การวางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย

รายจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ทุกคน พัฒนาการที่อยู่อาศัยของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เทคโนโลยี ระเบียบและวัฒนธรรมประจำถิ่น ยิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้นเท่าใด ที่อยู่อาศัยก็ยิ่งมีการพัฒนาควบคู่ไปด้วยมากขึ้นเพียงเท่านั้น จนเกิดเป็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยต่างๆ มากมาย เพื่อตอบสนอง ความต้องการพื้นฐาน และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด แม้ว่าบุคคลทั่วไปจะมีความต้องการ ที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง อันเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ตาม แต่ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณ รสนิยม ลักษณะอาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ ทำให้บุคคลหลายคนมีความจำเป็น ในเรื่องที่อยู่อาศัยแตกต่าง กันไป อย่างไรก็ตามบุคคลส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี หมายถึงการมีที่อยู่อาศัยเหมาะสม กับความต้องการให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ปัจจัยพื้นฐานในการเลือกที่อยู่อาศัย ผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเพียงตัวบ้านเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงความพอใจในการอยู่อาศัยร่วมด้วย ซึ่งความพอใจที่ว่าคือ อรรถประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับตามขนาดของบ้าน ความสะดวกสบาย เพื่อนบ้านรวมถึงสิ่งแวดล้อมอื่นใด ที่ผู้ซื้อต้องการเพื่อความสุขในการพักอาศัยและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยนัยแล้วรูปแบบหลักของการมีที่อยู่อาศัย มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ การซื้อและการเช่า

ประเภทของที่อยู่อาศัย

1. บ้านเดี่ยว (Single – family home) เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว ๆ มีเนื้อที่กว้างขวาง รั้วรอบขอบชิด ทำให้ผู้อาศัยมีความเป็นส่วนตัวได้มากและห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นมีบ้านเดี่ยวยังเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็นเจ้าของด้วย เพราะบ้านแต่ละหลังมีขนาดใหญ่เล็กต่างกัน สามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ
2. อาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว (Shop house) เป็นแบบบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถดัดแปลง ให้เป็น สถานที่ทำการค้า หรือธุรกิจได้ด้วย อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ จึงนิยมก่อสร้างกันหลาย ๆ ชั้น
3. ทาวน์เฮาส์ (Townhouse) เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว บ้านประเภทนี้มักตั้งอยู่ในเมือง ต่างกับตึกแถวตรง ที่มีบริเวณหน้าบ้าน จัดเป็นสวนขนาดย่อมและจอดรถได้ทาวน์เฮาส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2 – 3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นที่ในเมืองราคาแพง
4. แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ (Flat or apartment) เป็นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์ คือมีหลาย ๆ ชั้นแบ่งเป็นหลัง ๆ มีไว้เพื่อให้เช่าที่อยู่อาศัยแบบนี้ ส่วนมากค่าเช่ามักจะสูงเพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวกปลอดภัยไว้ครบ
5. คอนโดมิเนียม (Condominium) หรืออาคารชุด เป็นอาคารที่มีหลายชั้นแต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ซึ่งภายในห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วอาคารชุดจะตั้งอยู่กลางในเมือง หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก อาคารชุดมีหลายประเภททั้งประเภทที่อยู่อาศัย (Apartment condominium) และประเภทสำนักงาน (Office condominium) ผู้ซื้ออาคารชุดจะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคารชุดของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง อันได้แก่ ห้องโถง ที่จอดรถ ลิฟต์ สนามและทางเดิน เป็นต้น ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สิน
6. สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative housing) เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ลักษณะเป็น อพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ เกิดขึ้นโดยผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์ และสหกรณ์จะนำเงินนั้นไปซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้สมาชิกได้เช่าอยู่ สมาชิกต้องช่วยกันออกค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม ค่าภาษี สมาชิกแต่ละหน่วยมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการเลือกคณะกรรมการบริหาร
7. บ้านเคลื่อนที่ (Mobile home) เป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ของบ้านเคลื่อนที่ ผู้เริ่มครอบครัวใหม่นิยมอยู่บ้านเคลื่อนที่เพราะราคาไม่แพงนัก บางคนก็ใช้บ้านเคลื่อนที่เป็นสำนักงานเคลื่อนที่เช่น ผู้รับเหมาเวลาไปรับเหมาก่อสร้างตามแหล่งทีรับเหมาต่าง ๆ บ้านแบบนี้สามารถขับเคลื่อน หรือพ่วงกับรถคันอื่นได้ ลักษณะภายในมีเครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านทั่วไป บ้านแบบนี้ในเมืองไทยยังไม่ค่อยนิยม เท่าที่มีในขณะนี้เป็นของดาราภาพยนตร์ หรือนักแสดงที่ต้องเดินทางเสมอก็จะซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ ปรับปรุงภายในให้เป็นเหมือนบ้านคือ มีห้องนอน ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น
8. บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time – hare home) บ้านแบบนี้ตามชื่อก็บอกลักษณะให้ทราบว่า มีการแบ่งเวลา หรือหมุนเวียนกันเพื่อใช้ประโยชน์ ในบ้านพักอาศัยดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพักผ่อน เช่น บ้านพัก หรือเรือนรับรอง ที่อยู่ตามชายหาด หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยมีบุคคล บริษัท หรือโครงการจัดสรร เป็นเจ้าของใครต้องการไปพักผ่อนในช่วงไหน ก็เช่าใช้บ้านพัก ในช่วงนั้น ซึ่งจะมีการแบ่งเวลากันในระหว่างผู้ต้องการใช้มีตั้งแต่ 1 สัปดาห์จนถึง 6 เดือนราคาเช่าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า ระยะเวลาในการเช่า ขนาดของบ้าน ทำเลที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนฤดูกาลของการเช่าพัก ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมบางแห่ง ซึ่งได้ขายไปแล้ว ก็ยังให้บริการในลักษณะของ Time sharing ด้วย คือขณะใดขณะหนึ่งที่เจ้าของไม่ได้อยู่เอง ก็มอบหมายให้ผู้จัดการคอนโดมิเนียมนั้น ดูแลให้โดยหาผู้ต้องการ พักผ่อนในช่วงดังกล่าว มาเช่าอยู่แทน ซึ่งทำให้เจ้าของมีรายได้ขณะที่ไม่ได้ใช่อยู่อาศัยเอง เพียงแต่จ่ายค่าบริการดังกล่าวบ้างเท่านั้น

