โคลีน Choline

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3

โคลีน (Choline)

โคลีน เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า โคลีนเป็นส่วนประกอบของ Lecithin ซึ่งเป็นฟอสโฟไลปิดชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นสำหรับ การใช้ไขมัน ในร่างกายของคนและสัตว์ โคลีนเป็นของเหลวข้นไม่มีสี ละลายในน้ำ และแอลกอฮอล์ ไม่คงตัวเมื่อถูกด่าง ในร่างกายจะอยู่ในรูป ฟอสโฟไลปิดหรือ acetylcholine จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นสารที่ให้กลุ่มเมธิลแก่สารอื่น ใช้สร้างสารฟอสโฟไลปิด เช่น เลซิติน ป้องกันไม่ใช้ไขมันสะสมในตับ (Lipotropic factors) และเป็นส่วนประกอบของ Acetylcholine ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท อาหารที่มีโคลีนมากได้แก่ ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ สมอง จมูกข้าว และถั่วเมล็ดแห้ง ขณะนี้ยังไม่ทราบความต้องการแน่นอนอาหารปกติมีโคลีนประมาณ 250-600 มิลลิกรัมต่อวัน บัคเตรีในลำไส้สามารถสังเคราะห์โคลีนได้ปัญหาการขาดโคลีนยัง ไม่ปรากฎในคน ในร่างกายกรดอะมิโนเมธิโอนีน อาจเปลี่ยนเป็นโคลีนได้

โคลีน(Choline) เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี พบได้ในอาหาร โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีนรวมตัวกับไขมัน ที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin) ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทิน

ความสำคัญของโคลีน

โคลีนมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่างคือ

1. เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท รวมทั้งไลโปโปรตีน (Lipoprotein)

2. เป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) ของสมอง

3. เป็นสารที่ให้กลุ่มเมทิลแก่สารอื่น (methyl donor)

ประเภทของโคลีน (Choline)

1. เลซิตินหรือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (Phosphatidyl Choline) เป็นสารประเภทไขมันที่มีอยู่ในรูปของสารประกอบ ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน 2 โมเลกุล เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ และยังพบมากในสมอง ตับ หัวใจ เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท

2. Choline Chloride เป็นสารอาหารที่ใช้ผสมในอาหารของสัตว์ปีก

กระบวนการทำงานของโคลีน(Choline)

โคลีนในรูปของ acethylcholine จะเป็นตัวส่งสัญญาณประสาทเมื่ออยู่ที่จุดสิ้นสุดเส้นประสาทที่เรียกว่า Parasympathetic

(เส้นประสาทที่กระโหลกศีรษะกับที่กระดูกก้นกบ) มันทำให้เกิดการถ่ายทอดแรงกระตุ้นประสาทจากเส้นใย Presynaptic ( ใกล้จุดประสาน) ไปที่เส้นใยหลังจุดประสานประสาทของระบบประสาทและจุดสุดท้ายของระบบประสาท (Sympathrtic and parasympathetic) ตัวอย่างของ acetylcholine ที่ปล่อยออกมาจะเป็นตัวกระตุ้นเส้นประสาทที่กะโหลกศีรษะเป็นเหตุให้หัวใจ เต้นช้าลง และยังทำให้ท่อรังไข่เกิดการหดเกร็งตัวได้

ประโยชน์ต่อร่างกาย

  1. ความจำและการเรียนรู้ของสมอง
    โคลีนเป็นสารที่ใช้ในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญของระบบประสาท เชื่อว่าการมีอะเซททิลโคลีนที่เพียงพอในสมองจะช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้ การศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย
  2. การทำงานของตับ
    ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถเคลื่อนย้ายไขมันออกได้ ผลคือเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
  3. ลดโคเลสเตอรอล และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
    โคลีนจะ ช่วยเพิ่มระดับของ HDL (ไขมันดี) และลดระดับของ LDL (ไขมันเลว) และโคเลสเตอรอลรวม จึงมีผลป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis and Cardiovascular disease)
  4. ช่วยในการสร้างเลซิติน ป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ป้องกันนิ้วในนิ่วในถุงน้ำดี ป้องกันการเกาะกลุ่มของไขมันไม่ให้เป็นก้อน ช่วยเพิ่มความต้านทานของร่างกายทำงานร่วมกับอีโนซิตอลในการถ่ายเทวิตามินที่ ละลายในไขมันให้กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย รักษาสุขภาพของระบบประสาท

