วิตามินบี 1 thiamine

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
วิตามินบี 1วิตามินบี 1 หรือ ไธอะมีน ( thiamine ) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาใน การเผาผลาญ สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้เกิดพลังงาน ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายดีขึ้น จึงสามารถป้องกันท้องผูกได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเจริญเติบโต การสืบพันธ์ และการผลิตน้ำนม นอกจากนี้ยังช่วยการทำงานของระบบประสาท

แหล่งที่พบ
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 1 ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ซึ่งพบมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ยีสต์ ถั่วเมล็ดแห้ง งา ธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี ไข่ นม ตับ

ปริมาณที่แนะนำ

แต่ละคนจะมีความต้องการวิตามินบี 1 ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น เพศ น้ำหนักตัว ดังนี้ ผู้ชาย 1.2-1.4 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้หญิง 1.0-1.1 มิลลิกรัมต่อวัน เด็ก 0.6-1.0 มิลลิกรัมต่อวัน สตรีตั้งครรภ์ 1.4-1.5 มิลลิกรัมต่อวัน สตรีให้นมบุตร 1.5-1.6 มิลลิกรัมต่อวัน

สาเหตุของการขาดวิตามินบี 1

1. การรับประทานวิตามินบี 1 ในปริมาณซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากความอดอยาก และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) เป็นต้น

2. การรับประทานอาหารที่มีสารต้านฤทธิ์ของวิตามินบี 1 ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่
- สารต้านฤทธิ์ที่ไม่ทนต่อความร้อน ได้แก่ น้ำย่อยไธอะมิเนส พบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำจืด ปลาร้า และหอยลาย ถ้ากินอาหารพวกนี้ดิบๆ จะทำให้น้ำย่อยทำลายวิตามินบี 1 โดยตรง
- สารต้านฤทธิ์ที่ทนต่อความร้อน ได้แก่ กรดแทนนิก กรดคาเฟอิก ซึ่งพบใน ชา กาแฟ ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ใบชา ใบเมี่ยง หมาก พลู สารเหล่านี้จะไปรวมกับวิตามินบี 1 ทำให้เสียโครงสร้างไป ถึงแม้สารพวกนี้จะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถทำลายวิตามินบี 1 ได้

3. ภาวะที่มีการเพิ่มเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย จะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ความต้องการวิตามินบี 1 จึงสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้แก่
- ภาวะทางสรีระวิทยา ได้แก่ เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และการทำงานหนัก
- ภาวะทางพยาธิวิทยา ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัด ภาวะเครียด ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมาก

4. การลดการดูดซึมวิตามินบี 1 จากลำไส้ หรือการสูญเสียวิตามินบี 1 เช่นในกรณีผู้ป่วยโรคตับ การใช้ยาขับปัสสาวะ และภาวะท้องร่วง เป็นต้น

ผลของการขาด

เมื่อขาดวิตามินบี 1 จะส่งผลให้เกิดโรคเหน็บชา อาจมีสัญญาณเตือนคืออาการเบื่ออาหาร ตามมาด้วยอาการท้องผูก มีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย คือกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกไม่มีแรง ผิวหนังไม่มีความรู้สึก เป็นอัมพาตตามแขนขา อาจมีอาการบวมตามตัวแขนขา ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ มีอาการทางหัวใจ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หัวใจบวมโต หรืออาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว

ผลของการได้รับมากเกินไป

วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จึงไม่มีการสะสมในร่างกาย โดยจะขับออกทางปัสสาวะ จึงมักไม่ปรากฏอาการเป็นพิษ การบริโภควิตามินบี 1 ปริมาณสูงเกินความต้องการของร่างกายจะไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาทางปัสสาวะเกือบหมดภายใน 4 ชั่วโมง
สารหรืออาหารที่เสริมฤทธิ์ของวิตามินบี 1 ได้แก่ วิตามินบีรวม วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก วิตามินอี แมงกานีส กำมะถัน และวิตามินซี

