วิตามินเอ

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

วิตามินเอวิตามินเอ ประกอบด้วยสารเรตินอลและแคโรทีน เรตินอลมักพบในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น เช่น เนื้อสัตว์ นม เนย ไข่ ตับ น้ำมันตับปลา เรตินอลจะช่วยให้ร่างกายใช้วิตามินเอได้ทันที ส่วนรูปแบบของวิตามินเอที่พบในพืชจะเรียกว่า เบต้าแคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย พบมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แสด แดง เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง กวางตุ้ง บร็อคโคลี่

วิตามินเอทนกรด ด่าง และความร้อนได้ดีพอสมควร ในการประกอบอาหาร เช่นการทำอาหารกระป๋อง วิตามินเอจะถูกทำลายไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การแช่แข็งอาจลดปริมาณวิตามินเอในอาหาร

วิตามินเอเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ได้แก่

  • ช่วยในการมองเห็นในที่มืด
  • ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุผิวให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ และเยื่อบุหูชั้นกลาง เป็นต้น
  • ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ตามปกติ เช่น การสร้างตัวอสุจิในผู้ชายและระบบประจำเดือนของผู้หญิง และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง
  • เบต้าแคโรทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง และความผิดปกติของไขมันในร่างกาย ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว

แต่เดิม วิตามินเอมีหน่วยเป็นหน่วยสากล (International Units หรือ IU) ต่อมาได้กำหนดหน่วยวิตามินเอเป็น Retinal Equivalents (RE) อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์วิตามินเอบางชนิดก็ยังใช้หน่วย IU เหมือนเดิม

คนทั่วไปต้องการวิตามินเอวันละประมาณ 800-1,000 RE แต่ภาวะบางอย่างอาจทำให้ร่างกายต้องการวิตามินเอเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะท้องร่วง โรคตา โรคลำไส้ การติดเชื้อเป็นเวลานาน โรคหัด โรคตับอ่อน การผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกบางส่วน ความเครียดแบบต่อเนื่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด ทารกที่ได้รับนมชนิดที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น

ผลของการขาดวิตามินเอ

การขาดวิตามินเออาจนำไปสู่ภาวะตาบอดกลางคืน หรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด รวมทั้งทำให้ตาแห้ง ตาติดเชื้อ
ผิวหนังจะแห้ง หนาขึ้น และหยาบเป็นเกล็ด ผมและขนจะแห้งและร่วง เล็บเปราะ นอกจากนี้จะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ชนิดบุผิวของอวัยวะต่าง ๆ เช่น

- ระบบทางเดินหายใจ อาจมีการอักเสบในช่องจมูก ช่องปาก ต่อมน้ำลาย เจ็บคอบ่อยๆ หูอักเสบ การอักเสบเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ เพราะเยื่อบุอวัยวะเหล่านี้แห้งตายหรือสลายตัว ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย

- ระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้ปาก คอ ลิ้น และเหงือกอักเสบ เป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ง่าย อาจมีอาการท้องร่วง
- ระบบปัสสาวะ มักมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ เกิดปฏิกิริยาทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นด่าง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ

การขาดวิตามินเอยังทำให้การเจริญเติบโตช้าลง กระดูกจะหนา ใหญ่ และหมดสมรรถภาพในการโค้งงอ ส่วนฟันนั้นจะมีการลอกหลุดของเคลือบฟัน เหลือแต่เนื้อฟัน ทำให้ฟันผุได้ง่าย
นอกจากนี้ยังเจ็บป่วยง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ง่ายต่อการแพ้สิ่งต่างๆ เบื่ออาหาร ความรู้สึกรับรสและกลิ่นไม่ดี

ผลของการได้รับวิตามินเอมากเกินไป

โดยปกติแล้ว วิตามินเอมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ เมื่อใช้ตามปริมาณที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม การได้รับวิตามินเอในปริมาณสูงอาจเกิดการสะสมในร่างกายและเป็นพิษได้ใน 2 ลักษณะ คือ

- พิษเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับในปริมาณสูงมากๆ เช่น รับประทานตั้งแต่ 1 ล้านหน่วยหรือมากกว่า อาการสำคัญคือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ง่วงนอน อ่อนเพลีย มองเห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ถ้าได้รับวิตามินเอในปริมาณที่สูงกว่านี้มากๆ อาจถึงแก่ความตายได้ เพราะระบบหัวใจไม่ทำงาน

- พิษเรื้อรัง เกิดจากการรับประทานวิตามินเอวันละประมาณ 1 แสนหน่วยเป็นเวลานาน มักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยวิตามินเอปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการสำคัญ คือ เวียนศีรษะ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นขุย และคัน ผมร่วง เล็บเปราะ ริมผีปากแห้งแตก เหงือกอักเสบ ปวดข้อกระดูกและข้อต่อ หากหยุดรับประทานวิตามินในปริมาณมากๆ อาการก็จะหายไป

หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานวิตามินเอในปริมาณสูงถึงวันละ 25,000 IU (7,500 RE) เป็นเวลานาน อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ พิการ หรือแท้งได้

ผู้ที่ได้รับแคโรทีนในปริมาณสูง จะทำให้ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและฝ่าเท้ามีสีเหลือง เนื่องจากแคโรทีนถูกขับออกมาจากต่อมน้ำมันของผิวหนัง ต่างจากโรคดีซ่านคือตาจะไม่เหลือง อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูง

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ เป็นโรคติดสุราหรือเคยมีประวัติ เป็นโรคตับ โรคไต หรือรับประทานยาประจำตัว หากจะรับประทานอาหารเสริมวิตามินเอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการใช้วิตามินเออาจมีผลต่อโรคที่เป็นอยู่

วิตามินเอถูกทำลายได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนสูงมากๆ ในอากาศ แสงแดด และในไขมันที่เหม็นหืน จึงควรเก็บใส่ขวดสีน้ำตาล อย่าเก็บในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างจานในครัว หรือบริเวณที่เปียกชื้น เพราะความร้อนหรือความชื้นอาจทำให้อาหารเสริมเสื่อมสภาพได้

Source : ผู้จัดการออนไลน์ - เอมอร คชเสนี

วิตามินเอ

วิตามินเอ อาจทำให้ทารกพิการ หากกินเกินขนาดตืดต่อกันนานๆ
เครื่องสำอางและครีมบำรุงผิวบางยี่ห้อใส่วิตามินเอเป็น ส่วนประกอบสำคัญ
บางคนคิดว่ากินผักบุ้งแล้วตาหวาน เพราะผักบุ้งมีวิตามินเอ ซึ่งมีบทบาทบำรุงสายตา อันที่จริงตาหวานไม่ใช่เรื่องของวิตามิน
อยากรู้เรื่องวิตามินเอโดยละเอียด ต้องติดตามครับ

ประวัติ

เอเป็ฯอักษรตัวแรกในภาษาอังกฤษ วิตามินเอจึงน่าจะหมายถึงวิตามินตัวแรก และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ มันได้รับเกียรติให้ชื่อ วิตามินเอ เพราะถูกค้นพบ เป็นตัวแรกตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เคยรู้มาแล้วว่า สารชนิดนี้มีอยู่ในตับ สามารถนำมา ใช้รักษาโรคตาได้ เช่นปีค.ศ.๑๙๐๔ มีการรักษาโรคตาแดงในญี่ปุ่นโดยใช้น้ำมันตับปลา
ในปีค.ศ.๑๙๑๓ นักวิจัยชาวอเมริกันสองกลุ่มสามารถสกัด 'สารสำคัญต่อชีวิต' จากเนยไข่แดงและน้ำมันตับปลา
สองปีต่อมา แมคคัลลัมและเดวิสแยก 'สารละลายไขมันเอ' ออกจาก'สารละลายน้ำบี' ซึ่งพบในหางนม ยีสต์ และข้าวขัดขาว สมัยนั้นยัง ไม่รู้จัก วิตามินกันหรอกครับ แต่นักวิจัยรับรู้ว่า มีสารอาหารพิเศษบางชนิดปนอยู่ในไขมันสัตว์และน้ำมันปลา สารตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่ง ต่อสุขภาพร่างกาย เพราะยังไม่รู้แน่ชัดว่า สารตัวนี้คืออะไร นักวิทยาศาสตร์สมัยโน้นจึงเรียกมันว่า สารที่ละลายได้ในไขมันเอ(Fat-Soluble A) เพื่อบ่งบอก ให้รู้ว่ามันมีอยู่จริง ต่อมาเมื่อเราค้นพบสารกลุ่มวิตามิน นักวิชาการจึงร้องอ๋อ ที่แท้เจ้าสารที่ละลายได้ในไขมันเอ ก็คือวิตามินตัวหนึ่งนั่นเอง จึงเปลี่ยนชื่อ ให้มันใหม่เป็นวิตามินเอ ส่วนชื่อของวิตามินเอที่รู้จักกันดีในภาษาชาวบ้านคือ 'น้ำมันตับปลา' และชื่อวิทยาศาสตร์ที่เป็น ทางการของมันคือ 'เรตินอล'

เบต้าแคโรทีน

อาจมีบ่อยครั้งที่คุณจะได้ยินว่า เบต้าแคโรทีน คือวิตามินเอบ้าง โปรวิตามินเอบ้าง เอ๊ะ...ยังไงกัน ผักสีเขียวเข้ม เหลืองส้ม มีเบต้าแคโรทีนสูง เมื่อเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกายส่วนหนึ่งจะถูกร่างกายนำไป เปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอ เราจึงเรียก มันว่าเป็นโปรวิตามินเอ อันหมายถึงสารเคมี เริ่มต้นที่ใช้ผลิตวิตามินเอ กินเบต้าแคโรทีนก็เหมือนได้รับวิตามินเอ จึงเรียกว่าเป็นวิตามินเอจากพืช แต่ถ้าจะเอาวิตามินเอแท้ๆต้องกินตับ นม ไข่ หรืออาหารจากสัตว์

