ
  3. ใช้เวลาไปเน้นกับผลลัพธ์เท่านั้น
    ถ้าเราสั่งงานอย่างถูกต้องเหมาะสมเข้าใจง่ายชัดเจน ตรงประเด็น เราก็จะเฝ้ารอแค่ผลลัพธ์อย่างเดียวโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปยุ่งอะไรมากกับวิธีการทำงานของคนที่รับคำสั่งจากเรา เราจะสามารถจูงใจคนได้ดีที่สุดถ้าเน้นที่ความสามารถของเขา เปิดโอกาสให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการมีความคิดริเริ่มในงานที่ทำ แล้วเราจะได้ผลงานที่ออกมาดีตามที่เราต้องการ
  4. มอบอำนาจและกำกับดูแลได้
    บางที่เราก็ควรที่จะปล่อยให้ผู้รับคำสั่งเป็นผู้กำกับดูแลตัวของเขาเอง เพราะบางคนก็ไม่ชอบที่จะให้ใครมาจู้จี้จุกจิกมากเกินไป การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมจะทำให้ลูกน้องทำงานตามวิธีของเขาเองได้ การกำกับดูแลที่ไม่เหมาะสมจะเป็นเสมือนว่าเราไปบังคับให้เขาทำงานมากกว่า หากเรากำกับดูแลมากเกินไปเขาอาจรู้สึกว่าขาดความอิสระในการปฏิบัติงาน เหมือนมีการจับผิดตลอดเวลาความคิดสร้างสรรค์และวิธีการทำงานที่ดีก็จะไม่เกิด ผลของการทำงานก็ออกมาไร้ประสิทธิภาพ
  5. การวางแผนและออกคำสั่งง่ายๆ คือ ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ
    เป็นการวางแผนที่เน้นความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเน้นให้เกิดความง่ายต่อการเข้าใจ โดยที่ทุกคนสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าเขาต้องทำอะไร หลีกเลี่ยงความซับซ้อนในการมอบหมายงาน แผนแบบนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจง่าย ลดโอกาสความผิดพลาด และมีความคล่องตัว

วิธีการที่เราสามารถที่จะนำไปใช้ได้

  1. ต้องแน่ใจว่าจำเป็นต้องสั่งงานจริงๆ
    ถ้าเราเป็นผู้บังคับบัญชา อย่าออกคำสั่งเพียงเพราะว่าต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ว่าเราคือใครอย่าบ้าอำนาจ หรืออย่าออกคำสั่งโดยไม่จำเป็น ผู้บริหารบางคนก็แสดงความบ้าอำนาจออกมาเพียงเพื่อต้องการที่จะเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาหวาดกลัว ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เราจะเห็นได้มากในหน่วยงานของทหาร
    วิธีการตรวจสอบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องออกคำสั่งหรือไม่ คำสั่งจะจำเป็นต้องใช้เฉพาะในสถานการณ์พิเศษ 4 อย่างต่อไปนี้
    - เพื่อเริ่มปฏิบัติงาน
    - เพื่อแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขความผิดพลาดในการทำงาน
    - เพื่อเร่งหรือชะลอการทำงาน
    - เพื่อหยุดการทำงาน
  2. ต้องรู้ว่าผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไรกันแน่
    เราควรเน้นที่ผลลัพธ์ไม่ใช่วิธีทำ ต้องรู้ความต้องการของตนเองก่อนว่าต้องการอะไรเราถึงจะไปออกคำสั่งให้คนอื่นทำอะไร ไม่จำเป็นว่าเราต้องรู้วิธีการปฏิบัติงานแต่คนที่รับคำสั่งนั้นต้องหาวิธีการปฏิบัติงานเองหรือทำงานด้วยความสามารถของตนเอง แต่การออกคำสั่งของเราก็ต้องดูความเป็นจริงด้วยตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล วิธีที่ดีที่สุดในการกำหนดผลลัพธ์คือการวางแผนย้อนหลัง
  3. ออกคำสั่งที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
    คำสั่งไม่จำเป็นต้องเป็นวาจาหรือคำพูดนั้นก็ได้ อาจจะเป็นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทางเลือกจะอยู่ที่ว่างานที่ทำนั้นคืออะไร สลับซับซ้อนมากแค่ไหน ถ้าพนักงานมีจำนวนมากและกำหนดการแล้วเสร็จของงานมีมาก เราจำเป็นต้องหมุดบันทึกว่าใครทำอะไร เมื่อไหร่ ได้รับมอบหมายอะไรบ้าง การที่จะออกคำสั่งให้เข้าใจง่ายมีหลักการดังต่อไปนี้
    3.1 ร่างคำสั่งให้กระชับ
    3.2 ใช้คำสั่งง่ายๆ
    3.3 เน้นประเด็นเดียว
    3.4 ถ้าเป็นคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือให้ใช้สำนวนที่เป็นสำนวนของตัวเอง ไม่เคร่งครัดเรื่องของไวยากรณ์มากนัก
  4. แปลงคำสั่งออกมาในรูปของการชี้แนะหรือคำร้องขอ
    ผลที่ได้จากคำสั่งถ้าเป็นคำแนะนำจะดีกว่าโดยปกติแล้วคนทั่วไปมักจะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำสั่งมากนัก หรือบางคนก็ไม่ชอบที่จะให้ใครมาสั่ง ดังนั้นเราก็ควรใช้การชี้แนะหรือคำร้องขอมากกว่า
  5. ตรวจสอบความเข้าใจ
    เมื่อมีการออกคำสั่งไปแล้วเราก็ควรที่จะมีการตรวจสอบความเข้าใจของผู้รับคำสั่งไป โดยเราอาจจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
    - ให้ผู้รับคำสั่งทวนคำสั่งปากเปล่า
    - ตั้งคำถามเพื่อดูว่าเขาเข้าใจในสิ่งที่เราสั่งไปหรือไม่
  6. ตรวจสอบความก้าวหน้า
    เมื่อเราออกคำสั่งให้พนักงานปฏิบัติตามแล้ว เราก็ควรจะตรวจสอบความก้าวหน้าว่างานที่สั่งไปมีความก้าวหน้าหรือไปถึงจุดใดแล้ว เผื่อพนักงานบางคนต้องการคำแนะนำเพื่อเติมหรือเราสามารถที่จะให้คำแนะนำกับพนักงานเกี่ยวกับงานที่ทำเพิ่มเติม
  7. เสนอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
    เมื่อพนักงานเกิดปัญหาที่เขาไม่สามารถที่จะแก้ไขได้จริงๆ เราในฐานนะผู้บังคับบัญชาก็สามารถที่จะให้คำแนะนำเล็กน้อยๆ ไม่ใช่ลงไปช่วยแก้ปัญหาเพราะจะทำให้พนักงานไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเมื่อยามเกิดปัญหาพนักงานก็จะไม่คิดหรือหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

บทที่ 5 วิธีเป็นผู้เริ่มต้นด้วยตนเอง

แผนงานดีๆก็จะไม่มีประโยชน์อะไรหากเราไม่ลงมือทำในเวลาที่เหมาะสม แผนการต่างๆมาแล้ว และคนที่จะลงมือทำจริงก็คือตัวของเราเอง
การเริ่มต้นด้วยตนเองมีทั้งหมด 33 วิธี คือ