การเก็บรักษาคุณค่าทางอาหาร

อาหารที่มีการเคี่ยวหรือใช้ความร้อนนานๆ มีการแช่น้ำนานๆ หรือมีการผสมกับด่าง เช่น โซดา ผงฟู จะทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 การหุงข้าวโดยการซาวน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง ก็ทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรเลือกข้าวที่สะอาด เพื่อจะได้ไม่ต้องซาวน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง

การย่างหรืออบอาหารจำพวกเนื้อสัตว์อาจสูญเสียวิตามินบี 1 ไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การต้มหรือลวกเนื้อแล้วทิ้งน้ำไป จะทำให้สูญเสียวิตามินสูงถึง 50เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ารับประทานทั้งเนื้อและน้ำด้วย จะสูญเสียวิตามินไปประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การต้มผักในน้ำน้อยๆ ให้สุกโดยเร็ว จะสูญเสียวิตามินน้อยกว่าการต้มนานๆ ในน้ำมากๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบีหรือวิตามินซี
Source : ผู้จัดการออนไลน์ - เอมอร คชเสนี

วิตามินบี ๑

การค้นพบวิตามินบี ๑ ได้ช่วยไขปริศนาความลับของโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากเทคโนโลยีเรียกว่าโรค 'เบอริเบอริ'(Beriberi)
โดยความหมายตรงตัวของคำเบอริเบอริแปลว่า'อ่อนแอ' ในภาษาอินเดีย
ก่อนศตวรรษที่ผ่านมา ได้ปรากฏโรคชนิดหนึ่ง เป็นโรคที่มาพร้อมกับการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และกำเริบรุนแรงถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี
หมอเองก็รักษาแบบงูๆปลาๆ เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุของโรค มีคนสังเกตเห็นว่า โรคนี้มักเกิดในกลุ่มประชากร ที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก หรือว่าข้าวมีสารพิษไม่เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารคงไม่ใช่ เพราะคนโบราณกินข้าวกันมานานนับพันปี ไม่เคยมีใครบันทึกว่าข้าวมีพิษ ทำไมจำเพาะเจาะจงมาเกิดโรคประหลาดในช่วงที่มีการพัฒนาการสีข้าว จากที่เคยตำด้วยมือ ได้ข้าวสารสีตุ่นกระด้างคอกลายเป็นข้าวสีด้วยเครื่องขาวสะอาด เยื่อหุ้มเมล็ดถูกขัดสีจนเกลี้ยง นั่นไง คนโบราณกินข้าวซ้อมมือ เติบใหญ่แข็งแรง คนรุ่นหลังกินข้าวขัดขาวที่ถูกสีเอาวิตามินบีและอีออกจนเกลี้ยง จึงเกิดโรคขาดวิตามินบี ๑ ซึ่งมีมากใน เยื่อหุ้มเมล็ดข้าว แต่คนสมัยนั้นยังไม่รู้ตัว หลังจากที่เครื่องสีข้าว ได้รับความนิยม เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โรคเบอริเบอริก็พลันแพร่ระบาดไปทั่วเอเชียอย่างรวดเร็ว และเหตุการณ์เช่นนี้ยังได้กระจายไปยัง ประเทศที่ใช้แป้งสาลี ขัดขาวปรุงอาหาร หรือทำขนมปัง เค้ก โดยใช้แป้งสมัยใหม่ ที่ไม่มีไฟเบอร์กากใยระคายคอ
