วิตามิน H ไบโอติน

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4

วิตามิน H ไบโอติน หรือ วิตามินบี 7

หลายคนอาจจะรู้จักวิตามิน H ในชื่อของ “ไบโอติน” มากกว่า ไบโอตินจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ

ประโยชน์ต่อร่างกาย

ไบโอตินช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน จำเป็นต่อการสังเคราะห์กรดไขมันและกรดอะมิโนเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ตามปกติ และช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและผม
มักมีการกล่าวอ้างว่า อาหารเสริมไบโอตินมีประสิทธิภาพในการรักษาสิว ผมร่วง โรคเรื้อนกวางหรือแผลเปื่อย ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ชัดเจนแต่อย่างใด

แหล่งที่พบ

ไบโอตินพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท เช่น ตับ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ไข่ นม โยเกิร์ต ยีสต์ ถั่ว บล็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ แครอท เป็นต้น
นอกจากนี้ แบคทีเรียในลำไส้ยังสามารถสังเคราะห์ไบโอตินขึ้นมาได้เอง

ปริมาณที่แนะนำ

ไบโอตินที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง รวมกับที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว การขาดไบโอตินเกิดขึ้นได้น้อยมาก จึงยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของไบโอตินที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวัน

ผลของการขาด

สาเหตุหนึ่งที่อาจจะทำให้ร่างกายขาดไบโอตินได้ก็คือ การรับประทานไข่ขาวดิบในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้เพราะในไข่ขาวมีสารที่ทำลายหรือลดการดูดซึมไบโอติน อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด ผมร่วง เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว คอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติ และโลหิตจาง

ผลข้างเคียงจากอาหารเสริมไบโอติน

ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงของอาหารเสริมไบโอตินเมื่อใช้ในปริมาณ 10 ไมโครกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบสิ่งผิดปกติใดๆ หลังจากใช้ไบโอติน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

Source : ผู้จัดการออนไลน์ - เอมอร คชเสนี

ไบโอติน

ไบไอติน (Biotin) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับวิตามิน บี (Vitamin B) เราพบว่าแบคทีเรียที่อาศัย อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเราที่เรียกว่า นอร์มอลฟอร์ร่า (Normal Flora) จะสามารถสร้างวิตามินไบโอติน เพื่อใช้ประโยชน์ ในร่างกายของเราได้อย่างเพียงพอ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วในหลายภาวะ เช่นในผู้ที่รับประทานยาใน กลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อยู่เป็นประจำ มักจะพบว่ายาฆ่าเชื้อดังกล่าวจะไปทำลาย นอร์มอลฟอร์ร่า ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ด้วยเสมอ และจะส่งผล ให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินไบไอตินได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นิยมรับประทานไข่ดิบ ซึ่งในไข่ดิบนั้น จะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อ โปรตีน อะวิดีน (Avidine) ที่มีคุณสมบัติในการจับกับวิตามินไบโอตินไว้กับตัวเอง ทำให้ลดการดูดซึมวิตามินไบโอตินดังกล่าว เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายของเราขาดวิตามินไอโอตินได้อีกทางหนึ่งด้วย

ผลของการขาดวิตามินไบโอติน (The symptom of defficiency)

อาการที่เรามักพบเสมอในผู้ที่มีอาการขาดวิตามินไบโอติน มีดังต่อไปนี้

1.หมดเรี่ยวแรง (Fatigue) และอาจมีอาการของการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain)
2.มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (Nusea) หรือความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร Loss of Appetite)
3.มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ภาวะซึมเศร้า(Depression)
4.เกิดความบกพร่องของระบบผิวพรรณ เช่น มีอาการผิวแห้ง (Dry Skin) การรับสัมผัสทางผิวพรรณผิดปกติ (Sensitivity to touch) อาการผมร่วง (Hair Loss)
5.ระบบการเผาผลาญไขมันเกิดความบกพร่อง ส่งผลให้ไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดสูง (Increase in cholesterol) และการเผาผลาญไขมันน้อยลง

กลไกการทำงานของวิตามินไบโอตินในร่างกาย (Mechanism of Action in our Body)

หน้าที่หลักของวิตามิน ไบโอติน (Biotin) ในร่างกายของเรา คือ การทำหน้าที่เป็นตัวร่วมเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีหรือที่เราเรียกว่า โคเอ็นไซม์ (Co-enzyme) ในปฏิกิริยาต่างๆ ซึ่ง ได้แก่