1.กำหนดเป้าหมายของเราเอง อย่าเสียเวลาและพลังงานของเราเองโดยเปล่าประโยชน์ เพียงเพราะว่าไม่แน่ใจว่าจะทำอะไรและอยากจะเดินไปในทิศทางไหน กำหนดให้รู้ว่าตัวเราเองต้องการที่จะเดินไปในทิศทางไหน หรือกำลังจะไปทางไหนแล้วเราจะสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2.ทำบัญชีรายการงานที่ต้องทำให้เสร็จ ให้ครบทุกรายการ ทำรายการเหมือนกับที่เราจะไปจ่ายตลาด จากนั้นก็ขีดฆ่างานที่คุณกำลังทำอยู่ทิ้ง วิธีนี้จะทำให้เราพอใจที่ได้ทำงานส่วนหนึ่งเสร็จไปแล้ว ความสนใจของเราจะมุ่งไปสู่เรื่องต่อไปโดยอัตโนมัติ
3.วางงานที่ต้องทำให้เสร็จไว้ตรงหน้า เวลาที่มีงานที่น่าเบื่อที่ตัวเราไม่อยากจะทำขึ้นมา มันง่ายที่จัดซ่อนงานไว้ใต้ง่ายอื่นๆ เป้าหมายตรงนี้ของเราควรจะเป็นมาก่อนทำก่อน
4.ตั้งสมาธิในเรื่องสำคัญ ในการทำเรื่องที่สำคัญเราควรมีสมาธิ จิตใจควรที่จะจดจ่อในงานที่กำลังทำอยู่จนกว่างานที่ทำจะเสร็จสมบูรณ์ แล้วค่อยหยิบงานชิ้นอื่นขึ้นมาทำ
5.จูงใจตัวเองด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับอยู่เสมอ ถ้าอยากกระตุ้นตนเองให้ทำงานี่น่าเบื่อก็ต้องหาวิธีดึงดูดตัวเองนึกถึงรางวัลหรือผลตอบแทนที่เราจะได้รับเมื่อเสร็จงานหรือประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่มีผลตอบแทนใดๆ ก็แสดงว่าเราได้ข้อมูลมาผิดหรือไม่ก็กำลังผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้
6.แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ เวลาที่มีงานใหญ่ต้องทำบางคนชอบที่จะรีรอจะชอบผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนกว่าใกล้จะถึงกำหนดจริงๆ ถ้าเรามีงานชิ้นใหญ่ที่ต้องทำก็ให้แบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ ที่ชวนให้ลงมือทำแล้วก็ค่อยๆงานชิ้นเล็กที่แบ่งไว้ให้เสร็จไปทีละอัน จนในที่สุดงานชิ้นใหญ่ที่เราไม่อยากทำก็จะเสร็จได้
7.วางแผนทีละขั้นโดยใช้วิธีการเขียน ผลที่เกิดจากการวางแผนจากการเขียนลงบนกระดาษ ความคิดที่คลุมเครือไม่ชัดเจนจะเปลี่ยนเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเมื่อถูกเขียนลงในกระดาษ
8.ทำแผนเผื่อเลือกไว้บ้าง มีการทำแผนไว้สำรองอีกแผนหนึ่งเผื่อว่าแผนที่เราเลือกและคิดว่าดีที่สุดจะเกิดปัญหา ล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จ
9.ตัดสินใจ อย่ากลัวและลังเลในการตัดสินใจ อย่ากลัวความผิดพลาดจนไม่กล้าลงมือทำ
10.กล้าทำ เมื่อเราทำผิดพลาดหรือเกิดความล้มเหลวมาแล้วครั้งหนึ่งทำให้เรานั้นไม่กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่ และไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัวว่าหากเริ่มทำใหม่อีกครั้งเพราะกลัวว่าจะเกิดความล้มเหลวเหมือนที่ผ่านมา เราควรถือว่าความผิดพลาดที่ผ่านมาเป็นบทเรียนแล้วเริ่มต้นใหม่กล้าคิดกล้าทำ
11.หาเหตุผลที่ไม่กล้าลงมือทำ โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้ ที่คิดว่าเราทำไม่ได้นั้นจริงหรือ ที่คิดว่าผลลัพธ์ไม่คุ้มค่ากับพยายามนั้นจริงหรือ ถ้าไม่สามารถกระตุ้นให้ตนเองทำงานนั้นได้ มันก็เป็นไปได้ทั้งสองกรณี ตรวจพิสูจน์ดูว่าข้อใดไม่จริง แล้วลงมือแก้ไข
12.จับปัญหาลงบนกระดาษ ถ้าเราคิดวิธีการแก้ปัญหาได้แล้ว ก็ให้เราเขียนลงบนแผ่นกระดาษเขียนลงให้เห็นปัญหาว่ามีปัญหาใดที่น่าจะเกิดขึ้นบ้าง รู้ปัญหาโดยคร่าวๆและสามารถเลือกปัญหาที่จะนำมาแก้ได้อย่างถูกต้อง
13.ใช้พลังงานของคุณเพื่อการทำงาน ไม่ใช่เพื่อความกังวล การลงมือแก้ปัญหาจะทำให้จิตใจปลอดโปร่ง จงขจัดความกังวลออกจากจิตใจของเรา ทุ่มเทความรู้ความสามารถลงในงานให้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
14.อย่ามัวรอแต่แรงบันดาลใจ คนส่วนมากจะชอบรอให้อารมณ์ดีก่อนหรือมีอารมณ์ในการทำงานก่อนถึงจะลงมือทำได้ ถ้าเราต้องรอแรงบันดาลใจโอกาสก็คือเราจะไม่ได้รับแรงบันดาลใจใดเลยที่จะไปทำงานนั้น ในหนังสือกล่าวว่า “ความคิดที่ประสบความสำเร็จประกอบด้วยแรงบันดาลใจเพียงแค่ 2% และความเหนื่อยยากอีก 98%”
15.เรียนรู้จากคนอื่น การที่เราจะรู้ว่าตนเองเรียนรู้จากคนอื่นได้หรือไม่นั้นสามารถสังเกตได้ไม่ยาก แต่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะยืนกรานเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองซึ่งนั่นถือเป็นวิธีที่ยากที่สุด เราไม่ได้เรียนรู้เฉพาะในหนังสือเราสามารถเรียนรู้และสังเกตได้จากคนอื่นแล้วเก็บมาคิดมาประยุกต์เป็นบทเรียน หรือแนวทางการปฏิบัติได้
16.สร้างระบบเตือนตนเอง การที่จะตรวจสอบตนเองเมื่อเราทำงานเสร็จแล้วนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เราควรมีการสำรวจตนเองอยู่เสมอ การสำรวจตนเองก็เป็นการเตือนตนเองอีกทางหนึ่งเพื่อที่จะให้เรารู้ว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ และสิ่งที่เราทำไปมีผลเป็นอย่างไร
17.กำหนดเส้นตาย นอกจากวิธีการเตือนตนเองแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่เป็นการผูกมัดตนเองที่ดีก็คือ การกำหนดขอบเขตเวลาที่แน่นอนที่ต้องทำงานให้เสร็จ เวลาที่เรากำหนดเป็นเส้นตายเราควรกำหนดให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและยึดมั่นอย่างเคร่งครัด
18.สร้างนิสัยจดบันทึก หัดสร้างนิสัยของตนเองให้เป็นคนชอบจดบันทึก การจดบันทึกเป็นการเตือนความจำที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะบางทีสมองของคนเราไม่สามารถที่จะจดจำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
19.ยืนยันกับตัวเองว่าได้เริ่มต้นแล้ว เราคงเคยมีความรู้สึกสองแบบคือ เชื่อมั่นสิเพราะลงมือทำแล้วกับไม่ค่อยเชื่อมั่นเท่าไหร่เพราะยังไม่ลงมือทำเลย เราสามารถที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของตนเองได้โดยการลงมือทำ เพราะมือเราลงมือทำความเชื่อมั่นก็จะเพิ่มขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
20.ป้องกันการลืมความผิดพลาด จากการวิจัยจะพบว่าคนส่วนใหญ่มักหลงลืมประสบการณ์ที่ไม่สบายใจได้เร็วกว่าประสบการณ์ที่ทำให้สบายใจเพราะคนทั่วไปส่วนใหญ่เลือกที่จะจดจำแต่สิ่งที่ดีๆมากกว่า เราตัดปัญหาในการลืมแบบนี้ได้ถ้า
- วางแผนที่เหมาะสมเป็นรูปธรรม และชัดเจน
- กำหนดเส้นตายเวลาที่งานต้องเสร็จ
- ตั้งระบบตรวจสอบตนเอง
- จดบันทึกสิ่งที่เราทำอยู่เสมอ
- วิเคราะห์บันทึกเพื่อแก้ไขความผิดพลาด