การซื้อบ้าน (Buying House)

ทุกคนย่อมใฝ่ฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในชีวิต แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตนเองนั้นย่อมต้องอาศัยเวลา ความมานะพยายาม ที่จะสะสมเงินทอง เพื่อซื้อหาให้มีบ้านดังกล่าว ดังนั้นการวางแผนซื้อบ้านควรกระทำโดยรอบคอบไม่ว่าจะเป็นการเลือกประเภทของบ้านที่อาศัย การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสม การเสาะหาแหล่งเงินกู้มาช่วยสนับสนุน ตลอดจนการจัดทำหลักฐานสัญญาต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อจะซื้อบ้าน ในการซื้อบ้านควรที่พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

1.ทำเลที่ตั้ง (Location) ในซื้อบ้านการพิจารณาถึงทำเลที่ตั้งมีความสำคัญมาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่อยู่อาศัยคนหนึ่งได้กล่าวว่า "เมื่อท่านซื้อบ้าน แท้จริงแล้วสิ่งที่ท่านต้องการซื้อ คือ เพื่อนบ้านนั่นเอง" เพราะถ้ามีเพื่อนบ้านดีมีความเข้าใจช่วยเหลือไหว้วานกันได้ ทุกคนที่อยู่ใกล้กันก็มีความสุขสบายใจ นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปควรจะดีพร้อมด้วย เช่น

  • ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากตัวเมือง การคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารผ่านหลายสาย
  • มีสถานที่สำคัญ ๆ ตั้งอยู่ใกล้ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดที่จะซื้อสิ่งของจำเป็นได้
  • สภาพแวดล้อมร่มรื่นมีต้นไม้อยู่ทั่วไป
  • ถนนหนทางสะดวก มีท่อระบายน้ำดี มีไฟถนนให้ความสว่าง
  • บริการประปา มีโทรศัพท์ไปถึง
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม ผู้ซื้อบ้านควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ถนนใหญ่ที่จะเข้าไปโครงการบ้านจัดสรร ควรอยู่สูงกว่าระดับน้ำ และถนนภายในหมู่บ้านก็ควรอยู่ในระดับเดียวกันกับถนนใหญ่ทางเข้าโครงการ

2.ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านทีเหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริงดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ควรเป็นสถานที่สงบเงียบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้หากเทศบาล หรือท้องถิ่นได้ออกกฎหมายกำหนดอย่างแน่นอนว่า ย่านใดกำหนดให้เป็น ย่านที่อยู่อาศัยก็ควรเลือกบ้าน ในโซนที่กำหนดไว้เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
3.สนามหญ้า (Yard) ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกบ้านอยู่อาศัยที่มีบริเวณบ้าน หรือสนามอย่างเพียงพอเพื่อจะได้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เดินเล่น หรือ ออกกำลังได้ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีราคาสูงมาก การที่จะมีสนามส่วนตัวอาจทำได้ยาก ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกโครงการที่มีสวนสาธารณะ หรือสถานที่พักผ่อนที่เป็นส่วนกลาง
4.สิ่งก่อสร้างภายนอก (Exterior construction) ตัวบ้านควรมีความแข็งแรง คงทนถาวร แน่นหนาพอสมควร วัตถุที่ใช้ก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่า อิฐ ไม้ ปูน การทาสีมีคุณภาพ ประกอบกับฝีมือการก่อสร้างก็ไม่หยาบ มีความละเอียดประณีตพอสมควร กล่าวคือ เมื่อดูรวม ๆ แล้วมีความคงทนต่อแดดฝน ภาวะอากาศพอที่จะอยู่อาศัยไปได้อีกนาน ถ้าจะให้ดีควรมีที่จอดรถและรั้วรอบขอบชิดด้วย
5.สิ่งก่อสร้างภายในบ้าน (Interior construction) มีการตกแต่งอย่างเรียบร้อย การแบ่งห้องก็มีเพียงพอสมาชิกในครอบครัว การแบ่งสัดส่วนใช้สอยต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมไม่ว่าบันได ห้องน้ำ ห้องครัว ตลอดจนห้องโถง หรือทางเดิน เป็นต้น

6. การบริหารส่วนกลาง
ผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่มักเลือกซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรรที่มีบริการงานบริหารส่วนกลาง โครงการบ้านจัดสรรที่ดี ควรให้บริการด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง บางโครงการอาจให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น ระบบคีย์การ์ด ระบบอินเตอร์คอม หรือกล้องวงจรปิด
  • การดูแลรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนรวมของโครงการ
  • การจัดเก็บขยะ
  • การบำรุงรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง
  • บริการด้านอื่นๆ เช่น ไปรษณีย์ ซักรีด ดูแลสวน และบริการงานช่างต่างๆ

7. สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไป
ผู้ซื้อบ้านไม่ควรเลือกบ้านโดยคำนึงถึงแต่เพียงคุณภาพของบ้าน แต่ควรพิจารณาถึงคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งมีผลต่อราคาของบ้านด้วย โครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่มักมีทุนทรัพย์มาก จึงมักมีขีดความสามารถในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้ดีกว่าโครงการขนาดเล็ก สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอื่นๆ ที่ควรพิจารณาได้แก่ สระว่ายน้ำ สวนหรือสนามเด็กเล่น และสโมสร บางโครงการอาจมีศูนย์ออกกำลังกาย สนามเทนนิส สนามบาสเก็ตบอล ร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น

