กล้วยไม้

ดอกกล้วยไม้เขาแกะ1

กล้วยไม้เป็นพืชที่มีผู้นิยมปลูกกันทั่วโลก ทั้งนี้เพราะกล้วยไม้มีหลากสีหลากสัน ที่พบตามธรรมชาติมีประมาณ 25000 ชนิดมีทั้งขนาดเล็ก ดอกเท่าหัวเข็มหมุด จนถึงต้นขนาดใหญ่เท่าต้นอ้อย ต้นมีการเจริญเติบโตเป็นกอเกาะบนคบไม้ หรือก้อนหินหรือเจริญเติบโตต้นเดียวบนคบไม้โดยมีรากอากาศยืดเกาะกิ่งไม้บางชนิดเป็นกล้วยไม้ดิน
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แห่งที่ใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียและแปซิฟิคสกุลกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นไม้มงคล

1. แพฟิโอเพดิลั่ม : Paphiopedilum Slipper orchid
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum sp.
วงค์ : Orchidaceae
ชื่ออื่น : รองเท้านารี
สกุลรองเท้านารี กล้วยไม้รองเท้านารีมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี รองเท้านารี ซึ่งหมายถึงรองเท้าของสตรี เหตุที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากกลีบดอก กลีบที่เรียกว่ากระเป๋า มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้า กล้วยไม้สกุลนี้แต่ละชนิดรองเท้า หรือปากนี้ มีรูปร่างและสีสันผิดแผกแตกต่างกัน และนับเป็นจุดสะดุดตาส่วนหนึ่งของดอก รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ รากจะออกเป็นกระจุกที่โคนต้น และมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป ดอกมักจะออกที่ยอดมีทั้งชนิดที่ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ และออดเป็นช่อ กลีบดกอกชั้นนอกกลีบดอกบนมักจะใหญ่สะดุดตา กลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติด และอาจมีขนาดเล็ก จนส่วนปากบังมิด หรือเกือบมิด กลีบคู่ในกางออกไปทั้ง 2 ข้างของดอก แต่ถ้ากลีบคู่นี้ยาว อาจห้อยตกลงมาก็ได้ กล้วยไม้รองเท้านารีจะเป็นพวกขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกันอยู่ แต่บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้

2. คัทลียา : Cattleya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cattleya hybrids.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ราชินีกล้วยไม้
สกุลคัทลียา กล้วยไม้กลุ่มนี้มีกำเนิดอยู่ทางแถบร้องของทางทวีปอเมริกา ในวงศ์กล้วยไม้ด้วยกันถือว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสวยที่สุด ลักษณะทั่วไปมีรูปร่างต่างกัน อาจยาวแต่เล็ก มีใบติดอยู่หลายใบหรือสั้นแต่อ้วน มีใบติดอยู่เพียง1-2 ใบเฉพาะที่ส่วนปลายลำลูกกล้วยไม้เท่านั้น โคนลำจะมีกาบบางๆหุ้มอยู่เห็นได้ชัดเจนในลำใหญ่ที่กำลับเจริญ ใบส่วนมากแบน แต่บางชนิดมีใบกลม รูปร่างทรงกระบอกใบอาจมีหรือไม่มีกาบ ดอกออกเป็นที่ยอด ทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกลีบดอกชั้นในจะกว้างกว่ากลีบดอกชั้นนอกปากจะมีขนากใหญ่กว่ากลีบดอกอื่นทั้งหมด มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางทวีปอเมริกา และไม่พบในป่าของทวีปเอเชียเลยก็ตาม แต่สามารถปลูกเลี้ยงคัทลียาในประเทศไทยให้เจริญงอกงามได้ดีพอสมควรส่วนการออกดอกนั้น ท้องถิ่นที่มีฤดูกาลเด่นชัด คัทลียาจะให้ดอกดกกว่าท้องถิ่นที่ฤดูกาลไม่เด่นชัดชัด เหตุนี้การปลูกเลี้ยงคัทลียาในภาคเหนือและภาคอีสานจึงมักจะให้ดอกมากกว่าภาคกลาง การปลูกคัทลียาในประเทศไทยนิยมปลุกในกระถางดินเผาอัดออสมันดา แล้วเกี่ยวลวดแขวนราว ตาอาจใช้เครื่องปลูกอย่างอื่นก็ได้ เช่น อิฐทุบ กระถางแตก ถ่าน

3. แวนด้า : Vanda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda Teres.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ฟ้ามุ้ย เอื้องโมกข์
สกุลแวนด้า กล้วยไม้สกุลแวนด้ามีช่อดอกตั้งหรือค่อนข้างต้น ดอกค่อนข้างใหญ่และมักบานทน กลีบชั้นนอกชั้นในมีขนาดไล่เลี่ยกัน แผ่นกลีบดอกโตแต่โคนกลีบดอกคอดสั้นๆ กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดเชียจนฟิลิปปินส์ สกุลแวนด้าถือว่าเป็นต้นแบบของกล้วยที่มีการเจริญ เติบโตไปหรือไม่แต่กอ

4. รินคอสไตลิส : Rhynchostylis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis sp.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : ช้างกระ ช้างเผือกคอสไตลิ
ช้าง กล้วยไม้สกุลช้างเล็กๆ สกุลหนึ่งในประเภทแวนด้า มีลำต้นสั้นแข็งแรง ใบแข็งหนาอวบน้ำบางชนิดใบเล็กยาว สกุลปลายใบหยักในหรือฟันแหลม ใบอาจมีหรือไม่มีลาย ช่อดอกตั้งโค้งหรือห้อย ออกดอกแน่นช่อ กลับดอกอาจมีหรือไม่มีจุดม่วงหรือเงิน กลับดอกชั้นนอกโตกว่าดอกชั้นใน ปากไม่มีข้อพับ ปากเชื่อมต่อกันฐานเส้าเกสร เดือนดอกชี้ไปข้างหลังแต่ปลายปากชี้ไปข้างหน้า ไม่มีหูหรือมีก็ขนาดเล็ก กล้วยไม้สกุลนี้ออกดอกเพียงปีละครั้ง แต่จะออกดอกพร้อมกันครั้งละหลายๆ ช่อ ยิ่งต้นโตแข็งแรงก็จะยิ่งให้ดอกมากช่อยิ่งขึ้น

5. ดอไรทิส : Doritis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Doritis pulcherrima.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : กล้วยไม้ม้าวิ่ง แดงอุบล
สกุลม้าวิ่ง สกุลม้าวิ่งเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือแอ่งหินที่มีอินทรียวัตถุทับถมกันหนาๆ ใบแทนสีเขียวหรืออมม่วง ช่อดอกตั้ง ก้านส่งช่อยาวประมาณ 1 - 2 ฟุต ดอกมีสีแดงอมม่วง โดยมีตั้งแต่สีซีดๆ ไปจนถึงสีเข้ม ลักษณะการบานของดอกจะบานทยอยกันขั้นไป คือ ก้านช่อยืดยาวออกดอกไปเรื่อยๆดอกบนบานไป ดอกล่างก็ค่อยๆโรงไป แต่มีดอกติดช่อมาก พบกระจายพันธุ์อยู่ใน พม่า ไทย อินโดนิเชีย และสุมาตรา

6. ไตรโคกล๊อตติส : Trichoglottis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichoglottis fuscearta
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : เสือโคร่ง
สกุลเสือโคร่ง กล้วยไม้สกุลนี้มีรูปทรงของต้นและใบคล้ายคลึงกับกล้วยไม้สกุลแมลงปอและรีแนนเธอรา คือ มรลักษณะข้อห่าง ปล้องยาว ต้นอาจพาดอยู่กับต้นไม้ กิ่งไม้ หรือห้อยย้อยลงมา ใบแคบ ช่อดอกสั้น บางชนิดดอกเพียงช่อละ2 ดอกส่วนที่มีช่อละหลายดอกนั้น ดอกจะเบียดชิดกัน ขนาดของดอกมีทั้งพวกดอกเล็กๆและดอกใหญ่พอสมควร พื้นกลีบดอกส่วนใหญ่เป็นสีเหลืองมีแต้มสีน้ำตาลปนแดง เส้าเกสรสั้น โคนกลีบ เสือโคร่งเป็นกล้วยไม้ที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย นิสัยคล้ายแมลงปอ แต่ถ้ามีร่อมเงาให้บ้างจะงอกงามดีกว่าอยุ่กลางแดดจ้า

7 .เด็นโดรเบี้ยม : Dendrobium
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium.
วงค์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : หวาย
สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลหวายนับว่าเป็นกล้วยไม้ดอกสวยสกุลใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย คือ พบในป่าธรรมชาติ ซึ่งมีรูปร่างลักษณะทั้งดอก ใบ และลำลูกกล้วยแตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง กล้วยไม้สกุลหวายมีกลีบชั้นนอกที่มีขนาดยาวไล่เลี่ยกัน กลีบนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกับฐานของเส้าเกสร และที่รอยต่อนี้จะปูดออกมา เรียกกันว่าเดือยมีเรณู 4 ก้อนติดอยู่ที่ปลายของเส้าเกสร จำนวนก้อนเรณูนี้เป็นลักษณะสำคัญที่นักพฤกษศาสตร์ใช้แบ่งกล้วยไม้สกุลหวายกับสกุลอีเรียออกจากกัน เพราะอีเรียมีเรณู 8 ก้อน กล้วยไม้สกุลหวายเป็นกล้วยไม้ที่เข้าสู้สังคมกล้วยไม้ของเมืองไทยเป็นอันดับสอง

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Subclass Monocotyedoneae) อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (FamilyOrchidaceae) นับเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดวงศ์หนึ่งในพืชมีดอก (Class Angiospermae) ประกอบด้วยกล้วยไม้ประมาณ 25,000 ชนิด (species) เจริญเติบโตได้ในทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติก รูปแบบการเจริญเติบโตมีหลายแบบ เช่น เจริญเติบโตบนกิ่งไม้ พื้นหิน พื้นดิน และที่ชื้นแฉะ ความแตกต่างของชนิดกล้วยไม้จะพบมากในเขตร้อน (tropic) และมักเป็นกล้วยไม้อากาศ (epiphyte) ส่วนกล้วยไม้เขตอบอุ่น (กล้วยไม้erate) มักเป็นพวกกล้วยไม้ดิน (terrestrial)

>>>กล้วยไม้มีขนาดต้นตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดที่สั้นกว่า 1 นิ้ว และให้ดอกมีขนาดเท่าหัวเข็มหมุดไปจนถึงใหญ่ที่สุดซึ่งลำต้นสูงตั้งแต่ 5 ฟุตไปจนถึง 10 ฟุตและให้ช่อดอกยาวถึง 15 ฟุต รูปร่างดอกกล้วยไม้มีมากแบบด้วยกัน เช่น คล้ายผึ้ง ผีเสื้อ หงส์ นกเขา กบ จิ้งจก หรือมนุษย์ตัวเล็ก ๆ สีดอกมีแทบทุกสี ยกเว้นสีดำแต่ก็มีสีใกล้เคียงสีดำ นอกจากนี้มนุษย์ ยังสามารถกินกล้วยไม้ได้ กล่าวคือ กลิ่นวนิลลาในของหวานได้จากการสกัดสารจากฝักกล้วยไม้ในสกุลวนิลลา (Vanilla spp.)

>>>โครงสร้างดอกกล้วยไม้เกือบทุกชนิด ประกอบด้วยกลีบชั้นนอก (sepal) 3 กลีบ กลีบชั้นใน (petal) 3 กลีบ แต่ก็มีกล้วยไม้บางชนิด ที่กลีบชั้นนอกและกลีบชั้นในอาจจะรวมกันมีเพียง 3 กลีบ กลีบชั้นในกลีบหนึ่งซึ่งเรียกว่า ปาก (labellum หรือ lip) มีรูปทรงต่างกับกลีบอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นทางโดยมีสีและกลิ่นของดอกกล้วยไม้ช่วยล่อให้แมลงบินเข้าไปผสมเกสร ส่วนของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย จะรวมกันอยู่ในส่วนกลางของดอก ซึ่งเรียกว่า เส้าเกสร (column) และ เรณู (pollen) จะรวมกันเป็นก้อนมีตั้งแต่ 2-8 ก้อน ซึ่งเรียกว่า กลุ่มเรณู (pollinia) ดังนั้นการผสมเกสรจึงเกิดจากแมลงเป็นตัวพาหะ มิใช่ลมพัดพาไป เนื่องจากกลุ่มเรณูมีขนาดใหญ่และหนัก เกินกว่า ที่ลมจะพัดพาไปได้ ใต้เกสรตัวผู้ลงมาจะเป็นแอ่งเกสรตัวเมีย (stigmatic surface) เมื่อดอกกล้วยไม้ได้รับการผสมเกสร (pollination) ส่วนของรังไข่จะเจริญไปเป็นฝักหรือผล เมื่อฝักแก่จะแตกออกเพื่อให้เมล็ดปลิวไปตกรอบ ๆ บริเวณต้นเพื่อแพร่กระจายพันธุ์ เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากยาวประมาณ 0.3 – 5 มิลลิเมตร กล้วยไม้บางชนิดใน 1 ฝักอาจมีเมล็ดนับแสนเมล็ด

>>>ลักษณะพิเศษของกล้วยไม้

การจำแนกพืชวงศ์กล้วยไม้ได้จำแนกลักษณะพิเศษของกล้วยไม้ที่ต่างจากพืชอื่นไว้ดังนี้

1. เกสรตัวผู้อยู่ข้างเดียวของดอก (ไม่สมดุล) กล้วยไม้ส่วนใหญ่มีเกสรตัวที่ไม่เป็นหมันเพียงอันเดียว แต่มีกล้วยไม้เพียง 1 สกุลที่มี 3 อัน แต่ล้วนอยู่ข้างเดียวซึ่งอาจเป็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการของกล้วยไม้
2. เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบางส่วนตะรวมกัน แต่ส่วนใหญ่จะรวมทั้งหมดเป็นโครงสร้างเดียวคือ “เส้าเกสร”
3. เมล็ดมีขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่น ๆ
4. ดอกกล้วยไม้มีกลีบชั้นในซึ่งเรียกว่า “ปาก” จะอยู่ตรงข้ามกับเกสรตัวผู้ที่ไม่เป็นหมัน ซึ่งต่างจากกลีบชั้นในอีก 2 อัน มีกล้วยไม้เพียงส่วนน้อยที่ “ปาก” ไม่แตกต่างจากกลีบชั้นในอีก 2 อัน
5. ดอกกล้วยไม้จะบิดในช่วงที่ดอกกำลังพัฒนา ตาดอกหรือดอกตูมจะบิดเพื่อให้ปากอยู่ส่วนล่างของดอกเมื่อบาน ซึ่งเรียกว่า “resupination”
6. ส่วนของ stigma ที่เรียกว่า “rostellum” จะเกี่ยวข้องกับการส่งกลุ่มเรณูจากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดสำคัญของวิวัฒนาการของกล้วยไม้
7. เรณูจะรวมกันเป็นกลุ่มเรณู ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในวงศ์กล้วยไม้ ลักษณะนี้กับ rostellum จะเกี่ยวข้องกันอย่างมากในการถ่ายละอองเกสรโดยแมลงและนก ซึ่งจะพากลุ่มเรณูไปทั้งกลุ่ม ทำให้กล้วยไม้มีเมล็ดจำนวนมาก เนื่องจากเรณูไม่สูญเสียไปเหมือนพืชอื่น ๆ เมื่อฝักหรือผลแก่จะแตกออก เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กและมีอาหารสะสมเพียงเล็กน้อยจะปลิวกระจายไปตามลม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะงอกเป็นต้น

