Aromatherapy ...กลิ่นบำบัดเพื่อสุขภาพ

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

อะโรมาเทอราพี (aromatherapy) มาจากรากศัพท์ 2 คำ คือ aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย และ therapy ซึ่งหมายถึง การบำบัด ดังนั้น จึงหมายความถึง ศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืช เพื่อส่งเสริมให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายให้ดีขึ้น และมีชื่อเป็นทางการคือ คันธบำบัด จัดได้ว่าเป็นศาสตร์เก่าแก่ของโลก เริ่มจากสมัยอิยิปเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการใช้ในจีนและอินเดีย เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว การใช้ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยต่อร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่มักจะทำโดยการสูดดมและการใช้ผ่านผิวหนัง ในกรณีการใช้ผ่านผิวหนังมักจะมีการเจือจางก่อนเสมอในน้ำมันพืช เช่น sweet almond oil, apricot kernel oil และ grapeseed oil เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในการรักษา (Therapeutic oils)

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในการรักษา จะต้องมีความบริสุทธิ์และคุณภาพสูง ซึ่งทั้งนี้คุณภาพของน้ำมันจะขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ และสถานที่ปลูกหรือแหล่งปลูกเป็นหลัก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และ วิธีการสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย

มีดอกไม้หลายชนิดเช่น ไวโอเล็ท การ์ดเนีย ฟรีเซีย หรือไลแล็ค เราไม่สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยออกมาได้ ทั้งนี้เพราะลักษณะ ดอกที่บอบบาง และไม่เหมาะที่จะสกัดโดย กลั่นด้วยไอน้ำ กอรปกับราคาที่แพงมากของดอกไม้สด ทำให้บางครั้งมีการผสมน้ำมันหอม ที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งเรียกว่า เพอร์ฟูม (perfume) เพื่อให้ได้กลิ่นดอกไม้เหล่านี้ แต่เพอร์ฟูมจะไม่มีผลในการรักษาเลย

สิ่งสำคัญในการเลือกตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยที่เป็นของแท้และบริสุทธิ์คือ ให้อ่านฉลาก ที่ติดภาชนะบรรจุ หรือสอบถามข้อมูลรายละเอียดจากบริษัทที่ขายในหัวข้อต่อไปนี้

1. ข้อมูลพื้นฐานจากตัวแทนจำหน่าย

  • ประเทศผู้ผลิต
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์
  • ส่วนของพืชที่ใช้กลั่นเอาน้ำมัน
  • กระบวนการสกัด 2. สอบถามเกี่ยวกับวิธีการสกัด

การสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลายวิธีการ ดังต่อไปนี้

2.1 การกลั่นด้วยไอน้ำ

น้ำมันหอมะเหยเกือบทั้งหมดมักจะสกัดโดยการกลั่นด้วนไอน้ำ โดยในระหว่างการกลั่นส่วนของพืชจะสัมผัสไอน้ำ จนกระทั่งน้ำมันหอมระเหยจะระเหยไปเพราะถูกความร้อน น้ำมันหอมระเหยที่ระเหยไปพร้อมกับไอน้ำ เมื่อผ่านไปยังท่อหล่อเย็น จะทำให้ทั้งน้ำมันและไอน้ำ กลั่นตัวกลายเป็นของเหลว และหยดตกลงมาในภาชนะรองรับโดยน้ำมันจะลอยเป็นชั้นอยู่ด้านบน ส่วนชั้นล่างเป็นน้ำ ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันออกได้ อย่างไรก็ตามการกลั่นด้วยไอน้ำควรจะทราบ ความดัน อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการกลั่นที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด

2.2 การบีบเย็น (cold pressed)

การบีบเย็นเป็นกระบวนการสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดี เพราะไม่ถูกความร้อน เช่น ในกรณีของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม จะทำได้โดยผ่านเอาผิวส้มมาบีบ จากนั้นจึงกรอหรืออาจจะเข้าเครื่องเหวี่ยง เพื่อแยกเอาน้ำมันซึ่งอยู่ส่วนบนออกมา ต้องระวังในการเลือกวัตถุดิบเนื่องจากปัจจุบันมีการฉีดยาฆ่าแมลงที่ผลส้ม อาจจะติดอยู่ได้ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงวัตถุดิบแบบนี้ ควรหันมาใช้ส้มที่ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง

2.3 การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว

มีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวในการสกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากสมุนไพรแห้งเช่น ขิง และ โคเรียนเดอร์ (coniander) โดนการสกัดจะทำภายใต้ความดัน

2.4 แอ็บโซลุท (absolutes)

การสกัดแบบนี้จะสกัดด้วยนำละลายอินทรีย์ เหมาะกับดอกไม้ที่บอบบางและไม่ทนต่ออุณหภูมิสูง ยกตัวอย่างเช่น มะลิ และกุหลาบ โดยการนำดอกไม้ใส่ลงในตัวสารละลายอินทรีย์ เช่น เฮ็กเซน และทิ้งไว้ระยะหนึ่งจากนั้นจึงนำมากรองแยกเอาชั้นเฮ็กเซนออกมาและระเหยทิ้งไป จากนั้น นำส่วนที่เหลือมาละลายด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อแยกส่วนของไข (wax) ออกไป นำส่วนแอลกอฮอล์ที่ได้ระเหยแอลกอฮอล์ออกไปก็จะได้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งอาจจะมีแอลกอฮอล์ปนอยู่เล็กน้อย

บริษัทผู้ผลิตน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพ จะให้ข้อมูลของแหล่งผลิตติดไว้ที่ฉลากเสมอ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวิทยาศาสตร์

เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนของชื่อและเพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพ ควรจะติดชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช ที่ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส มีหลายชนิด ถ้ากลั่นจาก Eucalyptus globlus ชื่อต้นคือ Eucalyptus เป็นชื่อสกุล และชื่อหลังคือ globules เป็นชื่อชนิด จะได้น้ำมันที่แก้คัดจมูก และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดี ไม่เหมาะจะใช้ในห้องเด็ก เพราะแรงเกินไป น้ำมันยูคาลิปตัส ที่กลั่นจาก Eucalyptus radiata เหมาะจะใช้กับห้องเด็กอ่อน เพื่อให้หายใจโล่งและหลับสบาย เนื่องจากกลิ่นจะอ่อน น้ำมันที่กลั่นจาก Eucalyptus citriodora เหมาะที่จะใช้ไล่แมลง นอกจากนี้พืชที่มีสกุลเดียวกันแต่มี หลายชนิดเช่นเดียวกับ ยูคาลิปตัส เช่น ไทม์ (thyme) สน (pine) คาร์โมมาย (chamomile) ดังนั้นควรเลือกใช้น้ำมันจากพืชทีสกุลและชนิดที่ถูกต้อง

วิธีการปลูก

ปัจจุบันในตลาดโลกจะนิยมน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากพืชที่ปลูกแบบชนิดเกษตรอินทรีย์คือไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงในระหว่างการปลูก จะเรียกน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ว่า organic oil ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกพืชเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยมากขึ้น โดยจะเน้นการปลูกเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพและปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชขึ้นเองตามธรรมชาติ และมักมีความแรงมากที่สุด เรียกชนิดน้ำมันนี้ว่า wildcrafted oil

น้ำมันหอมระเหยบางชนิดที่เป็นพิษ ควรมีการระบุที่ฉลากไว้ให้ชัดเจน และคนที่เลือกใช้จะต้องเป็น ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ยกตัวอย่าง เช่น White Birch, Sassafras, Thymus zygin, Hyssop และการบูร การผสม (blend)

น้ำมันหอมระเหยควรคำนึงถึงหลักการเสริมฤทธิ์กัน และให้มีความสมดุล (synergy) ของกลิ่นเป็นที่พอใจ ให้ประโยชน์การเก็บรักษาที่ดี

อุปกรณ์
1. Dropper เพื่อใช้ดูดและหยดน้ำมันหอมระเหย
2. ขวดสีชากันแสงและมีจุกเกลียว
3. แผ่นกระดาษเพื่อชุบและดมกลิ่น

เพื่อให้เกิดความสมดุลของการผสมน้ำมันหอมระเหย ควรจะเลือกน้ำมันที่มีฤทธิ์การรักษากลุ่มอาการเดียวกัน และเลือกกลิ่นที่เราชอบมากที่สุดออกมา น้ำมันหอมระเหยบางชนิดที่กลิ่นแรง เช่น มะลิ และแฟรงค์กินเซ็น ก็ควรจะใช้ปริมาณน้อยหน่อย เมื่อผสมเสร็จแล้วจะต้องดมได้ทุกกลิ่นที่ผสมเข้าด้วยกัน ไม่มีกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งเด่นออกมา มีน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น ลาเวนเดอร์ จีราเนียม กุหลาบ และองุ่น จะก่อให้เกิดความสุนทรียภาพของกลิ่นมากขึ้น มีความละมุนละไม

