คู่มือสำหรับการอ่านใจคนเบื้องต้น

คู่มือสำหรับการอ่านใจคนเบื้องต้น

เชื่อหรือไม่ว่าคนเราแทบทุกคนอ่านใจของคนอื่นๆในแทบทุกวัน การเข้าใจและรับรู้ถึงจิตใจและความคิดคนอื่น ไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ หรือมายากลแต่อย่างไร ทว่าเป็นเพียงความสามารถพื้นฐาน ของมนุษย์เราที่ผม และนักจิตวิทยาคนอื่นเรียกว่า “Emphatic Inference

เมื่อมองมุมหนึ่งทักษะดังกล่าวนี้สามารถทำให้คนเราสามารถรับรู้ได้ถึง ความนึกคิดของอีกฝ่ายได้อย่างแม่นยำ จนไม่น่าเชื่อ จนบางครั้งดูราว กับว่าเสมือนเป็นการสื่อกันทางจิต ทว่าเมื่อพิจารณาอีกมุมหนึ่ง มันก็เปรียบเสมือนส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของเรา ที่เราแทบจะไม่เคยสนใจมันเลย จนกระทั้งในบางครั้งที่ทักษะดังกล่าว ทำงานผิดพลาดไป

ในระหว่างทำการวิจัย นักวิจัยชื่อ Ickes และทีมนักวิจัยของเขา ได้ค้นพบทักษะบางประการที่นักอ่านใจที่มีความสามารถใช้อยู่เป็นปกติ รวมถึง ค้นพบว่าความเชื่อใดเกี่ยวกับเรื่องการอ่านจิตใจเป็นเรื่องผิด เราสามารถเรียนรู้และสร้างสายสัมพันธ์และความเชื่อใจได้ รวมถึงวิธีการทำให้เรา เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและประสบความสำเร็จในการเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ระวังเจตนาแอบแฝงและสิ่งซ่อนเร้น

สิ่งสำคัญที่สุดในการอ่านใจคนไม่ใช่ทักษะของคุณในการอ่านใจคน แต่เป็นระดับความยากง่ายในการเข้าใจของอีกฝ่าย

หนึ่งในความผิดพลาด ที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดก็คือ การที่เราไม่สามารถรับรู้ได้ว่าอีกฝ่ายมีเหตุผลอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ ที่ทำให้พวกเขาไม่อยากให้เรารู้ว่า รู้สึกอย่างไร ดังนั้นจึงสำคัญมากที่เราต้องไม่คิดไปเองมากเกินไป นอกจากนั้นยัง จำเป็นที่จะต้องนึกถึง เจตนาซ่อนเร้นของตัวเราอีกด้วย เพราะเรามักลืมตัวเสมอว่าความคิด และความรู้สึกของเรานั้นมักมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ

หากเรารู้สึกกังวลใจแม้เพียงเล็กน้อย นั่นอาจจะส่งผลอย่างมากต่อการตีความการกระทำของอีกฝ่ายพยายามถามตัวเองเสมอว่า มีคำอธิบายหรือเหตุผลอื่นๆ สำหรับการกระทำต่างๆหรือไม่ ความสนิทสนมกับอีกฝ่ายนั้นไม่ได้ยืนยันได้ว่าคุณจะสามารถตีความได้ถูกต้องเสมอไป การแต่งงานและอยู่ร่วมกันมายี่สิบปีไม่ได้หมายความว่า คุณจะเข้าใจอีกฝ่ายได้ถ่องแท้จนแทบไม่ต้องพูดคุยกันเลยอันที่จริง ผมกลับสังเกตพบว่า คู่รักที่คบกันมานานนั้น กลับประสบปัญหาอย่างมากในการตีความความคิดของอีกฝ่ายเมื่อความสัมพันธ์ของเราพัฒนามากขึ้น มุมมองของเราต่อคู่ชีวิตก็มีแนวโน้มที่จะถูกจำกัดเป็นรูปแบบตายตัวมากขึ้น ดังนั้นเราจึงประสบปัญหาในการตีความความคิดและความรู้สึกของอีกฝ่ายโดยปราศจากความลำเอียง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว จงอย่าคิดว่า คุณรู้เสมอว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรเพียงเพราะสาเหตุว่า คุณและเขานอนเตียงเดียวกันและอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน

บางครั้งการไม่รู้ทุกอย่างก็อาจดีกว่าในบางสถานการณ์ การที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรก็อาจจะมีประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้เพราะบางครั้งก็อาจจะดีกว่าที่จะไม่ต้องรับรู้ว่าคู่รักของเราหรือคนรอบตัวเราคิดอะไรเกี่ยวกับเราในแง่ไม่ดี และปกติแล้วคู่สมรสที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่นั้น มักทราบดีถึงจุดดังกล่าว และเรียนรู้ว่าเวลาใดที่ควรเลี่ยงการพูดถึงเรื่องเหล่านั้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อใครสักคนพูดว่า “อย่าพูดถึงเรื่องนั้นดีกว่า” นั่นหมายความว่าพวกเขาทราบดีถึงพื้นที่อันตรายที่ไม่ควรพูดถึง อย่าพยายามทำผิดด้วยการบังคับให้ตัวเองคิดว่าคุณ ต้องเป็นคนที่เข้าใจและรู้ทุกๆอย่างไปเสียหมด บางครั้งการถอยห่างออกมาบ้างก็เป็นการกระทำที่ดีกว่า

เรียนรู้ที่จะรับฟังคนอื่นบ้าง

บทสนทนาต่างๆทั้งหมดในชีวิตของเรานั้นต่างเกิดขึ้นภายใต้ ”กรอบความคิด” หรือ Frame ซึ่งเป็นคำนิยามหมายถึง กระบวนการใน การประเมิน และตีความเหตุการณ์ต่างๆโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ต่างๆของเรา แต่ทว่าบางครั้งเราอาจจะไม่ได้มี กรอบความคิดเหมือนกับ คนที่เราคุยด้วยก็ได้ในบางสถานการณ์ เช่น คุณอาจจะตีความการขยิบตาให้อีกฝ่ายว่าหมายถึง การให้ท่า การบอกให้รู้ว่ากำลังเล่นมุกตลก หรือแม้แต่เป็นเพียงการกระทำธรรมดาๆก็ได้ หากเรามีกรอบความคิดที่ไม่เหมือน กับอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นการลองแกล้งถามอีกฝ่ายเพื่อหาคำตอบให้มั่นใจก็เป็นความคิดที่ดีเช่น “ดูเหมือนว่าคุณกำลังคิดว่า… ใช่ไหม”

การค้นหาจุดร่วมระหว่างความสัมพันธ์

โดยปกติเวลาเราคุยกับเพื่อน เรามักคุยกันเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปง่ายๆโดยไม่ต้องคิดก่อน เกี่ยวกับคนหรือเหตุการณ์รอบๆตัว ที่ทั้งสองฝ่ายคุ้นเคยดี

เช่น ถ้าเพื่อนของคุณบอกกับคุณว่างานปาร์ตีที่ออฟฟิซของเธอเหมือน”งานวันครบรอบวันเกิดอายุสามสิบ” ทั้งคุณและเธอก็จะเข้าใจได้เองว่า แต่ละคนเมากันขนาดไหนโดยไม่ต้องเอ่ยปากพูดอะไรมากไปกว่านั้น เพราะเราสามารถใช้คำพูดนี้ ผสานเข้ากับพฤติกรรมส่วนตัวของอีกฝ่ายเพื่อใช้ใน การประเมินความคิดของอีกฝ่าย

การวิจัยของผมชี้ให้เห็นว่าเราสามารถพัฒนาทักษะในการเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ หากเรายอมใช้เวลาในการค้นหา และสร้างจุดร่วม ในความสัมพันธ์ การสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่ทั้งสองฝ่ายเคยเจอเหมือนๆกัน สามารถทำให้เราทราบถึง ความคิดและความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์และประเมินความคิดของอีกฝ่ายต่อบุคคล เหตุการณ์หรือสถานที่ต่างๆได้

วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างจุดร่วมในความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าก็คืออย่าพยายามใช้การคาดคะเนไปเองให้มากเกินไป แต่พยายามใช้การตั้งคำถามไปเรื่อยๆ