เริ่มมีนักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นเงื่อนงำ แต่ก็ยังตอบไม่ได้ว่าทำไมข้าวขัดขาวจึงก่อโรคร้าย ห้าสิบปีถัดมา เมื่อมีการค้นพบวิตามินบี ๑ ทุกคนจึงถึงบางอ้อ ที่แท้เบอริเบอริคือโรคที่เกิดจาก การขาดวิตามินบี ๑
บี ๑ มีมากในเยื่อหุ้มเมล้ดข้าวชั้นใน เมื่อเราขัดทิ้ง โรคร้ายจึงถามหา ต้องชมเชยแพทย์ทหารชาวญี่ปุ่น นามเค.ทากากิเป็นคนแรก ที่สังเกตเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับโรคเบอริเบอริ
ในปีค.ศ.๑๘๘๐ ทากากิพยายามสืบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายในหมู่ราชนาวีญึ่ปุ่น (รุนแรงไม่แพ้โรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินซี) เขาเชื่อว่า ทหารเรืออ่อนแอเพราะกินอาหารไม่ครบถ้วน
เขาจึงทดสอบข้อสงสัย โดยเตืมนมและเนี้อสัตว์ลงในข้าว ให้ทหารเรือกลุ่มหนึ่งกิน พบว่าอาการเบอริเบอริหายไป
นักวิทยาศาสตร์ต้องมีนิสัยช่างสังเกต ช่างคิดเช่นนี้แหละ นี่เป็นการค้นพบครั้งแรก แต่ทากากิก็ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่หายไปจากข้าว ที่ทหารเรือญึ่ปุ่นกินคืออะไร
ต่อมามีหลักฐานชิ้นที่สอง จากเกาะชวาของอินโดนีเซีย แพทย์ชาวฮอลแลนด์ชื่อ คริสเตียน อีคแมน (Christian Eijkman) เลี้ยงไก่ด้วยข้าวขัดขาว พบว่าไก่เกิดโรคคล้ายเบอริเบอริในคน แต่เมื่อโปรยข้าวเปลือกให้กิน อาการพลันกลับดีเหมือนเดืม
ปิ๊ง...หมอคริสเตียนได้ไอเดีย เขาทดลองให้ผู้ป่วยเบอริเบอริกินข้าวซ้อมมือเหมือนคนโบราณ โรคร้ายหายเป็นปลิดทิ้ง หมอคริสเตียนจึงสรุปด้วยความมั่นใจว่าเบอริเบอริเป็นผลจากการกินข้าวขัดขาว แต่ยังไม่มีใครรู้ว่า ทำไมข้าวขัดขาวจึงก่อโรคได้
จนถึงปีค.ศ.๑๙๑๐ มีความพยายามค้นหาสารที่หายไปอย่างต่อเนื่อง และแล้วนักเคมีชื่อโรเบิร์ต วิลเลี่ยมส์ ได้วิเคราะห์สารที่ถูกสกัดจากขบวนการสีข้าวที่ละตัว ว่ามีอะไรถูกสีทิ้งไปบ้าง และแต่ละตัวที่หายไป มีคุณต่อร่างกายอย่างไร ถ้าขาดหายจะเกิดอะไรขึ้น ในที่สุดเขาก็พบวิตามินบี ๑ หรือที่มีชื่อทางการว่าไทอามิน (Thiamin)

บทบาทหน้าที่

วิตามินบี ๑ มีบทบาทหน้าที่เหมือนวิตามินบีอื่นๆ คือการเป็นตัวช่วยการทำงานของเอนไซม์ ช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย ดำเนินไปอย่าง รวดเร็ว การเผาผลาญพงังงานทำได้เต็มที มีประสิทธิภาพ คนที่ขาดวิตามินบีกลุ่มนี้ จึงได้พลังงานไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง วิตามินบี ๑ ยังช่วยสร้างไขมันและการใช้โปรตีน ทำให้การทำงานของระบบประสาทเป็นปรกติ