1.เป็น โคเอ็นไซม์ (Co-enzyme) ในขบวนการเผาผลาญไขมัน (Fat Metabolism) ช่วยให้ร่างกายสามารถนำไขมันมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และนำไขมันมาสร้างเป็นกรดไขมัน (Fatty Acids) ที่เป็นสารตั้งต้นของสารสำคัญในร่างกายอื่นๆ ได้ดีขึ้น
2.เป็น โคเอ็นไซม์ (Co-enzyme) ในกระบวนการสร้างสาร ไพริมิดีน (Pyrimidine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายนำไปใช้สร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic Acid) หรือ ดีเอ็นเอ (DNA) และ อาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งเป็นสารทางพันธุกรรมต่อไป


สำหรับกลไกในข้อทำให้เราทราบในขบวนการในการแบ่งเซลล์ หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ใหม่ๆ ที่มีความจำเป็นที่เซลล์ใหม่จะต้องมีสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิตามินไบโอติน ในการสร้างสารตั้งต้นเสมอ ดังนั้นหากขาดวิตามิน ไบโอติน ดังกล่าว ย่อมทำให้ขบวนการในการสร้างเซลล์ใหม่เกิดภาวะบกพร่องได้ ตัวอย่างอวัยวะที่ต้องเซลล์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา คือ เซลล์ผิวพรรณ เส้นผม และเล็บ ยิ่งจะปรากฎภาวะความบกพร่องได้ง่ายและชัดเจนขึ้น เช่น อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วง (Hair Loss) ภาวะผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) ฯลฯ

คำแนะนำในการรับประทานหรือการใช้ (Recommendation of use)

ในปัจจุบันเราจะพบผลิตภัณฑ์ของวิตามินไบโอตินในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นแบบรับประทานและแบบที่ผสมในเครื่องสำอาง สำหรับแบบที่ผสมในเครื่องสำอาง ก็หวังผลในเรื่องของการรักษาสุขภาพของผิวพรรณและเส้นผม โดยเฉพาะในภาวะที่ผิวพรรณแห้งเป็นขุย ซึ่งเป็นบริเวณเส้นผมเรามักเรียกว่า รังแค (Dandruff) หรือภาวะผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) หรือเพื่อการปรับปรุงสภาพเส้นผมให้มีสุขภาพดีขึ้น เป็นต้น

สำหรับการรับประทานนั้นโดยทั่วไปแนะนำให้รับประทาน ดังนี้

เด็กทารก (Infant) ให้รับประทาน 50 ไมโครกรัม (Mcg) ต่อวัน

เด็กอายุ 7-10 ปี ให้รับประทาน 120 ไมโครกรัม (Mcg) ต่อวัน
เด็กที่อายุมากกว่า 11 ปี ให้รับประทาน 200 ไมโครกรัม (Mcg) ต่อวัน
ในผู้ใหญ่ (Adult) ให้รับประทาน 300-400 ไมโครกรัม (Mcg) ต่อวัน

ไบโอตินเป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซั่มของกรดไขมัน และกรดอะมิโน ช่วยถนอมผิวพรรณให้ปกติ รักษาโรคทางระบบประสาท เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า ไบโอตินพบได้ใน ตับ ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ ยีสต์ มะเขือเทศ ไข่แดง นม บรูเวอร์ยีสต์ และร่างกายเราสามารถสังเคราะห์ไบโอตินได้จากแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้

ประโยชน์ของไบโอตินคือ ไบโอตินเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อขบวนการเมตาโบลิซั่มหรือการเผาผลาญพลังงานจากทั้งคาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำตาล) และโปรตีน ในแต่ละวันร่างกายคนเราต้องการไบโอตินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าขาดไปขบวนการใช้พลังงานต่าง ๆ ในร่างกายก็ผิดปกติ และพบว่าคนที่ขาดไบโอตินนั้นจะมีปัญหาเรื่องของผมหงอกก่อนวัย ผมหลุดร่วง ศีรษะล้าน มีผิวหนังแห้ง อักเสบได้ง่าย เล็บเปราะหัก บางครั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ อาจมีอาการซึมเศร้าได้ด้วย

ร่างกายคนเราต้องการไบโอตินต่อวันเป็นจำนวนน้อยมาก แค่ 100 - 150 ไมโครกรัม (ไมโครกรัม คือ 1 ในล้านของ 1 กรัม) ค่า RDA ในประเทศไทยนั้นกำหนดว่าเราควรจะได้รับไบโอตินวันละ 150 ไมโครกรัม ซึ่งดูเหมือนว่าโอกาสที่จะได้รับไบโอตินจาก การกินอาหารอย่างเพียงพอไม่น่าจะขาดแคลน และบางส่วนยังสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในลำไส้อีกด้วย