หน้าที่

บทบาทที่เห็นได้ชัดที่สุดและรู้จักกันดีที่สุดคือ บำรุงสายตาและการมองเห็น มันทำได้อย่างไร
วิตามินเอมีส่วนร่วมใน กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อสร้างสารชนิดหนึ่งในลูกตา ชื่อโรดอปซิน (Rhodopsin) โปรตีนชนิดนี้ ช่วยให้ สายตาปรับการรับภาพจากที่สว่างไปมืดได้ และการสร้างโปรตีนชนิดนี้ต้องใช้วิตามินเอจำนวนมาก การขาดวิตามินเอ จึงทำให้เกิด อาการตาบอด ในเวลากลางคืน เพราะนัยน์ตาไม่อาจทำงานในความมืด ยิ่งไปกว่านั้น การขาดวิตามินเอทำให้แก้วตาซึ่งใสเหมือนกระจก เกิดแห้งขุ่นขาว เช่นเดียวกับตาขาว เกิดภาวะที่เรียก Xerophthalmia ซึ่งหากไม่รักษาจะทำให้ตาบอดถาวร
การขาดวิตามินเอ เป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดทั่วโลก วิตามินเอยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญ ของกระดูกและฟัน กระดูกแข็งแกร่ง สูงยาวเข่าดี ฟันสวยแวววาวส่วนหนึ่งก็มาจากผลงานของวิตามินเอด้วย มีการศึกษาชิ้นหนึ่ง ทำในสัตว์ทดลองพบว่า วิตามินเอมีผลต่อการสร้างตัวอสุจิที่แข็งแรง ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้เต็มที่ และอาจช่วยสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ
คนโบราณเชื่อว่าแครอทช่วยให้คนเป็นหมันมีลูกได้ คิดดูแล้วน่าจะมีสารแคโรทีนสูง แคโรทีนถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรง โอกาสมีลูกจึงสูงขึ้น อีกบทบาทหนึ่งของวิตามินเอที่มักเข้าใจสับสน คือการบำรุงผิว วิตามินเอช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากด้านในออกมา การขาดวิตามินเอจะทำให้ผิวหนังหยาบแตกแห้ง แต่การกินเข้าไปมากไม่ช่วยให้ผิวดีขึ้นเกืนปรกติ การกินน้ำมันตับปล าบำรุงผิว จึงไม่ก่อประโยชน์ในคนทั่วไป วิตามินเอจะแก้ปัญหาผิงพรรณได้เฉพาะในคนที่ขาดวิตามินเอ แล้วเขาใส่วิตามินเอในครีมบำรุงผิว ทำไม เดี๋ยวจะเฉลยให้ฟังครับ
วิตามินเอในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อบุอวัยวะต่างๆแข็งแรง โดยเฉพาะเยื่อบุกระเพาะอาหารและทางเดินหายใจ เยื่อบุที่แข็งแรง ช่วยป้องกันมิให้เชื้อโรคและสารพิษทำลายสุขภาพโดยง่าย จึงเป็นเสมือนปราการป้องกันโรคอีกชั้นหนึ่ง มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่า เบต้าแคโรทีนหรือโปรวิตามินเอ มีประโยชน์ต่อคนสูบบุหรี่โดยการเสริมความแข็งแรงของเยื่อบุในปอด

แหล่งวิตามินเอ

เราจะพบวิตามินเอทั้งในอาหารจากพืชและสัตว์ ในอาหารจากสัตว์จะอยู่ในรูปเรตินอล ซึ่งเป็นรูปที่นำไปใช้งานได้เลย แต่วิตามินเอในพืช จะอยู่ในรูปของสารที่ทำให้พืชมีสีเหลือง แดง เขียว อย่างที่เราเห็นกัน เมื่อร่างกายต้องการใช้วิตามินเอ จึงจะนำสารแคโรทีนไปสังเคราะห์ สารแคโรทีนสีเหลืองส้ม ชื่อเบต้าแคโรทีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนที่สำคัญที่สุด เพราะมันเปลี่ยนเป็น วิตามินเอได้ดีกว่าแอลฟา หรือแกมม่าแคโรทีน สารบางชนิดเช่น ไลโคปีน (Lycopene) ที่พบในมะเขือเทศและแตงโมลูกแดงนั้น ก็เป็นพวกแคโรทีนเช่นกัน แต่ร่างกายนำไปใช้ สร้างวิตามินเอไม่ได้ อย่างไรก็ดี ไลโคปีนก็มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เหนือเบต้าแคโรทีนเสียอีก กินมะเขือเทศได้วิตามินเอ น้อยกว่า แต่ได้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า อาหารจากพืช ให้สารตั้งต้นของวิตามินเอ อาหารจำพวกตับสัตว์ ร่างกายได้รับวิตามินเอตรงๆเลย ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอีก แต่ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ดีตรงที่ว่าร่างกายเอาวิตามินเอไปใช้ได้ทันที
ข้อเสียคือ หากกินล้นเกินก็เกิดอันตรายได้เช่น ชาวเอสกิโมที่กินตับแมวน้ำ ตับสิงโตทะเล ตับปลาวาฬ อาจได้รับพิษจากวิตามินเอถึงตาย ตับหมีขาวชิ้นเล็กๆไม่ถึงขีด มีวิตามินเอเกือบล้านหน่วยสากลสามารถก่อพิษได้ คนที่ซื้อน้ำมันตับปลา มากินเป็นกอบเป็นกำด้วยความเชื่อผิดๆ ว่าจะทำให้ผิวสวย ก็มีสิทธิ์ได้รับพิษจากวิตามินเอ พิษจากวิตามินเอเกินขนาด มีตั้งแต่ปวดข้อ จนถึงตาย ตับเป็นแหล่งให้วิตามินเอที่ดี แต่นักโภชนาการแนะนำให้กินตับไม่เกิน ๒ ครั้งต่อเดือน เพราะตับเป็นแหล่งรวมสารพิษในร่างกายรวมทั้งโคเลสเตอรอล สารพิษที่คุณได้รับจาก การกิน การหายใจ การสัมผัส ล้วนมุ่งตรงไปยังตับ ตับมีหน้าที่จับและทำลายพิษ ดังนั้นหากคุณกินตับบ่อยๆ คุณก็จะได้รับสารพิษเข้มข้น เมื่อเทียบกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ไข่แดง เนยแข็ง นมสด เนยแท้ ล้วนมีวิตามินเอแต่ก็มีโคเลสเตอรอลสูงเช่นกัน
การกินพืชสีเขียว เหลือง ส้ม จึงน่าจะเป็นหนทางสุขภาพที่ดีกว่า และยังลดความเสี่ยงจากการได้รับวิตามินเอล้นเกิน เพราะร่างกายจะเปลี่ยน สารแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอเฉพาะเท่าที่ร่างกายต้องการเท่านั้น การศึกษาระยะหลังพบว่า วิตามินเอสามารถก่อพิษ ได้ง่ายกว่าที่เราเคยค้นพบ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท อย่าซื้อน้ำมันตับปลามากินเอง เว้นแต่แพทย์จะแนะนำ โดยทั่วไปพืชผักสีเข้ม จะมีวิตามินเอสูงกว่า พืชผักสีจาง ผักผลไม้สีเหลือง ส้ม มักมีโปรวิตามินเอสูงสุด ส่วนผักสีเขียวเข้มนั้นก็มีแคโรทีนสูงเช่นกัน แต่สีเขียวเข้มจากคอลโรฟิลล์ไปบดบังทำให้เรามองไม่เห็นสีเหลืองส้มในผัก
หากคุณกินอาหารครบหมู่ กินผักผลไม้เยอะๆละก็... คุณไม่ต้องหาวิตามินเอมากินเสริมให้วุ่นวาย

การขาดวิตามิน

แต่กระนั้น ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในภาวะขาดวิตามินเอ หรือเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ โดยเฉพาะในคนที่มีรายได้ต่ำ ไม่ได้กินเนื้อสัตว์ไข่นม เหมือนคนรวย และยังขาดความรู้ในการจัดสำรับที่ถูกต้อง บางคนกินข้าวคลุกน้ำพริกโดยไม่มีผัก โรยผงชูรสพอให้อร่อยลิ้น ผ่านชีวิตไปวันๆ โอกาสขาดวิตามินเอและสารอาหารอื่นๆจึงมีสูงมาก ทารกและเด็กเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อ การขาดวิตามินเอเช่นกัน เพราะอยู่ในช่วงที่กำลัง เติบโตต้องการใช้วิตามิน เด็กตาบอดทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขาดวิตามินเออย่างรุนแรง คนที่จำกัดไขมันเข้มงวด อดอาหาร ลดความอ้วน เป็นอีกกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ เพราะวิตามินเอละลายอยู่ในอาหารที่เป็นไขมัน บางคนขาดวิตามินเอ เพราะมีปัญหาใน การดูดซึมไขมัน หรือป่วยเป็นโรคตับอักเสบ โรคในระบบทางเดินอาหาร การขาดสังกะสี จะทำให้คุณขาดวิตามินเอด้วย เพราะสังกะสีช่วยให้ ร่างกายนำวิตามินเอไปใช้ หากคุณขาดวิตามินเอระยะต้น คุณจะตาพร่ามัวเมื่ออยู่ในที่มืด เรียกว่าตาบอดเวลากลางคืน (Night Blindness) หากยังไม่แก้ไขผิวด้านนอกของลูกตาจะเริ่มแห้ง หนา และขุ่นมัว จนถึงตาบอดได้ ไม่เพียงแต่ผิวตาแห้ง ผิวที่ตัวก็แห้งด้วย การขาดวิตามินเอ ทำให้ผิวและเยื่อบุทุกแห่งเกิดปัญหา ผิวหนังของคุณจะหยาบหนา แตกระแหงเหมือนดินหน้าแล้ง แม้แต่ผิวภายในคือ เยื่อบุกระเพาะและ ปอดก็อาจแตก เป็นแผลได้เช่นกัน รวมถึงเนื้ออ่อนบริเวณอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ คนที่ป่วยเป็นไข้เรื้อรัง ตับอักเสบ รูมาติก จะใช้วิตามินในตับอย่างรวดเร็ว แพทย์จะจ่ายวิตามินเอขนาดสูงเพื่อชดเชย

