ความหมายและความสำคัญของเงินทุน
ความหมายของเงินทุน
เงินทุน หมายถึง เงินตราที่องค์การธุรกิจจัดหามา เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจาการลงทุนอย่างคุ้มค่า เงินทุนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการ และระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้การผลิต การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ธุรกิจขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ของเงินทุน มี 3 ประการ คือ
- เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น
- เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน
- เพื่อเป็นการสะสมมูลค่า
ประเภทของเงินทุน
เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. เงินทุนคงที่
เงินทุนคงที่ หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี ดังนั้น เงินทุนคงที่ องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการลงทุนซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
2. เงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช่ในการดำเนินกิจการ ทรัพย์สินหมุนวเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งปี ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียน องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้า จ่ายค่าแรงงาน จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายค่าขนส่ง จ่สยค่าโฆษณา จ่ายค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
การจัดหาเงินทุน
องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการตามระยะเวลาได้ 2 ประเภท คือ
เงินทุนระยะสั้น (Short Term Financing) หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อใช้ดำเนินงาน มีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ การจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียน จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตแหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้แก่
1. ธนาคารพาณิชย์ การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ขององค์การ ธุรกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.1 การเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร คือ องค์การธุรกิจมีบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันเมื่อองค์การธุรกิจมีความต้องการเงินทุนระยะสั้น สามารถทำข้อตกลงกับธนาคารขอเบอกเงินมากกว่าจำนวนที่ฝากไว้ โดยธนาคารอาจขอให้ใช้หลักทรัพย์บุคคลมาค้ำประกัน และธนาคารคิดดอกบเบี้ยจากจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีเงินฝากไปใช้
1.2 การนำสินค้นหรือใบรับสินค้าค้ำประกันการกู้ คือ องค์การธุรกิจกู้เงินจากธนาคารโดยนำสินค้นหรือสลักหลังใบรับสินค้าเป็นหลักประกันการกู้จากธนาคาร กำหนดการชำระเงินเมื่อจำหน่ายสินค้าได้
2. ใช้เอกสารเครดิต คือองค์การธุรกิจใช้เอกสารเครดิตในการกู้เงินจากเจ้าหนี้เอกสารที่ใช้ในการกู้ระยะสั้นได้แก่ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า การขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้
3. สินเชื่อทางการค้า คือ องค์การธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้ตามประเพณีการค้า โดยการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ได้สินค้าก่อนชำนะเงินภายหลัง หรือการรับรองตั๋วแลกเงินที่เจ้าหนี้เป็นผู้ออก
เงินทุนระยะยาว (Long Term Financing) หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหามีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนเกินกว่า 5 ปี
แหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะยาว ได้แก่
1. เจ้าของทุนองค์การธุรกิจ โดยการเพ่มทุนของเจ้าขององค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และการออกจำหน่ายหุ้นทุนขององค์การธุรกิจ ประเภทบริษัทจำกัด หุ้นทุนของบริษัท ได้แก่
1.1 หุ้นสามัญ บริษัทออกหุ้นสามัญจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และได้รับเงินปันผลในกรณีบริษัทมีกำไร แต่อัตราเงินปันผลของห้นสามัญไม่กำหนดแน่นอน
1.2 หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และรับเงินปันผลเป็นอัตราแน่นอน
2. ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น องค์การธุรกิจสามารถจัดหารเงินทุนระยะยาวได้โดยการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น
3. จำหน่ายพันธบัตร องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะยาวได้ โดยออกเอกสารจำหน่ายให้แก่ประชาชน ผู้ถือพันธบัตรมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ของ องค์การธุรกิจ ผลตอบแทนที่ได้รับคือ ดอกเบี้ยที่มีอัตราแน่นอน ไม่ว่าองค์การธุรกิจจะมีกำไรหรือขาดทุน
4. กู้ยืมจากรัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายให้องค์การธุรกิจขนาดเล็กกู้ระยะยาวโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจ
การบัญชีขององค์การธุรกิจ
การประกอบธุรกิจทุกประเภท มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำบัญชี เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบริหารงานของธุรกิจเอง และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ดังนั้น การจัดทำบัญชีของธุรกิจจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 กำหนดไว้ ดังนี้
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
การประกอบธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประเภทนิติบุคคลไม่ว่าจะอยู่ระหว่างดำเนินกิจการ หรือไม่ดำเนินกิจการก็ตาม จะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจมีดังนี้
1. องค์การธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
1.1 บริษัทจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ กรรมการบริษัท
1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ
1.3 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ
2. ร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ เจ้าของ
แหล่งอ้างอิง
- อรทัย วานิชดี. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545.
