พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและโลกไร้พรมแดน ยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เร่งรีบ การเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่และวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีขึ้น และบางส่วนส่งผลให้สังคมขาดสันติสุข หากนักศึกษาได้มีเวลาสักช่วงหนึ่งของชีวิต ที่สำรวจตรวจสอบ แสวงหาคำตอบเรื่อง แก่นแท้แห่งพฤติกรรม เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นอันจะนำไปสู่แนวทางพัฒนาตน อาจจะเป้นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยดำรงตนตามบทบาทต่าง ๆ ได้โดยเหมาะสม ช่วยให้การดำเนินชีวิต มีประสิทธิภาพมาขึ้น ทั้งในด้านชีวิตการเรียน การทำงาน และชีวิตส่วนตัว ในบทที่ว่าด้วยความรู้เบื้องต้น เรื่องการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนนี้ ประกอบด้วยขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรม เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม จุดประสงค์ของการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับ การพัฒนาตน ศาสตร์ที่ให้ความรู้ด้านพฤติกรรม วิธีการศึกษาพฤติกรรม การเก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา แนวทัศนะเกี่ยวกับ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน และข้อควรคำนึงใน การนำความรู้เรื่อง พฤติกรรมไปพัฒนาตน เพื่อเป็นบทนำพื้นฐานสู่การศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน ในบทอื่นต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถดังนี้

1. เข้าใจ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภท และพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตน
2. ระบุเป้าหมาย ตระหนักในความสำคัญ และเข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาพฤติกรรม
3. วิเคราะห์ที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรม วิธีศึกษาพฤติกรรม และนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้
4. วิเคราะห์ สังเคราะห์ และระบุแนวทางการประยุกต์ใช้แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อพัฒนาตน รวมทั้งสามารถนำความรู้และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ความรู้ไปวางแผนพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสม
1.1 ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรม
พฤติกรรมของมนุษย์มีขอบเขตกว้างขวางและซับซ้อน เพื่อให้การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนเป็นไปโดยไม่สับสน และเจาะจงสู่เป้าหมายตาม หลักสูตร ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของพฤติกรรม ประเภทของพฤติกรรม และพฤติกรรมที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาตน

1.1.1 ความหมายของพฤติกรรม

มีผู้ให้ความหมายคำว่า " พฤติกรรม" (behavior) ไว้มาก ที่น่าสนใจเช่น เวดและทาฟรีส (Wade and Tavris 1999 : 245 ) อธิบายว่า พฤติกรรมคือการกระทำของคนเราที่สังเกตได้ ซืมบาร์ โดและเกอร์ริก (Zimbardo and Gerrig 1999 : 3) อธิบายว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำของบุคคลเพื่อปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ และลาเฮย์ (Lahey 2001 : 5) กล่าวว่า พฤติกรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่สามารถสังเกตได้
จากความหมายและคำอธิบายที่อ้างถึงไว้ อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมคือการกระทำ ของบุคคลในทุกลักษณะ ทั้งที่เป็นโดยธรรมชาติทางสรีระและที่จงใจกระทำ ซึ่งอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และ เป็นการกระทำที่สังเกตได้โดยอาจใช้ประสาทสัมผัสธรรมดาหรือใช้เครื่องมือช่วยการสังเกต

1.1.2 ประเภทของพฤติกรรม

การศึกษาพฤติกรรมยุคปัจจุบันไม่สู้เน้นการแบ่งประเภทของพฤติกรรมนัก แต่ในที่นี้ได้พิจารณาเห็นว่าการแบ่งประเภทของพฤติกรรมจะช่วยให้เข้าใจแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น ซึ่งนักจิตวิทยานิยมแบ่งพฤติกรรมได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

(1) พฤติกรรมภายนอก (overt behavior) เป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้โดยชัดเจนแยกได้อีกเป็น 2 ชนิดคือ
(1.1) พฤติกรรมที่สังเกตได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การพูด การหัวเราะ การร้องไห้ การเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือแม้แต่การเต้นของหัวใจ ซึ่งผู้อื่นสังเกตได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส
(1.2) พฤติกรรมที่ต้องใช้เครื่องมือหรือการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหรือปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด การทำงานของกระเพาะอาหารและ ลำไส้ ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือประสาทสัมผัสเปล่า
(2) พฤติกรรมภายในหรือ " ความในใจ" (covert behavior) เป็นพฤติกรรมที่เจ้าตัวเท่า นั้นจึงจะรู้ดี ถ้าไม่บอกใคร ไม่แสดงออกก็ไม่มีใครรู้ได้ดี เช่น การจำ การรับรู้ การ เข้าใจ การได้กลิ่น การได้ยิน การฝัน การหิว การโกรธ ความคิด การตัดสินใจ เจตคติ จินตนาการ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกาย เช่น ขณะใช้ความคิดคลื่นสมองทำงานมาก หรือขณะโกรธปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมีมาก ซึ่งวัดได้โดยเครื่องมือ แต่ก็ไม่มีใครรู้ละเอียดลงไปได้ว่าเขาคิดอะไร หรือ เขารู้สึกอย่างไร คนรู้ละเอียดคือเจ้าของพฤติกรรมนั้น
พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธ์กัน โดยพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น คนเราย่อมพูดหรือย่อมแสดงกิริยาโดยสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดภายใน ถ้าต้องการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ "จิตใจ" หรือพฤติกรรมภายในของคน ก็ต้องศึกษาจากส่วนที่สัมผัสได้ชัดแจ้งคือพฤติกรรมภายนอก ซึ่งเป็นแนวทางสู่ความเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นความในใจและการจะเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แสดงออกอันเป็นพฤติกรรมภายนอกเราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของการคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การรู้สึก ฯลฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน
การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งจะมีทั้งพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายใน พฤติกรรมที่เป็นเรื่องของธรรมชาติสรีระ ซึ่งมักเรียกกันว่า " พฤติกรรมแบบเครื่องจักร" และพฤติกรรมที่เป็นเรื่องของประสบการณ์ ซึ่งมักเรียกกันว่า "พฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย" แต่โดยทั่วไปแล้วมักเน้นการศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่เกิดเนื่องจากประสบการณ์เท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมนั้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามระยะเวลาที่ผ่านไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และสำหรับการศึกษษพฤติกรรมเพื่อการพัฒนาตนนั้น มุ่งเน้นการพัฒนาจิต ความคิด หรือพฤติกรรมภายในเป็นลำดับแรก เนื่องจากพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก หากคิดดีการปฏิบัติก็มักดีด้วย

1.1.3 พฤติกรรมที่ศึกษาเพื่อการพัฒนาตน

คำว่า " การพัฒนาตน" (Self development) ในความหมายเชิงจิตวิทยามักจะหมายถึงการกระทำเพื่อการเจริญส่วนตน (personal growth) ซึ่งเกอดและอาร์คอฟฟ์ (Goud & Arkoff 1998 : 121) ได้กล่าวถึงการเจริญส่วนตนไว้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ด้านความมุ่งมั่นปรารถนา และค่านิยมอันเป็นพฤติกรรมภายใน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอกด้านการกระทำที่ดีเพื่อนำพาชีวิต (self mastery ) สู่ความเจริญก้าวหน้า
ถ้าจะพิจารณาที่คำว่า "พัฒนาการ" (development) โดยเฉพาะ คำนี้มีผู้ให้ความหมายไว้มาก เช่น วอร์ทแมนและลอฟทัส (Wortman and Loftus 1992 : 253) กล่าวว่า พัฒนาการเป็นแบบแผนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของบุคคล นับตั้งแต่กำเนิดชีวิตจนถึงวัยชรา ส่วนเฮทเธอร์ริงตันและพาร์ค (Hetherington and Parke 1993 : 2 ) อธิบายว่าพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านระบบชีววิทยาทางกาย สังคม สติปัญญา และอารมณ์ตามระยะเวลาที่ผ่านไปตลอดช่วงวัย และวูลฟอล์ค (Woolfolk 1998 : 24 ) กล่าวถึงพัฒนาการของบุคคลว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ที่ค่อนข้างคงที่แน่นอนนับแต่เกิดจนตลอดชีวิต
จากที่กล่าวมาทั้งคำว่า พัฒนาการและการเจริญส่วนตน จะเห็นได้ว่าการศึกษาพฤติกรรมเพื่อการพัฒนาตนนั้น ควรมีขอบข่ายการศึกษาพฤติกรรมทุกด้าน เพราะการเปลี่ยนแปลงทุกด้านรวมแล้ว คือพัฒนาการของบุคคล ส่วนในการพัฒนาเพื่อความเจริญส่วนตนนั้นก็เน้นที่พฤติกรรมภายในเป็นลำดับแรกก่อนพฤติกรรมภายนอก เพราะพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดหรือควบคุมการกระทำ

1.2 เป้าหมายและความสำคัญของการศึกษาพฤติกรรม

1.2.1 เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม
ลาเฮย์ (Lahey 2001 : 5 ) ได้กล่าวถึงเป้าหมายของศาสตร์ทางจิตวิทยาอันเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมว่า มีเป้าหมายเป็น 4 ประการ คือ เพื่อการอธิบายพฤติกรรม เพื่อการเข้าใจพฤติกรรม เพื่อการพยากรณ์พฤติกรรม และเพื่อการควบคุมพฤติกรรม ซึ่งจากคำกล่าวของลาเฮย์นี้จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งแก่ตนเองและสังคม เพราะช่วยให้รู้และบอกได้ถึงสาเหตุที่มาของพฤติกรรม แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาวิเคราะห์ให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ช่วยทำนายแนวโน้มพฤติกรรม และได้แนวทางเสริมสร้างพัฒนาพฤติกรรม เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่าวิกฤติชีวิตได้ และอยู่รวมกับผู้อื่นโดยสันติสุข ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษา วิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนและแนวคิดของแอตคินสันและคนอื่น ๆ (Atkinson, et. Al. 1993 : 3 ) ที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วว่า การศึกษาเรื่องราวทางจิตวิทยาซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม เป็นการศึกษาเพื่อทำให้เชีวิตเป็นสุข หากบุคคลปราศจากความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยา หรือพฤติกรรมแล้วก็อาจดำรงตนอย่างไม่สู้ราบรื่นนักในสังคมยุคนี้ นับได้ว่าการศึกษาพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนนี้ช่วยสนองเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่มุ่งให้ผู้ศึกษาเก่ง ดี มีความสุข แสดงให้เห็นเป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรมที่มีเป็ฯลำดับได้ดังรูปที่ 1.1 ต่อไปนี้

