สร้างทีมให้ชนะ

สร้างทีมให้ชนะ (The ABC’s of Building a Business Team That Wins)

การสร้างทีมให้ชนะ
คนเราทุกคนเกิดมาบนโลกใบนี้ล้วนสร้างกฎเกณฑ์ แนวทาง และข้อสรุปของตัวเองขึ้นมา ตามประสบการณ์ที่เคยมี และสมมติฐานของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ในความ เป็นจริงแล้วคนเราจะต้องรวมกลุ่มกับคนอื่น ๆ กับองค์กรต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องมีการสร้างกฎแห่งเกียรติยศสำหรับทีมงานโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม ในการกำหนดกฏกติกาของทีมสู่เป้าหมายในการทำงานร่วมกันต่อไป
การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ หลักสำคัญยิ่งคือการมีกฎ กติกาของกลุ่มหรือเรียก อีกอย่างว่า “กฎแห่งเกียรติยศ” ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของทีม อันจะก่อให้เกิดความสำเร็จแก่ทีมเป็นเสมือนกับหลักระยะทางของวัฒนธรรมองค์กร สำหรับแต่ละองค์กรที่จะมี เพราะว่ากฎนี้จะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงแนวคิด อุดมคติ และหลักการขององค์กรนั้นออกมา
การทำงานเป็นทีมนั้น สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ให้ความสำคัญกับ ภารกิจขององค์กรเป็นอันดับแรกสุด และการมีสมาชิกที่ดีอยู่ในทีม ซึ่งคุณสมบัติของสมาชิกที่พึงมีได้แก่
1. การมีพลังในการทำงาน
2. ความต้องการชัยชนะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3. พร้อมที่จะให้ผู้อื่นเป็นผู้ชนะ
4. เป็นคนรับผิดชอบ ไม่กล่าวโทษ ไม่หาข้ออ้าง
5. พร้อมที่จะทำตามกฏ
6. มีความสมารถหรือคุณสมบัติพิเศษ
หากเราต้องการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนในทีมจะต้องสามารถสื่อสารและสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์นั้นมีองค์ประกอบสำคัญ ต่าง ๆ ดังนี้
1. ทุก ๆ คนในทีมจะต้องสนใจภารกิจของทีมอย่างแท้จริง และต้องใส่ใจกับความเป็นอยู่ของสมาชิกคนอื่น ๆ ในทีม
2. แสดงความสนใจในทีมและผู้ร่วมทีมอย่างจริงจังในการสื่อสารทุกครั้ง
3. ในการสื่อสารกันในทีมนั้น ต้องสรุปให้สั้น ชัดเจนและเข้าประเด็น
4. ตรวจสอบการสื่อสารทุกครั้งด้วยการทวนย้ำหรือการทวนสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างกฏ
1. หาช่องเวลาปกติเพื่อกำหนดกฎ
2. แยกประเด็นที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ที่รบกวนประสิทธิภาพการทำงานของทีม เรื่องนี้เป็นพื้นฐานของการสร้างกฎ และทำเช่นเดียวกับพฤติกรรมที่สนับสนุน ประสิทธิภาพการทำงานของทีม
3. หากเรามีทีมอยู่แล้ว ให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม
4. พูดคุยปรึกษาถึงกรณีต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่ส่งเสริมการผลิตหรือไม่ส่งเสริมการผลิตและทุกคนรู้สึกถึงเรื่องนั้นอย่างไร
5. จากการพูดคุยกันนั้นเขียนกฎต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนพฤติกรรมและประสิทธิภาพที่ดีที่สุดนั้น
6. ต้องแน่ใจว่ากฎมีความเฉพาะเจาะจงและสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อใดคลุมเครือและไม่ใช่แค่ประโยคบอกเล่าทั่ว ๆ ไป
7. อย่าพยายามกำหนดข้อห้ามเกี่ยวกับอารมณ์
8. กฎควรมีความท้าทายและทำให้ทุกคนต้องพัฒนา
9. อย่าสร้างกฎมากเกินไป พยายามให้น้อยกว่า 10 ข้อ
10. เมื่อมีคนทำผิดกฎต้องมีบทลงโทษ
หากเมื่อสมาชิกคนใดทำผิดกฎของทีม สิ่งที่เขาต้องเผชิญคือการถูกเรียกตรวจสอบ เรื่องนี้เป็นเหมือนดาบสองคม ความกลัวที่ทำให้การ “เรียกตรวจสอบ” ทำงานได้ผล เป็นความกลัวกับที่เราไม่กล้าเรียกตรวจสอบ คือกำลังใจของทีมอาจจะประสบปัญหาหลังจากที่ได้สร้างกฎขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ยากที่สุดคือการเรียกตรวจสอบ “ตัวกฎเองนั้นมักไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหา แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายคือการเรียกตรวจสอบการฝ่าฝืนกฎเสียเนิ่น ๆ และสม่ำเสมอ” เหตุผลที่ทำให้การเรียกตรวจสอบมีความสำคัญมีมากมาย ข้อแรก การเรียกตรวจสอบจะกำจัดพฤติกรรมในทางลบที่จะทำให้ประสิทธิภาพของทีมลดลง และสร้างลักษณะนิสัย ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิ โดยสร้างแนวคิดที่พร้อมจะทำในสิ่งที่ได้ตกลงกันไว้ และจะกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทีมเอาไว้ด้วยกัน

