สินเชื่อส่วนบุคคล

การบริหารการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

ดูจากความสามารถในการชำระหนี้จากรายอื่น ในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อนั้น ธุรกิจไม่เพียงแต่ต้องประเมินจากลูกค้า เพื่อตัดสินใจว่าควรให้หรือไม่ ควรให้สินเชื่อเท่านั้น แต่ธุรกิจยังต้องประเมินลูกค้า เพื่อกำหนดวงเงินสินเชื่อ เพื่อที่จะให้แก่ลูกค้าอีกด้วย และกำหนดวงเงินสินเชื่อ เป็นงานสำคัญ ที่ผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ และจัดทำขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งนี้เพราะหากธุรกิจ ไม่กำหนด วงเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้าแต่ละรายแล้ว ลูกค้าที่ได้รับอนุมัติให้สินเชื่อรายใดรายหนึ่งอาจทำการซื้อเชื่อมาก เกินความจำเป็น หรือกู้เงินเกินความสามารถในการชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการตัดโอกาสลูกค้าที่ต้องการให้สินเชื่อรายอื่นๆ ที่มาทีหลังเนื่องจากธุรกิจมีทรัพยากรอันจำกัด จึงกล่าวได้ว่าการให้สินเชื่อโดยไม่จำกัดวงเงินสินเชื่อ ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงแก่ผู้ให้สินเชื่อ
วงเงินสินเชื่อ ซึ่งหมายถึง จำนวนสูงสุดของหนี้สินที่ธุรกิจยอมให้แก่ลูกค้าอันเกิดจากการใช้สินเชื่อ ในรูปแบบของสินค้า บริการ หรือเงินสด
วัตถุประสงค์ของการกำหนดวงเงินสินเชื่อของธุรกิจมีดังนี้คือ

1.เป็นแนวทางในการบริหารและควบคุมสินเชื่อของผู้บริหาร
2.เป็นแนวทางในการกำหนดความเสี่ยง
3.เป็นแนวทางในการส่งเสริมสินเชื่อแก่ธุรกิจ

ลักษณะวงเงินสินเชื่อ

1. การกำหนดตามขนาดของใบสั่งซื้อ เป็นการกำหนดวงเงินสินเชื่อที่รวมยอดขายทั้งหมด หรือกำหนดเป็นจำนวนวงเงินรวม ของใบสั่งซื้อทั้งหมด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การกำหนดวงเงินสินเชื่อโดยวิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับองค์การที่มีการกระจายอำนาจในการให้สินเชื่อ วิธีนี้จะช่วยให้การดำเนินการตามใบสั่งซื้อทำได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์และตรวจสอบเครดิตของลูกค้า
2. การกำหนดยอดคงเหลือ เป็นการกำหนดวงเงินสินเชื่อของลูกค้าโดยการควบคุมยอดรวมบัญชีลูกหนี้มิให้สูงกว่ากำหนด การสั่งซื้อหลังจากยอดคงเหลือบัญชีลูกหนี้ครบวงเงินแล้วจะได้รับอนุมัติแต่ยังไม่มีการจัดส่งจนกว่าลูกค้าจะมีการชำระหนี้เดิมที่ ทำให้ยอดคงเหลือลูกหนี้ตามบัญชีไม่เกินวงเงินสินเชื่อที่กำหนด โดยวิธีนี้จะช่วยป้องกันมิให้ลูกค้าสั่งซื้อมากเกินความจำเป็นและเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ เช่น บริษัท ชลลดา จำกัด กำหนดให้ นายเถลิงศักดิ์ ซึ่งเป็นพ่อค้าส่งรายย่อยสั่งซื้อได้ครั้งละ 5,000 บาท แต่ทั้งนี้ยอดบัญชีคงเหลือลูกหนี้จะต้องไม่เกิน 50,000 บาท หมายความว่า นายเถลิงศักดิ์ สามารถสั่งซื้อได้ทุกครั้งที่ต้องการ การสั่งซื้อแต่ละครั้งอาจมีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 บาทก็ได้ แต่ยอดบัญชีคงเหลือของลูกหนี้ก่อนสั่งซื้อกับการสั่งซื้อใหม่ไม่ควรเกิน 50,000 บาท ถ้ายอดรวมลูกหนี้สูงกว่า 50,000 บาท นายเถลิงศักดิ์ ต้องชำระหนี้เดิมบางส่วนก่อนจึงจะส่งสินค้าให้ตามใบสั่งซื้อใหม่ ยอดคงเหลือในบัญชีลูกหนี้จึงถูกใช้เป็นเกณฑ์การกำหนดวงเงินสินเชื่อ
3. การกำหนดเป็นช่วงเฉพาะ เป็นการกำหนดวงเงินสินเชื่อที่ระบุเวลาเฉพาะช่วงหนึ่งๆ ที่ยอมให้สินเชื่อ เช่น กำหนดวงเงินสินเชื่อ 10,000 บาทต่อเดือน หมายความว่า การสั่งซื้อในแต่ละเดือนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท โดยพนักงานขายมีสิทธิอนุมัติใบสั่งซื้อ การสั่งซื้อที่เกินไปกว่านั้นจะต้องได้รับเป็นรายกรณีจากผู้บริหารระดับสูงผู้ขายจะไม่สนใจยอดรวมลูกหนี้ แต่จะให้ความสนใจและตรวจสอบเฉพาะยอดซื้อในแต่ละเดือนมิให้เกินกว่าที่กำหนดในวงเงิน วิธีการนี้ให้ประโยชน์กับองค์การธุรกิจที่อำนาจอนุมัติสินเชื่ออยู่ที่ส่วนกลางซึ่งต้องการควบคุมการสั่งซื้อ ใบสั่งซื้อจึงต้องผ่านกระบวนการตามขั้นตอนเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลก่อนการอนุมัติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดวงเงินสินเชื่อ

การกำหนดวงเงินสินเชื่อ หมายถึง จำนวนวงเงินสูงสุดที่ผู้ขายยอมให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ในช่วงระยะเวลาที่จำกัด ปัจจัยที่ผู้ขายควรพิจารณา อันได้แก่ " C's" ต่างๆคือ Character Capacity Capital Collateral และ Condition ซึ่งหมายถึง อุปนิสัย ความสามารถในการชำระหนี้ เงินทุน หลักประกัน และภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง แต่ปัจจัยที่พิจารณาต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากด้านผู้ขอและผู้ให้สินเชื่อประกอบกัน เป็นปัจจัยที่ช่วยประเมินความสามารถ และความตั้งใจในการชำระหนี้ของลูกหนี้ขณะเดียวกันก็ประเมินความพร้อมของผู้ขายที่จะให้สินเชื่อและกำหนดวงเงิน มีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ขนาดธุรกิจของผู้ให้สินเชื่อ
2 . หลักของการกระจายความเสี่ยง
3. ประเภทธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อ
4. ระยะเวลาของสินเชื่อ
5. สภาวะทางธุรกิจ
6. นโยบายการจำหน่ายสินค้าของเจ้าหนี้
7. วัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อ
8. ความสามารถในการบริหาร
9. คู่แข่งขัน
10. ยอดสินเชื่อรวม หมายถึงยอดหนี้สินรวมในธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อนั่นเอง ผู้ให้สินเชื่อจะใช้รายงานทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสัดส่วนของหนี้สินเปรียบเทียบกับเงินทุน

ประโยชน์และข้อจำกัดของการกำหนดวงเงินสินเชื่อ

1. เป็นเครื่องมือควบคุมการให้สินเชื่อ
2. เป็นการส่งเสริมการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้
4. ลดความขัดแย้งระหว่างลูกค้ากับฝ่ายขาย
5. เป็นการควบคุมบัญชีลูกหนี้ของธุรกิจโดยส่วนรวม
6. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของฝ่ายสินเชื่อ
7. ช่วยควบคุมการให้สินเชื่อของลูกค้า

ข้อจำกัดของการกำหนดวงเงินสินเชื่อ

1. ความต้องการข้อมูลที่เป็นจริงและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่เสมอ และเหตุการณ์ที่มีแต่ค่าใช้จ่ายตามมา ซึ่งบางครั้งค่าใช้จ่ายที่เสียไปเพื่อแลกกับข้อมูล ก็มิได้ช่วยให้คุมค่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายวงเงินเพิ่ม
2. ความต้องการปรับปรุงวงเงินสินเชื่อ ลูกค้าส่วนใหญ่มีความต้องการขยายวงเงินสินเชื่ออยู่เสมอ การใช้สินเชื่อแต่ละครั้งจึงพยายามใช้เกินวงเงินที่กำหนด วิธีการดังกล่าวทำให้ผู้ให้สินเชื่อต้องพิจารณาการให้สินเชื่อใหม่เสมอเพื่อตรวจสอบว่าควรให้หรือไม่ ทั้งนี้เพราะผู้ขายต้องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า
3. การสูญเสียความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อกับลูกค้า ธุรกิจมักมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติสินเชื่อให้บุคคลหลายระดับตามจำนวนวงเงินสินเชื่อ ดังนั้นจึงอาจมีลูกค้าบางรายแสดงความไม่พอใจที่ถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อที่เกินกว่าวงเงินที่กำหนด โดยผู้มีอำนาจระดับต่ำกว่าผู้จัดการทีปฏิบัติงานตามหน้าที่ โดยลูกค้าถือว่าตนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ หรือในบางกรณีลูกค้าอาจโกรธที่การขอสินเชื่อผ่านการอนุมัติจาก ผู้มีอำนาจระดับต่ำซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดเผยฐานะการเงินของตนเอง ทำให้รู้สึกว่าถูกประจานทำให้ต้องอับอาย และคิดว่าผู้จัดการไม่ช่วยปกป้องให้ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อต้องสูญเสียความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

ประเภทของวงเงินสินเชื่อ

1. วงเงินสินเชื่อเกี่ยวกับสินเชื่อทางการค้า
สินเชื่อทางการค้าได้มาจากองค์การธุรกิจหรืออาจได้มาจากสถาบันการเงิน การกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าของสถาบันการเงิน และหลักวิธีการกำหนดวงเงินเกี่ยวกับสอนเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค
2. วงเงินสินเชื่อที่กำหนดจากประสบการณ์
ในการกำหนดวงเงินสินเชื่อนั้น ผู้บริหารฝ่ายสินเชื่อหรือผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อมีวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถเรียนรู้และใช้เป็นแนวทาง ในการกำหนดวงเงินได้หลายวิธี คืออาจเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้การทดลองที่เรียกว่า วิธีลองผิดลองถูก (Trial and error ) หรืออาจใช้วิธีการที่ผู้อื่นใช้เป็นแนวทางที่เรียกว่า ทำตามผู้นำ การกำหนดวงเงินที่ใช้ประสบการณ์เป็นหลักสามารถแยกออกเป็นวิธีย่อย ๆ ได้ดังนี้ คือ
1. กำหนดวงเงินโดยใช้ผู้ขายรายอื่นเป็นเกณฑ์
2. การกำหนดวงเงินที่เริ่มจากจำนวนน้อย
3. การกำหนดวงเงินเป็นช่วงเวลา
4. การให้สินเชื่อโดยไม่มีขีดจำกัด
3. วงเงินสินเชื่อที่กำหนดจากความต้องการของลูกค้า

แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อ

1.กำหนดวงเงินโดยพนักงานขายเป็นผู้ประเมินความต้องการของลูกค้า โดยวิธีนี้ถือว่าพนักงานขายเป็นผู้มีประสบการณ์ในการขาย จากการติดต่อกับลูกค้าจำนวนมากทำให้เขาสามารถ วิเคราะห์และประเมินได้ในครั้งแรกของการสั่งซื้อว่าลูกค้ามีความต้องการสินค้ามากน้อยเพียงใด ดังนั้นมูลค่าคำสั่งซื้อที่พนักงานขายเป็นผู้จัดทำขึ้นจึงเปรียบเสมือนวงเงินสินเชื่อที่กำหนดให้แก่ลูกค้านั่นเอง
2.กำหนดวงเงินตามสถานการณ์ สินค้าบางชนิดโดยเฉพาะสินค้าที่เป็นของเสียง่าย เช่น ขนมปัง นมสด ผลไม้ ผู้ขายจะมีวิธีการกำหนดวงเงินสินเชื่อที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไป โดยทั่วไปจะกำหนดวงเงินในรูปของการยอมให้สินเชื่อเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ที่ไม่ระบุมูลค่าสินค้าตายตัวเหตุผลของการกระทำดังกล่าวก็เพื่อเปิดโอกาสยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินสินเชื่อนั่นเอง เพราะความต้องการสินค้าเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงมากบางช่วงฤดูกาล เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์
3. กำหนดวงเงินโดยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์และเหตุผล (Pseudoscientific ) เป็นการกำหนดวงเงินสินเชื่อแก่ลูกหนี้อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผล ดังนั้นถ้าผู้ให้สินเชื่อสามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับลูกค้าได้ก็หมายถึงการกำหนดวงเงินสินเชื่อทำได้ถูกต้องด้วย และโอกาสของความผิดพลาดในการบริหารสินเชื่อก็น้อยลงตามกัน วงเงินสินเชื่อทีกำหนดโดยวิธีนี้คำนวณโดยยึดหลักเกณฑ์ในความต้องการสินค้าเป็นหลัก จึงคิดว่าจำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อมาขายก็คือจำนวนขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ดังนั้นหลักในการคำนวณจึงเน้นการประมาณยอดขายของลูกหนี้เพื่อใช้เป็นฐาน ในการคำนวณต้นทุนสินค้าโดยเฉลี่ยที่ลูกหนี้สั่งซื้อจากผู้ขายแต่ละราย ซึ่งหมายถึงวงเงินสินเชื่อที่ควรกำหนดแก่ลูกหนี้นั่นเอง
4. คำนวณหาความถี่ในการสั่งซื้อของลูก

ความถี่ในการสั่งซื้อ = จำนวนวันในหนึ่งปี / ระยะเลาในการชำระหนี้โดยเฉลี่ย

ความถี่ในการสั่งซื้อ หมายถึง อัตราการหมุนในการชำระหนี้ของลูกหนี้หรือัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้นั่นเอง

5. คำนวณหามูลค่าการสั่งซื้อของลูกค้าต่อครั้ง คำนวณได้ดังนี้

มูลค่าการขายเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละครั้ง = ยอดสินค้าเฉพาะอย่างตามความสามารถในการขายของเจ้าหนี้แต่ละราย หาร ด้วย จำนวนครั้งของการสั่งซื้อ

6. ปรับมูลค่าการสั่งซื้อต่อครั้งให้เป็นต้นทุนขาย
ดังนั้นมูลค่าการสั่งซื้อต่อครั้งของลูกหนี้จากเจ้าหนี้ที่แท้จริงจึงควรปรับด้วยการหักส่วนของกำไรออกจากยอดขาย มูลค่าที่เหลือจึงถือได้ว่าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ลูกหนี้ซื้อจากเจ้าหนี้ หรือเป็นมูลค่าสินเชื่อที่เจ้าหนี้ขายให้แก่ลูกหนี้ในแต่ละครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นวงเงินสินเชื่อที่ถูกคำนวณเพื่อกำหนดให้แก่ลูกหนี้นั่นเอง
สรุปสูตรเพื่อคำนวณวงเงินสินเชื่อได้ดังนี้

วงเงินสินเชื่อ = ยอดขาย
ยอดอัตราการหมุนในการชำระหนี้ของลูกหนี้

การคำนวณวงเงินสินเชื่อโดยการใช้สูตร

4. วงเงินสินเชื่อที่กำหนดตามความสามารถในการชำระหนี้
การกำหนดวงเงินตามความสามารถในการชำระหนี้ (debt-paying power) นั้นบางทีเรียกว่า การกำหนดวงเงินตามข้อเท็จจริง (facts) ทั้งนี้เพราะวงเงินจะถูกกำหนดโดยใช้ข้อมูลทางการเงินของลูกหนี้เป็นฐานในการกำหนดอันได้แก่ มูลค่าสุทธิ (net worth), เงินทุน (capital),ทุนหมุนเวียนสุทธิ (net working capital)

แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อ

1.การกำหนดวงเงินสินเชื่อโดยใช้มูลค่าสุทธิเป็นฐานในการคำนวณ กระบวนการในการกำหนดวงเงินมี 3 ขั้นตอน คือ

  • คำนวณหามูลค่าสุทธิของธุรกิจลูกหนี้ ซึ่งหมายถึง ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์ทั้งหมดและหนี้สินทั้งหมดในธุรกิจลูกหนี้
  • หาจำนวนรวมเจ้าหนี้ผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกันแก่ลูกหนี้
  • หาค่าเฉลี่ยมูลค่าสุทธิตามจำนวนรวมเจ้าหนี้ผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งค่าดังกล่าวก็คือ วงเงินสินเชื่อที่จะกำหนดให้แก่ลูกหนี้นั่นเอง

2. การกำหนดวงเงินสินเชื่อโดยใช้ทุนหมุนเวียนสุทธิเป็นฐานในการคำนวณ คำนวณจากมูลค่าสุทธิเป็นทุนหมุนเวียนสุทธิ ซึ่งทุนหมุนเวียนสุทธิหมายถึง ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ค่าเฉลี่ยของทุนหมุนเวียนสุทธิ คือ ทุนหมุนเวียนสุทธิหารด้วยจำนวนรวมเจ้าหนี้ที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันให้แก่ลูกหนี้และค่าเฉลี่ยดังกล่าวก็คือความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ผลการคำนวณที่ได้รับจึงเป็นการแสดงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน = เงินสด + ตั๋วเงินรับ + ลูกหนี้ + สินค้า
หนี้สินหมุนเวียน = เจ้าหนี้ + ตั๋วเงินจ่าย
ทุนหมุนเวียนสุทธิเฉลี่ย = ทุนหมุนเวียนสุทธิ
จำนวนรวมเจ้าหนี้


กระบวนการในการคำนวณหาวงเงินสินเชื่อ มีดังต่อไปนี้

1. คำนวณยอดขายรวมตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งของลูกหนี้
2. คำนวณหาต้นทุนขายของลูกหนี้
3. คำนวณหาหนี้ระยะสั้นของลูกหนี้ที่จะต้องชำระเป็นลำดับแรกรวมตลอดระยะเวลา 1 ปี
4. คำนวณหาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แก่เจ้าหนี้เฉพาะรายใหม่ที่ต้องการกำหนด วงเงินสินเชื่อ
5. คำนวณหาอัตราหมุนในการชำระหนี้ของลูกหนี้
6. คำนวณวงเงินสินเชื่อกำหนดเป็นรายครั้งของการสั่งซื้อ
จากกระบานการที่กล่าวมาแล้วทั้ง 6 ขั้นตอน สามารถสรุปการคำนวณวงเงินสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ได้ดังนี้

เงินสินเชื่อที่กำหนดเพื่อการค้าของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินมีวิธีการให้สินเชื่อแก่องค์กรธุรกิจ 2 รูปแบบคือ การให้กู้ระยะยาวและการให้กู้ระยะสั้น การให้กู้ยืมระยะยาวเป็นการให้สินเชื่อ เพื่อการจัดหาทรัพย์สินที่เป็นทุน ได้แก่ อาคาร โรงงาน เครื่องจักร ส่วนการให้กู้ยืมระยะสั้นนั้นก็เพื่อที่จะให้องค์การธุรกิจนำไปใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัตถุดิบ สะสมสินค้าไว้เพื่อจำหน่าย หรือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน เช่น จ่ายค่าแรงงาน จ่ายค่าเช่าสถานที่ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น สินเชื่อเพื่อการค้าจากสถาบันการเงินจะเป็นการให้สินเชื่อหรือการให้กู้ยืมเงินสด การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมีลักษณะเช่นเดียวกับ การให้สินเชื่อขององค์การธุรกิจ คือ จะต้องวิเคราะห์สินเชื่อโดยใช้ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อตัดสินใจว่าจะให้ธุรกิจกู้ยืมหรือไม่ สถาบันการเงินมีการจัดประเภทของสินเชื่อไว้แตกต่างกันหลายประเภท เช่น สินเชื่ออุตสาหกรรม สินเชื่อพาณิชยกรรม และสินเชื่อแต่ละประเภทก็ยังแบ่งเป็นสินเชื่อประเภทย่อยๆ ออกไปอีก


วงเงินสินเชื่อเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการบริโภค

สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค หมายถึง สินเชื่อที่ให้แก่ผู้บริโภคโดยการขายสินค้า บริการหรืออาจให้ในลักษณะของการกู้ยืมเงินสดเพื่อนำไปอุปโภคบริโภค สินเชื่อที่ให้โดยการขายสินค้าสามารถให้ในรูปของการเปิดบัญชี การเปิดบัญชีแบบต่อได้ การขายผ่อนส่ง ตลอดจนการใช้บัตร
แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อ
1. กำหนดวงเงินตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการหรือตามที่ลูกค้าขอ
2. การกำหนดวงเงินสินเชื่อตามระดับความเสี่ยง
3. กำหนดวงเงินสินเชื่อตามฐานะการจ้างงาน
4. กำหนดวงเงินสินเชื่อจากรายงานของสำนักงานสินเชื่อ
5. กำหนดวงเงินสินเชื่อเป็นระยะเวลา
6. กำหนดวงเงินสินเชื่อจากเงินเดือนและระยะเวลาการเปิดบัญชีสินเชื่อ

วงเงินสินเชื่อที่กำหนดสำหรับการขายผ่อนส่ง

วงเงินสินเชื่อสำหรับการขายผ่อนส่งนั้น โดยทั่วไปจะมีจำนวนสูงกว่าวงเงินสินเชื่อแบบเปิดบัญชี เพราะสินค้าที่ขายผ่อนส่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า ประเภทคงทน มีมูลค่าสูง อายุการใช้งานยาวนานกว่าสินค้าอื่นที่ใช้เพียงระยะสั้นหรือใช้ประจำวัน สินค้าที่ขายผ่อนส่งจึงเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงมีมูลค่าตาม ระยะเวลาที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้ได้

แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อมีดังนี้

1.การวางเงินมัดจำ ผู้ขายควรกำหนดวงเงินให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำ จำนวนที่สูงพอที่ จะให้เขาเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ซื้อ
2.การควบคุมยอดหนี้สินค้างชำระ ในการขายผ่อนส่งนั้นผู้ขายจะต้องพยายามตรวจสอบมิให้ผู้ซื้อมีภาระผูกพัน การใช้จ่ายที่เกินความสามารถ ในการชำระหนี้จากการซื้อครั้งใหม่ได้
3. การกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ผู้ขายควรกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นก่อนที่สินค้าจะล้าสมัย

วงเงินสินเชื่อที่กำหนดเพื่อการอุปโภคบริโภคของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญและรู้จักกันดีโดยทั่วไปได้แก่ธนาคารพาณิชย์นั่นเอง การกำหนดวงเงินสินเชื่อที่ให้ในรูปของเงินสด จึงเน้นการกำหนดวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่บุคคลเพื่อช่วยเหลือให้มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นเป็นหลัก สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคแบ่งออกได้เป็น สินเชื่อระยะสั้นและสินเชื่อระยะยาว ดังนั้น การกำหนดวงเงินสินเชื่อจึงแบ่งตามชนิดของสินเชื่อได้เป็น วงเงินสินเชื่อระยะสั้นและวงเงินสินเชื่อระยะยาว

แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อระยะสั้น

สินเชื่อระยะสั้น หมายถึง สินเชื่อที่ผู้กู้ควรชำระคืนแก่เจ้าหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปี วงเงินสินเชื่อจะมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 อย่างคือ วัตถุประสงค์รายได้ ความสามารถในการชำระหนี้และหลักประกัน การกู้ยืมระยะสั้นผู้กู้มักจะนำไปใช้ในรายการที่เกิดจากความขาดแคลนชั่วขณะ และจำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน เช่น ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมรถ จ่ายตั๋วเครื่องบินให้บุตรหลานไปต่างประเทศ หรือจ่ายค่าเล่าเรียน เป็นต้น ปัจจัยอื่นๆที่สถาบันการเงินพิจารณาเพิ่มเติมได้แก่ ประวัติบุคคล ความตั้งใจในการชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติในการกำหนดวงเงินสินเชื่อระยะยาว

สินเชื่อระยะยาว หมายถึง สินเชื่อที่ผู้กู้สามารถชำระคืนแก่เจ้าหนี้ให้เสร็จสิ้นได้ในระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปบุคคลจะใช้สินเชื่อระยะยาว เพื่อนำไปซื้อสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ อื่นๆ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้มีอายุการใช้งานนานและมีราคาแพง ปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาก็เช่นเดียว กับปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการกำหนดวงเงินสินเชื่อระยะสั้น ได้แก่

  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ
  • ความสามารถในการชำระหนี้
  • หลักประกัน

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคโดยการผ่อนส่ง ( Installment Accounts )

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคโดยการผ่อนส่ง นิยมใช้ในกิจการที่ขายสินค้าที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

ก.สินค้าที่มีมูลค่า ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่สะดวกในการจัดหาสินค้านั้นมาบริโภคด้วยวิธีการซื้อด้วยเงินสด ดังนั้นถ้าเสนอเงื่อนไขผ่อนส่ง ก็จะจูงใจผู้บริโภคได้มาก เช่น บ้าน รถยนต์
ข.สินค้าที่มีอายุการใช้งาน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าประเภทใช้แล้วหมดไป
ค.สินค้าอาจจะเป็นได้ทั้งสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพ

รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขผ่อนส่งประกอบด้วย

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักประกัน
2.เงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่อนชำระ
3.เงื่อนไขอื่น ๆ

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักประกัน การผ่อนส่งในการปฏิบัตินั้นมีทั้งทำสัญญาเป็นหนังสือและสัญญากันด้วยวาจาขึ้นอยู่กับ ระดับและขนาดของธุรกิจการค้านั้น
เช่าซื้อ คือ "สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้ให้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และสัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ"
ในการทำสัญญาเช่าซื้อ นิยมทำสัญญาค้ำประกันต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ หลักประกันที่นิยมใช้มักเป็นบุคคลค้ำประกัน โดยบุคลที่ค้ำประกันต้องมีลักษณะตรงตามที่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ขายกำหนด ได้แก่ บุคคลที่มีอาชีพเป็นหลักฐาน มีรายได้แน่นอน มีความประพฤติดีเป็นที่น่าเชื่อถือและมีหลักทรัพย์ของตนเอง พร้อมที่จะยอมรับผิดร่วมกับผู้เช่าในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในกรณีที่ผู้เช่าได้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าซื้อ

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่อนชำระ เงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่อนชำระจะกำหนดรายละเอียดในเรื่องเงินดาวน์ งวดเวลาผ่อนส่ง และเงินผ่อนรายงวด มีรายละเอียดดังนี้
1)เงื่อนไขเกี่ยวกับเงินดาวน์ (down payment) หรือเงินมัดจำ
2)งวดเวลาผ่อนส่ง
3)เงินผ่อนรายงวด การผ่อนส่งอาจจะทำได้หลายวิธี ได้แก่

กรณีที่ 1 ชำระเงินต้นเท่ากันทุกงวดโดยคิดดอกเบี้ยโดยยอดค้างชำระ ซึ่งทำให้เงินรวมผ่อนต่องวดไม่เท่ากัน
กรณีที่ 2 ชำระเงินรวมผ่อนต่องวดเท่ากันโดยคิดดอกเบี้ยจาดยอดค้าชำระ ซึ่งจะทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยแต่ละงวดไม่เท่ากัน
กรณีที่ 3 ชำระเงินต้นเท่ากันทุกงวด และดอกเบี้ยก็จะผ่อนเท่ากันทุกงวดเช่นกัน โดยคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงที่ ซึ่งทำให้เงินรวมผ่อนรายงวดก็จะเท่ากันทุกงวดด้วย

เงินต้นผ่อนต่องวด หมายถึง เงินต้นที่ผู้ใช้สินเชื่อจะต้องผ่อนชำระต่องวดคำนวณได้ดังนี้

เงินต้นผ่อนต่องวด = เงินต้นหลังหักเงินดาวน์ / จำนวนงวดที่ผ่อนขำระ

 

เงินรวมผ่อนต่องวด หมายถึง เงินต้นบวกดอกเบี้ยที่ผู้ใช้สินเชื่อจะต้องผ่อนต่องวด โดยดอกเบี้ยของเงื่อนไขกรณีที่ 3 คำนวณได้ดังนี้

ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งสิน = เงินต้นหลังหักเงินดาวน์ x อัตราดอกเบี้ย x ระยะเวลาผ่อนขำระ


3. เงื่อนไขอื่น ๆ เงื่อนไขอื่น ๆ ที่ต้องกำหนด ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การประกันภัย การชำนะหนี้เกินกำหนด การยึดทรัพย์สินคืน

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเพื่อการบริโภค ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน โรงรับจำนำ และสหกรณ์ โดยจะให้สินเชื่อในรูปเงินสด เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อนำเงินสดไปใช้ในการบริโภค การให้สินเชื่อของสถานบันการเงินดังกล่าวจะให้ในลักษณะของวงเงินกู้ (Term loan) โดยมีเงื่อนไขการให้สินเชื่อคล้ายกัน ยกเว้นโรงรับจำนำซึ่งลักษณะเงื่อนไขแตกต่างจากสถาบันการเงินรูปแบบอื่น นอกจากเงินกู้แล้วธนาคารพาณิชย์ยังให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคอีกลักษณะหนึ่งเรียกว่าบัตรเครดิตดังนั้นจะแยกอธิบายเงื่อนไขสินเชื่อ เพื่อการบริโภคของสถาบันการเงินออกเป็น เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคในลักษณะเงินกู้ และเงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคโดยใช้บัตรเครดิต

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคในลักษณะเงินกู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น

1. เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และสหกรณ์ มีเงื่อนไขเงินกู้คล้ายกัน ได้แก่
1.1 เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักประกัน
1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับวงเงินกู้และงวดเวลาผ่อนส่ง
1.3 เงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่อนชำระ
กรณีที่ 1 ชำระเงินต้นเท่ากันทุกงวดโดยดอกเบี้ยคิดจากยอดค้างชำระ ซึ่งทำให้เงินรวมผ่อนต่องวดไม่เท่ากัน
กรณีที่ 2 ชำระเงินรวมผ่อนต่องวดเท่ากันโดยคิดดอกเบี้ยจากค้างชำระ ซึ่งทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยแต่ละงวดไม่เท่ากัน
กรณีที่ 3 คือการชำระเงินต้นเท่ากันทุกงวด และดอกเบี้ยก็จะผ่อนชำระเท่ากันทุกงวดเช่นกัน โดยคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงที่ซึ่งทำให้เงินรวมผ่อนรายงวดก็จะเท่ากันทุกงวดด้วย
2. เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคของโรงรับจำนำ โรงรับจำนำเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินงานการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคในรูปของเงินสด โรงรับจำนำที่ดำเนินงานในปัจจุบันมีทั้งที่ดำเนินงานโดยรัฐและที่ดำเนินงานโดยเอกชน หน่วยงานของรัฐที่โรงรับจำนำสังกัดอยู่ ได้แก่ เทศบาลและกรมประชาสงเคราะห์ โดยโรงรับจำนำที่สังกัดเทศบาลใช้ชื่อว่า "สถานธนานุบาล" ส่วนโรงรับจำนำที่สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า "สถานธนานุเคราะห์" สำหรับเงื่อนไขการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคของโรงรับจำนำเอกชนและโรงรับจำนำของรัฐ มีเงื่อนไขบางอย่างเหมือนกันและมีเงื่อนไขบางอย่างต่างกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักฐานในการจำนำ ผู้ใช้สินเชื่อหรือผู้จำนำต้องนำทรัพย์ที่จะจำนำ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการมาด้วยในวันที่ทำการจำนำ มิฉะนั้นโรงรับจำนำไม่สามารถรับจำนำทรัพย์ดังกล่าวได้ สำหรับทรัพย์ที่นำมาจำนำนั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์รายการใดก็ได้ แต่ต้องมิใช้สังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
2.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ย สำหรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ย ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับ
1)จำนวนเงินต้น เงินจำนวนนี้เกี่ยวข้องกับมูลค่าของทรัพย์ที่นำมาจำนำ โดยผู้ใช้สินเชื่ออาจจะขอกู้จำนวนเงินเท่ากับหรือน้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์ที่โรงรับจำนำตีราคาให้ก็ได้ แต่จะขอกู้เกินกว่ามูลค่าทรัพย์ที่โรงรับจำนำตีราคาให้ใหม่ไม่ได้ นอกจากนี้โรงรับจำนำของรัฐจะรับจำนำได้ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับตั๋วจำนำ 1 ใบ ส่วนโรงรับจำนำเอกชนไม่มีข้อกำหนดนี้
2)อัตราดอกเบี้ย โรงรับจำนำเอกชนคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ไม่ว่าวงเงินจะเท่ากับเท่าไรก็ตาม
3)การนับระยะเวลาคำนวณดอกเบี้ย ระยะเวลาที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจะคิดเป็นรายเดือน ในกรณีที่ไม่ครบเดือนจะพิจารณาว่าเกินกว่า 15 วันหรือไม่ ถ้าเกินกว่า 15 วันนับเป็น 1 เดือน แต่ถ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 วันนับเป็นครึ่งเดือน ดังนั้นระยะเวลาที่คำนวณดอกเบี้ยจึงเป็นรายเดือนและรายครึ่งเดือนเท่านั้น วิธีการนับเดือนจะนับชนวัน ส่วนที่เหลือจะนับเป็นรายวัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วันจำนำ วันไถ่ถอน วิธีการนับระยะเวลา
1 พ.ย. 27 16 ม.ค. 28 1 พ.ย. 27 – 1 ม.ค. 28 เท่ากับ 2 เดือน
1 ม.ค. 28 16 ม.ค. 28 เท่ากับ 15 วัน ระยะเวลาคำนวณดอกเบี้ย เท่ากับ 2 เดือนครึ่ง
16 ธ.ค. 27 18 ม.ค. 28 16 ธ.ค. 27 – 16 ม.ค. 28 เท่ากับ 1 เดือน
16 ม.ค. 28 18 ม.ค. 28 เท่ากับ 2 วัน ระยะเวลาคำนวณดอกเบี้ย เท่ากับ 1 เดือน
4)วิธีการคำนวณดอกเบี้ยการคำนวณดอกเบี้ยจะทำโดยเอาเงินต้นคูณกับอัตราดอกเบี้ยคูณกับระยะเวลาดังนี้

ดอกเบี้ย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x ระยะเวลา

2.3 เงื่อนไขเกี่ยวกับการไถ่ถอน สำหรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการไถ่ถอนของโรงรับจำนำเอกชนและรัฐบาลเหมือนกันคือ ในการไถ่ถอนผู้จำนำต้องนำหลักฐานไปแสดงในวันที่ไถ่ถอนด้วย ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการและตั๋วจำนำ โดยต้องทำการไถ่ถอนภายใน 4 เดือนบวกอีก 30 วัน ถ้าเกินกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าทรัพย์ที่จำนำมีสภาพเป็นทรัพย์หลุดจำนำ กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับจำนำ การนับวันไถ่ถอนมีวิธีการเหมือนกับการนับระยะเวลาคำนวณดอกเบี้ย

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการบริโภคโดยใช้บัตรเครดิต

มีรายละเอียดต่อไปนี้
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักฐานในการขอใช้บัตรเครดิต ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน หลักฐานการเงิน เช่น ใบฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัญชีเงินฝากธนาคารไม่น้อยกว่า 2 เดือน ย้อนหลังถึงปัจจุบัน ฯลฯ หนังสือรับรองเงินเดือนจากสถานที่ทำงาน โดยมีผู้มีอำนาจของสถานที่ทำงานนั้น ๆ ลงนาม
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต มีดังนี้

1)บัตรเครดิตนี้สามารถใช้เบิกเงินสด ณ สำนักงานธนาคารสมาชิก หรือใช้แทนการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ ค่าที่พักโรงแรม ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และอื่น ๆ ได้ตามร้านค้าสถานที่ให้บริการหรือสำนักงานที่มีเครื่องหมายบัตรเครดิตของหน่วยงานนั้นติดตั้งอยู่ โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้ได้ในวงเงินที่กำหนดไว้ ผู้ถือบัตรจำต้องแสดงและมอบบัตรนั้นให้แก่ร้านค้าหรือสถานที่ที่ตนใช้บัตร เพื่อนำไปจัดทำหลักฐานแสดงการใช้บัตร กับทั้งจะต้องลงนามในเอกสารที่เป็นหลักฐานในการใช้บัตร และรับบัตรเครดิตคืนทันทีหลังจากจัดทำหลักฐานแสดงการใช้บัตรเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ถือบัตรจะต้องได้รับสำเนาเอกสารที่เป็นหลักฐานในการใช้บัตรทุกครั้งที่มีการบัตรเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานส่วนตัว
2)ผู้ถือบัตรเครดิตจะมอบหรือโอนให้ผู้อื่นใช้แทนไม่ได้เด็ดขาด ถ้าหากมีผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรนำบัตรไปใช้ไม่ว่าด้วนเหตุใดและไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยทุจริต ปลอมลายเซ็นหรือด้วยวิธีการใด ๆ ซึ่งทำให้เกิดการหลงเชื่อยอมรับบัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือยอมให้ถอนเงินไป เจ้าของบัตรนั้นยินยอมชดใช้เงินจำนวนนั้นคืนให้ผู้ออกบัตรจนครบถ้วน
3)ผู้ถือบัตรเครดิต จะต้องเก็บรักษาบัตรของตนมิให้สูญหายหรือตกอยู่ในกำมือผู้อื่นถ้าหากเกิดกรณีสูญหายผู้ถือบัตรจะต้องรับแจ้งผู้ออกบัตรทราบทันที เพื่อทางผู้ออกบัตรจะได้ยกเลิกบัตร และแจ้งการสูญหายของบัตรฉบับนั้นให้ทราบทั่วกัน แต่ผู้ถือบัตรฉบับนั้นจะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินที่ทางผู้ออกบัตรได้จ่ายไปตามการเรียกเก็บในระหว่างนั้น จนกว่าผู้ออกบัตรได้แจ้งให้ทราบทั่วกัน โดยผู้ถือบัตรยินยอมให้ผู้ออกบัตรหักบัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการระงับบัตรที่แจ้งหายนั้น
4)ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถนำบัตรไปใช้ได้จนถึงวันที่บัตรหมดอายุเท่านั้น โดยต้องคืนบัตรให้ผู้ออกบัตรทันทีหลังวันหมดอายุรวมถึงกรณีที่ผู้ออกบัตรแจ้งยกเลิกการใช้บัตรหรือเรียกบัตรคืนด้วย
5)ผู้ออกบัตรไม่รับผิดชอบในสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตในกรณีที่มีการคืนสินค้าและยกเลิกการใช้บริการ หรือปรับปรุงราคาสินค้าหรือบริการซึ่งใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงิน ผู้ถือบัตรจะไม่ได้รับการชดใช้ราคาคืนเป็นเงินสด แต่ร้านค้าหรือสถานบริการจะขอบัตรเครดิตจากผู้ถือบัตร เพื่อไปจัดทำเอกสารที่เป็นหลักฐานในการเครดิตบัญชีคืน และผู้ถือบัตรจะได้รับบัตรเครดิตคืนทันที่ พร้อมกับสำเนาเครดิตคืนที่ออกให้ลงนามโดยผู้แทนของร้านค้าหรือสถานบริการนั้น
3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงิน มีดังนี้
1)เมื่อมีการเรียกเก็บเงินอันเนื่องมาจากการใช้บัตรในนามของผู้ถือบัตร ผู้ถือบัตรขอให้ผู้ออกบัตรออกเงินให้ก่อนทันที โดยไม่ต้องขอความยินยอมและหรือแจ้งให้ผู้ถือบัตรทราบล่วงหน้า โดยผู้ถือบัตรยินยอมชดใช้เงินที่ผู้ออกบัตรได้จ่ายไปก่อนแล้วนั้นให้เต็มจำนวนในเวลาที่กำหนด
2)ถ้าผู้ถือบัตรไม่ชำระเงินในเวลาที่กำหนด ผู้ออกบัตรจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงกันหรือในอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดจนกว่าผู้ถือบัตรจะชำระหนี้เสร็จสิ้น
ในกรณีที่ผู้ออกบัตรเป็นธนาคารพาณิชย์มักจะกำหนดให้ผู้ถือบัตรมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารและจะทำการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ถ้าผู้ถือบัตรมียอดคงเหลือเป็นลูกหนี้ธนาคาร ธนาคารก็จะถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี และคิดดอกเบี้ยเช่นเดียวกับการเบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารจะส่งรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นเรียกว่าใบแจ้งการหักบัญชี ในกรณีที่มีรายการใดผิดพลาดจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี

เงื่อนไขสินเชื่อทางการค้าของธุรกิจการค้า

เงื่อนไขเกี่ยวกับเอกสารประกอบสินเชื่อทางการค้า
สินเชื่อทางการค้า ผู้ขายคือผู้ให้กู้หรือผู้ให้สินเชื่อยอมมอบสินค้าให้ผู้กู้คือผู้ซื้อก่อนที่ผู้ซื้อจะชำระเงิน
ประเภทเอกสารประกอบสินเชื่อทางการค้า
1.ใบกำกับสินค้า
2. เช็ค
3. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
4.ตั๋วแลกเงินที่รับรอง

การฝากขาย

การฝากขายเป็นเงื่อนไขการขายอย่างหนึ่งที่ผู้ขายซึ่งกรณีฝากขายเรียกว่า "ผู้ฝากขาย" นำสินค้าไปฝากบุคคลซึ่งเรียกว่า "ผู้รับฝากขาย" โดยกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ขาย และเมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้านั้นได้แล้ว ก็จะชำระเงินค่าขายสินค้านั้น ให้ผู้ขายในมูลค่าที่ตกลงกัน และโดยปกติผู้รับฝากขายจะได้เป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้รับฝากขายจึงไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีขายสินค้านั้นไม่ได้ จะชำระเงินก็ต่อเมื่อ สินค้านั้นขายได้แล้วเท่านั้น

การขายเชื่อ

การขายเชื่อเป็นเงื่อนไขการขายอย่างหนึ่งที่ผู้ขายยอมมอบสินค้าให้ผู้ซื้อก่อนการชำระเงิน โดยกำหนดให้ผู้ซื้อมาชำระเงินในภายหลังตามเวลาที่กำหนด การขายเชื่อต่างจากการฝากขายคือ กรรมสิทธิ์ในสินค้าในกรณีเงินเชื่อจะเป็นของผู้ซื้อแม้ว่าจะยังไม่ชำระเงินก็ตาม และเมื่อยังไม่ชำระเงินผู้ซื้อจะเป็นลูกหนี้ของผู้ขาย ส่วนกรณีฝากขายนั้นผู้ฝากขายไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ของผู้ฝากขาย และกรรมสิทธิ์ในสินค้าก็ยังคงเป็นของผู้ฝากขาย สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินของการขายเชื่อประกอบด้วยรายละเอียด 3 ส่วน คือ
1. การกำหนดเวลาเริ่มต้นสินเชื่อ
2. การกำหนดอัตราและระยะเวลาได้รับส่วนลด
3. การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้

เงื่อนไขการปฏิบัติของสินเชื่อทางการค้าเมื่อเกินกำหนดเวลาชำระหนี้

การให้สินเชื่อทางการค้ามักจะมีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อผู้ซื้อไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ผู้ขายก็จะต้องกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว เงื่อนไขที่กำหนดนี้จำแนกเป็น 2 ลักษณะ
1. เงื่อนไขที่ผู้ขายแจ้งให้ผู้ซื้อทราบ
2. เงื่อนไขที่ผู้ขายมักจะไม่แจ้งให้ผู้ซื้อทราบ
มีวิธีการคำนวณต้นทุนส่วนลดดังนี้

 

ต้นทุนของส่วนลดที่ได้รับ = 365 x เปอร์เซ็นต์ส่วนลด
เปอร์เซ็นต์เงินได้สุทธิจ่าย x จำนวนนับจากวันครบกำหนดส่วนลดถึงวันชำระเงิน

 

เงื่อนไขสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน

จึงมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อป้องกันมิให้สถาบันการเงินนั้นประสบกับปัญหาหนี้สูญนั่นเอง
ประเภทของหลักประกันจำแนกประเภทหลักประกันได้ดังนี้
1. หลักประกันประเภทบุคคล
2. หลักประกันประเภททรัพย์
1. หลักประกันประเภทบุคคล
1.1 บุคคลธรรมดา
เงื่อนไขลักษณะบุคคลที่จะเป็นหลักประกันป้องกันความเสี่ยงภัยต่อการให้กู้ของผู้ให้กู้ได้นั้น ควรจะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ หรือมีครบทุกลักษณะได้ก็จะดียิ่งขึ้น ได้แก่
1. บุคคลที่มีฐานะดี
2. บุคคลที่มีชื่อเสียงดี
3. บุคคลที่มีเครดิตเป็นที่เชื่อถือได้
ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดลักษณะดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในด้านการประกอบอาชีพ รายได้ อุปนิสัย สุขภาพ ความมั่นคงของอาชีพ ฯลฯ
1.2. นิติบุคคล
นิติบุคคลที่จะเป็นผู้ค้ำประกันอาจจะอยู่ในสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดก็ได้
สรุปได้ว่าเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจะกำหนดลักษณะเงื่อนไขไว้ในทำนองเดียวกัน ได้แก่ บุคคลที่มีฐานะดี บุคคลที่มีชื่อเสียงดี บุคคลที่มีเครดิตเป็นที่เชื่อถือได้ รวมทั้งบุคคลนั้นต้องมีความสามารถในการชำระหนี้แทนผู้กู้ได้และการผูกพันค้ำประกันนี้ต้องได้รับความยินยอมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จากผู้เกี่ยวข้องด้วย
2.หลักประกันประเภททรัพย์มีรายละเอียด ดังนี้
2.1. เงื่อนไขทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน เงื่อนไขทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ที่กำหนดโดยทั่วไปมีดังนี้
1. หลักประกันนั้นเป็นทรัพย์ที่มีราคามั่นคง หมายถึง ราคาทรัพย์นั้นไม่ลดลงโดยง่าย
2. หลักประกันนั้นเป็นทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้ทรัพย์นั้นขายได้ง่าย
ถ้าหนี้เกิดมีปัญหา
3. หลักประกันนั้นเป็นทรัพย์ที่ปลอดภาระผูกพัน ซึ่งจะโอนให้ผู้ให้กู้ได้โดยง่ายถ้าหนี้เกิดมีปัญหา
4. หลักประกันนั้นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์นั้นและผู้เกี่ยวข้องโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
5. หลักประกันนั้นปกติต้องเก็บรักษาไว้กับผู้ให้กู้ แต่ถ้าหลักประกันนั้นไม่สะดวกที่จะเก็บรักษาไว้ให้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้จะย้ายสถานที่เก็บรักษาต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผุ้ให้กู้เป็นหนังสือและถ้าเกิดการเสียหายใด ๆ แก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ผู้กู้ยอมรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้นโดยผู้กู้จะไม่คิดค่าบำรุงรักษาหรือบำเหน็จในการนี้จากผู้ให้กู้ด้วย
2.2 เงื่อนไขเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน นอกจากเงื่อนไขโดยทั่วไปแล้ว ทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักค้ำประกันบางรายการยังมีเงื่อนไขเฉพาะบางอย่างดังนี้
1. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีดังนี้
- จะต้องนำมาจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกัน
- โดยอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นผู้ขอกู้จะต้องประกันอัคคิภัย พร้อมทั้งสลักหลังกรมธรรม์ยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้
2. สังหาริมทรัพย์ ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อมีหายรายการในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ รายการสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขอกู้สินเชื่อนิยม นำมาใช้เป็น หลักประกันสินเชื่อ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เรือยนต์ รถยนต์ เงินฝากประจำ พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้และสินค้า

เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ของสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจมีหลายประเภท ได้แก่ การเบิกเงินเกินบัญชี การขายลด การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การกู้ยืมเพื่อการลงทุน เป็นต้น สินเชื่อแต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการชำระเงินต้น และการคำนวณดอกเบี้ยเหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง ซึ่งความแตกต่างของเงื่อนไขการชำระหนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของวงเงินเครดิต ซึ่งจำแนกได้เป็นวงเงินเครดิตที่มีลักษณะหมุนเวียนได้และวงเงินเครดิตแบบเงินกู้ ดังนั้น ในการอธิบายเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ จะจำแนกเงื่อนไขตามลักษณะของวงเงินเครดิต ซึ่งจำแนกเงื่อนไขการชำระหนี้ได้ ดังนี้
1 .เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในกรณีวงเงินเครดิตแบบหมุนเวียน
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในกรณีวงเงินเครดิตแบบเงินกู้
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในกรณีวงเงินเครดิตแบบหมุนเวียน
ลักษณะวงเงินเครดิตที่หมุนเวียนได้ หมายถึง วงเงินที่ใช้แล้วใช้ได้อีก ดังนั้นเมื่อมีการชำระคืนเงินต้นแล้ว ผู้กู้มีสิทธิ์ที่ขอเงินกู้ที่ชำระคืนเงินต้นได้อีก โดยผู้กู้มีสิทธิ์ขอกู้ได้เรื่อย ๆ ตราบเท่าที่การขอกู้ยังไม่เกินกำหนดเวลาและวงเงินที่กำหนด ในสัญญาสินเชื่อที่มีวงเงินเครดิตที่หมุนเวียนได้หลายประเภท เช่น การเบิกเงินเกินบัญชี การขายลด เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดลักษณะวงเงินเครดิตที่หมุนเวียนได้มักนิยมใช้กับการให้กู้เงินระยะสั้น ซึ่งใช้สำหรับลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระคืนเงินต้น
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับดอกเบี้ย
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระคืนเงินต้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1.1. การชำระคืนเงินต้นไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน
1.2. การชำระคืนเงินต้นที่มีกำหนดเวลาแน่นอน
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับดอกเบี้ย การคำนวณดอกเบี้ยและวิธีการชำระดอกเบี้ยของสินเชื่อที่มีลักษณะหมุนเวียน
2.1 การคำนวณดอกเบี้ยคิดเป็นรายวันตามจำนวนเงินและตามวิธีที่เบิกใช้ โดยมีการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก ๆ สิ้นเดือน
2.2 การคำนวณดอกเบี้ยปกติ เงื่อนไขนี้นิยมใช้กับเงินกู้ T/R โดยมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยธรรมดา คือเอาเงินต้นคืนอัตราดอกเบี้ย และคูณระยะเวลา การใช้คืนดอกเบี้ยก็จะชำระคืนพร้อมกับการคืนเงินต้น สำหรับเงินกู้ T/R นี้
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในกรณีวงเงินเครดิตแบบเงินกู้
วงเงินแบบนี้เป็นวงเงินเครดิตที่มีลักษณะหมุนเวียนไม่ได้ หมายถึง วงเงินที่ชำระคืนเงินต้นแล้ว จะกู้เงินต้นที่ชำระคืนแล้วอีกไม่ได้ แม้ว่าสัญญาจะกู้เงินจำนวนนั้นยังไม่สิ้นสุดก็ตามวงเงินนี้มีลักษณะเป็นการใช้เพียงครั้งเดียว ถ้าต้องการใช้เงินอีกก็ต้องทำสัญญากู้เงินกันใหม่ โดยทั่วไปแล้วการกำหนดลักษณะวงเงินเครดิตที่หมุนเวียนไม่ได้เงื่อนไขการชำระหนี้จะประกอบด้วย
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระคืนเงินต้น
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับดอกเบี้ย
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระคืนเงินต้น
การชำระคืนเงินต้นมีการกำหนดเงื่อนไขหลายแบบ ได้แก่ ผ่อนชำระเงินต้นเป็นรายงวด ชำระเงินต้นทั้งจำนวนเมื่อครบกำหนด และบางครั้งถ้าเงินกู้นั้นใช้ลงทุนในโครงการใหญ่ ผู้ให้กู้อาจจะกำหนดระยะเวลาปลอดหนี้ สำหรับเงินต้นด้วย
2. เงื่อนไขเกี่ยวกับดอกเบี้ย
จะต้องมีการตกลงกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยการคำนวณดอกเบี้ยและการชำระคืน สำหรับอัตราดอกเบี้ยอาจจะกำหนดเป็นอัตราตายตัว หรืออัตราลอยตัว ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงตามสภาวะการเงินก็ได้ ในทางปฏิบัติแล้วมักกำหนดอัตราลอยตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเงินกู้ระยะยาว ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นค้างชำระ หรือคำนวณจากยอดเงินต้นคงที่
กรณีตัวอย่างเงื่อนไขเกี่ยวกับชำระหนี้
กรณีที่ 1 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นเมื่อครบกำหนด
กรณีที่ 2 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยในวันกู้ ส่วนเงินต้นชำระเมื่อครบกำหนด
กรณีที่ 3 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยทุกงวด ส่วนเงินต้นชำระเมื่อครบกำหนด
กรณีที่ 4 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยและเงินต้นทุกงวด โดยดอกเบี้ยคิดจากยอดค้างชำระเงินต้นผ่อนต่องวดไม่เท่ากัน แต่เงินรวมผ่อนต่องวดไม่เท่ากัน
กรณีที่ 5 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยและเงินต้นทุกงวด โดยดอกเบี้ยคิดจากยอดค้างชำระเงินต้นผ่อนต่องวดไม่เท่ากัน แต่เงินรวมผ่อนต่องวดเท่ากัน
กรณีที่ 6 เงื่อนไขชำระดอกเบี้ยและเงินต้นทุกงวด โดยดอกเบี้ยคิดจากยอดเงินต้นคงที่ทุกงวดจะผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยเท่ากัน ซึ่งทำให้เงินรวมผ่อนแต่ละงวดเท่ากัน

เงินลดเงินสดหรือส่วนลดเงินสด

ในการซื้อขายสินค้า ผู้ขายอาจจะเก็บเงินจากผู้ซื้อทันที ที่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ (ขายเป็นเงินสด) อาจจะให้เครดิตกับลูกค้าที่จะชำระหนี้ได้ในภายหลัง ระยะเวลาในการให้เครดิตของกิจการแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 30-60 วัน
เมื่อกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาในการให้เครดิตไว้ให้ชัดเจน โดยอาจกำหนดไว้ในใบกำกับสินค้า (Invoice) ระยะเวลาในการให้เครดิตอาจจะเขียนเป็นตัวย่อได้ดังนี้ "n/10 EOM" หรือ "n/30"
ในบางครั้งกิจการอาจจะเสนอให้ส่วนลดเงินสดแก่ลูกค้า เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกค้าชำระเงินก่อนที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการให้เครดิต ส่วนลดเงินสด หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายยอมลดให้แก่ผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ได้รับส่วนลด (Discounts period) ส่วนลดเงินสดที่ผู้ขายลดให้กับผู้ซื้อนี้ ทางด้านผู้ขายคือ ส่วนลดจ่าย (Sales Discounts) ส่วนทางด้านผู้ซื้อคือ ส่วนลดรับ (Purchase Discounts) ระยะเวลาในการให้ส่วนลด และให้เครดิต

1. การกำหนดเวลาเริ่มต้นสินเชื่อ เงื่อนไขเกี่ยวกับการกำหนดเวลาเริ่มต้นสินเชื่อจะปรากฏในตอนท้ายของเงื่อนไข ที่นิยมกันมีดังนี้
1.1 การกำหนดเวลาเริ่มต้นสินเชื่อโดยเริ่มนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า เงื่อนไขแบบนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ตัวอย่างเงื่อนไขเช่น 2/10, n/30 ถ้าใบกำกับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 2527 วันเริ่มต้นสินเชื่อก็จะเริ่มวันที่ 5 สิงหาคม 2527 เช่นกัน
1.2 กำหนดวันเริ่มต้นสินเชื่อจากวันที่ได้รับสินค้า เงื่อนไขแบบนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ซื้อแต่ละรายอยู่ห่างจากผู้ขายต่างกัน ทำให้ผู้ซื้อแต่ละรายได้รับสินค้าเร็วช้าต่างกัน ดังนั้นการเริ่มต้นสินเชื่อจึงไม่ควรเริ่มนับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า เพราะเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ตัวอย่างเงื่อนไขชนิดนี้จะกำหนดดังนี้ 2/10, n/30 AOG (Arrival of Goods) หรือ 2/10, n/10 ROG (Receipt of Goods) จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขนี้จะต่างจากกรณีแรก โดยต้องมีคำว่า AOG หรือ ROG กำกับไว้ด้วย ถ้าไม่มีคำเหล่านี้กำกับถือว่าการเริ่มต้นสินเชื่อจะเริ่มนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า ดังนั้นถ้าใบกำกับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 2527 แต่ผู้ซื้อรับสินค้าวันที่ 10 สิงหาคม 2527 วันเริ่มต้นสินเชื่อก็จะเริ่มวันที่ 10 สิงหาคม 2527
1.3 กำหนดวันเริ่มต้นสินเชื่อจะเริ่มจากวันสิ้นเดือนที่ซื้อสินค้านั้น เงื่อนไขแบบนี้นิยมใช้ในกรณีที่ลูกค้ารายหนึ่ง ๆ มีการซื้อสินค้ากับกิจการหลายครั้งต่อเดือน ดังนั้นเพื่อเป็นการสะดวกในการเริ่มต้นวันให้สินเชื่อจึงเริ่มนับวันเริ่มต้นสินเชื่อของการซื้อทุกครั้งในเดือนเดียวกันพร้อมกัน โดยเริ่มนับจากวันสิ้นเดือนที่ทำการซื้อสินค้านั้น เงื่อนไขที่กำหนดจะเป็นดังนี้ 2/10, n/30 EOM (End of Month) ดังนั้นถ้าทำการซื้อสินค้าในเดือนสิงหาคม 2527 การซื้อทุกครั้งที่ทำในเดือนสิงหาคม จะเริ่มต้นสินเชื่อนับจากวันสิ้นเดือนสิงหาคมรวมทั้งกำหนดเวลาส่วนลดจะเริ่มต้นนับจากวันสิ้นเดือนสิงหาคมเช่นกัน
นอกจากนี้สินค้าบางประเภทเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายเป็นฤดูกาล การเริ่มต้นนับเวลาสินเชื่อจะมีการกำหนดเป็นพิเศษ เช่น เริ่มต้นนับเมื่อฤดูกาลซื้อขายสินค้านั้นเริ่มต้นก็ได้
2. กำหนดอัตราและระยะเวลาได้รับส่วนลดเงินสด การกำหนดอัตราและระยะเวลาได้รับส่วนลดจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ลักษณะสินค้า สถานการณ์ของผู้ขาย สถานการณ์ของผู้ซื้อ ฯลฯ ส่วนลดที่จะกล่าวถึงนี้เป็นส่วนลดเงินสดที่ผู้ขายจะให้ต่อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในกำหนดเวลา ในภาวะที่ผู้ขายมีสถานการณ์ทางการเงินไม่ดีนัก ก็อาจกำหนดอัตราส่วนลดสูงและระยะเวลาสั้น เพื่อเร่งให้ผู้ซื้อรีบชำระเงินภายในกำหนดเวลา เงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราและระยะเวลาได้รับส่วนลดจะกำหนดไว้ในช่วงแรกของเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น
ก. 5/10, n/60 5/10 คือกำหนดอัตราและระยะเวลาส่วนลด 5 คือ อัตราส่วนลด และ 10 คือ ระยะเวลาส่วนลด อธิบายเงื่อนไขส่วนลดได้ดังนี้ ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลด 5% ถ้าชำระเงินภายใน 10 วัน โดยวันเริ่มต้นนับสินเชื่อจะเริ่มจากวันที่ในใบกำกับสินค้า เช่น ใบกำกับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 2527 ได้รับสินค้าวันที่ 10 สิงหาคม 2527 ส่วนลด 5% จะได้รับเมื่อชำระค่าซื้อสินค้าภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2527
ข. 2/20, n/30 AOG 2/20 คือ กำหนดอัตราและระยะเวลาส่วนลด 2 คือ อัตราส่วนลด และ 20 คือ ระยะเวลาส่วนลด อธิบายเงื่อนไขส่วนลดได้ดังนี้ ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลด 2% ถ้าชำระเงินภายใน 20 วัน โดยวันเริ่มต้นนับสินเชื่อจะเริ่มจากวันที่ได้รับสินค้า เช่น ใบกำกับสินค้าลงวันที่ 5 สิงหาคม 2527 จำนวนเงิน 10,000 บาท ได้รับสินค้าวันที่ 10 สิงหาคม 2527 ส่วนลด 2% จะได้รับเมื่อชำระค่าซื้อสินค้าภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2527 ส่วนลดที่ได้รับเท่ากัน 200 บาท
3. การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้จะปรากฏในช่วงที่สองของเงื่อนไข เพื่อให้ผู้ซื้อทราบว่าจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเมื่อใด ตัวอย่างเช่น
ก. 5/10, n/60 n/60 คือ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้มาจากคำเต็มว่า net 60 ตามเงื่อนไขนี้ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลด 5% ถ้าชำระเงินภายใน 10 วัน แต่ถ้าไม่สามารถชำระเงินภายในกำหนดเวลาส่วนลดก็ต้องชำระเงินค่าซื้อสินค้านี้ภายใน 60 วัน เริ่มนับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า
ข. 2/20, n/30 AOG n/30 คือ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามเงื่อนไขนี้ผู้ซื้อจะได้รับส่วนลด 2% ถ้าชำระเงินภายใน 20 วัน แต่ถ้าไม่สามารถชำระเงินภายในกำหนดเวลาส่วนลด ก็ต้องชำระค่าซื้อสินค้าภายใน 30 วัน เริ่มนับจากวันที่รับสินค้า
การกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินของการขายเชื่อ ถือว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการขายสินค้า ถ้ากำหนดเงื่อนไขสินเชื่อไม่เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ อาจจะทำให้ผู้ซื้อไม่ซื้อสินค้าได้ แต่อย่างไรก็ตามการกำหนดเงื่อนไขสินเชื่อนี้ไม่ควรคำนึงถึงผู้ซื้อแต่เพียงด้านเดียว ควรคำนึงถึงผู้ขายเองและผู้ขายรายอื่น ๆ และควรกำหนดเงื่อนไขสินเชื่อให้เหมาะกับสภาพสินค้าด้วย