แหล่งที่พบโคลีน

o โคลีนมีมากในไข่แดง ตับแห้ เลซิตินชนิดเกร็ด หัวใจวัว และเนื้อเสต็ก นอกจากนั้นยังพบในผักใบเขียวและผักลงหัวชนิดต่างๆ ผักกาดที่มีต้นกลมกรอบหรือรู้จักกันในนามเลททิ้ว ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื้อไก่ หอย นม เป็นต้น

ปริมาณโคลีนที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake ; DRI) มีดังนี้

ชาย 550 มก. / วัน
หญิง 425 มก. / วัน
หญิงตั้งครรภ์ 450 มก. / วัน
หญิงให้นมบุตร 550 มก. / วัน ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้คือไม่เกิน 3.5 กรัม / วัน ปัจจุบันนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็ได้มีการเติมโคลีน เช่นเดียวกับสารอาหารชนิดอื่นคือ EPA, DHA และ เลซิทิน เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

* ปริมาณที่แนะนำ
o ยังไม่ทราบความต้องการแน่ชัดในคน แต่นมที่เลี้ยงทารกควรมีโคลีน 7 มิลลิกรัมต่อ 100 กิโลแคลอรีซึ่งเท่ากับที่มีในนมแม่

* ผลของการขาด
o ความ ต้านทานต่อโรคและการอักเสบต่ำ ผนังเส้นเลือดเสื่อมเนื่องจากผนังของหลอดเลือดแข็ง ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง เกิดลิ่มเลือด และสามารถอุดตันได้ ประสาทเสื่อม รวมทั้งตับถูกทำลายส่งผลให้ตับแข็งได้ด้วย

* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ โคลีนในรูปอิสระจะดุดซึมไม่ได้ดี สามารถเป็นเป็น trimethylamine โดยแบคทีเรียในลำไส้ได้ถ้าหากบริโภคในปริมาณมาก
o อาหารหรือสารที่เสริมฤทธิ์
+ วิตามินเอ วินตามินบีรวม วิตามินบี 12 อีโนซิตอล กรดโฟลิค กรดลิโนเลอิค
o อาหารหรือสารทีต้านฤทธิ์
+ สุรา น้ำตาลที่มากเกินไป

"โคลีน" ในไข่ไก่ ลดความเสื่อมเซลล์สมอง

ครั้งก่อนเราพูดถึงคุณประโยชน์ของโคลีน ที่อยู่ในไข่ไก่ว่า เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมองนับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เรื่อยมาตลอดชีวิต เพื่อช่วยให้การทำงานของสมองเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์

อาจเกิดข้อสงสัยว่า หากร่างกายคนเราขาดโคลีน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นตามมา...!!

เมื่อโคลีน เป็นตัวช่วยที่ทำให้การทำงานของสมองเป็นไปด้วยความสมบูรณ์ หากร่างกายขาดสารอาหารสำคัญนี้ไป แน่นอนว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมเกี่ยวข้องกับสมอง โดยลดทอนประสิทธิภาพความจำและความสามารถในการเรียนรู้ หรือที่รู้จักกันว่าโรคสมองเสื่อม นอกเหนือจากการเกิดอาการซึมเศร้า จิตใจหดหู่ ไม่มีสมาธิ และความดันโลหิตบกพร่อง

