สมุนไพรไทย

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

ความหมายของสมุนไพร

 คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจาก ธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติ สัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึง เฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

 สมุนไพร เป็นยาพื้นบ้านแผนโบราณของไทยมาแต่อดีต ความนิยมในการใช้สมุนไพรได้ลดถอยลงไปบ้าง เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเภสัชศาสตร์สมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันสมุนไพร กลับมาได้รับความนิยมกันมาก ในเมืองไทย และโลกตะวันตก ต่างประเทศกำลังหาทางเข้ามาลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรนำไปใช้สกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางชนิด มีหลายประเทศนำสมุนไพรไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย

 สมุนไพร เป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการปลูกใช้ประโยชน์มานานแล้ว เพราะบางชนิดสามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร ให้คุณค่าทางอาหารและยังให้รสชาติที่ทำให้เจริญอาหาร สมุนไพรหลายชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ช่วยย่อย อาหาร แก้อาการท้องอึด ท้องเฟ้อ ในอดีตการปลูกสมุนไพรมักกระทำกันในลักษณะการปลูกผักสวนครัว ริมรั้ว หลังบ้าน ตามที่ว่างเปล่า จะใช้ประโยชน์เมื่อใดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที แต่ในระยะหลังเนื่องจากมีประชากรมากขึ้น และ ส่วนหนึ่งได้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่มักมีพื้นที่บ้านเรือนจำกัด ไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอกับการปลูกผักสวนครัวต่าง ๆ พืชผักเพื่อการบริโภคทุกอย่างต้องได้จากการซื้อหา เมื่อมีความต้องการซื้อ จึงมีผู้หันมาปลูกผักสมุนไพรขายกันมากขึ้น นอกจากนี้สมุนไพรบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยา สามารถนำมาสกัดเอาสารที่มีอยู่ภายในมาใช้ทำยาสมุนไพร หรือนำไป เป็นส่วนประกอบของของใช้เพื่อการอุปโภคในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิว น้ำหอม ยาดม น้ำมันหอมระเหย ฯลฯ ด้วยประโยชน์ของสมุนไพรมีมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว ความต้องการใช้สมุนไพร จึงมีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในระยะหลังที่คนเริ่มตื่นตัวในเรื่องพิษภัยอันตรายจากสารเคมี และหันมาให้ความสนใจ ต่อสารที่สกัดจากธรรมชาติกันมากขึ้น ยิ่งทำให้ความต้องการใช้สมุนไพรยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ การปลูกสมุนไพรขาย จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งซึ่งมีอนาคตที่ดี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการปลูกสมุนไพรก็คือมักจะไม่ค่อยมีโรค-แมลงรบกวน จึงใช้ สารเคมีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต้องใช้เลย ทำให้ประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้

ประวัติของการใช้สมุนไพร

 สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรัก ปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดงในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร( Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผลปัจจุบันพบว่าตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาท
ประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม
ในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรคของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebers ในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด( warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน( henbane) มดยอบ , hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้น รูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ดทำเป็นยาพอกเป็นขี้ผึ้ง
นอกจากนี้ยังพบว่า ชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกา มีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือ หลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดน และโปแลนด์
ส่วนในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย

 ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น

 มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจ ต่อมาในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารประจำครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราชดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
คนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพร เป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร

ยาสมุนไพร

 นั้นมีมานานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการกล่าวขานบันทึกเรื่องราว และใช้สืบ ทอดกันมา สมุนไพรเป็น ยารักษาโรคที่ได้ตาม ธรรมชาติหาได้ง่าย ใช้รักษาได้ผลดี มีพิษน้อย และสมุนไพรหลายชนิด เราก็ใช้เป็นอาหารประจำวัน อยู่แล้ว เช่น ขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ กระเพรา เป็นต้น ชีวิตประจำวันเราผูกพันกับสมุนไพรทั้งในรูปของอาหารและเป็น ยารักษาโรค พืชแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ หรือสรรพคุณในการรักษาแตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า " เภสัชวัตถุ" พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ"

ประเภทของสมุนไพร

พืชสมุนไพรโดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
1. ราก
2. ลำต้น
3. ใบ
4. ดอก
5. ผล
" พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่น รากก็ทำหน้าที่ ดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหาร ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

