วิตามินบี 5 กรดแพนโทเธนิค (Pantothenic Acid)

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3

วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเธนิค (Pantothenic Acid) ไม่ค่อยคงทน ถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน กรด เช่น น้ำส้ม และด่าง เช่น โซดาสำหรับทำขนม หรือ Baking Soda

วิตามินบี 5 ในเนื้อสัตว์จะสูญหายไปขณะหุงต้มประมาณ 33% และในแป้งจะสูญหายไปประมาณ 50% ขณะขัดสีและบดเป็นแป้ง

ประโยชน์ต่อร่างกาย

- เป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของต่อมอะดรีนัล และช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนสำคัญ เพื่อรักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท
- ช่วยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงาน
- ช่วยเปลี่ยนคอเลสเตอรอลเป็นฮอร์โมนสำหรับต่อต้านความเครียด ป้องกันอาการอ่อนเพลีย
- ช่วยในการป้องกันโรค และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

แหล่งที่พบ

วิตามินบี 5 พบมากที่สุดในตับ รองลงมาได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ถั่ว เมล็ดธัญพืช ไข่แดง บริวเวอร์ยีสต์ เป็นต้น

ปริมาณที่แนะนำ

การขาดวิตามินบี 5 เป็นไปได้ยากมาก การได้รับประมาณวันละ 4-7 มิลลิกรัมก็เพียงพอแล้วสำหรับคนส่วนใหญ่

ผลของการขาด

ส่วนใหญ่แล้วไม่พบว่ามีปัญหาใดเกิดขึ้นจากการขาดวิตามินบี 5 เพียงอย่างเดียว อาการที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง ได้แก่ อาเจียน กระสับกระส่าย ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกร้อนที่เท้า (Burning Feet Syndrome) เป็นตะคริว อ่อนเพลีย หลับไม่สนิท ซึมเศร้า และหงุดหงิด

ผลของการได้รับมากเกินไป

วิตามินบี 5 จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ และอีกส่วนน้อยทางเหงื่อ โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ

สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์ ได้แก่

- วิตามินบีรวม วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 นมผึ้ง แคลเซียม
- ไบโอตินและกรดโฟลิค ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 5 เข้าสู่ร่างกาย
- วิตามินซี ช่วยป้องกันวิตามินบี 5 ถูกทำลายในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน

สารหรืออาหารต้านฤทธิ์ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยาลดไข้ ระงับปวด

Source : ผู้จัดการออนไลน์ - เอมอร คชเสนี

กรดแพนโทเทนิก (Pantothenic Acid)

แพนทีนบำรุงรากผม แพนโททีนอล โปรวิตามินบี ๕ ในครีมนวดผม นี่แหละเค้าเอง
ที่ผมยกเอากรดแพนโทเทนิกขึ้นมากล่าว พร้อมกับวิตามินบี ๖ เพราะครั้งหนึ่งวงการแพทย์เคยนิยมเรียกกรดแพนโทเทนิกว่าวิตามินบี ๕ ครับ
เราจำเป็นต้องได้รับกรดแพนโทเทนิกเพิ่มเติมเป็นพิเศษผ่านทางครีมนวดผมไหม
คำตอบอยู่ที่ชื่อของวิตามินตัวนี้ครับ
ชื่อแพนโทเทนิกมาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า Pantos อันหมายถึง "ทั่วทุกหนแห่ง" ด้วยความที่หาง่ายมีอยู่ในอาหารแทบทุกชนิด เป็นวิตามินเหมาโหล ว่างั้นเถอะ หันไปทางไหนก็เจอ
อ๊ะๆ...แต่ก็อย่าประมาทว่าเราจะไม่ขาดวิตามินตัวนี้ ไม่แน่เหมือนกัน
ดังนั้น แม้จะค้นพบมานานเกือบ ๕๐ ปี นักโภชนาการก็ไม่ให้ความสนใจกับเจ้ากรดแพนโทเทนิกมากนัก ไม่มีเรื่องฮือฮา ไม่เคยมีปรากฏการณ์ขาดวิตามินบีตัวนี้ในกลุ่มประชาชน ผิดกับวิตามินบี ๑ บี ๒ ที่เคยกล่าวไปแล้ว
เราจะพบภาวะขาดกรดแพนโทเทนิกเฉพาะในคนที่จำกัดอาหารติต่อกันเป็นเวลานานๆเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หนังสือขายดีเขียนโดยนักโภชนาการหลายคน ก็ยังอดมิได้ที่จะอ้างถึงโรคข้ออักเสบกับการขาดวิตามินแพนโทเทนิก รวมถึงโรคภูมิแพ้ และโรคAddison (โรคจากการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต)
บ้างก็อ้างคุณประโยชน์ในแง่เป็นวิตามินบำรุงเส้นผม แก้ผมหงอก ผมแตกปลาย ช่วยเสริมสุขภาพจิต และอื่นๆ กล่าวกันว่ากรดแพนโทเทนิกคือสารอาหารเพื่อเสริมความงามและความเยาว์วัย
เมื่อเร็วๆนี้มีการผลิตอาหารเสริม กรดแพนโทเทนิก ในรูปแพนเททีน(Pantethine) วางจำหน่ายในท้องตลาด โฆษณาสรรพคุณ ลดโคเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจ
จริงหรือไม่ต้องติดตาม