- สุดาทิพย์ ตันตินิกุลชัย และศักดา หงส์ทอง. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
http://lpn.nfe.go.th/e_learning/LESSON5/unit5_2.htm
การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนนอกระบบ
ตลาดเงินนอกระบบ เป็นแหล่งการเงินที่เกิดขึ้นตามความจำเป็น และสภาพแวดล้อมไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ ไม่มีการติดตามและควบคุมจากทางการ ข้อตกลงต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความพอใจระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ ลักษณะที่เด่นชัดคืออัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตลาดเงินประเภทนี้ประกอบด้วย
1. การซื้อขายลดเช็ค คือการนำเช็คที่เขียนสั่งจ่ายลงวันที่ล่วงหน้าไปฝากขายลดเพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจของตนเองก่อนวันครบกำหนดในเช็ค อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับข้อตกลง ระหว่างผู้รับซื้อลดเช็คมาขายว่าราคาซื้อขายเช็คมากน้อยเท่าใด
2. การกู้ยืมจากนายทุนเงินกู้ ซึ่งผู้กู้อาจชำระเงินคืนเมื่อครบกำหนดชำระเงินกู้หรือจะชำระเป็นพืชผลเกษตรแทนก็ได้
3. เครดิตการค้า หมายถึง เครดิตที่ขายให้แก่ผู้รับสินค้าไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โดยผู้รับสินค้านั้นไม่ต้องชำระเงินทันทีในตอนรับสินค้า สามารถยืดเวลาชำระเงินไปได้ช่วงหนึ่งวิธีนี้เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนที่สำคัญสำหรับกิจการค้า
4. การเล่นแชร์ หมายถึง การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งสัญญาว่าจะส่งเงินแชร์เป็นงวด งวดละเท่ากัน เข้ากองกลาง ผู้ใดที่ต้องการใช้เงินจะเสนออัตราประมูลแชร์มาแข่งขันกัน ผู้เสนออัตราประมูลสูงสุดจะได้รับเงินกองกลางนั้นไป จำนวนเงินกองกลางจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้เล่นในกลุ่มแชร์นั้น ๆ
การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนในระบบ
การกู้ยืมมีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งมีทั้งการกู้ยืมระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานของกิจการ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะแหล่งกู้ยืมภายในประเทศที่สำคัญเท่านั้น ดังต่อไปนี้การกู้ยืมผ่านสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นผู้ระดมเงินทุนที่เหลือใช้จากผู้ออม และกระจายเงินออมนั้นให้กับผู้ต้องการใช้เงินทุน เพื่อใช้ลงทุนในการประกอบธุรกิจด้านต่าง ๆ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- การกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดที่ให้กู้แก่ลูกค้าทั่วไป ในทุกส่วนภูมิภาคของประเทศ โดยต้องมีหลักประกันการกู้ยืม เช่น บัญชีเงินฝาก, สินทรัพย์อื่น ๆ อันได้แก่ที่ดิน โรงงาน อาคารพาณิชย์ หรือบุคคลที่ธนาคารเชื่อถือเป็นต้น แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนระยะยาว หรือเงินทุนหมุนเวียนสามารถแบ่งออกได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 เงินเบิกเกินบัญชี เป็นการให้กู้ยืมแบบเงินเกินบัญชีลูกค้าที่ทำกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ โดยลูกค้าจะต้องมีบัญชีกระแสรายวันอยู่กับธนาคารนั้น ๆ และธนาคารยินยอมให้ผู้ฝากสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร เพื่อถอนเงินจากบัญชีเกินจำนวนที่ฝากที่ตนมีอยู่หลังจากที่ธนาคารได้ตรวจสอบมาตรฐานเครดิตว่าอยู่ในเกณฑ์ให้สินเชื่อได้ และได้มีการทำสัญญา กำหนดวงเงินสูงสุดที่จะเบิกเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย กำหนดระยะเวลาชำระคืนเรียบร้อยแล้ว การให้กู้ยืมประเภทนี้ได้รับความนิยมจาก ลูกค้าทั่วไป เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่น ๆ ที่มีการหมุนเวียนของเงินเข้าออกเป็นประจำ จำนวนเงินค่าดอกเบี้ยสำหรับ เงินเบิกเกินบัญชีคำนวณจากยอดค้างแต่ละวัน โดยคำนวณเป็นรายเดือน แล้วนำเข้าบัญชีลูกหนี้เป็นเงินต้น เมื่อลูกหนี้นำเงินเข้าฝากบัญชียอดหนี้จะลดลงตามจำนวนเงินที่ฝากไว้ดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย ลูกหนี้จะสามารถถอนเงินออกไปได้อีกเมื่อต้องการใช้เงิน แต่ยอดเบิกเกินบัญชีในขณะหนึ่งต้องไม่เกินวงเงินที่ธนาคารกำหนดไว้ตามสัญญา กรณีนี้ผู้กู้จะเป็นลูกหนี้เท่ากับยอดเฉพาะที่เบิกเกินไปจริง ๆ เท่านั้น และจ่ายดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เป็นหนี้ในแต่ละขณะด้วย
