จินตภาพ (Image)

ความหมายของจินตภาพ

จินตภาพ (Image) มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า ภาพที่เกิดจากจินตนาการของเราเอง โดยเราคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (ฉบับ พ.ศ.2525 พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2539 หน้า 620) เช่น จินตภาพเรื่องผีของคนก็แล้วแต่คนคนนั้นจะนึกภาพผีในความคิดของตน ว่ามีลักษณะอย่างไร หรือภาพจักรวาลในความคิดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน

คำว่า “จินตภาพ” ในภาษาอังกฤษ มีการใช้คำหลายคำในความหมายเดียวกัน เช่น Imaging, Imagery, และ Visualization เป็นต้น ในภาษาไทยมีคำที่คล้ายคลึงกัน 2 คำ คือ จินตภาพ กับ จินตนาการ

ความหมายของจินตภาพจึงมีแตกต่างหลากหลาย ผมขอยกตัวอย่าง 3 ประการหลักๆ ดังนี้

ความหมายของจินตภาพที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค

สตีเฟ่น (Stephen, 1993 : 170) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพ หมายถึง วิธีการที่ใช้ติดต่อ สื่อสารระหว่างการรับรู้อารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างความคิด อารมณ์ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยการสร้างจินตภาพจะใช้ประสบการณ์เกี่ยวกับความจำ ความฝัน การสร้างมโนภาพ และการมองเห็น

ไทร์แนน (Tiernan, 1994 : 47) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพ คือ การมองเห็นภาพในการคิด เห็นจากการรับรู้ จากการสัมผัสทั้งห้าในกระบวนการสร้างจินตภาพ ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส โดยขณะที่สร้างจินตภาพนั้น บุคคลจะมีการตอบ สนองทางด้านสรีรวิทยา โดยไม่รู้สึกตัว ทำให้ผ่อนคลาย และหากสร้างจินตภาพเป็นเวลานานพอ ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่จะสังเกตได้

ดอสเสย์ (Dossey, 1997 : 188) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพ หมายถึง การใช้ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับความจำ ความฝัน การสร้างมโนภาพ และการมองเห็น ร่วมกับการใช้สัมผัสอย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกัน เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

ละเอียด ชูประยูร (2538 : 37) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพเป็นการสร้างภาพในจินตนาการ อาจเป็นภาพสถานที่หรือเหตุการณ์ใดก็ได้ ที่บุคคลนั้นคิดขึ้นมาแล้วมีความสุข มีความสบายใจ เช่น ภาพชายหาด ป่าเขาลำเนาไพร ธารน้ำตก สวนดอกไม้ ทุ่งนาเขียวขจี หรือภาพเหตุการณ์ในอดีตที่น่าประทับใจ

ความหมายของจินตภาพที่ใช้ในการฝึกกีฬา

คอกซ์ (Cox, 1985 : 186) กล่าวว่า จินตภาพ คือ การนึกสร้างภาพเคลื่อนไหวในใจ ที่ทำให้มองเห็น และเกิดจากข่าวสารที่เก็บไว้ในความจำ จินตภาพจะปรากฏในรูปแบบของภาพ และเสียง รวมไปถึงความรู้สึกในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออีกด้วย

สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย (2545 : 237238) กล่าวว่า จินตภาพเป็นการสร้างภาพการเคลื่อนไหวในใจก่อนการแสดงทักษะจริง ถ้าภาพในใจที่สร้างขึ้นชัดเจน และมีชีวิตชีวามาก ก็จะช่วยให้การแสดงทักษะจริงได้ผลดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ การสร้างจินตภาพยังช่วยในการควบคุมความวิตกกังวล ความโกรธ หรือความเจ็บปวด

ธวัชชัย มีศรี (2542 : 3) กล่าวว่า จินตภาพ คือ ความสามารถในการสร้างประสบการณ์การรับรู้ในใจที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และความรู้สึกต่างๆ โดยปราศจากสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก

ชูศักดิ์ พัฒนามนตรี (2546 : 15) กล่าวว่า จินตภาพเป็นการสร้างภาพ หรือย้อนภาพเพื่อสร้างประสบการณ์ให้เกิดขึ้นในใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีการพัฒนาความสามารถทางการกีฬาได้ดียิ่งขึ้น สามารถสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการควบคุมอารมณ์ ลดความวิตกกังวล ความโกรธ หรือความเจ็บปวด ช่วยในการรวบรวมสมาธิ สร้างความมั่นใจในตนเอง และช่วยในการวิเคราะห์ทบทวนทักษะกีฬาต่างๆ