ความเป็นมา
การค้นพบวิตามินแพนโทเทนิก แตกต่างจากการค้นพบวิตามินบีตัวอื่นๆ คือเป็นการค้นพบโดยมิได้ตั้งใจค้นหา
เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงปีค.ศ.๑๙๓๐ นักวิทยาศาสตร์กำลังหาสารเร่งการเจริญเติบโตของยีสต์ ซึ่งเป็นเชื้อสำคัญในการผลิตสุรา หรือที่เรียก "ส่าเหล้า"
ใครทำให้ยีสต์โตเร็วก็ผลิตสุราได้เร็ว และในไม่นาน นักวิทยาศาสตร์ก็ได้พบสารกระตุ้นยีสต์สมใจอยาก มัมีชื่อเรียกว่า กรดแพนโทเทนิก
แต่ต่อมาเมื่อเอาอาหารที่สกัดกรดแพนโทเทนิกออกแล้ว มาใช้เลี้ยงสัตว์ทดลองกลับพบว่าสัตว์ทดลองมีอาการผืดปรกติ แคระแกร็น โลหิตจาง เนื้อเยื่อประสาทเสื่อม ภูมิคุ้มกันลด มีแผลในกระเพาะ ลูกออกมาผิดปรกติ
เมื่อนำสารตัวนี้ไปทดลองกับสัตว์ทดลองหลายชนิด ผลที่ได้รับตรงกัน นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า หากมนุษย์ขาดกรดตัวนี้ ผลลัพย์คงไม่แตกต่างกัน คือแคระแกร็น สุขภาพเสื่อม
คุณผู้อ่านอาจสงสัยว่าเอ๊ะ! ทำไมไม่ทดลองในมนุษย์ให้รู้ดำรู้แดงเลยว่าถ้าขาดวิตามินตัวนี้ อะไรจะเกิดขึ้น
ทำยากครับ ผิดศีลธรรม ใครจะยอมกินอาหารขาดวิตามินเป็นปี เพื่อให้ตนองเจ็บป่วย
อย่างไรก็ดี ในช่วงปีค.ศ.๑๙๕๐ ก็มีการทดลองระยะสั้นดูว่า คนที่ไม่ได้กินกรดแพนโทเทนิกจะเป็นอย่างไร การทดลองช่วง ๑ เดือนพบว่า เมืาอให้กินอาหารที่ไม่มีกรดแพนโทเทนิก อาสาสมัครจะบ่นเรื่องอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และรูสึก"ไม่ค่อยดี"
อาสาสมัครบางคนที่กินอาหารที่ทั้งสกัดกรดแพนโทเทนิกออก และมีสารรบกวนการดูดซึมวิตามินพร้อมกัน คนพวกนี้จะปรากฏอาการผิดปรกติเร็วกว่า และยังมีอาการนอนไม่หลับ ห่อเหี่ยว ตะคริวจับขา ร้อนตามฝ่ามือและฝ่าเท้า
พบในอาสาสมัครทุกคนว่า ภูมิคุ้มกันลดลงจริงๆ เหมือนที่พบในสัตว์ทดลองและเมื่อเติมกรดแพนโทเทนิกลงในอาหาร อาการที่กล่าวมาทั้งหมดก็หายไปอย่างรวดเร็ว
เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า อาการทั้งหมดเป็นผลจากภาวะขาดกรดแพนโทเทนิกจริง
นี่แหละครับ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลาความอดทน และต้องพิสูจน์ได้ชัดเจน ไม่ใช่ว่าคิดเอา ทึกทักเอา หรือเชื่อโดยไม่พิสูจน์
ถึงวันนี้ เรารู้ว่ากรดแพนโทเทนิกเป็นสารเคมีที่จำเป็นยิ่งต่อกระบวนการทางเคมีในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสันดาปให้พลังงาน มันร่วมกับสารที่ชี่อโคเอนไซม์ A ปลดปล่อยพลังงานจากแป้ง ไขมันและโปรตีน
