มนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน

กลยุทธ์ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน

การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย และสำหรับหน้านี้เรามีเคล็ดลับ 6 ประการ ที่จะช่วยให้คุณ เป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น ๆ มาฝาก

1.การสนใจในตัวบุคคลอื่น
มีคำกล่าวไว้ว่าถ้าเรามีความสนใจในตัวบุคคลอื่นแล้วเราอาจจะหาเพื่อนใหม่ ได้ภายใน 2 เดือน แต่ถ้าหากเราจะหาเพื่อนใหม่ โดยการจูงใจให้เขามาสนใจในตัวเรา อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี เราจะสังเกตได้ว่าบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความสนใจใน ตัวบุคคลอื่น ดังนั้นถ้าเราอยากเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น จึงต้องรู้จักแสดงความสนใจ ในตัวบุคคลอื่นอาจจะโดยการไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ ส่งการ์ดอวยพรหรือของขวัญ ให้เขาในวันเกิด หรือเทศกาลสำคัญๆ ส่งบทความ การ์ตูน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คิดว่าน่าสนใจ ให้แก่เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในทีมงานโดยอาจจะส่งทาง E-mail ก็ได้และเมื่อเพื่อนร่วมงาน มีปัญหาก็ควรเสนอตนเองช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ
2. การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
บุคคลที่จะเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นมาที่สุด และนานที่สุดก็คือ บุคคลที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส อยู่เสมอ เมื่อเราพบปะกับบุคคลเช่นนี้เราจะรู้สึกว่าเกิดความรัก ความนับถือขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้จักเขามาก่อนเลยก็ตามและจะสังเกตได้ว่า หัวหน้าที่มีใบหน้า ยิ้มแย้มแจ่มใส มีผลต่อจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างประหลาด ใบหน้าที่ยิ้มแย้มจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเกรงใจ ความกระตือรือร้น และความขยันขันแข็งมาเองโดยมิต้องใช้อำนาจบังคับแต่อย่างใด แต่การยิ้มในที่นี้ก็ต้องเป็นการยิ้มอย่างเต็มอกเต็มใจ ยิ้มอย่างเปิดเผย มิใช่แสร้งยิ้มชั่วครั้ง ชั่วคราวเพื่อหาประโยชน์ เพราะการยิ้มเช่นนั้นจะไม่ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเลย
3. การจำชื่อบุคคลต่าง ๆ
คนเราย่อมสนใจและพึงพอใจในชื่อของตนเองมากกว่าชื่อใด ๆ ในโลก ดังนั้นการการที่เราสามารถจำชื่อบุคคลอื่นได้ และสามารถเรียกชื่อเขาได้ อย่างถูกต้องจะทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจและคิดว่าเราระลึกถึงความสำคัญของเขาอยู่เสมอเขาจะเกิดความพอใจ และจดจำเราได้ตลอดไปเช่นเดียวกัน
4. การเป็นผู้ฟังที่ดี
บุคคลที่เราสนทนาด้วยนั้นย่อมสนใจในตัวของเขาและความต้องการของเขา ดังนั้นถ้าเราปรารถนาจะเป็นที่รักใคร่ของบคุคลอื่นก็จะต้องรู้จักเป็นผู้ฟัง ที่ดีด้วยการสนใจในเรื่องที่บุคคลอื่นพูดไม่พูดขัดคอขึ้นมาในขณะที่คู่สนทนายังพูดไม่จบพยายามจูงใจให้เขาสนทนาในเรื่องที่เขาสบายใจและควรสนับสนุน หรือชมเชยคู่สนทนาเป็นครั้งคราว
5. การพูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
เดล คาร์เนกี้ เคยกล่าวไว้ว่าถ้าเราปรารถนาจะสร้างความนิยมขึ้นในตัวเองแล้วจงสนทนาแต่งในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคู่สนทนา ดังนั้นเมื่องเราต้องการเป็นที่รักใคร่ชอบพอของบุคคลอื่นเราก็ต้องรู้ว่าคู่สนทนาของเรา สนใจในเรื่องอะไรและต้องพยายามแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ แต่ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างทั้งหมด ในบางเรื่องเรารู้เพียงแต่จะกล่าวนำหรือคอยรับฟังก็เพียงพอแล้ว
6. การรู้จักยกย่องบุคคลอื่น
นักจิตวิทยาหลายท่านกล่าวไว้ว่าความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของมนุษย์ ก็คือความปรารถนาที่จะได้รับคำสรรเสริญ คนเราต้องการได้รับคำยกย่องจากผู้ที่เราติดต่อด้วย ต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าเรามีความสำคัญ และต้องการให้เพื่อนของเรายกย่องสรรเสริญเราอย่างเต็มอกเต็มใจ และชมเชยเราในทุกโอกาสที่จะทำได้ ดังนั้นเมื่อเราปรารถนาจะเป็นที่ชอบพอของบุคคลอื่น เราก็ต้องปฏิบัติต่อคนอื่น เช่นเดียวกับที่เราต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อเรา นั่นก็คือการระลึกถึงความสำคัญของผู้อื่นในทุกโอกาส

การทำงานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคทั้งสิ้น แต่ถ้าหากว่าพวกเราทุกคนรู้จักสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แล้ว เราก็จะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ้างอิง :กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm

มนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน

วิถีชีวิตของคนแต่ละคนในสังคมทุกวันนี้มีความแตกต่างกันอย่างมากมายหลายระดับ ความสำคัญของการสื่อสารสัมพันธ์ ซึ่งกัน และกัน ทั้งในแง่ของการดำรงชีวิตประจำวันและการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับงานในหน้าที่ จึงมีความจำเป็นและมีบทบาทสำคัญยิ่ง ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการดำรงชีวิต มนุษยสัมพันธ์ของคนแต่ละคน แต่ละสังคม จะแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามมนุษยสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องยากแก่การทำความเข้าใจจนเกินไปนัก
การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้น ในเบื้องต้นจะต้องประกอบไปด้วย
•การเข้าใจตนเอง
•การเข้าใจผู้อื่น
•การเข้าใจสิ่งแวดล้อม

หัวใจพื้นฐานทั้ง 3 ประการ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จในการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
บัญญัติ 10 ประการ สำหรับการฝึกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีโดยสรุป คือ

1.ยิ้มให้ผู้อื่น
2.ทักทายผู้อื่น
3.จำชื่อและเรียกให้ถูกต้อง
4.มีความเป็นมิตร
5.มีความจริงใจ
6.ให้ความสนใจอย่างจริงจัง
7.อ่อนน้อมต่อคำชม ระมัดระวังต่อการวิจารณ์
8.มีความกระตือรือร้น
9.มีอารมณ์ขัน
10.มีความอดทน

บัญญัติ 10 ประการดังกล่าวข้างต้น เป็นการเปิดประตูสู่บุคคลอื่น, สังคมอื่น, สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และในที่สุดก็จะนำมาซึ่งการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ในที่สุด

อ้างอิง : ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm

คุณเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ ?

มนุษย์สัมพันธ์ เป็นสิ่งช่วยให้คนเราดำรงอยู่ในสังคมได้ดี และเราต้องพยายามปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เมื่อรู้ว่าเราบกพร่องตรงส่วนไหนบ้าง การปล่อยตัวให้เป็นคนอ่อนปวกเปียกไม่มีจุดยืนของตัวเอง แม้จะไม่มีคนรักคนชังแต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าคุณเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีนั้น ต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัดสินใจ และรู้จักวางตัวในทุกโอกาสเราอาจพูดว่ามนุษย์สัมพันธ์ก็คือการปฏิบัติการใช้จิตวิทยาพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้ การอยู่ร่วมกันในสังคมเราต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์เพื่อเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจถนอมน้ำใจของอีกฝ่าย และเขาก็ถนอมน้ำใจเราเช่นกัน

อ้างอิง : Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php

มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

หลักการ :
การจะเป็นหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้นมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นเพราะ การดำเนินการใด ๆ ไม่มีใครสามารถทำได้สำเร็จได้และการที่จะสามารถทำให้ผู้อื่นยอมรับที่จะให้ความร่วมมือ จำเป็นที่จะต้องมีเทคนิคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเป็นทีมและการมีมนุษยสัมพันธ์
2. เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในหน่วยงาน