การประเมินกำลังเงินในการซื้อบ้าน

โดยทั่วไปคนมักคิดว่า ผู้ที่มีกำลังเงินเพียงพอเท่านั้นจึงจะซื้อบ้านได้ แต่ในความ จริงแล้วจะเห็นว่า คนซื้อบ้านไม่ได้มีกำลังเงินเพียงพอเสมอไป หลายคนถึงกับยอมประหยัดการใช้จ่ายเก็บหอมรอบริบอยู่อย่างลำบากในช่วง 4 – 5 ปีแรก ทั้งนี้เพื่อให้ได้บ้านสักหลังได้อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง เพราะเขาถือว่ามีบ้านสักหลังไว้ไม่เสียหลาย เพราะนอกจากจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับครอบครัวแล้ว ยังเป็นการลงทุนที่ดีมากอีกทางหนึ่งเสียด้วย หลักในการพิจารณาว่าคนเราควรจะมีเงินสักเท่าไรจึงเหมาะสมที่จะหาซื้อบ้านโดยไม่มีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้น ได้มีผู้ให้แนวทางไว้ดังนี้
1. มูลค่าบ้านที่ซื้อ ไม่ควรเกินสองเท่าของรายได้ทั้งสิ้นของครอบครัว เช่น ถ้ารายได้ทั้งสิ้นของครอบครัวปีละ 250,000 บาท ก็ควรซื้อบ้านในราคาสูงไม่เกิน 500,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของการมีบ้าน (Total housing costs) จะต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน (Gross income) โดยพิจารณาถึงอัตราส่วนความสามารถในการจัดหาที่อยู่อาศัย หรือที่เรียกว่า Affordability ratio ซึ่งเป็นการวัดความสามารถของบุคคล ที่กู้เงินซื้อบ้านว่าจะสามารถจะรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการมีบ้านของเขาได้มากน้อยเพียงไร

การเลือกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป

มีหลักพื้นฐานในการพิจารณาคือ ความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย ราคาค่าเช่า สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณใกล้เคียง มลภาวะ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กั บปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ที่จะตัดสินใจว่า สิ่งใดเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด โดยอาจขอคำแนะนำจาก ข้าราชการที่เคย ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนก็ได้ รวมทั้งอาจขอให้ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนเป็นธุระเรื่องการเลือกสรรบ้านพักไว้จำนวนหนึ่งเพื่อตัดสินใจเมื่อเดินทางไปถึง เหตุที่ต้องเตรียมการล่วงหน้าเนื่องจากระยะเวลาที่เข้าพักในโรงแรมมีเพียง ๑๐ วัน และขั้นตอนการเช่าบ้านที่เมืองลอสแอนเจลิส ผู้ให้เช่าจะใช้เวลาพิจารณาใบสมัครพอสมควร โดยหากเป็นบ้านที่มีผู้สนใจเช่าหลายราย การแข่งขันย่อมสูงขึ้นด้วย ในที่นี้มีคำแนะนำเรื่องหลักเกณฑ์การเลือกบ้าน ไว้ดังนี้

 ๑ ความปลอดภัย สังคมชาวต่างชาติในลอสแอนเจลิส จะรวมกลุ่มกันอยู่ในพวกของตนเอง เช่น ชุมชนคนขาว คนดำ คนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ คนเกาหลี คนเวียดนาม คนญี่ปุ่น คนไทย รวมไปถึงชาติต่างๆ อีกมากมาย ในแต่ละชุมชนนั้น จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ยกเว้นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเท่านั้น ดังนั้น คนเหล่านี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปในย่านอื่น ปัจจุบันในเมืองลอสแอนเจลิส ยังมีแก๊งต่างๆ ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อประชาชนทั่วไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้ได้รับการยอมรับ แก๊งเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นคนดำ และคนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ สำหรับชาวเอเชียก็มีแก๊งเช่นกันแต่ไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งในเรื่องนี้ก็มิได้หมายความว่าคนเชื้อชาติเหล่านี้ทุกคนไม่ดี จึงอยู่ในดุลยพินิจของข้าราชการที่มาปฏิบัติงานว่า ต้องการให้ครอบครัว มีความสุขในการดำเนินชีวิตมากน้อยเพียงใด ย่านที่คนผิวดำ และคนแมกซิกัน/อเมริกาใต้ อาศัยอยู่มาก ได้แก่ Compton, South LA, Inglewood เป็นต้น

 ๒ ความสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากที่ตั้งของสำนักงานอยู่ใกล้กับสนามบิน LAX และหากว่าจะต้องเปลี่ยน FF คาดว่าก็จะยังคงอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม เนื่องจากในบริวณนี้เป็นที่ตั้งของบริษัทที่รับดำเนินการเรื่อง FF โดยสังเกตจาก บริษัทที่เคยดำเนินการให้กับกองทัพไทยในอดีตก็อยู่ในบริเวณนี้ไม่ห่างไปมากเช่นกัน บริเวณที่อยู่อาศัยในรัศมีไม่เกิน ๑๐ ไมล์ จึงได้แก่ย่าน Westchester, Marina Del Ray, Inglewood, Hawthorne, El Segundo, Gardena, Manhattan Beach, Hermosa Beach, Lawndale เป็นต้น

 ๓ ประเภทบ้านพัก มีให้เลือกหลายแบบเช่น Apartment แบบเป็นสัดส่วน มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางเช่น สระว่ายน้ำ ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น, Apartment แบบธรรมดาที่ไม่มีส่วนกลาง, บ้านเดี่ยว, Studio, Town Home ซึ่งเท่าที่สังเกตจะเห็นว่า บ้านเดี่ยว และ Apartment จะได้รับความนิยมมาก แต่ Apartment อาจมีความเป็นส่วนตัวน้อยกว่า เรื่องเพื่อนบ้านข้างเคียง และอาจต้องระมัดระวังไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านด้วย

 ๔ อัตราค่าเช่า ทางราชการสามารถสนับสนุนค่าเช่าที่พักได้อย่างพอเพียง ในทุกแบบที่ต้องการ

ชีวิตร่วมกับครอบครัว โดยนัยแล้วรูปแบบ หลักของการ มีที่อยู่อาศัยมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ การซื้อและการเช่า