และร่วมกันผลิตสารสำคัญในร่างกายหลายชนิดเช่น ร่วมกับสาร ACP (Acyl Carrier Protein) ผลิตไขมันจำเป็นบางชนิด
คุณประโยชน์ที่อ้างถึง
มีการอ้างอิงคุณประโยชน์ของกรดแพนโทเทนิกหลายประการ ส่วนใหญ่ไม่เป็นจริง หรืออยู่ระหว่างการพิสูจน์ เช่น
-การเพิ่มพลังงานและความสามารถด้านการกีฬา มีการศึกษาประโยชน์ข้อนี้กันมากในประเทศพัฒนาทั้งหลาย เพื่อหวังให้นักกีฬาของตนเป็นเจ้าเหรียญทองทั้งที่ผลยังคลุมเครือ
การศึกษาชิ้นหนึ่งทำในนักกีฬามาราธอน ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินกรดแพนโทเทนิกติดต่อกัน ๒ สัปดาห์ อีกกลุ่มให้กินเม็ดแป้ง (หลอกว่าเป็นยา) แล้วให้วิ่งเปรียบเทียบ ปรากฏว่าได้ผลเสมอกัน
ต่อมาได้มีการทดลองซ้ำอีกครั้ง แต่เพิ่มขนาดกรดแพนโทเทนิกเป็น ๒ กรัมต่อวัน ติดต่อกัน ๒ สัปดาห์ พบว่านักกีฬาที่ได้รับกรดแพนโทเทนิก มากเป็นพิเศษจะใช้ออกซิเจนน้อยกว่า และสมรรถนะทางร่างกายดีกว่า
-การลดโคเลสเตอรอล การอ้างประโยชน์ข้อนี้มีมากในอาหารเสริมที่มีแพนโทเทนิก เป็นส่วนประกอบ ผลการวิจัยหลายชิ้นได้ข้อสรุปตรงกันว่า แพนโทเทนิกในขนาด ๖๐๐-๑,๒๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดโคเลสเตอรอลเฉลี่ย ๑๕% และไตรกลีเซอไรด์เฉลี่ย ๓๐% ในคนที่มีระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง
-โรคไขข้ออักเสบมีการทดลองใช้กรดแพนโทเทนิก ชนิดรับประทานในคนไข้โรคไขข้อ เพราะในปีค.ศ.๑๙๘๐ มีการทดลองพบว่ากรดแพนโทเทนิก ชนิดรับประทานสามารถลดระยะเวลาการป่วย ลดความรุนแรงของการปวดข้อได้ในคนไข้รูมาตอยด์
ผลลัพธ์ถูกตีพิมพ์ในปีค.ศ.๑๙๘๐ ปริมาณที่ใช้ก็คือ สองวันแรก ๕๐๐ มิลลกรัมต่อวัน
สามวันต่อมา ๑,๐๐๐ มิลลิกรัม
สี่วันถัดมา ๑,๕๐๐ มิลลิกรัม
และสุดท้าย ๒,๐๐๐ มิลลิกรัมทุกวัน เป็นเวลาสองเดือน แต่ถ้าเป็นคนไข้โรคไขข้อชนิดอื่น กรดแพนโทเทนิกช่วยไม่ได้ครับ
-ป้องกันผมร่วงและผมหงอกก่อนวัย ความคิดนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อหนูทดลองขาดกรดแพนโทเทนิก จะมีอาการผมหงอกและร่วง
จึงกลายเป็นเกร็ดความรู้ว่ากรดแพนโทเทนิกสามารถทำให้ผมดกดำเป็นเงา และป้องกันผมร่วง แต่เกร็ดตรงนี้ยังมิได้มีการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