หลักการผสมน้ำมันหอมรระเหยเพื่อใช้ในการรักษาควรจะผสมน้ำมันถึงได้สามชนิด (หรืออย่างมากสี่) เข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากกลิ่นอ่อนสุด 2 กลิ่นก่อน โดยเริ่มจากอัตราส่วนเท่ากัน(อาจจะนับจำนวนหยด เช่น อย่างละ 5 หยด) แล้วดมดูว่ามีกลิ่นใดเด่นหรือไม่ ถ้ากลิ่นใดเด่นควรจะหยดอีกกลิ่นหนึ่ง ผสมเข้าไปทีละหยดและดมดู จนกระทั่งไม่มีกลิ่นใดเด่น นั่นหมายถึงสมดุลแล้ว (มี synergy) จากนั้น จึงค่อยๆเติมกลิ่นที่สามลงไปทีละหยดอย่างระมัดระวัง ดมดูหลังการเติมแต่ละครั้ง จนกระทั่งสมดุล คือไม่มีกลิ่นใดเด่น การผสมที่ดีคือ แต่ละครั้งของการหยดควรจะเขย่าผสมให้เข้ากันดี และดมทดสอบดูก่อนเติมหยดต่อไป เมื่อผสมได้ที่แล้วให้ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วลองดมอีกทีหนึ่ง กลิ่นไม่ควรเปลี่ยนแปลงจากเดิม การผสมที่ดีอาจจะต้องใช้เวลาและใจเย็น การเติมแต่ละหยดให้เขียนบันทึกทุกครั้ง เพื่อจะได้ ทำซ้ำอีกครั้งได้ การผสมที่สมดุล จะได้กลิ่นของทุกชนิดที่ผสมเข้าด้วยกัน

เพื่อให้ง่ายในการลำดับขั้นตอนการผสมน้ำมันหอมระเหย จาก กลิ่นอ่อนสุดไปแรงสุด Appellได้จัดแบ่งความแรงของกลิ่น เป็นสเกลตั้งแต่ 1-10 (จากอ่อนไปแรงสุด) ตัวเลขน้อยๆ คือ กลิ่นอ่อนสุด และตัวเลขมากๆ คือกลิ่นแรงสุด ดังตาราง ตารางที่ 1 การจัดแบ่งความแรงของกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากสเกล 1–10 ตามเกณฑ์ ของ Appell *

angelica root 9 frankincense 7 patchouli 7
aniseed 7 ginger 7 peper, black 7
basil 7 juniper 7 pepermint 7
bergamot 5 lavender 5 petetgrain 5
cedarwood 5 lavender, Spike 6 pine 5
cinnamon 7 lemon 6 rose absolute 8
citronella 6 lemongrass 6 rose otto 7
clary sage 5 mandarin 5 rosemary 6
clove bud 8 myrrh 7 rosewood 5
eucalyptus 8 neroli 5 rage, Dalmatian 6
everlasting 7 nutmeg 7 sandalwood 7
fennel 6 orange 5 thyme, Red 7

*Appell, L., Cosmetics, Fragrances and Flavors: Their Formulation and Preparation. Novox Inc,. USA, 1982

หลักการเลือกกลิ่นน้ำมันหอมระเหย

ผู้ชายและผู้หญิงจะมีรสนิยมของกลิ่นน้ำมันหอมระเหยต่างกัน สามารถใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นแนวทางในการเลือกชนิดเพื่อผสมน้ำมันหอมระเหยได้

กลิ่นที่ผู้ชายชอบ

basil, bergamot, eucalyptus, frankincense, jasmine, lavender, lemon, patchouli, pine, sandalwood

กลิ่นที่ผู้หญิงชอบ

bergamot, geranium, jasmine, lavender, neroli, patchouli, peppermint, rose, sage, ylang-ylang หลักการเจือจางน้ำมันหอมระเหย