>>>สภาพความเป็นอยู่ของกล้วยไม้

กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอยู่ในธรรมชาติสามารถแบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโต ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. กล้วยไม้อากาศ (epiphyte) คือกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น ๆ โดยมีรากเกาะติดกับกิ่งไม้หรือลำต้น กล้วยไม้อากาศไม่ได้แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันขึ้นอยู่ แต่ได้รับอาหารจากซากอินทรีย์วัตถุ เช่น ใบไม้ที่ร่วงและผุพัง รวมทั้งซากแมลงที่หล่นและน้ำฝนชะมาอยู่บริเวณโคนต้นกล้วยไม้ รากกล้วยไม้อากาศชอบการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำที่ดี ผิวนอกของรากมีสารคล้ายฟองน้ำห่อหุ้มอยู่ซึ่ง เรียกว่า “velaman” ทำหน้าที่อุ้มน้ำจากน้ำฝนและน้ำค้างเก็บไว้เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ป้องกันเนื้อเยื่อภายในได้รับบาดแผลและช่วยยึดเกาะติดกับต้นไม้ นอกจากนี้รากกล้วยไม้มีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) จึงสามารถสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ได้ กล้วยไม้อากาศชนิดที่ต้องการแสงที่มีความเข้มสูงจะเจริญอยู่บริเวณยอดและกิ่งบน ๆ ของต้นไม้ที่มันเกาะอยู่ ส่วนกล้วยไม้อากาศชนิดที่ต้องการแสงความเข้มต่ำรวมทั้งพวกที่ไม่สามารถทนต่อสภาพแล้งก็จะเจริญอยู่ส่วนล่าง ๆ ของต้นไม้ที่มันเกาะอยู่ นอกจากนี้กล้วยไม้อากาศบางชนิดพบขึ้นอยู่ตามหินหน้าผา ซอกหิน หรือท่อนไม้ซุง

กล้วยไม้อากาศที่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นการค้าแยกได้เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตเป็นลำต้นเดี่ยวไม่มีการแตกกอ (monopodial) เช่น สกุลแวนด้า (Vanda) สกุลเข็ม (Ascocentrum) สกุลช้าง (Rhychostylis) สกุลกุหลาบ (Aerides) สกุลฟาเลนอปซิส (Phalaenopsis) ฯลฯ กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตเป็นกอ (sympodial) เช่น สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลออนซิเดียม (Oncidium) กลุ่มแคทลียา (Cattleya alliance) ฯลฯ

2. กล้วยไม้ดิน (terrestrial) พบขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ ส่วนมากเป็นพวกที่มีหัวอยู่ใต้ดินและเป็นพวกที่มีการพักตัวตลอดฤดูแล้ง โดยเหลือเพียงหัวฝังอยู่ใต้ดิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนจะผลิใบและช่อดอกและสร้างหัวใหม่ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เมื่อดอกโรยใบจะเหี่ยวแห้ง คงเหลือหัวฝังอยู่ในดินตลอดฤดูแล้ง เช่น กล้วยไม้สกุลฮาบีนาเรีย (Habenaria) สกุลเปคไตลิส (Pecteilis) ฯลฯ เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงในช่วงฤดูแล้งต้องแยกไว้ต่างหาก ไม่รดน้ำ เพราะจะทำให้หัวเน่า กล้วยไม้อีกประเภทหนึ่งเป็นพวกรากกึ่งดินคือกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.)

>>>กล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของกล้วยไม้เขตร้อน มีประมาณ 1,000 ชนิด กล้วยไม้ไทยมีความหลากหลายทั้งทางด้านรูปร่างและสีสันของดอกทรงต้น ใบ และสภาพที่อยู่อาศัย จึงได้มีการนำมาปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน และใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์สร้างลูกผสมที่เป็นที่นิยมมากมายทั้งเพื่อตัดดอกและเป็นไม้กระถาง

กล้วยไม้ไทยหรือกล้วยไม้ที่ได้จากป่าของประเทศไทยก็เหมือนกับกล้วยไม้ป่าจากที่ต่าง ๆ ของโลก ซึ่งมักจะออกดอกปีละครั้งเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากความสวยงามเฉพาะตัว ก็สามารถชดเชยเรื่องการออกดอกได้ และถ้าเลือกปลูกหลาย ๆ สกุลที่ฤดูออกดอกแตกต่างกันก็สามารถให้ดอกไว้เชยชมได้ตลอดทั้งปี

>>>กล้วยไม้ไทยที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงสามารถแยกตามสกุลได้ดังนี้

1. สกุลกุหลาบ (Aerides spp.)
2. สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.)
3. สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum spp.)
4. สกุลคาแลนเธ (Calanthe spp.)
5. สกุลซีโลจิเน (Coelogyne spp.)
6. สกุลซิมบิเดียม (Cymbidium spp.)
7. สกุลหวาย (Dendrobium spp.)
8. สกุลม้าวิ่ง (Doritis pulcherrima)
9. สกุลแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum speciosum)
10. สกุลฮาลีนาเรีย (Habenaria spp.)
11. สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.)
12. สกุลฟาเลนอปซิส (Phalaenopsis spp.)
13. สกุลรีแนนเธอร่า (Renanthera spp.)
14. สกุลช้าง (Rhychostylis spp.)
15. สกุลสแปทโธกลอตติส (Spathoglottis spp.)
16. สกุลเสือโคร่ง (Trichoglottis spp.)
17. สกุลแวนด้า (Vanda spp.)
18. สกุลแวนดอปซิส (Vandopsis spp.)
19. สกุล Paphiopedilum

กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ที่พบอยู่ในประเทศไทยตามธรรมชาติ มีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

  • Brachypetalum ประกอบด้วย รองเท้านารีฝาหอย รองเท้านารีดอกสีขาว รองเท้านารีสีครีม และรองเท้านารีเหลืองปราจีน ซึ่งเป็นหมู่ที่มีดอกที่มีฟอร์มกลม กลีบกว้างและมีใบลาย พบขึ้นอยู่ตามภูเขาหินปูนที่มีใบไม้ผุทับถมอยู่
  • พวกกลีบแคบและบิดเป็นเกลียว คือรองเท้านารีกาญจนบุรี
  • พวกที่มีใบสีเขียว ไม่มีลาย ได้แก่รองเท้านารีอินทนนท์ และรองเท้านารีเหลืองกระบี่
  • Otopedilum ได้แก่รองเท้านารีคางกบ และชนิดอื่น ๆ อีกที่เป็นพวกใบลายฤดูที่กล้วยไม้ชนิดนี้เจริญเติบโต ต้องให้น้ำมาก หากเครื่องปลูกระบายน้ำไม่ดีแล้ว ก็จะเกิดการเน่าและตายได้ ดังนั้นก่อนปลูกควรใส่อิฐมอญทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ ลงไปประมาณหนึ่งในสามของความลึกของกระถางเพื่อช่วยการระบายน้ำ

>>>สกุล Cattleyaในบรรดากล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ที่พบตามธรรมชาติทั่วโลก แคทรียานับได้ว่าเป็นสกุลกล้วยไม้ที่เป็นตัวแทนของกล้วยไม้ทั้งหมด จนกล่าวถึงแคทรียาว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้ แม้ว่าแคทรียาจะไม่ใช่กล้วยไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยก็รู้จักกล้วยไม้ชนิดนี้พร้อม ๆ กับการเลี้ยงกล้วยไม้ของเมืองไทย แคทรียาเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงเป็นแบบ Sympodial คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก ลำลูกกล้วยอ้วนป้อมพอสมควร หัวท้ายเรียว ใบเกิดที่ปลายลำลูกกล้วย ลำลูกกล้วยลำหนึ่ง ๆ อาจจะมีใบเดียว หรือสองใบก็ได้แล้วแต่ชนิด ใบที่เจริญเต็มที่จะมีลักษณะหนาและแข็งไม่มีกาบใบ แต่มีกาบลำหุ้มลำลูกกล้วยอยู่บาง ๆ ดอกจะเกิดที่ปลายลำลูกกล้วย ซึ่งมักจะปรากฏซองดอกก่อน แต่บางทีอาจจะไม่มีซองดอกก็ได้ ช่อดอก อาจจะมีดอกเพียงดอกเดียวหรือสองดอก สามดอก หรือบางชนิดอาจจะมีถึงสิบดอกก็ได้ กลีบนอกมี 3 กลีบขนาดเท่ากัน กลีบในสองกลีบโดยปกติมักใหญ่กว่ากลีบนอก แต่บางครั้งก็มีขนาดกว้างกว่ามาก ๆ ปากมีหูกว้าง ริมปากมักหยิกเป็นคลื่น เส้าเกสรค่อนข้างยาวและโค้กเล็กน้อย ที่ปลายมีกระเปาะครอบเกสรตัวผู้ ภายในมีก้อนละอองเกสรตัวผู้ 4 ก้อน แต่ละก้อนมีก้านเล็ก ๆ เรียวยาว ไม่มีฐาน ปัจจุบันนี้มีแคทรียาลูกผสมอยู่หลายชนิด และงดงามให้คุณลักษณะพิเศษมากมายล้วนงดงาม

>>>สกุล Vandaในบรรดากล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ในประเภท Monopodial ที่มีดอกสวยงามนั้น กล้วยไม้สกุลแวนด้าจัดว่าเป็นสกุลหลัก เนื่องจากมีลักษณะดีเด่นหลายประการ เช่นความสวยงามของดอก ขนาดที่ใหญ่ สีสดและแปลก ดอกบานทน ช่อดอกมีก้านแข็งตั้ง ช่อยาว และรูปทรงสวยได้สัดส่วน จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เมื่อก่อนเมื่อเอ่ยถึงแวนด้า เรามักจะหมายความถึงแวนด้าโจคิม ซึ่งนิยมปลูกลงแปลงออกดอกสะพรั่งอยู่ตามขอบสนามซึ่งใช้ตัดดอกใช้ร้อยเป็นชายพวงมาลัย แต่ปัจจุบันเราเลี้ยงกล้วยไม้กันมากขึ้นและก็ค้นพบว่า ป่าเมืองไทยเป็นแหล่งกล้วยไม้แวนด้าดี ๆ หลายชนิดที่ทั่วโลกต้องการ เช่นแวนด้าเทอเรศ ไม้จากป่าบ้านเราที่รู้จักกันในชื่อ "เอื้องโมก" นั่นเอง ยังมีไม้สวยเด่นที่เกิดจากป่าไม้เมืองไทยเราที่มีคุณลักษณะสวยคือพวกสีฟ้าเข้ม และสีฟ้าเย็นตา ที่เรียกกันว่า "ฟ้ามุ่ย" นั่นเอง

>>>สกุล Dendrobium (หวาย) ในบรรดากล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ทั้งหมด กล้วยไม้ในสกุลนี้ นับเป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีอยู่ตามธรรมชาติมากมายหลายชนิดกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น ๆ เราสามารถที่จะกำหนดหลักทั่วไปของสกุล dendrobium ไว้ดังนี้ คือ เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตและรูปทรงแบบ Sympodial ลักษณะทั่ว ๆ ไปของดอก กลีบนอกบนและกลีบนอกคู่ล่างยาวพอ ๆ กันแต่กลีบนอกบนอยู่อย่างอิสระเดี่ยว ๆ ส่วนกลีบนอกคู่ล่างมี่ส่วนโคนประสานติดกันตรงสันหลังของเส้าเกสร ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอก ส่วนโคนของกลีบนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันมีลักษณะคล้ายเดือยที่เราเรียกว่าเดือยดอก กลีบในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้

>>>สกุล Renenthera กล้วยไม้สกุลนี้เป็นกล้วยไม้สกุลที่มีแหล่งกำเนิดในเขตร้อนของเอเซีย จึงเหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงกล้วยไม้สกุลนี้มีการเจริญเติบโตและรูปทรงแบบเดียวกับแวนด้า คือเป็นแบบ Monopodial ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม เพราะมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การขยายพันธุ์ทำได้ง่ายโดยการตัดแยกยอดที่มีรากติดไปด้วย และใช้การแยกหน่อเช่นเดียวกับแวนด้า เราควรปลูกลงกระถางและมีหลักยึดประคองต้นไว้ หรือจะปลูกลงแปลงที่มีหลักยึดต้นให้ตั้งตรงด้วยอยู่ได้แต่การปลูกลงแปลงจะต้องระวังเรื่องเครื่องปลูกที่จะต้องระบายน้ำได้ดี และขุดเอาดินท้องแปลงออกเสียก่อนเพื่อมิให้เป็นที่สะสมเชื้อโรคและช่วยให้การระบายน้ำสะดวกยิ่งขึ้น กล้วยไม้สกุลนี้และลูกผสมในสกุลนี้ ส่วนมากจะให้ดอกที่มีสีสันสดใสน่าชม ช่อดอกยาว ดอกดกพรู สามารถใช้เป็นกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการค้าได้อีกชนิดหนึ่ง

>>>สกุล Aerides กล้วยไม้สกุลนี้ในภาษาไทยเรานิยมเรียกกันว่าสกุลเอื้องกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบ Monopodial เช่นเดียวกับสกุลแวนด้า เป็นกล้วยไม้ที่มีรากอากาศ ลำต้นมีลักษณะแข็ง บางชนิดมีลำต้นสั้น แต่มีใบยาวห้อย เช่นหนวดพราหมณ์ กล้วยไม้สกุลกุหลาบนี้ นอกจากจะเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายและงามน่ารักแล้วยังมีคุณค่าในด้านการผสมพันธุ์ทั้งที่ผสมภายในสกุลและผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ใน Monopodial ด้วยกัน ตัวอย่างกล้วยไม้ลูกผสมได้แก่ เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิดที่เลี้ยงง่ายเมื่อเลี้ยงแตกแขนงเป็นกอใหญ่ ๆ จะให้ดอกพรูครั้งละหลายสิบช่อพร้อม ๆ กัน นับว่าใช้เป็นกล้วยไม้กอใหญ่ได้ดีและมีคุณ ุ่ค่าในด้านการผสมพันธุ์กับกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง เอื้องกุหลาบนี้ให้ลูกผสมกระเป๋าเปิดหรือที่นิยมเรียกกันว่า พวงกุหลาบ ซึ่งดอกให้กลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีชนิดอื่น ๆ ที่สวยงามอีกเช่น เอื้องกุหลาบเหลือง เอื้องกุหลาบแดง เอื้องกุหลาบไอยรา เอื้องกุหลาบมาลัยแดง กุหลาบหนวดพราหมณ์ ฯลฯ