หัวข้อการฝึกอบรม :
- ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
- เทคนิคการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
- หลักปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
- การสร้างจิตสำนึกในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
รูปแบบและวิธีการ :
บรรยาย อภิปราย กรณีตัวอย่าง
วิทยากร :
วิทยากรภายนอก
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม :
พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารงานทั่วไป
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม :
รุ่นละประมาณ 40 คน
ระยะเวลาการอบรม : 1 วัน

อ้างอิง :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/Human_Resources/development.htm

สภาพการดำรงชีวิตของคนเราทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า คนเราทุกคนต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นแทบจะตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของตนเอง พ่อแม่ญาติพี่น้อง

เพื่อนร่วมงานหรือบุคคลที่ต้องพบปะกันจะโดยหน้าที่การงาน หรือโอกาศอันเป็นส่วนตัว การที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นที่ต่างจิตต่างใจ แตกต่างกันทั้งในด้านพื้นฐานการอบรม เลี้ยงดู ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สติปัญญา จึงมักจะเป็นเหตุให้ต้องกระทบกระทั่งกัน อันมีผลที่อาจจะทำให้เกิดการร้าวฉาน แตกแยก และขาดไมตรีกันในที่สุด ทั้งนี้หากจะพิจารณากันแล้ว สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากบุคคลในสังคมนั้นๆขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

อะไรคือมนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์คือ การติดต่อกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์ด้วยสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่นับถือและความร่วมมือที่ดีต่อกัน
เมื่อมนุษยสัมพันธ์มีบทบาทและความสำคัญต่อการที่บุคคลจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขราบรื่นเช่นนี้แล้ว บุคคลที่ขาดมนุษยสัมพันธ์จึงต้องพยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเอง เพื่อความสุขแห่งชีวิตตนทั้งในด้านครอบครัวอาชีพการงาน

อ้างอิง : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพ

หลักสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพในสังคม หรือมนุษยสัมพันธ์ มีปัจจัย หลักๆ 4 ประการ นั้นคือควรที่จะมีความสามารถในการตั้งใจฟังที่ดี นั่นคือเป็นผู้ฟังที่ดี ให้ความสำคัญกับผู้พูด มีปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยกับ เรื่องที่คุย ปัจจัยที่สองควรมีความสามารถในการพูดที่ดี พูดน่าฟัง พูดสุภาพ พูดถูกกาลเทศะ ปัจจัยที่สามควรปฏิบัติต่อกันด้วยท่าทีที่เหมาะ สม สุภาพ เต็มไปด้วยมิตรภาพ และปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญคือบุคคลผู้นั้น ควรมีบุคลิกภาพที่ดี รวมทั้งนิสัยใจคอ และการแต่งกาย
ซึ่งหากใครมีครบถ้วนทั้ง 4 ปัจจัย แน่นอน ใครๆก็รัก

อ้างอิง : Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/

เตรียมตัวให้พร้อมบนถนนสาย "งาน"

"ไม่ว่าจะจบสูงแค่ไหน เด็กใหม่ก็ต้องเรียนรู้งาน สำหรับในขั้นต้นนี้ การตั้งใจที่จะเรียนรู้งาน จะทำให้เริ่มทำงาน ได้ดีขึ้น อย่าทรนงตัวว่าเรียนมาสูง บางคนรู้แต่ทฤษฎี แต่ก็นำมาประยุกต์ใช้ไม่เป็น" "วิวรรณ" กล่าว
นอกจากนี้ ก็ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่ต้น ต้องฝึกมือไม้ให้อ่อนเข้าไว้ เจอใครก็ทักทายปราศรัย พยายามรู้จักคนและเป็นที่รู้จักให้ทั่ว สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่หลายคนมองข้าม เพราะเมื่อตำแหน่งสูงขึ้น ต้องติดต่อกับคนมาก ถ้ามนุษยสัมพันธ์ไม่ดีตั้งแต่ต้น การก้าวขึ้นตำแหน่งสูงก็จะลำบาก
"ตำแหน่งยิ่งสูงขึ้น ก็ต้องยิ่งติดต่อกับ บุคลากรมากขึ้น ตอนที่ยังตำแหน่งเล็กๆ ก็จะรับผิดชอบแค่งานของตัวเอง แต่พออายุมากขึ้น ตำแหน่งงานสูงขึ้น ก็ต้อง ติดต่อกับคนมากขึ้น และก็ต้องกระตุ้น ให้คนอยากทำงานได้ดี ต้องสร้างแรงจูงใจ ประเมินผลงาน แม้กระทั่งบทลงโทษ"