แหล่งวิตามินบี ๑

ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นแหล่งวิตามินชั้นเลิศ หากกินไม่ได้จริงๆ ก็อาจใช้ข้าวเคชือบวิตามินเสริมแทน แต่ข้าวเคลือบวิตามินที่ดี ควรมีทั้งบี ๑ บี ๒ บี ๓ และธาตุเหล็ก จึงทดแทนใกล้เคียงวิตามินที่ขาดหาย นอกจากข้าวซ้อมมือเราอาจได้วิตามินบี ๑ จากอาหารอีกชนิด เช่น แป้งข้าวหมาก ถั่วต่างๆ รำข้าว ขนมปังโฮลวีท และข้าวโอ๊ต อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไต ตับ เนื้อ หมู ไก่ และปลา รวมถึงไข่ทุกประเภท แต่ปริมาณอาจมากน้อยต่างกันไป และอาหารบางชนิดเช่น ไต ตับ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก รวมถึงไข่ทุกประเภท อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ ดังนั้น อย่างไรเสียข้าวซ้อมมือยังคงเป็นแหล่งวิตามินบี ๑ สำหรับคนทุกวัย การทำให้อาหารสุกจัด ด้วยความร้อนนานๆ สามารถทำลายวิตามินบี ๑ ได้ และเนื่องจากละลายน้ำได้ดี มันจึงมักละลายปนออกมากับน้ำที่ใช้ปรุงอาหาร
หุงข้าวเช็ดน้ำ (คือรินน้ำข้าวทิ้ง) บี ๑ หนีไปกับน้ำข้าว
ต้มข้าว วิตามินบี ๑ อยู่ในน้ำข้าวต้ม นึ่งข้าว วิตามินบี ๑ ยังอยู่กัยกับเมล็ดข้าว จึงควรปรุงอาหารด้วยน้ำน้อยๆ และซดน้ำแกงน้ำต้มผักด้วยจะดีที่สุด
การนึ้งและการทำให้สุกด้วยไมโครเวฟข่วยรักษาวิตามินบี ๑ ไว้ได้ดี
บางคนมีเทคนิคผัดผักให้ดูเขียวน่ากิน โดยการแช่ผักไว้ในน้ำผสมผงฟูหน่อยหนึ่ง หารู้ไม่ว่าผงฟูมีฤทธิ์เป็นด่าง สามารถทำลายวิตามินบี ๑ ไปอย่างน่าเสียดาย กลายเป็นผัดชนิดสวยแต่รูปจูบไม่หอม
เช่นเดียวกับสารซัลไฟต์ที่นิยมใส่ในอาหารแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร มันสามารถทำลายวิตามินบี ๑ เช่นกัน
ข้อแนะนำคือ ปรุงอาหารสดใหม่กินเอง และปรุงอาหารให้สุกโดยเร็ว ใช้น้ำน้อยๆดีที่สุด

ความต้องการ

คนเราแต่ละคนต้องการวิตามินบี ๑ ไม่เท่ากัน ดังที่กล่าวแล้วว่า วิตามินบี ๑ มีหน้าที่หลักในขบวนการเผาผลาญพลังงาน
ดังนั้นใครกินอาหาร พลังงานมากก็ต้องใช้วิตามินบี ๑ มาก
หญิงสาวอาจใข้พลังงานต่อวัน ๑,๘๐๐-๒,๕๐๐ แคลอรี่ ชายหนุ่มอาจใช้ ๒,๕๐๐-๓,๕๐๐ แคลอรี่
โดยทั่วไปพลังงาน ๑,๐๐๐ แคลอรี่ ใช้วิตามินบี ๑ จำนวนน้อยนิด คือ ๐.๕ มิลลิกรัม
ผู้หญิงทั่วไปต้องการวิตามินตัวนี้ราว ๑๑ มิลลิกรัม จนถึงวัย ๕๐ ปีหลังจากนั้น จะต้องการน้อยลง
ส่วนผู้ชายต้องการบี ๑ ราว ๑.๕ มิลลิกรัม
เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการบี ๑ จะลดลง ชายต้องการบี ๑ ราว ๑.๒ มิลลิกรัม และผู้หญิงต้องการราว ๑ มิลลิกรัม
เนื่องจากวิตามินบี ๑ ละลายน้ำได้ดี มันจึงถูกขับออกจากร่างกายตลอดเวลา พร้อมปัสสาวะ เราจึงต้องกินวิตามินบี ๑ ทุกวัน
การศึกษาชิ้นหนึ่งบ่งชี้ว่าคนสมัยใหม่กำลังขาดวิตามินบี ๑ อย่างเรื้อรัง มาก กว่าครึ่งของผู้ป่วยในสถานพยาบาลและศูนย์สงเคราะห์คนชรากำลังอยู่ใน ภาวะขาดวิตามินบี ๑ ก่อให้เกิดสภาวะแปรปรวนทางอารมณ์และจิตใจ
นิสัยต่อไปนี้อาจทำให้ท่านขาดวิตามินบี ๑ ได้
๑. ดื่มสุราจัด
๒. อยู่ระหว่างลดความอ้วน
๓. ดื่มชา กาแฟจัด
๔. คนสูงอายุที่ทานอาหารน้อย
๕. การใช้ยาประจำตัว ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาโรคหัวใจบางตัว ยาแก้โรคกระเพาะ ฯลฯ