สุพิตร สมาหิโต (2546 : 16) กล่าวว่า จินตภาพเป็นประสบการณ์ด้านความรู้สึกนึกคิด เช่น การได้เห็น การได้ยิน การได้ฟังความ ซึ่งได้จากประสบการณ์ในการนึกคิด โดยอาศัยความจำ การเห็นภาพจากภายในโดยการระลึกถึง หากเป็นภาพที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก ก็จะเป็นประสบการณ์ที่ได้รับมาก่อน การสร้างจินตภาพจะเป็นสภาวะความรู้สึกต่างๆ ทางด้านร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะ การจัดลักษณะท่าทาง และแม้กระทั่งความรู้สึกด้านจิตใจ เช่น การดีใจเมื่อได้รับชัยชนะ หรือเมื่อเล่นได้ดี เป็นต้น

ความหมายของจินตภาพที่ใช้ในการพัฒนาเรียนรู้

ริชาร์ดสัน (Richardson, 1969 : 271-275) กล่าวว่า การใช้ภาพจินตนาการ (Visual Imagery) เป็นสื่อแสดงถึงความคิดที่เป็นระบบ เป็นการช่วยถ่ายโอนความรู้จากสิ่งที่คุ้นเคยไปสู่สิ่งที่แปลกใหม่ ซึ่งเกิดจากการตีความข้อมูลของแต่ละบุคคล นักเรียนสร้างภาพจินตนาการเพื่อช่วยในการจำเนื้อหาหรือสิ่งต่างๆ และสามารถสะท้อนความเข้าใจออกมาเป็นภาพได้ เพื่อสื่อความเข้าใจและทำให้เกิดการระลึก

แมทลิน (Matlin, 1983 : 96) กล่าวว่า จินตภาพ หมายถึง ภาพแทนในใจของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง จินตภาพสามารถที่จะแทนเหตุการณ์ หรือวัตถุที่เราเคยมีประสบการณ์มาก่อน และสามารถที่จะแทนเหตุการณ์ หรือสิ่งของต่างๆ จากการที่เราสร้างภาพขึ้นมาเองได้

รัสเซล (Russell, 1985 : 64 cited in Rusevic, 1996) กล่าวว่า การใช้จินตภาพ (Visual Literacy) หมายถึง ความสามารถในการตีความ หรือแปลความรูปภาพที่ใช้สื่อความหมายให้เป็นภาษาอย่างถูกต้อง และความสามารถในการใช้จินตภาพเพื่อสื่อความหมายแทนภาษา โดยมีการจินตนาการเป็นทักษะที่สำคัญ

ฮับบาร์ดและเอินร์ส (Hubbard and Ernst, 1996 : 129) กล่าวว่า จินตภาพหรือการจินตนาการเป็นวิธีทางธรรมชาติสำหรับมนุษย์เหมือนกับการพูด ภาพเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร การคิด การแสดงออก ตลอดจนการค้นพบ เหมือนกับภาษาถ้อยคำ ในทันทีที่มนุษย์รู้จักการใช้ภาษา มนุษย์ก็เริ่มรู้จักการใช้ภาพ (Images) ที่อยู่รอบตัวไปสู่การสื่อสารโดยใช้จินตภาพและการคิด

จินตภาพ คือ การสร้างภาพในสมอง หรือนึกคิดเป็นภาพ เกิดจากการกระตุ้นความคิด จินตนาการ โดยไม่มีเหตุการณ์หรือสิ่งของใดให้เห็นในขณะนั้น อาจจะเกิดจากประสบการณ์เดิม ความเคยชิน และความคิดสร้างสรรค์ด้วย

We use imagery for awide variety of Cognitive activity,

such as in our daily lives.

การใช้จินตภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การพยายามจำที่จอดรถของเรา ในลานจอดรถห้างสรรพสินค้า การนึกภาพสิ่งของที่เราจัดวางไว้ในบ้าน การนึกภาพล่วงหน้าขณะเล่นหมากรุก หรือขณะตีลูกเล่นเทนนิสการนึกถึงภาพทะเล สายลม เสียงคลื่น ล้วนเป็นจินตภาพทั้งสิ้น

คนเราทุกคนมีจินตภาพ ความคิดจินตนาการสร้างสรรค์มากน้อยแตกต่างกันไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล การฝึกคิดจินตนาการในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ สำหรับ ชีวิตคนเรา นำความเจริญก้าวหน้าทั้งวิทยาการและวัตถุอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มาสู่โลกปัจจุบัน จินตภาพอันเกิดจากจินตนาการของคนเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

จินตภาพเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของแต่ละคนจึงเป็นเรื่องยากจะพิสูจน์ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะยังไม่มีเครื่องตรวจจับภาพในสมองของคนเรา และยังมีประเด็นถกเถียงที่น่าสนใจหลายประการ คือ

จินตภาพที่คนเรานึกนั้น มีลักษณะเป็นภาพหรือเป็นคำอธิบายรายละเอียด ?

I don't know where you are, but I am here,
Touched by the poetry we used to exchange:
"Oh, horizon, thou art so vast...so immense!"
I have never made it there where you are...
Not even halfway.

จินตภาพมีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ในจินตนาการสามารถหมุนภาพที่นึกได้

ได้มีการทดลองวิจัยโดย Shepvard and Metzler( 1968 ) ให้กลุ่มตัวอย่างดูภาพและนึก ถึงภาพการหมุนว่าภาพต่อไปจะเป็นอย่างไร จำนวนถึง 1,600 คู่ สังเกตพบว่า จำนวนเวลาของการตอบคำถามขึ้นอยู่กับลักษณะของการหมุน เช่น องศาของการหมุน และความซับซ้อนของภาพด้วย และยังพบว่า ประสบการณ์ของคนที่ตอบก็มีส่วนด้วย คนที่มีประสบการณ์มาก่อนก็จะทายได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่า อายุ (วุฒิภาวะ) ก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจได้รวดเร็วหรือช้าแตกต่างกัน

ในการทดลองอีกหลายครั้งที่เกี่ยวกับการจินตภาพ โดยมีโจทย์กำหนดให้นึกถึงภาพของสัตว์ขนาดใหญ่ คู่กับสัตว์เล็ก ปรากฏว่า จินตภาพของคนเราจะเห็น รายละเอียดของสิ่งที่ใหญ่กว่าชัดเจนมากกว่าสิ่งเล็ก ๆ

รูปร่างของสิ่งของก็เช่นกัน เมื่อให้ทดลองนึกภาพดูแล้วปรากฏว่า สิ่งที่แตกต่างกันมากจะนึกเห็นภาพรายละเอียดชัดเจนกว่าภาพที่ใกล้เคียงกันมาก ๆ

ได้มีการศึกษาเพื่อวัดปฏิกิริยาการตอบสนองของคนเปรียบเทียบกับจินตภาพต่อสิ่งเร้าภายนอกว่า จะเหมือนกันหรือไม่อย่างไร ผลสรุปคือ คนเรามีจินตภาพและปฏิกิริยาการตอบสนองไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์การใช้จินตภาพ และประสบการณ์ของการตอบสนองแตกต่างไป ตามประสบการณ์และสภาพแวดล้อมหลายอย่าง คนบางคนมีจินตภาพกว้างไกลแต่มีการปฏิบัติงานที่เป็นเรื่องจริงจังได้น้อย เช่น จิตรกร กวี นักออกแบบ แต่คนที่ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ขยันขันแข็ง มักจะไม่ค่อยชอบนั่งนึกฝันหรือมีอารมณ์ศิลปิน เช่น ช่างก่อสร้าง เกษตรกร แต่ถ้าคนไหนสามารถปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ให้เป็นคนที่มีจินตภาพและมีการยอมรับสภาพความจริงคือ การเปลี่ยนแปลงของโลกได้ก็จะเกิดสติมีความพอดีหรือสมดุลเกิดขึ้นก็จะมีมาตรฐานในการดำรงชีวิตที่ดีได้

อย่างไรก็ตามจากการทดลองคนเราจะลงมือทำงานไปพร้อม ๆ คิดจินตนาการไปเรื่อยเปื่อยนั้นคงไม่ได้ นอกจากคนที่มีความสามารถพิเศษจริง หรือได้รับการฝึกสมาธิมาแล้วอย่างดี เช่น คนที่สามารถสะกดจิตตนเอง หรือผู้อื่นได้ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตามยากที่สมองคนเราจะทำงานหรือนึกคิดหลายสิ่งภายในเวลาเดียวกันได้ก็เปรียบเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องยนต์ที่ทำงานเกินกำลัง ก็จะทำงานไม่ได้เช่นเดียวกัน

ข้อสรุปคือ คนเราใช้จินตภาพทั้งในส่วนที่เป็นรูปภาพและข้อความไปด้วยและเรียบเรียงเป็นระบบก่อนหลังอย่างดีไม่สับสน

จินตภาพเกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตทุกคนด้วย จะเป็นการช่วยส่งเสริมประสบการณ์ที่คุ้มค่าสั่งสมความรู้สึก และความทรงจำที่ดีและช่วย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นหรือกับธรรมชาติรอบตัวแม้ว่า เทคนิควิธีการออกแบบในแง่ความทรงจำจะสามารถผลิตได้อย่างมี

ประสิทธผลด้วยวิทยาการทางคอมพิวเตอร์แต่การออกแบบด้วยความนึกคิดที่ดีงามและให้เกิดความเพิ่มพูนยิ่งขึ้นนั้นต้องอาศัยความสามารถของมนุษย์เท่านั้น ข้อสันนิษฐานในการนึกคิดโดยอาศัยจินตภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

บางครั้งเราก็แยกไม่ออกระหว่างความฝันกับจินตนาการ

อันที่จริงแล้วโลกแห่งความจริงก็สามารถใช้จินตนาการได้

คนที่ขาดจินตนาการ มักจะอยู่อย่างไร้ความฝัน

เพราะข้อดีอีกหลายอย่างที่ทำให้เราตัดสินใจเลือกที่จะอยู่กับมันก็คือ“แรงบันดาลใจ”

มีหลายคนบอกว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
แต่ก็มีคนตายมานักต่อนักจากการรู้ความจริง