แหล่งสำคัญในอาหาร

ดังชื่อที่แปลว่า"ทุกหนแห่ง" วิตามินตัวนี้จึงมีในอาหารทุกชนิด มากบ้างน้อยบ้าง แต่ที่เป็นหลักจริงๆคือ ไข่ เนื้อปลา ตับไต
สำหรับอาหารพืชพบมากในถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ รำข้ว ยีสต์ ส่วนพืชผักทั่วไปนั้นมีปริมาณกรดแพนโทเทนิกพอควร แต่หากเป็นพืชผักผลไม้กระป๋องที่ผ่านการแปรรูป หรือทำเป็นอาหารกระป๋อง ปริมาณวิตามินตัวนี้จะลดลง
โดยสรุป อาหารที่เรากินในชีวิตประจำวัน จะให้กรดแพนโทเทนิกในปริมาณเพียงพอ
นอกจากนี้ แบคทีเรียในลำไส้ยังช่วยผลิตกรดแพนโทเทนิกได้อีกด้วย แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าปริมาณที่ผลิตได้มีเท่าไร มากพอจะช่วยงานของร่างกายหรือไม่
ไม่น่าวิตกว่าเราจะขาดกรดแพนโทเทนิก หากกินอาหารได้เป็นปรกติ กินอาหารหลากหลายไม่จำเจ หรือติดกับอาหารชนิดใดโดยเฉพาะ (ผมเคยเห็นคนที่กินแต่ข้าวไข่เจียววันละสามมื้อติดต่อกันหลายเดือน อย่างนี้ต้องขาดวิตามิน เกลือแร่หลายตัวแน่นอน)
คนที่มีโอกาสขาดจริงๆคือคนที่อดอาหารนานๆ กินยาหรือเป็นโรคเรื้อรังที่อาจรบกวนการดูดซึมวิตามิน
การแพทย์แผนปัจจุบันไม่ใช้กรดแพนโทเทนิกในขนาดสูงเพื่อรักษาโรคหรืออาการใดๆ เว้นผู้ป่ใยจะขาดวิตามิน
คนที่ทดลองใช้กรดแพนโทเทนิกในขนาดสูง (๑๐-๒๐กรัมต่อวัน) รายงานว่าเกิดอาการท้องเสีย แต่ไม่มีพิษอย่างอื่น
จัดเป็นวิตามินที่ปลอดภัยตัวหนึ่ง

Source : ภก.สรจักร ศิริบริรักษ์ จากหนังสือพลอยแกมเพชร

วิตามินบี 5 (Pantothenic Acid)

วิตามินชนิดนี้ร่าง กายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ด้วย โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสำไส้โดยธรรมชาติ การคงสภาพของวิตามินชนิดนี้ไม่คงทน ง่ายต่อการทำลายโดยเฉพาะโดยกรด เช่น น้ำส้ม และด่าง เช่น โซดาสำหรับทำขนม (Baking Soda) ตับมีมากที่สุด ถัดมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไต เมล็ดพืช เนื้อไก่ ไข่แดง รำข้าว บริวเวอร์ยีสต์ วีทเจอร์ม โมลาส น้ำตาลทรายแดงไม่ฟอกสี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวกล้อง เนยแข็ง โยเกิร์ต ผลไม้สด หัวผักหรือผักลงหัวทุกชนิด ผักใบเขียว ผักกาด น้ำอ้อย เห็ด และถั่วต่าง ๆ วิตามินบี 5 เป็นสิ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของต่อมอะดรีนัล และช่วยกระตุ้นให้ผลิตคอร์ติโซนและฮอร์โมนสำคัญอื่น ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของผิวหนังและประสาทเสริมอำนาจการป้องกันโรค และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ช่วยละลายพิษยาลดพิษ ช่วยขับพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย และป้องกันเซลล์ถูกทำลายโดยรังสี รักษาความสมดุลของ ๆ เหลวในเนื้อเยื่อ ช่วยเปลี่ยนคอเลสเตอรอลเป็นฮอร์โมนสำหรับต่อต้านความเครียด ป้องกันอาการอ่อนเพลีย ช่วยร่างกายในการใช้วิตามิน บี 2 ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ และ มีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้ซึ่งกำลังงาน วิตามินบี 5 เป็นตัวสำคัญรักษาสุขภาพของทางเดินของอาหารในระบบการย่อยให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ช่วยในการย่อยและเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย รักษาความเยาว์วัยให้คงนาน ถ้าขาด วิตามินบี 5 อาจทำให้ อาเจียน กระสับกระส่าย ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกร้อนที่เท้า (Burning Feet Syndrome) เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หลับไม่สนิท ซึมเศร้า หงุดหงิด การสร้างภูมิต้านทานต่ำ มีอาการอักเสบของระบบการหายใจส่วนบน ผมหงอกและร่วง แก่ก่อนวัยอันสมควร ทำให้เกิดภูมิแพ้ หอบหืด ความดันต่ำ เนื่องจากต่อมหมวกไตไม่มีกำลัง