คุณประโยชน์

  • ป้องกันและรักษาอาการพิษสุราเรื้อรัง
    คนป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะขาดวิตามินบี ๑ เพราะแอลกอฮอล์ทำลายวิตามินบี ๑ ที่มีอยู่ในร่างกายได้หลายวิธี
    มีการศึกษาหลายครั้งยืนยันได้ว่าบัดนี้โรคเหน็บชาได้กลับไประบาดทางซีกโลกตะวันตกอีก เนื่องจากผลของการดื่มสุรา จนติดเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการแบบที่เราพบในกลุ่มคนเมาทั้งหลาย เช่น จิตใจสับสน เห็นภาพผิดปรกติ สูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อตา
  • ปกป้องหัวใจ
    ดร.เจ.เอส แมคเลสเตอร์กล่าวในหนังสือ 'สารอาหารและอาหารเพื่อสุขภาพและโรคภัย' ว่า
    "การขาดวิตามินบี ๑ เป็นสาเหตุแห่งการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งแสดงออกโดยการที่หัวใจโต แต่ขาดพลังในการสูบฉีดโลหิต"
    ผลการพิสูจน์จากสัตว์ในห้องทดลองแสดงว่า เมื่อใดที่ขาดแคลนวิตามินบี ๑ หัวใจจะเป็นอวัยวะแรกที่กระทบกระเทือน
    การขาดวิตามินบี ๑ ในระยะแรกจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และเมื่อภาวะขาดวิตามินรุนแรงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจ จะเกิดการสะสมของกรดไพรูวิก และแลคติกกลายเป็นอาการปวด เสียวหัวใจ
    การศึกษาในมนุษย์โดยตรวจดูหัวใจของผู้ที่ป่วยตายด้วยโรคหัวใจ พบว่ากล้ามเนื่อหัวใจของผู้เสียชีวิตด้วยเหตุหัวใจวาย จะมีปริมาณวิตามินบี ๑ ต่ำกว่าหัวใจของผู้ป่วยที่ตายด้วยโรคสาเหตุอื่นๆ
    แม้การขาดวิตามินบี มิใช่สาเหตุโดยตรงของโรคหัวใจ แต่เราสามารถป้องกันโรคหัวใจได้โดยกินวิตามินบี ๑ หรือข้าวซ้อมมือในปริมาณที่เพียงพอ
  • พิทักษ์ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
    วิตามินบี ๑ จำเป็นแก่กล้ามเนื้อร่างกายทั้งกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ
    หากคุณขาดวิตามินบี ๑ ระบบในร่างกายของคุณจะแปรปรวนไปหมด อาการผิดปรกติก็จะถามหาเช่น ปวดศีรษะ ประสาทอ่อน เส้นประสาทอักเสบ พฤติกรรมวุ่นวาย กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง ลดปริมาณน้ำดี น้ำย่อยจากตับอ่อนและลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องอืด จุกเสียดเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
    เมื่อกล้ามเนื้อขาดวิตามินบี ๑ จะทำให้มันทำงานได้ไม่เต็มที่ หรืออาจเป็นอัมพาตเฉพาะส่วน ถ้าเป็นที่แขนขา ก็ปรากฏในรูปตะคริว เหน็บชา
    แต่มันอาจปรากฎที่อื่นเช่นกล้ามเนื้อตาทำให้กลายเป็นโรคหนังตาตกและอื่นๆมากมาย
  • รักษาโลหตจาง
    ธาตุเหล็กรับผิดชอบภาวะโลหิตจาง เพราะร่างกายใช้เหล็กสร้างเม็ดเลือดแดง
    แต่ยังมีโรคโลหิตจางประเภทหนึ่ง เรียกในทางการแพทย์ว่า 'Thiamine Responsive Anemia Syndrome' เป็นโรคโลหิตจางประหลาดเพราะคนที่เป็นโรคนี้มีอาการโลหิตจางโดยไม่ขาดธาตุเหล็ก และวิตามินบี ๑ แต่เมื่อให้วิตามินบี ๑ ปริมาณสูง (๑๐๐มิลลิกรัมต่อวัน) โรคนี้จะหายไป