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการเช่าบ้านและซื้อบ้าน

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ Life style choices

การเช่าบ้าน (Renting)

มีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสถานที่ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในทำเลกลางเมือง สะดวกต่อการคมนาคม และ complex เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส และมีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดให้ มีอิสระที่จะเลือกอยู่อย่างไรก็ได้ ตกแต่งหรือ ดัดแปลง อย่างไรก็ได้ ตามรสนิยมที่เราพอใจ
บ้านเช่าหรือห้องเช่าส่วนมาก จะอยู่ติดกันหรือใกล้กัน ทำให้สังคมกว้างขึ้น เพราะได้รู้จักคนมากขึ้นและมีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ความคิดเห็นกัน

การซื้อบ้าน (Buying)

มีบริเวณกว้างขวางที่จะให้ครอบครัวเด็กเล็กได้วิ่งเล่น
ผู้เช่าอาจไม่สะดวกในความเป็นอยู่มากนัก เพราะมีข้อห้ามข้อจำกัดต่าง ๆ จากผู้ให้เช่า เช่นการห้ามเลี้ยงสัตว์ ไม่รับเด็กเล็ก หรือห้ามแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
ความเป็นส่วนตัวและความภูมิใจ (Privacy and pride)
ผู้เช่ามักขาดความเป็นอิสระส่วนตัว เนื่องจากผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะเข้ามา ตรวจสอบดูแลห้องพักหรือบ้านเช่าได้เสมอ
มีอิสระและความเป็นส่วนตัวได้อย่างเต็มที่เพราะเป็นเหมือนบ้านของเราเอง เราเป็นผู้ครอบครองเสมือนหนึ่งเป็น King of the castle และจะไม่มีใคร มาจุกจิกกับเราอีก (โดยเฉพาะผู้ให้เช่า)
เกิดความภูมิใจในชีวิตนี้เรามีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านกับเขาเหมือนกัน

การลงทุนซ่อมแซมและบำรุงรักษา (Investment and maintenance) 

การเช่าบ้าน (Renting) การซื้อบ้าน (Buying)
ไม่ต้องหาเงินจำนวนมากมาเพื่อจะดาวน์บ้าน หรือซ่อมแซม ตกแต่งบ้าน เพียงแต่มีเงินจำนวนหนึ่ง ที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเท่านั้นพอ ค่าซ่อมแซมตกแต่ง ต่าง ๆ เป็นความรับผิดชอบ ของเจ้าของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น  การเช่าจึงมีความเหมาะสมมาก ต่อคนหนุ่มสาวที่ยัง มีรายได้ไม่มากนัก และยังไม่แน่ใจว่าจะตั้งถิ่นฐานอยู่ใดแน่
  • การมีบ้านถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ผลคุ้มค่าอย่างมากในอนาคต เพราะราคาบ้านและที่จะสูงขึ้นตลอดเวลา บ้านถือเป็นสินทรัพย์ทุนอย่าง หนึ่งที่เราสร้างได้ (Build  up equity)
  • เมื่อจะมีบ้าน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นเรา ต้องรับภาระหมด โดยจะต้องตั้งงบประมาณเต็มที่ เงินดาวน์บ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าตกแต่ง ซ่อมแซม ค่าประกัน ค่าดูแลรักษา  และอื่น ๆ จิปาถะ
  • เมื่อซื้อบ้านแล้ว ถ้าเดือดร้อนต้องการเงิน จะขายบ้างครั้งจังหวะไม่ดี ก็ขายออกยากเหมือนกัน
  • การจ่ายดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในขณะที่ค่าเช่าบ้านไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
การโยกย้าย (Mobility)
สัญญาเช่าส่วนมากเป็นสัญญาเช่าปีต่อปีผู้เช่า จะโยกย้ายไปอยู่ไหนก็จะง่าย เพราะไม่มีพันธะผูกพันอะไร และไม่ต้องวิตกในเรื่อง การจัดการขายทรัพย์สิน เหมือนกับการซื้อบ้าน บ้านที่ได้ซื้อแล้วถ้าจำเป็นต้องโยกย้ายไปอยู่ที่อื่นและ ต้องการขายบ้าน การขายอาจทำได้ไม่ง่ายนักภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจขายไม่ได้ตามราคาที่ต้องการทั้งยังต้องเสีย ค่านายหน้าในการขายอีกด้วย หรือมิฉะนั้นจะต้องถือไว้อย่างนั้นจนกว่า ราคาจะกระเตื้องขึ้น

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial risks)

การเช่าบ้าน (Renting) การซื้อบ้าน (Buying)
  • ในการเช่าผู้เช่ามีความรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ทรัพย์สินของตนที่อยู่ในที่เช่าเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบบ้าน หรือบริเวณภายนอก เพราะใน เรื่องการสร้างระบบป้องกันความปลอดภัยของบ้าน และทรัพย์สินภายนอกเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่า
  • เนื่องจากบ้านที่เราลงทุนซื้อ เป็นทรัพย์สินที่มีค่า ที่ต้องรักษาไว้ ดังนั้น เจ้าของต้องลงทุนทุกอย่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงต้องจ่ายค่าติดตั้ง ระบบความปลอดภัย และค่าประกันอัคคีภัยทุกอย่างเอง และถ้าบังเอิญ เกิดอัคคีภัยขึ้น เจ้าของต้องรับภาระความเสี่ยงเอง ในส่วนที่บริษัทประกันมิได้ชดใช้

1. กำหนดรูป​แบบบ้านที่ต้อง​การ

​เป้าหมายคือจุด​เริ่มต้นของทุก​เรื่อง​ใน​โลก​การ​เงิน ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อบ้าน อันดับ​แรกคุณต้องกำหนดรูป​แบบบ้าน​ในฝัน​ให้ชัด​เจน​เสียก่อน ​ทั้งนี้ต้องดู​ความต้อง​การที่​แท้จริง​และ​ความ​เหมาะสมด้วย ​เริ่มจากตรวจสอบ​ความต้อง​การของตัว​เองว่า ต้อง​การบ้าน​แบบ​ไหน บ้าน​เดี่ยว ทาวน์​เฮ้าส์ คอน​โด สามห้องนอน สองห้องน้ำ ​หรือ​แบบ​ไหน Location จะ​เอาที่​ไหนดี ​ทั้งนี้​การออกสำรวจตัวอย่างบ้าน​ในฝัน ​ก็จะช่วย​ให้ภาพของ​ความต้อง​การของ​เราชัด​เจนยิ่งขึ้นด้วย