อ้างอิง : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/howto/ht020520.html

หัวข้อ " 5 เคล็ดลับการทำงานสู่ความสำเร็จ "

คนทำงานทุกคนอยากทำงานให้ประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่
แต่ก็มีคนทำงานหลายคนที่ไม่สมหวัง และรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสำคัญในหน่วยงานนั้นๆ ทำให้ไม่มีกำลังใจในการทำงาน
และไม่มีการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ทั้งๆที่สาเหตุของความไม่ก้าวหน้านั้นอาจอยู่ที่ตัวเราเองก็ได้ เพราะฉะนั้นลองมาดูกันว่าเคล็ดลับการทำงานสู่ความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง
- เคล็ดลับแรกก็คือ ต้องมีมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง
- เคล็ดลับที่สองต้องปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก การวางตัว การมีมนุษยสัมพันธ์
และการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
- เคล็ดลับที่สาม ต้องมีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบงานใหม่ๆที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น
- เคล็ดลับที่สี่ต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาต่างๆในการทำงาน
- และเคล็ดลับที่ห้า ก็คือ ต้องรักงานและมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำอยู่
เพราะถ้าเรามีทัศนคติที่ไม่ดีกับงานที่ทำ เราจะไม่มีแรงกระตุ้น และไม่มีกำลังใจปรับปรุง หรือพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นได้เลย ขอให้ทุกท่านโชคดี มีชีวิตที่ดีขึ้นทุกวันครับ

อ้างอิง : Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com/IdeaBoard/Question.asp?GID=4

คนเก่งและดีเข้ากับใครๆได้ มีมนุษยสัมพันธ์ทำงานดี นับว่าลดปัญหาไปครึ่งหนึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิต

อ้างอิง : พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm

กุญแจที่ไขไปสู่ความสุขและความสำเร็จ (ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์)

1. มันเป็นความจริงที่ได้พิสูจน์แล้วว่า 66-90 เปอร์เซ็นต์ ของความล้มเหลวทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นวงการธุรกิจ เนื่องมาจากความล้มเหลวใน การสร้างมนุษยสัมพันธ์
2. ความล้มเหลวที่เกิดจากปัญหาด้านบุคลิกภาพ เช่น การเก็บตัว ความเหนียมอาย ความรู้สึกขัดเขิน และ ฯลฯ คือปัญหาขั้นพื้นฐาน ในการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ถ้าเราเรียนรู้ถึงเทคนิคในการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยความมั่นใจ และนำมันมาใช้อย่างเชี่ยวชาญแล้วเท่ากับเราได้พัฒนาตนเอง เพื่อที่จะนำไปสู่หนทางแห่งความสำเร็จและความสุขได้โดยอัตโนมัติ
4. ถ้าเราได้เรียนรู้หลักการอันสำคัญในการที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นแล้ว เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เหลี่ยมเล่ห์เพทุบายแต่อย่างใดเลย

วิธีใช้เคล็ดลับขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างอิทธิพลเหนือผู้อื่นให้เกิดขึ้น (การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์)

1. เราทุกคนต่างก็เป็นคนที่เห็นแก่ตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น
2. เราทุกคนต่างก็มีความสนใจในตนเองมากกว่าสิ่งอื่นใดในโลก
3. ทุกคนที่เราพบปะหรือรู้จักต่างก็ต้องการจะมีความรู้สึกว่าตนเอง เป็นบุคคลสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น และต้องการที่จะได้รับความนิยมชมชอบ
4. มนุษย์ทุกคนล้วนกระหายที่จะได้รับการยอมรับ
5. ความกระหายหิวในอัตตา เป็นความกระหายหิวที่รุนแรงที่สุด
6. ถ้าเราสามารถจะบำรุงเลี้ยงความนับถือตนเองของบุคคลอื่นได้ เขาก็จะให้ความเป็นมิตรกับเราโดยอัตโนมัติ
7. พระเยซูดำรัสว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเจ้าเอง” นักจิตวิทยาในปัจจุบันนี้บอกกับเราว่า
“นอกเสียจากคุณ จะต้องมีความรักในตนเองด้วยความสำนึกในความนับถือตนเอง และการระวังรักษาตนเองเท่านั้น คุณจึงจะมีความเป็นมิตรต่อผู้อื่น”
8. เราจะต้องจำไว้ว่าการที่คนเราขาดความนับถือในตนเองนั้น ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งและสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น
9. จงช่วยให้ผู้อื่นรู้จักรักตนเองให้มากขึ้น และเขาจะเป็นบุคคล ที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
10. การที่บุคคลกระทำหรือมิได้กระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปนั้น ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับอัตตาของเขาเอง

วิธีนำองค์ประกอบซึ่งถูกอำพรางไว้ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์

มีแนวคิดสำคัญดังนี้
1. อย่าตระหนี่ กับการที่จะบำรุงเลี้ยงความกระหายหิวที่จะเห็นตนเงอเป็นบุคคลาสำคัญของคนอื่น
2. อย่าได้ประเมินคุณค่าของ “มรรยาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ” ต่ำจนเกินไป เช่นการนัดหมาย ก็ควรจะกระทำให้ตรงต่อเวลาเพราะ สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้เอง คือเครื่องรับรองว่า เรามองเห็นความสำคัญในตัวบุคคลอื่น ออกจะเป็นที่น่าเสียดาย ที่เรามักจะแสดงความสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลอื่น มากกว่าบุคคลที่อยู่ในบ้าน เพราะฉะนั้น จงพยายามแสดงความอ่อนโยนสุภาพต่อบุคคลในครอบครัว และเพื่อน ผู้ใกล้ชิดสนิทสนมเช่นเดียวกับที่เราปฏิบัติต่อคนแปลกหน้าด้วย
3. จงเตือนตัวเองไว้เสมอว่า คนอื่น ต่างก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น
4. จงเริ่มให้ความเอาใจใส่ ในตัวผู้อื่น เสียตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่า เขาจะเป็นคนที่โตแล้ว หรือว่ายังเป็นเด็กอยู่ และจงทำให้เขารู้สึกว่า ตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญด้วย
5. จงอย่าทำตัวเหนือผู้อื่น หรือพยายามที่จะสร้างความสำคัญให้เกิดขึ้นกับตนเอง ด้วยการทำให้คนอื่น มีความรู้สึกว่าตนเองต้อยต่ำกว่า

วิธีควบคุมพฤติกรรมและเจตนารมณ์ของผู้อื่น มีแนวคิดที่สำคัญดังนี้

1. ไม่ว่าเราจะตระหนักในความเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม เราคือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรม และเจตนารมณ์ของผู้อื่นด้วยพฤติกรรม และเจตนารมณ์ของตัวเราเอง
2. เจตนารมณ์ของเราเองนั้น จะสะท้อนกลับมายังเราจากบุคคลอื่น เช่นเดียวกับการที่เรายืนอยู่เบื้องหน้ากระจกเงา
3. การที่เรามีพฤติกรรม หรือความรู้สึก ไปในทางมุ่งร้าย บุคคลอื่น จะสะท้อนความรู้สึกเช่นเดี่ยวกันนั้นกลับมายังเราเราตวาดใส่เขา เขาก็จะตวาดกลับมาเกือบจะในทันทีถ้าเราแสดงออกด้วยความใจเย็น ไม่แสดงความรู้สึกใด ๆ ออกมาทั้งสิ้น เราสามารถจะสกัดกั้นความโกรธไว้ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นได้
4. ถ้าพฤติกรรมของเราแสดงออกถึงความกระตือรือร้นเราก็จะกระตุ้นความรู้สึกกระตือรือร้น ให้บังเกิดขึ้นในตัวผู้อื่นได้ด้วย
5. ถ้าพฤติกรรมของเราแสดงออกถึงความมั่นใจ บุคคลอื่นก็จะมีความมั่นใจในตัวเรา
6. จงตั้งเจตนารมณ์ที่จะสร้างสรรค์ความกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นเสียตั้งแต่วันนี้ จงศึกษาตัวอย่างจาก แฟรค์ เบทเจอร์ และจงแสดงออกด้วยความกระตือรือร้นอย่างแท้จริง ไม่นานเราก็จะมีธรรมชาติ แห่งความกระตือรือร้นเกิดขึ้นในตัว
7. นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป จงมีความตั้งใจ ที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเอง ให้มีความมั่นใจเพิ่มขึ้นจงอย่ากล่าววาจาในลักษณะที่เรามีความหวาดหวั่น กับการที่จะพูดออกมาการที่เรามีท่าทีเซื่องซึมนั้น คล้ายกับว่า เรากำลังแบกภาระอันหนักหนาของชีวิตไว้ และหนักจนเกินกว่าเราจะทนรับไว้ได้ การที่เราเดินคอตกมันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรายอมแพ้แก่ชีวิต จงเชิดหน้าขึ้นสร้างความสง่างามให้บังเกิดขึ้นในบุคลิกภาพก้าวออกไปข้างหน้า ด้วยความมั่นใจให้เหมือนกับว่า บัดนี้ เรามีจุดหมายปลายทาง ที่จะต้องไปให้ถึงแล้ว