แต่จากการสำรวจอาหารที่คนเรารับประทานพบว่า ไบโอตินมีอยู่ในอาหารในปริมาณที่น้อยมาก เช่น
- ในตับ 1 ขีด หรือ 100 กรัม จะมีไบโอติน 100 ไมโครกรัม
- ในถั่วเหลือง 100 กรัม จะมีไบโอตินเพียงแค่ 60-70 ไมโครกรัม
- ซีเรียล 100 กรัม จะมีไบโอตินเพียงแค่ไม่ถึง 30 ไมโครกรัม
- ผลไม้และเนื้อสัตว์ยิ่งมีไบโอตินน้อยมาก ในผลไม้หรือสเต๊คเนื้อ 100 กรัมนั้น มีไบโอตินเพียงแค่ 0.6-2.3 ไมโครกรัมเท่านั้น คงต้องรับประทานอาหารพวกนี้เป็นปริมาณมาก ๆ ถึงจะได้รับไบโอตินเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน

การรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ๆ และคนสูงอายุ ก็พบว่าเป็นสาเหตุให้การสังเคราะห์ไบโอตินในลำไส้ลดลง

ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าคนส่วนหนึ่งอาจจะขาดไบโอตินโดยไม่รู้ตัว และทำให้มีปัญหาเล็บเปราะ ฉีกขาดง่าย ผมหงอกก่อนวัย หรือผมไม่แข็งแรง หลุดร่วงก่อนวัยอันสมควร และนี่เองคือที่มาของหลักการนำอาหารเสริมวิตามินไบโอตินมารับประทานเพื่อช่วยเสริมให้รากผมแข็งแรง ป้องกันหรือระงับการหลุดร่วงหรือผมหงอกก่อนวัย รวมทั้งช่วยให้มีเส้นผมใหม่ที่ขึ้นมาแข็งแรงกว่าเดิมด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าไบโอตินยังช่วยให้เล็บแข็งแรงในคนที่มีปัญหาเล็บเปราะ เล็บแตกหักง่าย ในต่างประเทศแนะนำให้รับประทานกันตั้งแต่ 600 - 2,400 ไมโครกรัม หรือเพียงแค่ 0.6-2.4 มิลลิกรัมเท่านั้น และรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่เป็นอันตราย เพราะไบโอตินอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ หากรับประทานมากเกินไปร่างกายจะขับถ่ายออกมาได้เอง โดยที่ไม่มีการสะสมเป็นส่วนเกินในร่างกาย

ที่สำคัญมีการวิจัยพบว่าเด็กที่มีปัญหาผื่นผิวหนังอักเสบ หรือผมร่วงจากการขาดแร่ธาตุไบโอตินนี้ เมื่อได้รับการฉีดไบโอตินวันละ 5 - 10 มิลลิกรัม หรือคิดเป็น 5,000 - 10,000 ไมโครกรัมต่อวัน ต่อเนื่องกันนานเป็นเดือน ก็ไม่มีอันตราย แม้จะเป็นเด็กทารกตัวนิดเดียว ดังนั้นการที่คนเราตัวใหญ่ ๆ รับประทานไบโอตินวันละ 2.4 มิลลิกรัม ก็ไม่น่าจะเป็นอันตราย

โดยสรุปไบโอตินนับเป็นวิตามินหรืออาหารเสริมชนิดหนึ่ง ที่มีบทบาทต่อการเสริมสุขภาพเส้นผมและเล็บให้แข็งแรง ช่วยบรรเทาอาการผมหลุดร่วง ช่วยไม่ให้ผมหงอกไว และช่วยให้ผู้หญิงที่ผมบางหรือผู้ชายที่ศีรษะล้าน มีความหวังใหม่ในการทะนุบำรุงเส้นผมให้มีอายุยืนยาวนานยิ่งขึ้น แต่ว่าถ้าผมหลุดร่วงจนศีรษะล้านเลี่ยนแล้ว การรับประทานไบโอตินอย่างเดียวคงไม่ค่อยเห็นผล คงต้องรับประทานยาอื่น หรืออาจจะต้องทำการผ่าตัดปลูกเส้นผมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้

ภาวะขาดไบโอติน
อาหารธรรมดามีไบโอตินเพียงพอ แต่ผู้ที่ชอบทานไข่ดิบเป็นประจำ ไข่ขาวดิบจะรวมตัวกับไบโอติน ขัดขวางการย่อยและดูดซึมโปรตีนในกระเพาะ และลำไส้ ผู้ทานไข่ดิบคราวละหลายฟองอยู่เสมอ มีโอกาสขาดไบโอตินสูงกว่าคนอื่น ควรต้มไข่ให้สุกเพื่อขจัดปัญหานี้ แบคทีเรียในลำไส้สามารถสร้างไบโอตินขึ้นเองได้ แต่ผู้ที่ทานยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ตัวยาจะทำลายแบคทีเรียชนิดนี้ เป็นผลให้ร่างกายมีไบโอตินลดลง