พิษของวิตามินเอ

การกินวิตามินเอปริมาณสูงติดต่อกันนานๆ ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ เพราะมันสะสมเพิ่มทวีในตับ อาการพิษที่พบคือ ผมร่วง ปวดตามข้อ คลื่นไส้ กระดูกและกล้ามอักเสบ ปวดศีรษะ ผิวแห้งแตกสะเก็ด ท้องเสีย ผื่นคัน ตับโต ม้ามโต ประจำเดือนไม่มา ร่างกายหยุดเติบโต
ขนาดปรกติที่ร่างกายควรได้รับใน ๑ วัน คือ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ หน่วยสากล แต่จะน้อยกว่านี้ในบางวันก็ไม่เป็นปัญหา เพราะร่างกายเก็บ สะสมไว้ใช้ได้
การศึกษา ๒ ชิ้นพบว่า หากคุณกินสักเพียง ๕ เท่าติดต่อกันนานๆ จะทำให้ตับถูกทำลายได้ และหญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอเพิ่มมากกว่า ๑๐,๐๐๐ หน่วยสากล จะเสี่ยงต่อการมีทารกพิการเพิ่มขึ้นถึง ๕ เท่า ผลการศึกษาบอกให้รู้ว่า วิตามินเอล้นเกินมีอันตรายมากกว่าที่คิด
วิตามินเอจากสัตว์สะสมที่ตับ ส่วนโปรวิตามินเอจากพืช หรือเบต้าแคโรทีนจะสะสมที่ไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าคุณกินมะละกอหรือน้ำแครอทมากๆ ผิวคุณจะเหลืองผ่องเป็นทองทา คล้ายพระสังข์ทรงช้าง ไม่อันตรายอะไร หยุดกินก็หายไปเอง

เครื่องสำอางผสมวิตามินเอ

วิตามินเอ เมื่อนำมาใช้ทาผิวหนัง มันจะออกฤทธิ์คะละแบบที่เรากินเข้าไป คือมันจะไม่ช่วยบำรุงสุขภาพผิว แต่จะออกฤทธิ์ในสองรูปแบบคือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือเป็นกรดที่เร่งการหลุดลอกของผิวหนัง
ในแง่การต้านอนุมูลอิสระ ตัววิตามินเอในรูปเรตินอลไม่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้องเป็นในรูปเบต้าแคโรทีน ดังนั้น การเอาวิตามินเอ มาทาผิวหวังปกป้องอนุมูลอิสระ จึงไม่ก่อผลตามต้องการ ยกเว้นจะกินเบต้าแคโรทีนเข้าไป ส่วนในแง่ฤทธิ์เป็นกรดในตลาด มีผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่ง ผสมสารไตรติโนอิน ซึ่งเป็นกรดวิตามินเอ รู้จักในชื่อการค้า เรติน-เอ
เรตินเอ คือครีมที่มีส่วนผสมของสาร Tretinoin ซึ่งเป็นกรดของวิตามินเอ อาจเรียกว่า Retinoic Acid
เรตินเอเป็นยาใช้ภายนอก เดิมรู้จักกันในนามยารักษาสิว แต่ต่อมานิยมใช้เพื่อลบริ้วรอยบนใบหน้า
เรตินเอช่วยเกลี่ยสีผิวให้กระจายสม่ำเสมอ ทำให้แลดูผิวเนียน ลดจุดด่างดำและลดริ้วรอยที่เกิดจากแสงแดดทำลายได้พอควร ทำให้ผิวนุ่มนวลขึ้น

การศึกษาบางชิ้นให้ผลว่า มันช่วยลดการสลายของคอลลาเจน และอีลาสตินจึงช่วยยับยั้งมิให้ผิวเสียก่อนวัยอันควร แต่งานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า มันไปยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันที่ผิว ทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังมากขึ้น ถึงวันนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับกรดวิตามินเอ ยังมีไม่มากพอที่จะสรุปไป ทางใดทางหนึ่ง การกินวิตามินเอขนาดสูง อาจทำให้ทารกในท้องพิการ จึงไม่แนะนำให้ใช้เรตินเอในช่วงตั้งครรภ์
เรตินเอทำให้หน้าเป็นสีชมพูเหมือนเด็กๆ แต่ผิวตรงนั้นจะระคายเคืองอักเสบง่ายเมื่อโดนแสงแดด ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆใช้สารอีกตัวคือเรตินอล ซึ่งก็เป็นวิตามินเอเช่นกัน และใช้ได้ดีกว่าเพราะก่อผลข้างเคียงน้อยกว่า
การวิจัยในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า เมื่อทาเรตินอล ๑ % ลงบนผิวหนังบางส่วนจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกรดเรติโนอิก ซึ่งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และลบริ้วรอยลงได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม เครื่องสำอางมักใส่เรตินอลในปริมาณที่ต่ำกว่าการทดลอง เรตินอลและกรดวิตามินเออื่นๆทำงานโดย การลอกหนังด้านนอกออก เป็นแผ่น เมื่อเราอายุมากขึ้นผิวหนังใช้เวลานานขึ้นกว่าจะหลุดลอก และยอมให้ผิวข้างในผุดขึ้นแทนที่ แต่ในเด็กและคนหนุ่มสาว การหลุดลอกเกิดเร็วกว่า ผิวที่เห็นจึงเป็นผิวใหม่เสมอ
อายุของผิวในคนหนุ่มสาวคือ ๒๘ วัน หลังจากนั้นจะหลุดลอกและผิวใหม่ปรากฏแทนที่ แต่ในคนสูงวัยอาจใช้เวลานานถึง ๖๐ วัน
หากคุณซื้อหาครีมบำรุงผิวผสมวิตามินเอติดมือกลับบ้าน ลองพิจารณาชนิดที่มีคำว่าเรตินอล (Retinol) เรตินีล อะซีเตท (Retinyl Acetate) เรตินีล ไลโนลิเอต (Retinyl Linoleate) หรือ เรตินีล พาลมิเตท (Retinyl Palmitate) ผู้ใช้เรตินเอส่วนใหญ่จะเจอกับ ปัญหาผิวแดงระคายเคือง แสบรอบจมูก ผิวลอกไหม้ คัน หลังใช้ยาตัวนี้ ๓-๕ วัน และอาจเป็นเช่นนี้นานหลายเดือนหากไม่หยุดใช้ยา ยิ่งใช้ยาความแรงสูง(๐.๑%) ยิ่งระคายเคือง ขนาด ๐.๐๒๕% ช่วยให้ระคายเคืองน้อยลง แต่เห็นผลช้าลงด้วย
แนะนำให้ใช้ มอยส์เจอไรซ์ หรือครีมไฮโดรคอร์ติโซน ๑ % หรือครีมกันแดดเพื่อลดผลข้างเคียง ผลิตภัณฑ์ผสมวิตามินเอ ทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น โดนแดดเพียงชั่วครู่อาจทำให้ผิวไหม้ แสบร้อนใบหน้า จึงควรทาทับด้วย ครีมกันแสงแดดเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้ง บางคนใช้เรตินเอทาลำคอ แขน มือ เพื่อลบริ้วรอยด้วยซึ่งใช้ได้ผล พบว่ายิ่งเป็นบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด ยิ่งได้ผลเร็ว ต้องทาเรตินเออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และทานาน ๒-๖ เดือน จึงจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง

ข้อควรรู้
การศึกษาไม่นานมานี้ให้ข้อสังเกตว่า คนที่กินพืชผักที่มีเบต้าแคโรทีน (หรือโปรวิตามินเอ) ในปริมาณมาก จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดน้อยกว่า คนที่ไม่ชอบกินผักผลไม้ ดูราวกับว่าวิตามินเอในรูปเบต้าแคโรทีน จากผักผลไม้ จะช่วยป้องกันมะเร็งได้ระดับหนึ่ง แต่หากสกัดเบต้าแคโรทีน มากินเป็นเม็ดแบบอาหารเสริม กลับไม่ได้ผลปกป้องมะเร็ง แถมยังอาจกระตุ้นมะเร็งในคนสูบบุหรี่จัดอีกด้วย กินผักผลไม้ดีที่สุด

Source : ภก.สรจักร ศิริบริรักษ์ จากหนังสือพลอยแกมเพชร

วิตามินเอ (RETINOL)

วิตามินเอ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เรทีนอล ซึ่งตับสร้างขึ้นโดยใช้สาร เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) วิตามินเอในรูปของ แคโรทีน ได้จะดีมาก คือจะป้องกันการสะสมของวิตามินเอ และจะไม่ทำให้เกิดการเป็นพิษแก่ร่างกาย วิตามินเอและโปรวิตามินเอ ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายไขมัน ถูกทำลายได้ง่ายโดยการออกซิไดส์ หรือเมื่อได้รับความร้อนสูงมาก ๆ ในอากาศ แสงแดด แสงอัลตราไวโอเลต และในไขมันที่เหม็นหืน แต่ทนความร้อนกรดและด่าง

วิตามิน เอค่อนข้างคงตัว (Stable) กว่าแคโรทีน ในการเก็บวิตามินจำพวกนี้จึงเก็บใส่ขวดสีน้ำตาลและใส่สารต่อต้านปฎิกิริยา ออกซิเดชั่น (Antioxidant) อาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ หรือเรทีนอล ได้แก่ นม เนย ไข่แดง น้ำมันตับปลา หรือตับปลาเป็น แหล่งที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบในตับเครื่องในสัตว์ กุ้ง และผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี่ พริก ผักตำลึง ผักบุ้ง สปิแนช โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลืองจัดเขียวจัดและสีแสดจะมีวิตามินเอสูงมาก เช่น มันเทศ แครอท ลูกพีช มะละกอ กล้วย สับปะรด ละมุด ขนุน ส้มสด ๆ มะม่วงและทุเรียน

หน้าที่สำคัญของวิตามินเอช่วยใน การเป็นในที่สลัวโดยควบคุมการทำงานของ ร็อคเซลล์ (rod cells) และโคนเซลล์ (cone cells) ในเรตินา (retina) ของนัยน์ตา , ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุผิว (EPITHELIAL CELLS) ของอวัยวะต่าง ๆ , วิตามินเอมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการสร้างกระดูกและฟัน , วิตามินเอจำเป็นต่อการทำงานเป็นปกติของระบบสืบพันธุ์ , เบต้าแคโรทีน ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านปฏิกริยาออกซิเดชั่น (Antioxidant) , ช่วยในการเสริมสร้างให้ร่างกาย เจริญเติบโต และช่วยให้มีความ กระฉับกระเฉง , สร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและไวรัสอาการขาดวิตามินเอจะทำให้ตา พร่า เห็นไม่ชัด มองในที่มืดไม่เห็นตาสู้แสงไม่ได้ ระคายเคือง ผอมแห้ง ง่ายต่อการติดโรคและง่ายต่อการแพ้สิ่งต่าง ๆ มีปัญหาเวลาขับรถกลางคืน ผมจะร่วง ผมแห้ง เล็บเปราะ ผิวหนังตกสะเก็ด และเหี่ยวย่นก่อนวัย เบื่ออาหาร ความรู้สึกรับรสและกลิ่นไม่ดีพอ