เคล็ดลับการสำรวจความคิดอีกฝ่าย

  1. ในการทดสอบว่าอีกฝ่ายโกหกหรือไม่นั้น ลองพยายามให้อีกฝ่ายเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำๆ มากกว่าหนึ่งครั้งในลำดับที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะเรามักฝึกซ้อมโกหกโดยการจัดลำดับเหตุการณ์ต่างๆเป็นลำดับเวลา ดังนั้นจึงเป็นการยากขึ้นในการโกหก หากต้องเล่าเรื่อง โกหกซ้ำๆ หรือมีคนคอยถามเรื่องๆต่างๆขัดอยู่ตลอดเวลา
  2. หมั่นสังเกตสีหน้าบริเวณส่วนบนของใบหน้า ทั้งนี้เพราะอารมณ์ของเรามักแสดงออกมาชัดเจนและง่ายที่สุดผ่านดวงตา
  3. คนที่ใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งในการสนทนากับคนแปลกหน้า (เช่น ผม หรื ดิฉัน) มักสามารถเข้าใจความคิดอีกฝ่ายได้ง่ายกว่า
  4. สังเกตถึงการ ”ชะงัก” ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองหลักของสมองของเราควบคู่ไปกับเหตุการณ์ “อยู่หรือไป” เมื่อเราพบว่าตัวเรา ตกอยู่ในสถานการณ์ ลำบากร่างกายของเรามักจะหยุดชะงักไปชั่วครู่หนึ่ง
  5. สร้างและสังเกตพฤติกรรมพื้นฐาน ผู้เขียนหนังสือชื่อ What Every Body Is Saying กล่าวว่าคุณต้องสามารถที่จะสังเกตและแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างสีหน้าปกติของคนคนหนึ่งกับสีหน้าเวลาเครียดหรือจริงจังให้ได้

กลวิธีอ่านใจคน

สังเกตจากประวัติการเจริญเติบโต

  1. บุตรชายคนโตโดยมากจะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เป็นตัวของตัวเอง
  2. บุตรชายคนรองจะเป็นคนชิงดีชิงเด่น มีความทะเยอทะยาน
  3. บุตรชายที่ถูกตามใจมาตั่งแต่เด็ก โดยมากจะเป็นผู้ที่ชอบพึ่งพาอาศัยคนอื่น อารมณ์ไม่มั่นคง
  4. บุตรคนเดียวของบิดามารดา โดยมากเป็นคนเฉลียวฉลาด แต่ยากที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  5. ผู้คนที่เติบโตในครอบครัวที่ขาดมารดา จะเป็นคนไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ และผู้ซึ่งเติบโตในครอบครัวที่ขาดบิดา จะเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบในการงาน.
  6. ผู้คนที่เกิดในครอบครัวที่ยากจน จะเห็นความสำคัญของเงินทอง และอำนาจมากกว่าผู้ที่เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย
  7. ผู้คนที่เติบโตในที่ซึ่งอากาศดี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ โดยมากจะเป็นคนหนักแน่นมีเหตุมีผล.

สังเกตจากท่าทีการทำงาน

  1. ผู้ทำงานมากเกินไป มักมีปรัชญาการทำงานของตนเอง
  2. ผู้ซึ่งนำความรับผิดชอบมัดติดกับตัวเอง คิดว่าทุกอย่างมีความเกี่ยวพันธ์กับเขาเป็นอย่างยิ่ง
    ยามใดที่ระดับการตำหนิตัวเองสูงเกินไป เขาก็อาจป่วยเป็นโรคประสาท
  3. ผู้ที่พยายามหาคำแก้ตัวเพื่อให้ตนเองพ้นผิด คนประเภทนี้จะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ยาก

สังเกตจากการใช้จ่ายเงินทอง

"ผู้ที่ตกเป็นทาสของเงินทอง จะมีความรู้สึกว่าตนเองต้อยต่ำ "

