ระบบปรับอากาศ

ชนิดของระบบปรับอากาศ

ชนิดของระบบปรับอากาศมีอยู่ 3 ระบบ คือ ระบบติดหน้าต่าง ระบบแยกส่วน ที่เรียกว่า สปลิทไทพ์ (Split Type) และระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)

ระบบติดหน้าต่าง ต้องเตรียมโครงไว้สำหรับรับน้ำ หนักของตัวเครื่อง เพราะมีน้ำหนักมาก และต้องติดลอยอยู่ กลางกำแพง ถ้าไม่เตรียมไว้จะเกิดการแตกร้าวได้ เพราะความ สั่นสะเทือนของเครื่อง

ระบบแยกส่วน จะมีปัญหามาก ถ้าตัวเครื่องเป่าลม เย็นอยู่กลางห้อง เพราะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำว่าจะไปทาง ใด และถ้าต่อลงห้องน้ำ ก็อาจมีกลิ่นย้อนเข้ามา ทำให้ภายใน ห้องมีกลิ่นเหม็น และภายนอก ต้องมีที่วางคอนเดนเซอร์

เครื่องทำลมเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน จะประกอบด้วย โบล์เวอร์ และคอล์ยเย็น ซึ่งมีสารทำความเย็นระเหยอยู่ภายในคอล์ยที่ความดันต่ำ ถ้าเป็นสารทำความเย็นฟรีออน 22 ที่ใช้กันจะมีความดันประมาณ 4.5 บาร์ ขณะที่ท่อทนความดันได้กว่า 20 บาร์ โอกาสที่จะเกิดการระเบิดจึงน้อยมาก และหากจะมีการระเบิดเกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของฝีมือการประกอบก็จะไม่เกิดไฟไหม้ขึ้น เพราะสารทำความเย็นไม่ติดไฟ เป็นสารที่สามารถใช้ดับไฟได้ โดยเฉพาะใช้เป็นสารดับไฟในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการเข้าไปไล่อากาศ (ออกซิเจน) ออกไปจากห้อง หรือทำให้อากาศภายในห้องมีสัดส่วนออกซิเจนเจือจางจนไฟดับไป

ระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องปรับอากาศระบบน้ำเย็น ซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนไปยังเครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศของอาคาร น้ำเย็นที่ไหลเข้าไปใน เครื่องทำลมเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 7 C แลไหลออกไปมีอุณหภูมิประมาณ 13 C ในขณะที่อากาศที่ไหลเข้าไปมีภาวะที่ 26 C กระเปาะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ 55 เปอร์เซ้นต์ และออกจาก เครื่องที่ภาวะ 15.5 C กระเปาะแห้ง 14.5 C กระเปาะเปียก น้ำที่ออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องประธาน (Main Machine Room) เพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจาก 13 C เป็น 7 C เครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ใน บริเวณ ที่ปรับอากาศ มีส่วนประกอบคือ แผ่นกรองอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแผงใยอะลูมิเนียม แผงท่อน้ำเย็นที่มีน้ำเย็นไหลอยู่ภายใน มีโบล์เวอร์และ มอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศ จากบริเวณที่ปรับอากาศ ให้ไหลผ่านแผ่นกรอง และแผงท่อน้ำเย็น แล้วส่งอากาศ ที่ถูกกรองให้สะอาดและ ถูกทำให้เย็น ลงเข้าไป ปรับอากาศในบริเวณที่ปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ปรับอากาศนั้นมีเฉพาะเครื่องทำลมเย็นท่อน้ำ และท่อลมที่ต่อเข้ากับ เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น ไม่มีส่วนที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ ไม่มีส่วนที่จะระเบิด ท่อน้ำอาจจะแตกได้ถ้าประกอบหรือเชื่อมไม่ดี และหากท่อแตก ก็จะทำให้น้ำรั่วกระจายทำความเสียหายเพราะเปียกน้ำเท่านั้น

การปรับอากาศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้เป็น 2 ประเภท

1) การปรับอากาศเพื่อความเย็นสบาย เป็นการปรับอากาศที่มุ่งส่งเสริมความเย็นสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้คนที่อาศัย หรือทำงานอยู่ในที่บริเวณนั้นๆ เช่น การปรับอากาศภายในบ้าน สำนักงาน ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ
2) การปรับอากาศเพื่อการอุตสาหกรรม เป็นการปรับอากาศเพื่อควบคุมภาวะบรรยากาศในกระบวนการผลิต การทำงานวิจัย และการเก็บรักษ าผลผลิตต่างๆ เช่น การปรับอากาศในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตอาหาร ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องมีการเลือกระบบการปรับอากาศให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันระบบปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 ระบบ โดยแบ่งตามลักษณะการส่งความเย็น

  1. ระบบอากาศทั้งหมด ( All-air system) คือระบบที่่ส่งเฉพาะอากาศที่ถูกทำความเย็นแล้วไปยังบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ ระบบนี้เหมาะสำหรับระบบเล็กๆ เช่นบ้านพักอาศัย หรือสำนักงานขนาดเล็ก
  2. ระบบน้ำทั้งหมด ( All-water system) คือระบบที่ส่งเฉพาะน้ำที่ถูกทำความเย็นจากส่วนกลางไปยังบริเวณที่ต้องการปรับอากาศแต่ละแห่ง ระบบนี้เหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์เกือบทุกประเภท เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบอากาศล้วน
  3. ระบบน้ำและอากาศ (Water-air system) คือระบบที่ส่งทั้งน้ำเย็นและอากาศจากส่วนกลางไปยังพื้นที่ปลายทางแต่ละห้อง โดยการนำเอา ข้อดีของระบบน้ำที่สามารถนำพาความเย็นส่วนใหญ่ไปได้ดีกว่า และข้อดีของอากาศที่สามารถส่งด้วยความเร็วสูงกว่า จึงทำให้ใช้เนื้อที่ปล่อง และเพดานไม่มากนัก แต่ต้นทุนในการของระบบนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

เครื่องปรับอากาศระบบแยกส่วน

โดยปกติ เครื่องปรับอากาศระบบแยกส่วน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายในห้อง (Indoor Unit) ทำหน้าที่ผลิตความเย็น และส่วนที่อยู่ภายนอกห้อง (Outdoor Unit) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกสู่ภายนอก

ส่วนประกอบภายในของส่วนทำความเย็น หรือ Indoor Unit ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญๆ คือ

  • แผงวงจรต่าง ๆ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง
  • ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (Evaporator)ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้อง แล้วเปลี่ยนเป็นอากาศเย็นโดยตัว Evaporator นี้ประกอบด้วยแผงอะลูมิเนียมแบบเดียวกับหม้อน้ำรถยนต์ ภายในมีท่อทองแดงขดอยู่ โดยท่อนี้จะมีน้ำยาที่เรียกว่าฟรีออนไหลผ่าน และน้ำยานี้จะเป็นตัวดูดความร้อนจากอากาศที่ผ่านเข้ามาออกไปยังส่วนที่อยู่ภายนอก ทำให้อากาศที่ผ่านออกจากเครื่องมีแต่ความเย็น ส่วนนี้เมื่อใช้งานในระยะเวลาพอสมควร ผู้ใช้จะรู้สึกว่าเครื่องปรับอาหาศไม่เย็น หรือมีน้ำแข็งจับตัว ซึ่งก็หมายความว่าอุปกรณ์ส่วนนี้เริ่มสกปรก ควรให้ช่างมาถอดล้างทำความสะอาด
  • พัดลม (Indoor Fan) หรือเรียกว่าพัดลมโพรงกระรอก ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้าสู่ Evaporator และทำหน้าที่กระจายลมเย็นออกจากเครื่อง แผ่นกรองฝุ่นละออง หรือฟิลเตอร์กรองอากาศ (Filter) ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ ทำให้อากาศที่ผ่านเครื่องมีความบริสุทธิ์เพียงพอที่มนุษย์จะใช้หายใจ โดยผู้ใช้จะต้องหมั่นทำความสะอาด หากแผ่นกรองนี้มีฝุ่นเกาะจำนวนมาก จะทำให้อากาศผ่านเข้าออกไม่สะดวก และทำให้อากาศที่ผ่านออกมาไม่บริสุทธิ์ ในปัจจุบันเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ มีการออกแบบให้สะดวกในการทำความสะอาดมากขึ้น ผู้ใช้สามารถถอดแผ่นกรองได้เอง
  • ท่อน้ำทิ้ง ในการทำงานของเครื่องปรับอากาศนั้น มักจะมีน้ำทิ้งโดยจะต่อจากตัว Evaporator ออกสู่ภายนอก ท่อน้ำทิ้งนี้ก็เป้นอุปกรณ์หนึ่งที่ผู้ใช้ต้องหมั่นตรวจสอบไม่ให้เกิดการอุดตัน เพราะหากอุดตัน น้ำไหลออกไปไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดระบบน้ำหยดภายในห้องได้
  • ท่อน้ำยา ซึ่งต่อจาก Indoor Unit ไปสู่ Outdoor Unit ปกติส่วนนี้จะมีฉนวนหุ้ม นอกจากนี้ก็มีข้อต่อท่อน้ำยาที่ผู้ใช้ก็ควรหมั่นตรวจสอบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำยา ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพความเย็นลดลง สิ้นเปลือง และที่สำคัญ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยปกติเครื่องปรับอากาศภายในบ้านนั้น น้ำยาจะสามารถใช้ได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายให้เสียเวลา

สำหรับในส่วนที่อยู่ภายนอก (Outdoor Unit) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากห้องนั้น ก็จะประกอบไปด้วย

  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่สูบฉีดน้ำยาให้ไหลเวียนจาก Indoor Unit มาสู่ Outdoor Unit เพื่อระบายความร้อนแล้วกลับไปสู่ Indoor Unit ปกติเครื่องปรับอากาศมีคอมเพรสเซอร์อยู่ 2 ระบบ คือ ระบบโรตารี และระบบลูกสูบ โดยระบบโรตารี่จะกินไฟน้อยกว่า เครื่องเดินเงียบกว่า เนื่องจากใช้ระบบแรงเหวี่ยง ทำให้เครื่องเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่า
  • คอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนอุณหภูมิของน้ำยาที่ผ่าน Indoor Unit มาสู่คอมเพรสเซอร์ และคอนเดนเซอร์นั้นจะมีอุณหภูมิสูง ซึ่งต้องระบายออกสู่ภายนอก คอนเดนเซอร์นี้จะลักษณะเหมือนกับ Evaporator ภายใน Indoor Unit น้ำยาจะไหลผ่านลวดทองแดงภายใน
  • พัดลม (Outdoor Fan) ทำหน้าที่เป่าลมไปที่คอนเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนของน้ำยาที่ไหลผ่านลวดทองแดงภายในคอนเดนเซอร์ เพื่อให้น้ำยาในขดลวดเย็น และกลับเข้าสู่ Indoor Unit เพื่อทำความเย็นต่อไป

สิ่งสำคัญของการใช้เครื่องปรับอากาศนั้น อยู่ที่การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับสถานที่ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้จากคู่มือที่แนบมากับเครื่อง หมั่นดูแลทำความสะอาด หรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีในกรณีที่เกิดการชำรุด เท่านี้ก็เป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องให้รับใช้เราไปได้อีกนานเท่านาน

- วิธีการติดตั้งระบบแยกส่วน (Split Type)
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. แบบตั้งพื้น คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับพื้น วิธีนี้จะสะดวกในการติดตั้ง สามารถซ่อนท่อน้ำทิ้งได้สะดวก ดูแลรักษาง่าย แต่จะเสียพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่เหมาะสำหรับ ห้องเล็ก
2. แบบติดผนัง คือส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับผนัง การ ติดตั้งค่อนข้างลำบาก เสียพื้นที่การใช้งานในส่วนผนัง แต่ไม่ เสียพื้นที่การใช้งานของห้อง ถ้าเกิดการรั่วซึม จะทำให้ห้อง เลอะเทอะบริเวณผนัง
3. แบบแขวนเพดาน คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้ บนเพดาน ข้อดี คือ ใช้พื้นที่ห้องได้เต็มที่มากกว่า 2 แบบ แรก การติดตั้งลำบากมาก เพราะต้องแขวนกับฝ้าเพดาน ต้องเตรียมวางแผนล่วงหน้า การดูแลรักษายาก ยิ่งเกิดการ รั่วซึมจะทำให้พื้นที่ใช้งานใต้เครื่องเปียกได้

- วิธีป้องกันหยดน้ำจากท่อน้ำทิ้ง
โดยทั่วไปการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะเตรียมท่อ น้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำออกนอกบ้าน โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 1 นิ้ว แต่อาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ท่อได้ เนื่องจากอากาศ ภายในท่อน้ำทิ้งซึ่งเย็นเมื่อเทียบกับอากาศภายนอกซึ่งร้อน จะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามท่อ และจะหยดเลอะ เทอะภายในห้อง ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรหุ้มด้วยฉนวนที่ท่อ น้ำทิ้งด้วย ฉนวนดังกล่าวจะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้อากาศ ภายนอกกับภายในสัมผัสกันโดยตรง และจะสามารถป้องกัน การเกิดหยดน้ำได้และเพื่อความสวยงามของห้อง ก็ควรทาสี หรือใช้เทปพันบริเวณท่อฉนวนนั้นให้กลมกลืนกับสีข้องห้อง

- ปัญหาของการเดินท่อน้ำทิ้ง
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศก็คือ การเดินท่อน้ำทิ้งซึ่งจะปรากฏอยู่ภายในห้อง ทำให้ไม่สวย งาม วิธีการแก้ไข คือ
1. พยายามติดตั้ง FAN COIL ไว้กับผนังที่ติด กับภายนอก เพื่อให้ท่อต่างๆ เจาะทะลุผนังออกสู่ภายนอก ได้โดยให้มีส่วนของท่อน้ำทิ้งอยู่ในห้องน้อยที่สุด
2. ถ้าเป็นห้องอยู่กลางบ้าน อาจแก้ไขด้วยการฝังท่อน้ำทิ้งเข้ากับผนัง ถ้าเป็นผนังปูน ก็ใช้วิธีการสกัดผนังฝังท่อลงไปแล้วฉาบปูนทับหรือถ้าเป็นผนังเบาเช่น ยิบซั่ม บอร์ด หากความกว้างของโครงเคร่ากว้างพอก็ฝังท่อในผนังได้เลย แต่ถ้ากว้างไม่พอก็อาจเสริมโครงเคร่าอีก 1 ชั้น เพื่อให้ความกว้างเพียงพอในการซ่อนท่อน้ำทิ้งแล้วจึงเจาะผนังด้านที่ติดกับภายนอก เพื่อระบายน้ำออกอีกทีหนึ่ง

- ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ
ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ นอกจากทำความ เย็นแล้วยังช่วยทำให้อากาศสะอาด และควบคุมความชื้น ภายในห้องด้วย
แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ด้วย เพราะจะทำให้อากาศไม่อับ มีการถ่ายเทอากาศจาก ภายนอกด้วย ซึ่งถ้ามีแต่ระบบทำความเย็นอย่างเดียว จะทำ ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผลเสียต่อสุขภาพ

- ปัญหาเครื่องปรับอากาศไม่เย็น
เหตุที่แอร์ไม่เย็นอาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
1. ตัวเครื่องแอร์กับคอนเดนเซอร์อยู่ห่างกันเกินไป
2. ตัวคอนเดนเซอร์อยู่ในที่อับไม่สามารถระบาย อากาศได้
3. น้ำยาแอร์หมด
นอกจากนี้แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานได้อีกนาน

- วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. วิธีประหยัดที่ไม่ต้องลงทุน เช่น จัดระบบให้ เครื่องปรับอากาศทำงานเป็นช่วงสลับกัน และปรับความเย็น ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะคือ 25 องศาเซลเซียส ควบคุม ปริมาณอากาศภายนอกที่จะเข้ามา เพื่อไม่ให้เสียความเย็น ออกไป ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้อยู่สูงจากพื้นพอควร เพื่ออากาศจะ ได้หมุนเวียนได้โดยง่าย และอย่าให้เครื่องได้รับแสงอาทิตย์ โดยตรง จะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
2. วิธีประหยัดที่ต้องลงทุน เช่น ใส่ฉนวนกันความ ร้อนที่เพดาน ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่หลังคาของบ้าน หรืออาจติดตั้งกระจก 2 ชั้นเพื่อลดความ ร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้ง การติดตั้งม่านกันแสง เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้ เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ห้อง และควรเป็นเครื่องปรับ อากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ด้วย