การขาดวิตามินเอจะแสดงออกที่ส่วนตา ก่อนส่วนอื่น ๆระบบปัสสาวะ เยื่อบุไต กรวยไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้แคลเซียมเกาะได้ง่ายขึ้นมักมีการติด เชื้อทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดปฏิกิริยาของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นด่าง ซึ่งเป็น ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดนิ่วชนิด แคลเซียมฟอสเฟต ในไตและกระเพราะปัสสาวะระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้ปาก คอ ลิ้น และเหงือกอักเสบเป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ง่าย อาจมีอาการท้องร่วงเด็กที่ขาดวิตามินเอ การเจริญเติบโตช้า การสร้างกระดูกที่ส่วนปลายของกระดูกยาว (epiphysis) ผิดปกติ เคลือบฟันผิดปกติและเจ็บป่วยเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำ มีผลทำให้เด็กรูปร่างเล็ก แคระแกรนได้

* ข้อมูลทั่วไป
o วิตามิน เอ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เรทีนอล ซึ่งตับสร้างขึ้นโดยใช้สารเบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) และสารนี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ในขณะเมื่ออยู่ในลำไส้เล็ก (Intestinal Mucosa) ในตับและในเนื้อหนังอื่น ๆ และจะเปลี่ยนเฉพาะเท่ากับจำนวนที่ร่างกายต้องการเท่านั้น ดังนั้นถ้าสามารถรับประทานวิตามิน เอในรูปของ แคโรทีนได้จะดีมาก คือจะป้องกันการสะสมของวิตามิน เอ และจะไม่ทำให้เกิดการเป็นพิษแก่ร่างกาย เพียงแต่ทำให้มีแคโรทีนในเลือดสูง (Carotinemia) จะทำให้ตัวเหลือง (ผิดกับโรคดีซ่านที่นัยน์ตาไม่เหลืองโดยทั่วไปจะไม่มีอันตรายอย่างอื่น เมื่อหยุดกินแคโรทีนตัวเหลืองก็จะหายไปเอง แต่อย่างไรก็ดีไม่ควรปล่อยไว้เป็นเวลาแรมเดือนอาจเกิดโทษเช่นกัน
o วิตามินที่ละลายในไขมันปราก ฎอยู่ในธรรมชาติ 2 รูปคือ วิตามิน เอ และแคโรทีน (Carotene) เนื่องมาจากสามารถใช้รักษาโรค Xerophthalmia แคโรทีนเป็นสารแรกเริ่มของวิตามินเอที่ต้องอาศัยปฎิกิริยาของเอนไซม์ไดออกซี จีเนส (Dioxygenase) และเรตินีน รีดักเทส (Retinene reductase) ในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ เรตินอล (Retinol) ที่ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ แคโรทีนมีมากในแครอทและผักใบเขียวบางชนิด เช่น ผัก บร็อคโคลี่ ในกรณีที่มีความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถใช้แคโรทีน โอกาสของการขาดวิตามิน เอจะมีสูง
o คุณสมบัติ
+ วิตามิน เอที่บริสุทธิ์จะเป็นสารประกอบที่มีผลึกสีเหลืองซีด สำหรับแคโรทีนเป็นสารประกอบที่มีผลึกสีแดงเข้ม ทั้งวิตามิน เอและโปรวิตามิน เอ ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำละลายไขมัน ถูกทำลายได้ง่ายโดยการออกซิไดส์ หรือเมื่อได้รับความร้อนสูงมาก ๆ ในอากาศ แสงแดด แสงอัลตราไวโอเลต และในไขมันที่เหม็นหืน แต่ทนความร้อนกรดและด่าง
+ วิตามิน เอค่อนข้างคงตัว (Stable) กว่าแคโรทีน ในการเก็บวิตามินจำพวกนี้จึงเก็บใส่ขวดสีน้ำตาลและใส่สารต่อต้านปฎิกิริยา ออกซิเดชั่น (Antioxidant) เช่นวิตามิน อีไว้ด้วย วิตามิน เอ และโปรวิตามินคงทนต่อความร้อนได้ดีพอสมควรในการประกอบอาหารคือในการทำอาหาร กระป๋อง วิตามินนี้จะถูกทำลายเสียไปแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
o ในร่างกายมีอนุพันธ์ของ วิตามิน เออยู่หลายรูป ได้แก่
+ อนุพันธ์ที่มีอยู่ในรูปของแอลกอฮอล์คือ เรตินอล (Retinol) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นการสืบพันธุ์
+ อนุพันธ์ที่มีอยู่ในรูปของอัลดีไฮด์คือ เรตินอล (Retinal) ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวกับสายตา
+ อนุพันธ์ ที่อยู่ในรูปของกรดคือ กรดเรติโนอิก (Retinoic acid) ซึ่งมีบทบาทในการเร่งการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานหน้าที่ต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อบุผิว แต่ไม่สามารถทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและระบบสืบพันธุ์ได้ กรดเรติโนอิกไม่สามารถเก็บสะสมในร่างกาย แต่จะถูกเมตาบอไลซ์ได้อย่างรวดเร็ว
+ สารแรกเริ่มของวิตามิน เอมีในสารที่เรียกว่า แคโรทินอยด์ (Carotenoid) แคโรทินอยด์ เป็นสารที่มีทั้งในพืช และเนื้อเยื่อของสัตว์ เชื่อว่า แคโรทินอยด์ที่พบในสัตว์ได้มาจากพืช พืชที่มีแคโรทินอยด์ คือ พืชที่มีสีแดงเหลืองและส้ม แคโรทินอยด์ในธรรมชาติมีมากกว่า 500 ชนิด แต่ประมาณ 30 กว่าชนิด เท่านั้นที่ให้ Vitamin A activity หรืออาจเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอได้ การให้ Vitamin A activity ของแคโรทินอยด์แต่ละตัวนั้นไม่เท่ากัน เบต้าแคโรทีนจะเป็นแคโรทินอยด์ที่ให้ Vitamin A activity มากที่สุดคือ 100 เปอร์เซ็นต์
o วิตามิน เอที่พบทั่วไปในธรรมชาติมีอยู่ 2 รูป คือ
+ วิตามิน เอ1 (Vitamin A1 หรือ Retinol) พบมากในเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นม และในตับปลาน้ำเค็ม
+ วิตามิน เอ2 (3-dehydroretinol, dehydrovitamin A1, Retino2 ) พบมากในตับปลาน้ำจืดมี Biological Activity ประมาณครึ่งหนึ่งของ วิตามิน เอ 1
o ประวัติ
+ ค. ศ. 1912 ฮอปกินส์ (Hopkins) ได้เลี้ยงหนูด้วยอาหารบริสุทธิ์ ปรากฎว่าหนูเติบโตช้า แต่ถ้าเติมนม (Whole milk) ลงไปด้วยเล็กน้อยจะทำให้เติบโตได้เป็นปกติ ในเวลาไล่เรี่ยกันนี้ ออสบอร์น และเมนเดล (Osborne and Mendel) ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของหนูโดยเลี้ยงด้วยอาหารบริสุทธิ์ร่วมกับไขมันชนิด ต่าง ๆ ปรากฎว่าถ้าใช้ไขมันจากน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืชแอลมอนด์ หนูจะไม่เจริญเติบโต นัยน์ตาแห้งอักเสบจนเป็นหนองแต่ถ้าเติมน้ำมันตับปลา ไขมันจากเนยหรือไข่แดงลงไปด้วยหนูจะเจริญเติบโตดี โรคของนัยน์ตาก็หายไปแสดงว่าน้ำมันตับปลา ไขมันจากเนย และไข่แดงมีสารซึ่งรักษาอาการดังกล่าวได้
+ ค.ศ. 1915 แมคคัลลัม และ เดวิส (Mc.Collum and Davis) ได้สกัดเนยและไข่แดงด้วย อีเทอร์ ได้สารสำคัญที่ช่วยให้หนูเติบโตและรักษาโรคนัยน์ตาอักเสบ (Xerophthalmia) ได้และตั้งชื่อว่า Fat soluble A
+ ค.ศ. 1919 สตีนบุ๊ค (Steenbook) พบว่าอาหารที่ประกอบด้วยผักสีเหลือง ช่วยการเติบโตและช่วยการสืบพันธุ์ของวัวด้วย (ทดลองโดยให้กินข้าวโพดเหลืองเปรียบเทียบกับข้าวโพดขาว)
+ ค.ศ. 1928 แคโรทีน ซึ่งเป็นสารมีสีเหลือง ของพืชถูกค้นพบซึ่งเป็นตัวแรกเริ่มของวิตามิน เอ
+ ค.ศ. 1931 คาร์เรอร์ (Karrer) ได้แยก เรตินอล (Vitamin A alcohol) ได้เป็นครั้งแรก
+ ค.ศ. 1946 มิลลาส (Milas) สังเคราะห์ เรตินอล ได้

ประโยชน์ต่อร่างกาย

o ช่วย ในการเห็นในที่สลัวโดยควบคุมการทำงานของ ร็อคเซลล์ (rod cells) และโคนเซลล์ (cone cells) ในเรตินา (retina) ของนัยน์ตาโดยที่ เรตินาของตาประกอบด้วยตัวรับแสง (light receptors) อยู่ 2 ชนิด ด้วยกันคือ
ร็อคเซลล์ ใช้สำหรับการมองในเวลากลางคืนหรือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
โคนเซลล์ สำหรับการมองในที่ ๆ มีแสงสว่างใช้สำหรับการแยกสี
ร็อคเซลล์ จะผลิตสารมีสี ที่มีชื่อเรียกว่า โรดอปซิน (Rhodopsin or visual purple) ซึ่งเป็นสารที่สีไวต่อแสง และโคนเซลล์จะผลิต ไอโอดอปซิน (iodopsin or visual violer) สารมีสีทั้งสองอย่างนี้วิตามินเออัลดีไฮด์ (vitamin a aldehyde) แต่แตกต่างกันตรงที่โปรตีนที่มาจับเกาะกับอัลดีไฮด์นี้ เมื่อแสงมากระทบตัวรับแสง (receptors) ทั้งสองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีพลังประสาทส่งผ่านไปยังสมองทำให้ เราสามารถมองเป็นได้ทั้งในเวลากลางวันและในเวลาที่มีแสงสลัว (dim light) โดยที่สารเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าวิตามินเอไม่พอการสังเคราะห์โรดอปซินช้า ทำให้การปรับตัวในที่มืดเสื่อมไป เกิดอาการตาฟางในเวลากลางคืนและถ้าขาดมากจะเป็นโรคตาบอดกลางคืนหรือที่เรียก ว่า ตาบอดแสง (Light blindness,ctalopia) อาการนี้จัดเป็นอาการแรกที่แสดงถึงการขาดวิตามินเอ จากการทดลองพบว่าเรตินัล จำเป็นสำหรับไอโดดอปซินเช่นเดียวกับโรดอปซิน ฉะนั้นในรายที่ขาดวิตามินเอจะทำให้มองไม่เห็นในเวลากลางวันด้วย (day blindness,meralopia)
o ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุ ผิว (EPITHELIAL CELLS) ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเป็นตัวกระตุ้นการสังเคราะห์สารประกอบพวก Acidmucopolysac-charides และไกลโคโปรตีน ในเซลล์ชนิดบุผิวแล้วหลั่งสารประกอบพวกนี้ (mucous) ออกมาหล่อเลี้ยงเซลล์เพื่อทำให้เกิดความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เยื่อบุตาขาว (conjunctiva) เยื่อบุทางเดินหายใจ (tracheobronchial tract) เยื่อบุทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (genitourinary tract) และเยื่อบุหูชั้นกลางเป็นต้น
o วิตามินเอมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการสร้างกระดูกและ ฟัน ถ้าขาดวิตามินเอกระดูกไม่เจริญร่างกายไม่เติบโต กระดูกจะหนาและใหญ่หมดสมรรถภาพในการโค้งงอโดยเฉพาะที่มีรูกระโหลกศรีษะและไข สันหลัง ทำให้รูตันหรือเบี้ยว จึงกดประสาทสมองและไขสันหลัง ยังผลให้หูหนวกและเป็นอัมพาตของแขน ขาได้ ส่วนฟันนั้นจะมีการลอกหลุดของเคลือบฟัน เหลือแต่เนื้อฟัน (dentine) จึงทำให้ฟันผุง่าย
o วิตามินเอจำเป็นต่อการทำงานเป็นปกติของระบบสืบ พันธุ์ เช่น การสร้างตัวอสุจิ (spernatogenesis) ในผู้ชายและระบบประจำเดือนของผู้หญิง ถ้าอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ถ้าได้รับวิตามินเอ ไม่พอจะทำให้เด็กมีโครงสร้างที่ผิดปกติ (malfornation) วิตามินเอที่อยู่ในรูปแอลกอฮอล์ (retinol) จะมีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นการสืบพันธุ์แต่วิตามินเอในรูปของกรด (retinoic acid) จะช่วยในการตั้งครรภ์แต่ไม่ได้ป้องกันการแท้ง นอกจากนี้การขาดวิตามินเอทำให้การสังเคราะห์ estrogen ลดลง
o เบต้าแคโรทีน ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านปฏิกริยาออกซิเดชั่น (Antioxidant) ซึ่งคอยกำจัดอนุมูลอิสระ (free radicals) ก่อนที่มันจะทำปฏิกิริยาทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์ จนทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง ตับ หรือ กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติของไขมันในร่างกาย ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว และเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ แต่การกำจัดอนุมูลอิสระจะต้องได้รับเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ได้อย่างพอ
o ช่วยในการเสริมสร้างให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยให้ มีความกระฉับกระเฉง เสริมสร้างความต้านทานต่อการอักเสบโดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบการหายใจ ผิวหนัง กระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งทรวงอก
o สร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและไวรัส มีอิทธิพลต่อการหมุนเวียนของสารกึ่งเหลวตลอดจนโลหิตน้ำเหลือง

แหล่งที่พบ
o ได้แก่ นม เนย ไข่แดง น้ำมันตับปลาหรือตับปลาเป็นแหล่งที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบในตับเครื่องในสัตว์ กุ้ง และผักใบเขียว เช่น บรอคโคลี่ พริก ผักตำลึง ผักบุ้ง สปิแนช โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลืองจัดเขียวจัดและสีแสดจะมีวิตามิน เอสูงมาก เช่น มันเทศ แครอท ลูกพีช มะละกอ กล้วย สับปะรด ละมุด ขนุน ส้มสด ๆ มะม่วงและทุเรียน
o เป็นที่น่าสนใจว่าพืชที่ไม่ถูกแดดจะ มีโพรวิตามิน เอต่ำกว่าพืชที่ถูกแดด หรือพืชที่สุกจะมีโพรวิตามิน เอมากกว่าพืชดิบ เช่น มะละกอสุกหรือมะม่วงสุก มีแคโรทีนมากกว่ามะละกอดิบหรือมะม่วงดิบ พืชที่มีสีเขียวจัดหรือเหลืองจัดมักมีแคโรทีนมากกว่ามันเทศสีขาว
o กล้วยไข่มีแคโรทีนมากกว่ากล้วยน้ำว้า แต่สำหรับขนุนและทุเรียนถึงแม้จะมีสีเหลืองแต่มีแคโรทีนอยู่น้อยกว่าผลไม้สี เหลืองอื่น ๆ
o สำหรับ ใบยอนั้นมีวิตามินเอเป็นอันดับหนึ่งมากกว่าตับไก่ ถ้ารับประทานตับไก่ 1 กรัมจะได้วิตามิน เอ 200 หน่วยสากล แต่ถ้ารับประทาน ใบยอ 1 กรัม จะได้วิตามิน เอถึง 43333 หน่วยสากล หรือ IU (International Unit) อย่างไรก็ดีเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและน่าสนใจยิ่งนักที่เมืองไทยมีใบยอให้รับ ประทานกันมาก จากตารางข้างล่างนี้จะพบว่าในใบยอมีวิตามิน เอมากเป็นที่หนึ่งของบรรดาอาหารไม่ว่าจะเป็นตับไก่ ตับหมู มันปูทะเล ไข่แดง หรือเนย โปรดสังเกต ดังนี้
ปริมาณวิตามิน เอในอาหารที่กินได้ 1 กรัม
อาหาร หน่วยสากล
ใบยอ 43,333
ยอดแค 12,466
ตับไก่ 32,200
ใบบัวบก 10,962
ใบแมงลัก 26,00
ตับหมู 10,900
ตับวัว 24,940
ผักชะอม 10,066
ใบโหระพา 20,712
ผักคะน้า 9,300
ผักตำลึง 18,608
ผักกระถิน 7,883
แครอท 18,102
ไข่แดง 7,675
ปูทะเล(มัน) 14,155
พริกขี้หนูพริกชี้ฟ้า 7,010
ใบมันสำปะหลัง 13,455
เนย 3,300
ผักโขม 12,860
มะม่วงสุก 2,580
o หน่วยของวิตามิน เอ
+ นิยม จัดเป็น international unit (IU) และ retinol equivalents (RE) IU นั้นจำแนกเป็น IUa ซึ่งเป็นหน่วยของวิตามินเอที่มาจากแหล่งสัตว์และ IUc ซึ่งเป็นหน่วยของวิตามินเอที่มาจากแหล่งของพืช โดยที่
1 IUa (international unit ของ perforned vitamin a) = 0.3 ไมโครกรัมของเรตินอล
1 iuc (international unit v provitamin A cerotenoik) = 0.6 ไมโครกรัมของ
เบต้าแคโรทีน หรือ 0.33 IUa
1 IUa = 3 IUc
+ ใน ตารางคุณค่าอาหารจะแสดงค่าวิตามินเอด้วยหน่วย IU โดยคาดว่า ผู้ใช้ตารางควรทราบว่า IU ของวิตามินเอที่มาจากสัตว์นั้นควรเป็น IUa และจากพืชคือ IUc แต่ในความเป็นจริงผู้ใช้บางท่านไม่ทราบ ทำให้เกิดความผิดพลาดของการคำนวณหาปริมาณวิตามินเอในอาหารที่บริโภคประจำวัน ทำให้ได้ค่าว่าวิตามินเอที่บริโภคจากอาหารนั้นสูงมากกว่าความเป็นจริง เพราะไม่ได้แปลงค่า IUc เป็น IUa ก่อนหรือถึงแม้คำนวณได้ถูกต้องค่า IU ที่ได้ก็มิใช่ปริมาณที่แท้จริงของวิตามินเอที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงมีการเสนอแนะหน่วยใหม่ขึ้นคือ retenol eqwuivalents (RE) เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากของการแปลงหน่วย IU และความสับสนที่เกิดขึ้นโดยถือหลักว่า Retinol นั้นคือรูปของวิตามินเอที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น RE จึงคือเป็น Fuunctional unit การแสดงค่าของวิตามินเอ ในแหล่งอาหารไม่ว่าจะมาจากพืชหรือสัตว์ การใช้หน่วย RE จะก่อให้เกิดความเข้าใจทันที ว่าอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์ได้มากน้อย เพียงใด
+ 1 RE (retinol equivalents) = 1 ไมโครกรัมเรตินอล (3. IUa 33 หรือ 10 IUc) = 6 ไมโครกรัมของเบต้าแคโรทีน
+ ถ้า เป็นแคโรทีนต้องกินเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าเพราะการย่อยและการดูดซึมยากกว่า วิตามินเอที่มีแหล่งมาจากสัตว์มักจะพบในรูปของสารประกอบประเภทเรตินอยส์ซึ่ง มีเรตินอลเป็นตัวแสดงฤทธิ์ของวิตามินเอในร่างกาย ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันทีเมื่อผ่านขบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย วิตามินเอจากพืชจะอยู่ในรูปของสารประกอบประเภท แคโรทีนนอยด์ซึ่งเป็นโปรวิตามินเอร่างกายจะต้องเป็นเป็นวิตามินเอก่อนจะนำไป ใช้

* ปริมาณที่แนะนำ
ทารก
3 - 5 เดือน 420 RE
6 - 11 เดือน 375 RE
เด็ก
1 - 3 ปี 390 RE
4 - 6 ปี 400 RE
7 - 9 ปี 500 RE
เด็กชาย
10 -12 ปี 600 RE
เด็กหญิง
> 10 ปี 600 RE
> 13 ปี 700 RE
หญิงมีครรภ์ ควรเพิ่มอีก 200 RE
หญิงให้นมบุตร
ช่วง 5 เดือนแรก ควรเพิ่มอีก 400 RE
หลัง 6 เดือน ควรเพิ่มอีก 320 RE
o เบต้าแคโรทีน
+ สำนัก งานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าคนปกติควรได้รับเบต้าแคโรทีนประมาณ 5.2 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าควรได้รับเบต้าแคโรทีนประมาณ วันละ 6 มิลลิกรัม สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานอาหารและยาแนะนำว่าควรได้รับแบต้าแคโรทีน วันละ 4.8 มิลลิกรัม
+ การรับประทานวิตามินเอ ควรจะคอยระวังเฝ้าดูอาการที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งอาจจะเกิดได้ระหว่างที่รับประทานอยู่เป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะมีอาการอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง รวมกันก็เป็นได้ ถ้าพบว่ามีอาการที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นควรหยุดรับประทานวิตามินนี้
+ อาการควรสังเกต เช่น ปวดข้อ ปวดกระดูก ตับไต ผิวหนัง มีแผลเปื่อยตามผิวหนัง เล็บเปราะ ผมร่วง ริมฝีปากแตก เหงือกอักเสบ ไม่อยากอาหาร โกรธและเหนื่อยง่าย

ผลของการขาด

o จะ ทำตาพล่า เห็นไม่ชัด มองในมืดไม่เห็นตาสู้แสงไม่ได้ ระคายเคือง ผอมแห้ง ง่ายต่อการติดโรคและง่ายต่อการแพ้สิ่งต่าง ๆ มีปัญหาเวลาขับรถกลางคืน ที่ตามีฝ้าขาวซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาเป็นเกล็ดกระดี่ ผมและขนจะร่วง ผมแห้ง เล็บเปราะ ผิวหนังตกสะเก็ด และย่นก่อนวัย เบื่ออาหาร ความรู้สึกรับรสและกลิ่นไม่ดีพอสรุปได้ดังนี้
+ การ ขาดวิตามินเอจะแสดงออกที่ส่วนตาก่อนส่วนอื่น ๆ เช่น โรคตาบอดกลางคืนซึ่งเป็นจากการขาดวิตามินเออย่างน้อย ๆ ต่อมาเมื่อขาดวิตามินเอรุนแรงและมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุ นัยน์ตาจนก่อให้เกิดอาการทางตาที่เรียกว่า xeropth-almia ซึ่งหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับลูกตาทั้งหมด (ocularmanu- festation)
+ การขาดวิตามินเอจะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ชนิดบุผิวหนังของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้นบ่อย ๆ อาจมีการอักเสบในช่องจมูก โพรงจมูก คอเจ็บบ่อย ๆ หูอักเสบ เป็นฝีการอักเสบของช่องปาก ต่อมน้ำลาย การอักเสบเหล่านี้จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เรื่อย เพราะเยื่อบุของอวัยวะเหล่านี้มีการแห้งตายหรือสลายตัวทำให้เกิดการติดเชื้อ โรคได้ง่าย
ระบบปัสสาวะ เยื่อบุไต กรวยไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แคลเซียมเกาะได้ง่ายขึ้นมักมีการติด เชื้อทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดปฏิกิริยาของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นด่าง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดนิ่วชนิด แคลเซียมฟอสเฟต ในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบทางเดินอาหาร ขาดวิตามินเอ อาจทำให้ปาก คอ ลิ้น และเหงือกอักเสบเป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ง่าย อาจมีอาการท้องร่วง
ผิวหนัง (follicular hyperderatosis) ผิวหนังหนาขึ้น แห้ง หยาบเป็นเกล็ด หรือเกิดเป็นตุ่มสาก ๆ หรือหนามที่ปากเปิดช่องรูขุมขน เนื่องจากมีเคราตินมาสะสมมาก มักพบเกิดขึ้นแถวแขนขา แพร่กระจายไปตาม บ่า หลัง หน้าท้อง บางครั้ง เม็ดผื่นตามผิวหนังมารวมกลุ่มกันเป็นตุ่มโต มัลักษณะเหมือนหนังห่าน หรือหนังคางคก (toad skin phrynoderma) อาการทางผิวหนังนี้เข้าใจว่าเกิดการขาดวิตามินเอและวิตามินบีรวม
+ เด็กที่ขาดวิตามินเอ การเจริญเติบโตช้า การสร้างกระดูกที่ส่วนปลายของกระดูกยาว (epiphysis) ผิดปกติ เคลือบฟันผิดปกติและเจ็บป่วยเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำ มีผลทำให้เด็กรูปร่างเล็ก แคระแกร็นได้

ผลของการได้รับมากไป

o การ ได้รับวิตามินเอมากเกินไป จะเกิดอาการเป็นพิษได้ ความเป็นพิษนี้อาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้เด็กถ้าได้รับวิตามินเอ มากกว่า 100 มิลลิกรัม ( 330,000 IU ) หรือผู้ใหญ่ได้รับวิตามินเอมากกว่า 200 มิลลิกรัม ( 660,000 IU ) จะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน มีอาการปวดหัวคลื่นไส้อาเจียน มี cerebrospinal pressure เพิ่มขึ้น มีการมองเห็นภาพซ้อน (double vision) กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน อาการจะเกิดอยู่ 1-2 วัน และหาย ไป ถ้าได้รับวิตามินเอสูง กว่านี้มาก ๆ จะถึงแก่ความตายได้ เพราะระบบหัวใจไม่ทำงาน
o ความเป็นพิษเรื้อรังของวิตามินเอ เกิดจากการได้รับวิตามินเอมาก ๆ มากกว่า RDL ถึง 10 เท่า คือ เด็กทารก 4.2 มิลลิกรัม เรตินอล (14,000 IU) หรือผู้ใหญ่ 10 มิลลิกรัม เรตินอล (33,000 IU) หรือคนที่กินอาหารที่มีวิตามินเอ 25,00 IU ต่อวัน ร่วมไปกับการกินวิตามินเอ เสริมอีก 25,000 IU ก็สามารถเกิดอาการเป็นพิษได้คนที่เป็นพิษเรื้อรังอาการตามที่กล่าวมาแล้วแต่ ละคนมีอาการที่ไม่เหมือนกัน หรือหยุดการได้รับวิตามิน เอ อาการจะค่อย ๆ หายไป
o พวกที่เป็น chronic hypervitaminosis A จะพบเรตินิลเอสเทอร์สูงมาก ขณะที่ Holo-rpb ไม่สูง วิตามินเอและเรตินอยด์ ทำให้ในหญิงตั้งครรภ์ ต้องระวังเป็นพิเศษ การให้ 30-90 มิลลิกรัมทุกวัน เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หรือการได้รับ 25,000 IU ( 7,500 ie) ในช่วงตั้งครรภ์ใหม่ๆ อาจทำให้เกิดการแท้งหรือลูกพิการได้ หญิงตั้งครรภ์ที่หนัก 62 กิโลกรัม ควรได้รับวิตามินเอ 9.3 re ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว +100 re หรือรวมทั้งหมด 675 re (2,250 iu) ต่อวัน
o สำหรับเรตินอยด์นั้น ถ้าบริโภคมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปของน้ำแครอท (carrot juice) น้ำมะเขือเทศ (tomato juice) น้ำมันปาล์มแดง (red palm oil) มะละกอสุก สามารถเกิด hypercarotenosis คือ มี hypercarotenemia มีคาโรตินในกระแสเลือดสูง และมีคาโรตินที่ผิวหนังมาก (carotenodermia) คล้ายพวกที่เป็นดีซ่าน จะเห็นเด่นชัดบริเวณร่องจมูก (nasolabial fold) ฝ่ามือ และที่อุ้งเท้า แต่ที่ sclerae ของตาไม่เหลือง เมื่อหยุดบริโภคคาโรตินอยด์ อาการต่าง ๆจะค่อย ๆหายไป
o เมื่อได้รับวิตามินเอเข้าไปมาก ๆ จะมีพิษเกิดขึ้นได้ 2 แบบคือ
+ พิษ อย่างเฉียบพลัน เกิดขึ้นในรายที่กินครั้งเดียวเข้าไปมาก ๆ เช่น กินตั้งแต่ 1 ล้านหน่วยหรือมากกว่ามักพบในเด็กเล็กหรือพวกที่นิยมกินตับหมีโพลาร์ อาการสำคัญคือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนมึนงง ง่วงนอน อ่อนเพลียนัยน์ตามองเห็นภาพเป็นสองสิ่ง (diplopia)
+ พิษเรื้อรัง เกิดจากการกินวิตามินวันละประมาณแสนหน่วยเป็นเวลานาน มักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยวิตามินเอจำนวนมากติดต่อกัน เป็นเวลานาน อาการสำคัญ คือ เวียนศีรษะ ผิวหนังหยาบกร้านและคัน เป็นขุย ผมร่วง ริมผีปากแตก ปวดตรงข้อกระดูกและข้อต่อ แต่ถ้าหยุดกินวิตามินที่มากไปอาการจะหายได้รวดเร็ว
o ใน พวกที่ได้รับแคโรทีนอยด์ในอาหารบริโภคเป็นปริมาณสูง จะทำเกิดภาวะคาโรทีโนซีส (corotenosis) มีอาการคือ ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและอุ้งเท้ามีสีเหลืองเนื่องมาจากแคโรทีนถูกขับออกมาจากต่อมน้ำมันของ ผิวหนัง อาจทำเข้าใจผิดว่าเป็นโรคดีซ่าน แต่เราสามารถแยกได้คือ ในพวกที่กินแคโรทีนนัยน์ตาไม่เหลืองตรวจปัสสาวะไม่พบน้ำดี อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนนอยด์สูง

ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ บริเวณ แรกที่จะมีการดูดซึมคือ ลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งบริเวณนี้น้ำย่อยที่ใช้แตกตัวไขมัน (fat splitting enzyme) และเกลือน้ำดีจะเปลี่ยนแคโรทีนไปอยู่ในรูปของวิตามินเอโดยการช่วยเหลือของ ไทรอกซิน (thyroxine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโน ที่ได้จากต่อมธัยรอยด์ ต่อจากนั้นก็จะถูกส่งเข้ากระแสโลหิตนำไปใช้ได้ การเปลี่ยนแคโรทีนอยด์เป็นวิตามินเอ ส่วนใหญ่เกิดที่ผนังลำไส้ ส่วนน้อยเกิดที่ตับและไต การดูดซึมจะดีเลวเพียงใดขึ้นอยู่กับการดูดซึมไขมันถ้าอาหารมีไขมันน้อยหรือ มีกรดไขมันโซ่ยาวอยู่มาก การดูดซึมจะเป็นไปไม่ได้ดี นอกจากนี้การดูดซึมสารแรกเริ่มยังต้องอาศัยเกลือน้ำดีช่วยในการดูดซึมด้วย ถ้าขาดเกลือน้ำดี วิตามิน เอยังพอดูดซึมได้แต่สารแรกเริ่มดูดซึมไม่ได้เลยร้อยละ 95 ของวิตามินเอในร่างกายจะเก็บไว้ที่ตับ ตับจะเป็นแหล่งสะสมวิตามินเอในรูปพลามิเตตในเซลล์ไขมันที่เรียกว่า ไลโปชัยท์ (lypocyte) ซึ่งพบว่าประมาณร้อยละ 90 ของวิตามินเอสะสมไว้ที่ตับ การเคลื่อนย้ายวิตามินเอจะถูกไฮโดรไลส์ (hydrolyse) จากเรตินิล เอสเตอร์ (retinyl esters) ให้เปลี่ยนมาเป็นกรดเรตินอลอิสระ (free retinol) และรวมกับโปรตีนเป็นเรตินอลไบน์ดิ้งโปรตีน (retinol binding protein) เรียกย่อ ๆ ว่า อาร์ บี พี (RBP) ขบวนการนี้จะ ถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ตับและปล่อยเข้ากระแสเลือดเป็นเรตินอลล์อาร์บีพี คอมเพล็กส์ (retinol rbp complex) ในภาวะที่ร่างกายจะใช้วิตามินเอโดยปกติแล้วระดับวิตามินเอในเลือดจะถูกควบ คุมโดยมีกลไกควบคุมภาวะสมดุลระหว่างการสังเคราะห์ RBP การปล่อยและการสลายตัวของวิตามิน ในกรณีที่เรตินอลไม่ได้เก็บสะสมในตับ จะถูกขับถ่ายทางไตออกมากับปัสสาวะภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากได้รับวิตามินเอ อย่างไรก็ตามร่างกายมีความสามารถในการเก็บสะสมวิตามินเอแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าการขาดวิตามินเอเป็นระยะเวลา 10-12 เดือน
+ วิตามิน เอ ที่ได้จากน้ำมันตับปลาหรืออาหารสัตว์ ร่างกายสามารดูดซึมได้ภายหลังที่บริโภคประมาณ 3-5 ชม. ในขณะที่วิตามินเอซึ่งอยู่ในรูปของแคโรทีน ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ต้องใช้เวลา 6-7 ชม. หลังจากที่บริโภคการดูดซึมเบต้าแคโรทีน โดยเฉลี่ย ในคนประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 33 ของปริมาณที่กินเข้าไป และประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงเรตินอลประมาณร้อยละ 50 จากการศึกษาพบว่าร่างกายต้องได้รับเบต้าแคโรทีนถึง 6 ไมโครกรัม จึงจะแสดงฤทธิ์เท่ากับ 1 ไมโครกรัมของเรตินอล สำหรับแคโรทีนส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมก็จะถูกขับออกทางอุจจาระ
o ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม
+ ชนิด ของผัก เบต้าแคโรทีนในผัก โดยทั่วไปดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 20-45 โดยที่เบต้าแคโรทีนในผักใบสีเขียวจะดูดซึมได้ดีกว่าผักสีแดง และเหลือง เช่น แครอท ประมาณ 2-3 เท่า
+ ปริมาณโปรตีนในอาหาร ปริมาณโปรตีนในอาหารช่วยในการดูดซึมเบต้าแคโรทีน โดยถ้าเพิ่มปริมาณโปรตีน ในอาหารจะช่วยเปลี่ยนเบต้าแคโรทีน เป็นวิตามินเอในเซลล์ด้วย
+ ปริมาณไขมันในอาหาร ไขมันทำหน้าที่เป็นพาหะขนส่งวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กและเป็นแหล่งที่เกิดไมเซลล์ (micelle) บางครั้งในไขมันจะมีวิตามินอีด้วยจะทำช่วยทำหน้าที่เป็น antioxidant
+ น้ำดี น้ำดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเบต้าแคโรทีนได้ดียิ่งขึ้น
o ปัจจัยที่ขัดขวางการดูดซึม
+ การออกกำลังกายที่หนักภายใน 4 ชม หลังจากที่บริโภคอาหาร
+ การบริโภคน้ำแร่ (mineral oil) ซึ่งมักใช้เป็นส่วนผสมของยาถ่าย
+ การดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
+ การได้รับเหล็กมากเกินไป คนที่เป็นโรคเบาหวานไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน
o สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
+ อาหาร เหล่านี้เสริมพลังกัน และต้องการซึ่งกันและกันที่จะทำให้ร่างกายมีความสมดุลในบางครั้งร่างกายต้อง การสารบางอย่างมาก เป็นพิเศษ แต่ก็ต้องการสารอื่น ๆจำนวนเล็กน้อยร่วมไปด้วยเหมือนกันซึ่งจะช่วยให้วิตามินเอทำงานมี ประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานด้วยกัน
+ วิตามินเอ ถ้ารับประทานรวมกับวิตามินบีรวมจะทำหน้าที่ได้ดีขึ้น และช่วยร่างกายให้ใช้ประโยชน์จากวิตามินชนิดนี้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
+ วิตามินซี ดี อี และวิตามินเอฟ (UFA) โคลีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสังกะสี ช่วยให้วิตามินเอปฏิบัติหน้าที่ได้ดีขึ้นเฉพาะอย่างยิ่งสังกะสีที่ช่วยร่าง กายในการดูดซึมวิตามินเอได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อวิตามินเอร่วมกับวิตามิน ซีและอี จะเข้าทำการยึดจับกับอนุภาคของ single oxygen และ free radical ทำให้อนุภาคเหล่านี้ไม่มีอิสระในการทำปฏิกิริยาอันเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจะเป็นการป้องกันมะเร็ง และโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวด้วย
o สารหรืออาหารต้านฤทธิ์
+ มลภาวะในอากาศ เครื่องดื่มที่มีสุราเจือปนเพราะจะขัดขวางการดูดซึมข้าร่างกาย
+ ยาแอสไพริน และยาที่มีสารหนูเจือปน
+ ยาพวกสเตอรอยด์ เช่น prednisolone และ cortisone
+ ยา dicunarol ซึ่งเป็นยาป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
+ Nitrates
+ ยาพวก phenobarbital ได้แก่ ยานอนหลับ ยาระงับ ประสาท และยาระงับการชัก
+ ยาที่รักษาไทรอยด์ (thyroid) เนื่องจากขาดไอโอดีน
o การเสื่อมสลาย
+ วิตามิน นี้เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน (fatsoluble) เมื่อถูกอากาศหรือแสงอาทิตย์หรือกระทบกับออกซิเจนจะเสื่อมหรือถูกทำลายลง แต่เมื่อรวมกับวิตามินอี ถึงแม้จะถูกอากาศหรือออกซิเจนจะยังคงคุณสมบัติของวิตามินเอเช่นเดิม
o การประเมิน
+ เป็น เรื่องยากที่จะประเมินความเป็นพิษของวิตามินเอ หรือประเมินความเป็นพิษของวิตามินเอ หรือประเมินภาวะขาดวิตามินเอ ในคนที่ไม่ปรากฏอาการ และความผิดปกติทางคลีนิค ดัชนีที่ใช้โดยทั่ว ๆไปคือการประเมินวิตามินที่รับประทานในอาหารประจำวัน ระดับวิตามินเอในซีรั่ม และการปรับตัวในที่มืด ดัชนีชี้วัดแต่ละชนิดก็มีข้อจำกัดในความแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้กับบุคคล หรือใช้กับเด็กเล็ก ๆดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่คือประเมินผลของการตอบสนองของร่างกายต่อการ ให้วิตามินเอซึ่งมีชื่อเรียกว่า relative dose response (RDR), conjunctival impression cytology (CIC) และ isotope dilution เพื่อที่จะประมาณวิตามินเอที่สะสมไว้ในร่างกาย
+ เมื่อรับประทานวิตามินเอ น้อยจนกระทั่งขาด หรือรับประทานมากไปจนกระทั่งเป็นพิษจะปรากฏอาการทางคลีนิคให้เห็นและสามารถ ตรวจสอบได้จากกการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของวิตามินเอในเลือด แต่ในช่วงที่มีการรับประทานวิตามินเอที่อยู่ในช่วงกลาง ๆ เรายังไม่มีวิธีการตรวจสอบที่น่าพอใจในการตรวจสอบในช่วงที่มีการเปลี่นแปลง เช่น ในช่วงที่มีภาวะก้ำกึ่ง เพียงพอ หรือมากเกินไป วิตามินเอในเลือดไม่ได้เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ไวพอ สำหรับประเมินระดับวิตามินเอในระดับกลาง ๆ แต่จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ได้ในกรณีที่ขาด และวิตามินเอไม่ได้ถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ ยกเว้นในรูป metabolite และความเข้มข้นจะไม่เป็นไปตามปริมาณวิตามิน เอที่ร่างกายสะสมไว้ วิตามินเอในตับจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับวิตามินเอในร่างกาย แต่ในทางปฏิบัติเรา ไม่สามารถตรวจระดับวิตามินเอที่สะสมไว้ในตับในภาวะปกติ ได้ เพราะจะต้องใช้วิธีเจาะตัวอย่างเนื้อตับมาตรวจวิเคราะห์วิตามินเอ