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จะแรงมาก ห้ามใช้โดยตรงเพราะจะระคายเคืองต่อผิวหนัง ดังนั้นจำเป็นต้องเจือจางก่อนใช้ เช่น ใช้น้ำกรณีเป็นอ่างน้ำ หรือใช้ carrier oil ในกรณีใช้น้ำมันนวด โดยหลักการทั่วไปคือ ห้ามใช้เกิน 10 หยด(ประมาณ 0.25 – 0.45 มล.) ของน้ำมันหอมระเหยต่อการใช้ 1 ครั้ง หรือใช้หลักใส่ลงในตัวเจือจางในความเข้มข้น 1 – 2 %

สำหรับการนวด

ใช้ผสม 7 – 10 หยด น้ำมันหอมระเหย กับ 30 มล. ของ carrier oil

สำหรับอ่างน้ำ

ให้หยด 8 – 10 หยด ต่อ 1 อ่าง ข้อห้ามใช้ และขอควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย

1) น้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ เมื่อใช้แล้วห้ามถูกแสงแดดเพราะจะเกิดผื่นแพ้เกิดขึ้น (photo-toxic)

angelica, bergamot, citronella, ginger, lemon, lime, mandarin

2) ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะเป็นพิษและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารก

aniseed, basil, clary sage, atlas cedarwood, virginian cedarwood, cypress, sweet fennel, jasmine, juniper, sweet majoram, myrrh, nutmeg, peppermint, rose, rosemary ตารางที่ 2 ตัวอย่างสูตรผสมสำเร็จของน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันนวดสำหรับคลายกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย

Roman Chamomile ..... 10 หยด
Cypress ..... 5 หยด
Lavender ..... 10 หยด
Almond oil ..... 28-57 มล.

Romance Blend

Sandalwood ..... 10 หยด
Rose ..... 4 หยด
Ylang-Ylang ..... 1 หยด
ใส่ลงในน้ำ้มันนวด ..... 28-57 มล.

แก้หวัดสำหรับ Diffuser

Eucalytus Globus ..... 15 หยด
Bay Laurel ..... 5 หยด
Thyme ..... 7 หยด

Women's Best Friend Blend

Clay Sage ..... 2 หยด
Geranium Rose ..... 10 หยด
Bergamot ..... 4 หยด

Soothing and Healing Skin Oil

Rose hip seed oil ..... 56-82 มล.
Geranium ..... 5 หยด
Rosewood ..... 5 หยด
Jusmine ..... 1 หยด

Classroom Blend for Diffuser

Sweet Orange ..... 10 หยด
Grapefruit ..... 5 หยด
Cedar ..... 4 หยด

Respiration

Eucalytus ..... 10 หยด
Pine ..... 10 หยด
Citronella ..... 5 หยด

Sleep Blend

Lavender ..... 10 หยด
Grapefruit ..... 3 หยด
Mandarin Red ..... 15 หยด

สิว

สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยรักษาสิวซึ่งเกิดจากเชื้อ Acne vulgaris ได้ โดยการอาจใช้ในรูปนำมันนวดใบหน้า โดยใช้ Carrier oil เช่น apricot kernel เป็นต้น นอกจากนี้อาจใส่ผสมลงในครีม หรือโลชั่นทำความสะอาดผิว นอกจากนี้ยังผสมลงในสบู่เหลวอย่างอ่อน ดังสูตรต่อไปนี้

- สบู่เหลวอย่างอ่อน 100 มล.
- Lavender 7 หยด
- Tea Tree 5 หยด
- Geranium 3 หยด
- Neroli 5 หยด

ในกรณีที่จะทำในรูปครีมและนำมันนวด ก็เพียงแทนที่ สบู่เหลวด้วยเนื้อครีมและ carrier oil ตามลำดับ ดังสูตรต่อไปนี้

- Bergamot 2 หยด
- Chamomile 2 หยด
- Sunflower oil (น้ำมันดอกทานตะวัน) 30 มล. Cellulite (สำหรับน้ำมันนวด)

สูตร 1

- Lavender 4 หยด
- Juniper 4 หยด
- Rosemary 4 หยด
- Sesame oil (น้ำมันงา) 60 มล.