>>>สกุล Cymbidium กล้วยไม้สกุลนี้ เป็นกล้วยไม้ที่มีความแตกต่างกันภายในสกุลเดียวกันอย่างกว้างขวาง กล้วยไม้สกุลนี้เป็นกล้วยไม้ประเภท Sympodial มีลำลูกกล้วยหรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีหลักการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลแคทรียา ดังนั้นหลักเกณฑ์การปลูกและการขยายพันธุ์โดยทั่ว ๆ ไปสามารถยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับแคทรียา

>>>สกุล Rhynchostylis ในบรรดากล้วยไม้ป่าที่พบอยู่ตามธรรมชาตินั้น พวกที่มีดอกสวยงามจูงใจให้นิยมชมชื่นนั้น มีอยู่ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ประเภทช่องาม” กล้วยไม้ในสกุลนี้จะมีอยู่ไม่กี่ชนิด มีต้นกำเนิดในประเทศไทย รินคอสไตลิส เรทูซ่า หรือ ไอยเรศ เป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งสกุลเดียวกับช้าง เป็นกล้วยไม้ที่มีความงามน่าเลี้ยงลำต้นล่ำสันแข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง ขึ้นอยู่ตามป่าธรรมชาติในลักษณะยอดตั้งขึ้น หรือยอดเอียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นใหญ่ มักจะแตกแขนงต้นออกไปเป็นหลาย ๆ ยอดและเกิดเป็นกอใหญ่ ๆ ในประเทศไทยพบพันธุ์ที่มีสีขาว บางต้นก็มีสีขาวบริสุทธิ์ ซึ่งนับว่าหายากและมีค่ามาก

>>>สกุล Trichoglottis กล้วยไม้สกุลนี้ ลำต้นยาว ห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรืออาจเกาะขึ้นอยู่ตามต้นไม้ ใบยาวเรียวแหลม หรือริมใบขนานกั้น แล้วแต่ชนิด ช่อดอกสั้น บางชนิดมีดอกเดียว บางชนิดมีหลายดอกออกเบียดชิดกันและเรียงแถวตามความยาวช่อ ลักษณะประจำสกุลที่เด่นชัดคือ มีลิ้นอยู่ที่ถุงกระเป๋า เขี้ยวอยู่ที่ปลายเส้าเกสร และมีปลายแผ่นปากที่สลับซับซ้อน ที่รู้จักกัน เช่น เสือโคร่ง ซึ่งมีวิธีการปลูกเลี้ยงก็คล้ายกับการปลูกเลี้ยงแวนด้าชนิดใบกลมหรือใบร่อง อาศัยเกาะหลักเป็นเครื่องพยุงการทรงตัวของลำต้น เครื่องปลูกชั้นล่างใช้อิฐและถ่าน ชอบแสงแดดมาก

>>>สกุล Vandopsis กล้วยไม้สกุลนี้ เป็นสกุลธรรมชาติสกุลหนึ่งในประเภท Monopodial หรือประเภทเดียวกับสกุลแวนด้า แม้ว่าจะปรากฏในธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิดแต่ก็มีบทบาทสำคัญอยู่ในวงการกล้วยไม้มานานพอสมควร แม้ว่าจะปรากฏอยู่ในธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิด แต่ก็ได้มีผู้ผสมพันธุ์กล้วยไม้ ใช้ผลิตลูกผสมที่ให้ผลสวยงาม ได้รับความ นิยมแพร่หหลายมาแล้ว ตัวอย่างกล้วยไม้สกุลนี้ เช่น พญาฉัททันต์ กล้วยไม้เขาพระวิหาร ลิ้นกระบือ ลานนาไทย ฯลฯ

>>>สกุล Phalaenopsis เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบ Monopodial ที่มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์ กว้างขวาง อยู่ในบริเวณทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะใกล้เคียงมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากคุณลักษณะอันงามเด่นของดอกและช่อดอกเป็นที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่สนใจกล้วยไม้ทั่วไป ประกอบกับอุปนิสัยเลี้ยงง่าย สามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆกันอย่างกว้างขวาง การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนน็อปซีส หากปลูกลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรจะตั้งต้นกล้วยไม้ลงตรงกลางให้ระดับโคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้กล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอแต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นเกินไปหรือแฉะได้ การใส่เครื่องปลูกควรจะปลูกแต่พอเพียงแต่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนบริเวณโคนต้นเพราะจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ ฤดูการปลูกควรเป็นเวลาที่ก่อนจะย่างเข้าฤดูฝนประมาณเดือน มีนาคม ถ้าปลูกหลังจากย่างเข้าฤดูฝนแล้วบรรยากาศจะมีความชื้นสูงละกล้วยไม้กำลังอวบน้ำอาจทำให้ใบและยอดเน่าได้ง่าย แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กมีความไวต่อการเจริญเติบโตดีกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ก็ไม่สู้จะเกิดปัญหานัก ยิ่งถ้าหลังจากปลูกแล้ว เก็บไว้ในที่ปลอดฝนและประคับประคองพรมน้ำให้ทีละเล็กน้อยอย่าให้ชื้นมากก็น่าจะทำได้

>>>สกุล Arachnis กล้วยไม้ในสกุลนี้มักนิยมเรียกว่า สกุลแมลงปอ มีการเจริญเติบโตแบบ monopodial เช่นเดียวกับสกุลแวนด้า แต่ต้นมีทรงสูงชอบไต่ขึ้นต้นไม้หรือเกาะหลักต้นสามารถแตกแขนงจากตาซึ่งอยู่ตามข้อข้างๆลำต้นได้ง่าย การปลูก เช่นเดียวกับการปลูกแวนด้า โจคิมหรือแวนด้าใบร่อง ต้องปลูกในที่แจ้ง ได้แสงแดดตลอดวัน และมีเครื่องปลูกเก็บความชื้นมากๆ เช่นกาบมะพร้าว จึงจะให้ดอกได้ดกดี

>>>สกุล Doritis กล้วยไม้สกุลดอไรทิส เป็นกล้วยไม้ประเภท monopodial เช่นเดียวกับแวนด้าแม้ว่าจะเป็นกล้วยไม้สกุลเล็กๆและมีเพียงไม่กี่ชนิดในโลก ถึงกระนั้นประเทศไทยก็ยังเป็นแหล่งกำเนิดธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลดอโรทิส พูลเคอไรมา ซึ่งเป็นกล้วยไม้เด่นของสกุลนี้ ภาษาไทยเรียกกันว่า กล้วยไม้ม้าวิ่ง และแดงอุบล

>>>สกุล Ascocentrum กล้วยไม้พันธุ์หนึ่งที่มีความสำคัญอยู่หลายประการ เป็นกล้วยไม้แบบ มินิ หรือกล้วยไม้แบบกระเป๋า เพราะว่าเล็กทั้งขนาดลำต้น ช่อดอก และขนาดดอก ซึ่งเหมาะจะได้จะได้สัดส่วนแบบย่อส่วนลงมาทำให้ดูงามกะทัดรัด สามารถนำต้นซึ่งกำลังออกดอก ใช้ประดับห้องได้อย่างเหมาะสมไม่เกะกะ กล้วยไม้แบบกระเป๋านี้มีความเพี้ยนของสีอย่างกว้างขวางทำให้มีสีสันแปลกไปในแบบต่างๆ กล้วยไม้สกุลเข็มมีความได้เปรียบในเรื่องของสี คือมีสีสด สะดุดตา มากกว่าชนิดอื่นๆ จนสามารถเรียกได้ว่า เข็มเป็นราชินีของกล้วยไม้ในประเภทแวนด้าแบบกระเป๋า ในบรรดาชนิดต่างๆของกล้วยไม้สกุลเข็มที่พบในประเทศไทยนี้ นับว่าไม่ยากถ้าใช้ความชำนาญจากสายตา เพียงแค่ดูต้นและใบโยมิได้เห็นดอกจะบอกชื่อได้โดยถูกต้องซึ่งไม้ในสกุลนี้ได้แก่ เข็มแดง และลูกผสมอื่นๆของเข็มแดง , เข็มม่วง , เข็มแสด และ เข็มหนู

>>>สกุล Spathoglottis กล้วยไม้สกุลสแปโตกล็อตตีสนี้ นิยมเรียกกันว่า “ กล้วยไม้ดิน “ จนติดปาก แต่ความจริงเป็นเพียงสกุลหนึ่ง ของกล้วยไม้ดินเท่านั้น กล้วยไม้สกุลนี้มีการเจริญเติบโตแบบ sympodial มีลำลูกกล้วยป้อมมาก ซึ่งเรานิยมเรียกว่า หัว กล้วยไม้สกุลนี้เป็นกล้วยไม้สกุลที่ไม่เล็กนัก มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน มีอยู่มากทางภาคใต้ของประเทศไทย และแผ่เข้าไปในประเทศมาเลเซีย นอกจากพันธุ์ป่าแล้ว ก็มีพันธุ์ลูกผสมสวยๆ แพร่หลายอยู่มากในประเทศไทย

>>>โรงเรือนกล้วยไม้

กล้วยไม้ที่เรานำมาปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่ได้เจริญอยู่บนพื้นดินในที่กลางแจ้งเหมือนกับพืชไร่ พืชผักและไม้ผลทั่วไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมบางอย่างให้เหมาะสมหรืออาจเรียกได้ว่าสร่างบ้านที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้ เพื่อให้กล้วยไม้เจริญงอกงามได้ดี สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงสำหรับกล้วยไม้ในประเทศไทยได้แก่ แสงแดด 50-60 % อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 60-80 % การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศที่ดีในวัสดุปลูก (planting materials) และการหมุนเวียนของอากาศ (air movement) หรือลมที่พัดผ่านอ่อน ๆ รอบต้นและรากกล้วยไม้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สามารถที่จะกระทำได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือน ภายนอกอาคารบ้านเรือน และภายในโรงเรือนที่ใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้โดยเฉพาะ ปัจจัยสภาพแวดล้อม เนื่องจากกล้วยไม้ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นไม้เขตร้อน ดังนั้นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับอุณหภูมิจึงไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ
1. ความเข้มแสงแดด กล้วยไม้บางชนิดต้องการแสงแดดเต็มที่ แต่บางชนิดต้องการร่มเงามาก โครงสร้างของใบกล้วยไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการแสงแดด กล้วยไม้ใบหนาและใบกลมจะต้องการแสงแดดเต็มที่ เมื่อโครงสร้างใบเริ่มกว้างและนิ่มจะต้องการแสงแดดน้อยลง และเมื่อใบนิ่มสีเขียวมีแผ่นใบใหญ่จะต้องการร่มเงามาก ดังนั้นจึงควรเลือกตาข่ายพรางแสงให้แสงผ่านได้มากน้อยตามความต้องการของกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ
2. ความชื้น กล้วยไม้ส่วนใหญ่ต้องการความชื้นสูงและมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 60-80 % แต่ไม่ต้องการให้บริเวณรากชื้นแฉะจนเกินไปโดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศ กล้วยไม้ที่มีใบหนา ผิวใบหยาบรวมทั้งมีลำลูกกล้วย (pseudobulb) จะทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่ากล้วยไม้ที่มีใบบาง ผิวใบนิ่ม รวมทั้งไม่มีลำลูกกล้วย การปรับความชื้นภายในโรงเรือนให้เหมาะสมทำได้โดยการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม ปลูกกล้วยไม้ในปริมาณที่เหมาะสม และจัดการสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรือนให้มีความชื้นเพียงพอ
3. การเคลื่อนที่อากาศ กล้วยไม้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศเจริญตามกิ่งไม้ ดังนั้นบริเวณที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ควรมีการเคลื่อนที่ของอากาศที่ดี ต้นกล้วยไม้จึงจะเจริญเติบโตได้ดี

>>>โรงเรือน

ในการสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกกล้วยไม้นั้น จุดประสงค์เพื่อใช้จัดวางต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบสะดวกแก่การทำงานและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและ การออกดอกของกล้วยไม้ที่อยู่ในโรงเรือน ต้นกล้วยไม้ทุกชนิดมีความต้องการแสงแดดเพื่อใช้สังเคราะห์แสงสร้างอาหารนำไปใช้ในการเจริญเติบโต แต่ต้นกล้วยไม้ไม่สามารถทนต่อความร้อนที่มากับแสงแดดได้จึงจำเป็นต้องมีการพรางแสงเพื่อช่วยลดอุณหภูมิให้ต่ำลง โดยสร้างหลังคาโรงเรือนให้พรางแสงเหลือเพียงร้อยละ 50-70 ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิดและต้องมีการระบายอากาศดีไม่ให้ร้อนอบอ้าวแต่ไม่ควรให้ลมโกรกแรงเกินไปจนพัดพา ความชื้นไปหมด โครงสร้างโรงเรือนควรแข็งแรง

>>>โครงสร้างโรงเรือน

โรงเรือนสร้างได้เป็น 2 แบบ คือ

1. สร้างเป็นโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ แล้วใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำโครงหลังคา นิยมทำสำหรับกล้วยไม้สกุลหวาย เสาโรงเรือน ในกรณีสร้างเป็นโรงเรือนหลังใหญ่ ควรใช้เสาที่ทำด้วยคอนกรีตอัดแรงหรือแป๊บน้ำ เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ให้ฝังลงในดิน 50 เซนติเมตร ที่เหลือบนผิวดินยาวตามความสูงที่ต้องการ อาจใช้เสารั้วคอนกรีตอัดแรงยาว 2-3 เมตร แล้วต่อด้วยไม้เพื่อให้สูงตามต้องการ ไม่ควรใช้ไม้เพราะจะผุตรงคอดินและหักได้ง่าย เสาห่างกัน 6 เมตร เสาแถวริมต้องมีเสาค้ำยันเพื่อกันเรือนโยก

>>>หลังคาโรงเรือน

ปัจจุบันนิยมใช้ตาข่ายไนล่อนสีดำ ที่เรียกกันว่าซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากราคาถูกสร้างได้ง่ายและไม่เปลืองเสาเนื่องจากมีน้ำหนักเบาราคาตารางเมตรละ 8-15 บาท ทำคานที่หัวเสาซึ่งลวดเบอร์ 14 ตามความยาวของเรือนทุกระยะครึ่งเมตร การขึงตาข่ายไนล่อนสีดำ อาจทำโดย
1. เย็บติดเป็นผืนเดียวกัน แล้วเอาขึ้นคลุมหลังคาหรือขึงบนหลังคา แล้วจึงเย็บติดกันตรึงกับลวดเป็นระยะ ๆ เพื่อกันกระพือมีข้อเสียที่ไม่ต้านพายุอาจถูกพัดพังได้ง่าย
2. ขึงแต่ละผืนชิดกันหรือเว้นช่องว่างเล็กน้อย และตรึงกับลวดเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดแรงปะทะของลมพายุ
3. ขึงต่างระดับ ให้แต่ละแผ่น (หน้ากว้าง 2 เมตร) อยู่สลับกัน สูง – ต่ำ เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น และลดแรงปะทะของลมพายุ
การขึงซาแรน ต้องขึงให้ตึงและตรึงติดกับลวดให้เรียบร้อย อยู่ให้ทับหัวเสา เพราะจะขาดง่าย