1.2 เงินให้กู้ เป็นการให้กู้ยืมเงินก้อนตามแต่จะตกลงกัน หลังที่ธนาคารได้มอบฝ่ายสินเชื่อตรวจสอบฐานะทางเครดิตของผู้กู้อย่างละเอียด และได้มีการทำสัญญากำหนด วงเงินกู้ กำหนดอัตราดอกเบี้ย กำหนดระยะเวลาการชำระคืน กำหนดหลักประกันเรียบร้อย การตรวจสอบฐานะ จะต้องทำอย่างรอบคอบกว่าการให้เบิกเกินบัญชี และวงเงินให้กู้อาจเป็นจำนวนมาก ระยะเวลาการให้กู้ทางธนาคารต้องรับภาระการเสี่ยงสูงกว่าการรับเงินกู้ โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้กู้ที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารแล้ว ถอนไปภายหลัง อาจรับแคชเชียร์เช็คหรือเงินสดไป ซึ่งการรับเงินทุน ทุกวิธีอาจรับเป็นเงินก้อน หรือเต็มจำนวนที่ตกลงกัน ครั้งเดียว หรือแบ่งรับเป็นส่วนตามระยะเวลาที่ตกลงกันก็ได้เมื่อผู้กู้ชำระคืนแล้วจะขอเบิกอีกไม่ได้ แม้จะยังไม่ครบกำหนดเวลาชำระคืนก็ตาม ในปัจจุบันนี้ทุกแห่งไม่สนับสนุนให้กู้ยืมประเภทนี้เนื่องจากกระแสเงินของผู้กู้มิได้หมุนเวียนกับธนาคาร คือ เมื่อผู้กู้มีเงินจะไม่นิยมชำระคืนก่อนครบกำหนดเพราะจะถอนออกไปอีกไม่ได้ ทำให้เงินไม่หมุนเวียนเข้าธนาคาร การชำระคืนเงินกู้อาจเป็นการชำระคืนทั้งหมด เมื่อครบกำหนดเวลาหรือผ่อนชำระเป็นรายเดือน สำหรับดอกเบี้ยธนาคารจะเรียกเก็บเต็มจำนวนเงินกู้คำนวณเป็นรายเดือน โดยไม่ทบต้นเหมือนกับเบิกเกินบัญชี วันคำนวณดอกเบี้ยอาจเป็นวันสิ้นเดือนหรือวันใดวันหนึ่งก็ได้
1.3 การซื้อลดตั๋วเงิน เป็นการให้กู้ยืมโดยมีตั๋วเงินเป็นหลักฐานการเป็นหนี้ โดยธนาคารจะคิดส่วนลดตามอัตราที่กำหนดตามระยะเวลาที่ธนาคารถือตั๋วหักจาก จำนวนเงินตามตั๋วแล้วจ่ายให้ผู้กู้ยืมตามยอดคงเหลือ ผู้กู้ยืมตั๋วเงินซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้แต่มีความจำเป็นทางด้านการเงินจึงนำมาขายลดที่ธนาคาร ธนาคารจะเป็นผู้รับซื้อลดตั๋วเงิน ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้กู้ยืม เมื่อตั๋วครบกำหนดชำระธนาคารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้เงินตามตั๋ว ตั๋วเงินที่ธนาคารรับซื้อลด เป็นตราสารการพาณิชย์ เช่น ตั๋วแลกเงินที่สามารถนำไปขายในตลาดเงินได้ เช็คตั๋วสัญญาใช้เงิน ตลาดเงินเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะสั้นที่ทำให้ผู้กู้ และผู้กู้มาพบปะแลกเปลี่ยนกัน - การกู้ผ่านสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ สถาบันเหล่านี้จะให้กู้ยืมเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ เพียงแต่อาจจะมีเงื่อนไขพิเศษกำหนดไว้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
2.1 บริษัทหลักทรัพย์ จะให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ตามหลักทรัพย์โดยได้รับค่าบริการเป็นผลตอบแทน ให้กู้ยืมเงิน เพื่อซื้อหลักทรัพย์และรับจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน เป็นต้น
2.2 บริษัทเงินทุน เป็นบริษัทที่ให้สินเชื่อทั้งในระยะยาว และระยะสั้น ตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น เพื่อการจำหน่าย, เพื่อการพัฒนา, เพื่อการพาณิชย์ และบริโภค และเพื่อการเคหะเป็นต้น โดยบริษัทระดมเงินจากประชาชนทั่วไปในรูปของการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักประกัน
2.3 สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม วัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม ไปลงทุนเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานใหม่ปรับปรุงกิจการให้ หรือปรับปรุงขยายกิจการให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิตในอนาคต เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในด้านการผลิตสินค้า นอกจากนั้นยังให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับการผลิต กระบวนการผลิตที่ทันสมัยอีกด้วย
2.4 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทจะให้กู้ยืมโดยวิธีใช้อสังหาริมทรัพย์ เป็นหลักประกันในการกู้ โดยมีทั้งประเภทไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์นั้นให้ และทั้งประเภทที่กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต้องตกเป็นของบริษัท และการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทยึดคืนมาจากลูกค้าหรือผู้เช่าที่ทำผิดสัญญากับบริษัท