สูตร 2

- Rosemary 4 หยด
- Lemon 4 หยด
- Geranium 9 หยด
- Sweet almond oil 60 มล. สูตรน้ำมันหอมระเหยสำหรับ Menopause

ใช้เป็นนำมันนวด ใส่ในอ่างอาบน้ำ หรือใส่ในตะเกียงจุด (bumer) น้ำมันหอมระเหยจะช่วยปรับสมดุลของประจำเดือน และช่วยลดอาการที่ผิดปกติได้บ้าง ทั้งนี้เพราะน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ที่ต่างกันไป เช่น geranium จะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน น้ำมันดอกกุหลาบช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของมดลูก และปรับสมดุลประจำเดือน sweet fennel มีประโยชน์ที่เป็น phytoestrogen ส่วนพวก chamomile, bergamot, มะลิ, neroli และกระดังงา (Ylang-Ylang) จะช่วยให้สงบผ่อนคลาย และลดความเครียด

ร้อนวูบวาบ (hot flushes)

- Clary sage 10 หยด
- Geranuim 10 หยด
- Sage 10 หยด
- Lemon 5 หยด
- Evening primrose oil 50 มล.

เหงื่อออกกลางวันและกลางคืน

- Cypress 10 หยด
- Sage 5 หยด
- Grapefruit 10 หยด
- Apricot kernel oil 50 มล.

อาการบวมน้ำ

- Sweet fennel 5 หยด
- Juniper 5 หยด
- Lemon 10 หยด
- Geranuim 10 หยด
- Apricot kernel oil 50 มล. ในตารางที่ 3 ได้รวบรวมประโยชน์นำมันหอมระเหยพร้อมกับข้อระมัดระวัง และข้อห้ามใช้ เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง

ตารางที่ 3 การเลือกใช้นำมันหอมระเหย และข้อควรระวัง

น้ำมันหอมระเหย สมบัติ ข้อควรระวัง
Holy Basil อบอุ่น กระตุ้น ด้านการอักเสบ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Bay Laurel สดชื่น มีชีวิตชีวา ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Bergamot เย็นสดชื่น มีชีวิตชีวา ชื่นชอบ ถูกแสงแดดจะเป็นผื่น
Cedar Atlas สงบ อบอุ่น ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Roman Chamomile สงบ สบาย และอบอุ่น -
Clary Sage ชื่นชอบ โล่ง และปรับสมดุล ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Cypress สดชื่น และฝาดสมาน ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Sweet Eucalyptus สดชื่น และกระตุ้น ห้ามใช้กับทารก
Eucalyptus Radiata สดชื่น และกระตุ้น ปลอดภัยสำหรับเเด็ก
Eucalyptus Citriodora สดชื่น และกระตุ้น -
Fir Baisam สดชื่น และอบอุ่น -
Fir Siberain สดชื่น อาจระคายเคืองผิวหนัง
Frankincense สงบ อบอุ่น และมีชีวิตชีวา -
Geranium Rose ปลอดโปร่ง ปรับสมดุล อาจก่อให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง
Grapefruit สดชื่น เย็น ฟื้นฟู -
Jusmine (มะลิ) สดชื่น มีชีวิตชีวา สงบ กระตุ้นกำหนัด -
Juniper อบอุ่น มีชีวิตชีวา ปลอดโปร่ง ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และผู้ป่วยโรคไต
Lavender สงบ เย็น สมดุล -
Lemon บริสุทธิ์ สดชื่น ถูกแสงแดดจะเป็นผื่น
Lemongrass (ตะไคร้) กระตุ้น มีชีวิตชีวา บำรุง อาจระคายเคืองผิวหนัง
Mandarin, Red มีชีวิตชีวา โล่ง ถูกแสงแดดจะเป็นผื่น
Myrrh สงบ มีสมาธิ อบอุ่นและแห้ง ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Neroli ง่วงนอน สะอาดและโล่ง -
Orange (ส้ม) มีชีวิตชีวา อบอุ่น และสร้างเสริมความมั่นใจ -
Peppermint สดชื่น กระตุ้น ปรับสมดุล อาจแพ้ได้
Rose Otto ร่าเริง เย็น และโล่ง ห้ามใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
Rosemary สดชื่น มีชีวิตชีวา ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคลมชัก และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Rosewood หวาน อบอุ่น ปรับสมดุล -
Sage บริสุทธิ์ และอบอุ่น ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และผู้ป่วยโรคลมชัก
Sandalwood (ไม้จันทน์) มีสมาธิ มีชีวิตชีวา -
Tea Tree แก้สิว และกลิ่นสงบ อาจแพ้ได้
Thyme กระตุ้น ร้อน และแห้ง ระวังในผู้ป่วยความดันสูง
Vetiver (แฝก) สงบ และอบอุ่น -
Ylang Ylang (กระดังงา) ชื่นชอบ สงบ และลดการกระวนกระวาย -