รูปที่ 1.1 แสดงเป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรมตามทัศนะของนักพฤติกรรมศาสตร์
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนา
ตน และสนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542

1.2.2 ความสำคัญของการศึกษาพฤติกรรม

จากเป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรมอันประกอบด้วยเป้าหมายเพื่อการอธิบายพฤติกรรม เป้าหมายเพื่อการพยากรณ์พฤติกรรม เป้าหมายเพื่อการเข้าใจ พฤติกรรม และเป้าหมายเพื่อการควบคุมพฤติกรรมนั้น หากการศึกษาพฤติกรรมบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็จะส่งผลดีต่อผู้ศึกษา และมีความสำคัญต่อบุคคล และสังคม ซึ่งอาจกล่าวเป็นข้อ ๆ ถึงความสำคัญของความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมได้ดังนี้
(1) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง คือ จากการศึกษาธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ จะ ช่วยให้ผู้ศึกษา เกิดความเข้าใจตนเองไปด้วย จากความเข้าใจตนเองก็นำไปสู่การยอมรับตนเอง และได้แนวทางปรับตน พัฒนาตน เลือกเส้นทางชีวิตที่เหมาะสมแก่ตน
(2) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจผู้อื่น คือ ความรู้ด้านพฤติกรรมอันเป็นข้อสรุปจากคนส่วนใหญ่ ช่วยเป็นแนวทางเข้าใจบุคคลใกล้ตัวและผู้แวดล้อม ช่วยให้ยอมรับข้อดีข้อจำกัดของกันและกัน ช่วยให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับ มีสัมพันธภาพที่ดี และช่วยการจัดวางตัวบุคคลได้เหมาะสมขึ้น
(3) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยบรรเทาปัญหาสังคม คือเรื่องปัญหาสังคมอันมีปัจจัยหลายประการนั้น ปัจจัยของปัญหาสังคมที่สำคัญมาก ส่วนหนึ่งมาจาก ปัญหาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม อาจจะเป็นปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาเบี่ยงเบนทางเทศ ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ลักขโมยความเชื่อที่ผิด การลอกเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม ความรุนแรงของพฤติกรรมเชิงลบ ฯลฯ ซึ่งความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมจะช่วยให้ได้แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมการปรับตัวของบุคคล เป็นต้น
(4) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ จากความเข้าใจในอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรม ช่วยให้ผู้ศึกษารู้จักเลือกรับปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาตนทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติภายในตน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางสู่การเสริมสร้างพัฒนาตนและบุคคลอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสมเฉพาะรายต่อไป

1.3 จุดประสงค์ของการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนในที่นี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถดัง
1.3.1 มีความรู้ มีความเข้าใจ คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่มาของศาสตร์ด้านพฤติกรรม กลวิธีในการศึกษาพฤติกรรม แนวทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์และการพัฒนาพฤติกรรม สาเหตุแห่ง พฤติกรรม พฤติกรรมที่สำคัญเพื่อการพัฒนาตนของมนุษย์ และสามารถวางแผนการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
1.3.2 มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การมองตนและประเมินตนเอง การเข้าใจตนและยอมรับตน การเข้าใจผู้อื่น และยอมรับผู้อื่น และสามารถวางแผนปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนและการดำรงตนอย่างเป็นสุข และมีทักษะในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
1.3.3 มีความรู้ ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติและมีทักษะในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านการติดต่อสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำและผู้ตาม และการจูงใจในการทำงาน
เพื่อให้ผู้ศึกษาได้บรรลุเป้าหมายตามจุดประสงค์ที่กล่าวมา ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจลักษณะการเรียนการสอนและปฏิบัติ ใน 4 ประการต่อไปนี้
ประการที่ 1 มุ่งให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งจากเอกสารตำราประจำวิชา ตำราเสริม และแหล่งข้อมูลในชีวิตประจำวัน อาจเป็น "E – Learning " บทความ สารคดี ข่าว อัตชีวประวัติบุคคลดีเด่น ข้อคิดคำคม และบทเรียนจากชีวิตจริง เพื่อเสริมความเข้าใจเนื้อหาและประยุกต์สู่การพัฒนาตนได้
ประการที่ 2 มุ่งบูรณาการเนื้อหาสาระ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักในความสำคัญของความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ เพื่อการพัฒนาชีวิต จิตใจ และพฤติกรรมของตนเองในการพึ่งพาอาศัย การอยู่ร่วมกันในสังคมและชุมชนอย่างสงบสุข
ประการที่ 3 มุ่งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางมุ่งให้ทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ (learning activities) ด้วยตนเอง นักศึกษาควรมีส่วนร่วมอย่างกระตืนรืนร้อ (active participation) ทั้งด้านการทำกิจกรรม การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผลของนักศึกษาเอง
ประการที่ 4 มุ่งจัดกิจกรรมเสริมในรูปของการทำโครงงาน การวิเคราะห์ สังเคราะห์หรือการทำรายงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งสัมพันธ์กับวิชาชีพและชีวิตประจำวัน นักศึกษาควรทำกิจกรรมเสริมทุกกิจกรรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้

1.4 ที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรม

คำอธิบายเรื่องราวของพฤติกรรมมีที่มาจาก 2 ศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่ ศาสตร์ทางปรัชญาและศาสตร์ทางจิตวิทยา ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วศาสตร์ทางจิตวิทยาก็แตกตัวมาจากปรัชญาเก่าแก่โบราณที่ว่าด้วย จิตและวิญญาณ ศาสตร์ทางปรัชญานั้นที่มาของความรู้ได้มาโดยนักปราชญ์หรือผู้รู้ซึ่งทรงภูมิปัญญาและประสบการณ์ จะนั่งเรียบเรียงแนวคิดเชิงพฤษฎีให้ผู้อื่นศึกษา แม้ความรู้ส่วนใหญ่จะน่าเชื่อถือแต่ก็ขาดหลักฐานมาสนับสนุนยืนยันความคิด จึงมีปัญหาในการนำไปอ้างอิง วิธีการของปรัชญาได้ชื่อว่า นั่งคิดนั่งเขียนอยู่กับที่ (armchair method) สำหรับจิตวิทยซึ่งแตกตัวมาจากปรัชญา ต่อมาภายหลังได้มีการใช้วิธีวิทยาศาสตร์ (scientific method) สำหรับจิตวิทยาซึ่งแตกตัวมาจากปรัชญา ต่อมาภายหลังได้มีการใช้วิธีวิทยาศษสตร์ (scientitic method) ในการศึกษาค้นคว้าจึงส่งผลให้ความรู้ด้านพฤติกรรมมีความน่าเชื่อถือ และมีการศึกษาพฤติกรรมกันอย่างกว้างขวางหลายแง่หลายมุมในเวลาต่อมา
ศาสตร์ที่เป็นการอธิบายพฤติกรรมเชิงจิตวิทยาจะมีเนื้อหาครอบคลุมบางส่วนของชีววิทยา (Biology) สังคมศาสตร์ (Social Science) มนุษย์วิทยา (Anthropolgy) และสังคมวิทยา (Sociology) นอกจากนั้นบางส่วนยังต้องครอบคลุมพฟติกรรมของสัตว์บางประเภทเพื่อเป็นลู่ทางไปสู่การทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ กับต้องศึกษาถึงประสบการณ์ทั้งในส่วนที่เป็นจิตสำนึก (conscious mind) ซี่งเป็นสภาพที่บุคคลรู้ตัว และการกระทำในสภาพจิตไร้สำนึก (unconscious mind ) ซึ่งเป็นการกระทำส่วนที่เป็นไปโดยบุคคลมิได้คิดหรือจงใจทำ บางส่วนของพฤติกรรมต้องศึกษามนุษย์และสัตว์ในสภาพที่อยู่ตามลำพัง บางส่วนว่าด้วยการกระทำในกลุ่มสังคม จึงกล่าวได้ว่า ขอบข่ายของความรู้ด้านพฤติกรรมเชิงวิตวิทยานั้นครอบคุลมพื้นฐานความรู้จากหลายสาขา (Gleitman 1981 : 1-9 ; Wood & wood 2000 : 1-22 ) เช่น การศึกษเชิงชีววิทยาและการแพทย์ช่วยให้ผู้ศึกษาเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกลไกทางชีววิทยากับปรากฎการณ์ทางจิต ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิตได้มากขึ้น การศึกษาเรื่องอิทธิพลของประสบการณ์เดิมต่อการรับรู้ช่วยให้เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การศึกษาเรื่องสังคมครอบครัว และสิ่งแวดล้อมในอดีตนับแต่เด็กช่วยให้เข้าใจเรื่องการแสดงบทบาททางเพศ อาการลักเพศบางส่วน การศึกษษพื้นฐานสังคมครอบครัวช่วยให้เข้าใจเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลทั้งในด้านการแสดงตน ความเชื่อมัน ฯลฯ รวมถึงการศึกษาอิทธิพลของกลุ่มช่วยให้เกิดความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ฯลฯ เป็นต้น