21.เริ่มต้นแต่ละวันด้วยความรู้สึกสดชื่น ถ้าเรามีความรู้สึกสดชื่นในตอนเช้าเป็นประจำ ก็เป็นเวลาที่ดีที่จะลุยงาน บางคนตื่นขึ้นมาตอนเช้ารู้สึกไม่ดีไม่สดชื่นวันทั้งวันในการทำงานก็จะดูน่าเบื่อไปหมด หากเป็นเช่นนี้เราควรเริ่มงานที่จะไม่ทำให้เราหงุดหงิดดีกว่าแล้วค่อยๆปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
22.แยกการวางแผนกับเป้าหมายให้ชัดเจน แผนเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นมาเพื่อที่จะปฏิบัติให้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เราควรที่จะแยกและทำความเข้าใจระว่างคำสองคำนี้ให้ชัดเจน
23.รู้กับทำแตกต่างกัน เมื่อรู้เฉยๆก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรหากความรู้ที่เรารู้นั้นไม่ได้นำมาปฏิบัติ หรือลงมือทำ ๆ ไม่ได้สร้างความรู้นั้นให้เป็นเป็นรูปธรรมขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมีความรู้แล้วเราควรที่จะลงมือปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย
24.ฝึกการใช้เวลา คนทั่วไปมักเสียเวลากับเรื่องเพียงเล็กๆน้อยๆ เพราะความใจอ่อน ชอบช่วยเหลือจนลืมเห็นหรือนึกถึงเวลาของตนเอง ดังนั้นเราควรบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดเวลาที่ผ่านไปแล้วเราไม่สามารถที่จะเรียกคืนมาได้ หรือไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปได้
25.ใช้เวลาทุกนาทีให้คุ้มค่า เราสามารถเพิ่มเวลาที่เป็นประโยชน์ต่องานได้ หากเราใช้เวลาทุกนาทีอย่างคุ้มค่าที่สุด
26.ทำกิจวัตรประจำวันก่อน หากเรามีการวางแผนชีวิตประจำวันไว้เราก็จะประหยัดเวลาสามารถบริหารเวลาได้อย่างคุ้มค่า ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้นมีการเตรียมความพร้อม ไม่ต้องคอยหงุดหงิดกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เช่น การหงุดหงิดกับการหากุญแจไม่เจอ อารมณ์เสียเพราะลืมของ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อการทำงานทั้งสิ้น
27.ฝึกพูดคำว่าไม่ บางครั้งเราก็ต้องหัดที่จะปฏิเสธในสิ่งที่เราไม่อยากที่จะทำบ้าง การเกรงใจและฝืนใจทำก็อาจทำให้เราอึดอัดได้เหมือนกัน และสิ่งที่ทำก็จะออกมาไม่ดีเพราะสิ่งที่เราทำแท้ที่จริงแล้วเราไม่ได้เต็มใจที่จะทำ
28.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์กับเรื่องไร้สาระ ควรใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารในเรื่องที่จำเป็นหรือเกี่ยวกับธุรกิจมากกว่าที่เราจะมาเสียเวลากับเรื่องที่ไร้สาระ หรือเมื่อเราจะกดโทรศัพท์เพื่อติดต่องานก็ควรมีการวางแผนหรือคิดก่อนว่าเรื่องที่เราต้องการจะพูดมีอะไรบ้าง หรือต้องการที่พูดกับใครเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
29.ห้ามรบกวนเวลาทำงาน หากมีบุคคลหรือเพื่อนร่วมงานคุยในที่ทำงานซึ่งเป็นการรบกวนเวลาทำงานของเรา เราก็สามารถที่จะแสดงให้เขารู้ว่าเราต้องการใช้เวลากับงานหรือใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด
30.ฟัง เราสามารถที่จะป้องกันการเข้าใจผิดได้โดยการตั้งใจฟังเพราะการฟังถือว่าเป็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอีกทางหนึ่งก่อนที่เราจะลงมือทำการใด เมื่อฟังแล้วไม่รู้เรื่องตรงไหนหรือมีข้อสงสัยอะไรก็ให้ถาม ไม่ควรเก็บข้อสงสัยนั้นไว้คนเดียว
31.ทำทันที การผัดวันประกันพรุ่งเป็นนิสัยธรรมชาติของมนุษย์ หากเรารู้ว่ามีงานเราก็ควรที่จะทำทันที หากเราสามารถกำจัดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งของเราได้ก็เป็นการกำจัดอุปสรรคที่จะขัดขวางการไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จของเราได้
32.ทำให้ถูกต้องเสียตั้งแต่แรก หากเราทำทุกสิ่งทุกอย่างหรือตัดสินใจถูกต้องแต่แรกเราก็ไม่เสียเวลาที่จะกลับมาเริ่มใหม่ และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย จะทำให้เราเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้
33.ทำเพียงครั้งเดียว เช่น การวางแผนเกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการวางแผนเพียงครั้งเดียวแต่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ตลอด ไม่ต้องเสียเวลาในการวางแผนซ้ำแล้วซ้ำอีก