​เมื่อ​ได้ภาพของบ้าน​ในฝัน​แล้ว ​ก็มากำหนด​เป้าหมาย​ในรูปตัว​เงินว่า บ้าน​ในฝันของคุณมีราคา​เท่า​ไหร่ ​เพื่อวาง​แผน​ใน​การซื้อหา​และครอบครองต่อ​ไป

2. วาง​แผนดาวน์ ​และจดจำนอง

​เมื่อ​ได้​เป้าหมาย​ในรูปตัว​เงิน​แล้ว ​ก็ต้องมากำหนดวง​เงินกันว่าจะดาวน์​เท่า​ไหร่ จะกู้​เงินธนาคาร​เท่า​ไหร่ (ส่วน​ใหญ่คง​ไม่รอ​เ​ก็บ​เงินตัว​เองซื้อ) ตรงนี้อยาก​เตือน​ผู้ที่ตั้ง​ใจจะมีบ้านว่าอย่าคิด​แต่อยากจะ​ได้บ้าน จนกู้​เงิน​โดย​ไม่ลืมหูลืมตา บางคนคิด​เอาว่ากู้​ไปก่อน ยิ่งถ้า​ไม่ต้องดาวน์​เลยยิ่งดี ตรงนี้​เป็น​ความคิดที่ผิด ​ทั้งนี้​เพราะ​การกู้​เงินซื้อบ้าน ​โดย​ไม่​ใช้​เงินตัว​เองดาวน์​เลยนั้น อาจ​ทำ​ให้ท่านมีภาระ​การผ่อนชำระคืนที่สูง​เกิน​ไป ​และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง​ในภายหลัง​ได้

ดังนั้นคุณต้องคำนวณตัว​เลขที่​เหมาะสมว่าจะดาวน์​เท่า​ไหร่ กู้​เท่า​ไหร่ กู้นาน​เท่า​ไหร่ ​และอัตราดอก​เบี้ย​เท่า​ใด (อันนี้​แล้ว​แต่​โปร​โมชันธนาคาร​แต่ละ​แห่ง) ​ทั้งนี้ควรชั่งน้ำหนักระหว่างค่า​ใช้จ่าย​โดยรวม กับสภาพคล่องที่จะต้องชำระคืน​ใน​แต่ละ​เดือน​ให้​เหมาะสม ​และที่สำคัญที่สุด ต้อง​ไม่กู้จน​ทำ​ให้อัตราผ่อนชำระคืนราย​เดือน​เกินกำลัง ​ซึ่ง​โดยปกติ​แล้วตัว​เลข​เงินผ่อนชำระบ้านที่ดี ​ไม่ควร​เกิน 30-40% ของรายรับ (​เช่น ​เงิน​เดือน 20,000 บาท ​ไม่ควรผ่อนบ้าน​เกิน 6,000 - 8,000 บาท)

นอก​เหนือ​ไปจาก​เรื่องของ​เงินดาวน์​และ​เงินกู้​แล้ว ​ผู้ที่จะซื้อบ้านยังต้องมอง​เลย​ไป​ถึงค่า​ใช้จ่าย​ใน​การ​ทำธุรกรรมต่างๆ อาทิ ค่าธรรม​เนียม​เงินกู้ ค่า​โอน ค่าจดจำนอง ค่าอากร ภาษีธุรกิจ​เฉพาะ (​ทั้งหมดนี้สอบถามจาก​ผู้ขาย ​หรือหาข้อมูล​เบื้องต้นจาก​เว็บ​ไซต์ธนาคาร​และกรมที่ดิน​ได้) รวม​ถึงค่าตก​แต่ง​และ​เฟอร์นิ​เจอร์ต่างๆ ที่จะ​ทำ​ให้บ้านของคุณ ​เป็นบ้าน​ในฝันอย่าง​แท้จริง

3. วาง​แผนชำระคืนอย่างชาญฉลาด

​เมื่อ​ได้บ้านมาครอบครอง​แล้ว หน้าที่ที่คนซื้อบ้านจะต้อง​ทำ​ก็คือ ​การวาง​แผน​การชำระคืน คำถามมีอยู่ว่า ​ทำ​ไมต้องวาง​แผน​การชำระคืนด้วย ​ใน​เมื่อธนาคาร​เขา​ก็กำหนดค่างวดมาชัด​เจน​แล้วว่าต้องผ่อนชำระ​เดือนละ​เท่า​ไหร่ คำตอบ​ก็คือ ​เพื่อ​ให้​เราสามารถชำระหนี้​ทั้งหมด​ได้​เร็วกว่ากำหนด อันจะ​เป็น​การประหยัดค่า​ใช้จ่ายยัง​ไงหละ วิธี​การ​ก็สามารถท​ได้ง่ายๆ ดังนี้