1.5 วิธีการศึกษาพฤติกรรม
การทำความเข้าใจวิธีการศึกษาพฤติกรรมในที่นี้ช่วยให้เห็นที่มาของความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งในการศึกษาวิชาการทุกแขนง ผู้ศึกษาควรได้ทราบที่มาของความรู้นั้น ๆ เพื่อให้ทราบธรรมชาติของวิชาและเพื่อเสริมความเชื่อมั่นในการเชื่อถือว่าสิ่งที่ศึกษาควรเชื่อถือได้ในระดับใดหรือควรศึกษาเพิ่มเติมในจุดใด กับเพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาคำตอบในบางเรื่องให้ลึกซึ่งมากขึ้น เนื่องจากองค์ความรู้หรือทฤษฎีเมื่อนานไปก็ล้าสมัย จึงควรรู้วิธีเสาะแสวงหาความรู้ดั้วย เพื่อเป็นเครื่องมือศึกษาหาคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ได้ตลอดชีวิตและเป็นคนไม่ตกยุก
ในที่นี้จะกล่าวโดยสังเขปเกี่ยวกับประเภทของการศึกษาพฤติกรรม การใช้วิธีวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรม การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรม
1.3.1 ประเภทของการศึกษาพฤติกรรม
การศึกษาพฤติกรรมดั้งเดิมมักเป็นวิธีปรัชญา ต่อมาใช้วิทยาศาสตร์ จึงแบ่งการศึกษาพฤติกรรมได้ 2 ประเภท คือ
(1) วิธีปรัชญา
การศึกษาโดยวิธีปรัชญานั้น ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมได้มาโดยผู้รู้นั่งคิด นั่งเขียนอยู่กับที่ตามความเข้าใจของตน แม้การอธิบายบางเรื่องจะน่าเชื่อถือ น่าจะเป็นไปได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะไม่มีข้อมูลมาสนับสนุนความคิด การอธิบายมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย ปัจจุบันนิยมความโปร่งใสและตรวจสอบได้แบวิทยาศาสตร์มากกว่าการพูดตามความเชื่อส่วนบุคคล
(2) วิธีวิทยาศาสตร์
การศึกษาโดยวิธีวิทยาศาสตร์นั้น ผู้ศึกษาใช้วิธีการและขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายพฤติกรรม หลายเรื่องมีการทดลอง มีการนำสถิติเข้ามช่วยในการวินิจฉัยและแปลความหมายข้อมูล ทำให้คำอธิบายพฤติกรรมมีความถูกต้องมากขึ้น และน่าเชื่อถือมากขึ้น

1.3.2 การใช้วิธีวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรม
วิธีวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ศึกษาพฤติกรรม มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหา เป็นการให้ชื่อหรือหัวข้อที่จะทำการศึกษา โดยต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ว่าจะศึกษาพฤติกรรมด้านใด ของคนกลุ่มใด เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร หรือ ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ซึ่งมักได้มาจากการสังเกตพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ศึกษา ผู้ศึกษาเกิดข้อสงสัย และเห็นว่าเป็นปัญหาที่ควรศึกษา จึงตั้งเป็นหัวข้อหรือชื่อเรื่องเพื่อการศึกษา
ตัวอย่างเช่น นาย ก. อ่านพบในบทความวิชาการว่า การออกกำลังกายด้วยการวิ่งมาราธอนช่วยให้ผู้มีอาการซึมเศร้าเกิดความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นได้ จึงทำการศึกษาในเรื่องนี้ และกำหนดหัวข้อเรื่องที่ศึกษาว่า "การศึกษาผลของการวิ่งมาราธอนต่อการลดอาการซึมเศร้าในคนไข้ไรคจิตประสาท"
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งสมมติฐาน เป็นการพยากรณ์หรือคาดคะเนคำตอบในสิ่งที่ศึกษาล่วงหน้า อาจพยากรณ์ตามความเชื่อของตน โดยมีเหตุผลมาสนับสนุนสมมุติฐานของตนตามสมควร ไม่ใช่เดาสุ่มโดยไม่มีเหตุผล
ตัวอย่าง นาย ข. จะทำการศึกษาทดลองว่าการรับประทานมะเชือเทศที่สุกแก่จำนวนหนึ่งเป็นประจำ จะช่วยให้คลายเครียดได้จริงตามที่ตนเองเชื่อหรือไม่ ในที่นี้อาจตั้งสมมุติฐานว่า "ผู้วิจัยเชื่อว่าการรับประทานมะเขือเทศที่สุกแก่จำนวนหนึ่งเป็นประจำ ช่วยให้ผู้รับประทานมีสภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น"
ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมในเรื่องที่ศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำ ลักษณะนิสัย ความคิด เจตคติ ความเห็น ความเชื่อ เชาวน์ปัญญา ลักษณะพัฒนาการ ฯลฯ วิธีการรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกต สัมภาษณ์ ทดลอง สืบประวัติ ให้ตอบแบบทดสอบ แบบสอบถาม การที่จะใช้วิธีใด ขึ้นกับเรื่องที่ศึกษา
ตัวอย่างจากการส฿กษาเรื่องผลของการวิ่งมาราธอน และการศึกษาเรื่องผลของการรับประทานมะเขือเทศสุกแก่ ทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวต้องศึกษาโดยวิธีทดลอง แต่ถ้าเป็นการศึกษาประเภทอื่น เช่น การศึกษาความคิดเห็น เจตคติ อาจใช้วิธีสัมภาษณ์หรือแจกแบบสอบถาม และถ้าเป็นการศึกษาเพื่อทราบเชาวน์ปัญญาของผู้ถูกศึกษา ก็อาจต้องใช้วิธีให้ทำแบบทดสอบเชาวน์ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลพฤติกรรมที่ได้มาจากขั้นรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงสถิติ เช่น หาความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย หรือค่าต่าง ๆ ทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาเรื่องนั้น จากนั้นนำค่าที่ได้มาเปรียบหรือทดสอบกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ แล้วตีความหมายว่าการได้ผลตามสมมุติฐานหรือไม่ได้ผลตามสมมุติฐานหมายความว่าอย่างไร
ตัวอย่างจากการศึกษาผลของการวิ่งมาราธอนและออกกำลังกายที่พบจริงว่าเป็นตามสมมติฐษน ก็ตีความว่าการวิ่งมาราธอนและออกกำลังกายช่วยคลายเครียด ลดอาการซึมเศร้า หรือตัวอย่างจากการศึกษาผลของการรับประทานมะเขือเทศสุกแก่ที่พบจริงว่าเป็นตามสมมติฐานก็ตีความว่าการรับประทานมะเขือเทศสุกแก่ช่วยเสริมสุขภาพจิต
ขั้นตอนที่ 5 การสรุป รายงานผลที่ได้ ประเมินผลงานและให้ข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปและรายงานผลทั้งหมดที่ทำตั้งแต่ต้น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้หรือนำผลไปสู่การวิจัยศึกษาในขั้นต่อๆ ไปที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษานั้น
ขั้นตอนที่ 6 การนำผลที่ได้ไปใช้ เป็นการนำหลักเกณฑ์ ข้อสรุป หรือผลการศึกษาที่ได้นั้นไปอธิบายพฤติกรรมหรือใช้แก้ปัญหาอื่น ๆ ต่อไป เช่น ในการศึกษาเรื่องผลของการวิ่งมาราธอน หรือการรับประทานมะเขือเทศสุกแก่ ถ้าพบว่าช่วยลดการซึมเศร้าหรือคลายเครียดได้จริง ก็นำไปเผยแพร่เพื่อให้คนออกกำลังกายและรับประทานมะเขือเทศกันมากขึ้น
1.3.3 การรวบรวมข้อมุลพฤติกรรมเชิงจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์
ในขั้นตอนที่ 3 ของวิธีวิทยาศาสตร์ที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ขั้นตอนรวบรวมข้อมูลพฤติกรรม ผู้ศึกษาอาจรวบรวมได้ 2 วิธีการด้วยกันดังนี้
(1) รวบรวมข้อมูลแบบให้เจ้าตัวสำรวจตนเอง ( introspection)
เป็นการให้เจ้าตัวผู้ถูกศึกษาหรือผู้ที่ต้องการรู้จักตนได้พิจารณาตนเองแล้ว บรรยายตัวเองออกมา วิธีนี้ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นพฤติกรรมภายในหรือความในใจ เช่น การรู้สึก การรับรู้ การคิด เจตคติ ความเชื่อ ลักษณะนิสัย ฯลฯ โดยให้ผู้ถูกศึกษาอ่านความรู้สึกของตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วรายงานความรู้สึกออกมา เพื่อหาเหตุและผลแห่งการกระทำนั้น อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหา ป้องกันปัญหา และพัฒนาพฤติกรรม แต่อาจมีปัญหาอยู่บ้างในการได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะมนุษย์เรามีการใช้คำพูดต่าง ๆ กัน แล้วแต่วัฒนธรรมและประสบการณ์เดิมขึ้นกับความจำ ความจริงใจ การใช้ภาษา ซึ่งอาจทำให้ผู้ศึกษาตีความผิดพลาดได้ง่าย จึงต้องระวังในการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมโดยวิธีนี้
(2) รวบรวมข้อมูลแบบพฤติกรรมนิยม (behavioristic method)
เป็นการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมภายนอก แล้วผู้ศึกษาวินิจฉัยหรือลงความเห็นเองว่าพฤติกรรมภายในเป็นอย่างไร เข่น นาย ก. เป็นพนักงานในหน่วยงานแห่งหนึ่ง วันไหนที่รู้ตัวล่วงหน้าว่าที่ทำงานมีงานยุ่งเขามักขาดงาน มักหนีกลับก่อนเวลา โดยเฉพาะเวลาที่มีงานมาก แต่ถ้ามีงานรื่นเริงมักไม่เคยขาด จากข้อมูลนี้ผู้ศึกษาอาจลงความเห็นว่า นาย ก. เกียจคร้าน หรือนาย ก. ชอบสนุก เป็นต้น
วิธีพฤติกรรมนิยมแยกได้ 2 วิธีการ ดังนี้
(2.1) ศึกษาในสภาพธรรมชาติ (naturalistic method) วิธีนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นจริงตามธรรมชาติหรือสภาพที่เป็นธรรมดา ไม่มีการควบคุมสถานการณ์หรือสร้างสถานการณ์ใด ๆ วิธีธรรมชาตินี้มีเทคนิคแยกย่อยออกไปได้หลาวิธีการ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละปัญหาหรืออาจใช้หลาย ๆ วิธีแล้วนำข้อมูลที่ได้มารวบสรุปในขั้นสุดท้าย
การศึกษาพฤติกรรมในบางเรื่อง จำนวนประชากร (population) มีมากไม่อาจหาข้อมูลได้ครบ ผู้ศึกษาก็จะใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง (sampling) คือ เก็บข้อมูลจากประชากรนั้นเพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งจะต้องพยายามสุ่มให้ได้กลุ่มตัวอย่าง (sample) ที่จะเป็นตัวแทนของประชากรได้ดีที่สุด

การรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมในสภาพธรรมชาติ ทำได้หลายวิธี คือ
(2.1.1) วิธีสังเกต ( observation) วิธีนี้จะให้ผลถูกต้องแม่นยำขึ้น ถ้าผู้สังเกตไม่ทำให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว และเมื่อบันทึกผลการสังเกตก็ต้องบันทึกอย่างตรงไปตรงมา (anecdotal records) ได้ยินอย่างไร มองเห็นอย่างไรก็เขียนตามนั้น ไม่ใส่ความคิดของผู้สังเกตลงไปในบันทึกนั้น ถ้าจะมีความเห็นต้องแยกออกมาอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพื่อมิให้ความคิดของเราไปครองงำการตีความของผู้อื่น
(2.1.2) วิธีสำรวจ (survey method) เป็นการศึกษาพฤติกรรมในระยะเวลาสั้น ๆ ในกรณีที่ผู้ศึกษาไม่มีเวลาสังเกตได้นาน วิธีนี้เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยการ "สอบถาม" ซึ่งอาจทำได้โดยวิธีการย่อยลงไปอีก เช่น อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ (interview ) โดยการพูดคุย ซักถามเป็น รายคน วิธีนี้ถ้าอยากได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงขึ้น ผู้ศึกษาจะทำตัวเป็นกันเองกับผู้ถูกศึกษา และอาจมีการใช้แบบสอบถาม (questionnaires) โดยให้ผู้ถูกศึกษาตอบคำถามลงในแบบสอบถามที่เตรียมไว้แล้ว และการสอบถามก็ต้องเป็นการถามข้อมูลที่เป็นรูปธรรม การกระทำ ถ้าเป็นการถามความในในหรือความคิดก็จะเป็นการศึกษาโดยวิธีสำรวจตนเอง ดังได้กล่าวมาแล้ว
(2.1.3) วิธีทดสอบ (testing) วิธีนี้ถือกันว่าสำคัญมากในการศึกษาพฤติกรรม ผู้ศึกษาใช้แบบสอบวัดพฤติกรรมได้หลายอย่างแล้วแต่ชนิดของแบบทดสอบนั้น ๆ เช่น อาจวัดความสนใจ บุคลิกภาพ ความถนัด ความกังวลใจ ระดับสติปัญญา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฯลฯ เป็นต้น จากแบบทดสอบ ผู้ศึกษาก็จะสามารถลงความเห็นพฤติกรรมภายในของผู้ถูกศึกษาได้ วิธีศึกษาพฤติกรรมโดยการทดสอบนี้จะให้ผลน่าเชื่อถือขึ้น ถ้าแบบทดสอบที่นำมาใช้นั้นมีความแม่นยำและความเชื่อถือได้ คำว่า ความแม่นยำ (validity) นั้น หมายถึงสามารถวัดสิ่งที่เราต้องการวัดได้ เช่น ถ้าศึกษาเจตคติ แบบทดสอบนั้นก็ต้องถามเกี่ยวกับเจตคติจริง ๆ ไม่ใช่ถามความรู้หรือถามเชาวน์ปัญญา ส่วน คำว่า ความเชื่อถือได้ (reliability) นั้น หมายถึง ไม่ว่าจะทดสอบบุคคลคนเดียวกันกี่ครั้ง ผลที่ได้ต้องแน่นอนหรือได้ผลใกล้เคียงกัน
(2.1.4) การศึกษารายบุคคล (case study method) การศึกษารายบุคคลเป็นการศึกษาโดยละเอียดเฉพาะรายกับผู้ถูกศึกษาที่มีพฤติกรรมบางด้านเบี่ยงเบนจากปกติทั้งทางบวกและลบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา เพื่อป้องกันปัญหา หรือเพื่อพัฒนาสร้างเสริมให้เหมาะสมเฉพาะราย กับเพื่อให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมบางประการ และเพื่อนำไปสู่การสร้างทฤษฎี พฤติกรรมต่าง ๆ การศึกษารายบุคคลมีขั้นตอนตามลำดับคือขั้นตอนศึกษาและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกศึกษาทั้งอดีตและปัจจุบันซึ่งอาจมีการสืบประวัติ ขั้นตอนวินิจฉัยพฤติกรรม ขั้นตอนเสนอแนะวิธีช่วยเหลือ วิธีป้องกันปัญหา วิธีสร้างเสริมพัฒนา ขั้นตอนดำเนินการช่วยเหลือและขั้นตอน ติดตามผล

ตัวอย่างการศึกษารายบุคคลที่เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ และป้องกันปัญหามิให้ลุกลามต่อไป ทำให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมผิดปกติมากขึ้น เช่น สมมติคนไข้จิตเวชรายหนึ่งเป็นเด็กอายุ 9 ปี มีอาการไรคลมชักหาสาเหตุทางกายไม่ได้ ในขั้นตอนศึกษาข้อมูลส่วนตัวเองเด็กคนนี้ทั้งอดีตและปัจจุบัน พบว่า พ่อแม่แยกทางกัน ต่างมีคู่ครองใหม่ เด็กอยู่กับพ่อ แม่เลี้ยงมีบุตรหลายคน เด็กมีพฤติกรรมเงียบเฉย ถ้าพ่ออยู่บ้านด้วยเด็กจะร่าเริงบ้าง แต่เมื่อพ่อไม่อยู่หรือพ่อจะออกจากบ้านเด็กมักเป็นลมแน่นิ่ง ชัก หอบหืด ในขั้นตอนวินิจฉัยพฤติกรรมจิตแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กขาดความรัก คาวมอบอุ่นทางใจ ความผิดปกติทางจิตทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย ในขั้นตอนเสนอแนะวิธีช่วยเหลือจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เสนอแนะให้พ่อแม่และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหา เมื่อทุกฝ่ายเกิดความรู้ความเข้าใจ ต่างให้ความเอาใจใส่แก่เด็ก จัดเป็นขั้นตอนดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งพบต่อมาในขั้นตอนติดตามผลว่า เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น การเจ็บป่วยทางกายลดลง และเริ่มร่าเริ่งแจ่มใส กรณีศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การดูแลช่วยเหลือและเอาใจใส่กัน ช่วยขจัดปัญหาและช่วยพัฒนากันได้
จากตัวอย่างการศึกษารายบุคคลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ศึกษาอาจใช้วิธีและเครื่องมือเก็บข้อมูลพฤติกรรมได้หลายรูปแบบ อาจเป็นการสัมภาษณ์ สังเกต การสำรวจ การทดสอบ เป็นต้น ซึ่งการที่จะใช้วิธีใดบ้างนั้น ต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และพฤติกรรมที่ศึกษา
(2.2) ศึกษาในสภาพทดลอง (experimental method) การศึกษาพฤติกรรม โดยวิธีทดลองต่างจากวิธีธรรมชาติคือ มีการเปลี่ยนแปลงหรือควบคุมสภาวะตามธรรมชาติ เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ต่อพฤติกรรมบางประการ นักวิชาการมักอธิบายกันว่าเป็นการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของ "ตัวแปร" (variables) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variables) ตัวแปรต้นเป็นเหตุหรือสิ่งเร้าที่ผู้ศึกษาต้องการทราบว่ามีผลต่อพฤติกรรมอย่างไร ตัวแปรตามเป็นผลหรือพฤติกรรมที่เกิดเนื่องมาจากสิ่งเร้าที่ศึกษานั้น
ตัวอย่างตังวแปรต้นและตัวแปรตาม เช่น ในการศึกษาทดลองของจิตแพทย์ที่อยากทราบว่าระหว่าง การรักษษคนไข้จิตเวชในโรงพยาบาลอย่างเดียว กับรักษาในโรงพยาบาลด้วยแล้วออกเยี่ยมคนไข้ที่บ้านด้วย จะช่วยให้คนไข้คลายจากความเก็บกดทางใจดีกว่ารักษาในโรงพยาบาลอย่างเดียวหรือไม่ ในที่นี้การออกเยี่ยมบ้านเป็นตัวแปรต้น ความเก็บกดทางใจเป็นตัวแปรตาม
การทดลองทางจิตวิทยามักต้องใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ทดลอง เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ศึกษาเรียกว่า "กลุ่มทดลอง" (experimental group) กลุ่มที่อยู่ในสภาพธรรมดา เพื่อใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลเรียกว่า "กลุ่มควบคุม" (control group) ตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เช่น ในการทดลองเรื่องการรักษาคนไข้จิตเวชที่แบ่งกลุ่มคนไข้เป็น 2 กุล่ม ทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลรักษาเมื่อมาพบแพทย์ในโรงพยาบาลเหมือน ๆ กัน ที่ต่างกัน คือ แพทย์จะออกเยี่ยมบ้านคนไข้กลุ่มหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการออกเยี่ยมบ้านคนไข้ต่ออาการทางจิตประสาท ในที่นี้กลุ่มที่ได้รับการรกัษาในโรงพยาบาลและได้รีบการเยี่ยมบ้านด้วยเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเดียวเป็นกลุ่มควบคุม
การศึกษาโดยวิธีทดลองนี้ เชื่อกันว่าน่าจะให้ผลถูกต้องแม่นยำ มีข้อผิดพลาดน้อยกว่าวิธีอื่น เนื่องจากได้พยายามควบคุมสภาวะเงื่อนไขของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มให้เหมือน ๆ กัน ที่ต่างกันอย่างเดียวคือสิ่งเร้าที่ศึกษา เพื่อค้นหาว่าจะให้ผลต่อพฤติกรรมต่างไปจากการไม่มีสิ่งเร้านั้น อย่างไร
ที่กล่าวถึงวิธีการศึกษาพฤติกรรมทั้งหมดในบทนี้ช่วยให้เห้นความเป็นวิทยาศาสตร์ของการศึกษาพฤติกรรมได้มากขึ้น เนื่องจากข้อสรุป คำอธิบาย และทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์นั้น ได้มาโดยอาศัยเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ จึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่ายุคเดิมที่โน้นเอียงไปทางวิธีปรัชญามากกว่าปัจจุบัน ช่วยการบริโภคด้วยปัญญา คือ วิเคราะห์ได้ด้วยตนเองว่า ควรเชื่อหรือไม่เชื่อข้อมูลหรือพฤติกรรมใดและช่วยให้ผู้ศึกษาได้แนวทางศึกษาหาคำตอบพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

1.4 แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาพฤติกรรม
ศาสตร์แห่งพฤติกรรมมนุษย์มีที่มาจากปรัชญาและจิตวิทยา ศึกษาต่อเนื่องกันมานับตั้งแต่ก่อนคริสตศักราชจนถึงปัจจุบัน ในที่นี้จะกล่าวถึงความเป็นมาของการศึกษาพฤติกรรม วิวัฒนาการของคำอธิบายเรื่องกายและจิต และแนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาพฤติกรรม
1.4.1 ความเป็นมาของการศึกษาพฤติกรรม
ศาสตร์ทางพฤติกรรมมีที่มาจากหลายฐานความรู้ ดังนั้น ผู้นำในการศึกษาค้นคว้าพฤติกรรมจึงมาจากหลายแหล่ง ส่วนหนึ่งเป็นนักปรัชญา อีกส่วนหนึ่งเป็นนักจิตวิทยาแท้ ๆ ถ้าศึกษารากฐานที่มาของจิตวิทยายุคต้น จะพบว่าแตกตัวมาจากปรัชญาเก่าแก่ ผู้บุกเบิกเริ่มต้น ได้แก่ ปราชญ์ชาวกรีก คือ เพลโต้ (Plato ) และอริสโตเติ้ล (Arstotle) ซึ่งเน้นศึกษาเรื่องของจิตและวิญญาณ สนใจศึกษาเรื่องพฤติกรรมทางจิตของมนุษย์ บุคคลสำคัญต่อ ๆ มามีดังนี้
จอห์น ลอค (John Locke, 1632-1704) ปราชญ์ชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญอีกผู้หนึ่ง ศึกษาเรื่องจิตสำนึก (conscious) ซึ่งเป็นสภาพที่บุคคลรู้ตัวว่าเป็นใคร กำลังคิดอะไรกำลังทำอะไร ฯลฯ คำอธิบายของเขาค่อนข้างสมัยใหม่ เขาเห็นว่ากายกับจิตแยกกันไม่ออก และจิตของคนเราจะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นกับสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมส่งผลให้คนเราคิด ทำ หรือมีคุณสมบัติใด ๆ แตกต่างกัน หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะเสริมสร้างบุคคลให้ดีได้
วัตสัน (John B.Watson, 1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้ให้คำจำกัดความของ "จิตวิทยา" ที่สมัยใหม่และใช้มาจนปัจจุบันนี้ โดยกล่าวว่า จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ถ้าศึกษาคนจากพฤติกรรมหรือการกระทำก็จะทำให้เข้าใจจิตใจของคน ๆ นั้น เพราะคนเราย่อมทำโดยสอดคล้องกับจิตหรือความคิด พฤติกรรมเป็นการแสดงออกของจิต ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้ นับเป็นการบุกเบิกที่สำคัญที่ทำให้จิตวิทยามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เลิกวิธีศึกษาพฤติกรรมแบบปรัชญาที่นั่งคิดนั่งเขียนเพื่อสร้างแนวคิด มาเป็นค้นหาคำตอบโดยมีการเก็บข้อมูลแล้วสรุปจากข้อมูลส่วนใหญ่ วัตสันได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งจิตยาแผนใหม่" ด้วยผลงานนี้
วุ้นดท์ (wilhelm Wudndt, 1872-1920) นักชีววิทยาและนักจิตวิทยาชาวอเมริกันอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจเรื่องการสำรวจตนเองและโครงสร้างการทำงานของจิตเมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์เป็น "บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง" โดยตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาเป็นแห่งแรกในโลก ซึ่งช่วยให้ความรู้ด้านพฤติกรรมกระทำกันอย่างกว้างขวางและมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ช่วยให้คำอธิบายพฤติกรรมมีเหตุมีผลและขยายตัวก้าวหน้าในวงการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
มีนักจิตวิทยาอื่น ๆ อีกมากที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา เช่น เฟชเนอร์ (Gustav Fechner) นักฟิสิกส์ซึ่งศึกษาทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการรับสัมผัส ฮอล (G.Stanley Hall) ทิชเชนเนอร์ (E.B. Titchener) และแคทแทล (James Cattell) ซึ่งร่วมงานทดลองกับวุ้นดท์โดยใกล้ชิด และวิลเลี่ยม เจมส์ (William James) ซึ่งศึกษาทดลองเรื่องการเกิดอารมณ์ในคนเราในแง่ของพฤติกรรมทางสรีระและเรื่องอื่น ๆ อีกมาก นับว่าคริสศตวรรษที่ 19 นี้ เป็นยุกทองของการศึกษาพฤติกรรม ทำให้ศาสตร์ทางพฤติกรรมก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากการศึกษาของผุ้บุกเบิกต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ปัจจุบันมีนักวิชาการ นักการศึกษา และนักวิจัยใหม่ ๆ ทำการศึกษาวิจัยและแสดงแนวคิดเรื่องธรรมชาติและการพัฒนาพฤติกรรม รวมทั้งการพัฒนาตนไว้มาก ซึ่งในตอนต่อ ๆ ไปของเนื้อหาในเล่มจะมีการกล่าวถึงผลการศึกษาและแนวคิดดังกล่าวที่น่าสนใจไว้บางส่วน
1.4.2 วิวัฒนาการของคำอธิบายเรื่องกายและจิต
ซิมบาร์โดและเกอร์ริก (Zimbardo & Gerrig 1998 : 106 ) ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของคำอธิบายเรื่องกายและจิตไว้ว่า เดิมในสมัยกรีกโบราณแม้จะเน้นศึกษาเรื่องจิตภายในของมนุษย์ แต่ก็ยังเห็นว่ามนุษย์แบ่งภาคเป็น 2 ส่วน คือ กายและจิต ตัวอย่างผู้ที่อธิบายในเรื่องนี้ได้แก่ เพลโต ซึ่งเรียกกลุ่มความเชื่อดังกล่าวว่ากลุ่มทวินิยม (Dualism) คำว่า "ทวิ" หมายถึง "2" กลุ่มทวินิยมเห็นว่าจิตมีการทำงานที่แยกจากสมอง บุคคลสำคัญในยุคต่อมาของกลุ่มทวินิยมคือ ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อเรเน เดส์คาร์ทส์ (Rene Descarts, 1596-1650) เขามุ่งศึกษาโครงสร้างทางชีววิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เขาเห็นว่าจิตอยู่ในสมอง และเป็นคนละส่วนกับสมอง จิตควบคุมกลไกของร่างกาย
จากการศึกษาของเดส์คาร์ทส์เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการศึกษาโครงสร้างร่างกายมนุษย์กันมาก ความรู้ค่อยคลี่คลายจนถึงยุคความเชื่อใหม่ที่เรียกว่า เอกนิยม (Monism) กลุ่มนี้เชื่อว่ากายและจิตเป็นสิ่งเดียวกัน นักปรัชญาที่เชื่อเช่นนี้ ได้แก่ เจ. ซี. สมาร์ท (J.C.Smart) และเฮอร์เบิร์ต ไฟเกิล (Herbert Feigl)
2. ท่านที่กล่าวมาเห็นว่าความรู้สึกนึกคิดเป็นกระบวนการทำงานของเซลล์สมอง ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของโธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588- 1978) ที่เห็นว่า กิจกรรมทางจิตทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก การรับรู้ การคิด อารมณ์ เป็นการทำงานของสมองทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นความคิดสมัยใหม่ ซึ่งเมื่อมาถึงปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่ากายและจิตคือสิ่งเดียวกัน และการพัฒนาจิตคือ การพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์
1.4.3 แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาพฤติกรรม
กลุ่มแนวคิดของจิตวิทยา (perspectives in psychology) มีหลายกลุ่ม ซึ่งแอตคินสันและคนอื่น ๆ (Atkinson et. Al. 1993: 33) กล่าวว่า แต่ละกลุ่มมีชื่อต่าง ๆ กันตามการให้เหตุผลที่ต่ากันเกี่ยวกับที่มาของพฤติกรรม แต่พฤติกรรมของมนุษย์มีหลากหลายทั้งประเภทและที่มา จึงควรศึกษาแนวคิดของทุกกลุ่ม เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมให้ได้มากที่สุดและเพื่อเป็นช่องทางในการนแนวคิดไปใช้ทั้งยังอาจช่วยให้ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองต่อไป แนวทัศนะที่น่าสนใจมีดังนี้
(1) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาโครงสร้างนิยม (Structuralism)
กลุ่มจิตวิทยาโครงสร้างนิยมเป็นกลุ่มบุกเบิกยุคต้น มีความเชื่อว่ามนุษย์มีองค์ประกอบเป็น 2 ส่วน คือ กายกับจิต ทั้งสองส่วนทำงานสัมพันธ์กัน จิตควบคุมการทำงานของกาย การทำงานของกายเกิดเป็นพฤติกรรม กลุ่มนี้มุ่งศึกษา "องค์ประกอบและการทำงานของจิต" หาคำตอบว่าจิตประกอบไปด้วยการทำงานอย่างไร จากผลการศึกษาสรุปว่าจิตเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย "จิตธาตุ" (mental elements) ซึ่งมีการสัมผัส (sensation) ความรู้สึก (feeling) และจินตนาการ (image) และจิตธาตุนี้มีอิทธิพลต่อการกระทำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจิตกับสรีระทำงานไปด้วยกัน
จากการที่กลุ่มนี้เห็นว่าจิตหรือสมองของคนเราแยกการทำงานออกเป็นส่วนๆ ถ้าต้องการให้ส่วนใดทำงานได้ดีก็ต้องมุ่งฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมว่าต้องการให้ตนเองหรือใครเป็นอะไร อย่างไร ก็ต้องมุ่งฝึกในด้านนั้นมากที่สุด ฝึกมาก ๆ ก็จะพัฒนาขึ้นได้ ดังจะเห็นตัวอย่างบุคคลมากมายในชีวิตประจำวันที่ไม่นั่งรอคอยโชคชะตาหรือทำอะไรตามที่ตนถนัดแต่ดั้งเดิมเท่านั้น หากแต่มุ่งเสริมสร้างตนให้ "พรแสวง" เอาขนะ "พรสวรรค์" มนุษย์เราแม้ไม่มีพรสวรรค์แต่ถ้าพยายามก็พัฒนาได้

(2) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาหน้าที่นิยม (Functionalism)
กลุ่มหน้าที่นิยมมีความเชื่อเบื้องต้นคล้ายกลุ่มโครงสร้างนิยม ที่ว่ามนุษย์แต่ละคนประกอบไปด้วยกายกับจิตที่สัมพันธ์กัน แต่กลุ่มนี้มุ่งศึกษาสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตนต่อสิ่งแวดล้อมหรือแก้ปัญหาได้ดี และเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย ผู้นำสำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มหน้าที่นิยม ได้แก่ จอห์น ดิวอี้ ( John Dewey, 1859 – 1952 ) และวิลเลี่ยม เจมส์ ( William James, 1842 – 1910 )
จอห์น ดิวอี้ นั้น มีความเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีหรือไม่ ได้แก่ประสบการณ์ ( experience ) เขาเห็นว่า "การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ ( Learning by doing.) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของมนุษย์ที่จะต้องมีการส่งเสริม ส่วนวิลเลี่ยม เจมส์ เชื่อว่าสัญชาตญาณ (instinct) เป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม คำว่า "สัญชาตญาณ" ในทัศนะของเจมส์ หมายถึงสิ่งที่มีแล้วในตัวบุคคล ทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่การกระทำนั้น ๆ ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน ต่อมาภายหลังจิตวิทยาสมัยใหม่พิสูจน์ว่าพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่มีสาเหตุ พฤติกรรมของสัตว์ชั้นต่ำเท่านั้นที่มีเรื่องของสัญชาตญาณ เช่น แม่ไก่กกไข่ นกสร้างรัง ซึ่งเมื่อถึงเวลามันก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามแนวคิดที่ใช้ประโยชน์ได้มากของวิลเลี่ยม เจมส์ คือ เรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิดของบุคคล และการศึกษาเรื่องธรรมชาติอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งนักการศึกษาได้นำแนวคิดของเขามาใช้ประโยชน์ในเรื่องการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางอารมณ์และการกระทำที่ไม่เหมาะสมอันจัดเป็นอีกส่วนหนึ่งของความฉลาดทางอารมณ์
แนวคิดของกลุ่มหน้าที่นิยมนี้ นอกจากเสริมสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลของบุคคลแล้ว ยังนำมาใช้เสริมสร้างพัฒนาพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลได้โดยให้บุคคลได้มีประสบการณ์ให้มาก โดยเฉพาะประสบการณ์ตรง ปฏิบัติจริง เผชิญปัญหาและแก้ปัญหาจริงเพื่อให้ "คิดเก่ง ทำเป็น แก้ปัญหาได้" ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบันที่ "เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ" (student center) ที่ควรต้อง "เรียนรู้เชิงประสบการณ์ " (active learning)
(3) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
กลุ่มจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของ "จิตไร้สำนึก" (unconscious mind) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่ม "พลังที่หนึ่ง " (จิตไร้สำนึก" (unconscious mind) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่ม "พลังที่หนึ่ง" (The first force) ที่แหวกวงล้อมจากจิตวิทยายุคเดิม นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ฟรอยด์ (sinmiund Freud, 1856-1939 ) และส่วนใหญ่แนวคิดในกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้เป้นของฟรอยด์ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวออสเตรีย เขาอธิบายว่า จิตของคนเรามี 3 ส่วน คือ จิตสำนึก (conscious mind) จิตกึ่งรูปสำนึก (preconscious mind) และจิตไร้สำนึก (unconscious mind) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
จิตสำนึก เป็นสภาพที่รู้ตัวว่าคือใคร อยู่ที่ไหน ต้องการอะไร หรือกำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด เมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปก็แสดงออกไปตามหลักเหตุและผล แสดงตาม แรงผลักดันจากภายนอก สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality)
จิตกึ่งรู้สำนึก เป็นจิตที่เก็บสะสมข้อมูลประสบการณ์มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมให้ดึงออกมาใช้ พร้อมเข้ามาอยู่ในระดับจิตสำนึก เดินสวนกับคนรู้จัก เดินผ่านเลยมาแล้วนึกขึ้นได้รีบกลับไปทักทายใหม่ เป็นต้น และอาจถือได้ว่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความจำก็เป็นส่วนของจิตกึ่งรู้สำนึกด้วย เช่น ความขมขื่นในอดีต ถ้าไม่คิดถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้านั่ง ทบทวนเหตุการณ์ที่ไรก็ทำให้เศร้าได้ทุกครั้ง เป็นต้น
จิตไร้สำนึก เป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่เจ้าตัวไม่รู้สึกตัวเลย อาจเนื่องมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดไว้ เช่น อิจฉาน้อง เกลียดแม่ อยากทำร้ายพ่อ ซึ่งเป็นความต้องการที่สังคมไม่ยอมรับ หากแสดงออกไปมักถูกลงโทษ ดังนั้น จึงต้องเก็บกดไว้หรือพยายามที่จะลืม ในที่สุดดูเหมือนลืมได้ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหนยังมีอยู่ในสภาพจิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกยังอาจเป็นเรื่องของอิด (id) ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา เป็นพลังที่ผลักดันให้เราแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ (principle of plessure) แต่สิ่งนั้นถูกกดหรือข่มไว้จนถอยรนไปอยู่ในสภาพที่เราไม่รู้ตัว ส่วนของจิตไร้สำนึกจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ การพลั้งปากพูด การแสดงออกทางด้านจินตนาการ วรรณคดี ศิลป ผลงานด้าน วิทยาศาสตร์ การกระทำที่ผิดปกติต่าง ๆ แม้กระทั่งการระเบิดอารมณ์รุนแรงเกิดเหตุ บางครั้งก็เป้นเพราะจิตไร้สำนึกที่เก็บกดไว้ ฟรอยด์มีความเชื่อว่า จิตไร้สำนึกมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อบุคลิกภาพและการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด ทั้งยังเชื่อว่าความก้าวร้าวและความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อพฤติกรรม
นอกจากจิตสำนึก จิตกึ่งรู้สำนึก และจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้แบ่งองค์ประกอบของพลังจิต (psychic energy) เป็น 3 ส่วน คือ id, ego และ super ego ซึ่งเป็นแรงขับให้กระทำพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้

  • อิด (id) เป็นส่วนที่ติดตัวมาโดยกำเนิด จัดเป็นเรื่องของแรงขับตามสัญชาตญาณ ความอยาก ตัณหา เป็นส่วนของจิตที่กระตุ้นให้บุคคล แสดงพฤติกรรม ตามหลักแห่งความพอใจ ถ้าบุคคลใดแสดงพฤติกรรมตาม id นั่นคือ พฤติกรรมนั้น ๆ เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตนเอง เป็นส่วนใหญ่
  • อีโก้ (ego) เป็นพลังส่วนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาแล้ว เป็นส่วนที่ควบคุม การแสดงพฤติกรรมของคน ๆ นั้นให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม ทั้งภายใต้อิทธิพลของอิดและซุปเปอร์ อีโก้ พยายามแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ของอิดและซุปเปอร์อีโก้ จนในที่สุดบางคนจะทุกข์ร้อน วิตก กระวนกระวาย จนอาจถึงขั้นโรคจิตประสาท ถ้าความขัดแย้งดังกล่าวมีมาก วิธีหนึ่งที่เป็นทางออกของอีโก้ก็คือ ปรับตนโดยการใช้กลไกการป้องกันตัว (defense mechanism) ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลพยายามแก้ไขความคับข้องใจของตนเองโดยที่มิได้จงใจ เป็นไปเพื่อรักษาหน้าและศักดิ์ศรี
  • ซุปเปอร์อีโก้ (super ego) เป็นพลังจากสังคมที่เกี่ยวกับหลักศิลธรรม คุณธรรม จริยธรรม อุดมคติในการดำเนินชีวิต เป็นพลังส่วนที่ควบคุม ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมโดยสอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (principle of reality) เช่น บัญชาให้คน ๆ นั้นเลือกกลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสมมาใช้

แนวคิดของฟรอย์ส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาคนปกติ เนื่องจากเขาเป็นจิตแพทย์จึงมุ่งศึกษาสาเหตุความแปรปรวนทางจิตเพื่อจะหาทางแก้ไขให้คืนดี แนวคิดของกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้ช่วยให้เห็นความผิดปกติของพฤติกรรม เข้าใจผู้มีปัญหา และเป็นแนวทางในการบำบัดรักษาความผิดปกติ และอาจจะเป็นแนวคิดแก่บุคคลทั่วไปในการระแวดระวังตัวเองมิให้ตกเป็นทาสของจิตหรือความคิดที่หมกมุ่นจนอาจส่งผลต่อความผิดปกติที่มากจนถึงขั้น อาการทางจิตประสาท

(4) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นศึกษาเฉพาะ "พฤติกรรมที่สังเกตได้" ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมภายนอก โดยเชื่อว่าเราจะทราบถึงเรื่องราวของจิต ก็โดยศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออก จัดเป็นกลุ่มพลังที่ 2 (the second force) ในการอธิบายพฤติกรรมในแนวใหม่ที่มุ่งทำความเข้าใจบุคคล จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม
ผู้นำของนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น วัตสัน ( john B. Watson, 1878-1858) พาฟลอฟ (Ivan P, Pavlow , 1846- 1926) และสกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904- 1990) ผลงานของนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งนำไปใช้มากในการปรับพฤติกรรม

ความเชื่อของกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างจะตองมีสาเหตุพฤติกรรมเป็นการตอบสนองของบุคคลต่อสิ่งเร้า มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งแยกย่อยไปได้เป็น 2 แนวคิด คือ แนวคิดของทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไข (The Conditioning theory) และแนวคิดของทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (The Connectioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไข เชื่อว่าสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง เมื่อไม่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ต้องหาสิ่งเร้าอื่นที่เหมาะสมมาเข้าคู่เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น ส่วนทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เชื่อว่าการตอบสนองหรือการกระทำใดก็ตามเมื่อได้ผลเป้นที่น่าพอใจและแก้ปัญหาได้ บุคคลจะจำการตอบสนองหรือการกระทำนั้น ๆ ไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่คล้ายสถานการณ์เดิมอีก
แนวคิดและทฤษฎีจากนักวิทยากลุ่มพฤติกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในแง่มุมต่าง ๆ โดยใช้สิ่งเร้าที่เลือกสรรแล้ว มาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล ได้โดยใช้สิ่งเร้าที่บุคคลต้องการมากำหนดการกระทำ และการใช้แรงเสริมหรือรางวัลมาทำให้พฤติกรรมที่ต้องการเกิดซ่ำขึ้นอีกจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและทำดีโดยสม่ำเสมอ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มนี้ก็เน้นการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชื่อว่าการลงโทษจะทำให้บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ซึ่งการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีและลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีนี้ บุคคลอาจใช้เพื่อพัฒนาตนเองที่นอกเหนือจากการพัฒนาคนอื่นได้ด้วย โดยให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อสามารถควบคุมตนให้ทำดีได้ และอาจเพิ่มงานให้ตนเองในบางครั้งเมื่อพบว่าได้ละเลยงานในความรับผิดชอบไปบ้าง เป็นต้น
(5) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์นิยม (Gestalt Psychology)
กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า "กลุ่มจิตวิทยาส่วนรวม" คำว่า "Gestalt" หมายถึง ส่วนรวมทั้งหหมด หรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยมเกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปัญญานิยม" (cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880- 1943 ) และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886-1941)
กลุ่มเกสตัลท์นิยมเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมบูรณาการ(integrated behavior) การศึกษาพฤติกรรมต้องศึกษาลักษณะของบุคคลเป็นส่วนรวม จะแยกศึกษา ที่ละส่วนไม่ได้ เพราะส่วนรวมก็คือส่วนรวม มีคุณค่าหรือคุณสมบัติต่างไปจากผลบวกของส่วนย่อย ๆ รวมกัน เช่น "บ้าน" ย่อมีคุณค่า มีความหมาย มีคุณสมบัติที่มากกว่าการเอาเสา เอากระดานพื้น กระดานตามประตูหน้าต่าง ๆ หลังค่า ฯลฯ มาต่อรวมเข้าด้วยกัน หรือตัวอย่างในรูปพฤติกรรม เช่น การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม จะแสดงออกมาในรูปใด มักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนรวมของคน ๆ นั้น โดยประสมประสานระหว่างความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ หรือความสามารถในการกระทำ ฯลฯ ไม่ได้เกิดเพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียว และถึงแม้สิ่งเร้าของคนนั้น จะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่พฤติกรรมจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ทั้งนี้เนื่องจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ และความสามารถเปลี่ยนไปจากเดิม
กลุ่มเกสตัลท์เน้นศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ รวมทั้งการเรียนรู้จากปัญญาความคิด เห็นว่าการรับรู้เป็นพื้นฐานทำให้เกิดการเรียนรู้ และคนเรามีความสามารถในการรับรู้ต่างกัน ส่งผลให้เรียนรู้และกระทำแตกต่างกัน การจะรับรู้ให้เข้าใจได้ดีจะต้องรับรู้โดยส่วนรวมเสียก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งนั้นทีละส่วนในภายหลัง และการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น (insight) การหยั่งเห็นเป็นการคิดช่องทางแก้ปัญหาได้ฉับพลันจากการพิจารณาสภาวะรอบด้าน ถ้าเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดก็จะแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น เมื่อแก้ปัญหาได้ก็เกิดการเรียนรู้แล้ว ซึ่งจะเปก็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นกับการใช้ความคิด ความเข้าใจ หรือสติปัญญาของผู้นั้น แนวคิดของกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า "ปัญญานิยม" เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมตอ้งศึกษาจากกระบวนรับรู้และการคิดในสมองซึ่งเป็นตัวสั่งการให้เกิดพฤติกรรม
การพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวคิดของเกสตัลท์นิยมนั้น จะต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิดก่อน รวมไปถึงการทำความเข้าใจและวินิจฉัยบุคคลที่จะต้องดูผู้นั้นเป็นส่วนรวม ต้องศึกษาเขาในสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบ เพื่อให้รู้จักผู้นั้นได้โดยแท้จริง รวมทั้งได้แนวทางเข้าใจบุคคลโดยพิจารณาที่โลกแห่งการรับรู้ของเขา เนื่องจากเขาจะรับรู้ตามความคิดภายในมากกว่ารับรู้โลกเชิงภูมิศาสตร์ตามความเป็นจริง เมื่อเข้าใจการรับรู้ของใครก็ย่อมเข้าใจความคิดของผู้นั้นด้วย
(6) แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม (Humanism)
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902 – 1987) และ แมสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า "พลังที่สาม" (the third force) ซึ่งบางคนเรียกว่า "คลื่นลูกที่สาม" (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
(6.1) มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเขัาใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
(6.2) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้สึก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
(6.3) ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู่จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตน จึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
(6.4) บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ "ออกแบบชีวิต" ที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา
(6.5) วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคลมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวคามรู้เพียงอย่างเดียว
แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
หลักความเชื่อและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมดังกล่าว มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับกันมากในปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทยของเราเอง ได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้ โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาห ด้วยความชาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่น เขาจะมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจ และตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ ตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้น จะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการนำเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้น จะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

1.5 ข้อควรคำนึงในการนำความรู้เรื่องพฤติกรรมสู่การพัฒนาตนและผู้อื่น

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนที่กล่าวมาในบทนี้ จะเห็นได้ว่า นำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาตนได้มาก ผนวกกับความรู้อื่น ๆ ที่จะกล่าวในบทต่อ ๆ ไป แต่การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติก็มีข้อควรคำนึงอยู่หลายประการ ดังนี้
1.7.1 จากการที่ได้ทำความเข้าใจมาแล้วว่า พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 ประเภท คือพฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน โดยพฤติกรรมภายในอันได้แก่ความคิด จิตใจ เป็นตัวควบคุมการกระทำหรือพฤติกรรมภายนอก ดังนั้น ในการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคล จึงต้องมุ่งพัฒนาจิตหรือความคิด เพื่อให้เกิดการกระทำที่พึ่งปรารถนา ดังมีคำกล่าวที่ว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" หากจิตคิดดี คิดบวก ก็ย่อมเกิดการกระทำที่ดีตามมา ดังนั้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใด ๆ รวมทั้งพฤติกรรมของตนเอง จึงต้องมุ่งพัฒนาจิตและความิดเป็นอันดับแรก
1.7.2 การเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เพื่อการพัฒนาตนนั้น มิใช่รู้เพื่อรู้ แต่รู้แล้วต้องนำไปสู่การปฏิบัติจึงจะเกิดประโยชน์ รู้วันนี้ปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ ดังคำกล่าวของเกอด และอาร์คอฟฟ (Goud & Arkoff 1998 :1) ที่ว่า เราคือใคร ควรเป็นอะไร ควรอยู่ที่ไหน คำตอบมีอยู่ในตัวเอง ถ้ามองก็จะเห็น ถ้าค้นหาก็จะพบ อย่ารีรอต่อการศึกษาและปฏิบัติ หากช้าอาจหมดกำลังก่อนก้าวเดิน หมดโอกาสก้าวไปข้างหน้า
1.7.3 ในการนำความรู้เรื่องพฤติกรรมไปสู่การพัฒนาตน ควรเป็นไปโดยอาศัยหลักเหตุและผลเชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมในยุคปัจจุบัน มีที่มาโดยอาศัยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของสมอง การทำงานของสรีระอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนได้โดยแท้จริง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความรู้เรื่องพฤติกรรมมิได้มีอยู่เพียงในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง เพียงเล่มเดียว ตำราอื่น ๆ และบทเรียนจากชีวิตจริง จากบทความ สารคดี "E-Learning" หรือเกร็ดชีวิตของผู้คนรอบตัว ล้วนเป็น "บทเรียนแห่งชีวิต" เข้าทำนอง "ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว" การเรียนรู้ข้อมูลจากทุกแหล่งทุกที่มักจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตนได้ทั้งสิ้น โอกาสย่อมเป็นของผู้แสวงหา ถ้ารู้จักแสวงหาและวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ก็จะได้อะไรให้กับชีวิตของตนมากมาย
1.7.4 ในการนำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไปสู่การพัฒนาตนบุคคลควรต้องกลั่นกรอง เลือกสรร ปรับปรุงให้เหมาะสมในการที่จะนำมาใช้กับตนเอง ไม่ว่าความรู้และประสบการณ์นั้นมาจากแหล่งใด ความรู้ที่มาจากทฤษฏีเป็นข้อสรุปจากคนส่วนใหญ่ หรือจากกลุ่มตัวอย่าง มิใช่ร้อยทั้งร้อยต้องเป็นอย่างนั้น ข้อสรุปด้านพฤติกรรมมักมีข้อยกเว้นอยู่เสมอ เพราะมีบางคนที่"ไม่ต้องตามเกณฑ์ " คือ ไม่เป็นไปตามทฤษฎีทั้งหมด จึงอาจไม่เหมาะสมกับตนที่จะนำมาใช้ตามทฤษฎีทุกประการ ต้องมีการเลือกรับปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และยิ่งถ้าเป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยอาศัยข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะเป็นประวัติชีวิต แนวคิดของบางคน ก็อาจเป็นเรื่องเฉพาะรายของผู้นั้น วิธีการดำรงชีวิตของคน ๆ หนึ่งซึ่งช่วยให้ผู้นั้นมีความสุข ประสบความสำเร็จ เมื่อผู้อื่นนำวิธีดังกล่าวไปปฏิบัติก็อาจจะไม่สามารถช่วยให้สำเร็จอะไรได้เนื่องจากมีองค์ประกอบอีกมากมายที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของคนเรา จึงต้องมีการใช้เหตุใช้ผลในการเลือกนำไปสู่การเข้าใจชีวิตและการปกิบัติให้เหมาะสมต่อไป ซึ่งความสามารถใน "การเลือก" นี้ นับเป้น "ความฝันของ แผ่นดิน" ที่ปรารถนาให้คนไทยทุกคนมี ดังที่ อมรวิชช์ นาครทรรพ์ (2539 : 20-21 ) ได้กล่าวไว้ว่า กระแสต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตมนุษย์นั้นทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวอย่างมากต่อรูปแบบชีวิตใหม่ ปรับตัวต่อชีวิตที่ต้องคิดเร็วทำเร็วยิ่งขึ้น ปรับตัวต่อวัฒนธรรมใหม่ ๆ ปรังตัวต่อ " ตัวเลือก " ต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตที่ต้องคิดเร็วทำเร็วยิ่งขึ้น ปรับตัวต่อวัฒนธรรมใหม่ ๆ ปรังตัวต่อ "ตัวเลือก" ต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กระแสต่าง ๆ เหล่านี้นำมาทั้งโอกาสและแรงกดดัน บุคคลและสังคมที่จะอยู่รอดและก้าวต่อไปได้มั่นคงจะต้องตระหนักในทางเลือก และพยายามเลือกให้ได้โดยเหมาะสม ดังนั้นเมื่อได้ศึกษาธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งจากตำรา เอกสาร และข้อมูลจากชีวิตจริง รวมทั้งการศึกษาจาก "E-Learning" โดยสืบค้นความรู้ทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บุคคลจึงควรเลือกอย่างฉลาดที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นการ "บริโภคด้วยปัญญา"
1.7.5 ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์กับการพัฒนาตน บุคคลควรปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็น "คนรุ่นใหม่" ที่มีชิวิตแบบ "ชีวิตแห่งการเรียนรู้ " คือ ไม่อยู่นิ่ง พร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างใช้เหตุใช้ผล และต้องเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (active learning) ที่มิใช่เน้นท่องจำหรือนั่งรับความรู้จากการถ่ายทอดของคนอื่นแหล่งเดียว ต้องศึกษาจากการปฎิบัติและจากหลายแหล่ง หากไม่มีแหล่งใดให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ก็เสาะแสวงหาคำตอบด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นปัจจุบัน ดังคำกล่าวของ ดร. ชัยวัฒน์คุประตกุล นักการศึกษาผู้หนึ่ง (อมรวิชช์ นาครทรรพ 2539 : 48 ) ที่ว่า "คนเก่งในอนาคต มิใช่คนที่รู้หรือจำข้อมูลได้มากมาย แต่เป็นคนที่รู้ว่าในสถานการณ์ใดจะต้องใช้ข้อมูลอะไรและจะไปหาข้อมูลนั้นได้ที่ไหน" และบุคคลควรเรียนรู้ในแนวทางตามแบบฉบัยของตน ซึ่งบางทีอาจก้าวเร็วหรือช้าไม่เท่าผู้อื่น แต่ก็มีโอกาสก้าวไปได้ทุกคนและควรก้าวไปให้ถึงที่สุดตามสมรรถภาพของตน รวมทั้งควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า ทุกคนจะชนะได้ตามทิศทางของตน
จึงหวังว่า ณ บัดนี้ นักศึกษาพร้อมแล้วต่อการก้าวเดินไปข้างหน้า "จงเป็นตามที่คุณควรเป็นและสามารถเป็นได้" สมดังคำกล่าวของสตีเวนสัน อาร์. แอล (Stevenson R.L.) ที่ว่า "การเป็นอยู่ตามที่เราควรเป็น และเป็นตามที่เราสามารถเป็นได้ เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต"

1.8 สรุป

พฤติกรรม คือ การกระทำของบุคคลทั้งภายนอกและภายใน พฤติกรรมภายในอันได้แก่ความคิดจิตใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก คำว่าการพัฒนาตนในเชิงจิตวิทยา มักหมายถึง การกระทำเพื่อการเจริญส่วนตน ซึ่งเน้นที่การพัฒนาจิตหรือความคิดภายในก่อนพัฒนาพฤติกรรมภายนอก เพื่อให้พฤติกรรมภายในควบคุมพฤติกรรมภายนอก แต่ผู้ศึกษาก็จะต้องศึกษาพฤติกรรมทุกด้านของบุคคลเพือ่ให้เกิดความเข้าใจตัวบุคคลโดยส่วนรวม ทั้งตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับปรับเปลี่ยน และพัฒนา เพื่อการดำรงตนอย่างเป็นสุขและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ ศาสตร์ที่ให้ความรู้ด้านพฤติกรรม มีทั้งปรัชญาและจิตวิทยา ปัจจุบันเน้นให้ความสำคัญที่จิตวิทยา เนื่องจากใช้วิธีวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนวิธีวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรมประกอบด้วยการกำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปรายงานผลและนำผลที่ได้ไปใช้ ในการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมมีทั้งการใช้วิธีสำรวจตน และวิธีพฤติกรรมนิยม ในวิธีพฤติกรรมนิยมมีทั้งวิธีศึกษาตามสภาพจริง โดยสัมภาษณ์ สำรวจ สอบถาม ทดสอบ สังเกต ศึกษารายบุคคล และวิธีทดลองซึ่ง ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ความเข้าใจเรื่องวิธีการศึกษาพฤติกรรม นอกจากช่วยให้เห็นที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรมแล้ว ยังช่วยให้รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้าสู่ตนตามกระแสโลกาภิวัตน์ว่าควรเชื่อถือได้หรือไม่ในระดับใด และยังส่งผลสู่แนวทางการศึกษาหาคำตอบต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองที่นอกเหนือจากการศึกษาทฤษฎีและแนวคิดของผู้รู้ สำหรับแนวคิดในเรื่องธรรมชาติพฤติกรรมนั้นมีผู้ศึกษากันมาตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราช จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ความาเชื่อที่ว่ากายและจิตแยกเป็น 2 ภาค จนถึงความเชื่อใหม่ที่เห็นว่ากายและจิตคือสิ่งเดียวกัน กลุ่มแนวคิดในการศึกษาและอธิบายพฤติกรรมซึ่งเป็นกลุ่มจิตวิทยา ประกอบด้วย กลุ่มโครงสร้างนิยม กลุ่มหน้าที่นิยม กลุ่มจิตวิเคราะห์ กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์หรือปัญญานิยม และกลุ่มมนุษย์นิยม แนวคิดของแต่ละกลุ่ม นำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมได้ต่าง ๆ กัน เช่น กลุ่มโครงสร้างนิยมเน้น การพัฒนาเป็นด้าน ๆ ด้วยการฝึกฝน กลุ่มหน้าที่นิยมเน้นเสริมสร้างประสบการณ์ กลุ่มจิตวิเคราะห์เน้นการเข้าใจ ผู้มีความผิดปกติและการช่วยเหลือ ให้ผ่อนคลาย กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการพัฒนาพฤติกรรมด้วยแรงเสริม และสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม กลุ่มเกสตัลท์เน้นการรับรู้โดยส่วนรวม และกระบวนการเรียนรู้ด้วย กลไกทางปัญญา รวมทั้งการเข้าใจโลกทางความคิดของบุคคล กลุ่มมนุษย์นิยมเน้นการมองบวก การยอมรับกันและกัน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และเน้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกันทั้งด้านการคิด การตัดสินใจ การเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสม สอดคล้องกับตนเอง ซึ่งไม่ว่าจะนำแนวคิดใดไปใช้บุคคลต้องเลือกรับปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเป็นราย ๆ เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.9 คำถามและกิจกรรมท้ายบท
1. ท่านเข้าใจความหมายของพฤติกรรม ประเภทของพฤติกรรม และพฤติกรรมที่เน้นศึกษา เพื่อการพัฒนาตนอย่างไรบ้าง
2. การศึกษาพฤติกรรมมีเป้าหมาย ความสำคัญ และจุดประสงค์อย่างไร
3. ความรู้ด้านพฤติกรรมมีที่มาจากแหล่งใด และหากท่านจะทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลคนหนึ่งท่านมีแนวทางศึกษาบุคคลนั้นอย่างไรได้บ้าง
4. จงระบุแนวทัศนะของกลุ่มาจิตวิทยาที่สำคัญ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาบุคคลทั่วไป และโปรดแสดงแนวคิดว่าท่านเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างไรบ้างต่อทัศนะดังกล่าว หากจะนำมาใช้ เพื่อพัฒนาตนเอง ท่านคิดว่าจะใช้ได้หรือไม่ได้อย่างไรบ้าง
5. จงอธิบายข้อควรคำนึงในการนำความรู้ด้านพฤติกรรมสู่การพัฒนาตนและผู้อื่น พร้อมทั้งวิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
6. จงวิเคราะห์และยกตัวอย่างให้เห็นว่า ท่านตระหนักในคุณค่าของความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์หรือไม่อย่างไร
7. จงนำความรู้ความเข้าใจที่ท่านได้รับจากการศึกษาบทที่ 1 ไปวางโครงการและแผนการพัฒนาตนเอง ตามที่ท่านเห็นสมควรและต้องการพัฒนา โปรดบันทึกโครงการและแผนการพัฒนาตนเองไว้ด้วย เพื่อนำเสนอต่อกลุ่มในชั้นเรียนและอภิปรายร่วมกันตามโอกาสอันควร