  1. คนขี่ตระหนี่ คิดคำนวนก่อนใช้เงิน พิถีพิถันเรื่องความเชื่อถือ แต่ขาดมนุษย์สัมพันธ์ ทำให้คนอื่นเห็นว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว
  2. คนซึ่งใช้เงินอย่างอีลุ่ยฉุยแฉกขณะมี และเขาจะไม่เสียใจเมื่อไม่มีเงินใช้ คนเช่นนี้โดยมากจะเป็นคนมีนิสัยมุทะล
  3. คนที่ชอบยืมเงินผู้อื่นซื้อสิ่งของ โดยมากจะเป็นคนไม่สามารถซุกซ่อน ความปรารถนาของตนเอง มีความทะเยอทะยานในความรุ่งเรืองหรูหรา

สังเกตจากการแข่งขัน

" การแข่งขันคือสนามทดสอบส่วนลึกของจิตใจ "

  1. ขณะแข่งขัน ผู้ซึ่งแสดงสีหน้าไมีชื่นชมยินดี แสดงว่าเป็นคนไม่มีความสามารถ บังคับความไม่พอใจในความหวัง ไม่ทราบว่าจะเผชิญกับอุปสรรคอย่างไร
  2. ผู้วึ่งเล่นได้ไม่ดีในเกมต่อไปอันเนื่องมาจากได้รับความพ่ายแพ้ในเกมแรก ผู้คนเช่นนี้โดยมากจะเป็นคนปฎิภาณเสื่อมถอย
  3. ผู้ซึ่งคิดว่าความพ่ายแพ้ของตนเองขึ้นอยู่กับความสามารถ คนเช่นนี้ คือผู้มีจิตใจคอคับแคบ มีความเคารพตนเองอย่างกล้า
  4. ผู้ซึ่งคิดง่าความพ่ายแพ้ของตนเองขึ้นอยู่กับโชค คนเช่นนี้มีอาการของ โรคประสาทพิการ มีความทะเยอทะยานในความรุ่งเรืองหรูหรา
  5. ผู้คนซึ่งแกล้งทำเป็นว่าไม่ใส่ใจกับชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ คนเช่นนี้คือคนที่กลัวตนเองถูกทำร้าย มีการป็องกันตัวเอง

สังเกตจากการชอบ

  1. ผู้ซึ่งมีความรำคาญใจกับการงานหรือครอบครัว จะมีความเร่าร้อนต่อการชอบอย่างผิดปกติ
  2. สตรีซึ่งอยู่ในวัยรุ่นแต่ชอบคนตรีแบบโบราณ โดยมากอารมณ์จะไม่แน่นอน ส่วนผู้ชอบเพลงพื้นบ้าน โดยมากร่างกายจะแข็งแรง ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
  3. ผู้ลุ่มหลงกับการเก็บสะสม โดยมากจะมีนิสัยยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเอง
  4. ผู้ชอบออกกำลังกาย จะมีความสมดุลทางจิตใจ

สังเกตจากการชอบสัตว์เลี้ยง

  1. ผู้ซึ่งชอบเลี้ยงแมว คือผู้ชอบอยู่อย่างอิสระ เอาแต่ใจตนเอง ควบคุมตนเองอย่างเคร่งครัด
  2. ผู้ซึ่งชอบเลี้ยงสุนัข ส่วนใหญ่จะเป็นคนสุภาพอ่อนโยน และชอบความครึกครื้นสนุกสนาน
  3. ผู้ซึ่งชอบเลี้ยงสุนัขที่มีหน้าตาน่าเกลียด โดยมากจะเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในรูปโฉมของตนเอง
  4. ผู้ซึ่งชอบเลี้ยงสุนัขพุนธ์ต่างประเทศที่มีลักษณะสูงใหญ่ มองดูแล้วน่าเกรงขาม ผู้คนประเภทนี้มีความทะเยอทะยาน ในความรุ่งเรืองหรูหรา
  5. ผู้ซึ่งชอบเลี้ยงปลาและนก เป็นคนไม่มีมนุษย์สัมพันธ์ ถือแต่ความเห็นของตนเข้าใครไม่ติด

สังเกตจากความเกี่ยวพันธ์กับเพศตรงข้าม

" ผู้คนต่างแสวงหาในสิ่งที่ตัวเองมีไม่เพียงพอ "