วิธีสร้างความประทับใจที่ดีให้บังเกิดกับบุคคลอื่น มีแนวคิดสำคัญดังนี้

1. ในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนั้น เราคือผู้ที่วางคีย์โน้ต สำหรับบทแห่งการสนทนา ที่จะเริ่มขึ้นและจบลง
2. ถ้าเราเริ่มต้นด้วยโน้ต ที่แสดงออกถึงความเป็นงานเป็นการ การประชุม หรือการสนทนาดังกล่าว ก็จะดำเนินไปอย่างเป็นงานเป็นการ ถ้าเราเริ่มด้วยโน้ตของมิตรภาพ การสนทนาก็จะดำเนินไปอย่างมีมิตรภาพ ถ้าเราตั้งเวที ให้การสนทนาดำเนินไปในรูปของธุรกิจ มันก็จะเป็นไปในรูปของธุรกิจ แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เราเริ่มโน้ตด้วยการขออภัยนั่นหมายความว่า เราบังคับให้คนอื่นเล่นบทของการเป็นผู้นำ
3. เมื่อเราได้พบใครสักคนหนึ่ง เป็นครั้งแรก ความประทับใจที่เราสร้างขึ้น เปรียบเสมือนคีย์โน้ต อันจะเป็นเครื่องพิจารณาว่า เขาจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อเรา จนชั่วชีวิต
4. คนอื่นนั้น มีความตั้งใจที่จะยอมรับเรา เช่นที่เราได้ประเมินค่าของตัวเองไว้ ถ้าเราคิดว่า ตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอะไร เท่ากับเราได้ขอร้องให้เขาเหยียบย่ำเรา
5. วิธีการที่ดีที่สุด และมีความหมายที่ดีที่สุดในการที่จะสร้างความประทับใจ ให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้พบเห็น ก็คือ จงอย่าได้พยายามสร้างความประทับใจ ให้เกิดขึ้นอย่างมากมายจนเกินไปนัก แต่เราควรจะแสดงให้เขาเห็นว่า เขาต่างหาก ที่เป็นฝ่ายสร้างความประทับในให้เกิดขึ้นกับเรา
6. การที่คนอื่นจะตัดสินเรานั้น ไม่เพียงแต่เพราะความคิดเห็นที่เรามีต่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความคิดเห็นที่เรามีต่อสิ่งต่าง ๆ ด้วย เช่น หน้าที่การงาน บริษัทที่เราทำงานอยู่ แม้แต่กับคู่แข่งขันของเราด้วย
7. ความคิดเห็นในทางลบ ย่อมจะสร้างบรรยากาศในทางลบให้เกิดขึ้น ดังนั้น จงอย่าเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และอย่าเป็นคนหัวแข็ง หรือหัวรุนแรง
8. วิธีการที่เราตั้งคำถามขึ้น เท่ากับเป็นการตั้งคีย์โน้ตที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบ จงอย่าตั้งคำถามที่จะได้รับ “คำตอบปฏิเสธ” กลับมา ถ้าเราต้องการ “คำตอบรับ” เราก็ต้องตั้งคำถามที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบรับ จงอย่าตั้งคำถาม หรืออกคำสั่งที่จะทำให้เราต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก ก็ทำไมเราจะต้องสร้างปัญหาความยุ่งยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองด้วยเล่า?