โรค สมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายได้ และจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งองค์การโรคอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ<Alzheimer's Disease International : ADI>ได้ ออกรายงานชิ้นใหม่เมื่อ 21 กันยายน ที่ผ่านมา โดยคาดว่า"ภายในปี 2010 จะมีคนเป็นโรคสมองเสื่อม มากกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก เป็นจำนวนที่สูงกว่าที่เคยคาดกันไว้เมื่อ 2-3ปีก่อน ราว10%และยังคาดการณ์อีกว่าจะมีคนเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัวใน ทุกๆ20ปี และในอีก 40 ปีข้างหน้าหรือ 2010 จะมีคนเป็นโรคนี้มากกว่า 115 ล้านคน โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ระดับกลางอย่างแอฟริกา ตะวันออกกลางละตินอเมริกาตอนใต้ และหลายส่วนของเอเชีย จะเผชิญกับภาระหนักเมื่อประชาชนสูงอายุมีจำนวนมากขึ้น"

ขณะเดียวกัน ADI ยังร้องขอให้องค์การอนามัยโลก<WHO>จัด ให้โรคสมองเสื่อมอยู่ในลำดับความสำคัญด้านสุขภาพ พร้อมทั้งเสนอให้มีการศึกษาและทำการวิจัยค้นคว้าถึงสาเหตุของโรค หรือวิธีการชะลออาการของโรคไม่ให้เกิดขึ้นเร็วนัก ซึ่งจุดประกายให้เกิดงานวิจัยต่างๆที่ต้องการคค้นหาแนวทางป้องกันการเกิดโรค นี้

ขณะเดียวกัน Kathleen Meister นักเขียนอิสระเรื่องสุขภาพและการแพทย์ อดีตนักวิจัยสถาบัน American Council on Science and Health ได้นำเสนอบทความเรื่อง Eggs:Not as Bad as They're Cracked up to be บอกว่า การบริโภคไข่ไก่ในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างมากจากการบริโภคที่ 400 ฟอง ต่อคนต่อปีในทศวรรษ 1940 ลดลงเหลือเพียง 235 ฟองต่อต่อปีในปี 1992 เนื่องมาจากความกลัวว่า ไข่ไก่ซึ่งมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

แต่ ปัจจุบันการบริโภคก็กลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 259 ฟอง/คน/ปี เมื่อมีผลการศึกษาวิจัยยืนยันว่า คอเลสตอรอลที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารเช้าที่ประกอบด้วยไข่ไก่ และเบคอนทอดไม่ได้เกิดขึ้นจากไข่ไก่ แต่เกิดจากไขมันอิ่มตัวจากเบคอน และไขมันที่ใช้ในการทอดโดยแท้จริงแล้วผลกระทบจากการบริโภคไข่ไก่ต่อปริมาณคอ เลสตอรอลในกระแสเลือดของบุคคลทั่วไปนั้นมีน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม ไข่ไก่กลับเป็นอาหารที่สำคัญที่เป็นแหล่งสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่มีข้อสรุปตรงกันว่า ไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีนที่มีสารอาหารช่วยเพิ่มคอเลสตอรอลชนิดดี หรือ HDL ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะโคลีนในปริมาณมาก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์สมอง และเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมอง นับตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์เรื่อยไปจนถึงวัยสูงอายุ รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารเคมีในเซลล์สมองที่ชื่อ อะเซทิลโคลีน<acetylcholine>ที่ ทำหน้าที่เป็น"สารสื่อนำประสาท"คอยควบคุมความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อและช่วยให้การทำงานของสมอเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ เรียกได้ว่า มีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะระบบความจำ รวมถึงการมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อมด้วย ซึ่งอะซีติลโคลีนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรคสมองเสื่อม เนื่องจากพบว่าในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีปริมาณของอะซีติลโคลีนลดลงมากถึงร้อยละ 90

บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีน คือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ และลดการสะสมไขมันในตับจากการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือดและขาดโคลีน จะเพิ่มไขมันสะสมในตับ และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับโคลีนก็จะลดการสะสมไขมัน และลดการอักเสบของตับได้จริง

นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีน ยังมีประโยชน์ในด้านการช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหลายงานวิจัยสรุปผลเช่นเดียวกันว่า ไข่แดงของไข่ไก่ เป็นอาหารที่ให้โคลีนมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ไข่ไก่จึงมีประโยชน์อยู่มากมาย...แล้ววันนี้คุณบริโภคไข่ไก่แล้วหรือยัง