1. ราก

รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่น กระชาย ขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่ นับว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจากลำต้นส่วนปลาย รูปร่างยาวใหญ่เป็นรูปกรวย ด้านข้างของรากแก้ว จะแตกแยกออกเป็นรากเล็ก รากน้อยและรากฝอยออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อทำการดูดซึมอาหาร ในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืช ที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
  • รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็นรากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาว มีขนาดเท่าๆกัน ต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น

2. ลำต้น
นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลง โดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่บนดิน แต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควรรูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบ ดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืชมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
1. ประเภทไม้ยืนต้น
2. ประเภทไม้พุ่ม
3. ประเภทหญ้า
4. ประเภทไม้เลื้อย

3. ใบ
ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ต้นพืช ใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว ( สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช) ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้นใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
1. ตัวใบ
2. ก้านใบ
3. หูใบ

ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึง เป็นใบที่บนก้านใบหนึ่งมีใบเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
  • ชนิดใบประกอบ หมายถึง ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว เช่น มะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น

4. ดอก
ส่วนของดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืช เป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอก มีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
1. ก้านดอก
2. กลีบรอง
3. กลีบดอก
4. เกสรตัวผู้
5. เกสรตัวเมีย

5. ผล
ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน ออกไป ตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน ผลเดี่ยวแบ่งออกได้เป็น ผลสด ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง ฟัก ผลแห้งชนิดแตกได้ เช่น ฝักถั่ว ผลรัก และผลเดี่ยวชนิดแห้งไม่แตก เช่น เมล็ดข้าว เมล็ดทานตะวัน
2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า กระดังงา สตรอเบอรี่ เป็นต้น
3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด ขนุน มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
3.1 ผลเนื้อ
3.2 ผลแห้งชนิดแตก
3.3 ผลแห้งชนิดไม่แตก

พืชสมุนไพร มีมากมายหลายลักษณะและหลายประเภท สามารถจำแนกได้หลายวิธี ซึ่งพอจะทำการจำแนกพืชสมุนไพรพอสังเขปได้ ดังนี้

1. การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์

1.1 น้ำมันหอมระเหย ( Essential oil)

พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสารสำคัญที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูปอื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่นน้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง
น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดอาการอักเสบจากการฟกช้ำ
น้ำมันกระวาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม
น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน

1.2 ยารับประทาน

พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น
แก้ไข้ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กะเพรา ไพล ขิง
ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ
ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม

1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก

เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น
รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง
ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู
แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล ตำลึง เท้ายายม่อม เสลดพังพอน
รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้
แก้งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน

1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่ม

พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผู้บริโภคจึงรู้สึกปลอดภัยในการนำมารับประทาน เช่น
ดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก บุก
เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดน้ำหนัก ส้มแขก
เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ หญ้าหนวดแมว คำฝอย หญ้าหวาน

1.5 เครื่องสำอาง

เป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้อีกลักษณะหนึ่ง การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางมีมานานแล้ว และในปัจจุบันได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมาย เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องสำอางเช่น อัญชันว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ เป็นต้น

1.6 ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม ซึ่งมีคุณสมบัติในการปราบหรือควบคุมปริมาณการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวด

สมุนไพรกำจัดหนอน เถาบอระเพ็ด ลูก ควินนิน เมล็ดมันแก้ว เปลือกต้นไกรทอง เถาวัลย์ยาง เถาวัลย์แดง ต้นล้มเช้า หัวขมิ้นชัน เมล็ดลางลาด ใบแก่ดาวเรือง ชะพลู พลูป่า กานพลู ฝักคูนป่า ลูกยี่โถ ใบมะลินรก หัวกลอย ใบหนามขี้แรด ผล / เมล็ดฝักข้าว สาบเสือ หางไหลขาว / แดง เปลือกต้นจิกสน / จิกแล เมล็ดสะเดา หนอนตาย- หยาก หัวไพล เปลือก / ผลมัง ตาล เมล็ด / ใบ / ต้นสบู่ต้น เทียนหยด ใบยอ ยาสูบ มะก ลำตาหนู ลูกสลอด