วิธีใช้เคล็ดลับ 3 ประการ ดึงดูดใจคน

มีสาระสำคัญดังนี้
1. เคล็ดลับอันแท้จริงสำหรับการสร้างเสน่ห์ ก็คือ เราจะต้องให้อาหารที่คนอื่นต้องการ และคนเหล่านั้นต้องการอาหารที่จะนำมาบำรุงเลี้ยงจิตใจของตน เช่นเดียวกับที่ผึ้งปรารถนาในรสของน้ำหวาน
2. จงสร้างเสน่ห์ของเราด้วยการใช้บันได 3 ขั้น ต่อไปนี้ การยอมรับ จงยอมรับผู้อื่นในสภาพที่เขาเป็นอยู่ จงยอมให้เขาได้แสดงออกในความเป็นตัวของตัวเอง อย่าบีบบังคับให้ผู้ใดก็ตาม ต้องกระทำตนอย่างสมบูรณ์แบบ ก่อนที่เราจะทำใจให้ชอบเขาได้
อย่าได้สร้างมาตรฐานของมนุษย์ และหวังว่าเขาจะทำเช่นนั้นได้ เพียงเพราะว่าเราจะได้ยอมรับในตัวเขา เหนือสิ่งอื่นใด จงอย่าได้สร้างข้อต่อรองเพื่อการยอมรับของเรา อย่าใช้คำพูดทำนองว่า “เอาละ ผมจะยอมรับคุณ ถ้าคุณจะทำอย่างนั้นหรืออย่างนี้ หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตของคุณเสีย เพื่อว่าผมจะได้ยอมรับในตัวคุณ” ความเห็นชอบ จงพยายามมองหาคุณความดีในตัวของผู้อื่น มันอาจจะเป็นเพียงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทว่ามันอาจจะมีความสำคัญอย่างยิ่งก็ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เล็กน้อยหรือสิ่งที่ใหญ่โต เราจะต้องทำให้เขารู้ว่าเรามีความเห็นชอบในสิ่งนั้น และแล้วสิ่งที่เราสามารถจะเห็นชอบได้ด้วยความจริงใจอย่างเต็มที่ก็จะติดตามมาเอง
เมื่อเขาได้รับรู้ในความเห็นชอบที่เรามีต่อเขาด้วยความจริงใจ เขาก็จะเริ่มปรับปรุงแก้ไขนิสัยใจคอของตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองได้รับความเห็นชอบมากขึ้น การยกย่อง การยกย่องมีความหมายถึง “การเพิ่มในคุณค่า” ของคน ซึ่งตรงข้ามกับการ “ลดค่า” หรือการ “ดูถูก” จงแสดงให้ผู้อื่นได้เห็นว่า เราต้องการจะเพิ่มคุณค่าในตัวของเขา จงปฏิบัติต่อผู้อื่น เช่นบุคคลที่มีคุณค่าสำหรับเราเสมอ อย่าให้เขาต้องรอคอบ ต้องรู้จักที่จะขอบคุณเขา ปฏิบัติต่อเขาอย่างบุคคลที่มีความเป็น “พิเศษ” เช่นที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกันได้