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากความผิดปรกติในการแปรรูปวิตามินบี ๑ ให้เป็นสารพร้อมใช้งาน
  • ขับพิษตะกั่ว (จากมลภาวะ)
    ตะกั่วเป็นโลหะหนักพิษร้ายที่เราต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน มีการศึกษาพบว่าวิตามินบี ๑ จัดเป็นสารต้านพิษตะกั่ว
    สัตว์ทดลองที่ได้รับการฉีดวิตามินบี ๑ ในขนาดสูง ๑๐ เท่าของปรกติ จะสามารถป้องกันพิษและการสะสมของตะกั่วในสมอง ตับ ไต และเนื้อเยื่อ
    กินข้าวซ้อมมือเป็นประจำ อาจช่วยลดพิษจากมลภาวะได้
  • ส่งเสริมบุคลิกภาพและเชาวน์ปัญญา
    ผู้ที่ขาดวิตามินบี ๑ หรือบริโภควิตามินบี ๑ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นเวลานาน ซึ่งก็หมายถึงคนส่วนใหญ่ในโลกนี้จะขี้หลงขี้ลืมขาดความกระตือรือร้น ขาดความคิดริเริ่ม ความคิดวุ่นวายสับสน และมีภาวะซึมเศร้า พร้อมวิตกจริตบ่อยครั้ง
    ที่เป็นเช่นนี้เพราะเซลล์สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดความจำจะอาศัย น้ำตาลในกระแสเลือดเป็นแหล่งพลังงานในการดำรงตนโดยปรกติสุข
    เมื่อปราศจากวิตามินบี ๑ น้ำตาลในกระแสเลือดจึงไม่อาจเปลี่ยนเป็น พลังงานให้แก่สมองได้โดยเร็ว
  • ควบคุมเบาหวาน
    วิตามินบี ๑ อาจไม่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนไข้เบาหวานโดยทั่วไป แต่จะมีคนไข้อีกประเภทหนึ่งที่เป็นเบาหวานเทียม
    กล่าวคือ ร่างกายไม่ยอมรับน้ำตาลกลูโคสเหมือนคนเป็นเบาหวาน แต่เมื่อได้รับวิตามินบี ๑ ติดต่อกันภาวะน้ำตาลสูงสามารถกลับคืนปรกติได้
    และเป็นความจริงอย่างยิ่งว่าคนเป็นเบาหวานควรรับประทานข้าวซ้อมมือ เพราะเป็นแป้งเชิงซ้อนไม่ทำให้น้ำตาลพุ่งสูงพรวดพลาด
  • เสริมการรักษาโรคติดเชื้อ
    มีรายงานว่า วิตามินบี ๑ สามารถช่วยการรักษาโรคติดเชื่อและเริมบางชนิดให้หายเร็วขึ้น
    วิตามินบี ๑ ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของเซลล์คุ้มกันโรคตัวหนึ่งที่ชื่อนิวโทรฟิลส์
  • ป้องกันโรคใหลตาย (Suds)
    คุณคงจำโรคใหลตายของคนงานในสิงคโปร์ได้ ชาวบ้านทางอีสานเชื่อว่าเกิดจากผีแม่ม่ายมาเอาไปทำสามี หนุ่มอีสานช่วงนั้น เลยต้องแต่งตัวเป็นหญิงทาปากแดงเล็บแดงเพื่อแก้เคล็ด โรคใหลตายในทางการแพทย์เรียกว่า 'SUDS' หรือย่อจาก 'Sudden Unexplained Death Syndrome' แปลว่าอาการตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ
    ปีค.ศ.๑๙๗๗ ฝรั่งเศสสำรวจไว้ว่า มีคนแถวบ้านเราเป็นโรคใหลตายถึง ๑๗๐ คนโดยประมาณ และพบว่าคนที่ตายมีภาวะขาดวิตามินบี ๑
    แม้ทุกวันนี้ เรายังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง แต่แพทย์ไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขก็เตือนประชาชนเรื่องภาวะขาดวิตามินบี ๑ และมีการจ่ายวิตามินชนิดเม็ดให้แก่แรงงานไทยในต่างประเทศ
Source : ภก.สรจักร ศิริบริรักษ์ จากหนังสือพลอยแกมเพชร