เราควรอยู่กับความจริงและจงดำเนินชีวิตต่อไปด้วยสติ

 

ทฤษฎีของจินตภาพ

การที่จินตภาพได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงมีทฤษฎีเกี่ยวกับจินตภาพเป็นจำนวนมากตามไปด้วย แต่เท่าที่นิยมศึกษากันในประเทศไทยมี 5 ทฤษฎี ดังนี้

1) ทฤษฎีการตอบสนอง (Response Theory) ของลาซารัส (Lazarus) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกับสร้างจินตภาพต่อสิ่งเร้านั้นๆ ทฤษฎีนี้จะอธิบายความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียว เช่น ภาวะของโรค การรักษาของแพทย์ การนอนอยู่ในตึกผู้ป่วยหนัก เป็นต้น

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในอดีตที่จะเป็นตัวเสริม หรือกำหนดให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในปัจจุบันว่าควรเป็นเช่นไร

2) ทฤษฎีการสร้างจินตภาพ (Imagery Theory) ของดอสเสย์ (Dossey) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การสร้างจินตภาพมีพื้นฐานมาจาก การเชื่อมต่อของช่องว่างระหว่างมิติของเวลา การสร้างจินตภาพเกิดขึ้นเพราะมีการทะลุเข้าไปในช่องว่างระหว่างมิติของเวลา ทำให้ ณ จุดนั้น ไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขณะเกิดการสร้างจินตภาพเวลาจะคงอยู่อย่างนั้น ดังนั้น ทฤษฎีนี้ จึงเป็นการนำภาพในอดีตของตนเองที่เคยประสบมา แล้วสร้างจินตภาพใหม่เพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น

3) ทฤษฎีจิตสังเคราะห์ (Phycho Synthesis) ของอาซาจิโอรี่ (Ar Sae jo o li) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รูปแบบประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ระดับต่ำสุดของจิตใต้สำนึก เป็นความจำที่ลืม ส่วนที่สองคือ ระดับกลางหรือระดับที่ไม่รู้สึกตัว เป็นเหตุการณ์วันต่อวันในการติดต่อเกิดความมีเหตุผล ส่วนที่สามคือ ระดับสูง เป็นส่วนของปัญญา ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล การฝึกวิธีนี้จะใช้ในการบำบัดอาการต่างๆ เช่น ลดความวิตกกังวล เป็นต้น

4) ทฤษฎีการบำบัดรักษาทางจิตด้วยความเป็นจริง (Eidetic Psychotherapy) ของเอสซิน (Assin) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนที่เป็นสิ่งเดียวกัน เกิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันในภาวะที่ไม่รู้สึก ประกอบด้วยภาพในใจ การตอบสนองทางร่างกาย และความหมาย ภาพในใจกระตุ้นความรู้สึก เกิดการตอบสนองความจริงภายนอก และรอบๆ บุคคล เป็นต้น

5) ทฤษฎีการสร้างจินตภาพของฮอโรวิส (Horowitz) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างจินตภาพและรูปแบบของความคิดมี 3 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่หนึ่ง
ความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกาย (enactive thought) ความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายจะเป็นความคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การคิดถึงการยกของหนักจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ไหล่และแขน การคิดถึงภาพการกัดผลมะนาวสีเหลืองที่สุกฉ่ำแล้ว ชิมรสเปรี้ยวของมะนาว กล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าของหูจะเกร็ง และมีน้ำลายไหลออกมาจากปาก เป็นต้น

ความคิดที่ที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายดังกล่าว จะถูกควบคุมโดยสมองส่วนลิมบิค สมองส่วนนี้จะควบคุมภาวะอารมณ์ให้มีการตอบสนองทางร่างกาย การสร้างจินตภาพสามารถนำมาใช้ควบคุมความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายได้ เพราะ การสร้างจินตภาพจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อของภาวะอารมณ์ กระตุ้นความคิดที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของร่างกาย และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่สามารถสังเกตได้

ลักษณะที่สอง
ความคิดในเชิงเปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์ (lexical thought) ความคิดในเชิงเปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์เป็นความคิดในการสื่อสารให้มีความกระจ่างชัด ความคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดนามธรรม การคำนวณ การจดจำเวลา การวิเคราะห์วิจารณ์ให้มีความชัดเจน โดยความคิดนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งจะเกิดจากการเรียนรู้ในวัยเด็ก เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ และเก็บไว้ในความทรงจำ เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารเข้ามาใหม่ บุคคลนั้นก็จะนำไปพิจารณาเปรียบเทียบความเป็นเหตุและผลตามความเป็นจริง และประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคลที่เกิดในขณะนั้น เกิดเป็นพฤติกรรมและอารมณ์ที่แสดงออก

ลักษณะที่สาม
ความคิดให้เห็นภาพ (imaged thought) ความคิดให้เห็นภาพเป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับความฝัน การสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา โดยส่วนมากจะติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ความคิดให้เห็นเป็นภาพจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนที่เด็กจะเริ่มหัดพูด