อุณหภูมิ ภายนอกเรือนระหว่าง 11.00 - 18.00 น. จะสูงกว่าในโรงเรือนและตั้งแต่ 13.00 น. ภายในเรือนระแนงจะร้อนกว่า สำหรับความเข้มของแสงนั้น พบว่า การขึงซาแรน 2 ชั้น จะช่วยลดความเข้มของแสงน้อยกว่าชั้นเดียวตั้งแต่ 12.00 - 18.00 น. ในช่วงเช้าและบ่ายหลังคาซาแรนจะพรางแสงได้มากกว่า 50% ในช่วงเที่ยงวัน สำหรับหลังคาระแนงนั้น เมื่อวัดในช่วงสว่าง จะใกล้เคียงกับหลังคาซาแรน 1 ชั้น แต่ความเข้มของแสงไม่เท่ากับภายนอก เพราะระหว่างที่แสงส่องลงมา เมื่อผ่านไม้ระแนงจะเกิดเงามืด และทำให้รอบ ๆ เงามืดเป็นเงามัว ความเข้มของแสงจึงลดลงมากกว่าครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง หลังคาซาแรนและหลังคาระแนงแล้ว จะเห็นว่าต้นกล้วยไม้ใต้หลังคาซาแรนจะได้รับแสงสม่ำเสมอทุกจุดดีกว่าหลังคาระแนง ข้อดีและข้อเสียของการใช้ซาแรน
ข้อดี
1. ประหยัดโครงหลังคาและเสา ทำให้ต้นทุนการสร้างโรงเรือนลดลง
2. สร้างได้รวดเร็วและรื้อถอนได้ง่าย เมื่อไม่ต้องการใช้หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนใหม่
3. ราคาถูก
4. แสงแดดที่ผ่านซาแรนลงมาจะเฉลี่ยเท่ากันทุกจุดของพื้นที่ และสามารถควบคุมความเข้มแสงแดดได้ถูกต้อง เช่น กล้วยไม้สกุลหวายและกลุ่มแคทลียา ต้องการแสงแดดประมาณ 60 % กลุ่มแวนด้าต้องการแสงแดดประมาณ 50 % และลูกกล้วยไม้ต้องการประมาณ 20 %
5. มีอายุการใช้งานนานถึง 5 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพของซาแรนข้อเสีย1. ถ้าไม่มีทางเปิด อุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าปกติ และอากาศไม่ถ่ายเทเท่าที่ควร ทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตไม่ดี 2. ถ้าสร้างโรงเรือนในที่โล่งและมีลมพายุพัด อาจทำให้โรงเรือนล้มพังลงได้ถ้าโครงสร้างของโรงเรือนไม่แข็งแรงนัก

>>>พื้นโรงเรือน

พื้นโรงเรือนที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอก ส่วนทางเดินควรขุดในบริเวณใต้โต๊ะมาถมให้สูง เพื่อให้น้ำระบายได้เร็วและใต้โต๊ะจะกลายเป็นทางระบายน้ำ สภาพในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงนั้นดินเป็นดินเหนียว หลังจากรดน้ำหรือฝนตกทางเดินจะแฉะและลื่นมาก ถ้าใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินจะทำงานได้สะดวกขึ้น และลดอันตรายจากการล้ม การกำจัดวัชพืชที่พื้นเรือนนั้นใช้สารกำจัดวัชพืชดีกว่าการใช้แรงคน มีให้เลือกใช้หลายชนิดทั้งประเภททำให้ใบเหลืองแล้วแห้งตาย ชนิดคุมไม่ให้เมล็ดงอก ระวังขณะฉีดอย่าให้สารนี้กระเด็นมาโดนต้นกล้วยไม้ จะทำให้ใบไหม้ได้ มีสารบางชนิด เช่น ไซมาซิน สามารถฉีดไปที่โคนต้นกล้วยไม้ได้ โดยไม่ทำให้ต้นกล้วยไม้ตาย แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเครื่องฉีดสารฆ่าหญ้าต้องใช้แยกกับเครื่องรดปุ๋ยหรือสารกำจัดราและแมลง เพื่อกันไม่ให้สาร ฆ่าหญ้าที่ตกค้างในเครื่องฉีดไปเป็นพิษต่อต้นกล้วยไม้

>>>โต๊ะวางกล้วยไม้

สำหรับต้นกล้วยไม้ที่ปลูกโดยวางบนโต๊ะนั้น ทำโต๊ะสูง 70 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร และยาว 15-25 เมตร แล้วแต่ขนาดพื้นที่ เว้นทางเดินกว้าง 1-1.2 เมตร เพื่อความสะดวกในการทำงาน พื้นโต๊ะอาจใช้ไม้ไผ่ สายโทรศัพท์หรือลวดสลิงขึงตามความยาวของโต๊ะสำหรับไม้นั้นใช้ได้ดีที่สุดแต่มีราคาแพง ไม้ไผ่ผุง่าย สายโทรศัพท์ใช้ได้ทนทานแต่หย่อนได้ง่าย เมื่อต้นโตขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้น ถ้ามีผู้ดัดแปลงใช้เป็นเสาคอนกรีตอัดแรงท่อนเล็กกว่าเสารั้วมาใช้วาง จะลดต้นทุนในระยะยาวได้ ราวแขวนกล้วยไม้ สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้า แอสโคเซนด้าต้องปลูกในกระเช้า แล้วแขวนราวด้วยลวด ราวควรสูงจากพื้นดินประมาณ 2.5 เมตร ทำ 4 ราว ระยะห่างระหว่างราว 40-50 เซนติเมตร แล้วเว้นทางเดินประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นพวกแวนด้าต้นใหญ่ ราวต้องสูงกว่านี้ เพื่อไม่ให้รากระพื้นดิน พื้นเรือนควรถมทรายเพื่อให้ระบายน้ำดีและไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลงวัสดุปลูก (media) และภาชนะปลูก (containers) กล้วยไม้มีความจำเป็นสำหรับใช้ห่อหุ้มส่วนของรากและมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบราก รากทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (translocation) ไปยังส่วนของลำต้นเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตและพัฒนาออกดอกและให้ผล (ฝัก) นอกจากนี้กล้วยไม้ประเภทรากอากาศและกึ่งอากาศ (epiphyte) มีหน้าที่แตกต่างจากพืชตระกูลอื่น ๆ กล่าวคือ เซลรากกล้วยไม้มีคลอโรฟิลล์ (chlorophylls)จึงสามารถสร้างอาหารเองได้โดยวิธีการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) อาหารที่รากสร้างขึ้นจะนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ (metabolism) ในส่วนของรากเองและส่วนอื่น ๆ ที่ไม่มีการสังเคราะห์แสง

วัสดุปลูกหรือเครื่องปลูกมีหน้าที่ให้รากเกาะยึดเพื่อให้ลำต้นตั้งตรง ไม่โอนเอนหรือล้ม วัสดุปลูกยังทำหน้าที่สำหรับเก็บความชื้นและธาตุอาหารเพื่อให้รากดูดไปใช้ ขณะเดียวกันวัสดุปลูก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ ระบบราก การพิจารณาเลือกวัสดุปลูก ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติดังนี้

1. ช่วยให้ระบบรากและต้นกล้วยไม้เจริญงอกงามดี
2. หาได้ง่าย
3. ราคาไม่แพงนักหรือราคาเหมาะสม
4. ทนทานไม่ย่อยสลายเร็วเกินไป
5. ปราศจากสารพิษเจือปน
6. สะดวกต่อการใช้ปลูก

ชนิดและคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้ต้องคำนึงถึงลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. กล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศ (epiphytes) กล้วยไม้ประเภทนี้ต้องการวัสดุปลูกที่มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำที่ดี โดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศซึ่งมีรากขนาดใหญ่ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda spp.) สกุลช้าง (Rhynchostylis spp.) สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) สกุลกุหลาบ (Aerides spp.) ฯลฯ กล้วยไม้พวกนี้ต้องการการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำที่ดีมาก กล่าวคือ ขนาดวัสดุปลูกต้องมีขนาดใหญ่และไม่อุ้มน้ำมากนัก และถ้าสามารถรดน้ำได้ บ่อยๆ หรือบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นสูงพอก็ไม่ต้องใช้วัสดุปลูก วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้แก่
1.1 ออสมันด้า เป็นรากเฟิร์นสกุลออสมันด้า (Osmunda spp.) มีลักษณะเป็นเส้นฝอย (fiber) มีข้อดี คือ มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำดีมากแม้ว่าจะอัดแน่น จึงไม่มีปัญหาเรื่องให้น้ำมากเกินไป เก็บน้ำได้ดีประมาณ 140% ของน้ำหนักตัวเอง มีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบซึ่งรากกล้วยไม้สามารถจะดูดไปใช้ได้และมีน้ำหนักเบา จึงสะดวกในการเคลื่อนย้าย แต่มีข้อเสียคือ หาได้ยาก ราคาแพง และใช้งานยากเนื่องจากต้องตัดแยกเสียเวลานาน ออสมันด้าใช้ได้ดีกับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศทุกชนิด แต่เนื่องจากมีราคาแพงมากจึงมักนิยมใช้กับกล้วยไม้ที่มีราคาแพงและต้นกล้าของกล้วยไม้รากอากาศ ซึ่งรากมีขนาดใหญ่และต้องการการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำที่ดี
1.2 ถ่าน เป็นวัสดุปลูกที่ได้จากการเผาไม้เนื้อแข็งมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบไม่มีแร่ธาตุอื่น ๆ เมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้ครบถ้วน ถ่านไม่ย่อยสลายมีน้ำหนักเบา ไม่มีปัญหาเรื่องรดน้ำเนื่องจากมีการระบายน้ำดี ถ่านเป็นวัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรากและต้นกล้วยไม้รองจากออสมันด้า แต่มีข้อที่ดีกว่าคือ ราคาไม่แพงนักและสะดวกในการใช้ปลูก ถ่านที่ใช้จะทุบให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.5-2 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของราก ถ้ารากมีขนาดเล็กก็ใช้ถ่านที่มีขนาดเล็ก
1.3 กาบมะพร้าว เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย จึงนิยมใช้ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเพื่อการค้า ข้อเสียของกาบมะพร้าวคือ ถ้ารดน้ำมากเกินไปกาบมะพร้าวจะอุ้มน้ำไว้มาก และอาจทำให้รากเน่าได้ง่าย นอกจากนี้ กาบมะพร้าวย่อยสลายเร็วจึงต้องเปลี่ยนวัสดุปลูกบ่อย ๆ การปลูกด้วยกาบมะพร้าวสามารถตัดขนาดต่าง ๆ ได้ตามต้องการ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ในภาชนะปลูกอีกทีหนึ่ง รูปร่างและขนาดของกาบมะพร้าวที่ใช้มีดังนี้
1.3.1 ลูกอัดกาบมะพร้าวขนาดประมาณ 1 นิ้ว ใช้ปลูกลูกกล้วยไม้ที่เพิ่มเอาออกจากขวดหรือจากกระถางหมู่
1.3.2 ลูกอัดกาบมะพร้าวขนาดประมาณ 4 นิ้ว และใช้ลวดรัดไว้กับต้นที่โตพร้อมจะออกดอกหรืออาจจะใส่ลงกระถางขนาด 4 นิ้วอีกทีหนึ่ง
1.3.3 กาบมะพร้าว ใช้วางบนโต๊ะแล้วเอาต้นกล้วยไม้วางข้างบน อาจจะเจาะรูบนกาบมะพร้าวเพื่อฝังต้นไม่ให้ล้ม หรือใช้เลือก ลวด หรือสายโทรศัพท์ ขึงเป็นแนวยาวตามความยาวงโต๊ะแล้วใช้ลวดรัดต้นกับเชือก วิธีนี้มักใช้ในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอก
1.3.4 กระบะกาบมะพร้าวขนาด 24x32 ตารางเซนติเมตร ใช้กับต้นที่โตพอสมควรแต่ละกระบะจะปลูกได้ 4-5 ต้น แล้วางกระบะลงบนโต๊ะให้แต่ละกระบะมีระยะห่างพอสมควร วิธีนี้ใช้ในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอก
1.4 อิฐหักหรือกระถางแตก เก็บความชื้นได้ดี ไม่ย่อยสลายแต่มีน้ำหนักมาก ทำให้ใช้แรงงานมากในการปลูกและการเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ถ้าตั้งต้นกล้วยไม้บนโต๊ะหรือแขวนบนราว โครงสร้างของโต๊ะที่วางหรือราวที่ใช้แขวนต้องมีความแข็งแรงมากกว่าการใช้ออสมันด้าหรือถ่าน ซึ่งทำให้ต้นทุนโครงสร้างสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำขึ้นที่ผิววัสดุปลูกและรากกล้วยไม้ ถ้าบริเวณที่ปลูกมีความชื้นสูงมากทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของรากลดลง กล้วยไม้จึงไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นวัสดุปลูกพวกนี้จึงมักใช้กับกล้วยไม้ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินเป็นแปลงใหญ่เพื่อช่วยระบายน้ำ
1.5 โฟม เป็นวัสดุเหลือใช้ที่ใช้ห่อหุ้มสินค้า ตัดให้มีขนาดพอเหมาะแล้วใส่ในกระถางแทนวัสดุปลูกอื่น ๆ มีผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ใช้โฟมเป็นวัสดุปลูกปรากฏว่าการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากการใช้วัสดุปลูกอื่น ข้อดีของโฟมคือ มีน้ำหนักเบา ไม่อุ้มน้ำแต่ช่องว่างระหว่างก้อนโฟมสามารถเก็บความชื้นได้ดี มีความยืดหยุ่นทำให้ยืดต้นได้ดีไม่โอนเอน และรากสามารถแทงผ่านก้อนโฟมได้ นอกจากนี้มีราคาถูกมาก หรืออาจจะได้เปล่าและช่วยลดปริมาณขยะจากโฟม

2. กล้วยไม้ดิน (terestrials) พบขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ (organic matter) ดังนั้น วัสดุปลูกที่ใช้ คือ ดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์และอาจมีถ่านหรืออิฐหักปนบ้างเพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดีขึ้น