บทที่ 6 การกำกับดูแล

วิธีที่ใช้ควบคลุมคนได้ไม่ว่าเขาจะเป็นใครหรือทำอะไร วิธีนี้เป็นที่รู้จักกันที่ดีที่สุด นั่นก็คืองาน เราจะสามารถกำกับดูแลคนได้ง่ายขึ้น ถ้าใช้งานเป็นตัวควบคุมแทนที่จะควบคุมตัวบุคคลโดยตรง บางคนก็ใช้เงินเข้ามาช่วยในการควบคุมคนนำเงินมาเป็นปัจจัยในการจูงใจให้คนทำในสิ่งที่เราต้องการ แต่ในไม่ช้าก็จะพ่ายแพ้ต่อกฎที่ว่า ผลตอบแทนลดน้อยถอยลง
ถ้าเราใช้งานเป็นตัวควบคุมแทนการใช้กฎระเบียบ ลูกน้องจะมีความกระตือรือร้นทำอย่างที่เราต้องการให้เขาทำ แต่ไม่ใช่ว่าเราจะใช้งานควบคุมอย่างเดียวโดยที่เราไม่มีการกำกับดูแลเลย คนที่มีงานยุ่งหรืองานสำคัญต้องทำจะไม่ก่อปัญหาเพราะไม่มีเวลาที่จะไปสร้างปัญหา หากลูกน้องมีใจจดจ่ออยู่กับงานเราก็ไม่ต้องเสียเวลามากในการไปควบคุมดูแลหรือไปกำกับจำจี้จ้ำไช หลักการปฏิบัติตามคือ ใช้งานควบคุมคน อย่าควบคุมคนให้ทำงาน
ในบทนี้จะมีวิธีการกำกับดูแลอยู่ 5 วิธี คือ

1.มอบงานที่ระบุชัดเจนแก่ทุกคน ให้คนจดจ่ออยู่กับงาน
การที่เรามอบหมายงานที่มีความท้าทาย หรือมีคุณค่าให้ผู้ได้รับมอบหมายทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานไม่มีเวลาว่างที่จะไปทำเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ หรือเป็นการลดนิสัยที่ชอบหนีงานหรือไม่ทำงานแทนที่เราจะมาคอยควบคุมเองเราก็ใช้งานในการควบคุมเขาแทน
2.จัดระบบคนทำงานโดยอาศัยช่วงการควบคุมเป็นหลัก
ในการปฏิบัติงานต้องมีคนหนึ่งที่เป็นคนรับผิดชอบหรือเป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ คนคนนั้นจะต้องัดระบบงานให้ดีไม่ว่างานนั้นจะมีการแบ่งย่อยหรือมีความซับซ้อนมากเพียงใด การจัดระบบช่วงการควบคุมจะมีผลกระทบต่องานอย่างชัดเจน
หลักการจัดระบบงานเพื่อควบคุมคน
- มีเหตุปัจจัยที่สมควร การจัดตั้งหน่วยงานทุกหน่วยงานต้องมีปัจจัยที่จำเป็นต่อภารกิจของเรา ถ้าส่วนงานใดไม่จำเป็นต่อการทำงานก็ให้ยกเลิก
- ในแต่ละส่วนงานที่จัดต้องขึ้นควรมีจุดประสงค์ในการทำภารกิจที่เหมาะสมไม่ซ้ำกับงานของส่วนอื่น
- การวางรูปแบบขององค์กรต้องวางให้เกิดความคล่องตัวการทำงานไม่หยุดชะงัก ถึงแม้ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของงาน
- จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.จัดช่วงการควบคุมให้เหมาะสม
ช่วงการควบคุม คือ จำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงที่คนคนหนึ่งสามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการจัดจำนวนคนให้เหมาะสมผู้บังคับบัญชาสามารถดูแล สั่งการได้อย่างทั่วถึง
4.กระจายอำนาจ
การมอบอำนาจไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ การมอบงานให้ผู้อื่นเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสึกของผู้ที่ครอบครองอำนาจ เราควรมีการกระจายอำนาจถ้าหารเราไม่ยอมมอบหมายงานและอำนาจ เราก็จะต้องทำงานนั้นทั้งหมดด้วยตัวเอง
5.ทำตัวเป็นผู้นำ
การที่เราจะครองใจคนอื่นได้เราต้องเป็นผู้นำ การที่เราจะเป็นผู้นำก็ต้องมีคุณลักษณะต่างๆมากมาย เราจะต้องมีคุณลักษณะ 5 ประการถ้าเราต้องการที่จะเป็นผู้นำและควบคุมคนอื่น
- บารมี
มีความสามารถที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตามและกระตือรือร้นที่จะทำตาม เป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในจิตใจ ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีจึงจะเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของคนอื่น ต้องเป็นคนไม่โกหก ไม่คดโกง ไม่ว่าจะมีผลประโยชน์มหาศาลมาล่อใจก็ตาม
- ความกล้าในการตัดสินใจ
ต้องเป็นคนที่ไม่ลังเลในการตัดสินใจ แต่การตัดสินใจก็ต้องอยู่บนหลักของความเป็นจริงด้วย พร้อมทั้งต้องรับฟังความเห็นของคนอื่น
- เชาว์ปัญญาด้านการวางแผนและสั่งการ
เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องกำหนดแผนการที่จะทำให้งานลุล่วง แผนการที่คิดขึ้นจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ต้องกำหนดงานให้ผู้รับผิดชอบรู้อย่างชัดเจน และสามารถที่จะสั่งการให้คนปฏิบัติตามแผนที่วางไว้เป็นรู้จักสั่งคน
- ความกล้าที่จะลงมือปฏิบัติ
เมื่อตัดสินใจและวางแผนการปฏิบัติแล้วสิ่งต่อไปคือการลงมือทำ มีหลายคนที่ไม่กล้าที่จะลงมือทำเพราะเกิดความลังเลที่จะเดินหน้า กลัวอุปสรรคต่างๆที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องกล้าลงมือทำและมีความอดทนไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคขวากหนามต่างๆ
- ทักษะด้านการบริหาร
การจะเป็นผู้นำเราต้องมีฝีมือหรือความรู้ มีทักษะในเรื่องของการบริหาร เพราะการบริหารเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ผู้ที่จะเป็นผู้นำต้องมี

บทที่7 วิธีใช้การรักษาความปลอดภัยและการสร้างเซอร์ไพรส์

การรักษาความปลอดภัยนั้นครอบคลุมมาตรการทุกอย่างที่ใช้เพื่อปกปิดแผนการ เป้าหมายที่แท้จริง ความเคลื่อนไหว และการดำเนินงานของเราไว้เป็นความลับ เพื่อทำให้คู่แข่งประหลาดใจหรืองุนงงต่อการกำเนินการของเรา การใช้ระบบรักษาความปลอดภัย และการโจมตีทีเผลอยังนิยมให้กันมาจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับสมัยซุนวูอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประโยชน์ของการรักษาความปลอดภัย

1.ความลับไม่รั่วไหล ความลับของเราจะไม่รั่วไหลไปถึงมือคู่แข่ง นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะไม่เผยข่าวให้คู่แข่งรู้โดยการคุยโอ้อวด เกี่ยวกับความสำเร็จของตน
2.ถ้ามีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น คู่แข่งของเราจะไม่มีโอกาสโจมตีทีเผลอได้
วิธีปกปิดความลับและรักษาความปลอดภัย
- ให้ถือว่างานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเป็นความลับ
- อย่าถกเถียงหรือพูดเกี่ยวกับบริษัทนอกสถานที่ทำงาน แม้แต่กับบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรา
- อย่าคุยโอ้อวดความสำเร็จเกี่ยวที่กับงานให้ใครต่อใครฟัง
- อย่าให้สำนักจัดหางานหรือบุคคลภายนอกรู้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับบริษัทของเรา
- อย่าทิ้งสำเนาเอกสารหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบริษัทไว้ทั่ว
- ใส่กุญแจโต๊ะและตู้เอกสารทุกครั้งหลังเลิกงาน
- อย่าเปิดเผยโครงการจริงที่เรากำลังจะทำหรืออยู่ในขั้นที่กำลังปรับปรุง
- ดำเนินงานอยู่บนพื้นฐานของการจำเป็นต้องรู้อุดรูรั้วแหล่งข่าวทั้งหมด
กลยุทธ์ที่เราสามารถใช้เพื่อสร้างความประหลาดใจ
- การสร้างความประหลาดใจจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการปกปิดเป้าหมายที่แท้จริงและความรวดเร็วในการดำเนินการ
- การสร้างความประหลาดใจเป็นอาวุธทีมีอานุภาพและประสิทธิภาพสูง ที่สามารถใช้เพื่อชนะใจอีกฝ่ายได้
- การสร้างความประหลาดใจต้องใช้ความคิดริเริ่ม ความกล้าหาญ ความรวดเร็ว และการเก็บแผนการเป็นความลับ

บทที่8 เทใจให้เขา

การที่เทใจให้เขาอาจจะแปลได้หลายความหมาย เช่น การให้ความสนใจ การสร้างความผูกพัน การให้ความสำคัญกับผู้อื่น เพราะทุกครั้งที่เราทำดีหรือให้ความสำคัญกับผู้อื่นเขาก็จะปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เราปฏิบัติต่อเขาเช่นกัน คนทุกคนในโลกนี้ต้องการที่จะให้คนอื่นสนใจตนเองเสมอ ถ้าเราสนองความต้องการเป็นคนสำคัญให้แก่ผู้อื่นได้ ตัวเราเองก็จะได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรที่จะมั่นฝึกฝนตนเองทำให้คนที่คุณรู้จักทุกคนรู้สึกว่าตัวเขามีความสำคัญ ทำให้เป็นนิสัย ทำให้เป็นกิจวัตร
วิธีที่จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นคนสำคัญ
1.ให้ความสนใจเขาอย่างจริงจัง
วิธีเดียวที่จะทำให้เราชนะใจและมีอำนาจเหนือเพื่อนหรือคนอื่นได้ ก็คือ ให้ความสนใจเขาและปัญหาของเขาอย่างจริงใจและจริงจัง เหมือนเมื่อมีคนพูดก็ต้องมีคนฟัง คนที่ไม่สนใจผู้อื่นหรือปัญหาของผู้อื่นมักจะประสบความลำบากในชีวิต คนประเภทนี้จะล้มเหลวอยู่เสมอ
2.คิดอยู่เสมอว่าคนอื่นต้องการอะไร
เส้นทางที่จะทำให้เราเข้าไปนั่งในหัวใจคนอื่น คือ คุยกับเขาด้วยเรื่องที่เขาสนใจที่สุด วิธีนี้เป็นเหมือนกลยุทธ์ที่เราจะได้สิ่งที่เราต้องการ เราจะได้รู้ว่าตอนนี้สิ่งที่เขาต้องการคืออะไร เราจะได้รู้สิ่งที่เขาต้องการเพื่อที่เราจะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เขาต้องการมาสร้างประโยชน์ให้กับเราก็ได้
3.เรียนรู้ที่จะฟังทุกเรื่อง
หากเวลาที่คนอื่นพูดแล้วเราไม่สนใจจะเป็นวิธีที่ทำร้ายจิตใจคนพูด การหัดเรียนรู้ที่จะฟังในเรื่องที่คนอื่นพูดมันอาจจะทำให้เราได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยจากเรื่องที่เขาพูด เราไม่จำเป็นต้องเก็บเอาทุกสิ่งทุกอย่างหรือทุกคำพูดของเขาเพราะบางคนที่พูดอาจจะจะไม่ได้พูดความจริงหรือสิ่งที่เขาคิดเสมอไป เราต้องรู้จักสังเกตคำพูดน้ำเสียงหรือท่าทางของเขาเวลาพูดสังเกตว่าเขาพูดจริงหรือไม่จริง
4.มีความอดทนอดกลั้น
ไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือพูดสวนความเห็นของผู้อื่น ความอดทนอดกลั้นเป็นเรื่องของการรอคอย เพราะฉะนั้นอย่าตำหนิติเตียนใครหรือพูดสอดแทรกไม่เห็นด้วยในความคิดของผู้อื่น
5.อย่ามองคนอื่นอย่างไร้ความหมาย
มองคนอื่นเป็นคนที่สำคัญ การที่เราไม่มองคนอื่นอย่างไร้ความหมายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้คนศรัทธาเรา และทำให้เขารู้สึกว่าตนเองไม่ได้ไร้ค่า
6.สร้างความผูกพัน
การสร้างความผูกพันกับคนอื่นเป็นรากฐานเบื้องต้นของการสร้างสัมพันธภาพ เมื่อเรามีสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นมันจะทำให้เรารู้เรื่องราวของคนอื่นมากขึ้นเช่นกันและทำให้เรารู้จักคนมากมาย เกิดมีสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างเรากับผู้อื่น ซึ่งมันเป็นหัวใจของมิตรภาพและเป็นกุญแจสู่การมีอิทธิพลเหนือคนอื่น

บทที่9 ฟอลโลว์ทรู ส่งไม้ให้สุดแรงเหวี่ยง หรือการใช้ลูกติดตาม

หัวข้อนี้พอจะสรุปง่ายๆว่า อย่าหยุดเมื่อเราประสบความสำเร็จเบื้องต้นเมื่อยังมีแรงเหวี่ยงต่อ เพราะผลลัพธ์สุดท้ายจะดียิ่งกว่าความสำเร็จที่เราได้รับในเบื้องต้น วิธีการปฏิบัติคือ
- ทำตัวให้เป็นที่ต้องการ
วิธีการทำตัวให้เป็นที่ต้องการของเจ้านายก็คือ การรอบรู้ในงานหรือหน้าที่ที่ตนเองปฏิบัติถึงแม้ว่าเราจะมีจุดบกพร่องส่วนตัวที่เห็นได้ชัด ข้อด้อยของเราจะถูกมองข้ามหากเราทำงานได้ดีกว่าคนอื่น เราควรพยายามพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในงานของเราทุกแขนง เต็มใจที่จะแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของเรากับคนอื่น และร่วมกันสร้างชื่อเสียงของเราขึ้นมา จะได้เป็นที่ต้องการของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น การที่มีคนตามหาตัวเราเพื่อที่จะขอคำแนะนำย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวเรา พยายามทำตัวให้เป็นที่พึ่งกับคนอื่นและทำให้คนอื่นรับรู้ได้ว่าเราสามารถเป็นที่พึ่งให้กับเขาได้ยามที่เขาเกิดปัญหาหรือต้องการคำแนะนำ
- ไปให้ไกลอีกสักไมล์
ถ้าเราต้องการให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำ เราต้องยอมรับความจริงที่ว่าเราต้องใช้ความพยายามเพิ่มมากขึ้นมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาแล้วก้าวไปให้ไกลจากที่เรายืนอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะหยุดการพัฒนาตนเองยืนอยู่กับที่ จงพึงระลึกไว้ว่าสังคมปัจจุบันหากใครหยุดนิ่งก็จะเป็นที่สุดท้ายเพราะทุกคนในสังคมต่างเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่มีการหยุดนิ่งอยู่กับที่
- ให้เขามากกว่าที่คนอื่นให้เสมอ
การที่จะเป็นผู้ให้เป็นผู้ให้ที่เราควรที่จะให้มากกว่ารับมาจากคนอื่น คนที่เราเป็นฝ่ายให้เขาก็จะรู้สึกดีหรือรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิเศษและเป็นคนสำคัญ ถ้าเราต้องการที่จะเป็นผู้รับมากขึ้นเราก็ต้องเป็นผู้ให้มากขึ้น หากเราให้เขามากกว่าคนอื่นก็ก็จะจดจำเราได้เราสามารถที่จะใช้วิธีการนี้เพื่อเข้าไปครองใจของเขาหรือมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้
- ให้เขามากกว่าที่เขาจ่ายเสมอ
หากเขาต้องจ่ายเงินซื้อของสักอย่างเขาก็ต้องการที่จะได้รับความคุ้มค่าที่สุด ดังนั้นเราก็ควรที่จะให้มากกว่าเงินหรือสิ่งที่เขาต้องเสียไปเขาก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่เขาได้มามันคุ้มค่าจริงๆ เช่นการซื้อเสื้อผ้าเราก็ควรที่จะให้เขาสามารถลองสวมดูได้ว่าชุดที่เขาเลือกซื้อมันเข้ากับรูปร่างหรือว่าน่าตาของเขา ใส่แล้วดูดีมีความมั่นใจหรือเปล่า เมื่อเขาซื้อกลับไปเขาก็จะมีความสุขหรือมีความมั่นใจ มีความพึงพอใจมากขึ้นโดยที่เขาสามารรถเลือกดูได้ตามความต้องการไม่ใช่ซื้อไปแล้วมีตำหนิ หรือพอสวมใส่ดูแล้วไม่เหมาะกับรูปร่างเป็นต้น
- ติดตามดูผลการทำงาน
การที่ทำงานถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกเป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นหลักการที่เราควรทำให้ได้ หากเราทำผิดตั้งแต่แรกขั้นตอนต่อไปก็จะเกิดความผิดพลาดได้ ต้องกลับมาแก้ไขไหมเสียทั้งเวลาและต้นทุน แต่ว่าในโลกของความเป็นจริงบางครั้งมันก็ไม่ได้เป็นตามหลักการนี้เสมอไป เพราะบางครั้งเราจะเชื่อในสิ่งที่เราทำครั้งแรกหรือการตัดสินใจครั้งแรกไม่ได้เสมอ เมื่อเราทำงานแล้วก็ควรที่มีการติดตามและประเมินผลอยู่ตลอดเวลา ว่าผลการทำงานของเราเป็นอย่างไร เพราะถ้าหากเกิดปัญหาเราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ทันเวลาหรือสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดตามผลการปฏิบัติงานจะสามารถทำให้เรารู้ได้ว่าตอนนี้เราทำงานไปถึงไหนแล้วมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง รู้ว่าตนเองยืนอยู่ไหน ณ ปัจจุบันใกล้เป้าหมายเขาไปเพียงใดแล้ว
- อดทนอย่ายอมแพ้
ความอดทนอดกลั้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องมีหากต้องการที่จะประสบความสำเร็จ เพราะในการที่เราจะไปถึงยังเป้าหมายได้ก็ต้องผ่านอุปสรรคหรือปัญหามากมาย เหมือนที่มีคนพูดไว้ว่าหนทางไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ การอดทนไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจเป็นกุญแจที่สามารถเปลี่ยนความพ่ายแพ้ให้เป็นชัยชนะได้ การอดทนไม่ใช่อดทนแค่ระยะเวลาหนึ่งแต่เป็นการอดทนตลอด เพราเราต้องใช้ความอดทนตลอดเวลา ความอดทาและความตั้งใจแน่วแน่นั้นมีพลังอย่างมหาศาล มันจะทำให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการมา

บทที่10 สร้างเกราะป้องกันตัวเอง

ในบทนี้จะพูดถึงการป้องกันตัวเอง ซึ่งเราทุ่มเทให้กับงานมัวแต่ขะมักเขม้นกับการสร้างมิตร จนลืมไปว่าตัวเองมีช่องโหว่หรืออาจเกิดช่องโหว่ที่เป็นอันตราย กับตัวเราเอง คือลืมคิดถึงการป้องกันตัวเอง ปล่อยให้คนที่คิดร้ายมาโจมตี มีคนพวกเดียวที่เราควรที่จับตาดุที่สุดคือพวกที่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คนพวกนี้จะทำทุกวิธีทางที่จะให้ตนเองได้ประโยชน์จากคนอื่น คนพวกนี้ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจจึงต้องอาศัยอำนาจของคนอื่นมาแอบอ้าง เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ตนเองต้องการกับคนที่ไม่รู้ความจริง ซึ่งอาจจะเปรียบได้เหมือนพวกกาฝาก

