โยคะรักษาสุขภาพ

  • Tab 1
  • Tab 2
  • Tab 3
  • Tab 4
  • Tab 5

การดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงมีวิธีการที่หลากหลาย โยคะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่สุขภาพดี ทางหนึ่งที่กำลังมีกระแสนิยมมากในขณะนี้ โยคะ เป็นวิธีการทางธรรมชาติบำบัดอย่างหนึ่ง โยคะมีความเป็นมา
เกือบ 7,000 ปี เริ่มต้นจากโยคีมีความสนใจเรื่องสุขภาพ และค้นคว้าหาวิธีที่จะมาแก้ไขปัญหาความไม่สบายส่วนตัว โดยมีความเชื่อว่าสุขภาพดีต้องมาก่อนสิ่งอื่น หากสุขภาพดี โยคีย่อมบำเพ็ญพรตได้นานและบรรลุได้ง่ายกว่า โยคีเฝ้าสังเกตท่าทางของสัตว์ต่าง ๆ ว่าเวลาป่วยจะทำท่า อย่างไรบ้างจึงหายป่วย โยคีทำท่าทางเลียนแบบสัตว์ป่วย จนรู้สึกว่ามีความสบาย ดังนั้นจึงมีท่าโยคะหลายท่าที่ตั้งตามท่าของสัตว์ เช่น ท่างูเห่า ท่ากระต่าย ท่าปลาท่านกอินทรีย์ เป็นต้น
อาจารย์ชด หัสบำเรอ อ้างในหนังสือโยคะ รักษาโรค ได้กล่าวถึงการทำท่าพิสดารของโยคะเอาไว้ว่า “การทำโยคะอาสนะเป็นการทำเพื่อตนเองมิใช่เพื่อแสดงหรือโอ้อวด ให้ใครชม การทำได้แค่ไหน เพียงไรนั้น ไม่สำคัญ และไม่ใช่เรื่องที่จะเอาอวดหรือข่มกัน ด้วยว่าฉันทำได้ มากกว่า ดีกว่า และพิสดารกว่าท่าน การอวดกันในเรื่อง ทำอาสนะพลิกแพลง เท่ากับลดฐานะของโยคะลงมา เท่ากับการแสดงกายกรรมนั้นเอง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง”

โยคะ คือ การบริหารกาย ลมหายใจ และการผ่อนคลายอาสนะและปราณยามะ การบริหารกาย แบบโยคะ เป็นการบริหารกายโดยการดัดตนในท่าต่าง ๆ จึงต้องปฏิบัติอย่างช้า ๆ ให้สัมพันธ์กับการหายใจต้องใช้สมาธิและความศรัทธาในการปฏิบัติอาสนะ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า อาส ซึ่งหมายถึง มีอยู่ อาศัยอยู่ใน นั่งเงียบ ๆ อยู่อาศัย พำนัก ตามศัพท์ อาสนะ หมายถึง การนั่งหรือนั่งในท่าใดท่าหนึ่ง
โยคะอาสนะหมายถึง ท่าและตำแหน่งต่าง ๆ ในการฝึกโยคะ เช่น การยืนด้วยศีรษะ (ศีรษะอาสนะ) ท่าดอกบัว(ปัทมอาสนะ) ท่างู (ภุชงคะอาสนะ) ท่าปลา (มัสยาอาสนะ) เป็นต้น

ปราณยามะ เป็นการควบคุมลมหายใจ ซึ่งหมายถึงพลังแห่งชีวิต พลังนี้เองที่จะส่งผลกระทบต่อเซลล์ระบบประสาท ซึ่งหมายถึง พลังแห่งชีวิต พลังนี้เองที่จะส่งผลกระทบต่อเซลล์ ระบบประสาท อวัยวะทั่วร่างอันมีผลโดยรวมต่อสมาธิ