3.1 ​ทำ​การชำระคืน​เงินผ่อนชำระตาม​เงื่อน​ไขธนาคาร บวกด้วย​เงินพิ​เศษ 10% ของค่างวด ตัวอย่าง​เช่น หากธนาคารกำหนด​ให้ท่านผ่อนชำระ​เดือนละ 10,000 บาท ท่านอาจจะนำส่ง​เงิน​เพิ่มอีก 1,000 บาท รวม​เป็น​เดือนละ 11,000 บาท ​โดย​ให้​แจ้ง​ความประสงค์กับธนาคาร​ให้ตัด​เงิน​เดือนละ 11,000 บาท ​แทนที่จะ​เป็น 10,000 บาท ทุก​เดือน (กรณี​ไม่​แจ้ง ​แม้จะนำส่ง 11,000 บาท ธนาคาร​ก็จะตัด​เงิน​เพียง 10,000 บาท​เท่านั้น) ด้วยวิธี​การนี้ จะ​ทำ​ให้ท่านสามารถผ่อนชำระ​เงินกู้ซื้อบ้านหมด​เร็วขึ้นราว 7-8 ปี ​เลยที​เดียว ​เพราะ​เงิน 1,000 บาทที่ท่านนำส่ง​เพิ่มจะ​ไปตัด​เงินต้น​โดยตรง ​ทำ​ให้​เงินต้นลดลง​เร็วขึ้นอีกนิด ​และช่วย​ให้ค่า​ใช้จ่าย​โดยรวมต่ำกว่า​การส่งตลอดระยะ​เวลา 30 ปี ​ได้อีกมาก (ทดลองคำนวณระยะ​เวลา​และค่า​ใช้จ่าย​โดยรวม​ใน​การชำระ​เงินกู้​ได้ที่ www.bankrate.com ​เลือก Calculator ​และ Mortgage Calculator)

3.2 หากท่าน​ไม่ถนัด​แบบ​แรก ​ก็อาจ​ใช้วิธี​การชำระ​เพิ่ม 1 งวด​ในทุกปี​ก็​ได้ ​เช่น พอ​ถึง​เดือนธันวาคม​แทนที่จะชำระหนี้​แค่ 10,000 บาท ​ก็​ให้​เพิ่ม​เป็น 20,000 บาท (ต้อง​แจ้งธนาคารอีก​เช่นกัน) ​แบบนี้​ก็สามารถลด​เวลา​การผ่อนชำระ​ได้​ใกล้​เคียงกันกับ​แบบ​แรก ​โดยท่านอาจรอ​ให้​ถึงช่วง​โบนัส ​หรือรับคอมมิชชั่นพิ​เศษ ค่อยนำ​เงิน​ไปทบกับ​เงินงวดผ่อนชำระ​ก็​ได้

กล่าว​โดยสรุป ​การกู้ซื้อบ้าน​ได้ยัง​ไม่ถือ​เป็น​การสิ้นสุดภาระของท่าน หาก​แต่​เป็น​เพียง​การ​เริ่มต้นของคนที่ฝันอยากจะมีบ้าน ดังนั้นท่านจะต้องมี​แผน​การชำระ​เงินคืน ​เพื่อ​ให้มั่น​ใจว่าบ้านที่ท่านซื้อ​ในท้ายที่สุดจะ​ได้​เป็นบ้านของท่าน ​หรือของคน​ในครอบครัวท่านอย่าง​แท้จริง อีกประ​เด็นหนึ่งที่จะลืม​ไม่​ได้​ก็คือ ​การบริหาร​ความ​เสี่ยง​ในระหว่างที่ยังมีภาระจดจำนอง ​ทั้งนี้ท่านควร​ทำประกันชีวิตครอบคลุมวง​เงินกู้ของท่าน​ไว้ด้วย ​เพื่อ​ให้มั่น​ใจว่าหาก​เกิด​เหตุ​ไม่คาดฝัน บ้านจะยังตก​เป็นทรัพย์สินของท่านอยู่

 

ข้อแนะนำก่อนกู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ย

ในการซื้อบ้านสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อนหลังจากการผ่อนดาวน์บ้าน ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 10-20% ของราคา บ้าน ส่วนที่เหลืออีก 80-90% จึงต้องพึ่งเงินกู้จากธนาคารโดยนำบ้านที่ซื้อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ในการกู้เงินซื้อบ้านนี้มีปัจจัยและเงื่อนไขที่ผู้กู้ควรพิจารณาก่อน เช่น
- จะกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัวดี
- วงเงินที่จะกู้
- ระยะเวลากู้
- ค่าใช้จ่ายในการกู้
- จำนวนเเงินงวดต่อเดือนที่ต้องผ่อนชำระ
- เงื่อนไขการให้บริการต่างๆของธนาคารนั้นๆ

เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้กู้ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างสถาบันการเงินแต่ละแห่ง แล้วจึงเลือกสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์กับคุณมากที่สุด ในส่วนของ อัตราดอกเบี้ย ที่จะเลือกใช้ก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อบ้านบางท่านอาจจะคิดไม่ตกว่าจะเลือกแบบไหนดี เพราะในปัจจุบันสถาบันการเงินแต่ละแห่งก็มีให้เลือกมากกว่า 1-2 ทางเลือก

อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเสนอในตลาดขณะนี้จะมีทั้งแบบ
1. อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate loan)
2. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate loan)
3. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage Loan) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดมาแล้ว แต่จะไม่อยู่คงที่ตลอดระยะเวลากู้ ธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง ตามที่เห็นสมควร ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในระบบการเงิน หรือตามต้นทุนการเงินของธนาคาร บางปีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอาจมีการปรับเปลี่ยนไปถึง 4-5 ครั้ง แต่บางปีก็แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็มี

แต่ในการคำนวณเงินงวดแม้ธนาคารฯ ส่วนใหญ่จะคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศจริง แต่มีบางธนาคารใช้วิธีการคำนวณเงินงวดต่อเดือนของลูกค้า โดยคิดเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยจริงบวกด้วย 1-3% ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้กู้ในกรณีดอกเบี้ยเพิ่มในภายหลัง หรือหากดอกเบี้ยไม่เพิ่มหรือลดลงเงินงวดที่ผู้กู้จ่ายเกินไว้ก็ จะไปตัดเงินต้นมากขึ้น และทำให้หนี้เงินกู้หมดเร็วขึ้นกว่าที่ระบุในสัญญากู้ เช่น กู้ 30 ปี อาจจะเหลือ 27- 28 ปี เป็นต้น

ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่เสนอในตลาดในขณะนี้แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นๆ 1-5 ปี จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งอาจจะสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่เดิมก็ได้ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ตลาดเงินและต้นทุนทางการเงินของธนาคารในขณะนั้น การปรับเปลี่ยน (อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว) นี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินงวดที่ผู้กู้ชำระในแต่ละเดือนได้ โดยเฉพาะหากมีการปรับตัวสูงขึ้นในภายหลัง จนทำให้เงินงวดต่อเดือนที่ผู้กู้ผ่อนชำระกับธนาคารไม่พอ ชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น อาจจะต้องเพิ่มเงินงวดต่อเดือนในภายหลังจนเกินที่จะรับภาระไหว
ฉะนั้นผู้กู้เงินแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงต้องระวังในกรณีนี้ด้วย อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ ธนาคารจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือตายตัวตาม ประกาศของธนาคารในขณะที่ขอกู้ โดยไม่ปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการ เงิน ดังนั้นเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนก็จะคงที่ตลอดระยะเวลากู้ 5-10-15-20-30 ปี ตามแต่ผู้กู้จะเลือก

อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรกจากนั้นเป็นลอยตัว อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันไดในช่วงแรกจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะกำหนด ดอกเบี้ยแบบคงที่ในระยะสั้นประมาณ 1-5 ปี แต่ในระหว่างนั้นอาจกำหนดคงที่แบบขั้นบันได เช่น คงที่ 4 ปี ปีแรก = 1%,ปีที่ 2 = 2.5%,ปีที่ 3 = 3.5%,ปีที่ 4 = 4.5% หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยเป็นต้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา ธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยคงที่ ระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี และจะปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี ตลอดระยะเวลาตาม สัญญากู้
ฉะนั้นผู้กู้แต่ละรายที่กู้ต่างเวลากันหรือในช่วงต่อครั้งที่ 2,3,4 ฯลฯ อัตราดอกเบี้ยจึงไม่เท่ากันอาจจะต่ำหรือสูงกว่า เป็นต้น ในส่วนของผู้กู้แนะนำให้รวบรวมอัตราดอกเบี้ยและประเภทเงินกู้ของสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เมื่อรวบ รวมประเภทเงินกู้แบบต่างๆ ของแต่ละสถาบันการเงินแล้ว ผู้กู้ก็นำอัตราดอกเบี้ยจริงมาเปรียบเทียบว่าที่ ไหนให้เท่าใด สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ซึ่งหลักโดยทั่วไปหากเป็นเงินกู้ประเภทเดียวกัน ดอกเบี้ยต่ำที่สุดก็จะ เป็นประโยชน์กับผู้กู้มากที่สุด เพราะดอกเบี้ยที่ต่ำจะทำให้เงินงวดรายเดือนที่ผ่อนชำระต่ำไปด้วย

วงเงินสินเชื่อ

โดยทั่วไปแล้วผู้ขอสินเชื่อจะขอวงเงินสินเชื่อตามที่ตนเองต้องการใช้ในขณะนั้น ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการขอวงเงินสินเชื่อ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจในการขอวงเงินสินเชื่อ จึงขอจำแนกปัจจัยต่างๆ พอสังเขป ดังนี้

วัตถุประสงค์ในการกู้

ปกติแล้วสถาบันการเงินจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อก่อนเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากจะนำมาใช้กำหนดโครงสร้าง หรือประเภทการขอสินเชื่อ เช่น เป็นวงเงินหมุนเวียน, วงเงินระยะสั้น, วงเงินระยะยาว ฯลฯ เช่นถ้าผู้ขอสินเชื่อต้องการวงเงินเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นวงเงินระยะยาว (10-40 ปี) เพื่อให้เงินผ่อนชำระต่องวดต่ำ ไม่เป็นภาระแก่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อมากเกินไป ถ้ากู้ยืมเพื่อใช้จ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวงเงินระยะสั้น – ปานกลาง (3 – 5 ปี) ถ้าจะใช้เป็นเงินหมุนเวียน ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้ระยะสั้น (1 – 3ปี) เป็นต้น

รายได้ของผู้ขอสินเชื่อ

โดยปกติทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้เกณฑ์พิจารณาวงเงินสินเชื่อจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบไปกับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารประกอบที่ผู้ขอสินเชื่อจัดเตรียมให้

ภาระค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ

สถาบันการเงินมักจะคำนวณเงินผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในเบื้องต้น โดยกำหนดให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อไม่ควรเกินร้อยละ 35 ของรายได้รวมของผู้ขอสินเชื่อ (กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย) เมื่อกำหนดภาระผ่อนชำระต่อเดือนในเบื้องต้นได้แล้ว จะนำภาระผ่อนต่อเดือนดังกล่าวใช้ในการคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่ออีกครั้ง โดยจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ (รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว)ของผู้ขอสินเชื่อ มาหักภาระหนี้ทั้งหมดของผู้ขอสินเชื่อ (รวมทั้งเงินผ่อนชำระที่คำนวณได้ในเบื้องต้น) ซึ่งจะต้องเพียงพอ (ไม่ติดลบ) จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ในเบื้องต้น

จำนวนปี(ระยะเวลา)ที่ผ่อนชำระ

ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อว่า ถ้าระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อยาวนาน จะมีผลให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนก็จะลดต่ำลง ซึ่งธนาคารจะสรุปปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวงเงินเป็นตารางอย่างง่ายๆ ดังตารางข้างล่าง

วงเงินสินเชื่อ

ค่าผ่อนชำระ

อายุ

ระยะเวลากู้

รายได้สุทธิ

ภาระหนี้

สูงขึ้น

สูงขึ้น

น้อย

มาก

มาก

น้อย

ลดลง

มาก

มาก

น้อย

น้อย

มาก

จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า การกำหนดวงเงินสินเชื่อมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และการประมาณการที่เหมาะสมของผู้ขอสินเชื่อเองว่าตนเองจะสามารถผ่อน ชำระได้เดือนละเท่าไร ซึ่งควรเป็นอัตราผ่อนชำระที่มีการกำหนดส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย และเมื่อท่านมีภาระหนี้ก็ควรจะมีการวางแผนการเงิน ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นเงินก้อนในแต่ละปีไว้ด้วย เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