ภาวะการขาดไบโอติน ผิวหนังจะเกิดผดผื่น ขนร่วง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

วิตามินเอช (BIOTIN)

ไบโอติน หรือ vitamin H จัดเป็นวิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามิน บี จำเป็นสำหรับขบวนการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย เช่น การเติมคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่สารประกอบ หรือเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกจากสารประกอบ จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์เอนไซม์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวหนัง ผม กล้ามเนื้อ และประสาท อาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน ได้แก่ ตับหมู ไตวัว เนื้อวัว ปลาเนื้อขาว น้ำมันปลา ข้าวกล้อง ข้าวโพด รำข้าวสาลี ไข่ นม เนย โยเกิรต์ ผักต่างๆโดยเฉพาะดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี เห็ด แครอท แต่ก็ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณของวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละ วัน วิตามินนี้จะถูกสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ ไบโอตินเป็นกรดที่มีกำมะถันอยู่ด้วยในโมเลกุล ผลึกของ ไบโอตินเป็นรูปเข็มยาว ในธรรมชาติมักเกิดรวมอยู่กับกรดอะมิโนไลซีน ระดับของไบโอตินในเซรุ่มของคนปกติอยู่ระหว่าง 213-404 นาโนกรัม/มล. สาเหตุหนึ่งที่ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้ก็คือ การรับประทานไข่ขาวดิบในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้เพราะในไข่ขาวมีสารที่จะทำลายไบโอติน เมื่อร่างกายเกิดอาการขาดวิตามินนี้ก็จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง ผิวหนังมีสีเทา อ่อนเพลีย โลหิตจาง มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติ

* ข้อมูลทั่วไป
o วิตามิน H หรือไบโอติน จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ซึ่งสามารถละลายน้ำได้ วิตามินตัวนี้จะพบได้ในทุกเซลล์ในร่างกาย แต่พบว่ามีปริมาณน้อย โดยพบว่าพบมากที่ตับและไต ของร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างได้เอง โดยแบคทีเรียจากลำไส้
o คุณสมบัติ
เป็นผลึกรูปเข็ม ไม่มีสี ทนต่อความร้อน แสงสว่าง กรดและด่าง ละลายได้ดีในน้ำร้อนและแอลกอฮอล์

* ประโยชน์ต่อร่างกาย
o ทำ หน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในขบวนการต่างๆของร่างการ เช่น กระบวนการเผาพลาญของร่างกาย ขบวนการสร้างกรดไขมัน พิวรีน เป็นตัวส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยผลิตฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และอินซูลิน อีกทั้งยังรักษาสุขภาพของผิวหนัง ผม ต่อม เหงื่อ และกระดูกอ่อนอีกด้วย

* แหล่งที่พบ
o จะ พบทั่วไปในแหล่งอาหารธรรมชาติ แต่พบมากในเครื่องในสัตว์ เช่น ตับหมู ไตหมู รวมทั้งพวก เนื้อวัว ปลาเนื้อขาว น้ำมันปลา ข้าวโพด ข้าวกล้อง ไข่แดง ถั่ว ยีสต์ ผักเช่น ดอกกะหล่ำปลี แครอท และพบในผลไม้ได้บ้าง

* ปริมาณที่แนะนำ
o ปกติ ร่างกายจะสามารถสร้างไบโอตินได้อยู่แล้วจากแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่ง ถ้าหากรวมกับอาหารที่ได้รับในแต่ละวันถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่าง กายแล้ว แต่ก็เชื่อว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับไบโอติน วันละ 100 200 ไมโคกรัม เด็ก(ตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป) ควรได้รับวันล่ะ 85 120 ไมโคกรัม

* ผลของการขาด
o จะ มีการอักเสบของเยื้อบุต่างๆ ผิวหนังแห้งลอก ตกสะเก็ด มีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ปวดเมื่อยตามตัว ระดับคอเลสเตอรอลสูง โลหิตจางแม้จะได้รับเหล็กเพียงพอ การขับปัสสาวะลดลง

* ผลของการได้รับมากไป
o พวกยาปฏิชีวะนะ เนื่องจากไปทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ สารอะวิดินจากไข่ขาวดิบๆ ซึ่งจะลดการดูดซึมของไบโอติน ยาพวกซัลฟา

* ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ มีการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และมีการขับออกทางปัสสาวะ
o อาหารหรือสารต้านฤทธิ์
+ วิตามินบีรวม วิตามินบี 12 กรดโฟลิค กรดแพนโทเธ็นนิค วิตามินซี กำมะถัน