แนวทางและเทคนิคในการเรียกตรวจสอบ

1. เลือกเวลาและกาลเทศะที่เหมาะสมสำหรับการเรียกตรวจสอบ แต่อย่ารอนานเกินไป
2. แสดงการรับรู้ความรู้สึกองก่อน และบอกให้อีกฝ่ายได้รู้
3. ขออนุญาตจากฝ่ายนั้นก่อนที่จะเรียกตรวจสอบ
4. แก้ไขที่พฤติกรรม ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล ให้กฎทำหน้าที่ของตำรวจ
5. ระบุสิ่งที่ผิดพลาดให้ชัดเจน และเสนอความช่วยเหลือ
6. บอกประโยชน์ที่จะได้จากการแก้ไขให้ชัดเจน ทั้งสำหรับทีมและสำหรับคนที่เกี่ยวข้อง
7. ขอบคุณที่เขายอมรับฟัง และรับฟังคำตอบของเขาโดยไม่ขัดจังหวะ
8. แสดงการรับรู้พฤติกรรมที่ถูกต้องในภายหลัง เมื่อเห็นได้ว่าเขาทำการแก้ไขปรับปรุงแล้ว
การพัฒนาความสามารถของสมาชิกในทีม
1. ค้นหาจุดแข็งในตัวผู้อื่น และพัฒนามันให้เกิดประโยชน์
2. สอนผู้อื่นให้รู้จักวิธีการสู่ความสำเร็จ
3. ใช้ความผิดพลาดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมและทำให้ทีมเติบโต
4. สร้างปฏิสัมพันธ์ทำให้สม่ำเสมอ และสร้างความเชื่อถือกันได้
5. สร้างอนาคตที่สดใสเป็นไปได้ให้กับทีม
การฝึกซ้อมความเป็นผู้นำของทีม
1. ฟังการปราศรัยของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ฟังคำที่เขาใช้ กลยุทธ์ และการกระตุ้นค้นหารูปแบบรูปแบบที่คุณจะใช้ได้ผล
2. ฝึกการ “สรุปเหตุการณ์” ในทุกโอกาสที่เป็นไปได้ สอนให้คนอื่นทำ ตรวจสอบระดับความรับผิดชอบที่เปลี่ยนแปลง
3. หาวิธีการรับรู้ชัยชนะอย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีอะไรหรูหรา แต่สามารถสร้างพลังได้ดี อาจจะใช้การตบมือ จับมือ หรือแบบอื่น ๆ ฝึกทำเช่นนั้นอย่างจริงใจ
4. ขอเวลานอกอย่างน้อย 2 ครั้งในสัปดาห์หน้า และตรวจสอบความเป็นไปของทีม
………………………………………………………

อ้างอิง
สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
ชื่อหนังสือ : สร้างทีมให้ชนะ (The ABC’s of Building a Business Team That Wins)
โดย BLAIR SINGER ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารองค์กรและการขาย
เรียบเรียง : โดย อนุพงศ์ ธรณินทร์


สรุปเนื้อหา โดย นายปรีชา พรหมบุตร หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา กรมการพัฒนาชุมชนน