ทฤษฎีกบต้ม

ทฤษฏีความเคยชิน

"เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดบ่อยๆ ก่อให้เกิดการกระทำ เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำบ่อยๆ ก่อให้เกิดนิสัย เธอจงระวังนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคลิก เธอจงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกำหนดชะตากรรมของเธอ"

ทฤษฎีกบต้ม เป็นทฤษฎีที่นักวิชาการาวไอริชผู้หนึ่งชื่อ Tichyand Sherman (1993) ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีโดยการทดลองนำกบมาต้มในอ่างน้ำ 2 อ่าง เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ

อ่าง น้ำที่ชาวไอริชนำมาใช้ทดลองนั้น ใส่น้ำต่างกัน ใบแรกเป็นอ่างน้ำร้อนจัด ใบที่สองเป็นอ่างน้ำที่อุ่นสบายๆ และทำให้ค่อยๆ อุ่นขึ้นจนเดือด ได้ทดลองนำกบมา 2 ตัว ตัวแรกใส่ในอ่างน้ำที่ร้อนจัด ส่วนตัวที่สองใส่ในอ่างน้ำอุ่น ที่ทำให้อุ่นขึ้นจนเดือด โดยผู้ทดลองต้องการศึกษาว่า กบตัวไหนจะตายก่อน หรือตัวไหนจะรอดชีวิต

ผลการทดลองปรากฏว่า กบที่ใส่ในอ่างแรก คือ อ่างน้ำเดือด ปรากฏว่ากบรอดชีวิต แต่กบที่ใส่ในอ่างน้ำอุ่นที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้นกลับตาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด เหตุผลคือ กบในอ่างน้ำเดือดจะรู้ว่าน้ำร้อน จึงรีบกระโดดออกมาหลังสัมผัสน้ำเดือดทันที แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบาย แม้ว่าน้ำจะค่อย ๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในอ่างน้ำจนกระทั่งน้ำเดือดจึงตาย

ด้วยสัญชาติญาณของการเอาตัวรอด กบจะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เรื่องต้มกบ หรือ กบต้ม เป็นการทดลองที่บ่งบอกให้เราต้องรู้จัก ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว บ่อยครั้งที่เรามักจะเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย แต่มันก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวัง จงอย่าตายใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น ในทุกๆปี น้ำที่กักเก็บลดลงทีละนิ้ว สองนิ้ว เราก็จะรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” เพราะมันยังมีน้ำอยู่ น้ำพร่องไปหน่อย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าจู่ๆ น้ำที่กักเก็บรั่วหายไปหมดล่ะ จะรู้สึกอย่างไร เป็นอุทาหรณ์ให้รู้ว่า ต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราและอย่า “เฉื่อยชา” ต่อสิ่งที่กำลังเปลี่ยน

เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง

  • เปิดทัศนคติให้ตระหนักว่า โลกภายนอกหมุนไปเร็วมาก “จงอย่าทำตัวเป็นกบในกะลา”
  • สภาวะการณ์ที่จะอยู่รอดได้นั้น รองรับได้เพียงบางสถานการณ์เท่านั้น “แต่ทุกคนมีความอดทนอดกลั้นต่างกัน”
  • ไม่มีกลุ่มใดที่จะแยกตัวอยู่ได้โดยลำพัง
  • เมื่อเปิดประตูออกไปสู่โลกภายนอก สิ่งแปลกๆใหม่จะเข้ามากระทบ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • หากคิดจะเปลี่ยน ให้กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อยไม่มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น

ผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ชายคนนี้เขาชื่อเฟรเดอริก

เฟร เดอริกเป็นหนุ่มใหญ่วัย 40 ต้นๆ เขามีหน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นผู้บริหารองค์กรทางธุรกิจข้ามชาติระดับสูง เฟรเดอริกไม่เพียงแต่โชคดีทางหน้าที่การงานเท่านั้น เขายังแต่งงานกับสาวสังคมหน้าตาดี รูปร่างดี การศึกษาดี รสนิยมดี ชาติตระกูลดีอีกต่างหาก ทั้งคู่มีทายาทสืบสกุลน่ารักน่าเอ็นดู ชีวิตคู่ในช่วงต้นของการแต่งงาน รื่นรมย์ สมปรารถนาจนใครๆ ต่างก็เฝ้ามองด้วยความอิจฉา

แต่เมื่ออยู่ต่อมาอีกหลายปี เฟรเดอริกก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกคนหนึ่ง ซึ่งหญิงสาวและลูกๆ ไม่เคยรู้จัก เขากลายเป็นมนุษย์บ้างาน เขาทำงานหนักหามรุ่ งหามค่ำ เขาแทบจะกิน นอน พักผ่อน และหายใจเป็นงานไปเสียทั้งหมด เลิกงานกลับมาถึงบ้านตีหนึ่งตีสองเขายังคงนั่งทำงาน เช็กอีเมล ตอบจดหมาย วางแผนธุรกิจ หาวิธีสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง (แต่ตัวเขากลับเริ่มอ่อนแอ) เงินเดือนไม่ถึงล้าน แต่เขาทำงานเสมือนหนึ่งว่าเขามีเงินเดือนหลายสิบล้าน

ภรรยา เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มลงตัวกลายเป็นนิสัยของเฟรเดอริกแบบนี้ด้วยความ ไม่สบายใจ เธอจึงออกปากเตือนว่าเขากำลังใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยง แต่เฟรเดอริกบอกว่าที่เขาทำทั้งหมดก็เพื่อเธอและเพื่อลูกทั้งนั้น ประการสำคัญ เฟรเดอริกบอกกับเธอว่า หน้าที่การงานของเขากำลังไปได้ดี ผลงานของเขา เป็นที่ถูกใจของนายใหญ่ เพื่อนร่วมงานทุกคนยอมรับเขา และถ้าเขาทิ้งโอกาสดีๆ เช่นนี้ไปใช้ชีวิตง่ายๆ กับครอบครัวอย่างที่ภรรยาต้องการ เขาก็กำลัง ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายอนาคตอันรุ่งโรจน์ และบริษัทจะเสียหายขนาดไหน

ภรรยาพยายามพูด โน้มน้าวให้เฟรเดอริกหันกลับมาให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ดูแลตัวเองมากหน่อย แต่เขาขอเวลาอีกสักระยะ เฟรเดอริกบอกว่า เขาจะเกษียณให้เร็วที่สุด ไม่ต้องรอถึงอายุ 60 เขาจะถอนตัวออกมา และจะคืนทุกอย่างที่ลูกและเมียต้องการแน่ๆ แต่ตอนนี้เขากำลังมีโอกาส เขาขอใช้โอกาสทางการงานให้คุ้มที่สุดเสียก่อน แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นในวันหนึ่ง ขณะอายุเพียง 51 ปี เท่านั้น วันหนึ่งระหว่างขับรถไป เจรจาธุรกิจให้กับบริษัท เฟรเดอริกประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เสียชีวิตคาที่

คง ไม่ต้องบอกว่าลูกและภรรยาเสียใจขนาดไหน แต่สิ่งที่ภรรยาของเฟรเดอริกเสียใจที่สุดก็คือ หลังจากเฟรเดอริกเสียชีวิตไปได้เพียง 3 วัน บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เฟรเดอริกรักนักหนาก็สามารถหาซีอีโอคนใหม่ได้ เธอบอกตัวเองว่า สามีพูดอยู่เสมอว่า หากไม่มีเขาเสียคน บริษัทจะลำบาก แล้วเขาก็ไม่มีโอกาสได้รู้เลยสักนิดว่า พอไม่มีเขา บริษัทยอมลำบากเพียง 3 วัน จากนั้นทุกอย่างก็ดำเนินต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

เฟรเดอริ กจากไปแล้ว ทิ้งลูกและเมียไว้กับความเปลี่ยวเหงา ความทุกข์ ความทรมาน กับสิ่งที่เกิดขึ้นรวดเร็วแบบไม่คาดฝันเหมือนสายฟ้าแลบ ชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว แต่จะทำอย่างไรได้ เมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว เราก็ไม่สามารถหวนไปแก้ไขสิ่งนั้นได้อีก

เรื่องราวของเฟรเดอริกที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องจริง และเขาเพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานมานี้จริงๆ

ทุก วันนี้ ในสังคมของเรายังมีคนแบบเฟรเดอริกอีกมากมาย คนที่ทุ่มเทกายใจและชีวิตให้กับงาน เสมือนหนึ่งเขาเกิดมาในโลกนี้เพื่อภารกิจเดียว คือ เพื่อทุ่มเททำงานให้กับบริษัทเท่านั้น จนการทุ่มเทนั้นได้ กลาย เป็น "นิสัย" ที่ยากจะไถ่ถอน ฝังลึก และทำให้เขาหรือ เธอเสพติดมันอย่างเข้มข้น เหมือนติดยาเสพติด แล้วเจ้านิสัยบ้าทำงานหนักนี้ก็เอาทุกสิ่งทุกอย่างไปจากคนชนิดนี้ โชคดีที่บางคนมีกัลยาณมิตรคอยเตือน จึงหาสมดุลงาน สมดุลชีวิตเจอ แต่บางคนที่ไม่มีใครคอยเตือน หรือคนที่เคยเตือนไม่มีโอกาสได้เตือนอีกต่อไปแล้วเพราะเขาไม่ยอมฟัง

เขาหรือเธอก็อาจจะกลายเป็นเฟรเดอริกคนต่อไป ต่อไป และต่อๆ ไป

ก้าวสู่ชีวิตใหม่ ต้องก้าวพ้นความเคยชิน

หลายคนมักมีแผนการชีวิตกับตนเองว่า ในช่วงวาระปีใหม่ จะตั้งใจประพฤติ ปฏิบัติในสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับชีวิตของตนเอง เช่น การมีความตั้งใจ จะศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น จะปรับปรุงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้ดีกว่าเดิม จะรักษาสุขภาพ สนใจธรรมะมากขึ้น เป็นต้น ความตั้งใจที่ดีเหล่านี้ คือ สิ่งที่สะท้อนถึง เมล็ดพันธ์แห่งคุณความดีที่ทุกคนมีอยู่ในตัว แต่เรามักพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป ความเคยชินเดิมๆ ก็ค่อยๆ เข้ามาทำหน้าที่ นิสัยใหม่ๆ ที่เราตั้งใจเพาะสร้างขึ้น หากรากฐานไม่แข็งแรงพอ แผนการชีวิต ความตั้งใจดีๆ ก็ค่อยๆ อ่อนแรง และจางหายไป

วันดี คืนดี ความตั้งใจดีเหล่านี้อาจกลับมาใหม่ และอาจอ่อนแรงไปอีก เราจะทำอย่างไรดี เพื่อที่จะไปสู่ชีวิตใหม่ที่ความทุกข์จากนิสัยความเคยชินเดิมๆ กัดข่วนเราได้น้อยลง เพื่อให้เรามีความสุขได้มากขึ้นจากความทุกข์ที่ลดน้อยลง ในฐานะวิทยากรผู้ทำงานด้านการศึกษาชีวิตภายใน ข้อสังเกตจาก ประสบการณ์ผู้เขียน คือ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้เราไม่อาจก้าวข้ามความเคยชินเดิมๆ ก็คือ ความกลัว ความเกียจคร้านและการหลอกลวงตนเอง ทั้งหมดนี้ซ้อนเร้นอยู่ในความนึกคิด ในจิตใจของเรา นั่นเอง

ความกลัวเป็นพลังชีวิตทางอารมณ์ความรู้สึก มันทำงานโดยตอบสนองกับความคิดนึกต่างๆ ที่ทำงานอยู่ในหัวเพื่อขับเคลื่อนเป็นพฤติกรรมออกมา ความกลัวเป็นพลังสัญชาตญาณของความรักชีวิตที่ทำให้เราทุกคนมีความรักตัวกลัวตาย ไม่กล้าเผชิญหรือมักหลีกเลี่ยงภัยอันตราย ความมั่นคง ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต ดังนั้นแง่หนึ่ง ความกลัวช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะต้องระมัดระวัง สร้างสรรค์ความมั่นคง ปลอดภัยให้กับชีวิต แต่ความกลัวก็เป็นกรงขังให้เจ้าของชีวิตไม่กล้าเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง การท้าทายใดๆ ความกลัวขังจมตัวเราให้อยู่กับสภาพแวดล้อมเดิมๆ

เราจึงมักพบหลายคนที่แม้จะอึดอัดคับข้องกับสภาพแวดล้อม สังคมรอบตัว เช่น การเอารัดเอาเปรียบ การใช้ความรุนแรง ฯลฯ หรือกับอุปนิสัยของตนเอง บางอย่าง แต่คนเหล่านี้ก็เลือกที่จะยอมทน นิ่งเงียบ ยอมรับ และยอมจำนนกับการพ่ายแพ้ตนเอง ไม่คิดเปลี่ยนแปลงใดๆ

ในส่วนของความเกียจคร้าน เราจะพบว่าสำหรับสังคมที่อุดมไปด้วยลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งเน้นการแข่งขัน ความรวดเร็ว การมีภาพลักษณ์ของความร่ำรวย โดยที่ผู้คนในสังคมก็ต้องดิ้นรนทำงานเพื่ออยู่รอดและเพื่อบริโภค ความเหนื่อยล้าจากชีวิตประจำวันก็ยิ่งเสริมสร้างให้ความเกียจคร้านมีพลังมากขึ้น การปรับเปลี่ยนตนเอง เรียนรู้ หรือลงมือกระทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งต้องใช้ความตั้งใจ ความอดทน และพลังชีวิตที่ต้องใช้ออก จึงเกิดขึ้นได้ยาก เพราะความเหนื่อยล้า ความจำกัดในเรื่องของเวลา และพลังงาน

แน่นอนว่าความต้องการการพักผ่อนทางร่างกายและจิตใจ ย่อมไม่ใช่ความเกียจคร้าน แต่การเลือกที่จะปล่อยให้ตัวเอง จ่อมจมอยู่กับพฤติกรรมที่สร้าง ความเพลิดเพลิน ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น ดูทีวี เล่นการพนัน ดื่มสุรา หรือแม้แต่ปล่อยตัวเองให้จมจ่อมกับการนึกคิดจินตนาการฟุ้งซ่าน หรือเล่นกับอารมณ์ ความรู้สึก บางอย่าง เพื่อให้ตนเองหนีห่างจากการพัฒนาฝึกฝนตนเอง นี่คือ ความเกียจคร้าน มันเป็นความเกียจคร้านต่อการเอาธุระในเรื่องสำคัญต่อชีวิต ต่อการพัฒนาฝึกฝนตนเอง โดยเฉพาะการเจริญภาวนาด้านจิตใจ

รูปธรรมง่ายๆ คือ กรณีการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารทางร่างกาย ผู้คนในสังคมถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่อาหารทางด้านจิตใจ เช่น การฝึกฝนด้านสมาธิภาวนา การฝึกปฏิบัติธรรม หลายมักคนมักทอดธุระ ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะความเกียจคร้าน

การหลอกลวงตนเอง คืออีกลักษณะของอุปสรรคที่ทำให้เราไม่อาจก้าวข้ามความเคยชิน จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เราหลอกลวงตนเองว่า ความตายซึ่งเป็น ฉากจบของชีวิตนั้น ยังเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากตัวเรา เราทำให้ตัวเองเชื่อว่า ในวันพรุ่งนี้ ในวันเวลาข้างหน้า และในอนาคตอีกยาวไกล จะยังคงมีตัวเรา ดำรงชีวิตอยู่ ดังนั้น เราน่าจะมีเวลาหาความสนุก ความเพลิดเพลินให้กับตนเอง ทั้งที่ความจริงคือ ความตายสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ และเกิดขึ้นอย่างไรก็ได้ กับตัวเรา เราหลอกลวงตนเองด้วยลักษณะเช่นนี้

การบ้านที่ผู้อ่านอาจลองคิดนึกตรึกตรองกับตนเองก็คือ ชีวิตของเราจะเป้นอย่างไร เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร ระหว่างการที่เรารู้ว่าชีวิตเรามีเวลาในโลกนี้เพียง 3 วัน กับการไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นใน 3 วันข้างหน้า

หากพิจารณา ใคร่ครวญชีวิตให้ดี เราจะพบความปรารถนาลึกๆ ในชีวิตของคนเรา คือ ความปรารถนาในความสุข สงบทางจิตใจ หลายๆ ครั้งที่เรามีเรื่องเศร้า เสียใจ ความปรารถนาที่จะโต้ตอบ เช่น การร้องไห้ การปรับทุกข์กับเพื่อน หรือกระทั้งการแก้แค้น โต้ตอบเพื่อเอาคืน แรงจูงใจลึกๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ก็คือ ความปรารถนาให้จิตใจคืนสู่ความสุข สงบในจิตใจนั่นเอง เพียงแต่วิธีใดจะได้ผลที่แท้จริงก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

โจทย์สำคัญคือ การให้ตัวเองได้มองเห็นตัวอุปสรรคทั้ง 3 คือ ความกลัว ความเกียจคร้าน และการหลอกลวงตนเอง ที่ทำงานอยู่ในจิตใจ หากเรามองเห็นชัด อุปสรรคทั้งสามก็ไม่อาจทำร้ายเราได้ เปรียบเสมือนโจรพยายามเข้าบ้าน แต่เมื่อเจ้าของบ้านรู้ตัว เพียงแค่เปิดไฟ เพื่อมองเห็นโจร เหล่าโจรทั้งหลายก็ต้องหลบหนีไป

ขอให้ทุกท่านได้พบกับชีวิตใหม่ ซึ่งมีอยู่ทุกขณะ โดยการเอาชนะ ก้าวข้ามความเคยชิน นิสัยเดิมๆ ที่คอยก่อทุกข์ และกัดข่วนชีวิตของเราให้ไร้สุขเสมอๆ โดยการฝึกฝนปฏิบัติจากการสังเกตความนึกคิด ความรู้สึกของตนเองว่า มันทำงานอย่างไร คิดนึก รู้สึกอะไร อย่างไร เราอาจเผลอ หลงลืม แต่หัวใจสำคัญ ก็คือ การไม่ยอมแพ้ นั่นเอง