+ ดัชนีบ่งชี้ทางชีวเคมีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
ระดับวิตามินเอในซีรั่ม เป็นการวัดวิตามินเอโดยวิธีทางชีวเคมีซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ระดับวิตามินเอในร่างกายจะถูกควบคุมโดยสภาวะทางสรีรวิทยาของแต่ละบุคคลโดย ที่ยังไม่ทราบหลักการและกลไกที่แน่ชัดระดับวิตามินเอในซีรัมจะเป็นตัวบ่งชี้ ถึงภาวะวิตามินเอได้ต่อเมื่อ วิตามินเอที่สะสมเอาไว้ในร่างกายได้ลดลงถึงขั้นวิกฤต หรือเพิ่มอย่างมากเกินพอ ประมาณ ร้อย ละ 90 ของวิตามินเอในร่างกายจะสะสมเอาไว้ที่ตับ ร้อยละ 9จะอยู่ในเนื้อเยื่ออื่นๆ และประมาณร้อยละ 1 จะอยู่ในพลาสมาหรือซีรัม ซึ่งเมื่อระดับวิตามินเอในซีรัมมีค่าต่ำกว่า 0.07unmol/I หรือ 20 ug/dL จะอยู่ในภาวะที่ก้ำกึ่งหรือเกือบจะขาดเมื่อระดับในซีรัมต่ำกว่า 0.35umol/I หรือ 10 ug/dl จะถือว่าขาด และเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เมื่อระดับวิตามินเอในซีรั่มต่ำกว่า 0.35 umol/l จะมีความสัมพันธ์กับภาวะวิตามินเอในตับที่ต่ำด้วย และจะมีอาการทางคลีนิคปรากฏให้เห็นได้ ซึ่งจะได้อธิบายในตอนต่อไป ในการแปลผลปริมาณวิตามินเอในช่วง 0.35 0.70 umol/l ว่าเป็นช่วงที่มีภาวะก้ำกึ่งถึงขาดจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่นความเพียงพอของสารอาหารโปรตีนที่บริโภค การติดเชื้อหนอนพยาธิ โรคตับ เป็นต้นปริมาณของวิตามินเอในพลาสมา และภาวะโภชนาการของวิตามินเอ
การตรวจระดับวิตามินเอในซีรัม 2 ครั้งคือก่อนและหลังการเสริมด้วยวิตามินเอเป็นการอธิบายภาวะวิตามินเอได้ดี กว่าการตรวจปริมาณวิตามินเอเพียงครั้งเดียว หลักการนี้ได้นำมาใช้เป็นหลักการสำหรับการประเมินภาวะวิตามินเอที่เรียกว่า relative dose response test เมื่อวิตามินเอที่สะสมไว้ในตับลดระดับลงจนต่ำกว่า critical threshold อัตราการปล่อยวิตามินเอจากตับจะลดลง ขณะเดียวกันการสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นตัวลำเลียงวิตามินเอที่เรียกว่า retinolbinding protein ยังคงเป็นไปตามปรกติจะเป็นผลให้เกิดการสะสม RBP การเสริมวิตามินเอโดยใช้ retinyl palmitate 450 1000 ให้กับบุคคลที่ขาดวิตามินเอจะทำให้มีการเคลื่อนย้าย RBP ที่ร่างกายสะสมไว้
+ วิธี ทดสอบทำได้โดยการเจาะเลือดก่อนเสริมวิตามิน และหลังจากเสริมวิตามินแล้วงดอาหาร 5 ชม เก็บตัวอย่างเลือดอีกครั้งหนึ่งเมื่อครบ 5 ชม หลังจากตรวจปริมาณวิตามินในเลือดทั้งสองครั้งแล้วคำนวณหา RDR โดยใช้ความสัมพันธ์ดังนี้
RDR ( % ) =[(ระดับวิตามินเอที่ชั่วโมงที่ 5 - ระดับวิตามินเอตอนเริ่มต้น ) 100] / ระดับวิตามินเอที่ชั่วโมงที่ 5
การแปลผล: เมื่อค่า RDR > 20 % จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า วิตามินเอที่สะสมในตับมีไม่พอเพียงเป็น marginal vitamin A status
การทดสอบ Abnormal dark adaptation บุคคลที่ขาดวิตามินเอจะมองไม่เห็นในที่มืด (night blindmess) เนื่องจากการสร้าง rhodopsin ขึ้นใหม่ไม่ได้เพราะมีวิตามินเอจำกัด ในบางพื้นที่ภาษาที่ใช้เรียกภาวะ ตาบอดในที่มืด มีต่าง ๆ กัน อาจจะทำให้เข้าใจผิด จึงควรทำการทดสอบภาวะตาบอดในที่มืดด้วยตัวเองโดยการให้ผู้ที่ถูกทดสอบเข้าไป หาของในที่มืดแล้วจับเวลาดูว่ามีการปรับตัวในที่มืดผิดปรกติหรือไม่ โดยเทียบกับคนที่มีระดับวิตามินเอในเกณฑ์ปรกติ
conjunctival inpression cytology test เป็นการตรวจสอบทาง histology เมื่อขาดวิตามินเอ epithelial tissue ที่ผลิตเยื่อเมือกจะเกิด metaplasia จนกลายสภาพเป็น deratinization ในบางรายที่ขาดวิตามินเอจะไม่พบสภาพ keratinzation แต่จำนวน เซลล์ globlet จะลดปริมาณลงจนบางครั้งไม่พบเลยลักษณะของ epithelial cells ใน conjunctiva จะเปลี่ยนแปลงไปและเกิดขึ้นบน squamous หรือมีลักษณะแบนราบมี nucleus เล็ก ๆ และขยายขอบเขตของ cytoplasm ออกไป globlet และ epithelial cells สามารถที่จะย้อมตรวจได้ โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
วิธีการตรวจทำได้โดยการใช้กระดาษกรองที่เป็นแผ่นเซลลูโลสอาซิเตท ที่มีขนาด pore size ประมาณ 0.45 um แตะตรงส่วนล่างขอบนอกของ conjunctiva เป็นเวลา 3-5 นาที แล้วลอกออกเบา ๆ โดยเอาไปวางบนแผ่น slide หรือบนกระดาษกรอง ใส่ลงไปใน fixative solution ที่ได้เตรียมไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด รอเก็บเอาไว้เพื่อย้อมสีและอ่านผลในขั้นตอนต่อไป
+ ในการแปลผล ต้องการเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตัดสินว่าปรกติหรือไม่ปรกติและต้องการการเปรียบ เทียบเกณฑ์มาตรฐาน ระหว่าง ผู้อ่านผลแต่ละคน การติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับตา เช่น ตาแดง และโรคขาดสารอาหาร ที่มีการติดเชื้อจะจำกัด ความจำเพาะ และความไว ของวิธีการ ทดสอบนี้ ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ทดสอบภาวะวิตามินเออีกเช่น
Isotope dilution ใช้ประเมินปริมาณวิตามินเอที่สะสมเอาไว้ในร่างกาย ทดสอบด้วยได้โดยการฉีดวิตามินเอ ที่ติดฉลากด้วย สารกัมมันตภาพรังสีเข้าไปใน ร่างกาย วิตามินเอที่ฉีดเข้าไป จะเข้าไปผสมกับ วิตามินเอ ในร่างกาย สัดส่วนของการเจือจาง ของวิตามินเอที่ติดฉลากในเลือด ต่อปริมาณวิตามินเอ ที่ฉีดเข้าไปจะใช้ในการคำนวณ หาปริมาณวิตามินเอที่สะสมไว้ ในร่างกายทั้งหมด วิธีการนี้ไม่ใช้ในคนเพราะใช้สารกัมมันตภาพรังสีที่ไม่อยู่ ตัวคือ deuterium
+ วิตามินเอเป็นวิตามินที่มีการสะสมในร่างกาย เมื่อได้รับในปริมาณมากเกินความต้องการ จะเกิดการเป็นพิษขึ้นในตับ เมื่อมารดาหรือ หญิงตั้งครรภ์รับประทานวิตามินเอในปริมาณสูงถึง 25,000 iu ต่อวันเป็นเวลานาน อาจจะเป็นอันตราย ทำให้ทารกในครรภ์ มีความผิดปกติ ได้ หรืออาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด teratogenicity ขึ้นได้เช่นเดียวกัน จะต้องให้การศึกษา กับประชาชน ถึงผลเสียของการเสริมวิตามิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอไม่ควรรับประทานให้มากกว่าปริมาณของความต้องการ ที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA) ในประชาชนทั่ว ๆ ไปวันละประมาณ 800-1,000 iu ทั้งนี้ก็ได้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง.
o เกณฑ์การประเมินภาวะการขาดวิตามินเอของชุมชน
+ เกณฑ์ ทางคลีนิก ใช้ในการตรวจอาการ แสดงทางตาในเด็กอายุ 0-5 ปี ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ถ้าพบอาการแสดงทางคลีนิคอาการอย่างใดอาการหนึ่งถือเป็นเกณฑ์สำคัญที่แน่นอน ในการวินิจฉัยว่า การขาดวิตามินเอเป็นปัญหาทางสาธารณสุข แสดงดังตาราง
Neght blindness (code X N) มากกว่าร้อยละ 1
Bitot's spots (code X 1 B) มากกว่าร้อยละ 0.5
Corneal xerosis (code X 2) มากกว่าร้อยละ 0.01
Corneal ulceration (code X 3 A, X 3 B) มากกว่าร้อยละ 0.01
Corneal scar (code X S ) มากกว่าร้อยละ 0.05
+ เกณฑ์ ทางชีวเคมี ถ้าระดับของซีรั่มวิตามินเอต่ำกว่า 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ในร้อยละ 5 ของประชาชนชี้บ่งว่ามีปัญหาการขาดวิตามินเอของประชากรในชุมชน และถ้าวิตามินเอในซีรั่มต่ำกว่า 20 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ในร้อยละ 1.5 ของประชากร ชี้บ่งถึงภาวะเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอของประชากรในชุมชน ผู้ใหญ่ทั่วไปมีค่า Serum Retinol 300-800 ug/ml