2.5 บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น แต่มีลักษณะการดำเนินงานในลักษณะกิจการเอกชน เนื่องจากผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเงินในการจัดตั้ง ขยายและปรับปรุงกิจการอุตสาหกรรมภาคเอกชน ในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา รัฐได้กระตุ้นให้มีการร่วมลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ และต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทจึงให้บริการกู้ยืมระยะปานกลางและระยะยาว โดยมีหรือไม่มีหลักประกัน หรือการให้บริการค้ำประกันกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนอื่น เป็นต้น
2.6 กองทุนประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (กสย.) รัฐบาลและเอกชนได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่มีโครงการลงทุนที่ดี แต่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ทั้งในอุตสาหกรรมขนาดย่อม สามารถดำเนินกิจการได้ตามโครงการที่กำหนดไว้ อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่อยู่ในข่ายการให้การสนับสนุนของกองทุนประกันสินเชื่อสามารถยื่นคำขอให้ค้ำประกันสินเชื่อ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อม สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งตามสาขาใกล้เคียงกับธุรกิจ หรือสำนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทุกแห่ง การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแล้ว ธุรกิจยังสามารถหาวิธีนำทรัพย์สินถาวรที่มีอยู่มาใช้ดำเนินงานได้ โดยการเช่าซื้อทรัพย์ระยะยาว วิธีนี้ธุรกิจจะขอสิทธิในการเช่าสินทรัพย์นั้น จากผู้ให้เช่า และทำสัญญาว่าจะชำระเงินตอบแทนเป็นงวด ๆ ให้เจ้าของสินทรัพย์นั้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเช่ายังสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณเสียภาษีได้ด้วย
2.7 สำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมการค้าของไทย ของกรมการค้าภายใน ประเภทการค้าที่ได้รับการสนับสนุนให้ผู้กู้เงิน ได้แก่ ร้านขนาดกลาง, ร้านค้าขนาดย่อย ซึ่งจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ช่างฝีมือ หัตถกรรม และการบริการ เป็นต้น โดยผู้ขอกู้จะต้องมีคุณสมบัติตาม ที่กรมการค้าภายในกำหนดเช่น มีสัญชาติไทย เป็นต้น ยื่นแบบขอกู้ได้ที่กรมการค้าภายในหรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
2.8 บริษัทประกันชีวิต เป็นการระดมเงินจากเอกชนหรือบุคคลภายนอกในรูปของเบี้ยประกัน และนำเบี้ยประกันที่เหลือหลังจากที่ได้จัดสรรเป็นประกันตาม ที่กฎหมายกำหนดแล้วไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ หรือให้กู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตามกฎหมายที่กำหนด เป็นต้น
2.9 โรงรับจำนำ หมายถึง สถานที่ประกอบการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินค่าสิ่งของแต่ละรายตามจำนวนที่พนักงานตีราคาของที่มาจำนำ โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันว่าจะได้คืนในภายหลังโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น สถานธนานุเคราะห์ สถานธนานุบาล และโรงรับจำนำของเอกชน เป็นต้น
ความหมายและความสำคัญของเงินทุน
เงินทุน (Capital) หมายถึง เงินสด และสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น ที่กิจการนำมาลงทุนเพื่อดำเนินการในกิจการของตนเอง
ความสำคัญของเงินทุน
การวางแผนและการสร้างธุรกิจที่อยู่รอดได้นั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารที่มีความสามารถและการมีตลาดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคงอีกด้วย โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะต้องนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ และมีการบริหารเงินทุนนั้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า กิจการจะบรรลุศักยภาพเต็มที่จากเงินทุนที่ใช้เพื่อเริ่มต้นธุรกิจที่ได้มาจากแหล่งต่าง ๆ การประเมินความต้องการทางการเงินที่มีการพัฒนาอย่างดีก่อนเริ่มต้นกิจการ หรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่มีการพัฒนาอย่างดีก่อนเริ่มต้นกิจการหรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติในที่มีอยู่ จะช่วยลดการเผชิญปัญหาทางการเงิน และความล้มเหลวทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นโดยทันทีทันใด
การกำหนดความต้องการของเงินทุน
ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมต้องกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของธุรกิจที่ต้องการจัดหาเงินทุน หรือต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน จากภายนอกมากน้อยเพียงใด และคาดคะเนความต้องการเงินทุนในระยะยาวของธุรกิจโดยลักษณะของความต้องการเงินทุนของธุรกิจ มีดังนี้
1) เงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ
2) เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ
3) เงินทุนในการดำเนินงาน
แหล่งที่มาของเงินทุน
ธุรกิจขนาดย่อมในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐและเอกชนน้อยมากทั้งที่มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศด้านการจ้างงานและการผลิต ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่เห็นความสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า จนสภาพเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอย ภาครัฐและเอกชนจึงหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้น ทำให้การจัดหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจเริ่มมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยรวมแล้วแหล่งเงินทุนจะมาจาก 2 แหล่ง คือ
1) แหล่งเงินทุนจากส่วนทุน
1.1 ทุนของเจ้าของกิจการ
1.2 แหล่งเงินส่วนบุคคล
1.3 ผู้ลงทุนภาคเอกชนหรือบริษัทขนาดใหญ่
1.4 หุ้นส่วน
1.5 บริษัทร่วมลงทุน
1.6 การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน
2) แหล่งเงินทุนจากส่วนหนี้สิน
2.1 สินเชื่อการค้า
2.2 สินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์สิน
2.3 แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
2.4 เงินกู้ยืมจากองค์กรภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการเงินแก่ธุรกิจขนาดย่อม
แหล่งเงินใหม่ของธุรกิจขนาดย่อม
การที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีนโยบายให้ธุรกิจขชนาดย่อมเข้าจดทะเบียน เพื่อระดมทุนในตลาดทรัพย์ได้ ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่
หลักเกณฑ์การนำธุรกิจเข้าตลาด MAI
บริษัทที่จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปนั้น มีข้อกำหนดดังนี้คือ
1. ต้องเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
2. รายงานทางการเงิน มีความน่าเชื่อถือเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต
3. โครงสร้างทางการเงิน การจัดการ และการถือหุ้นชัดเจน และเป็นธรรม ระบบควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและรัดกุม
4. ผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ ฟ้องร้อง ไม่มีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับระบบการเงิน ฉ้อโกง ทุจริต หรือขาดความรับผิดชอบอย่างร้ายแรงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็นบุคคลในบัญชีดำของตลาดหลักทรัพย์ฯ
5. บริษัทไม่มีประวัติการกระทำผิดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
6. ไม่มีข้อพิพาทหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หลักทรัพย์ที่สามารถจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ MAI มีลักษณะเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นกู้
กระบวนการจัดหาเงินทุน
1) การคัดเลือกแหล่งเงินทุน
2) ข้อมูลที่ผู้ให้กู้ยืม (เจ้าหนี้)
3) คุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ
4) ฐานะทางการเงินของธุรกิจ
5) ความสามารถในการชำระคืน
6) การป้องกันเงินกู้
7) หลักประกัน
8) ผู้ลงนามร่วม
9) ข้อจำกัด
10) การนำเสนอคำขอเพื่อให้ได้เงินทุน
ปัจจัยการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
1) ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
2) ไม่มีประสบการณ์