สมุนไพรไล่แมลง

ใบผกากรอง ใบ / ดอกตูมดาวเรือง ใบยอ หางไหลขาว / แดง ใบ / เมล็ดน้อยหน่า ใบมะระขี้นกต้นยาสูบ ยาฉุน เปลือกว่านหางจระเข้ ใบ / เมล็ด / ต้นสบู่ต้น ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ใบ / ดอก / ผลลำโพง ขิง ข่าดีปลี โหระพา สะระแหน่ พริกไทย กระชาย พริกสด ตะไคร้หอม / แกง กระเทียม ใบมะเขือเทศ ยี่หร่า ทุเรียนเทศหัวกลอย เมล็ดละหุ่ง เมล็ดโพธิ์ ดอกแคขาว ดอกเฟื่องฟ้า ดอกชบา ดอกยี่โถ มะกรูด สาบเสือ ว่านน้ำ ปะทัดจีน

สมุนไพรกำจัดโรค ( รา แบคทีเรีย ไวรัส )

ว่านน้ำ ลูก กะบูน ลูกค รัก ลูกเสม็ด สาบเสือ สบู่ต้น ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก ลูกมะเกลือ เปลือกว่านหางจระเข้ เปลือกมะม่วง หิมพานต์ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ใบยูคา ลิบตัส หัวไพล ใบ - มะรุม ต้นกระดูกไก่ ชะพลู กานพลู หัวขมิ้นชัน ลูกกล้วยอ่อน เปลือกงวงกล้วย ลูกย่อสุก ต้นเทียนหยด ใบหูเสือ พริกสด ราก - หมอน ต้นแสยะ ใบมะเขือเทศ หน่อไม้สด ลูกหมากสด สะระแหน่

สมุนไพรเครื่องเทศ

เป็นสมุนไพรในกลุ่มที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนประกอบอาหาร โดยมากจะใช้ประโยชน์เพื่อการปรุงรสมากกว่าเพื่อต้องการคุณค่าทางอาหาร ถ้าหากแบ่งพืชผักสมุนไพรออกตามอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต พอจะแบ่งได้ดังนี้

สมุนไพร เครื่องเทศ เมืองร้อน ได้แก่ สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส เช่น กระเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มี ปลูกแพร่หลายทั่วไปในบ้านเรา

สมุนไพร เครื่องเทศ เมืองหนาว ได้แก่ สมุนไพรที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็น มีอุณหภูมิระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีปลูกทั่วไปในบ้านเรา ยกเว้นในพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น และมีการสั่งเมล็ด พันธุ์เข้าทดลองปลูก แต่จะมีการปลูกกันมากในต่างประเทศ สมุนไพรพวกนี้ได้แก่ เบซิล พาร์สเร่ย์ ( ผักชีฝรั่ง) เปบเปอร์มิ้นท์ เชอร์วิล ทีม ออริกาโน่ ไชฟ์ มาเจอร์แรม ดิล เซจ ชอเรล เลมอน-บาร์ม