Aroma Therapy กับการบำบัดรักษาโรค ผ่านศาสตร์ของน้ำมันหอมระเหยและการนวด
เนื่องด้วย อโรมา-เธราปี เป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ ของกลิ่น น้ำมันหอมระเหย และการนวดเข้าด้วยกัน โดยอโรมา-เธอราปี เป็นการบำบัดโรคเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความสมดุล ของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ การนำเอาวิธีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ร่วมกับกลิ่นหอมที่อยู่ในสารหอม หรือน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นอีกหลายทางเลือก ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อยมาตลอดระยะเวลาหลายพันปี จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้

8 วิธีทางเลือกกับ Aroma Therapy

1. การนวด (Message)
เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะด้วยสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคได้ ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังด้วยการนวด ส่วนกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปรับอารมณ์ให้รู้สึกสบายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการใช้น้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณภาพดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการในการบำบัด จะทำให้การนวดมีประสิทธิภาพขึ้น

2. การอาบ (Baths)
เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ คือ ผสมน้ำอุ่นในอ่างน้ำสำหรับลงแช่ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างน้ำ แล้วลงแช่ทั้งตัวสักประมาณ 20 นาที ไอระเหยจากอ่างน้ำอุ่นและการซึมทางผิวหนังด้วยการแช่ จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น

3. การประคบ (Compresses)
ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ชุบน้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วประคบตามบริเวณที่ต้องการ (ห้ามประคบบริเวณดวงตา) ส่วนผสมใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดต่อน้ำอุ่น 100 มล. การประคบนี้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเฉพาะที่

4. การสูดดม (Inhalations)
เป็นการใช้กลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหยอย่างเดียวไม่มีการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดมกลิ่นหอมทำได้ 2 วิธีคือ ใส่น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยด ในชามที่เตรียมน้ำอุ่นไว้แล้วก้มลงสูดดมสัก 2-3 นาที หรือหยดน้ำมันหอมระเหย 1-2 หยด ในผ้าเช็ดหน้าแล้วสูดดม (ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันหอมระเหยโดยตรง)

5. การสูดไอน้ำ (Vaporisation)
น้ำมันระเหยบางชนิด เป็นแอนตี้เซปติก (Antiseptic) ฆ่าเชื้อโรคได้ เมื่อสูดดมไอน้ำจากน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้เข้าไป จะช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ วิธีทำ หยดน้ำมันหอมระเหย 2-4 หยด ลงในชามใหญ่ ซึ่งผสมน้ำร้อนไว้แล้ว ใช้ผ้าคลุมและก้มหน้าลงเข้าไปอังไอน้ำ สูดไอน้ำร้อนผสมน้ำมันหอมระเหย พักเป็นระยะๆ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวบาง และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นหอบหืด

6. การเผา/อบห้อง
เป็นการอบห้องให้หอม หลักการอบห้องเพื่อฆ่าเชื้อโรค ในโรงพยาบาลก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจะถูกอบอวล ในห้องที่ปิดมิดชิดสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ในกรณีที่ต้องการให้ห้องหอมตามกลิ่นที่ต้องการ ก็สามารถทำได้โดย หยดน้ำมันหอมระเหย 3-4 หยด ในน้ำที่เตรียมใส่ในจานสำหรับเผา (Aroma Jar) แล้วจุดเทียนไว้ในห้อง ความร้อน จากเทียนจะทำให้กลิ่นหอม จากน้ำผสมน้ำมันหอมระเหยส่งกลิ่นอบอวลไปทั่วห้อง ควรเผา/อบไม่นานกว่า 10 นาที ต่อครั้ง

7. ใช้ผสมกับเครื่องหอม และน้ำหอม
ส่วนมากเครื่องหอม เช่น บุหงา และน้ำหอมจะมีส่วนผสมจากกลิ่นไม้หอม หรือกลิ่นจากดอกไม้นานาพันธุ์ผสมอยู่ การใช้เครื่องหอมและน้ำหอม ส่วนมากจะมีจุดประสงค์ให้เกิดความสบายใจ สะอาด สดชื่น และเป็นที่เร้าใจตราตรึงใจจากผู้คนที่อยู่ใกล้