3) ไม่มีรายได้
4) ไม่มีแผนธุรกิจ
5) มีประวัติหนี้เสีย
6) ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้
7) ไม่รู้ข้อจำกัด
8) ไม่สามารถผ่อนชำระได้
9) ไม่มีการเตรียมตัว
10) มีทัศนคติไม่ดี
แนวทางการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
แนวทางการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่มีหลักพื้นฐานคือ เอกสารสิทธิแบบมีเงื่อไขและสามารถกำกับดูแลการโอนสิทธิได้ โดยมีแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติในสินทรัพย์ 5 ประเภท ดังนี้
1) ที่ดินและทรัพย์สินติดกับที่ดิน
2) ทรัพย์สินทางปัญญา
3) เครื่องจักร
4) หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณะ
5) สัญญาเช่า เช่าซื้อ
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนมีดังนี้
1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอ พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน หรือหนังสือรับรองแสดงการแจ้งข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหลักฐานอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการฯ
2. สถาบันการเงินพิจารณาคำขอ โครงการ และประเมินราคา
3. สถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้และทำสัญญาหลักประกัน
4. ผู้ประกอบการแจ้งข้อมูลการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อบันทึกข้อมูล
5. ผู้ประกอบการนำหลักฐานการแจ้งข้อมูลแสดงต่อสถาบันการเงินเพื่อทำสัญญากู้เงินและเบิกเงินกู้
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยและสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาไว้ดังนี้
1. เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการเงินทุนไม่เกิน 500,000 บาท
2. เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู๋ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่แปลงเป็นทุนได้
3. เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่สามารถบันทึกบัญชีได้ตามมาตราฐานบัญชีฉบับที่ 51 ทั้งนี้มีบริการไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย
การดำเนินการกรณีลูกหนี้ผิดสัญญา
1. สถาบันการเงินออกหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ระงับการกระทำที่เป็นการผิดสัญญา
2. หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการ
3. หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เสนอข้อพิพาทสู่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาที่แปลงเป็นทุน
ทรัพย์สินทางปัญญาที่นำมาเข้าในโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน คือ ทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มที่มีกฎหมายระบุให้มีการออกหนังสือสำคัญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว
2. กลุ่มหนึ่งที่ยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้แม้ว่าบางประเภทจะมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
แนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนด และสถาบันการเงินจะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
1) หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าเพื่อกำหนดมูลค่าตลาดอย่างมีเงื่อนไข
2) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
3) วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
4) ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบการประเมินมูลค่า
5) รายงานการประเมินมูลค่า
6) การให้ถ้อยคำเป็นพยาน
7) ความรับผิดชอบ
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงสิ่งต่อไปนี้
1. สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้และไม่มีตัวตน
2. ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ต้องนำมาสร้างเป็นสินค้าถึงจะสามารถสื่อถึงคุณค่าได้
3. การประเมินมูลค่าที่มีความละเอียดอ่อนและมีความแน่นอนน้อยกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น เช่น ที่ดิน หรือสัญญาเช่าต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้มีการจัดระบบการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน ทั้งในส่วนของการยื่นขอกู้โดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญา ที่ใช้ประกอบโครงการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ และการรายงานผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