ข้อแตกต่างระหว่าง สมุนไพร กับ ยาแผนปัจจุบัน

สมุนไพรแตกต่างจาก "ยา" ที่เข้าใจกันในช่วงหลังของศตวรรษ ที่ 20 ประการแรกคือ สมุนไพรมีตัวยาเจือจางกว่ายาเคมี ซึ่งมักอยู่ใน รูปยาเม็ด เช่น แอสไพริน หรือแคปซูล เช่น เตตร้าไซคลิน ตัวอย่างง่ายๆ ที่แสดงถึงความแตกต่าง คือ เราสามารถรับประทาน ยาเม็ดคาเฟอีนขนาด 200 มก. เพื่อกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มกาแฟ ต้องใช้กาแฟ 20 ก. หากดื่มชา ต้องใช้ชา 10 ก. และต้องใช้วิธีต้มไม่ใช่ชง จึงจะเห็นผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับยาเม็ดคาเฟอีนเมื่อใช้สมุนไพร ต้องตระหนักว่า ตัวยาสำคัญในสมุนไพรมีความเจือจาง ( dilution) และในสมุนไพรยังมีสารที่ไม่ออกฤทธฺ์ ( physiological inert) เช่น เซลลูโลส และแป้ง สมุนไพรมักประกอบด้วยกลุ่มสารออกฤทธิ์ที่มีสูตรเคมีและการรักษาโรคใกล้เคียงกัน ตัวอย่างที่มักกล่าวถึง ได้แก่ ดิจิตาลิส ( Digitalis) สมุนไพรนี้ประกอบด้วยกลัยโคซายด์ต่างๆ ที่มีสูตรเคมีคล้ายคลึงกันถึง 30 ชนิด ทั้งหมดมีคุณสมบัติกระตุ้นหัวใจ แต่มีความแตกต่างกัน ตรงระยะเวลาที่เริ่มแสดงฤทธิ์ (onset) และระยะเวลาที่แสดงฤทธิ์ ( duration) ตัวอย่างเช่น ดิจิท็อกซิน (digitoxin) เมื่อรับประทาน จะเริ่มแสดงฤทธิ์ใน 1-4 ชั่วโมง มีฤทธิ์สูงสุด ( peak activity) ที่ชั่วโมง 8-14 ในขณะที่ดิจ็อกซิน ( digoxin) จะเริ่มแสดงฤทธิ์ภายใน 0.5-2 ชั่วโมง และมีฤทธิ์สูงสุดใน 2-6 ชั่วโมง พืชสกุลดิจิตาลิสมีสารทั้งสองและสารอื่นๆ ผู้ที่ใช้สมุนไพรทีความเห็นว่า สมุนไพรนี้มีฤทธิ์และเป็นประโยชน์ เพราะมีสารหลายชนิดที่ทำให้ได้ฤทธิ์ที่คงที่ ออกฤทธิ์เร็วและคงอยู่นาน ความเห็นนี้ถูกค้องเพียงบางส่วน ความจริงก็คือ ฤทธิ์ของใบดิจิตาลิสยากที่จะทำมาตรฐาน ( standardized) วิธีการที่ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ วิธีวิเคราะห็ทางชีวภาพ โดยดูผลหัวใจของสัตว์ทดลอง เช่น นกพิราบหยุดเต้น เป็นการวัดความแรงของการออกฤทธิ์ การวัดความแรงของฤทธิ์ในส่วนของน้ำหนักสารบริสุทธิ์ เป็นเหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่สนับสนุนว่าสารบริสุทธิ์ในกรณีของใบดิจิตาลิสดีกว่า

 สมุนไพรบางชนิดนอกจากจะมีสารที่แสดงฤทธิ์ที่ต้องการแล้ว ยังมีสารอื่นที่ทำให้ฤทธิ์ที่ เฉพาะเจาะจงของสมุนไพรลดลง ตัวอย่างเช่น เปลือกซินโคน่า ( Cinchona bark) มีแอลคาลอยด์ต่างๆ มากกว่า 20 ชนิด แต่มีแอลคาลอยด์ชนิดเดียวคือควินิน ( quinine) ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ดังนั้น การรับประทานผงเปลือกซินโคน่าเพื่อรักษาโรคมาลาเรีย คนไข้จะได้รับแอลคาลอยด์อื่นๆ ด้วย เช่น ควินิดีน ( quinidine) ยับยั้งการเต้นของหัวใจ (cardiac depressant) และกรดซินโคแทนนิก ( cinchotannic acid) ที่ทำให้ท้องผูกเพราะมีคุณสมบัติฝาดสมาน ต้องตระหนักถึงผลข้างเคียงเหล่านี้ด้วยเมื่อใช้สมุนไพร

การสกัดและการแยกสารเคมีบริสุทธิ์จากสมุนไพรไทย

จากการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ การสกัดและการแยกสารเคมีบริสุทธิ์ที่ได้จากพืช ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารเคมีเหล่านี้เองที่เป็นตัวกำหนดสรรพคุณของพืชสมุนไพรไทยนั้นๆ สารเคมีที่ได้จากพืชนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ primary metabolite และ secondary metabolite นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อแตกต่างระหว่าง primary และ secondary metabolite ไว้ว่า primary metabolite เป็นสารที่พบในพืชทุกชนิดเป็นผลิตผลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสง ( photosynthesis ) เช่น คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน และไขมัน ส่วน secondary metabolite นั้น พบไม่เหมือนกัน ในพืชแต่ละชนิดไม่พบทั่วไปและไม่มี metabolic function ที่ชัดเจน เช่น แอลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ แทนนิน เป็นต้น

พวก secondary metabolite จะมีสารเริ่มต้นเป็นกรดอะมิโน acetate, mevalonate ฯลฯ โดยมีเอนไซม์ ( enzyme ) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งพืชต่างชนิดกันจะมีเอนไซม์ไม่เหมือนกัน ทำให้วิธีทางในกระบวนการชีวสังเคราะห์( biosynthesis ) ต่างกันไป และได้ สารประเภท secondary metabolite ต่างกันไปในต้นไม้ต่างชนิดกันหรือต่างฤดู สาเหตุที่แท้จริงในการสร้าง secondary metabolite ในพืชยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจเกิดจากการพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