* ข้อมูลทั่วไป
o เป็น น้ำมันสีเหลืองอ่อน เสียง่ายเมื่อถูกความร้อน กรด ด่าง ถ้าอยู่ในสภาพแอลกอฮอล์ เรียก แพนโทธีนอล (Pantothenol) ซึ่งถูกดูดซึมได้ง่ายกว่าที่อยู่ในรูปกรด และจะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายเป็น กรดแพนโทเธนิค ได้รวดเร็ว ในทางการค้าจะอยู่ในรูปของเกลือโซเดียม หรือ แคลเซียม มีความหวานเล็กน้อย ละลายน้ำได้
o วิตามินบี 5 หรือแพนโทเธ็นนิค แอซิค เรียกสั้น ๆ ว่า แพนโทส์ ซึ่งแปลว่า ทุกหนทุกแห่ง จัดเป็นวิตามินอยู่ในเครือวิตามิน บีรวม วิตามินชนิดนี้จะพบในเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหลาย นับตั้งแต่พวกรา พวกเห็ด พวกพืชตลอดจนในเซลล์ของคนและสัตว์ วิตามินชนิดนี้ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ด้วย โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสำไส้โดยธรรมชาติ
o การคงสภาพของวิตามินชนิดนี้ไม่คงทน ง่ายต่อการทำลายโดยเฉพาะโดยกรด เช่น น้ำส้ม และด่าง เช่น โซดาสำหรับทำขนม (Baking Soda)
o ประวัติ
+ ค. ศ. 1938 ดร.วิลเลียม (Dr. R.R. William) แยกกรดแพนโทเธนิคได้จากตับและยีสต์ และได้ให้ชื่อว่า กรดแพนโทเธนิคซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า Panthos ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Every where
+ ค.ศ. 1950 ลิปแมน (Lipmann) และผู้ร่วมงานพบว่ากรดแพนโทเธนิค เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ เอ (Coenzyme A)

* ประโยชน์ต่อร่างกาย
o เป็น สิ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของต่อมอะดรีนัล และช่วยกระตุ้นให้ผลิตคอร์ติโซนและฮอร์โมนสำคัญอื่น ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของผิวหนังและประสาท
o เสริมอำนาจการป้องกันโรค และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ช่วยละลายพิษยาลดพิษ เช่น ผลจากยาปฏิชีวนะ และผลที่ไม่ดีของตัวสร้างภูมิคุ้มกันหลาย ๆ ชนิด
o ช่วยขับพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย และป้องกันเซลล์ถูกทำลายโดยรังสี
o รักษาความสมดุลของ ๆ เหลวในเนื้อเยื่อ
o ช่วยเปลี่ยนคอเลสเตอรอลเป็นฮอร์โมนสำหรับต่อต้านความเครียดที่มองไม่เห็น หรือสภาพที่กำลังพัวพันอยู่ ป้องกันอาการอ่อนเพลีย
o ช่วยร่างกายในการใช้วิตามิน บี 2 ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ และ มีประสิทธิภาพ
o ช่วยในการเผาผลาญอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้ซึ่งกำลังงาน
o วิตามินบี 5 เป็นตัวสำคัญรักษาสุขภาพของทางเดินของอาหารในระบบการย่อยให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ช่วยในการย่อยและเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย
o รักษาความเยาว์วัยให้คงนาน
o เป็นตัวร่วมในการสร้างอะซีทิลโคเอนไซม์เอ (Acetyl Coenzme A) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวโยงในการผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย

* แหล่งที่พบ
o ตับ มีมากที่สุด ถัดมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไต เมล็ดพืช เนื้อไก่ ไข่แดง รำข้าว บริวเวอร์ยีสต์ วีทเจอร์ม โมลาส น้ำตาลทรายแดงไม่ฟอกสี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวกล้อง เนยแข็ง โยเกิร์ต ผลไม้สด หัวผักหรือผักลงหัวทุกชนิด ผักใบเขียว ผักกาด น้ำอ้อย เห็ด และถั่วต่าง ๆ

* ปริมาณที่แนะนำ
o ประมาณ 10 มิลลิกรัม ต่อวัน

* ผลของการขาด
o ลูกไก่
+ พบว่าเบื่ออาหาร ผลของการเจริญเติบโตต่ำ ขนร่วง ขนขี้นช้ามีอาการผิดปกติของกระดูกสันหลังลงมาถึงประสาทที่อยู่ในไขสันหลัง
o หมู
+ ขน จะเปลี่ยนเป็นสีเทา มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มีแผลในลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum Ulcer) มีการผิดปกติขององค์ประกอบของเลือด การผิดปกติของต่อมหมวกไต มีเลือดไหลผิดปกติ
o สุนัข
+ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและพบเลือดไหลแรงและเร็ว มีอาการผิดปกติของระบบประสาททำให้ผิดปกติอาจตายได้ มีอาการผิดปกติของไต
o คน
+ จาก การทดลองโดยให้ผู้ทดลองกินอาหารที่ขาดกรด แพนโทเธนิค รวมทั้งให้กรดโอเมกา-เมทิล แพนโทเธนิค ( -Methyl Pantothenic Acid) ซึ่งเป็นสารต้านฤทธิ์การทำงานของกรดแพนโทเธนิค พบว่าผู้ถูกทดลองมีอาการแสบร้อนตามผิวหนัง กล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงาน เป็นตะคริวบริเวณท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลของเลือดผิดปกติ เพราะฉะนั้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงทางระบบประสาทจะไม่สม่ำเสมอคนไข้จะหงุดหงิด เบื่อหน่าย มีอาการผิดปกติของระบบการย่อยอาหาร สรุปได้เป็นอาการสำคัญดังนี้
+ อาเจียน กระสับกระส่าย ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกร้อนที่เท้า (Burning Feet Syndrome) เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หลับไม่สนิท ซึมเศร้า หงุดหงิด
+ การสร้างภูมิต้านทานต่ำ
+ มีอาการอักเสบของระบบการหายใจส่วนบน
+ ผมหงอกและร่วง แก่ก่อนวัยอันสมควร
+ ทำให้เกิดภูมิแพ้ หอบหืด
ความดันต่ำ เนื่องจากต่อมหมวกไตไม่มีกำลัง

* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ จะ ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กเข้าไปสู่ร่างกาย เนื้อเยื่อต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนให้เป็น Coenzyme A ได้การขับถ่ายจะถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ ส่วนน้อยทางเหงื่อ เด็กแรกเกิดมีระดับกรดแพนโทเธนิคในเลือดสูงกว่าแม่ประมาณ 5 เท่า
o สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
+ วิตามิน บีรวม บริวเวอร์ยีสต์ รำข้าว นมผึ้ง
+ วิตามิน บี 6 และวิตามิน บี 12
+ ไบโอตินและกรดโฟลิค ช่วยในการดูดซึม วิตามินบี 5 เข้าสู่ร่างกาย
+ วิตามิน ซี ช่วยป้องกัน วิตามินบี 5 ถูกทำลายในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจน
+ แคลเซียม
+ กำมะถัน
o สารหรืออาหารต้านฤทธิ์
+ ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาลดไข้ ระงับปวด
+ สารเม็ธทิลโบรไมด์ (Methylbromide) สารที่ใช้อบควัน หรือรมควันในอาหารบางชนิด
o การเสื่อมสลาย
+ วิตามินบี 5 ในเนื้อสัตว์ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์จะสูญหายไปขณะหุงต้ม และในแป้งจะสูญหายไปประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ขณะขัดสีและบดเป็นแป้ง