  1. ในตัวของเพศตรงข้ามที่ตัวเองชอบ สามารถค้นพบสิ่งซึ่งตนเองขาด
  2. สตรีร่างเตี่ยชอบชายรูปร่างสูง
  3. ชายซึ่งมีความรู้สึกสนุกกับสาวสังคมชั้นสูง แสดงว่าเป็นคนมีความรู้สึกว่าตนเองมีความต่ำต้อยทางชนชั้น
  4. ชายซึ่งไม่ยอมแต่งงาน สาเหตุอาจเนื่องมาจากความรักซึ่งมีต่อมารดา
  5. สตรีซึ่งรักบิดา ชอบเลือกหาชายซึ่งมีความคล้ายคลึงกับบิดา
  6. ผู้คนซึ่งมีความรู้สึกเฉียบพลัน ตามแต่อารมณ์จะคิดฝันว่าความเกี่ยวพันธ์ กับเพศตรงข้ามเต็มไปด้วยความโรแมนติก
  7. ผู้มีนิสัยตามแต่อารมณ์ การคบค้ากับเพศตรงข้ามมักจะสนใจประวัติการศึกษา ฐานะและเกียรติยศทางครอบครัว

สังเกตจากท่าทีการพูดจา

" เพียงแต่ฟังเขาพูดก็รู้ใจเขา "

  1. ขณะที่ความเร็วของการพูดจาช้ากว่าปกติ แสดงว่ามีความไม่พอใจฝ่ายตรงข้าม
  2. ขณะที่ความเร็วของการพูดจาเร็วกว่าปกติ ต่อหน้าฝ่ายตรงข้าม จะมีความรู้สึกว่าตัวเองต้อยต่ำ เต็มไปด้วยจุดอ่อน พูดจามีการปิดบัง
  3. ผู้ซึ่งปกติเงียบขรึมไม่ค่อยพูด แต่เปลี่ยนเป็นคนพูดเก่งอย่างฉับพลัน แสดงว่าภายในจิตใจของเขามีความลับ ซึ่งไม่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ
  4. ผู้ซึ่งพูดจาเฉียบขาด แสดงว่ามีความเชื่อมั่นในคำพูดของตนเอง
  5. ผู้ซึ่งพูดจาซุบซิบคล้ายกับว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น แสดงว่าขาดความเชื่อมั่นในเรื่องของตนเอง
  6. ผู้ซึ่งพูดจาเยิ่นเย้อยืดยาด แสดงว่ากลัวผู้อื่นคัดค้านคำพูดของตนเอง
  7. ผู้ซึ่งพูดจาเคลือบคลุม คือผู้มีความตั่งใจจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบคำพูดของตน
  8. ผู้ซึ่งพูดจาในลักษณะจำกัดคำพูด แสดงว่าอารมณ์ไม่แน่นอน
  9. ผู้ซึ่งสายตามองไปทุกหนทุกแห่งโดยไม่ได้มองผู้พูด หรือนิ้วมือเคลื่อนไหวขยุกขยิก แสดงว่าผู้ฟังคนนั้นอดทนไม่ไหวแล้ว

สังเกตจากการทักทาย

" ความรู้สึกดีชั่วของจิตใจไร้สำนึกก็แสดงออกทางพิธีรีตอง "

  1. ผู้สังเกตการทำความเคารพของฝ่ายตรงข้าม คือผู้มีความระมัดระวังตัว
  2. ผู้ก้มศีรษะหลบสายตาของฝ่ายตรงข้าม โดยส่วนใหญ่แล้วคือผู้มีความรู้สึกว่า ตนเองต่ำต้อยกว่าฝ่ายตรงข้าม
  3. ผู้จงใจดึงชวงระยะของการทำความเคารพให้ห่างออกไปทำให้ผู้คนมีความรู้สึกว่า มีการป้องกันฝ่ายตรงข้าม และมีความเกรงใจ
  4. ผู้ทักทายด้วยการตบไหล่ฝ่ายตรงข้ามเบา ๆ ขณะพบกันครั้งแรก คือผู้ที่มีความจงใจที่จะบิดเบือนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเขา
  5. ผู้จับมือแรง ๆ คือผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  6. ผู้จับมือเบาและนิ่มนวล คือผู้มีนิสัยขี้ขลาดอ่อนแอ
  7. ผู้มีเหงื่อบนฝ่ามือขณะจับ อาจคือผู้ได้รับการเสียดแทงหัวใจ ภายในจิตใจมักจะสูญเสียความสมดุล
  8. แม้ว่าจะไม่ใช่การพบกันครั้งแรก แต่ก็ยังคงใช้วิธีการทักทายเหมือนกับการพบกันครั้งแรก แสดงว่าผู้นี้มีการป้องกันตัวเอง