จากการศึกษาถึง primary และ secondary metabolite ของพืช ทำให้สามารถ นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้ ซึ่งอาจจำแนกออกเป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate ) คือ สารที่ประกอบด้วย C, H และ O ซึ่งอัตราส่วนของ H:O มักจะเป็น 2 : 1 และอยู่ในรูปของ polyhydroxy aldehyde หรือ Ketone ในปัจจุบันกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ในทางยา มักใช้ในรูปของ dextrose, fructose, glucose, lactose, sucrose, dextran, starch, cotton, agar, pectin, tragacanth ฯลฯ

2. แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ( organic nitrogen compound ) พบในพืชชั้นสูงเป็นส่วนมาก แต่บางครั้งก็พบได้ในสัตว์และจุลินทรีย์คุณสมบัติของแอลคาลอยด์ ส่วนใหญ่มีรสขม ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ใน ตัวทำละลายอินทรีย์ ( organic solvent ) ชนิดต่างๆ มีฤทธิ์เป็นด่าง และมักมีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย หน้าที่ของแอลคาลอยด์ในพืชยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ให้ข้อสังเกตที่น่าเชื่อไว้ได้ว่า อาจมีหน้าที่ดังนี้

2.1 เป็นสารที่มีพิษ ป้องกันไม่ให้แมลงหรือสัตว์มารบกวนหรือทำลาย
2.2 เป็นผลที่ได้จากกระบวนการทำลายพิษ ( detoxification ) ของสารที่เป็นอันตรายของพืช
2.3 เป็นตัวที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ( growth regulator )
2.4 เป็นตัวเก็บสะสมแร่ธาตุ สามารถจะสลายตัวให้ไนโตรเจน และธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืช
2.5 เป็น nitrogen excretory product เช่นเดียวกับยูเรียหรือกรดยูริค
2.6 ช่วยรักษาดุของไอออน ( maintain ionic balance ) แอลคาลอยด์ อาจเป็นในส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ในเมล็ด (หมาก) ในผล (พริกไทย)ในใบ(ลำโพง) ในเปลือก (ซิงโคนา) ในเหง้า (ดองดึง) ในราก (ระย่อม)และยังพบได้ในราที่ขึ้นบนพืช ( ergot ) เป็นต้น

3. ไกลโคไซด์ ( glycoside ) เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็น aglycone (genin) กับส่วนที่เป็นน้ำตาล ดังนั้น เมื่อถูก hydrolyse ด้วยกรดหรือน้ำย่อย จะได้ผลผลิต 2 อย่างนี้ ส่วนไม่ใช่น้ำตาลมีส่วนโครงสร้างแตกต่างกันออกไป ส่วนที่เป็นน้ำตาลจะไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา แต่เป็นส่วนช่วยทำให้การละลายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายดีขึ้น หน้าที่ของไกลโคไซด์ในพืชจะทำให้การดำรงชีวิตอยู่ของพืชปกติ ( regulator and sanitary function ) และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับพืชด้วย ไกลโคไซด์อาจจำแนกคร่าวๆ ตามสูตรโครงสร้างของ aglycone (เนื่องจากเป็นส่วนที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา) ๆได้ดังนี้

3.1 Cardiac glycoside จะมีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจและระบบการไหลเวียนของโลหิต
3.2 Anthraquinone glycoside ใช้เป็นยาระบาย ( laxative ) ยาฆ่าเชื้อ ( antibiotic ) และสีย้อม (dye stuff)
3.3 Saponin glycoside เมื่อเขย่ากับน้ำจะได้ฟองคล้ายสบู่ มักใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาประเภทสเตอรอยด์
3.4 Cyanogenetic glycoside เป็นไกลโคไซด์ ซึ่งถูก hydrolyse ด้วยเอ็นไซม์ กรดหรือด่าง จะให้ hydrocyanic acid (HCN) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์หรือสัตว์
3.5 Isothiocyanate glycoside เป็นไกลโคไซด์ ซึ่งถูก hydrolyse จะได้น้ำมันมัสตาร์ด น้ำมันนี้เป็นตัวทำให้มีกลิ่น และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค
3.6 Flavonoid glycoside เป็นสีที่พบในดอก ผลของพืช นำมาทำเป็นสีย้อมและแต่งสีอาหาร บางชนิดก็ใช้เป็นยา
3.7 Phenolic glycoside พบมากในธรรมชาติ โดยจะพบในรูปอนุพันธ์ของ Phenol เช่น พวก tannin ในทางยาจะมีฤทธิ์ฝาดสมาน ( astringent ) ฆ่าเชื้อโรค ในทางอุตสาหกรรม ในฟอกหนังและทำหมึกพิมพ์

