ธุรกิจแฟรนไชส์ Franchise
การเริ่มต้นธุรกิจ Franchise
ก่อนที่เราจะมาทำธุรกิจของเรา ให้อยู่ในระบบแฟรนไชส์นั้น ควรมาทำความเข้าใจก่อนว่า แฟรนไชส์นั้น หมายถึงอะไร เห็นหลายต่อหลายท่าน สอบถามเรื่องการทำแฟรนไชส์ มากมายพอสมควร
แฟรนไชส์ (Franchise)
1. มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ "Franchir" แปลว่า "สิทธิพิเศษ" "Franchise" แปลว่า สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดย สิทธิพิเศษนี้จะครอบคลุมระบบเกือบทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้น สามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย
2. "แฟรนไชส์" หมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จ และต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก (บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลกกับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้ (royalty) จากบริษัทสมาชิกดังกล่าว
แฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
- จะต้องมีเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด
- ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก (Franchise Fee)
- ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าตอบแทน (Royalty Fee) อย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรือบางทีก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า
1. Product or Brand Franchise Wholesaler เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่าย (ค้าส่ง) ผลิตภัณฑ์ของ Franchisor รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต
2. Business Format Franchise Retailer เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยมีการถ่ายทอดในวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐาน (ค้าปลีก)
3. Conversion Franchise คือการนำธุรกิจที่มีอยู่แล้วมาร่วมตัวกัน เพื่อสร้างเครือข่ายซึ่งจะช่วยในการต่อรอง ซึ่งจะให้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการโฆษณา ที่ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจรถเช่า บริษัททัวร์ ฯลฯ
ลักษณะของผู้ซื้อสิทธิ
แฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จได้ ส่วนใหญ่มาจากการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน ผู้ซื้อสิทธิมีบทบาทสำคัญในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ลักษณะของผู้ซื้อสิทธิที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ มีดังนี้
- มีความมั่นใจตัวเองและความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้
- มีความกระตือรือร้น
- มีประสบการณ์หรือมีความเข้าใจระบบงาน
- มีประสบการณ์เคยเป็นเจ้าของธุรกิจมาก่อน
- รู้จักพัฒนาบุคลากร
- มีความอดทนต่อภาวะกดดัน และความเสี่ยง
- มีเงินทุน
- เต็มใจทำงานหนัก
- มีความสามารถในการขาย
องค์ประกอบของแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) หมายถึง ผู้ให้สิทธิที่เป็นเจ้าของชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และระบบการจัดการธุรกิจนั้น ๆ
- แฟรนไชซี (Franchisee) หมายถึง ผู้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจตามระบบที่เจ้าของสิทธิได้จัดเตรียมไว้ และใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้สิทธิ
- ค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ
3.1 แฟรนไชส์ฟีส์ (Franchise Fees)
3.2 รอยัลตี้ฟีส์ (Royalty Fees)
3.3 แอนนวลฟี (Annual Fee)
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ จึงควรประกอบด้วยล
- เลือกประเภทธุรกิจที่ดีมีอนาคต
- เลือกสินค้าและบริการที่มีจุดเด่นต่างกับผู้อื่น
- เลือกทำเลที่ตั้ง
- ความตั้งใจจริงในการทำงาน
- เงินทุนหมุนเวียน
- การร่วมลงทุน
- การร่วมถือหุ้น
- การให้สัมปทาน
- การให้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายสินค้า