ระยะเวลากู้

การกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสม

โดยทั่วไปแล้วผู้ขอสินเชื่อจะขอสินเชื่อตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการกำหนดระยะเวลาในการผ่อนชำระ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความเหมาะสมในการขอระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อ จึงขอจำแนกปัจจัยต่างๆ พอสังเขป ดังนี้

วัตถุประสงค์ในการกู้

ปกติแล้วสถาบันการเงินจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อก่อนเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากจะนำมาใช้กำหนดโครงสร้าง หรือประเภทการขอสินเชื่อ เช่น เป็นวงเงินหมุนเวียน, วงเงินระยะสั้น, วงเงินระยะยาว ฯลฯ เช่นถ้าผู้ขอสินเชื่อต้องการวงเงินเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นวงเงินระยะยาว (10-40 ปี) เพื่อให้เงินผ่อนชำระต่องวดต่ำ ไม่เป็นภาระแก่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อมากเกินไป

อายุของผู้ขอสินเชื่อ

สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะพิจารณาระยะเวลาที่ให้สินเชื่อกับผู้ขอสินเชื่อโดยพิจารณาจากอายุ และอาชีพเป็นองค์ประกอบ เช่นถ้าผู้กู้ต้องการวงเงินสินเชื่อ ระยะยาว ธนาคารจะพิจารณาว่าผู้กู้จะทำงานหรือมีรายได้จนอายุประมาณเท่าไร ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 60 – 65 ปี (ตามแต่นโยบายของ สถาบันการเงิน นั้นๆ) แล้วนำมาหักออกจากอายุปัจจุบันของผู้กู้ ก็จะได้ระยะเวลากู้

รายได้ของผู้ขอสินเชื่อ

โดยปกติทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้เกณฑ์พิจารณาระยะเวลาการผ่อนชำระวงเงินสินเชื่อจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ประกอบไปกับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารประกอบที่ผู้ขอสินเชื่อจัดเตรียมให้

ภาระค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ

สถาบันการเงินมักจะคำนวณเงินผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในเบื้องต้น โดยกำหนดให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อไม่ควรเกินร้อยละ 35 ของรายได้ รวมของผู้ขอสินเชื่อ (กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย) เมื่อกำหนดภาระผ่อนชำระต่อเดือนในเบื้องต้นได้แล้ว จะนำภาระผ่อนต่อเดือนดังกล่าวใช้ในการคำนวณ ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่ออีกครั้ง โดยจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ (รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว)ของผู้ขอสินเชื่อ มาหักภาระหนี้ทั้งหมดของผู้ขอสินเชื่อ (รวมทั้งเงินผ่อนชำระที่คำนวณได้ในเบื้องต้น) ซึ่งจะต้องเพียงพอ (ไม่ติดลบ) จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ในเบื้องต้น

จำนวนปี (ระยะเวลา) ที่ผ่อนชำระ

ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อว่า ถ้าระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อยาวนาน จะมีผลให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนก็จะลดต่ำลง ซึ่งได้สรุปปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวงเงินเป็นตารางอย่างง่ายๆ ดังตารางข้างล่าง

ระยะเวลากู้
ค่าผ่อนชำระ
อายุ
วงเงินกู้
รายได้สุทธิ
ภาระหนี้
มาก
น้อย
น้อย
มาก
มาก
น้อย
น้อย
มาก
มาก
น้อย
น้อย
มาก

จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า การกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และอายุของผู้กู้

ควรจะเลือกระยะเวลากู้ยาวๆ หรือสั้นๆ ดี เมื่อต้องการซื้อบ้านเงินผ่อน
ก่อนอื่นต้องพิจารณาจากเงื่อนไขของสถาบันการเงินก่อนว่ากำหนดไว้อย่างไร เช่น

  • สถาบันการเงิน A มีข้อกำหนดว่าสามารถชำระเงินกู้ได้ตามที่ผู้ขอสินเชื่อต้องการ โดยไม่มีค่าปรับ ยกเว้นกรณี Refinance ( กู้บุคคลอื่น มาชำระเงินกู้คืนให้ธนาคาร ) ภายใน 3 ปี ปรับ 3%
  • สถาบันการเงิน B มีข้อกำหนดถ้าชำระก่อน 3 ปี จะมีค่าปรับ 3% และชำระค่างวดได้ไม่เกิน 2 เท่าของค่างวดที่กำหนดไว้ หากชำระเกินจะมีค่าปรับ

บางครั้งสถาบันการเงินหลายแห่ง จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยปีแรกไว้ต่ำๆ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อสนใจว่าดอกเบี้ยถูก แต่ส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดว่า ห้ามชำระเกินกว่าค่างวดที่กำหนดไว้ หรือห้ามชำระเกินกว่ากี่เท่าของค่างวด ดังนั้นผู้ขอสินเชื่อควรจะพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากระยะเวลากู้เป็น องค์ประกอบสำคัญในการกู้ยืมระยะยาว (โดยเฉพาะการกู้ซื้อบ้าน) เงื่อนไขที่ดีที่สุด คือเงื่อนไขแบบ สถาบันการเงิน A เนื่องจากผู้กู้สามารถชำระมากกว่า ค่างวด เท่าใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด ซึ่งถ้าผู้ขอสินเชื่อชำระมากก็จะลดดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารได้มาก โดยเฉพาะผู้ขอสินเชื่อที่ทำงานประจำ เนื่องจากในปัจจุบันถ้าผู้กู้สามารถรับภาระผ่อนชำระได้ในอนาคตเมื่อรายได้สูงขึ้นผู้ขอสินเชื่อก็สามารถชำระเพิ่มขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้ขอสินเชื่อเอง หรือถ้าผู้ขอสินเชื่อมีเงินที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินเข้ามาเป็นเงินก้อนก็สามารถนำมาชำระหนี้ได้ทันที โดยในเบื้องต้นควรขอสินเชื่อให้มี ระยะเวลาสูงสุดไว้ก่อน จะทำให้ค่างวดต่อเดือนที่ต้องชำระต่ำ แต่สามารถชำระมากกว่าค่างวดที่กำหนดไว้ได้เสมอ