4. น้ำมันระเหย ( volatile oil or essential oil ) เป็นน้ำมันที่ได้จากพืช โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ ( steam distillation ) หรือ การบีบ ( expression ) มีกลิ่นรสเฉพาะตัว ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิธรรมดา เบากว่าน้ำ นักวิทยาศาสตร์ บางท่านกล่าวว่า น้ำมันระเหยเป็น waste product ไม่มีประโยชน์ในกระบวนการชีวเคมี บางท่านกล่าวว่ามันเกิดขึ้นเพื่อดึงดูดแมลง แต่เป็นไปได้ว่าน้ำมันระเหยเกิดจากผลิตผลที่ผิดปกติของกระบวนการชีวเคมีของมันและอาจเป็นสารที่เกิดจากการทำลายพิษ ประโยชน์ทางด้านยา นอกจากใช้เป็นตัวแต่งกลิ่นแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ไปในทาง ขับลม ( carminative ) ฆ่าเชื้อ ( antibacterial antifungal ) ทาถูนวด

5. ไขมัน ( lipid ) คือสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ ( organic solvent ) เมื่อต้มกับด่างจะได้สบู่ ถ้าเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องเรียกว่าไขมัน ถ้าเป็นของเหลวเรียกว่าน้ำมัน มักอยู่ในรูปของอาหารสะสมของพืช ประโยชน์ของ lipid ในทางยาจะใช้เตรียมขี้ผึ้ง emulsion หรือใช้เป็นยาระบาย เช่น น้ำมันละหุ่ง รักษาโรคผิวหนัง เช่น น้ำมันกระเบา

6. เรซิน ( resin ) คือสารอินทรีย์หรือสารผสมประเภทโพลิเมอร์ มีรูปร่างไม่แน่นอน มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่สลับซับซ้อน ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เมื่อต้มกับด่างจะได้สบู่ เมื่อเผาจะได้ควันเรซินอาจเกิดจาก normal physiological product คือพืชได้สร้างอยู่เป็นปกติ หรือเกิดการสร้างเมื่อเป็นโรค ( pathological product ) หรือเมื่อต้นไม่มีแผลเกิดขึ้นในธรรมชาติพบเรซินรวมกับน้ำมันระเหย หรือ gum ตัวอย่างเช่น มหาหิงคุ์ กำยาน

7. วิตามิน ( vitamin ) หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่เล็กน้อยในอาหาร ตามธรรมชาติสามารถเข้าสู่ร่างกายจากอาหารหรือแหล่งอื่น เพื่อมีหน้าที่เฉพาะทางกายภาพ หรือเพื่อการเติบโตเข้าสู่สภาพปกติ วิตามินสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

7.1 วิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมันจะมีการสะสมในร่างกายได้โดยจะละลายอยู่ในไขมัน เช่น วิตามิน A D E K
7.2 วิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ จะสามารถกำจัดออกโดยทางปัสสาวะไม่มีเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ดังนั้น เมื่อขาดวิตามินเหล่านี้ อาการจะปรากฏกออกมาในเวลาไม่นาน เช่น วิตามิน B C

8. สเตอรอยด์ ( steroid ) ยาปฏิชีวนะเป็นผลิตผลทางเคมีที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่จะได้จากแบคทีเรียและรา สำหรับพืชชั้นสูงก็มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ แต่ยาปฏิชีวนะที่ได้จากพืชสมุนไพรไทยที่ใช้อยู่ในตลาดยายังมีจำนวนน้อยมาก

9. ยาปฏิชีวนะ ( antibiotic ) คือสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็น tetracyclic terpenoid ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยพืชหรือสัตว์ ในทางการแพทย์ มีการใช้สเตอรอยด์พวกฮอร์โมนเพศ เป็นยามานานแล้ว แต่เดิม การสกัดพวก cortisone จาก bile acid นั้นยุ่งยากและทำให้มีราคาแพง ปัจจุบันก็สามารถผลิต สเตอลอยด์จากพืชและจุลชีพทำให้ราคาของสเตอรอยด์ถูกลง

Resource : www.pmr.ac.th