เมื่อเด็กเริ่มหัดพูด และบอกความรู้สึกหรือความคิดออกมาเป็นคำพูด ทำให้การพัฒนาความคิดให้เห็นเป็นภาพลดน้อยลง การเรียนในโรงเรียนจะทำให้สมองซีกซ้ายมีการพัฒนามากในเรื่องความคิดเป็นเหตุเป็นผล และความคิดตรรกะวิทยา ขณะที่สมองซีกขวาจะพัฒนาช้าลง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ความคิดเชิงเหตุเชิงผล เปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์จะเด่นกว่าความคิดให้เห็นเป็นภาพ

บุคคลแต่ละคนมีความสามารถในการสร้างจินตภาพไม่เท่ากัน บุคคลที่สมองซีกขวาเด่น จะสร้างจินตภาพได้ง่าย ขณะที่บุคคลสมองซีกซ้ายเด่น มักเกิดความขัดแย้งต่อการสร้างจินตภาพ เนื่องจากความคิดมักจะขึ้นอยู่กับความเป็นจริง ความเป็นเหตุเป็นผล แต่ก็สามารถสร้างจินตภาพได้ ถ้าทราบเหตุผลของการสร้างจินตภาพ และการฝึกจะต้องเริ่มจากการฝึกในระดับง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะต้องทำหลายๆ ครั้ง หรือใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างจินตภาพ

ความคิดทั้งสร้างลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะทำงานสัมพันธ์กันในขณะที่มีการสร้างจินตภาพ โดยการสร้างจินตภาพจะกระตุ้นสมองซีกขวาให้เกิดความคิดให้เห็นภาพ ซึ่งจะเป็นภาพสถานที่ที่พึงพอใจ สถานที่ที่รื่นรมย์ และขณะที่ใช้ความคิดเห็นภาพสถานที่ที่พึงพอใจนั้น จะเกิดการกระตุ้นสมองส่วนลิมบิค ซึ่งจะเป็นส่วนที่ควบคุมภาวะอารมณ์ ก่อให้เกิดอารมณ์ด้านบวก เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย เพลินเพลิน ขณะเดียวกันสมองซีกซ้ายจะได้รับข้อมูลตามเนื้อหาการสร้างจินตภาพ ก่อให้เกิดการใช้ความคิดเชิงเหตุเชิงผล ความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ และเนื้อหาความคิดไปในทางที่ถูกต้อง อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

ประโยชน์ของจินตภาพ

ประโยชน์ของจินตภาพมีหลากหลายมาก สามารถกล่าวได้ว่า เป็น “แก้วสารพัดนึก” ประเภทหนึ่ง จะเห็นได้ว่า จินตภาพใช้ในการบำบัดโรคได้ จินตภาพใช้ในการพัฒนาทักษะทางกีฬาได้ จินตภาพใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้ ฯลฯ

เพื่อให้เห็นประโยชน์ของจินตภาพในรูปแบบของงานวิชาการ ผมขอยกตัวอย่างประโยชน์ของจินตภาพ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงไว้ดังนี้

ไวน์เบิร์กและกูล (Weinberg and Gould, 1999 : 266-273) อธิบายว่า จินตภาพเป็นการเกี่ยวโยงไปถึงจินตนาการ/ภาพภายในจิตใจ การเคลื่อนไหว การทรงตัว การได้ยิน ระบบ สัมผัส และการรับรู้เรื่องกลิ่น ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 4 ประการ ดังนี้

1) เพื่อเป็นการปรับปรุงสมาธิหรือช่วยให้มีสมาธิที่ดี (Improve concentration)
2) เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น (Build confidence)
3) เพื่อเป็นการควบคุมการตอบสนองของอารมณ์ (Control emotional responses)
4) เพื่อเป็นการเรียนรู้และการฝึกทักษะกีฬา (Acquire and practice skills)

ชิมอนตัน (Simonton, 1980 อ้างถึงใน ฉัตรแก้ว สุทธิพิทักษ์, 2535 : 48-49) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการฝึกการจินตนาการภาพ และการฝึกผ่อนคลายไว้ว่า

1) เป็นเครื่องมือในการลดความตึงเครียด และความวิตกกังวลต่างๆ
2) ช่วยในการลดความหวาดกลัว ความหวาดกลัวส่วนมากจะเกิดขึ้นมาจากความรู้สึกที่อยู่ภายนอกอำนาจการควบคุมของจิตใจ การฝึกจินตนาการภาพและการฝึกผ่อนคลายจะช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมตนเองได้
3) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติและเป็นพลังในการที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
4) สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในร่างกาย คือ ร่างกายจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคและช่วยในการป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากขบวนการทางจิตมีอิทธิพลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันและการรักษาระดับฮอร์โมนของร่างกาย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย จึงมีผลโดยตรงต่อระบบความคิดด้วยเช่นกัน
5) สามารถที่จะใช้เป็นวิธีการในการประเมินความเชื่อในขณะปัจจุบันและแก้ไขความเชื่อเหล่านั้นได้ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสัญลักษณ์และภาพพจน์ต่างๆ นี้สามารถจะใช้เป็นกลไกในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพได้
6) เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับระดับจิตไร้สำนึกของมนุษย์ ซึ่งเป็นระดับที่ความเชื่อต่างๆ ได้ถูกเก็บไว้
7) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกผิดหวัง และความรู้สึกสิ้นหวังให้กลับมีความรู้สึกมั่นคง และมองโลกในแง่ดี