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำแฟรนไชส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้ผู้ให้สิทธิ (บริษัทแม่) และผู้รับสิทธิ (สาขา) ได้เข้าใจถึงการทำธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานและป้องกันความผิดพลาด ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น
- เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ
- ต้าทุนการตกแต่งร้าน
- ข้อตกลงหรือสัญญา
- ทุนดำเนินงาน
- เงื่อนไขการจ่ายเงิน
- พื้นที่ประกอบการ
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์
- สิทธิเกี่ยวกับการถ่ายทอดระบบงาน กรรมวิธีการผลิตต่าง ๆ โดยจะได้รับคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ได้รับสิทธิและความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ประโยชน์จากการจดทะเบียนการค้า ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า ความลับเกี่ยวกับกรรมวิธี และสูตรการผลิตต่าง ๆ ทางการค้า การขอเป็นสถานประกอบการทางด้านการศึกษา แฟรนไชซอร์จะเป็นผู้ขอให้กับแฟรนไชซี่ ซึ่งสะดวกกว่าการเข้าไปขอเปิดโรงเรียนด้วยตัวเอง
- "แฟรนไชซี่" จะได้รับบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากแฟรนไชซอร์ตัวจริงเท่านั้น ที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นในไทยเพราะคนที่ไม่เคยทำธุรกิจมองว่า "แฟรนไชส์" ง่าย สะดวก และมีสูตรสำเร็จ แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเป็นที่นิยมในไทยเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
- ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ที่ดีและเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความชัดเจน เนื่องจากการสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ไม่ได้สร้างโดยใช้เวลาแค่สองสามเดือน ดังนั้นถ้าแฟรนไชซอร์ที่มีอายุการเปิดหรือประสบการณ์น้อย หมายความว่าชื่อเสียงหรือแบรนด์ของเขายังไม่แข็งแรงพอต้องระวัง
- สะดวกในการจัดอุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลืองได้ง่าย และได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากร้านแฟรนไชส์ทุกร้านจะต้องมีการตกแต่งในคอนเซ็ปท์เดียวกัน แฟรนไชซอร์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองแบบไหน ซึ่งแฟรนไชซอร์สามารถซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองให้กับแฟรนไชซี่ได้ในราคาที่ถูกกว่าการที่แฟรนไชซี่จะ ซื้อเพื่อไปเปิดสาขาของตัวเอง
- ได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด โดยแฟรนไชซอร์ที่ดีจะต้องทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแบรนด์ และรักษาแบรนด์ พร้อมทั้งต้องช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายให้กับแฟรนไชซี่ด้วย เพราะฉะนั้นหากแฟรนไชซอร์ที่มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งการทำ มาร์เก็ตติ้งฟรี และแอดเวอร์ไทซิ่งฟรี ระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นระบบการดำเนินการที่ถูกกว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจ ใหม่ด้วยตัวเอง
- การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งจำนวนเงินที่จะลงทุนเนื่องจากแฟรนไชซอร์จะต้องมีการกำหนดจำนวนที่แน่นอน ให้กับแฟรนไชซี่แล้ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลัก ๆ เนื่องจากเป็นระบบที่มีเทคนิค ระบบการทำงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่นอนอยู่แล้วรวมทั้งยังมีเรื่องของชื่อเสียงที่ ย่อมดีและเป็นที่ได้รับของลูกค้าอยู่แล้ว
ข้อเสียเปรียบของแฟรนไชส์
- ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจาก แฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้น
- ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆเรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่าง ๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ
- ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการ ประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์
ประโยชน์ของแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ร่วมกันของบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดความรู้ ความชำนาญ คือ แฟรนไชซี และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ คือ ผู้ขายสิทธิหรือผู้ให้สิทธิ หากผู้ขายสิทธิไม่สามารถสร้างให้ผู้รับสิทธิประสบความสำเร็จได้ ก็เป็นการยากที่ผู้ให้สิทธิจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ในทางตรงข้ามหากผู้รับสิทธิประสบความล้มเหลวก็จะส่งผลกระทบถึงผู้ให้สิทธิได้เช่นกัน
- การอาศัยชื่อ/ตราผลิตภัณฑ์
- การอาศัยความเชี่ยวชาญทางการตลาด
- การฝึกอบรมและสนับสนุนด้านการจัดการ
- คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
- ผลิตภัณฑ์และรูปแบบทางธุรกิจได้รับการพิสูจน์แล้ว
- การสนับสนุนทางการเงิน
- การคุ้มครองอาณาเขตดำเนินการ
ค่าตอบแทนในการทำแฟรนไชส์
ค่ารอยัลตี้ฟีส์ (Royalty Fees) คือ ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรืออาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า การคิดค่ารอยัลตี้ฟีส์ที่ดีที่สุดคือให้คิดราคาตลาดในปัจจุบัน และมีการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ใหม่ขึ้นเรียกว่า “Business Format Franchising” ซึ่งจะให้สิทธิในการใช้ชื่อตราสินค้า และ ให้ระบบการดำเนินงานทั้งระบบ ตั้งแต่ป้ายชื่อร้าน รูปแบบการแต่งร้าน กรรมวิธีประกอบอาหาร ผู้รับสิทธิจะต้องทำแนวความคิดแฟรนไชส์ ทั้งระบบโดยเฉพาะทำให้แฟรนไชส์ประเภทอาหาร (Fast Food) ประสบความสำเร็จมาก โดยผู้ให้สิทธิจะใส่ใจและสนับสนุนผู้รับสิทธิ ตลอดระยะเวลาของสัญญา เพื่อให้ผู้รับสิทธิประสบความสำเร็จ จากแนวความคิดนี้ทำให้ผู้ให้สิทธิมีรายได้จากผู้รับสิทธิหลายแนวทาง คือ
- ค่าสิทธิแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า
- ค่าสิทธิระยะยาว
- ค่าส่งเสริมการตลาด
- ค่าขายสินค้า และบริการต่าง ๆ แก่แฟรนไชส์
วิธีการคิดค่ารอยัลตี้ฟีส์ (Royalty Fees)
หลักในการคิดค่ารอยัลตี้ฟีส์ (Royalty Fees) เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ซึ่งผู้ให้สิทธิอาจหาแนวทางอื่นก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงความสำเร็จของผู้ให้สิทธิไม่ได้วัดจาก การหารายได้ หรือทำกำไรจากผู้รับสิทธิต่างหาก สำหรับวิธีการและสูตรที่นำเสนอนี้ไม่ได้เป็นหลักตายตัวในการคำนวณ แต่เป็นเพียงแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ให้สิทธิทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
การเลือกธุรกิจแฟรนไชส์
- ศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนว่าบริษัทประกอบธุรกิจประเภทใด ใคร เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ ท้องที่ที่เราจะเปิดร้านนั้นธุรกิจนี้อิ่มตัวหรือยัง และธุรกิจนี้เหมาะสมกับ "เรา" หรือไม่
- บริษัทมีการขยายตัวและการบริหารงานอย่างไร ก่อตั้งมานานแค่ไหน สินค้ามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ ผลงานและการเงินของบริษัทเป็นอย่างไร มีระบบการบริหารงานและเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจอย่างไร ทีมผู้บริหารเก่งและมีประสบการณ์แค่ไหน
- สมาชิกในเครือแฟรนไชส์มีความก้าวหน้าอย่างไร ควรรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในเครือแฟรนไชส์หลาย ๆ ราย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินธุรกิจและการตัดสินใจของตนเอง
- ความช่วยเหลือที่ได้รับจากบริษัทโดยเฉพาะในด้านบริหารและการดำเนินกิจการ ตลอดจนการชี้นำและเป็นที่ปรึกษาของสมาชิกใหม่ รวมถึงการช่วยสมาชิกในการขยายกิจการ
- ค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรียกเก็บจากแฟรนไชซี ระหว่างการเข้าร่วมแฟรนไชส์สมเหตุสมผลหรือไม่
- เนื้อหาของสัญญาและเงื่อนไขในการร่วมมือกัน ผู้ที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ควรทำความเข้าใจต่อเงื่อนไขที่บริษัทแม่เสนอมา โดยศึกษาเนื้อหาของสัญญาว่ามีอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ชัดเจนทุกข้อ ซึ่งรายละเอียดแห่งความร่วมมือทุกประการ ควรระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในหนังสือสัญญา
การเริ่มต้นธุรกิจการค้าระบบสาขาแฟรนไชส์
พื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจระบบสาขาในฐานะผู้ทรงสิทธิ คือ
- ต้องรู้ทฤษฎี รู้หลักการ
- การเตรียมการเป็นแฟรนไชซอร์
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวส่วนตัว
- การคัดเลือกแฟรนไชซี
- การเปิดร้านพิจารณาเรื่องทำเลและการเปิดตัว
- การสนับสนุนและประเมินผล
- เป้าหมายของความสำเร็จ
องค์ประกอบในการเริ่มต้นธุรกิจมี 4 ประการ คือ
- ให้สิทธิชื่อสถานประกอบการ ตรา ยี่ห้อต่อสินค้า และการให้บริการ
- ระบบการบริหาร ตรวจสอบ และการควบคุม
- เทคนิคการผลิต คุณภาพสินค้า และการบริการ
- ระยะสัญญาการซื้อขายสิทธิในอาณาเขตที่กำหนดด้วยหน่วย (Unit) พื้นที่ (Area) และ บริเวณ (Region)
ค่าใช้จ่ายในธุรกิจการค้าระบบสาขาประกอบด้วย
- ค่าสิทธิแรกเข้า และค่าสัมปทานรายปี
- ค่าบริการ/ค่าเริ่มต้นธุรกิจ
ทริกสร้างแฟรนไชส์ให้สำเร็จ ใน ธุรกิจแฟรนไชส์
ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะประกอบด้วยวิธีการหลาย ๆ ด้าน และไม่สามารถที่จะเน้นงานด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การสร้างองค์ประกอบรวมในการทำธุรกิจที่ดี แกนหลักของระบบงานเป็นตัวนำ สามารถจะสร้างพื้นฐานการบริหารที่ดีขึ้นได้ หลักการต่าง ๆ ในรายละเอียดในแต่ละส่วนสามารถที่จะยึดเป็นหลักการดำเนินการดังนี้
- สร้างระบบการบริหารงานหลายแบบ ในการวางระบบงานสาขาหรืออาจจะเป็นสาขาของบริษัทเองโดยตรง หรือระบบ franchise และรวมถึงร่วมลงทุน joint venture ก็ตามควรจะมีวิธีการบริหารหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดการขยายงานในแบบเดียวเกินไป เพราะในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน การวางงานในหลายรูปแบบจะได้ช่วยนำข้อดี ข้อเสียมาปรับปรุงระบบโดยรวมทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น
- สร้างตัวอย่างสาขาให้เด่น ควรมีสาขาตัวอย่างที่ดี พร้อมให้การบริหารงานทั้งระบบ และมีความเด่นด้านการตลาดเพื่อเป็นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด
- เน้นระบบ MIS ให้รัดกุม วางทีมงานรับผิดชอบเฉพาะและพัฒนาข้อมูลการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง
- สร้างระบบการอบรมให้เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรและควบคุมมาตรฐานของธุรกิจได้ในระยะยาว
- คัดเลือกแฟรนไชซีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้จริง ไม่เน้นในการระดมทุนแต่สนับสนุนบุคคลที่จะขยายสาขาที่รักงานที่จะลงทุนจริงจัง
- การจัดการอุปกรณ์ในการทำงาน ต้องให้ได้มาตรฐานและมีการบำรุงรักษาตลอด
- การวางองค์กรการบริหารให้สามารถมีตำแหน่งที่เติบโตได้ในองค์กร และรองรับกับงานที่ขยายตัวรวดเร็วได้ดี
- การวางแผนงานโฆษณาการประชาสัมพันธ์ จำเป็นต้องลงรายละเอียดในแผนงานอย่างชัดเจน
- สร้างมาตรฐานการวัดคุณภาพของงานทุกขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและการปฏิบัติ
- ลิขสิทธิ์ จดลิขสิทธิ์ในทุก ๆ ด้านให้ครอบคลุมมากที่สุด
- สำรวจกลุ่มลูกค้าประชากร การขยายสาขาจะต้องมีการสำรวจกลุ่มลูกค้าหรือประชากร ทั้งในส่วนพฤติกรรมการจับจ่าย เส้นทางคมนาคม พื้นที่รอบข้างอย่างละเอียดเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน
- ทีมงาน จัดทีมงานให้เพียงพอต่อความรับผิดชอบงานสาขาและร้านค้า franchise เพื่อสร้างความสะดวกในการทำธุรกิจจริง ๆ ให้แก่ผู้ลงทุน
- เชื่อมั่นในสินค้า บริการ และระบบงาน ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่นและไม่ควรเปลี่ยนแปลงระบบงานต่าง ๆ ง่ายเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความสับสนในการบริหารสาขาได้
- สร้างทีมงานเพื่อพัฒนาสินค้า บริการ มีการกำหนดขอบเขตงานให้เกิดความแตกต่าง และสนองความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
- เงินทุนสำรอง หาเงินลงทุนสำรองในกรณีฉุกเฉิน การลงทุนเพิ่มการขยายงาน การใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เช่น กรณีกฎหมาย ภาษี ฯลฯ
- การควบคุมระบบงาน การวางงานระบบส่วนบัญชี การเงิน จัดซื้อบุคคล ต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพราะหน่วยงานเหล่านี้ จะเป็นตัวเสริมธุรกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องได้