>>>ภาชนะปลูก

ภาชนะปลูกกล้วยไม้ควรจะมีขนาดเหมาะสมกับต้นกล้วยไม้กล่าวคือ ถ้าต้นมีขนาดเล็กต้องใช้ภาชนะขนาดเล็ก ถ้าใช้ภาชนะที่ใหญ่เกินไปต้นจะเน่าแฉะตาย เนื่องจากการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี นอกจากนี้ถ้าต้นเล็กปลูกในภาชนะขนาดเล็กจะออกดอกเร็วกว่าการปลูกในภาชนะขนาดใหญ่ หลังจากปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลาย ๆ ปี ควรจะเปลี่ยนวัสดุปลูกและภาชนะปลูกใหม่ เนื่องจากต้นกล้วยไม้อาจจะเจริญเติบโตล้นกระถางออกมา หรือวัสดุปลูกเก่าผุ มีตะไคร่ขึ้นอาจจะสะสมโรคและแมลง ทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าได้เปลี่ยนใหม่จะเจริญเติบโตดีขึ้น สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้างและสกุลฟาแลนน๊อปซิส ไม่ควรตัดรากเก่าและไม่ให้รากหัก เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นกล้วยไม้กลุ่มนี้จึงไม่ควรเปลี่ยนกระถาง แต่ควรใส่ซ้อนลงในกระถางใหม่ที่ใหญ่ขึ้น ชนิดของภาชนะปลูกจำแนกได้ดังนี้
1. ปลูกเลี้ยงแบบธรรมชาติ กล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศสามารถปลูกโดยมัดรากให้เกาะกับเปลือกท่อนไม้ หรือใช้หมากฝรั่งที่รับประทานแล้วติดลำต้นกับเปลือกท่อนไม้ซึ่งสะดวกและอยู่ได้อย่างถาวร กิ่งหรือลำต้นหลังจากปลูกต้องรดน้ำให้ชื้นเสมอหรือปลูกในช่วงฤดูฝน เพียง 2-3 เดือนรากก็จะเจริญยืดยาวไปตามเปลือกไม้และเกาะยึดแน่น จากนั้นจึงเอาเชือกหรือลวดที่รัดรากไว้ออก สำหรับกล้วยไม้ดินก็สามารถปลูกในแปลงดินได้แต่ต้องดูเรื่องการระบายน้ำและสามารถควบคุมการให้น้ำได้ เนื่องจากในช่วงพักตัวจะไม่ต้องการน้ำ
2. กระเช้าไม้ ควรใช้กระเช้าไม้สักเนื่องจากมีความคงทนกว่าไม้ชนิดอื่น ขนาดของกระเช้าก็เลือกให้เหมาสมกับขนาดของต้น กระเช้าไม้เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เนื่องจากมีความโปร่งจึงระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี อาจใช้ถ่านทุบใส่เป็นวัสดุปลูกเพื่อเก็บความชื้น แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่วัสดุปลูกเลย ส่วนกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น สกุลหวาย (Dendrobium spp.) ประเภทแคทลียา (Cattleya alliance) และสกุลออนซิเดียม (Oncidium spp.) สามารถปลูกในกระเช้าไม่ได้เช่นกัน แต่ต้องมีถ่านทุบใส่เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นบริเวณราก ในปัจจุบันมีการผลิตกระเช้าพลาสติกมีสีสันให้เลือกหลายสี และมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกระเข้าไม้ ซึ่งก็สามารถใช้เป็นภาชนะปลูกได้ดี แต่ความคงทนขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติก
3. กระถางดินเผา กระถางที่ใช้กับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศจะมีการเจาะรูด้านล่างและด้านข้าง เพื่อการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ วัสดุปลูกขนาดของกระถางที่ใช้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1.5 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว 4 นิ้ว 5 นิ้ว และใหญ่กว่านี้ นอกจากนี้ยังมีกระถางทรงสูงและทรงเตี้ย วัสดุปลูกที่นิยมใช้กับกระถางดินเผา คือ ถ่านทุบ ออสมันด้า และกาบมะพร้าว ส่วนกล้วยไม้ดินจะปลูกในกระถางดินเผาที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งกระถางจะเจาะรูระบายน้ำเฉพาะที่ก้นกระถาง ในปัจจุบันมีการผลิตกระถางพลาสติกมีสีสันให้เลือกหลายสี และมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกระถางดินเผา ซึ่งก็สามารถใช้เป็นภาชนะปลูกได้ดี แต่ความคงทนขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติก
4. กาบมะพร้าว สามารถนำมาเป็นวัสดุปลูกได้หลายรูปแบบ โดยตัดเป็นรูปต่าง ๆ ตามความต้องการหรืออาจจะใช้ลูกมะพร้าวทั้งลูก

>>>การดูแลรักษา

 

>>>การดูแลรักษา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จำเป็นต้องให้น้ำและอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ ในธรรมชาติกล้วยไม่ได้รับน้ำอย่างเหมาะสมจากความชื้นในสภาพป่า จากน้ำฝนและจากวัสดุที่รากกล้วยไม้เกาะยึดและเจริญอยู่ และในขณะเดียวกัน ก็ได้รับอาหารจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ (organic matter) บริเวณรอบ ๆ รากและจากน้ำฝน แต่เมื่อมนุษย์นำกล้วยไม้ป่า (wild species) มาปลูกเลี้ยงในสภาพที่แตกต่างจากธรรมชาติจึงจำเป็นต้องให้น้ำและอาหาร(ปุ๋ยหรือแร่ธาตุ)นอกจากนี้กล้วยไม้พันธุ์การค้า (cultivars) หรือลูกผสม (hybrids)มักต้องการน้ำและอาหารสูงกว่ากล้วยไม้ที่เจริญอยู่ในป่า เนื่องจากพันธุ์การค้าหรือลูกผสมได้จากการคัดเลือกต้นที่มีการปรับตัวดีในสภาพการเจริญเติบโตในโรงเรือนที่ให้น้ำและปุ๋ยสูง เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตรวดเร็ว ให้ผลผลิตดอกสูงและออกดอกบ่อยครั้ง ดังนั้นการให้น้ำและอาหารแก่กล้วยไม้จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้

>>>น้ำ

คุณภาพน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้เป็นอย่างมาก น้ำฝนถือว่าเป็นน้ำที่คุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลองและน้ำประปา แต่น้ำประปาจากบ่อบาดาลใหม่อาจมีเกลือแร่ในธรรมชาติที่ทำให้การเจริญเติบโตของกล้วยไม้ผิดปกติ ในปัจจุบันปัญหามลพิษจากอากาศและน้ำในบางท้องที่ อาจทำให้น้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำลำคลองใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อรดน้ำต้นกล้วยไม้แล้วพบอาการผิดปกติของต้น ควรจะนำน้ำไปตรวจสอบคุณภาพ คุณภาพน้ำที่ดีควรจะมีค่า pH เป็นกลางคือประมาณ 7 ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ถ้าค่าไม่เป็นกลางต้องปรับด้วยกรดหรือด่างจนมีค่าเป็นกลาง นอกจากนี้ค่า conductivity หรือค่าที่แสดงปริมาณที่เกลือละลายอยู่ควรจะมีค่าน้อยกว่าช่วง 125-200 mho ถ้าค่าสูงมักเป็นน้ำกระด้างมีผลให้ต้นกล้วยไม้ไม่เจริญเติบโต ทางแก้อาจใช้วิธี deionization หรือ reverse osmosis วิธีแรกมีราคาแพง แต่ทั้งสองวิธีจะได้น้ำในปริมาณไม่มากนัก ถ้าปลูกกล้วยไม้จำนวนมากจะไม่พอใช้ ถ้าสังเกตจากธรรมชาติเมื่อเวลาฝนตกจะเห็นว่า น้ำฝนที่ตกลงมาบนยอดต้นไม้และกิ่งก้านใบด้านบนสุด จะไหลลงตามลำดับจากกิ่งก้านขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ก้านใบหลัก ก้านใบย่อย แผ่นใบและปลายใบ เมื่อน้ำฝนไหลไปถึงปลายใบซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับรางน้ำฝน น้ำก็จะไหลลงสู่พื้นดินเฉพาะบริเวณรอบ ๆ เส้นรอบวงของทรงพุ่มต้นไม้นั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่รากฝอยเจริญเติบโตและเป็นรากที่สามารถดูดน้ำและสารละลายแร่ธาตุจากดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้ำฝนจะกระจายไปทุกส่วนของต้นไม้เพื่อทำความสะอาดใบและชะล้าง รวมทั้งส่งแร่ธาตุในน้ำฝนเองและที่ติดอยู่ตามกิ่งและใบให้ไหลลงสู่พื้นดินเฉพาะในบริเวณเส้นรอบวงของทรงพุ่ม ซึ่งทำให้ได้น้ำในปริมาณมาก เพียงพอที่รากฝอยดูดน้ำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และยังได้รับสารละลายแร่ธาตุจากดิน ใบและน้ำฝน จากที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถปรับการได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติเข้ากับวิธีการให้น้ำกล้วยไม้ได้ โดยรดน้ำบริเวณส่วนยอด น้ำก็จะไหลตามใบบนสุด ลงสู่กาบใบ สู่ลำต้นด้านล่าง แล้วน้ำก็จะไหลกระจายไปตามรากทั้งหมดทุก ๆ ราก วิธีนี้จะเป็นการรดน้ำที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ทุก ๆ ส่วนของต้นไม้จะได้รับน้ำ น้ำจะช่วยทำความสะอาดใบ ลำต้นและราก ชะล้างฝุ่นผงต่าง ๆ ทำให้การสังเคราะห์แสงและการหายใจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่วนของรากก็สามารถดูดซับน้ำไปใช้ได้ดียิ่งขั้น

การให้น้ำกล้วยไม้มีหลายวิธีด้วยกัน ถ้าปลูกกล้วยไม้ไม่มากนักก็อาจใช้บัวรดน้ำ แต่ถ้าปลูกปริมาณมากควรใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำประปา หรือต่อจากเครื่องสูบน้ำและใช้แรงงานคนเดินลากสายยาง ส่วนปลายสายยางก็ติดหัวบัว เพื่อให้น้ำที่ไหลออกมาเป็นฝอยไม่กระแทกต้น ใบและดอกจนได้รับความเสียหาย หรือทำให้ต้นหลุดออกไปจากเครื่องปลูก ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่และขาดแคลนแรงงาน ก็อาจเดินท่อและติดหัวสปริงเกอร์ (spinkler) ใช้แรงดันจากเครื่องสูงน้ำ และเปิด-ปิดเป็นเวลาตามที่ต้องการ ก็จะช่วยลดการใช้แรงงานลง การให้น้ำควรกระทำในตอนเช้าหากมีฝนตกชุกในช่วงนั้นอาจงดการให้น้ำ ในช่วงแล้งอาจเพิ่มการให้น้ำในตอนบ่าย ประมาณบ่าย 3-4 โมงเย็น แต่ไม่ควรให้น้ำจนแฉะในข่วงเย็น เพราะอาจทำให้รากและต้นกล้วยไม้เน่าได้ง่าย เนื่องจากความชื้นในเครื่องปลูกมีอยู่สูง การเข้าทำลายของโรคหลายชนิดจึงเป็นไปได้ง่ายขึ้น
ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การอุ้มน้ำของวัสดุปลูก ชนิดและเขนาดของภาชนะปลูก ความชื้นรอบ ๆ บริเวณที่ปลูกเลี้ยง แสงแดด อุณหภูมิและการเคลื่อนที่ของอากาศ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตุข องผู้รดน้ำ สิ่งที่ควรคำนึงถึงเสมอ คือ ต้นกล้วยไม้มีโอกาสตายและชะงักการเจริญเติบโตได้ง่ายเมื่อให้น้ำมากเกินไป แต่ขณะเดียวกันถ้าไม่รดน้ำต้นกล้วยไม้นานถึง 1 สัปดาห์ ต้นกล้วยไม้ก็ยังคงเจริญเติบโตต่อไปได้ ดังนั้นควรรดน้ำให้เครื่องปลูกชื้นแต่ไม่แฉะและควรจะมีช่วงที่รากแห้งบ้าง เนื่องจากต้นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นชนิดรากอากาศและกึ่งอากาศ (epiphyte) ธาตุอาหารกล้วยไม้

>>>อาหารกล้วยไม้แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อาหารพวกแป้งและน้ำตาล กับอาหารพวกแร่ธาตุ กล้วยไม้จะสร้างอาหารพวกแป้งและน้ำตาลขึ้นเองจากกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น แสงแดด ความชื้น ความสมบูรณ์ของต้นกล้วยไม้เอง ฯลฯ อาหารพวกแร่ธาตุ ซึ่งกล้วยไม้ได้จากการดึงดูดในส่วนของรากและใบ มีอยู่ทั้งหมด 16 ธาตุ คือ คาร์บอน , ไฮโดรเจน , ออกซิเจน , ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส , โปแตสเซียม , แคลเซียม , แมกนีเซียม , ซัลเฟอร์ , เหล็ก , แมงกานีส , โมลิบดินัม , ทองแดง , โบรอน , คลอรีน และสังกะสี (เรียงตามลำดับความต้องการจากปริมาณมากไปหาน้อย) คาร์บอน , ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน เป็นธาตุที่ได้จากอากาศและน้ำ จึงไม่มีปัญหาในการขาด แต่ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียมเป็นธาตุที่ต้องการมากรองลงมาและมักพบว่าขาดแคลน เนื่องจากเครื่องปลูกกล้วยไม้ไม่มีแร่ธาตุเหล่านี้ ดังนั้น จึงต้องให้ในรูปปุ๋ย (fertilizer) ส่วนธาตุอื่น ๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และ ซัลเฟอร์ อาจจะพบผสมอยู่ในปุ๋ยบ้าง ส่วนธาตุอื่น ๆที่เหลือแม้ต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็มีความสำคัญมากพอ ๆ กับธาตุที่กล่ามาแล้ว แร่ธาตุพวกนี้จะพบอยู่ในฝุ่นละอองและในน้ำ ความสำคัญของธาตุอาหาร จากการวิเคราะห์พืชทางเคมีพบว่ามีธาตุต่าง ๆ มากมาย แต่ธาตุที่พบก็ไม่ได้จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชทั้งหมด ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชจะต้องช่วยให้พืชเจริญเติบโตจนครบวงจร (life cycle) ไม่มีธาตุอื่นใดทำหน้าที่ทดแทนได้และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชซึ่งยอมรับกันมีเพียง 16 ธาตุตามที่อ้างถึงในข้างต้น ธาตุแต่ละอย่างเป็นองค์ประกอบในเซลและมีการทำงานในเซลและต้นพืชทั้งระบบที่แตกต่างกันไป ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมากคือ ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส , โปแตสเซียม , แคลเซียม , แมกนีเซียม และ ซัลเฟอร์ ต้องให้ในรูปของปุ๋ย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ปลูกกล้วยไม้ในดิน จึงไม่ได้รับธาตุอาหารจากดิน ส่วนธาตุคาร์บอน , ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน พบอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซ CO2 และ O2 และพบอยู่ในน้ำ จึงไม่พบปัญหาในการขาดธาตุทั้ง 3 นี้ และธาตุทั้ง 3 เป็นองค์ประกอบถึง 94 - 99.5 % ของน้ำหนักสดพืช ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย คือ เหล็ก , แมกกานีส , สังกะสี , โบรอน , ทองแดง ,โมลิบดินัม และ คลอรีน ไม่ได้หมายความว่าธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชน้อยไปกว่าธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก ความจริงแล้วธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชเท่า ๆ กัน จะต่างกันก็แต่ปริมาณที่พืชต้องการเท่านั้น ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมักจะพบปนอยู่กับปุ๋ยที่ใช้ หรืออาจจะละลายอยู่ในน้ำ จึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยเฉพาะที่มีธาตุเหล่านี้อยู่ ยกเว้นในบางกรณีที่กล้วยไม้แสดงอาการขาดอย่างเห็นได้ชัด ข้อควรทราบเกี่ยวกับปุ๋ยกล้วยไม้

1. ชนิดปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยกล้วยไม้หลายชนิดแยกเป็นชนิดหลัก ๆ ได้ดังนี้

1.1 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีสำหรับใช้รดใบและราก ธาตุที่เป็นองค์ประกอบจะประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม เรียงตามลำดับในสูตรปุ๋ย อัตราที่ใช้จะต้องไม่เข้มข้นจนเกินไปมิฉะนั้นจะทำให้ใบและรากไหม้ เนื่องจากความเค็มหรือความเข้มข้นของปุ๋ยจะดึงน้ำออกจาเซลมากเกินไปจนเซลเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด ความเข้มข้นที่ใช้จะใช้ประมาณ 20 - 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปีบ) ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเจริญเติบโตของกล้วยไม้และฤดูกาล ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อีกชนิดหนึ่งเป็นปุ๋ยละลายช้า (slow-released fertilizer) ซึ่งจะละลายหมดใน 3 เดือน หรือ 6 เดือน ปุ๋ยชนิดนี้สามารถให้ต้นกล้วยไม้ได้เนื่องจากผิวนอกของปุ๋ยเป็น membrane จึงไม่ทำให้รากไหม้เมื่อสัมผัสกับเม็ดปุ๋ย ซึ่งข้ามกับปุ๋ยเม็ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้กับไม้ยืนต้น พืชผัก และข้าว ซึ่งไม่สามารถใช้กับกล้วยไม้ได้
1.2 สารอินทรีย์ที่ซับซ้อน สารพวกนี้จะมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์หลายอย่าง เช่น กรดอะมิโนแอซิด ไวตามิน และแร่ธาตุหลาย ๆ อย่าง สำหรับการใช้ต้องมีการทดลองก่อนว่าควรใช้เมื่อไร อัตราเท่าไรกับกล้วยไม้ชนิดใด
1.3 สารเร่งการเจริญเติบโต สารพวกนี้จะช่วยเร่งการออกราก การเจริญเติบโตของต้น ยอดและการออกดอก ซึ่งต้องมีการทดลองก่อน มีผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลายรายได้ใช้สารพวกนี้เป็นประจำและให้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่วิธีการใช้ก็ยังคงเป็นความลับของแต่ละสวนกล้วยไม้
1.4 ปุ๋ยปลา นำมาละลายน้ำตามอัตราที่แนะนำในสลาก ก็ช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดี

2. สูตรปุ๋ย สูตรปุ๋ยกล้วยไม้มีมากมาย แต่สามารถแยกเป็นกลุ่ม ๆ ตามอัตราส่วนของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ตัวอย่างสูตรปุ๋ย 20-20-20 เป็นปุ๋ยที่มีอัตราส่วนของไนโตเจน ต่อ ฟอสฟอรัส ต่อ โปแตสเซียม เท่ากัน คือต่างเท่ากับหนึ่ง โดยมี ไนโตรเจน 20 กรัม ฟอสฟอรัส 20 กรัมและโปแตสเซียม 20 กรัม ในปริมาณปุ๋ยหนัก 100 กรัม น้ำหนักที่ไม่ได้เป็นปุ๋ย 40 กรัม เป็นสารบางอย่างซึ่งไม่มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อกล้วยไม้ แต่ช่วยเพิ่มให้มีน้ำหนักครบตามจำนวน สูตรปุ๋ยแยกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้

2.1 ปุ๋ยสูตรเสมอ มีอัตราส่วนเป็น 1-1-1 เป็นปุ๋ยที่ใช้ทั่ว ๆ ไปในระยะการเจริญเติบโตทุกระยะ ไม่ได้เน้นเจาะจงที่จะเร่งการเจริญเติบโตเฉพาะอย่าง เช่น ปุ๋ย 20-20-20 ปุ๋ย 30-30-30
2.2 ปุ๋ยสูตรไนโตรเจนสูง มีอัตราส่วน 3-1-1, 3-2-1, 2-1-1 หรือ 3-2-2 ปุ๋ยสูตรนี้จะเร่งการเจริญเติบโตของต้น เหมาะที่จะใช้กับต้นเล็กและถ้าใช้วัสดุปลูกประเภทเปลือกไม้ต้องใช้ปุ๋ยสูตรนี้ เนื่องจากเปลือกไม้จะดูดธาตุไนโตรเจนไว้ส่วนหนึ่ง
2.3 ปุ๋ยสูตรฟอสฟอรัสสูง มีอัตราส่วน 1-3-1 , 1-2-1 หรือ 1-3-2 ปุ๋ยสูตรนี้จะเร่งการเจริญเติบโตของราก และส่งเสริมการออกดอก เหมาะที่จะใช้กับต้นเล็กเพื่อเร่งระบบรากและต้นที่โตเต็มที่เพื่อเร่งการออกดอก
2.4 ปุ๋ยสูตรโปแตสเซียมสูง มีอัตราส่วน 1-1-3 , 1-2-3 หรือ 2-2-

3 ปุ๋ยสูตรนี้จะช่วยให้กล้วยไม้ที่แทงช่อดอกแล้วให้ดอกที่มีคุณภาพดี เนื่องจากโปแตสเซียมจะช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล และช่วยให้ความแข็งแรงแก่เซลและต้นกล้วยไม้ 3. วิธีการให้ปุ๋ย ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะผสมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ชนิดละลายได้ดีกับน้ำในโอ่งหรือในถังซีเมนต์ขนาดใหญ่ ถ้าปลูกเลี้ยงจำนวนน้อยก็ใช้ภาชนะขนาดเล็กลง จากนั้นจึงให้น้ำที่ผสมปุ๋ยผ่านสายยางมายังหัวฉีด เพื่อให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึง

3.1 ควรให้ปุ๋ยเมื่อรากและเครื่องปลูกไม่แห้งจนเกินไป กล่าวคือควรให้ปุ๋ยหลังจากรดน้ำไม่นานนัก ซึ่งรากและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ เพื่อให้ปุ๋ยสามารถแพร่กระจายได้ทั่วถึง รากที่เปียกจะดูดปุ๋ยได้ดีกว่ารากแห้ง มิฉะนั้นต้องให้น้ำที่ผสมปุ๋ยจนชุ่มโชก ปุ๋ยส่วนใหญ่ก็จะไหลลงสู่พื้นดิน ไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นกล้วยไม้ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
3.2 ควรให้ปุ๋ยบริเวณ ราก ลำต้น และใบ ตามที่กล่าวข้างต้นเกี่ยวกับการรดน้ำกล้วยไม้ การให้ปุ๋ยก็ควรให้เหมือนการรดน้ำ โดยฉีดจากส่วนยอดต้นกล้วยไม้ให้ชุ่มโชกในตอนเช้าที่แดดไม่จัด เพื่อให้ปุ๋ยไหลลงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและระเหยช้าบริเวณราก ลำต้นและใบเป็นบริเวณที่สามารถดึงดูดแร่ธาตุ-ไปใบ้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะส่วนของราก การให้ปุ๋ยไม่ควรให้โดนดอกเพราะจะทำให้ดอกด่าง

4. ระยะการเจริญเติบโตและการพัฒนากล้วยไม้ ต้นกล้วยไม้ระยะต่าง ๆ ต้องการธาตุอาหารแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งแยกการให้ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตและการพัฒนากล้วยไม้ได้ดังนี้

4.1 ลูกกล้วยไม้ เป็นระยะต้นกล้าที่เพิ่มเอาออกจากขวด ต้องการการเจริญเติบโตทางต้น ใบและรากอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงเพื่อเตรียมการออกดอกต่อไป จึงควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อเร่งต้นและใบ และปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งระบบราก ซึ่งอาจจะให้ปุ๋ยอัตรา 3-1-1 และ 1-2-1 อย่างละครั้งต่อเดือน และให้ปุ๋ยสูตรเสมอ (1-1-1) 2 ครั้งต่อเดือน จนครบ 4 ครั้งต่อเดือน หรือสัปดาห์ละครั้ง ควรให้ปุ๋ยในอัตราประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในฤดูฝนอาจให้เพิ่มขึ้น
4.2 ไม้รุ่น คือต้นกล้วยไม้ที่มี 4 ลำขึ้นไปและใกล้ออกดอก ระยะนึ้ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งการแทงช่อดอก ควรให้ปุ๋ยอัตรา 1-2-1 2 ครั้ง และปุ๋ยอัตรา 1-1-1 2 ครั้ง ใน 1 เดือน โดยให้ในอัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในฤดูฝนอาจให้เพิ่มขึ้น
4.3 ไม้เริ่มออกดอก ระยะนี้ควรให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูงซึ่งอาจให้ปุ๋ยสูตร 16-21-27 สลับกับสูตรเสมอ เช่น 20-20-20 โดยให้ปุ๋ยในอัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
4.4 ไม้แทงช่อ หลังจากกล้วยไม้แทงช่อควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซียมสูงเพื่อช่วยในการลำเลียงแป้งและน้ำตาล ทำให้ดอกมีคุณภาพดีและใช้งานได้นานขึ้น ซึ่งอาจให้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 สลับกับสูตรเสมอ เช่น 20-20-20

5. สภาพแวดล้อมบริเวณปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเลือกใช้ชนิดปุ๋ยและปริมารปุ๋ย จึงจะทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดี ชนิดของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเลือกใช้ชนิดปุ๋ยและปริมาณปุ๋ย ได้แก่

5.1 วัสดุปลูก วัสดุปลูกบางอย่างจะ ดูดซับน้ำและปุ๋ยไว้ จึงต้องให้ปุ๋ยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เช่นถ้าวัสดุปลูกเป็นเปลือกไม้จะต้องให้ไนโตรเจนสูงขึ้น ซึ่งอาจใช้ปุ๋ยอัตรา 3-1-1 นอกจากนี้วัสดุปลูกชนิดเดียวกันถ้าอัดแน่นต่างกันก็จะเก็บความชื้นและปุ๋ยได้แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าวัสดุปลูกอัดแน่นก็จะใช้ปริมาณสารละลายปุ๋ยน้อยลง
5.2 ฤดูกาล ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัดไนโตรเจนจะระเหยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องให้ปริมาณไนโตรเจนสูงกว่าในฤดูอื่น ในฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่กล้วยไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงต้องให้ปุ๋ยปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงข้ามในฤดูหนาวกล้วยไม้จะพักตัว ดังนั้นจึงให้ปุ๋ยน้อยลงกว่าปกติ
5.3 ระยะปลูก การปลูกกล้วยไม้ห่างเกินไปจะเก็บรักษาความชื้นภายในโรงเรือนได้น้อยลงและอุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าการปลูกชิด เนื่องจากมีลมโกรกและแสงแดดส่องผ่านได้มากขึ้น ดังนั้นการปลูกห่างจะต้องให้น้ำและปุ๋ยเพิ่มขึ้นและยังเป็นการเปลืองปุ๋ยโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากปุ๋ยจะไหลหนีไม่เป็นประโยชน์ ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ส่วนใหญ่จึงมักวาง ภาชนะปลูกกล้วยไม้ให้ชิดกัน เมื่อต้นมีขนาดเล็กต่อเมื่อต้นมีขนาดใหญ่จึงย้ายภาชนะปลูกให้ห่างกัน พอสมควร เพื่อไม่ให้บังแสงแดดกัน และสะดวกในการทำงานและดูแลรักษา

 

>>> เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

กล้วยไม้เป็นไม้ตัดดอกเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการผลิตจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออก แม้ว่าผู้ปลูกสามารถปลูกกล้วยไม้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี แต่เมื่อกล้วยไม้ถึงมือผู้ใช้ คุณภาพของดอกมักจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

>>>อายุการใช้ของดอกกล้วยไม้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพดอกและอายุของดอกก่อนตัด การดูแลและการขนส่งหลังจากตัดดอกอีกด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวจึงมีความสำคัญเพื่อลดความสูญเสียและยืดอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ หลังจากตัดดอกจากต้น เช่น วิธีการตัด การคัดแยก การใช้น้ำยา การบรรจุ การลดอุณหภูมิ การขนส่ง เป็นต้น