นอกจากประโยชน์ของจินตภาพที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า มีงานวิจัยในประเทศที่ศึกษาเพื่อนำประโยชน์ของจินตภาพไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ในด้านการรักษาพยาบาล พรทิพย์ จุลเหลา (2548) พบว่า จินตภาพลดความเครียดของผู้ป่วยโรควิตกกังวลได้ ปริญญา สนิกะวาที (2542) พบว่า จินตภาพสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดได้ ในการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดของนักเรียนของ สุกัญญา ไชยคุณ (2543) พบว่า การฝึกจินตภาพลดความเครียดของนักเรียนได้

เกี่ยวกับการเรียนโดยตรง ทวีพร สุขแสง (2545) พบว่า จินตภาพส่งเสริมความสามารถในการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ และเจตคติของนักเรียนได้

ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจินตภาพก็สามารถพัฒนาได้เช่นกัน จากงานวิจัยของ ยอดกัลยาณี ลับแล (2546) พบว่า จินตภาพสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะยิมนาสติกได้ และมนต์ชัย สิทธิจันทร์ (2547) ก็ยังพบว่า จินตภาพสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการจินตนาการเกี่ยวกับความรู้ฟิสิกส์ได้ นอกจากนั้นแล้ว วรรณภา พงษ์ดี (2545) พบว่า จินตภาพสามารถพัฒนาการส่งการบ้านของนักเรียนได้

การฝึกจินตภาพกับการกีฬามีการศึกษากันมากเช่นเดียวกัน เช่น สุกัญญา ลิ้มสุนันท์ (2543) พบว่า จินตภาพพัฒนาความสามารถในการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกยาวในกีฬาแบดมินตันได้ อวยพร คล่องณรงค์ (2547) พบว่า การฝึกจินตภาพพัฒนาความแม่นยำในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล ได้ ในการศึกษาล่าสุด เกรียงไกร นาคเทวัญ (2550); ณฐพล มาฬมงคล (2550) พบว่า การฝึกจินตภาพพัฒนาความสามารถในการยิงประตูฟุตบอลได้

จินตภาพบำบัดคืออะไร

จินตภาพบำบัด คือ การนึกภาพลักษณ์หรือสัญลักษณ์ ที่ไม่มีอยู่จริงจินตนาการมามองอยู่ในใจ และแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย โดยการส่งข้อมูล ไปยังจิตใต้สำนึก เนื่องจากข้อมูลที่เราต้องการให้เกิดขึ้นถ้าทำในระดับจิตสำนึกแล้วจะไม่ได้ผลนัก เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ จิตใต้สำนึกก็จะยอมรับข้อมูล หรือภาพลักษณ์นั้นแจ่มชัดขึ้น มั่นคงขึ้น ส่งผลต่อการทำงานต่อสมอง ฮอร์โมน และแก้ไขอาการหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การทำจินตภาพบำบัดด้วยตนเองทำได้ง่ายแต่ให้ผลช้า ทำให้หลายคนเลิกล้มวิธีการนี้ไป แต่หากทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนย่อมเกิดผลดีมากกว่า ตัวอย่างอาการที่ใช้จินตภาพบำบัดเช่น เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน กินจุ ติดสุรา ติดบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้จินตภาพบำบัดในการร่วมรักษาโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประสิทธิภาพ และยังมีประโยชน์ในการเล่นกีฬา ช่วยให้พัฒนาฝีมือ และบรรลุเป้าหมายในการแข่งขัน ซึ่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะซักประวัติและค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ทำจินตภาพบำบัดต้องการแก้ไข และต้องได้รับความร่วมมือและความสม่ำเสมอในการบำบัดด้วย

การสร้างจินตภาพ

การสร้างจินตภาพเป็นเทคนิคที่ใช้ในการบำบัดที่มีมานาน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในประเทศไทยการสร้างจินตภาพได้รับความสนใจมากขึ้น การสร้างจินตภาพเป็นเครื่องมือทางความคิดที่กระตุ้นระบบรับรู้หลากหลาย เช่น การมองเห็น การฟัง การได้กลิ่นรส และการเคลื่อนไหว ความคิดทางบวกและการสัมผัสแม้ว่า แนวคิดนี้จะทำให้เกิดสุขภาพที่ดี แต่ประชาชนต้องตระหนักถึงผลในแง่ลบด้วย โดยก่อนที่จะใช้ต้องมีความเข้าใจ และความรู้เป็นอย่างดี บทความนี้กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับการสร้างจินตภาพ เช่น ความหมาย ทฤษฎีการสร้างจินตภาพปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างที่ดี และการปฏิบัติ