วิตามิน B1 และอารมณ์

สมองจะใช้ vitaminB1 เพื่อช่วยแปลงกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดเป็นเชื้อเพลิงและไม่ได้สมองอย่างรวด เร็วหมดพลังงาน นี้จะนำไปสู่ความเหนื่อยล้า, depression, หงุดหงิด, วิตกกังวลและความคิดฆ่าตัวตายได้

เนื่องจากยังมีบทบาทในกรดอะมิโนสร้างขาดอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้ากั้นจากระดับต่ำของ serotonin neurotransmitters และเนฟริน

การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าวิตามินบีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานที่ เหมาะสมของระบบประสาทและสามารถมีผลที่มีประสิทธิภาพในอารมณ์และความระมัด ระวัง การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปริมาณวิตามินบีสูงมีโอกาสน้อยที่จะประสบ ความนับถือตนเองต่ำและภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการนอนหลับ

นักวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ในสวอนซีได้ดำเนินการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจผลของวิตามิน B1 ในอารมณ์

หนึ่งร้อยยี่สิบสุขภาพนักศึกษาหญิงได้รับทั้งวิตามินบีม 50 ถือเป็นปริมาณสูงหรือหลอก แม้จะมีภาวะโภชนาการ ปกติของพวกเขา อย่างเห็นได้ชัดหลังจากสองเดือนนักเรียน ที่เอาวิตามินบีพิเศษกว่าสองเท่าของคะแนนที่มั่นคงชัดเจนและ subclasses อารมณ์ของ bipolar Profile of Mood States (POMS) ทดสอบทางจิตวิทยา นักเรียนที่รับการรักษาด้วยยาหลอกพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง วิตามินบีที่มีการเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยาในเวลาทดสอบ อีกกลุ่มเป็นยาหลอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในที่สุดการปรับปรุงยังเกิดขึ้นใน subscales POMS ที่วัดหากผูรู้สึกมั่นใจประกอบด้วยหรือร่าเริง

ดังนั้นการรักษาปริมาณของวิตามินบีอาจช่วยเพิ่มอารมณ์ถึงแม้วิตามินจะไม่ขาด ในร่างกาย วิตามิน B1 ได้รับการเรียกว่า 'วิตามินคุณธรรม' เพราะจะช่วยหนึ่งรู้สึกดีและมีความสุขและ เป็นตอนนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายใน การรักษาภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล