การลงทุนในตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์ หมายถึง

ตราสารอนุพันธ์ หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญา รือข้อตกลงที่จะซื้อ หรือขายสินค้าในราคา ปริมาณ และเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยจะทำการส่งมอบสินค้ากัน ในอนาคต ทั้งนี้ อนุพันธ์ก็จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามตราสารทางการเงิน ที่ก่อกำเนิดจากอ้างอิงจากหรือผันแปรตาม สินทรัพย์อ้างอิง โดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง สินทรัพย์ที่อ้างอิง อาจเป็นตราสารทางการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตรตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่นๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ตามแต่ที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ว่า เป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์ใด
ตัวอย่างของอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน คูปองส่วนลดของโรงแรม เป็นตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่ง เพราะสัญญาดังกล่าวสามารถเปรียบได้เสมือนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ผู้ลงทุนในตราสารอนุพันธ์สามารถใช้อนุพันธ์เพื่อสร้างผลตอบแทนได้โดยซื้อขายอนุพันธ์ตามการคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางของตลาด เพื่อหากำไรจากส่วนต่างของราคา อาจประสบผลขาดทุน หากคาดการณ์ทิศทางของตลาดผิด

ลักษณะของตราสารอนุพันธ์

1.อนุพันธ์เป็นสัญญาที่มีสินค้าอ้างอิง
สินค้าอ้างอิง คือ สินค้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายอนุพันธ์ตกลงซื้อขายกันในวันนี้และจะต้องนำมาส่งมอบในอนาคตตามเงื่อนไขในสัญญา ทั้งนี
ทั้งนี้สัญญาจะมีการกำหนดลักษณะของสินค้าอ้างอิงไว้อย่างละเอียดและชัดเจน โดยทั่วไป มีการแบ่งอนุพันธ์ตามประเภทสินค้าอ้างอิงออกเป็น
2 กลุ่มหลัก ดังนี้
1.1) สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินค้าเกษตร (Commodity Futures)
สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด กาแฟ เป็นต้น
สินค้าด้านพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซ เป็นต้น
โลหะ เช่น อลูมิเนียม ทอง ดีบุก เป็นต้น
1.2). สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Futures)
ตราสารทุน เช่น หุ้น ดัชนีราคาหุ้น เป็นต้น
ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
เงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น

2.อนุพันธ์เป็นสัญญาที่มีอายุจำกัด
อนุพันธ์เป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่มีกำหนดเวลาชัดเจน เช่น 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น การปฏิบัติตามข้อผูกพันหรือ
การรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาจะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น เมื่อพ้นกำหนดแล้ว สัญญาจะหมดอายุและสิทธิของผู้ซื้อ
สัญญาจะหมดไปด้วย

3. การลงทุนในอนุพันธ์เป็นการลงทุนที่มี Leverage สูง
คือ เป็นการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับ (ไม่ว่าจะเป็นกำไรหรือขาดทุน) จะสูง

ประเภทของตราสารอนุพันธ์

1. Forwards
เป็นสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่จะซื้อจะขายสินค้าอ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต
การตกลงซื้อขายสัญญาเกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดสถานที่ หรือเรียกว่า ซื้อขายแบบ Over-the-counter (OTC) และมีการกำหนด
รายละเอียดของสัญญาตามความต้องการระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย

2. Futures
เป็นสัญญา Forwards ประเภทหนึ่ง คือ เป็นสัญญาที่จะซื้อจะขายสินค้าอ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระ
เงินในอนาคต Futures แตกต่างจาก Forwards ตรงที่ Futures เป็นสัญญาที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์ ลักษณะของสัญญาจึง
เป็นแบบมาตรฐาน กล่าวคือ ศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์จะกำหนดรายละเอียดของสัญญาไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน

3. Options
เป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ขายให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ ที่จะซื้อ (หรือขาย) สินค้าอ้างอิง ตามจำนวน ราคา
และภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าซื้อสัญญาสิทธิดังกล่าว ที่เรียกว่า "ค่าพรีเมียม (Premium)" ให้กับผู้ขายเพื่อ
แลกกับการได้สิทธินั้น ผู้ซื้อจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายมีภาระ ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือ ขายสินค้าให้ (หรือซื้อสินค้าจาก) ผู้ซื้อ
เมื่อผู้ซื้อ ใช้สิทธิ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา

4. Swap
เป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ที่จะทำการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เช่น บริษัท ก. ซึ่งมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราลอยตัว
ต้องการแลกเปลี่ยนเป็นภาระดอกเบี้ยในอัตราคงที่กับบริษัท ข. ข้อตกลงเช่นนี้เรียกว่า Interest Rate Swap บริษัท ค. ซึ่งมีเงินกู้เป็น
เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ต้องการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลบาทกับบริษัท ง. ข้อตกลงเช่นนี้เรียกว่า Currency Swap

 

การซื้อขายตราสารอนุพันธ์สามารถทำได้อย่างไร

1.การซื้อขายผ่านตลาดต่อรอง (Dealer หรือ Over-The-Counter: OTC)
- การตกลงซื้อขายที่คู่สัญญาติดต่อกันโดยตรง หรือติดต่อผ่านคนกลาง เรียกได้ว่าเป็นระบบนอกตลาด
- กำหนดรายละเอียดสัญญาตามความต้องการของคู่สัญญา
- ความเสี่ยงของการซื้อขายอยู่ที่คู่สัญญาอาจบิดพริ้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
- หากต้องการยกเลิกข้อตกลง จะทำได้ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยินยอมด้วยเท่านั้น การซื้อขายอนุพันธ์แบบนี้จึงมีสภาพคล่องต่ำ

2.การซื้อขายผ่านระบบตลาดที่มีระเบียบ หรือมีศูนย์ซื้อขายอนุพันธ์ (Derivatives Exchange)
- การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดที่มีระเบียบ นั้นจะมีกรรมวิธีการซื้อขายคล้ายกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คือมีศูนย์ซื้อขาย
ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ
- ซื้อขายผ่านระบบที่ศูนย์ซื้อขายจัดให้มีขึ้น ซึ่งอาจเป็นแบบตกลงซื้อขายในห้องค้า (Open Outcry) หรือ ซื้อขายผ่านระบบ
คอมพิวเตอร์ และเมื่อทำการซื้อขายเสร็จสิ้นจึงจะมีการจดทะเบียนยอดซื้อขายกัน
- มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่น ลักษณะของสัญญาที่เป็นมาตรฐาน วิธีการซื้อขาย การชำระราคาและส่งมอบ
- ตลาดจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการเรียกเงินประกันจากทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ลงทุนหรือผู้เก็งกำไรทั้งสองฝ่ายจะไม่ผิดนัดตาม
สัญญาในอนาคต ผู้ลงทุนจึงไม่ต้องกังวลว่าคู่สัญญาจะบิดพริ้ว การซื้อขายในตลาดแบบมีระเบียบจึงมีสภาพคล่องที่สูงกว่า เพราะสัญญามีมาตรฐาน
ทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อขาย
- การส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญามักไม่มีการเกิดขึ้นจริง เนื่องด้วยผู้ลงทุนและผู้เก็งกำไรต้องการผลตอบแทนในรูปแบบของตัวเงิน จึง
ทำให้การส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการส่งมอบสินทรัพย์ตามสัญญาจึงเป็นเพียงการชำระผลกำไรหรือขาดทุนเท่านั้น