>>>ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียคุณภาพ

1. การหายใจ แป้งและน้ำตาลที่สะสมอยู่ในลำต้น ใบและกลีบดอกจะให้อาหารแก่ดอกกล้วยไม้ที่ตัดมา โดยอาหารเหล่านี้จะถูกำใช้ในขบวนการหายใจ ดอกไม้จะหมดอายุหรือตายเมื่ออาหารที่สะสมถูกใช้หมดไป ดังนั้นการที่จะรักษาคุณภาพและอายุการใช้งานของดอกไม้จึงจำเป็นต้องให้น้ำตาลเพิ่มเติมแก่ดอกไม้ด้วย
2. โรค ดอกกล้วยไม้ที่มีเชื้อโรคตัดมา อาจจะตั้งแต่อยู่ในแปลงหรือตัดมาหลังการตัดดอกกล้วยไม้จากแปลงปลูก รวมถึงระหว่างการขนส่ง จะทำให้ดอกกล้วยไม้มีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้น การลดอุณหภูมิของกล้วยไม้ให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว หลังการตัดดอกจะช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อโรคหลายชนิด
3. การชราภาพ (Senescence) การเปลี่ยนแปลงภายในดอกไม้ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติซึ่งนำไปสู่การชราภาพหรือการสิ้นสุดอายุการใช้งานของดอกไม้ อาจจะเป็นตัวจำกัดอายุการใช้งานและอายุการเก็บรักษา อายุหรือระยะการเจริญเติบโตขณะที่ตัดดอกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
4. การเหี่ยว เกิดจากการสูญเสียน้ำมากเกินไป ดอกกล้วยไม้ที่สูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้กลีบดอกไม่สด การเก็บรักษาดอกกล้วยไม้ในที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำหรือการคายน้ำได้
5. การเกิดบาดแผล อาจเกิดจากอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ การขนส่ง ฯลฯ โดยจะมีผลต่ออายุการเก็บรักษาของดอก โดยรอยแผลเหล่านี้ ทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น และดอกกล้วยไม้ที่เกิดบาดแผลและรอยช้ำจะมีการหายใจและการสร้างเอทธีลีนเพิ่มขึ้น ทำให้อายุการใช้งานลดลง
6. การเปลี่ยนสี สีดอกจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงอายุที่เหมาะสมในการตัดดอก ตลอดจนถึงการสิ้นสุดอายุการใช้งาน อุณหภูมิต่ำและสารเคมีบางอย่างสามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของกลีบดอกได้
7. เอธีลีน เป็นฮอร์โมนพืชที่ทำให้เกิดขบวนการแก่โดยจะเร่งการบานหรือการเหี่ยวของดอกไม้ โดยเอทธีลีนจะพบขณะที่ดอกไม้มีอายุมากขึ้นและดอกบานทั้งขณะที่ยังอยู่บนต้นเดิมหรือหลังการตัดจากต้นเดิมแล้ว การถ่ายละอองเกสรหรือเอาก้อนเกสรออก จะทำให้กลีบดอกผลิตแก๊สนี้ขึ้นมา ระดับเอทธีลีนที่สูงกว่า 100 ppb (ส่วนในพันล้าน) จะเร่งการแก่ของดอกไม้ได้ โดยกล้วยไม้แต่ละสกุลจะมีการตอบสอนต่างกัน เช่น สกุลแวนด้าตอบสนองมาก สกุลแคทรียา สกุลซิมบิเดียม สกุลรองเท้านารีตอบสนองเล็กน้อย สกุลออนซิเดียมและหวายไม่ค่อยตอบสนอง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงแก๊สนี้ โดยออกแบบและจัดพื้นที่ที่คัดแยกบรรจุหีบห่อ เก็บรักษาและขนส่งดอกกล้วยไม้ให้ได้รับแก๊สนี้น้อยที่สุด การเก็บรักษาดอกกล้วยไม้ในที่เย็นจะลดการสร้างเอทธีลีน ซึ่งทำให้การตอบสนองของดอกกล้วยไม้ลดลง
8. อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูง อัตราการหายใจของดอกไม้ท่ตัดมาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย การหายใจของดอกไม้เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตและการแก่และยังให้ความร้อนอีกด้วย เช่นดอกไม้ที่เก็บรักษาที่ 30 องศาเซลเซียส จะหายใจเร็วกว่าดอกไม้ที่เก็บรักษาที่ 2 องศาเซลเซียสถึง 45 เท่า ดังนั้นการแก่เหี่ยวและร่วงของดอกไม้จะลดลงอย่างมาก ถ้าให้ความเย็นหรืออุณหภูมิต่ำแก่ดอกไม้ แต่ถ้าเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำเกินไปจะทำให้ดอกไม้เกิดความเสียหายได้ เช่น แคทรียาเก็บที่ – 0.5 องศาเซลเซียส นาน 3-4 วัน สีของกลีบดอกจะซีดหลังจากนำออกจากห้องเย็น
9. น้ำ ดอกกล้วยไม้หลังจากตัดจากต้นมีอัตราการสูญเสียน้ำค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับดอกไม้ชนิดอื่น ๆ หลังจากตัดดอกกล้วยไม้ ควรเก็บดอกกล้วยไม้ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 95% เพื่อลดการสูญเสียน้ำ อุณหภูมิต่ำ ปัจจัยทีมีผลต่อการดูดน้ำ ในช่วงการปักแจกกัน ได้แก่

9.1 จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ในน้ำที่ใช้แช่ดอกไม้จะเข้าไปในดอกโดยรอยตัดของโคนก้านดอก ทำให้อุดตันการลำเลียงน้ำในก้านดอก สารเคมีบางอย่างที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นมายังทำให้อุดตันท่อลำเลียงน้ำ และยังเป็นพิษกับดอกกล้วยไม้อีกด้วย ดังนั้นสารละลายที่ใช้ในการแช่ก้านดอกกล้วยไม้จะต้องป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สารละลายที่มีสภาพเป็นกรดจะยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้
9.2 ฟองอากาศ จะเข้าไปทางรอยตัด ของก้านดอกระหว่างการตัด การขนส่ง หรือการเก็บรักษา ฟองอากาศที่เข้าไปในท่อลำเลียงน้ำจะทำให้โมเลกุลของน้ำเกาะกันไม่ต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดน้ำและการเคลื่อนที่ของน้ำลดลง ดังนั้น สารละลายที่ก้านดอกดูดขึ้นไปก็จะถูกขัดขวางไม่ให้เคลื่อนที่ขึ้นไปด้วย ฟองอากาศสามารถที่จะถูกกำจัดได้โดยการตัดปลายก้านดอกทิ้งยาวประมาณ 1 นิ้วใต้น้ำหรือสารละลายที่อยู่ในสภาพเป็นกรด (pH 3-4) หรือใส่ปลายก้านดอกในสารละลายที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส
9.3 คุณภาพน้ำ น้ำกระด้างจะมีแร่ธาตุปะปนอยู่มากทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่าง น้ำที่มีสภาพเป็นด่างจะไม่เคลื่อนที่เข้าสู่ก้านดอก จึงทำให้อายุการปักแจกกันหรืออายุการใช้งานลดลง

>>>ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพดอกกล้วยไม้

1. การดูแลรักษาในแปลงปลูก
1.1 ระยะปลูก ถ้าปลูกในระยะชิดมาก อาจจะทำให้จำนวนดอกลดลงและมีปัญหาในการควบคุมโรคและแมลง ถ้าปลูกห่างกันมาก ความแข็งแรงของก้านดอกและขนาดดอกเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่จำนวนดอกไม้ที่ได้จะลดลง
1.2 แสง ความเข้มของแสงมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของต้นกล้วยไม้ ถ้าความเข้มของแสงต่ำจะลดการเจริญเติบโตของตาดอกทำให้จำนวนดอกที่ผลิตได้ลดลงและดอกมีคุณภาพไม่ดี เพราะแสงมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงและการสะสมคาร์โบไฮเดรต โดยอาหารที่สะสมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้
1.3 การให้น้ำและปุ๋ย ถ้าความไม่สมดุลระหว่างการดูดน้ำและการคายน้ำเกิดขึ้นนาน ๆ จะลดปริมาณและคุณภาพลง คุณภาพของน้ำมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกล้วยไม้ ปุ๋ยและอาหารเสริมต่าง ๆ ที่ให้กับกล้วยไม้ขณะอยู่ในแปลง มีผลกระทบอย่างมากต่อการ เจริญเติบโตและคุณภาพของกล้วยไม้ การให้ธาตุเอาหารที่ไม่สมดุลสามารถลดอายุการใช้งานของกล้วยไม้ได้ การให้ปุ๋ยไนโตรเจนและอาหารเสริมต่าง ๆ มากเกินไปโดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย จะทำให้อวบน้ำ เหี่ยวง่าย และก้านช่อดอกอ่อนโค้งงอ ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง
1.4 โรคและแมลง โรค-แมลงนอกจากทำความเสียหายแก่ต้นกล้วยไม้แล้ว ยังมีผลทำให้อายุการเก็บรักษาและอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ลดลงอีกด้วย

2. การเก็บเกี่ยว

2.1 อายุการตัด ถ้าตัดดอกตูมเกินไป อาจจะทำให้ดอกไม้บาน หรือบานแล้วมีขนาดเล็ก ถ้าตัดช้าเกินไป หรือบานมาก จะทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง โดยการตัดดอกกล้วยไม้ เช่น สกุลแคทลียาตัดดอกเมื่อกลีบดอกแยกตัวออกได้ 3-5 วัน กล้วยไม้สกุลหวาย ตัดดอกเมื่อดอกย่อยบานได้ 5-7 ดอก ซึ่งขึ้นอยู่กับเกรดหรือความยาวของช่อดอก ถ้าช่อดอกยาวมีจำนวนดอกบานมาก และถ้าช่อดอกสั้นมีจำนวนดอกบานน้อย กล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส ตัดดอกเมื่อดอกบานเต็มที่ กล้วยไม้สกุลออนซิเดียม ตัดดอกเมื่อดอกย่อยบานเกือบหมด ไม่ควรเก็บเกี่ยวหลังจากที่เพิ่งให้ปุ๋ย 1-2 วัน โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากดอกจะเหี่ยวเร็วและช้ำง่าย อันเนื่องมาจากเซลอวบน้ำ จึงควรเว้นระยะไว้สัก 3-4 วัน ก่อนที่จะตัดดอก
2.2 วิธีตัด การตัดดอกไม้ควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คมมากและสะอาดเพื่อป้องกันก้านดอกบริเวณที่ตัดไม่ให้ช้ำจะช่วยให้ดอกไม้ดูดน้ำได้ดี สำหรับกล้วยไม้ซึ่งเป็นพืชยืนต้น หลังจากตัดดอกแล้ว ต้นยังคงเจริญเติบโตและให้ดอกต่อไป จึงต้องมีการระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส ดังนั้นหลังจากตัดแต่ละครั้งจึงควรจุ่มมีดหรือกรรไกรในแอลกอฮอล์เข้มข้น 95% แล้วลนไฟจนแอลกอฮอล์ระเหยหมด เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสแพร่กระจายจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง แต่การฆ่าเชื้อเครื่องมือทุกครั้งหลังตัดเป็นการไม่สะดวก ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ส่วนใหญ่มักหักโคนก้านช่อบริเวณข้อด้วยมือมากกว่า ซึ่งทำได้สะดวกแต่จะเกิดรอยช้ำบริเวณเหนือรอยที่หัก ทำให้ดอกกล้วยไม้ดูดน้ำได้น้อยลง ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงวิธีการตัดให้ถูกต้องเพื่อให้ดอกกล้วยไม้มีคุณภาพดีขึ้น
2.3 เวลาตัด ส่วนใหญ่การตัดดอกไม้ที่มีใบติดมาด้วย เช่น กุหลาบ เบญจมาศ ดาวเรือง มักตัดในตอนเช้าหรือเย็นเพื่อลดการคายน้ำ และการหายใจอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวโดยเฉพาะในฤดูร้อน สำหรับดอกกล้วยไม้ไม่มีใบติดมาด้วย จึงสามารถตัดได้ทุกเวลาแล้วแต่สะดวก แต่ก็ควรให้ดอกที่ตัดได้รับความชื้นที่สูงและอุณหภูมิที่ต่ำ

>>>การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

1. การคัดแยก หลังจากตัดดอกกล้วยไม้ควรเคลื่อนย้ายออกจากโรงเรือนไปยังบริเวณคัดแยกและบรรจุหีบห่ออย่างรวดเร็ว อาจจะตัดปลายก้านดอกทิ้งอีกครั้งและแช่ในน้ำเพื่อรอการคัดแยก จากนั้นจึงแยกขนาดความยาวแล้วใส่ก้านในแต่ละหลอดหรือใส่ในสำลีที่หุ้มด้วยถุงพลาสติกขนาดเล็กโดยมีน้ำยาแช่อยู่ จากนั้นจึงมัดรวมเป็นช่อแล้วห่อด้วยกระดาษฟาง กระดาษไขหรือแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันการกระแทกแล้วใส่รวมในกล่องย่อยเพื่อบรรจุรวมในกล่องใหญ่อีกทีหนึ่ง โรงเรือนที่ใช้คัดเลือกดอกไม้จะต้องสะอาด มีการระบายอากาศดี แต่การระบายอากาศจะต้องไม่ทำให้อากาศเคลื่อนที่เร็วเกินไป เพราะจะทำให้ดอกไม้สูญเสียน้ำมากเกินไปและเกิดการเหี่ยว อาจจะมีการติดตั้งพัดลมเพดานช่วยในการระบายอากาศ โรงเรือนคัดเลือกและบรรจุจะต้องเอื้ออำนวยให้คนงานทำงานสะดวกสบาย เช่น มีแสงสว่างพอเพียง มีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับการคัดเลือก เป็นต้น

2. การใช้น้ำยา ดอกไม้ที่ตัดจากต้นแล้วจะถูกเร่งให้หมดอายุการใช้งานเร็วขึ้นเพราะถูกตัดจากแหล่งน้ำและอาหาร น้ำยาหรือสารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการใช้งานจึงมีการใช้อย่างแพร่หลาย วิธีการใช้แยกออกได้เป็น 4 แบบ คือ

2.1 การทำให้ดอกไม้อยู่ในสภาพสด เป็นการทำให้ดอกไม้กลับสดเหมือนก่อนทีจะตัดดอกซึ่งจะขาดน้ำไปชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ว่าจะเป็นระหว่างการขนย้าย การคัดคุณภาพ การขนส่งหรือการเก็บรักษา โดยนำก้านดอกแช่ในน้ำอุ่นที่บริสุทธิ์ประมาณ 4-8 ชั่วโมง แล้วเก็บไว้ในห้องเย็น
2.2 การเพิ่มอาหาร จะกระทำก่อนการเก็บรักษา ก่อนการขนส่งและก่อนการใช้ประโยชน์ น้ำยาที่ใช้มีน้ำตาลซูโครสที่มีความเข้มข้นสูง ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มอาหารคือ ระยะเวลา อุณหภูมิ และความเข้มของแสง ส่วนใหญ่จะให้ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 12-24 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 20-27 องศาเซลเซียส และความเข้มของแสง 1,000 ลักส์
2.3 การทำให้ดอกตูมบาน จะใช้น้ำยาและสภาพแวดล้อมคล้ายกับการเพิ่มอาหาร แต่ใช้น้ำตาลซูโครสความเข้มข้นต่ำกว่าแต่แช่ในระยะเวลานานกว่า
2.4 การทำให้ดอกไม่มีอายุการใช้งานนานขึ้น ผู้ขายส่งและผู้ขายปลีกจะเป็นผู้ใช้น้ำยาแช่ก้านดอกไม้ระหว่างรอกาขาย และผู้ซื้อก็จะใช้น้ำยาในการยืดอายุการใช้งานหรือการปักแจกกัน

3. การให้ความเย็น การที่จะรักษาคุณภาพของดอกกล้วยไม้ให้ยาวนานขึ้นจะต้องให้รับความเย็นเร็วที่สุดหลังจากเก็บเกี่ยว ยิ่งลดอุณหภูมิเร็วเท่าไรอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ก็จะยิ่งยาวขึ้น การคัดแยก บรรจุหีบห่อรวมทั้งการเก็บรักษาเพื่อรอการขนส่งควรจะกระทำในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำ หลังจากบรรจุดอกกล้วยไม้แล้ว เป็นการยากที่จะลดอุณหภูมิลง จึงควรลดอุณหภูมิดอกกล้วยไม้ให้เร็วที่สุดหลังจากบรรจุหีบห่อโดยอาจใช้ลมเย็นเป่าเข้าไปในกล่องซึ่งมีการเจาะรูอยู่แล้ว และลมเย็นสามารถเคลื่อนที่ออกได้อีกทางหนึ่งโดยไม่ติดขัด

4. ภาชนะบรรจุ ภาชนะบรรจุสำหรับดอกกล้วยไม้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งและการจัดจำหน่าย เพื่อป้องกันดอกกล้วยไม้ระหว่างการเก็บรักษาและการตลาด เพื่อป้องกันความเสียหายจากการกระแทก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง เพื่อให้ความเย็นและลดการสูญเสียความชื้นของดอกกล้วยไม้ วัสดุที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุจะมีคุณสมบัติในการให้ความชื้นผ่านได้ต่างกันโดยกล่องกระดาษจะให้ความชื้นผ่านได้ดีกว่ากระดาษและ polyethylene film หรือ พลาสติกตามลำดับ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการเลือกวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสมต่อการสูญเสียน้ำและการถ่ายเทความชื้น