การสร้างเกราะป้องกันตัวเอง

1.วิเคราะห์เบื้องลึกของการดิ้นรนเพื่ออำนาจ
คนที่ชอบหยิบยืมใช้อำนาจเพื่อที่จะให้ตนเองก้าวหน้าหรือไปถึงเป้าหมาย จะมีความต้องการขั้นพื้นฐานเหมือนกับคนทั่วไป คนที่ชอบใช้อำนาจของคนอื่นจะไม่รู้วิธีแสวงหาสิ่งที่คนอื่นต้องการเสียก่อนหรือให้ในสิ่งที่คนอื่นต้องการ เขาจะไม่รู้หลักของการครองใจคนอื่นเพราะเขาจะเห็นแค่ประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้นเราควรหาวิธีให้รู้ว่าที่จริงแล้วคนพวกนี้ต้องการอะไรจริงๆ ถ้าเราสามารถตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการได้ เราเองก็จะกลับกลายเป็นว่าเราได้ประโยชน์เช่นกัน เราอาจจะได้เพื่อนหรือพรรคพวกเพิ่มขึ้นหรือถ้าเราไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างน้อยเราก็รู้ว่าเขาต้องการอะไร รู้ขอบเขต เราก็จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2.ใช้อำนาจหน้าที่ให้เหมาะสม
ท่าทางมารยาทกิริยาภายนอกและความประพฤติมีส่วนที่จะถูกคนอื่นยกขึ้นมาโจมตีได้ ถ้าหากลักษณะท่าทางของเราไม่สง่าดูไม่น่าเกรงขามเราก็สามารถสร้างบารมีได้ด้วยการกระทำความดีทั้งกายวาจาและใจ ถ้าเราทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่มีอำนาจ ก็ควรที่จะปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่ง เช่นการพูด การเดิน การเขียน ก็ควรทำให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ของเรา คนที่คอยจะโจมตีหรือทำร้ายเราก็อาจจะเกิดความกลัวหรือไม่กล้าที่จะทำ
3.รุกกลับเพื่อให้เขาเป็นฝ่ายรับตลอดเวลา
การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด คือ การเป็นฝ่ายบุก มันจะทำให้คนอื่นมัวพะวงอยู่กับการป้องกันตัวอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีโอกาสที่จะมาโจมตีเราวิธีรุกอีกฝ่ายที่ดีที่สุด คือ ท้าทายเขาด้วยคำถามเชิงรุกเพราะอะไร การตั้งคำถามเพราะอะไรจะเป็นการนำร่องก่อนการพลิกสถานการณ์
4.อย่าทำสงครามตอบโต้นอกเสียจากแน่ใจว่าจะรอดออกมาได้
อย่าใช้อารมณ์ในการโต้ตอบหรือทำสงคราม ควรที่จะข่มใจไม่ให้ใช้กำลัง เราควรที่จะปลีกตัวออกห่าง แต่ถ้าเราถูกต้อนจนจนมุมโดยพวกที่ชอบแอบอ้างอำนาจมันก็เป็นสิ่งที่เราไม่มีทางเลือก ถ้าให้ดีที่สุดเราควรไม่ปล่อยให้อารมณ์ปะทุออกมา ถ้าเราตกอยู่ในอารมณ์โกรธก็มีสิทธ์ที่เราจะแพ้ได้เหมือนกัน เพราะคนที่โกรธจะขาดสติมักทำอะไรโดยขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ
5.รักษาคุณค่าของตัวเองไว้
อย่าไปต่อสู้หรือโต้ตอบเพียงเพื่อพิสูจน์วาเราเป็นคนที่แข็งแกร่งกว่าอีกฝ่าย ถ้าหากเราต่อสู้แล้วไม่ได้รับอะไรหรือไม่มีประโยชน์อะไรเราก็ควรเลือกที่จะถอยออกมาห่างๆ ทำตัวเป็นกรรมการดีกว่า อย่าเข้าไปร่วมโต้แย้งจะดีกว่า ดังนั้นเราควรทำใจให้เย็น ทำอะไรให้รอบคอบไม่เอาตำแหน่งหน้าที่การงานไปเสี่ยงหรือลดตัวลงไปต่อสู้หรือโต้ตอบกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง
6.ท้ายทายการแสดงอำนาจด้วยความเงียบ
การที่ทำไม่สนใจ นิ่งเฉยเมื่อมีคนมาท้ามายอำนาจของเรา การไม่เอาใจใส่เป็นอาวุธที่ยอดเยี่ยมอีกอย่างหนึ่งเป็นการลดความเอาใจใส่คนลง เขาจะรู้สึกเหมือนตนเองไม่ได้รับความสนใจหรือไม่ถูกใส่ใจคนพวกนั้นก็จะหมดความพยายามไปเอง
7.อย่ารับคำสั่งจากคนที่อยู่นอกสายการบังคับบัญชา
การสั่งงานข้ามสายงานเป็นบ่อเกิดของความแตกร้าวทางธุรกิจ เพราะบางครั้งมันเหมือนการก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น ซึ่งบางคนก็ไม่ชอบที่จะให้มันเกิดขึ้นแต่ก็ยังมีคนที่ชอบก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น ถึงบางครั้งเราจะแก้ปัญหาหรือตกลงกันได้แต่มันก็ยังเป็นปัญหาที่คาใจระหว่างทั้งสองฝ่ายอยู่เหมือนเดิม
8.หาพันธมิตรที่เข้มแข็ง
บางครั้งเราก็ไม่สามารถที่จะพึ่งพาตัวเองได้ตลอดเวลา เราต้องมีเพื่อนควรที่จะดึงคนมาเป็นพวกของเราให้ได้มากที่สุด แต่คนเหล่านั้นต้องเป็นที่สามารถช่วยเหลือเราได้จริงๆ เพื่อนสามารถเป็นดั่งเกราะป้องกันตัวเราได้ดียามที่เราต้องการที่จะให้เขามาช่วยปกป้องจากคนที่คิดจะทำลายเรา
9.สู้เพื่อชัยชนะมิใช่เพื่อทำลาย ชนะเพื่อเพิ่มมิตรไม่ใช่เพื่อเพิ่มศัตรู
ความเห็นอกเห็นใจหรือช่วยเหลือผู้ที่แพ้นั้นน่าจะเป็นยุทธวิธีนำมาใช้ต่อหลังจากที่เราชนะ คู่แข่งจะเชื่อว่าเขาพ่ายแพ้ให้กับคนที่ดีกว่า และจะเปลี่ยนเขาให้กลายเป็นมิตรได้ อย่าทำลายคนเพียงเพื่อเขาต่อสู้และเมื่อเขาพ่ายแพ้ เพราะสักวันคนที่พ่ายแพ้เขาอาจจะกลับมาต่อสู้และทำร้ายเราอีกเพราะเขาจะไม่มีวันยอมแพ้ ดังนั้นเราต้องพยายามเปลี่ยนคนที่เป็นศัตรูให้เป็นมิตรของเราให้ได้

บทที่11 ก้าวสู่ความเป็นยอดคนในวงการ

การสร้างอำนาจบารมีหรือการครองใจเหนือคนอื่นก็คล้ายกับรูปสามเหลี่ยม ในบทนี้เหมือนเป็นสิ่งที่เราก้าวมาถึง จากบทที่ผ่านมาเป็นเพียงสิ่งที่จะทำให้เรา กลายเป็นยอดคน หรือทำให้เราประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพของเราในบทนี้จะกล่าวถึงการที่จะทำให้คนอื่นมีความศรัทธาในตัวของเราเพิ่มมากขึ้น หากคนอื่นศรัทธาในตัวเราเขาก็จะทำในสิ่งที่เราต้องการได้ โดยที่เราไม่ต้องลงมือลงแรงอะไรมากมาย
การที่จะก้าวสู่การเป็นยอดคนได้เราต้องทำสิ่งต่อไปนี้