ขั้นตอนในการปฏิบัติการสร้างจินตภาพ

1. เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติสวมเสื้อผ้าที่หลวมรับประทานอาหารให้พอดี ไม่หิวหรืออิ่มเกินไป
2. เลือกสถานที่ที่ปฏิบัติในสถานที่เงียบสงบบรรยากาศไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบความหมายและประโยชน์ของการสร้างจินตภาพและเปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติซักถาม ให้ความมั่นใจและแจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าการสร้างจินตภาพทุกครั้งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกปฏิบัติตลอดเวลาเพราะผู้ฝึกปฏิบัติ มักคิดว่าการสร้างจินตภาพทำให้ตนถูกควบคุมหรือเสียการควบคุมก่อให้เกิดความวิตกกังวล การสร้างจินตภาพอาจไม่ประสบความสำเร็จ
3. แจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าเขาสามารถหยุดการสร้างจินตภาพได้ตลอดเวลา เมื่อต้องการจะสิ้นสุด การทำให้ผู้ฝึกปฏิบัตินับเลขในใจช้าๆ จากเลขหนึ่งถึงเลขห้าแล้วค่อยๆ ลืมตาผู้ฝึกปฏิบัติก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
4. เริ่มต้นปฏิบัติด้วยการผ่อนคลาย
5. ตามด้วยการสร้างจินตภาพน้ำเสียงตลอดการปฏิบัติที่ใช้ต้องช้าเรียบ สงบ เยือกเย็น ให้ความเชื่อมั่นในการนำการสร้างจินตภาพ ไม่เร่งรีบ
6. ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติให้นับเลข 1-5 และให้ผู้ฝึกปฏิบัติเปิดตา เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติได้อยู่อย่างสงบและคิดถึงสิ่งที่ได้ปฏิบัติมา นานเท่าที่ผู้ฝึกปฏิบัติต้องการ

ที่มา ;
www.balavi.com/content_th/exercise/exercise19.asp - 16k -
http://www.medihealing.com/my_pictures/56723_imagesCAPHXU45.jpg
http://www.iqeqdekthai.com/know/learn/learn11.html

ทฤษฎีเกี่ยวกับจินตภาพ

การที่จินตภาพได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงมีทฤษฎีเกี่ยวกับจินตภาพเป็นจำนวนมากตามไปด้วย แต่เท่าที่นิยมศึกษากันในประเทศไทยมี 5 ทฤษฎี ดังนี้

1) ทฤษฎีการตอบสนอง (Response Theory) ของลาซารัส (Lazarus) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกับสร้างจินตภาพต่อสิ่งเร้านั้นๆ ทฤษฎีนี้จะอธิบายความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียว เช่น ภาวะของโรค การรักษาของแพทย์ การนอนอยู่ในตึกผู้ป่วยหนัก เป็นต้น

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในอดีตที่จะเป็นตัวเสริม หรือกำหนดให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในปัจจุบันว่าควรเป็นเช่นไร

2) ทฤษฎีการสร้างจินตภาพ (Imagery Theory) ของดอสเสย์ (Dossey) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การสร้างจินตภาพมีพื้นฐานมาจาก การเชื่อมต่อของช่องว่างระหว่างมิติของเวลา การสร้างจินตภาพเกิดขึ้นเพราะมีการทะลุเข้าไปในช่องว่างระหว่างมิติของเวลา ทำให้ ณ จุดนั้น ไม่มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขณะเกิดการสร้างจินตภาพเวลาจะคงอยู่อย่างนั้น ดังนั้น ทฤษฎีนี้ จึงเป็นการนำภาพในอดีตของตนเองที่เคยประสบมา แล้วสร้างจินตภาพใหม่เพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น

3) ทฤษฎีจิตสังเคราะห์ (Phycho Synthesis) ของอาซาจิโอรี่ (Ar Sae jo o li) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รูปแบบประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ระดับต่ำสุดของจิตใต้สำนึก เป็นความจำที่ลืม ส่วนที่สองคือ ระดับกลางหรือระดับที่ไม่รู้สึกตัว เป็นเหตุการณ์วันต่อวันในการติดต่อเกิดความมีเหตุผล ส่วนที่สามคือ ระดับสูง เป็นส่วนของปัญญา ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การปฏิบัติตนของแต่ละบุคคล การฝึกวิธีนี้จะใช้ในการบำบัดอาการต่างๆ เช่น ลดความวิตกกังวล เป็นต้น