2. ให้เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทสงปัญญาประเภทต่าง ๆ เข้าถึงแหล่งทุนโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันเงินกู้ได้ โดยให้มีการตรวจสอบ และประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อสร้างระบบการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาและการนำทรัพย์สินทางปัญญาเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้รวมถึงการจัดทำและบริหารระบบสำหรับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ด้วย
4. เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนในการประกอบกิจการหรือการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ
5. เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการและพนักงานสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินนโยบายแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
ประเมินว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรากฏในตัวสินค้าชนิดนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งหลักการสำคัญในการประเมินมูลค่า คือ
1. การคำนวณความสามารถในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้า
2. พิจารณามูลค่าตลาดของสินค้าซึ่งใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ ในการผลิตระหว่างที่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นยังมีอายุการคุ้มครองอยู่
3. ประเมินโดยรวมสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการลงทุนร่วมด้วย เช่น การวางแผนธุรกิจ และความเสี่ยงของธุรกิจ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
1. ลักษณะการถือสิทธิ
1.1 ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
1.2 ถือสิทธิร่วม (เจ้าของสิทธิมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป)
2. ลักษณะการใช้สิทธิ
2.1 การผลิตและจำหน่ายด้วยตนเอง
2.2 การขายสิทธิให้กับผู้ประกอบการ
2.3 การร่วมทุน
วิธีคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
1. คำนวณจากมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ หรือรายได้ที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาใรการผลิตสินค้าหรือบริการตลอดระยะเวลาที่ทรัพย์สินทางปัญญาได้รับความคุ้มครองหรือสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ในอนาคต
2. ประเมินจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมือนกัน
3. คำนวณจากต้นทุนการผลิตทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อทดแทนทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ
การขอกู้เงินโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกัน
1. การยื่นคำขอกู้เงิน
2. การตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
3. การพิจารณาคำขอกู้เงิน และอนุมัติเงินกู้
4. การบันทึกข้อมูลและการทำสัญญากู้เงิน
5. การติดตามผลการดำเนินงาน
6. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
7. การชำระหนี้เงินกู้
8. การผิดสัญญา
สรุป
แหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจำเป็นต้องมีการใช้เงินทุนไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นกิจการ การขยายกิจการ หรือการแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะจากแหล่งเงินทุนภายนอก เพราะมีธุรกิจขนาดย่อมเพียงน้อยรายที่จะมีเงินทุนจำนวนเหลือที่จะเริ่มต้น หรืออยู่ในพื้นฐานครอบครัวที่มีฐานะที่มีเงินทุนเดิมเพียงพอ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจโดยไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินจากภายนอก แหล่งเงินทุนในการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการมีหลายรูปแบบแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือกแหล่งทุนที่เหมาะสมกับตนเองหรือมีความเป็นไปได้ในการสนับสนุน โดยการตรวจสอบรายละเอียดหรือเงื่อนไชต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการโดยไม่จำเป็น