สังเกตจากการนั่ง

"...รอบ ๆ ตัวของมนุษย์ต่างก็ต้องการที่ว่างเป็นของตนเอง นั่นก็คือเขตแดนของร่างกาย
ยามใดที่ว่างนี้ถูกบุกรุกก็จะเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย
โดยปกติแล้วผู้คนซึ่งไม่บุกรุกซึ่งกันและกัน จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข..."

  1. การบุกรุกเขตแดนของร่างกายซึ่งกันและกันอยู่ในระดับยิ่งมากเท่าไร ความสัมพันธ์ก็ยิ่งมากเท่านั้น
  2. ผู้ซึ่งแกล้งหลีกห่างออกจากเขตแดนของร่างกาย แสดงว่า จิตใจมีความรู้สึกต่อต้านฝ่ายตรงข้าม
  3. แม้การบุกรุกเขตแดนของร่างกายของผู้อื่นจะไม่มีเจตจำนง แสดงว่าหากไม่คิดข่มขู่ก็คิดตีสนิท
  4. นั่งข้าง ๆ จิตใจจะยิ่งมีความรู้สึกแบบเดียวกันกับฝ่ายตรงข้าม มากกว่านั่งตรงกันข้าม
  5. ผู้นั่งตรงกันข้าม คือผู้ซึ่งคิดอยากจะให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจคุณ
  6. ผู้ซึ่งนั่งลงแล้วรีบยกขาขึ้น คือผู้มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
  7. สตรีซึ่งนั่งยกขาขึ้น คือผู้คิดดึงดูดความสนใจของสุภาพบุรุษให้สนใจรูปโฉมของตนเอง
  8. หญิงชายที่มีจิตใจตรงกันจะไม่นั่งตรงกันข้าม

สังเกตจากการแสดงสีหน้า

"...มนุษย์ไม่จำเป็นต้องเผยอารมณ์ออกมาโดยตรง
ใบหน้าไม่แสดงสีหน้าใช่ว่าจะไม่มีอารมณ์ ..."

  1. ใบหน้าไม่แสดงสีหน้า คือสื่อของการคิดอยากจะให้ฝ่ายตรงข้ามทราบว่า ภายในจิตใจของตนเองมีความไม่พอใจ หรือจิตใจมีการต่อต้าน
  2. การไม่แสดงสีหน้าของสตรี แสดงว่ามีความรู้สึกที่ดีต่อฝ่ายตรงข้าม
  3. ภายในใบหน้าที่ยิ้มแย้ม บางครั้งก็มีความเกลียดชังซ่อนเร้นอยู่
  4. ยิ้มอย่างคลุมเคลือ แสดงออกถึงการระมัดระวังตัว

สังเกตจากกิริยาท่าทางของมือ

"หากว่าไม่แสดงสีหน้า ส่วนลึกของจิตใจก็จะแสดงออกทางมือ "

  1. การกอดอกหมายถึง การป้องกันตนเอง และการปฏิเสธของจิตใจ
  2. การกอดอกคือ สัญลักษณ์ของความเย่อหยิ่ง คือท่าทางที่ไม่อ่อนน้อม
  3. สตรีซึ่งใช้ข้อศอกเท้าโต๊ะแล้วใช้มือทั้งสองประสานกัน แสดงถึงการปฏิเสธฝ่ายตรงข้าม
  4. กางฝ่ามือต่อหน้าฝ่ายตรงข้าม แสดงถึงการปฏิเสธอย่างแรงกล้า
  5. ผู้ใช้มือเกาศีรษะหรือเคาะศีรษะ คือผู้กำลังใช้ความคิด
  6. ขณะใช้มือเท้าแก้ม โดยมากจะใจลอย