4) ทฤษฎีการบำบัดรักษาทางจิตด้วยความเป็นจริง (Eidetic Psychotherapy) ของเอสซิน (Assin) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนที่เป็นสิ่งเดียวกัน เกิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันในภาวะที่ไม่รู้สึก ประกอบด้วยภาพในใจ การตอบสนองทางร่างกาย และความหมาย ภาพในใจกระตุ้นความรู้สึก เกิดการตอบสนองความจริงภายนอก และรอบๆ บุคคล เป็นต้น

5) ทฤษฎีการสร้างจินตภาพของฮอโรวิส (Horowitz) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างจินตภาพและรูปแบบของความคิดมี 3 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่หนึ่ง ความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกาย (enactive thought) ความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายจะเป็นความคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การคิดถึงการยกของหนักจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ไหล่และแขน การคิดถึงภาพการกัดผลมะนาวสีเหลืองที่สุกฉ่ำแล้ว ชิมรสเปรี้ยวของมะนาว กล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าของหูจะเกร็ง และมีน้ำลายไหลออกมาจากปาก เป็นต้น

ความคิดที่ที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายดังกล่าว จะถูกควบคุมโดยสมองส่วนลิมบิค สมองส่วนนี้จะควบคุมภาวะอารมณ์ให้มีการตอบสนองทางร่างกาย การสร้างจินตภาพสามารถนำมาใช้ควบคุมความคิดที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกายได้ เพราะ การสร้างจินตภาพจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อของภาวะอารมณ์ กระตุ้นความคิดที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของร่างกาย และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่สามารถสังเกตได้

ลักษณะที่สอง ความคิดในเชิงเปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์ (lexical thought) ความคิดในเชิงเปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์เป็นความคิดในการสื่อสารให้มีความกระจ่างชัด ความคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดนามธรรม การคำนวณ การจดจำเวลา การวิเคราะห์วิจารณ์ให้มีความชัดเจน โดยความคิดนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งจะเกิดจากการเรียนรู้ในวัยเด็ก เก็บสะสมเป็นประสบการณ์ และเก็บไว้ในความทรงจำ เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารเข้ามาใหม่ บุคคลนั้นก็จะนำไปพิจารณาเปรียบเทียบความเป็นเหตุและผลตามความเป็นจริง และประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคลที่เกิดในขณะนั้น เกิดเป็นพฤติกรรมและอารมณ์ที่แสดงออก
ลักษณะที่สาม ความคิดให้เห็นภาพ (imaged thought) ความคิดให้เห็นภาพเป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับความฝัน การสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา โดยส่วนมากจะติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ความคิดให้เห็นเป็นภาพจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนที่เด็กจะเริ่มหัดพูด

เมื่อเด็กเริ่มหัดพูด และบอกความรู้สึกหรือความคิดออกมาเป็นคำพูด ทำให้การพัฒนาความคิดให้เห็นเป็นภาพลดน้อยลง การเรียนในโรงเรียนจะทำให้สมองซีกซ้ายมีการพัฒนามากในเรื่องความคิดเป็นเหตุเป็นผล และความคิดตรรกะวิทยา ขณะที่สมองซีกขวาจะพัฒนาช้าลง เช่น ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ความคิดเชิงเหตุเชิงผล เปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์จะเด่นกว่าความคิดให้เห็นเป็นภาพ

บุคคลแต่ละคนมีความสามารถในการสร้างจินตภาพไม่เท่ากัน บุคคลที่สมองซีกขวาเด่น จะสร้างจินตภาพได้ง่าย ขณะที่บุคคลสมองซีกซ้ายเด่น มักเกิดความขัดแย้งต่อการสร้างจินตภาพ เนื่องจากความคิดมักจะขึ้นอยู่กับความเป็นจริง ความเป็นเหตุเป็นผล แต่ก็สามารถสร้างจินตภาพได้ ถ้าทราบเหตุผลของการสร้างจินตภาพ และการฝึกจะต้องเริ่มจากการฝึกในระดับง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะต้องทำหลายๆ ครั้ง หรือใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างจินตภาพ

ความคิดทั้งสร้างลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะทำงานสัมพันธ์กันในขณะที่มีการสร้างจินตภาพ โดยการสร้างจินตภาพจะกระตุ้นสมองซีกขวาให้เกิดความคิดให้เห็นภาพ ซึ่งจะเป็นภาพสถานที่ที่พึงพอใจ สถานที่ที่รื่นรมย์ และขณะที่ใช้ความคิดเห็นภาพสถานที่ที่พึงพอใจนั้น จะเกิดการกระตุ้นสมองส่วนลิมบิค ซึ่งจะเป็นส่วนที่ควบคุมภาวะอารมณ์ ก่อให้เกิดอารมณ์ด้านบวก เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย เพลินเพลิน ขณะเดียวกันสมองซีกซ้ายจะได้รับข้อมูลตามเนื้อหาการสร้างจินตภาพ ก่อให้เกิดการใช้ความคิดเชิงเหตุเชิงผล ความคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ และเนื้อหาความคิดไปในทางที่ถูกต้อง อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

http://www.gotoknow.org/posts/264972