5. การเก็บรักษา ส่วนใหญ่จะไม่เก็บรักษาดอกกล้วยไม้เนื่องจากดอกกล้วยไม้สามารถบานอยู่บนต้นได้น่น 3-4 สัปดาห์ ดังนั้นจึงมักตัดดอกกล้วยไม้เมื่อต้องการขาย แต่ถ้าต้องการเก็บรักษา ดอกกล้วยไม้หลายชนิดควรเก็บที่อุณหภูมิ 5-7 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเก็บได้นานประมาณ 10-14 วัน ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาดอกกล้วยไม้ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ เช่น สกุลซิมบิเดียมและรองเท้านารีสามารถเก็บได้นานถึง 3 สัปดาห์ที่ 0-1 องศาเซลเซียส ดอกแคทลียาควรเก็บรักษาที่ 7-10 องศาเซลเซียส และดอกแวนด้าเก็บรักษาที่ 13 องศาเซลเซียส

6. การขนส่ง การขนส่งดอกกล้วยไม้จากสวนกล้วยไม้ไปยังที่คัดเลือกและบรรจุ จากนั้นจึงขนส่งต่อไปจนถึงมือผู้บริโภค มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นตัวกำหนดคุณภาพของดอกกล้วยไม้ การขนส่งทำได้หลายวิธีทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ การเลือกวิธีการขนส่งจะต้องคำนึงถึงชนิดของกล้วยไม้ ระยะทางขนส่ง ต้นทุนการขนส่ง วิธีการบรรจุ ภาชนะบรรจุ และราคาดอกกล้วยไม้ ในช่วงการขนส่งต้องมีวิธีป้องกันดอกกล้วยไม้ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกระแทก จากการกระแทก จากการสูญเสียน้ำ และควรมีระบบการให้ความเย็นเพื่อลดการหายใจและคายน้ำ การขนส่งที่ดีต้องใช้เวลาสั้นที่สุด รักษาคุณภาพของดอกกล้วยไม้ได้นา

กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับจึงมีจุดขายอยู่ที่ความสวยงาม ในกรณีที่ขายทั้งต้น ความสวยงามของลำต้น ใบและดอกเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าขายเป็นไม้ตัดดอก ผู้ซื้อจะคำนึงถึงความสวยงามเฉพาะช่อดอกและดอก ดังนั้นโรค แมลงรวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่ทำลาย สร้างตำหนิ หรือยับยั้งการเจริญเติบโตต่อต้นกล้วยไม้ก็ถือว่าเป็นศัตรูของกล้วยไม้
กล้วยไม้มีศัตรูมากมายเนื่องจากต้องคำนึงถึงความสวยงามของทุกส่วนนอกเหนือไปจากศัตรูซึ่งอาจทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม่สมบูรณ์ ทำให้ออกดอกไม่ดก ดอกไม่สมบูรณ์ มีขนาดดอกและช่อดอกเล็กลง ศัตรูกล้วยไม้จะไม่สามารถทำให้ต้นกล้วยไม้ตายถ้าผู้ปลูกเลี้ยงเป็นนักสังเกตที่ดีและรีบหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว โรค
>>>โรคกล้วยไม้มีสาเหตุมาจาก รา แบคทีเรีย และไวรัส โรคที่เกิดจากเชื้อรามักจะพบส่วนของเชื้อรา ได้แก่ เส้นใย ลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดำที่แผลของพืช เชื้อราเข้าทำลายพืชทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ยอดเกสรตัวเมีย ฯลฯ ทางแผล และผ่านทางเซลพืชโดยตรง โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะพบส่วนที่เป็นโรคมีลักษณะชุ่มน้ำ เป็นเมือกเยิ้มและมักมีกลิ่นเหม็นฉุน เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายพืชทางช่องเปิดตามธรรมชาติและทางแผล โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสต้องวินิจฉัยจากอาการของพืช เนื่องจากเชื้อไวรัสมีขนาดเล็กมากต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน อาการที่พบ เช่น ใบด่าง ดอกด่าง ใบมีสีเหลืองซีด ใบมีจุดสีน้ำตาลมีรอยบุ๋ม การเจริญเติบโตผิดปกติ ใบลดขนาดลง ใบเรียวเล็ก เชื้อไวรัสเข้าทำลายพืชทางบาดแผลของต้นพืช และโดยแมลงเป็นพาหะในการถ่ายเชื้อ ส่วนศัตรูที่เกิดจากแมลง ถ้าเป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งก็จะพบอาการเหี่ยวยอดหงิก ใบลีบเล็กคล้ายอาการจากโรค แต่ถ้าเป็นแมลงที่ใช้ปากกัดกินจะพบร่องรอยการกัดกินซึ่งทำให้การวินิจฉัยไม่ยากนัก

 

>>>โรคกล้วยไม้ทีสำคัญที่พบในประเทศไทย

1. โรคเน่าดำ โรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ (Black rot)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora Butl
>ลักษณะอาการ เกิดได้ทุกส่วนของต้นกล้วยไม้

1. อาการที่ใบ เริ่มจากจุดใสชุ่มน้ำ แผลจะใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลและสีดำในที่สุด
2. อาการที่ต้นและยอด เชื้อราจะเข้าที่โคนต้นหรือยอด ใบจะเหลืองและเน่าดำ หลุดร่วงจากต้นโดยง่าย เวลาจับจะหลุดติดมือได้โดยง่าย
3. อาการที่ราก จะทำให้รากเน่าแห้ง แฟบและยุบตัวลง 4. อาการที่ดอก กลีบดอกเป็นจุดแผลสีดำ ก้านดอกและปากเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล เมื่อเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อดอก บนกลีบดอกจะมีอาการเน่าฉ่ำน้ำ
>การป้องกันกำจัด

1. ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกกล้วยไม้ให้แน่นจนเกินไป
2. ไม่ควรรดน้ำตอนเย็น ใกล้ค่ำ เนื่องจากความชื้นสูงโรคนี้จะระบาดรุนแรง
3. เผาทำลายต้นที่เป็นโรค ถ้าเป็นกับกล้วยไม้โตควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อเยื่อส่วนที่ดี แล้วใช้สารกำจัดเชื้อราฉีดหรือป้าย
4. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ เมทาแลกซิล (methalaczyl) และแมนโคเซบ (mancozeb) ตามอัตราที่ระบุไว้ ฉีดบริเวณราก ลำต้น ใบและดอก

2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม (Flower rusty spot)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis (P. Henn.). A. Meyer ลั
>กษณะอาการ อาการจะปรากฏบนกลีบดอก เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อจุดขยายโตขึ้นจะมีสีเข้มคล้ายสีสนิม ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขนาดตั้งแต่ 0.1 – 0.3 มิลลิเมตร การ
>ป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดโรงเรือนเป็นประจำ เก็บส่วนที่เป็นโรคและเผาทำลาย
2. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อ ซึ่งมีชื่อสามัญ แมนโคเซบ (mancozeb) ตามอัตราที่ระบุไว้ ฉีดบริเวณดอกแต่ต้องระวังเกี่ยวกับคราบยาที่จะเกิดขึ้นบนกลีบดอก จึงไม่ควรผสมยาจับใบ

3. โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด (Stem rot, Southern blight)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rofsii Sacc.
>ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณรากหรือโคนต้น แล้วลุกลามไปส่วนบนบริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลตามลำดับ ถ้าอากาศชื้นมาก ๆ จะพบเส้นใยสีขาวแผ่บริเวณแผล และมีเม็ดกลม ๆ สีน้ำตาลขนาดเล็กคล้ายเมล็ดผักกาดบริเวณโคนต้น ซึ่งเม็ดกลม ๆ เป็นกลุ่มของเส้นใยที่อัดตัวกันแน่น โรคนี้บางครั้งแสดงอาการที่ใบทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล
.>การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดโรงเรือนเป็นประจำ เก็บส่วนที่เป็นโรคและเผาทำลาย
2. ราดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ คาร์เบนดาซิม (Cabendazym) ตามอัตราทที่ระบุไว้ ราดบริเวณที่เป็นโรค

4. โรคใบปื้นเหลือง (Leaf spot)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pesudocercospora dendrobii Deighton
>ลักษณะอาการ โรคนี้จะเป็นกับใบกล้วยไม้แก่หรือใบที่อยู่โคนต้น ก่อนอาการเริ่มต้นจะเป็นจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมาก ๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกับแผลจะเห็นผงสีดำคล้ายขี้ดินสอขึ้นกระจายเต็มไปหมด แผลจะลุกลามขยายจนเต็มใบ สีใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม น้ำตาลและดำ จากนั้นจะร่วงหลุดจากต้นทำให้ต้นทิ้งใบหมด
>การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดโรงเรือนเป็นประจำ เก็บส่วนที่เป็นโรคและเผาทำลาย
2. ฉีดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา มีชื่อสามัญ คาร์เบนดาซิม (Carbendazym) แมนโคเซบ (mancozeb) และเบนโนมิล (benomyl) ตามอัตราที่ระบุไว้ ฉีดพ่นบริเวณที่เป็นโรค

5. โรคใบจุด (Leaf spot)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis Cash & Watson
>ลักษณะอาการ มีลักษณะอากรแตกต่างหลายลักษณะ

1. อาการบนใบกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ จะรู้สึกสากมือเมื่อลูบบริเวณแผล จึงมักเรียกว่าโรคขี้กลาก
2. อาการบนใบกล้วยไม้สกุลหวาย ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลเล็กตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดไปจนถึงขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งบนใบและหลังใบ บางครั้งอาจพบเป็นจุดกลมสีเหลืองก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นจุดสีดำทั้งวง

>การป้องกันกำจัด

1 รวบรวมใบที่เป็นโรคแล้วเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาด
2. ฉีดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ คาร์เบนดาซิม (Carbendazym) และแมนโคเซบ (mancozeb) ฉีดตามอัตราที่ระบุไว้ ฉีดพ่นบริเวณที่เป็นโรค

6. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletrichum sp.
> ลักษณะอาการ เกิดได้ทั้งที่ปลายใบและกลางใบ มีลักษณะที่สังเกตได้ชัดเจนคือ มีแผลสีน้ำตาล เป็นวงเรียงซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นและจะมีกลุ่มของเชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวงที่ซ้อนกัน

>การป้องกันกำจัด

1. รวบรวมใบที่เป็นโรคแล้วเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาด
2. ฉีดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ แมนโคเซบ (mancozeb) แคบแทน (captan) และคาร์เบนดาซิม (carbendazym) ฉีดตามอัตราที่ระบุไว้ ฉีดพ่นบริเวณที่เป็นโรค

7. โรคราดำ (Sooty mold)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Cladosporium sp. Cladosporium sp.
>ลักษณะอาการ พบราสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ ลำต้น กาบใบและก้านช่อดอก โดยเชื้อราเจริญอยู่บนหยดน้ำเล็ก ๆ ที่ถูกขับถ่ายออกมาจากต้นกล้วยไม้ในช่วงฤดูหนาว ราดำทำให้ลดอัตราการสังเคราะห์แสงลง นอกจากนี้ต้น ใบและดอกมองดูไม่สะอาดตาอาจขายไม่ได้หรือราคาลดลง
>การป้องกันกำจัด

1. กำจัดแมลงที่ขับถ่ายน้ำหวานมาเลี้ยงเชื้อราดำ ได้แก่ แมลงพวกเพลี้ยโดยฉีดสารป้องกันกำจัดแมลง ซึ่งมีชื่อสามัญ มาลาไธออน (malathion) และคาร์บาริล (carbaryl)
2. ฉีดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซี่งมีชื่อสามัญ เบนโนมิล (benomyl) และแมนโคเซบ (mancozeb)

8. โรคเน่าเละ (Soft rot)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli
>ลักษณะอาการ เริ่มจากจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก บนใบหรือหน่ออ่อน มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมน้ำตาล ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองและจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็ว ในที่สุดต้นกล้วยไม้จะเน่าตายทั้งต้น
>การป้องกันกำจัด

1. ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกไป แล้วเผาทำลาย
2. ควรมีหลังคาพลาสติกคลุมกันฝนในช่วงฤดูฝน สำหรับลูกกล้วยไม้และไม้ปลูกใหม่ เนื่องจากแรงกระแทกของเม็ดฝนจะทำให้ใบกล้วยไม้ช้ำและเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายได้ง่าย
3. ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป จะทำให้มีความชื้นสูง และไม่ควรรดน้ำมากเกินไปจนแฉะ จะทำให้ง่ายต่อการเกิดโรคนี้
4. ควรระวังเรื่องการให้ปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าให้มากเกินไปต้นจะอวบหนาทำเกิดโรคเน่าเละได้ง่าย
5. ฉีดด้วยสารป้องกันกำจัดแบคทีเรีย นิยมใช้ยาปฏิชีวนะมีชื่อสามัญ สเตรปโตมัยซิน (streptomycin) ฉีดตามอัตราที่ระบุไว้ ถ้าฉีดเข้มข้นมากเกินไปหรือบ่อยเกินไป จะทำให้ใบกล้วยไม้เป็นสีเหลือง ซีดขาว ที่เรียกว่า “ยอดขาว” ในกล้วยไม้ประเภทแวนด้า การฉีดยาควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งอาจฉีดตอนเย็นจะไม่ทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ

9. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Virus diseases)

>สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายชนิด แต่ที่พบทำลายกล้วยไม้เป็นส่วนใหญ่มี 2 ชนิด คือ

1. Cymbidium mosaic virus (CyMV)
2. Tobacco mosaic virus-orchid strain (TMV-O)

>ลักษณะอาการ อาการที่พบมีแตกต่างกันตั้งแต่ไม่แสดงอาการจนถึงแสดงอาการอย่างเด่นชัด ลักษณะอาการที่พบบ่อยได้แก่

1. ลักษณะใบด่าง ตามแนวยาวของใบ มีสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้ม ใบอาจมีจุดสีน้ำตาลบุ๋มลงไปคล้ายอาการที่พบจากเชื้อรา

2. ลักษณะยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้น การเจริญเติบโตลดลง ต้นแคระแกรน

3. ลักษณะดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ สีกลีบดอกไม่สม่ำเสมอ สีซีดลง สีเข้มสลับสีอ่อนเป็นทาง

4. ลักษณะช่อดอกสั้น ข้อถี่ ขนาดดอกเล็กลงกว่าปกติ กลีบจะบิด

การป้องกันกำจัด

1. เผาทำลายต้นที่เป็นโรคไวรัส ไม่นำต้นไปขยายพันธุ์

2. ฆ่าเชื้อเครื่องมือต่าง ๆ ทุกครั้งที่ใช้ เล่น มีดหรือกรรไกร (จุ่มแอลกอฮอล์ 95% แล้วลนไฟ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์) ภาชนะปลูก (ทำความสะอาดแล้วแช่สารฆ่าเชื้อ)