1.ใช้พรสวรรค์ให้เป็นประโยชน์

เราควรทำงานในสาขาที่เราถนัด มีพรสวรรค์ หรือสามารถทำได้ดีที่สุดเป็นงานที่เรารักจริงๆเมื่อเรารักงานนั้นเราก็จะทำงานออกมาได้ดี แล้วเราก็จะอยากทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ ในไม่ช้าเราก็จะกลายเป็นยอดคนของวงการนั้น
2.ยอมรับขีดจำกัดของตนอย่างองอาจ
การที่เราจะทำอะไรได้ดีข้อแรกก็เราสามารถยอมรับขีดจำกัดหรือข้อด้อยของเราให้ได้ก่อน เพราะทุกคนเกิดมาต่างก็มีความรู้ความสามารถที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเราสามารถยอมรับมันได้เราก็จะสามารถเรียนรู้ความสามารถ ทักษะ รู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงในตัวของเรา เราก็จะสามารถตอบสนอง ความปรารถนาของตัวเราได้อย่างเต็มที่
3.ใฝ่หาความรู้และทักษะเพิ่มเติม
เราจะมีแค่พรสวรรค์อย่างเดียวไม่ได้เราต้องมีพรแสวงด้วย เป็นคนที่มั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ยิ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น เรื่องของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงก้าวไปข้างหน้า ยิ่งเรามีความรู้ในเรื่องต่างๆและในสายอาชีพมากเท่าไหร่โอกาสที่เราจะก้าวหน้าก็มีโอกาสสูงก้าวไปสู่การเป็นยอดคนของวงการและมีอิทธิพลเหนือคนอื่น
4.หาความรอบรู้เกี่ยวกับผู้คน
การหาความรู้ทักษะในงานเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ความรู้ความเข้าใจในตัวของคนอื่นก็ถือเป็นเรื่องสำคัญต่อความสำเร็จของเรา เพราะเราควรที่จะมีความรู้รอบตัว
5.สร้างภาพในใจของตนเอง
การกระทำ ความรู้สึก พฤติกรรมของเรา จะสะท้อนภาพในใจของเรา เหมือนอย่างเช่น ดร. แม็กซ์เวลล์ มอลท์ซ ชี้ให้เห็นว่าการสร้างภาพในจิตใจของเรานั้นมีความสำคัญ เราจะทำอะไรที่ขัดต่อภาพในใจไม่ได้เลยมันเป็นความจริงเราไม่มีทางจะมีอิทธิพลเหนือคนอื่นได้ ถ้าภายในส่วนลึกของเราไม่เชื่อว่าตนเองเก่งในสิ่งที่กำลังทำอยู่
6.รู้จักตัวเองแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
อย่ามัวแต่มองดูคนอื่นหรือวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นจนลืมมองตัวเอง เราควรทำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้นหากพบว่าสิ่งไหนที่ไม่ดีหรือเป็นข้อเสียของตนเองเราก็ควรที่จะปรับปรุงให้มันดีขึ้น ส่วนสิ่งที่เรามีดีอยู่แล้วในตัวเราก็พัฒนาปรับให้มันดียิ่งๆขึ้นไป
7.คิดเสียว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะล้มเหลว
สถานการณ์ที่ทำให้เราท้อแท้มากที่สุดอีกประการก็คือการต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่เราต้องแก้ไข ถ้าเราแก้ไขไม่ได้เรื่องนี้ก็เป็นต้นเหตุให้เราสูญเสียความมั่นใจในตนเอง การที่เราได้ลงมือทำแล้วเกิดความผิดพลาดดีกว่าเราไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย หากเราเกิดความล้มเหลวก็ให้คิดเสียว่ามันเป็นครั้งแรกไม่ได้ทำให้เราอับอายขายหน้าอะไร แล้วในครั้งต่อไปก็อย่าพยายามให้เกิดความล้มเหลวอีกโดยเก็บความล้มเหลวครั้งก่อนเป็นบทเรียน
8.ปรับปรุงตัวเองให้มีอารมณ์ขัน อย่าทำตัวเคร่งเครียดจนเกินไป
อย่าทำให้ตัวเองเป็นคนอวดดีหรือหลงตัวเอง หัดเป็นคนที่มีอารมณ์ขันอย่าทำให้ตัวเราเองเป็นคนเคร่งเครียดจนเกินไป หากเราทำงานด้วยความสุขงานเราก็จะเกิดความคิดสร้างสรรค์คนที่ทำงานร่วมกับเราเขาก็จะรู้สึกมีความสุขไม่เกร็ง เขาจะกล้าเสนอความคิดเห็นต่างๆมากขึ้นด้วย

บทที่12 วิธีเสริมคุณสมบัติของความเป็นมืออาชีพ

จากบทแรกถึงบทสุดท้ายนี้หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำตอนก็จะทำให้เรามีอิทธิพลเหนือคนอื่น การที่เราจะรักษาอิทธิพลนั้นได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราใช้ความรู้สร้างอิทธิพลเหนือผู้อื่น ใช้ความรู้ในทางที่ผิดพยายามสร้างความสำคัญให้กับตัวเองโดยการกดคนอื่นให้ต่ำลงเราจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะไม่มีใครสามารถครองจิตใจคนอื่นได้ด้วยการใช้กำลังบังคับคนอื่น ถ้าเราใช้ความรู้ในการสร้างอิทธิพลไปในทางช่วยเหลือผู้อื่น เราก็จะสามารถครองใจคนอื่นได้นาน
วิธีเสริมคุณสมบัติของความเป็นมืออาชีพ คือ
1.หาเวลาปลีกตัวไปช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง
อย่ามัวทำแต่งานและอยู่ในโลกส่วนตัวมากเกินไป หาเวลาที่จะช่วยเหลือคนอื่นบ้าง การช่วยให้ผู้อื่นสมปรารถนาในสิ่งที่เขาต้องการเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการเหมือนกัน
2.อย่าใช้ตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
ข้อนี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีตำแหน่งใหญ่โตที่มักหาประประโยชน์ใส่ตัว คนพวกนี้ผลประโยชน์ส่วนตัวจะมาก่อนผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งการหาผลประโยชน์ใส่ตัวส่วนมากมักสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น ยกตัวอย่างเช่น พวกนักบริหารที่ชอบเห็นแก่ตัวที่เอาใจใส่ต่อความสะดวกสบายของตนเองจนลืมผู้ใต้บังคับบัญชา
3.เคารพในเกียรติของผู้อื่น
วิธีที่แสดงความให้เกียรติของผู้อื่นที่เราสามารถปฏิบัติได้ ก็อย่างเช่น ถ้าเราไม่มีอะไรจะพูดถึงใครในทางที่ดีแล้ว ไม่พูดอะไรเลยจะดีกว่า หรืออย่าพูดให้ร้ายใคร หากเราเคารพในเกียรติของผู้อื่น ผู้ที่เราให้เกียรติก็ย่อมที่จะให้เกียรติเราเหมือนกัน ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันอย่าพยายามทำให้เขารู้สึกว่าตำต้อยหรือทำให้ศักดิ์ศรีของเขาดูลดน้อยลงหรือดูถูกเหยียดยามเหมือนสุภาษิตที่ว่าอย่ายกตนข่มท่าน ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นยังไงจงพึงระลึกไว้เสมอว่าเขาก็มีจิตใจเหมือนกับเรา
4.อย่าเล่นพวก
หากเราเริ่มตั้งข้อยกเว้นต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะความพึงพอใจส่วนตัวในบางคนขึ้นมา คนที่เหลือก็จะรู้สึกไม่ดี ถ้าเราเลื่อนตำแหน่งใครสักคนที่คุณสมบัติยังไม่ถึงขั้นข้ามหัวคนที่จะได้รับการเลื่อนขั้นก็เท่ากับว่าเรากำลังทำลายศรัทธาที่คนอื่นมีต่อเรา อย่าให้อารมณ์ของเราหรือความรู้สึกอคติมาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับคนของคุณเป็นอันขาด ควรหลีกเลี่ยงการมีอคติต่อเชื้อชาติ ศาสนา หรือสีผิว ถ้าปรารถนาที่จะปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรมและต้องการมีอิทธิพลเหนือคนอื่น
5.รักษาคำพูดไว้เสมอ
ถ้าเราสามารถครองใจคนอื่นได้แล้ว เราจะต้องปฏิบัติให้ดีเหมือนคำพูดถ้าจะให้มั่นใจว่าเราจะรักษาคำพูดไว้ได้เสมอ ในหนังสือจะบอกขอให้จำและวิธีการ ไว้ดังนี้
- อย่าให้สัญญาใดๆ ถ้าเราไม่สามารถรักษาสัญญานั้นได้
- อย่าตัดสินใจอะไร ถ้าเราไม่สามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนได้
- อย่าออกคำสั่งใดๆ ที่เราไม่สามารถบังคับใช้ได้
ถ้าเราไม่รักษาคำพูดคนอื่นจะมองว่าเราเป็นคนหลอกลวง ก็จะไม่มีใครเชื่อและมองเห็นเราเป็นที่พึ่ง และที่สำคัญเราก็ไม่สามารถที่จะครองใจ มีอิทธิพลเหนือคนอื่น หรือรักษาอิทธิพลที่เรามีไว้ได้


โดย รัชพร พลธรรม สร้างพลังสู่ความสำเร็จ Power with People ผู้เขียน James K . Van Fleet