งานออกแบบสถาปัตยกรรม

ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ มีดังต่อไปนี้

1 งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phaze )

ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)

โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน

1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่

2 งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phaze )

สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

3 งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phaze )

3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )

ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว

รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน มีรายละเอียดของแบบพิมพ์เขียว ดังนี้

แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบแสดงรายละเอียดของอาคารประกอบด้วย
- รายการสารบัญแบบ รายการวัสดุพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน
- รายการประกอบแบบ แสดงรายละเอียดตั้งแต่การเตรียมงานก่อสร้าง การเตรียมพื้นที่ งานฐานราก งานโครงสร้าง
งานหลังคา ประตูหน้าต่าง งานสี งานฝ้าเพดานและรายละเอียดอื่น ๆ
- แบบผังบริเวณ แสดงการระบายน้ำออกนอกอาคาร
- แบบแปลนบ้านทุกชั้น แสดงรายละเอียดขนาดกว้างยาวของแต่ละห้องอย่างละเอียด พร้อมระบุรายการวัสดุที่ใช้
- แบบรูปด้านตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน
- แบบรูปตัดแสดงรายละเอียดความสูงของตัวบ้าน รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดโครงหลังคา
- แบบขยายรายละเอียดบันได ระบุวัสดุที่ใช้ทำพื้น ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน รายละเอียดราวบันได
- แบบขยายรายละเอียดห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุรายการวัสดุพื้น ผนัง รายการสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ในห้องน้ำอย่างละเอียด
- แบบขยายรายละเอียดประตู หน้าต่าง พร้อมระบุชนิด ขนาด วงกบ อุปกรณ์บานพับ มือจับ ลูกบิด กลอน 
- แบบขยายรายละเอียดอื่นๆ เช่น รายละเอียดส่วนตกแต่ง เช่น คิ้ว บัว กระถางต้นไม้

แบบวิศวโครงสร้าง เป็นแบบแสดงรายละเอียดงานโครงสร้าง ประกอบด้วย
- แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด
- แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด
- แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป
- แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง
- แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้
- แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็ก การรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต
- แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายการเสริมเหล็กบันได พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายส่วนโครงสร้างอื่นๆ เช่น เอ็นทับหลัง ระเบียง ม้านั่ง เป็นต้น

แบบวิศวสุขาภิบาล เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบสุขาภิบาลของอาคาร ประกอบด้วย
- รายการประกอบแบบสุขาภิบาล มาตรฐานการติดตั้ง และรายการวัสดุที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบระบบสุขาภิบาลทุกชั้น แสดงรายระเอียดการเดินท่อ ชนิดและขนาดของท่อ แสดงการระบายน้ำ  ตำแหน่งบ่อพักน้ำรอบตัวบ้าน การต่อมิเตอร์จากท่อประปาสาธารณะ
- แบบขยายรายละเอียดการเดินท่อในห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุชนิดและขนาดท่ออย่างละเอียด
- แบบขยายรายละเอียดถังบำบัดน้ำเสีย พร้อมระบุชนิดและรายละเอียดการติดตั้ง
- แบบขยายรายละเอียดการติดตั้งสุขภัณฑ์ทุกชนิดอย่างละเอียด

แบบวิศวไฟฟ้า เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบไฟฟ้าของอาคาร ประกอบด้วย
- แบบแปลนไฟฟ้าทุกชั้น แสดงรายละเอียดการติดตั้งดวงโคม สวิทซ์ ทุกชั้น
- แบบแปลนไฟฟ้าแสดงรายละเอียดการติดตั้งปลั๊กไฟ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กทีวี ไฟฉุกเฉิน กริ่งไฟฟ้า และแผงสวิทซ์บอร์ดทุกชั้น
- รายการประกอบแบบไฟฟ้า ระบุชนิด ยี่ห้อดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างละเอียด
- มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ

แบบขออนุญาตก่อสร้าง : เป็นแบบก่อสร้างที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง และจะต้องส่งแบบ เพื่อขออนุญาต ก่อสร้างตามข้อกำหนดต่าง ๆที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนดไว้ ประกอบด้วย

 - รายการประกอบแบบ : บอกถึงรายละเอียดวัสดุ โครงสร้าง ข้อกำหนดของวัสดุ กำลังวัสดุที่ออกแบบไว้
- ผังบริเวณก่อสร้าง : บอกถึงขอบเขตที่ดิน แนวถอยร่นของตัวอาคาร ตามพระราชบัญญัติ 

 ระบบบำบัดน้ำเสีย และแนวท่อระบายน้ำ รวมถึงตำแหน่งการระบายน้ำออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ
ทิศของตำแหน่งอาคาร ซึ่งแบบผังบริเวณนี้ จะเป็นแบบที่ใช้วาง ตำแหน่งของอาคารในพื้นที่จริง
และจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในพื้นที่จริงว่าถูกต้องหรือไม่

- แผนที่สังเขป : บอกถึงแผนที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่จริงของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประโยชน์ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
- แปลนพื้นทุกชั้น และ แปลนหลังคา
- รูปด้าน อย่างน้อย 2 ด้าน (ส่วนใหญ่จะทำรูปด้านทั้ง 4 ด้าน)
- รูปตัด อย่างน้อย 2 รูป
- รูปขยายบันได พร้อมรูปตัดบันได (กรณีอาคาร 2 ชั้นขึ้นไป)
- รูปขยายห้องน้ำ
- แปลนโครงสร้างทุกชั้น และแปลนโครงสร้างหลังคา
- รูปขยายโครงสร้าง
- แปลนระบบสุขาภิบาล
- แบบขยายระบบระบบบำบัดน้ำเสีย
- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ+สำเนาบัตรสมาชิกสภาวิศวกร
- หนังสือรับรองการออกแบบของสถาปนิก พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก กส.
- หนังสือรับรองการออกแบบของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกร กว.
- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมลายเซ็นของวิศวกรทุกแผ่น
- หนังสือรับรองการควบคุมงานของวิศวกรและ/หรือสถาปนิก (แล้วแต่ข้อตกลงในกรณีต้องใช้)

หากท่านได้จัดจ้างให้ผู้ออกแบบทำแบบยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่านจะต้องได้เอกสารเหล่านี้ครบถ้วน (ส่วนใหญ่จะเป็นขอบเขตงานแบบของการทำงาน จากสำนักงานเขต,เทศบาลหรือ อ.บ.ต. บางแห่ง