โยคะกับสุขภาพ แพทย์หญิงลลิตา ธีระสิริ กล่าวถึงการทำงานของร่างกาย ส่วนหนึ่งอยู่ในควบคุมของฮอร์โมน ความสบายของจิตใจก็อยู่ในอิทธิพลของฮอร์โมน โยคะ มีวิธีควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อหลายต่อม เช่น ใช้ท่ายืนไหล่ คือเอาไหล่ตั้งรับน้ำหนักตัวที่หน้า เอาขาชี้ฟ้า ท่านี้แนะนำให้ทำ 1 - 2 นาที แล้วพัก การเอาศีรษะลงอยู่ในระดับต่ำ เอาตัวที่เคยอยู่ระดับต่ำ กลับขึ้นไปอยู่ในที่สูง เป็นการปรับการไหลเวียนของเลือดเสียใหม่ ด้วยอาสนะ เช่นนี้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะมากขึ้น ต่อมพิทูอิทารีย์ จะได้รับเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และมีความสมบูรณ์ในการสั่งงานต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ในร่างกายได้ดีกว่า ทำให้
การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างราบรื่น ระดับฮอร์โมนอยู่ในสมดุลและทำให้จิตใจสบายกว่า การปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์สามารถทำได้ โดยการทำท่าปลา และท่ายืนไหล่สลับกัน ท่ายืนไหล่จะกดต่อมไทรอยด์ ถือเป็นการนวดต่อมนี้ในขณะที่ท่าปลาจะเป็นการดึงรั้งต่อมไทรอยด์ให้ตึง เพื่อให้การทำงานของต่อมไทรอยด์กลับมาอยู่ในสมดุลโดยวิธีธรรมชาติแท้ ๆ หากการทำงานของต่อมไทรอยด์อยู่ใน
สมดุล เราก็จะสบายทั้งกายและใจซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการฝึกโยคะ การควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมน “อะดรีนาลิน” ออกมาทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็ว หายใจหอบและเร็วขึ้น กล้ามเนื้อ เกร็งทั้งตัว หากเกิดอาการเช่นนี้ขึ้นมา แสดงว่าเรากำลังเสียสมดุล เราควบคุมตัวเองไม่ได้ จะมีความโกรธ เมื่อรู้ตัวว่าโกรธโยคะแนะนำให้ใช้การหายใจ เข้าปรับให้ ฮอร์โมนอะดรีนาลินกลับสู่สมดุล อาจารย์ชด หัสบำเรอ แนะไว้ว่า การควบคุมความโกรธให้คลายลง ทำได้โดยการหายใจด้วยท้อง ก่อนอื่นให้แขม่วท้อง หายใจออกให้เต็มที่จนท้องแฟบ แล้วค่อย ๆ หายใจเข้าช้า ๆ จนท้องป่องออกแล้วจึงหายใจออกช้า ๆ พยายามให้การหายใจออก ยาวกว่าการหายใจเข้า ทำเช่นนี้เพียงไม่ถึงนาที จะรู้สึกเองว่าหัวใจเริ่มเต้นช้าลง และสามารถดับอารมณ์ร้อนลงได้เป็นการกดอะดรีนาลินให้ลดลงการทำท่าทางต่าง ๆ ตามอาสนะสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทั้งนี้วิธีการของโยคะจะแตกต่างจากการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อยืดหดตัวอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อต้องการน้ำตาลมาใช้มาก เมื่อเกิดการเผาผลาญในระดับกล้ามเนื้อก็จะเกิดกรดแลคติก ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย แต่การฝึกอาสนะเป็นการเคลื่อนไหวช้า ๆ ประกอบกับท่าอาสนะต้องฝึกควบคู่ไปกับการฝึกลมหายใจ กล้ามเนื้อจึงได้ออกซิเจนมากในขณะฝึกโยคะ ทำให้เกิดการผ่อนคลายมากกว่า การฝึกโยคะจะทำให้เกิดความสบายมากกว่าความเมื่อยดังตารางเปรียบเทียบ

การออกกำลังกาย

1. เป็นการทำท่าซ้ำ ๆ ออกแรงยืดหดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
2. หลังออกกำลังกายจะรู้สึกเมื่อยเพลีย
3. หัวใจต้องทำงานหนัก
4. เน้นที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
5. ไม่เน้นเรื่องการหายใจ
6. มีการแข่งขันอาจฝึกกันเป็นกลุ่ม
7. มีผลต่อร่างกาย

การฝึกโยคะ

1. เป็นการทำท่าเดียวซ้ำ ๆ ยืดเส้นเพื่อการผ่อนคลาย
2. หลังฝึกโยคะจะรู้สึกสบายผ่อนคลาย
3. การเคลื่อนไหวช้า ๆ ทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก
4. เน้นที่การทำงานของต่อมไร้ท่อ
5. เน้นเรื่องการหายใจขณะฝึกอาสนะ
6. ต้องอาศัยการฝึกฝนด้วยตนเองย่อมไม่มี
การแข่งขันโอ้อวด
7. มีผลต่อจิตใจ


สำหรับข้อต่อ การฝึกอาสนะจะช่วยทำให้ข้อต่อไม่เกิดอาการติดขัดป้องกันอาการอักเสบของข้อต่อในเรื่องพลังแห่งชีวิต โยคะเน้นถึงปราณ คือ การควบคุมลมหายใจ ซึ่งหมายถึงพลังแห่งชีวิต พลังนี้จะส่งผลกระทบถึงเซลล์ ระบบประสาท อวัยวะทั่วร่างกายโยคีกล่าวถึงปราณว่าเป็นพลังงานจักรวาล หากฝึกโยคะ ได้ดีแล้ว จะสามารถควบคุมพลังงานจากจักรวาลได้ทำให้เกิดปัญญา รวมทั้งเป็นการเพิ่มอำนาจของจิตด้วยกระบวนท่า สุริยนมัสการหรือท่าไหว้พระอาทิตย์ เป็นกระบวนท่ารับรังสีจากจักรวาล จิตของเราจะมีพลัง การกระทำของเราก็จะมีพลังและประสบแต่ความสำเร็จ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะฝึกโยคะ
1. ตื่นนอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทุกเช้า เวลาที่ดีที่สุดคือเช้าตรู่ หรือบ่ายก่อนไปถึงเย็น
2. ก่อนฝึกควรขับถ่ายให้เรียบร้อยเสียก่อนระมัดระวังอย่าให้ท้องผูก ควรฝึกให้ถ่ายทุกเช้าหรือทุกวัน
3. หากอาบน้ำก่อนฝึกจะฝึกได้ดีขึ้น หรือล้างเท้าให้สะอาด และหลังฝึก 15 นาที ควรอาบน้ำชำระ ร่างกายให้สะอาด
4. ควรฝึกในขณะที่ท้องว่าง หรือหลังรับประทานอาหารแล้ว 1 - 2 ชั่วโมง
5. ควรฝึกในที่สะอาดและสงบ ปราศจากการรบกวนลมโกรก อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ร้อนอบอ้าว
6. อุปกรณ์ ถ้าพื้นไม่ได้ปูพรม ต้องมีผ้าหนาพอสมควรปูรองตัวเวลาเล่นทุกครั้ง เพื่อกันเจ็บหลังและหัวเข่า ในท่าที่จำเป็นต้องการรองรับ
7. สวมเครื่องแต่งกายที่กระชับสามารถเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก
8. ควรลืมตาในระหว่างการฝึก
9. ปฏิบัติอาสนะโดยแช่มช้านุ่มนวล
10. ฝึกการหายใจผ่านรูจมูกเท่านั้น ไม่ควรกลั้น หายใจ ไม่เกร็งกล้ามเนื้อตรงคอหรือทำหน้านิ่ว ไม่ทำจมูกบี้ และต้องไม่มีเสียงดังด้วย
11. ในระหว่างอาสนะนั้น ต้องนอนพักทุกครั้งไป ควรจบการฝึกด้วยท่าศพ ทุกครั้งเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า
12. ใจเย็น ๆ อย่าหักโหม ไม่ฝึกทำท่าที่ยากให้ประเมินความสามารถเฉพาะของตนเอง ทำได้ตามศักยภาพของตนเอง แล้วค่อย ๆ พัฒนาท่าทางให้สวยงาม ขั้นเมื่อฝึกปฏิบัติไปนาน ๆ

ท่าเขย่ง - ย่อ

ท่าบิดตัว

ท่าบิดตัว

ท่าไหว้ท่าไหว้

ท่างูเห่า

ท่างูเห่า

ท่าหัววัว

ท่าหัววัว

ท่าปลา

ท่าปลา

ท่าดอกบัว

ท่าดอกบัว

ท่ายืนไหล่ท่ายืนไหล่