8. ใช้ผสมกับเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น
ความหลากหลายของคุณสมบัติเฉพาะ จากน้ำมันหอมระเหย สามารถช่วยให้เครื่องสำอางค์ ครีมและโลชั่นต่าง ๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม และสารสกัดบางชนิดยังช่วยในการทำความสะอาดผิวหนัง สร้างความสมดุลให้ผิวอีกด้วย แต่การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ต้องพิถีพิถัน และศึกษาให้รู้จริงว่า สารชนิดใด มีคุณสมบัติเช่นใด จึงจะก่อประโยชน์สูงสุด

อโรมาเธอราพี
กลิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มาก "การบำบัดด้วยกลิ่นหอม" จึงนับเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดภาวะผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี และกลิ่นที่แตกต่างกันออกไปนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างออกไปด้วย อาทิเช่น
กลิ่นอบเชย…
ช่วยบรรเทา อาการหายใจติดขัด ช่วยฟื้นฟูร่างกายช่วงพักฟื้นจากการป่วยได้ดี

กลิ่นผักชี…ยี่หร่า

มีคุณสมบัติช่วยขับลม ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และเพิ่มน้ำนม

กลิ่นโหระพา…
ช่วยสร้างพลัง รู้สึกคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง จะช่วยเรื่องการมีประจำเดือน ให้เป็นปกติ บรรเทาอาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน

กลิ่นกฤษณา…
แก้ปวดท้อง และท้องเสีย เป็นยาขับลม กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เนื้อไม้ใช้รักษาอาการ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

กลิ่นขิง…
ช่วยสร้างความต้านทานให้กับร่างกายได้

กลิ่นคาโมไมล์ -กลิ่นกุหลาบ - กลิ่นลาเวนเดอร์
…ถ้าต้องการอารมณ์แห่งความสงบ ถ้าต้องการล้างพิษ และเพิ่มภูมิ

กลิ่นเจอเรเนียม - กลิ่นแซนดัลวู้ด - กลิ่นยลาง-ยลาง …
สร้างอารมณ์เย้ายวนใจ

กลิ่นเลมอน - กลิ่นเปปเปอร์มินท์ - กลิ่นเกรพฟรุท…
ช่วยกระตุ้นสมอง และระบบประสาท

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน

1. น้ำมันดอกโหระพา (Basil)/ยอดดอกและใบ
การใช้ประโยชน์
• มีกลิ่นหอมหวาน และมีกลิ่นเครื่องเทศเจือจางใช้ในเครื่องหอม
• ป้องกันการติดเชื้อ ไล่แมลง บรรเทาอาการปวด รวมทั้งโรคเก๊าท์
• ช่วยในการรวบรวมสมาธิ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ช่วยลดอาการเครียด กระวนกระวายจิตใจ อ่อนเพลียจากความกดดัน ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ให้สดชื่นจากความเหนื่อยล้า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
2. นำมันเบอร์กาม็อท (Bergamot) /ผิวเบอร์กาม็อท
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่น เปรี้ยว หวานในขณะ เดียวกัน
• ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อและกระจายตัวของเชื้อโรค ใช้กับโรคผิวหนังได้ ทุกชนิด
• ช่วยบรรเทาอาการหดหู่ เครียด นอน ไม่หลับจากความเครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย แจ่มใส เบิกบาน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
3. น้ำมันแครอทซี้ด (Carrot Seed) /เมล็ดต้นแครอท
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมแบบใบไม้แห้ง
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้สงบ เหมาะสำหรับทำสมาธิ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
4. น้ำมันแคลรี่ ซาจ (Clary Sage/ยอดดอกและใบต้นแคลรี่ซาจ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสมุนไพร
• ช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระชุ่ม กระชวย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
5. น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus)/ใบต้นยูคาลิปตัส
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่น
• ช่วยดับอารมณ์ที่พุ่งพล่าน สูดดมช่วยให้จากโล่ง รักษาอาการหวัดคัดจมูก และไล่แมลง

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
6. น้ำมันแฟนเนล (Fennel) /เมล็ดต้นเฟนเนล
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
7. น้ำมันแฟรงคินเซนส์ (Frankincense)/เปลือกต้นแฟรงคินเซนส์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
8. น้ำมันเจอราเนี่ยม (Geranium) /ใบและดอกเจอราเนี่ยม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นเครื่องเทศ ให้ความหอมสดชื่น
• ช่วยผ่อนคลายจิตใจ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
9. น้ำมันเยอรมันคาโมไมล์ (German Chamomile) /ดอกคาโมไมล์แห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นผลไม้
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดช่วยบำรุงผิวพรรณ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
10. น้ำมันจัสมิน (Jusmine) /ดอกมะลิ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานแบบดอกไม้
• ให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานละมุนละไม

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
11. น้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender)/ดอกลาเวนเดอร์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่นของดอกไม้
• ผ่อนคลายความวิตกกังวล ลดความ ตึงเครียดก่อนมีรอยเดือนในสตรี
• ใช้เป็นสารแต่งกลิ่น ช่วยไล่ยุงและแมลงรบกวน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
12. น้ำมันเลมอน (Lemon)/ ผิวมะนาว
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นมะนาวหอมสดชื่น
• ให้ความรู้สึกสดชื่น ช่วยถนอมผิว

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
13. น้ำมันเลมอนกราส (Lemongrass) /ใบตะไคร้
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหวานอมเปรี้ยว
• คืนความสดชื่น และพลังงานให้กับ ผู้เหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลีย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
14. น้ำมันไลม์ (Lime)/ผิวไลม์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่น
• ช่วยกระตุ้นสภาพร่างกายและจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
15. น้ำมันมาร์โจแรม (Majoram)/ดอกและใบต้นมาร์โจแรม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรง แต่อบอุ่นคล้ายเครื่องเทศ
• ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
16. น้ำมันเนโรลี่ (Neroli) / ดอกส้ม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานของส้ม
• ให้ความรู้สึกอิ่มเอิบและเคลิบเคลิ้ม

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
17. น้ำมันออเรนจ์ (Orange) /ผิวส้ม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่น
• ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
18. น้ำมันแพทซูลี่ (Patchouli) /ใบอ่อนต้นแพทซูลี่
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรง มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม
• ทำให้สมองปลอดโปร่ง

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
19. น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ (Peppermint) /ยอดดอกและใบต้น เปปเปอร์มิ้นท์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมเย็นซ่า
• ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
20. น้ำมันเวทิเวอร์ท (Vetvert) /รากแห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นอบอุ่น
• ปรับสภาพสมดุลย์ในจิตใจ ทำให้จิตใจสงบ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
21. น้ำมันกระดังงาไทย (Ylang Ylang) / ดอกต้นกระดังงา
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมของพฤกษา ใช้ในเครื่องหอม
• ช่วยเสริมการเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อ ใช้กับผิวหนังได้ทุกชนิด
• ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด บรรเทาอาการหดหู่ นอนไม่หลับจากความ เครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
22. น้ำมันโรมัน คาโมไมล์ (Roman Chamomile) /ดอกแห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรงคล้ายผลไม้
• ช่วยทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดบำรุงผิวพรรณ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
23. น้ำมันกุหลาบ (Rose) /ดอกกุหลาบ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานละมุนละไม
• ให้ความรู้สึกถึงความเป็นผู้หญิงและความรัก

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
24. น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary) /ยอดดอกและใบต้นโรสแมรี่
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสมุนไพร หอมสมชื่น ติดทนนาน
• ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
25. น้ำมันทีทรี (Tea Tree)/ ใบต้นชา
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นเครื่องเทศหอมสดชื่น
• บรรเทาอาการอักเสบ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
26. น้ำมันไทม์ (Thyme) /ใบและยอดดอกต้นไทม์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่นของสมุนไพร
• ดีต่อระบบหายใจ และช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
27. น้ำมันขิง (Ginger) /เหง้าขิง
การใช้ประโยชน์
• บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยทำเป็นน้ำมันนวดหรือประคบ
• บรรเทาอาการเครียด กระวนกระวาย เหนื่อยล้า ช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ตื่นใจ และอบอุ่น

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
28. น้ำมันพริกไทยดำ (Black Pepper) / เมล็ดพริกไทย
การใช้ประโยชน์
• ช่วยบำบัดอาการเมื่อยล้า ปวดตามข้อ ข้อเคล็ดขยับไม่ถนัด
• ช่วยให้จิตใจตื่น เสริมพลังใจ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
29. น้ำมันจันทน์ (Sendalwood) /แก่นไม้
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวาน
• ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังที่แห้งและ ผมเสีย บรรเทาอาการอักเสบ
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ ส่งเสริมการทำสมาธิ ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ที่หดหู่ให้สดชื่น ทำให้มีความสุข ช่วยให้นอนหลับ

Resource : โดย : รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดีคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต