หลักจิตวิทยาการลงทุน

Jim Ware (เขียนหนังสือ The Psychology of Money) ได้พูดถึง พฤติกรรมของนักลงทุนทั่วไปไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว เขาอ้างถึงการศึกษาของนักจิตวิทยาชิ้นหนึ่งที่พบว่า 98% ของพฤติกรรมของ คนเรานั้นเป็นผลมาจากความเคยชินหรืออุปนิสัยส่วนตัว(habit) การลงทุนก็เช่นกัน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมซำซาก ทำตามความเคยชิน แม้จะรู้ว่าผิด ก็ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่กลับไปตั้งความหวัง (hope) ว่า วันหนึ่งวิธีดังกล่าวจะใช้ได้ผล เช่นมี คนจำนวนมากที่ต้องขาดทุนจากการซื้อขาย ตามข่าวลือซำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ยังไม่เข็ดหลาบ และกลับหวังว่าวันหนึ่ง " ข่าวลือ " นั้นจะกลายเป็นจริง เป็นต้น

เขาพบว่าในโลกมีวิธีลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง ทั้งในแง่ปรัชญาและวิธีการบริหารจัดการลงทุน 5 แบบ

1. Value Warren
2.Growth peter Lynch
3.Trading George Soros
4.Theme ("มันคืออะไรหรือบอกผมทีครับ อยากรู้มากๆ") Ralph Wanger
5.Technical Marty Zweig (ผมเริ่มศึกษาเทคนิเคิลเพราะ ได้แรงบันดาลใจจากคนนี้ครับ)

อย่างไรก็ตาม Jim Ware พบว่า ปรมาจารย์ ทั้งห้ามีสิ่งเหมือนกัน มากถึง8 ประการ

  1. เปิดรับข้อมูล ไม่ตีกรอบตัวเอง(Breadth)
  2. ช่างสังเกต ใส่ใจในทุกรายละเอียด(Observation)
  3. มองอย่างเป็นกลาง ไม่มีอคติ (Objectivity)
  4. มั่นคงในหลักการ รักษาวินัย ( Discipline)
  5. มีสมาธิแน่วแน่( Concentration) ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง (Depth)
  6. คิดสร้างสรรค์ มองภาพใหญ่ ไม่ยึดติด กับกรอบความคิด (Creativity)
  7. ทุ่มเทในสิ่งที่รักโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ (Passsion)
  8. มีความยืดหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Flexibility)

สรุปว่า การจะประสบผลสำเร็จในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ ล้วนขึ้นอยู่กับคุณภาพของความคิด ซึ่งเป็นสิ่งทีกลั่นมาจากภายใน (Inside Out) แม้ไม่ง่ายแต่คงไม่ยากเกินความพยายามของทุกท่าน
เราชาวพุทธ น่าจะนำคำสอน ท่านพุทธทาส เรื่องจิตว่าง มาใช้ โดยท่านสอนว่า

"จิตว่าง" หมายถึงว่างจากกิเลส ว่างจากอุปทาน ว่านี่เป็นตัวกู เป็นของกู ซึ่งจะทำให้สามารถพินิจพิจารณา สิ่งต่างๆ โดยอิสระ จากความโลภ โกรธ หลง จึงเกิดปัญญา ที่จะวิเคราะห์ สิ่งต่างๆ อย่างเป็นกลาง และ ตามความเป็นจริงได้

หลักจิตวิทยาการลงทุนตามแนวคิดของ Bailard Biehl และ Kaiser ได้อธิบายหลักจิตวิทยาการลงทุนใน 4 ลักษณะ คือ การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure) การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist) การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity) และการเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian)

1. การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure)

การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure) เป็นนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง รวมถึงการเป็นผู้ที่มีความสุขในการตัดสินใจ ใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอน และเมื่อต้องการตัดสินใจ ก็มักจะตัดสินใจแบบทันที โดยอาจจะไม่มีการไตร่ตรองให้เกิดความรอบคอบ รวมถึงการเป็นนักลงทุนแบบมุ่งหวังผลตอบแทนเป็นหลัก (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นมีส่วนคล้ายคลึง กับการมีบุคลิกภาพแบบ Introversion ตามที่ Jung (1969) ได้กล่าวว่าการมีบุคลิกภาพแบบ Introversion จะเป็นบุคคลที่มีความสนใจในความคิดและความรู้สึกของตนเอง มักจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของตนเอง ไม่สนใจ สังคมภายนอก เป็นคนค่อนข้างเงียบและมีเหตุผลเป็นของตนเอง และมีความสอดคล้องกับบุคลิกภาพของ Mosak,(1977) ในส่วนของ The Ruling Type เป็นบุคคลที่ไม่สนใจ
ผู้อื่นนอกจากตนเองมีความต้องการควบคุมคนอื่นให้ยอมรับ ในความคิดเห็นของตนเอง โดยเชื่อว่าตนเองมีแนวทางของการตัดสินใจที่มีเหตุผลเพียงพอ จากลักษณะบุคลิกภาพที่ Jung (1969) และ Mosak (1977) สามารถสะท้อนถึงจิตวิทยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัยที่อาจจะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองได้
เพราะอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่นอกลู่นอกทาง และพฤติกรรมที่ขาดสติในการตัดสินใจได้ เนื่องจากการเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัยจะมีความคิดเห็นของตนเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางของจิตวิทยา ที่มีผลต่อการตัดสินใจโดยไม่รู้ตัวเอง วิธีการที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจกับอุปสรรคทางจิตวิทยาเหล่านี้ได้ คือ การจัดกระบวนทางจิตวิทยาที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องในสถานการณ์ขณะนั้น (Kahneman and Riepe, 1998) นอกจากนี้ Kahneman และ Tversky (1982) กล่าวว่า การค้นหากฎเกณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานและความถูกต้องมากกว่าการใช้ประสบการณ์แบบไม่ตั้งใจมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจในการลงทุน อาจทำให้เกิดความผิดพลาดและความเสียหายขึ้นได้

นักลงทุนที่เริ่มก้าวสู่ตลาดหุ้นหากประเมินความเฉลียวฉลาดและความสามารถของผู้อื่นต่ำ จะมีความหลงตัวเองได้ง่ายและมีความคิดเห็นว่ าตนเองสามารถคาดคะเนสถานการณ์ของการลงทุนได้เป็นอย่างดี ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการลงทุนได้ ซึ่งรวมถึงเมื่อนักลงทุนต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากแก่การตัดสินใจก็มักจะใช้เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นกระจกมองหาหนทาง การแก้ไขปัญหาโดยมีความคิดเห็นว่า “เรารู้อยู่แล้วว่าควรจะทำอย่างไรแต่คนอื่นเขาไม่รู้” ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากตลาดหุ้นเปรียบเสมือนตลาดของการแข่งขันของนักลงทุนอื่นๆ ที่มีความรู้และความสามารถที่มีความแตกต่างกันมีความผันผวนไม่แน่นอนตลอดเวลา (Kahneman Slovic and Tversky, 1974) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Hadady (1983) พบว่า การประเมินความรู้และความสามารถของนักลงทุนรายอื่นๆ ต่ำไป และทำให้
รู้สึกว่าการคาดคะเนอนาคตเป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงกลับกลายเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไปซึ่งจะมีผลเสียมากกว่าผลดีในการลงทุน

2. การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist)

การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist) เป็นนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงเป็นผู้ที่มีความสุขในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับนักลงทุนประเภทผจญภัย จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการตัดสินใจที่มีความรอบคอบระมัดระวัง โดยนักลงทุนประเภทนี้จะมีดุลพินิจของการลงทุนที่มีความถี่ถ้วนที่มุ่งหวังผลอย่างมีเหตุผลถ้าต้องลงทุนด้วยตนเอง แต่ถ้าหากว่าให้ความไว้วางใจกับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจัดการลงทุนให้แล้ว ก็มักจะไม่เข้าไปยุ่งให้เกิดความวุ่นวาย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3))จากลักษณะจิตวิทยาของนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองดังกล่าวข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดของอนุสร จันทพันธ์ และบุญชัย โกศลธนากุล (2546) ในเรื่องเกี่ยวกับจริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคนพบว่า นักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองจะมีลักษณะคล้ายกับจิตวิทยาแบบศรัทธาจิตที่มีการพิจารณาในเรื่องของจุด
แข็ง จุดอ่อน และแนวทางการแก้ไขโดยมีรายละเอียดดังนี้

จิตวิทยาแบบศรัทธาจิต

 

ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน แนวทางการแก้ไข
1. ยึดมั่นอย่างแรงกล้าใน
บุคคลหลักการหรือ
ความเชื่อ

1. มีพลังจิตสูงเข้มแข็ง 1. ความเชื่ออยู่บนพื้นของ
ความเชื่อมั่นในตนเอง
อาจจะผิดพลาดได้
1. พิจารณาหลักเหตุผล
พิจารณาเหนือความเชื่อ
2. ย้ำคิดย้ำพูดในสิ่งที่
ตนเองเชื่อและศรัทธา

2. พร้อมที่จะเสียสละเพื่อ
ผู้อื่น
2. ยิ่งศรัทธามากปัญญา
ยิ่งลดน้อยลง
2. ใช้ปัญญานำทาง
ใช้ศรัทธาเป็นพลัง
ขับเคลื่อน
3. คิดว่าตนเองเป็นคนดี
น่าศรัทธาประเสริฐ
กว่าคนอื่น


3. ต้องการเปลี่ยนแปลง
ตนเองและสังคมไปสู่
สภาพที่ดีกว่าเดิม
3. จิตใจคับแคบไม่ยอมรับ
ความคิดที่แตกต่าง
3. เปิดใจกว้าง รับความคิด
ใหม่ๆ
4. เป็นคนจริงจังพูด
มีหลักการ

4. มีพลังขับเคลื่อน
มหาศาล
4. ไม่ค่อยประนีประนอม 4. ลดความยึดมั่นถือมั่นใน
ตนเองหรืออุดมการณ์

จากตารางที่ 1 พบว่า นักลงทุนประเภทเป็นตนของตนเองที่มีลักษณะคล้ายกับจิตวิทยาแบบศรัทธาจิต มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวของนักลงทุน ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาจุดแข็งให้มีระดับที่สูงขึ้น ในขณะที่แก้ไขจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง โดยอาจจะอาศัยแนวทางการแก้ไขเป็นพื้นฐานของพัฒนาจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้จากการศึกษาของ Lakonishok Shleifer และ Vishny (1994) พบว่า การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองควรจะมีลักษณะของการลงทุนแบบนักคณิตศาสตร์ โดยมองสภาพการณ์ของตลาดหุ้นมีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อราคาหุ้นเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งโดยพื้นฐานของนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองมักจะมีความรอบคอบระมัดระวังอยู่แล้วดังนั้นการเพิ่มโอกาสของการได้รับผลประโยชน์ จะต้องอาศัยหลักการทางสถิติเข้ามาช่วยในการพิจารณาความระมัดระวังและความรอบคอบเหล่านั้น ซึ่ง Odean (1998) กล่าวว่า การได้มีโอกาสในการคำนวณค่าเฉลี่ยความหวังเวลาย้อนหลัง การดูแลการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นตามหลักของทฤษฎีการลงทุน การพินิจพิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำ ให้การลงทุนบังเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

3. การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity)

การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity) เป็นนักลงทุนที่มีความวิตกกังวล ในขณะเดียวกันก็มักจะเป็นนักลงทุนที่ตามกระแสกลัวที่จะตกข่าว จึงมักจะตัดสินใจเร็วโดยขาดความระมัดระวัง ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นลูกค้าของบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์มากกว่าจะเป็นลูกค้าของผู้จัดการกองทุน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) สิ่งสำคัญที่สุดในตลาดหุ้น คือ การควบคุมความตื่นตระหนกของตนเองไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลมาจากจิตวิทยาของนักลงทุน โดยส่วนมากแล้วการควบคุมอารมณ์ตามที่ Thaler (1993) กล่าวถึง มีขั้นตอนดังนี้

  1. การบันทึกความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ
  2. เน้นเรื่องข้อเท็จจริงอย่าพยายามหาข้ออ้างให้กับพฤติกรรมของตน
  3. เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังให้ชัดเจน
  4. ระบุปัจจัยทางบวกและทางลบ
  5. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการศึกษาปัญหาอย่างพินิจพิเคราะห์
  6. คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จากการศึกษาของ Belsky และ Gilovich (1999) พบว่า ในปี 1980 ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข่าวลือเกี่ยวกับการเล่นแชร์พิระมิด (Pyramid) โดยผู้ที่เล่นแชร์จะได้รับเงินตอบแทนถึง 16,000 ดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งทำให้ทุกๆ คนมีความแตกตื่นตามกระแสของการเล่นแชร์ ครั้งนั้น ผลปรากฏว่ามีคนมากกว่า 100,000 คน เบิกเงินสด 1,000 ดอลลาห์สหรัฐจากธนาคาร โดยนัดพบกับนายหน้า เพื่อมอบเงินให้ โดยมีความหวังว่าจะได้ผลตอบแทน 16,000 ดอลลาห์สหรัฐกลับคืนมา ความโลภดังกล่าวทำให้สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเล่นแชร์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับความโลภตามกระแสในตลาดหุ้น โดย Epstein และ Garfield (1992) พบว่านักลงทุนในตลาดหุ้นจะถูกอิทธิพลตามกระแสโดยมีดัชนีว่าด้วยความโลภ (Greed Index) ประเภทหนึ่งที่จะเตือนใจให้นักลงทุนมีจิตวิทยาที่เข้มแข็ง ซึ่งจะเตือนให้นักลงทุนทราบถึงวิกฤติที่ซ่อนเร้นในตลาดหุ้น กล่าวคือ เมื่อดัชนีราคาหุ้นอยู่ในระดับสูงก็จะดึงดูดให้กระแสของการลงทุนมีจำนวนมาก นักลงทุนเหล่านั้นคิดหวังแต่ผลกำไรมองข้ามวิกฤติการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทำให้ราคาหุ้นทรุด เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ผลกำไรได้พอสมควรแต่ก็ยังไม่ตัดสินใจที่จะขายหุ้นเหล่านั้น โดยมีความคิดว่า “ขอให้ได้มากกว่านี้หน่อย และมากกว่านี้หน่อย” ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลพวงมาจากความโลภที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนโดยส่วนมาก

4. การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian)

การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian) เป็นนักลงทุนที่มักจะมีความระมัดระวังรอบคอบค่อนข้างละเอียด และมีความวิตกกังวลมาก อีกทั้งยังเป็นคนที่รู้จักข้อจำกัดของตนเองและกลัวการตัดสินใจ ดังนั้นในการลงทุนมักจะมีความเต็มใจที่จะมอบความไว้วางใจ กับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ เข้ามาช่วยในการจัดการลงทุนและมักมีความพอใจ ที่จะลงทุนแบบรอรับผลประโยชน์ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) การศึกษาของ Kahneman และ Riepe (1998) พบว่าทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรม ทั้งนี้ทัศนคติของตนอาจจะเกิดขึ้นมาจากการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น การเขียนการพูดคุย เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลโดยการต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นการเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์จะมีข้อจำกัดในตนเองในการลงทุน ถึงแม้ว่าตนเองจะมีความรอบคอบละเอียดก็ตาม การที่จะทำให้การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องพยายามหาผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนสูง ตลอดทั้งมีความซื่อสัตย์และจริงใจ ทั้งนี้ผู้ลงทุนอาจจะตรวจสอบจากผลการดำเนินงาน รวมถึงประกาศนียบัตรด้านวิชาชีพทั้งทางด้านการทำงานและจรรยาบรรณเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ (Ploeg,1985)
การตรวจสอบความรู้และประสบการณ์ของผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ถ้านักลงทุนมีความระมัดระวังรอบคอบและมีความละเอียดในการลงทุนแต่ละครั้ง โดยข้อมูลที่นักลงทุนสามารถพิจารณาผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในด้านความรู้และประสบการณ์ ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพควรมีความรู้ในเรื่องดังนี้ (Granville, 1960)

  1. อัตราเงินปันผล (Yield)
  2. แนวโน้มระยะสั้น (New-term Trend)
  3. แนวโน้มผลกำไร (Earning Trend)
  4. ผลประกอบการปีก่อน (Past Year’s Performance)
  5. แนวโน้มกำไรข้างเคียง (Profit Margin Trend)
  6. แนวโน้มเงินปันผลต่อหุ้นต่อปี (Earning Per ShareYearly Trend)
  7. อัตรากำไรตามราคาตลาด (Price-earning Ratio)
  8. การคั่งค้างของหุ้น (Shares Outstanding)
  9. แนวโน้มที่ต่อต้าน (Resistance Trend)
  10. แนวโน้มที่สนับสนุน (Support Trend)

นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพก็ตาม จากการศึกษาของ Hadady (1983) พบว่า การประสานข้อมูล และประสบการณ์ของนักลงทุน กับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ จะทำให้โอกาสของการได้ผลตอบแทนของการลงทุน ในตลาดหุ้น มีแนวโน้มที่ผู้ลงทุนมีระดับความพึงพอใจสูง

จิตวิทยาการลงทุน

ช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปเดินเลือกซื้อหนังสือมาอ่าน ด้วยปกติที่ทำงานทางด้านการเงินจึงต้องศึกษาหาความรู้และอ่านหนังสือมากอยู่ เป็นทุนเดิม

แต่เมื่อต้องการพักผ่อนจึงมักเลือกที่จะหาหนังสือที่อ่านสบายๆ และไม่เครียดมากเก็บไว้อ่านยามว่าง แต่พอเอาเข้าจริงๆ กลับไปสะดุดกับ หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งเข้านั่นคือ หนังสือชื่อ “จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investment” แต่งโดย John R. Nofsinger และแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข ที่จริงในหลักสูตรการสอนทางการเงินปัจจุบัน ก็ได้มีการนำจิตวิทยาการลงทุนมา รวมอยู่ในบางส่วนของหลักสูตรบ้างเช่นกัน ตัวดิฉันเองก็ได้เรียนมาบ้างแล้วเช่นกัน แต่อาจมีหลายท่านที่อาจยังไม่ทราบ จึงอยากเอามาเล่าให้ฟังค่ะ

คุณคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้น คือ ความโลภและความกลัว โดยนักลงทุนต่างแสวงหา ผลตอบแทนคาดหวังที่สูงที่สุด ณ ระดับความเสี่ยงหนึ่งๆ ตามที่เราต่างได้รับการพร่ำสอนกันมาจากตำราทางการเงินมากมาย ที่พยายามคิดค้นเครื่องมือทางการเงินมาช่วยในการตัดสินใจลงทุน แต่ในภาวะความเป็นจริงปัจจุบัน นักลงทุนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการตัดสินใจลงทุนโน้มเอียงไปในแง่ตรรกะและอารมณ์มากกว่าเหตุผลในการลงทุนตามหลักวิชาการการเงิน ลองมาทำความเข้าใจพฤติกรรมในการตัดสินใจลงทุนในแบบต่างๆกันพอเป็นสังเขปดีกว่าค่ะ เพื่อที่ให้เรารู้เท่าทันและสามารถเอาชนะความไร้เหตุผลในการลงทุนได้

  1. ความมั่นใจในตัวเองจนเกินขนาด (Overconfidence)
    ความมั่นใจในตัวเองมากเกินไปทำให้ประเมินความรู้ของตัวเองสูงเกินไป ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป และคิดไปว่า ตนเองสามารถ ควบคุมเหตุการณ์ต่างๆได้เกินความเป็นจริง และตีความข้อมูลต่างๆแบบมีอคติ เชื่อการวิเคราะห์ของตัวเองมากกว่า ฟังความคิดเห็นของคนอื่น ส่วนใหญ่จะเกิดกับนักลงทุนที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต และนักจิตวิทยายังพบอีกว่า ผู้ชายมีแนวโน้มเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไปสูงกว่าผู้หญิง ดังนั้นนักลงทุนเพศชายมักจะซื้อขายหุ้นบ่อยกว่านักลงทุนเพศหญิง ทั้งที่ความเป็นจริงนักลงทุนที่มี Turnover สูงอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าจะลงมือลงแรงมากกว่าก็ตาม
  2. การหลีกเลี่ยงความเสียใจและเสาะหาความภาคภูมิใจ (Disposition Effect)
    พฤติกรรมข้างต้นทำให้บ่อยครั้ง นักลงทุนขายหุ้นตัวที่ได้กำไรเร็วเกินไป และเก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้ในพอร์ตนานเกินไป สิ่งนี้เอง ที่ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำลง เนื่องจากนักลงทุนได้ขายหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบ โตที่ดีออกไป แต่เก็บหุ้นที่มีแนวโน้มไม่ดีไว้ในพอร์ตมากมาย จนบางครั้งอาจลืมไปว่าขาดทุนทางบัญชีที่เกิดขึ้น (ถึงแม้ยังไม่ได้ขายหุ้นออกไปก็ตาม) อาจมากกว่ากำไรที่ได้จากการขายหุ้นเสียอีก
  3. House-of-Money Effect กับ Snake-Bite Effect
    โดยปกติสิ่งที่นักลงทุนต้องการคือ การซื้อหุ้นมาในราคาที่ต่ำและขายออกเมื่อราคาสูงขึ้น แต่หากอ้างอิงจากหัวข้อนี้ จะพบว่าในทางปฏิบัติบ่อยครั้งที่นักลงทุนจะทำในทางตรงกันข้ามเสมอ อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า เมื่อนักลงทุนได้ กำไรมาแล้วในช่วงก่อนหน้า พวกเขามีแนวโน้มที่จะเต็มใจเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งจะเข้าไปซื้อหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงมากแล้ว แต่เมื่อขาดทุนก็เกิดความกลัวและต้องการจะออกจากตลาด จึงขายหุ้นออกไปในราคาที่ต่ำ และแทนที่นักลงทุน จะเริ่มหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการขาดทุนที่เกิดขึ้น แต่บ่อยครั้งกลับเห็นพฤติกรรมที่พยายามจะเอาทุนคืน โดยกลับเข้าไปลงทุนใหม่

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงบางส่วนของหนังสือ ซึ่งยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากเกี่ยวกับพฤติกรรมการลงทุน ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับพฤติกรรมการลงทุนของคุณ แต่การทำความรู้จักกับพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ จะช่วยให้เรารู้เท่าทันตัวเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการตัดสินใจลงทุนได้อีกทางหนึ่งค่ะ

สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา-จิตวิทยาการลงทุน

 

จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investing Tavatchi (boyles)

  1. Disposition Effect
    - ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียใจ และหาการกระทำที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (Regret and Pride) เมื่อคุณมีหุ้น 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดทุนอยู่ และอีกตัวกำไรอยู่ คุณจะขายตัวไหนและถือตัวไหนต่อไป
    คำตอบ นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายตัวที่ได้กำไรทิ้งเพื่อความภูมิใจ และ ถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ

    note: ความผิดพลาดของผมคือ จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยการไม่ Stop loss เพราะหวังว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น แต่มันกลับแย่ลงเกือบทุกครั้ง ดังนั้นเราควรมีแนวคิดและ ฝึกการ stoploss ยังไง ประมาณเราจะเจ็บจิ๊ดๆ ไม่ปล่อยให้เนื้อร้ายมันงอกเงยยังไง แล้วผมจะเอาบทความเกี่ยวกับ stoploss มาลงอีกที

  2. Overconfidence
    - ความมั่นใจเกินไป ทำให้นักลงทุน Trade เกินขนาดของ port และประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป ทำให้มองข้ามว่า เราเองไม่ได้เป็นคนกำหนดทิศทางตลาด

    note: สิ่งที่ผมเคยเป็นคือเมื่อ Trade ได้ติดต่อกันพักใหญ่ๆแล้ว จะมีความมั่นใจมากและระมัดระวังน้อยลง + กับเงินกำไร(จากเจ้า จิตวิยาในข้อต่อไป)ที่ได้มาทำให้ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

  3. House - Money Effect
    - เงินของเจ้ามือ นักลงทุนจะเล่นหุ้นเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไรมาก่อนหน้านี้ เพราะเหมือนกับเอาเงินของคนอื่นมาเล่น จิตวิทยาข้อนี้ คนเอาเงินเจ้ามือมาต่อยอดเรื่อยๆ และเล่นด้วยความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะฟองสบู่แตกได้ในที่สุด

  4. Snake - Bite Effect
    - โดนงูกัด เมื่อนักลงทุนขายขาดทุน ส่วนนึงจะเข็ดขยาดและเลิกเล่น และอีกส่วนนึงจะต้องเอาการเอาคืนจนทำให้เกิดจิตวิทยาข้อต่อไป

  5. Trying to break Even Effect
    - การจะเอาคืน หลังจากนักลงทุนขาดทุนมาก จะต้องการเอาคืนโดยลงหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม

  6. endowment effect
    - การตั้ง ราคาที่คิดว่าจะขายสูงกว่าราคาตลาด ในขณะที่คุณเป็นเจ้าของอยู่ ประมาณว่าคุณจะประเมินทรัพย์สินที่คุณมีสูงกว่าราคาตลาด นี้ก็เป็นอีกข้อที่คนจะตั้งราคาสูงขึ้นเรื่อยจนเกิดภาวะฟองสบู่

    ตัวอย่าง คุณมีบ้านอยู่ 1 หลัง คุณต้องการขายให้ได้มากกว่าราคาตลาด 12 % และเมื่อราคาบ้านลดลงไปเรื่อยๆ คุณก็ยังคิดจะขายบ้านที่ราคาเดิม แต่ตอนนี้ราคาที่คุณจะขายบ้านมากกว่าราคาตลาดถึง 30 %

  7. Status quo bias
    คำจำกัดความสั้นๆคือ avoiding action and avoiding change
    - เมื่อนักลงทุนถือหุ้นกลุ่มใดไว้ จะไม่ต้องการขายหุ้นทิ้ง ไปซื้อกลุ่มอื่น

    ตรงกับบทความที่ผมเคยสรุปไปแล้ว เรื่อง เล็งให้แม่นเก็งให้รวย The Zurich Axioms by Max Gunther ข้อ 6
    "สรุป หลักการนี้สอนให้คุณมีความคล่องตัวในการโยกย้ายสถานะและอย่าให้มีรากงอก ซึ่งจะเป็นตัวบ่อนทำลายการเก็งกำไรของคุณ อย่างเช่น ความจงรักภักดี หรือการรอ คอยเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย หลักการข้อนี้สอนให้คุณพร้อมที่จะกระโดดจากหลักทรัพย์ที่อยู่กับที่ หรือคว้าโอกาสดีไว้โดยเร็ว แต่มิได้หมายความว่าให้คุณกระโดดไปมาจากหลักทรัพย์นึง ไปอีกหลักทรัพย์นึง ก่อนการกระโดดคุณควรจะชั่งใจให้ดีรอบคอบก่อน และถ้ามีเหตุผลที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรเปลี่ยนมือ แต่ถ้าสถานะการลงทุนเดิมไม่ดี คุณก็ควรจะขจัดรากทั้งหมดทิ้งไป และกระโดดหนีโดยเร็ว จงอย่าให้มีรากงอกเกินไป"

  8. Cognitive Dissonance
    - นักลงทุนเผชิญ ความคิดที่เป็นบวกและลบในเวลาเดียวกัน นักลงทุนจะ หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเลือกที่จะพิจารณาข้อมูลที่เป็นบวก และละเลยข้อมูลที่เป็นลบ ความเชื่อของตนเองจะถูกปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้ว

    เมื่อนักลงทุนตัดสิน ใจซื้อหุ้นแล้ว ความมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นจะมากขึ้นทันที เหมือนกับเมื่อเราซื้อหวย ก่อนซื้อเราคงไม่คิดว่ามันจะถูกมาก จนเมื่อเราซื้อเลขไปแล้วสักเลข ความมั่นใจว่าหวยจะออกตัวที่เราซื้อจะมีมากขึ้นในทันที :)

    note: เรื่องของการรับ ข้อมูลเชิงบวก และลบ ผมได้เผชิญมาแล้วเมื่อผมตัดสินใจเปิด position แล้วผมจะรับข้อมูล + ที่สนับสนุนให้ผมได้กำไรในอนาคต และลดความเชื่อข้อมูลเชิงลบ - มันทำให้ผมเกิดอติเชิงจิตวิทยาครอบงำ ทำให้ผมไม่สามารถ stoploss ได้ทันท่วงที เพราะกลัวว่าข้อมูลเชิงบวกที่ผมรับมาจะเป็นความจริง

  9. Sunk cost Effect
    ต้นทุนจม เมื่อนักลงทุนมีพอร์ตที่ขาดทุนมากๆ จะไม่ยอมขาย จะตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในเรื่องของการขายขาดทุน คือ ถ้านักลงทุนเริ่ม ขาดทุนความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้น และนานขึ้นความเจ็บปวดจะลดลง เปรียบกับกราฟพาราโบล่า ความชันของความเจ็บปวดจะเป็นอัตราเร่งเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และลดลงในเวลาต่อมา นั่นเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนจะถือส่วนที่ขาดทุนไปอย่างยาวนาน

  10. Representativeness and familiarity
    - ความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย นักลงทุนจะคิดว่าผลการดำเนินการ และผลตอบแทนที่ผ่านมาในอดีต จะต่อเนื่องไปในอนาคต

    Note: บริษัทที่ทำกำไรต่อเนื่อง ไม่ได้มีความหมายว่าจะทำให้หุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทที่มีอัตราการทำ กำไรที่มากขึ้น จะทำให้คนคาดหวังมากขึ้น และหุ้นจะขึ้นมากกว่า ดังนั้นไม่แปลกเลยที่เมื่อผ่านไปนานเมื่อบริษัททำกำไรได้คงที่ในเวลาต่อมา หุ้นก็ลงในเวลาต่อมาเช่นกัน

  11. Social interaction
    - การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เมื่อคนที่อยู่รอบกายเรามีความคิดที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันยิ่งมี internet ทำให้การบริโภคข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็น + และ - และง่ายมากที่ทำให้เราได้รับอคติเชิงจิตวิทยาในต่างๆรูปแบบ ทั้งในเรื่องของความกลัวหมู่ กลัวขาดทุน panic sell กลัวไม่ได้กำไร panic buy หรือ การรับข้อมูล ข่าวสารทั้งจริงและเท็จโดยไม่รู้ที่มา