วิธีทำให้ผู้อื่นมีความรู้สึกเป็นมิตรกับเราตลอดไป (เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์)
1. การสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น จะพบกับทางตัน เมื่อแต่ละฝ่ายต่างก็รอเวลา ที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เริ่มต้นก่อน
2. จงอย่ารอสัญญาณของอีกฝ่ายหนึ่ง เราจะต้องตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่า เขาจะให้ความเป็นเพื่อนกับเราได้ และทำไปตามนั้น
3. จงตั้งเจตนารมณ์ที่เราหวังจะให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม จงปฏิบัติเช่นที่เราหวังว่าเขาจะชอบเรา
4. จงตั้งความหวังว่า ผู้อื่นจะมอบความเป็นมิตรให้กับเรา มันเหมือนกับเกมการพนัน ที่เราจะต้องเสี่ยง แต่ใน 100 ครั้งนั้น เราจะเป็นฝ่ายที่ได้ชัยชนะถึง 99 ครั้ง แต่ถ้าเรามิได้ตั้งความหวังไว้ก่อนว่า เขาจะให้ความเป็นเพื่อนกับเราแล้ว เราจะต้องประสบกับความล้มเหลวทั้ง 100 ครั้ง
5. จงอย่าแสดงความต้องการในมิตรภาพที่ “มากจนเกินไป” อย่าแสดงความกระวนกระวาย อย่าพยายามยัดเยียดความเป็นเพื่อนของเราให้กับผู้อื่นจนออกนอกหน้า จงจำไว้ว่าเหตุการณ์บางอย่างจะต้องเกิดขึ้นถ้าเราพยายามจะใส่เสน่ห์ หรือใช้ความพยายามที่มากจนเกินต้องการ
6. จงทำใจให้สบายและด้วยการตั้งความหวังว่าคนอื่นก็จะต้องชอบเราด้วย
7. จงใช้เสน่ห์ในรอยยิ้มเพื่อสร้างความสบายใจให้เกิดขึ้นกับผู้อื่น
8. นับแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้รู้จักกับการที่จะยิ้มออกมาด้วยความจริงใจ เบื้องหน้ากระจกเงาในห้องน้ำ เราจะรู้ได้เองว่า รอยยิ้มที่เปล่งแสงแห่งความจริงใจออกมานั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าเราจะได้เห็นสักครั้งกระจกเงาจะเป็นเครื่องบอกเราเองว่า รอยยิ้มที่เราเผยออกมานั้นเป็นรอยยิ้มที่จริงใจหรือยิ้มอย่างเสียไม่ได้ จงฝืนตัวเองให้รู้จักยิ้มจนเป็นนิสัยและเราจะรักการยิ้มมากขึ้น

การพัฒนาความสามารถในการใช้คำพูด

มีสาระสำคัญดังนี้
1. ทั้งความสุขและความสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความสามารถของตัวเราเอง ที่จะแสดงมันออกมานับแต่วันนี้เป็นต้นไป จงเริ่มต้นศึกษาวิธีการ ที่จะพัฒนาวิธีการใช้คำพูดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และจงศึกษามันอย่างต่อเนื่อง
2. จงฝึกหัดวิธีการปราศรัยกับคนแปลกหน้าด้วยการใช้เทคนิคในการ “อุ่นเครื่อง” โดยการเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามนำง่าย ๆ เช่น การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ เป็นต้น
3. การที่เราจะเป็นคู่สนทนาที่ดีได้นั้น จงเลิกที่จะทำตัวให้สมบูรณ์แบบ และอย่าหวาดกลัวต่อการที่จะต้องพูดซ้ำซาก
4. จงตั้งคำถามเพื่อที่จะดึงสิ่งที่น่าสนใจออกมาจากผู้อื่น
5. จงพยายามกระตุ้นให้ผู้อื่น เล่าเกี่ยวกับเรื่องของตัวเขาเอง และจงพูดแต่เฉพาะในเรื่องที่คนอื่นจะรับฟังได้ด้วยความสนใจ
6. จงรู้จักใช้เทคนิคแห่งการ “คล้อยตาม” เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับผู้พูด
7. เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่องของตัวเองได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเชื้อเชิญให้พูด
ถ้าเขาต้องการจะรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเราเขาจะเป็นผู้ถามเราเอง
8. สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องจดจำไว้ ก็คือ ไม่มีใครชอบจะฟังเรื่องที่พาใจให้หมองเศร้า ไม่มีใครชอบฟังการเทศนา สั่งสอนเพราะฉะนั้น ถ้าเรามีปัญหาความยุ่งยากก็จงเก็บไว้กับตัวเอง
9. จงพยายามหลีกเลี่ยงการพูดจาในเชิงหยอกล้อ หรือยั่วเย้าหรือกระทบกระเทียบ เปรียบเปรย ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และทางที่ดีจงอย่าให้มันเกิดขึ้นเสียเลยจะดีกว่า

บันได 7 ขั้น เพื่อการพัฒนาการรับฟัง

ศิลปแห่งการรับฟังนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จงอย่าเพียงแต่อ่านมันให้ผ่านไป โดยที่เรามิได้ทดลองปฏิบัติดูในบางครั้ง เราอาจจะเคยอ่านข้อความอะไรบางอย่าง ที่ฟังเข้าท่าดี และเชื่อด้วยว่า มันจะต้องเป็นความจริงตามนั้น แล้วก็ผ่านเลยไปโดยไม่ได้สนใจจะทดลองปฏิบัติ แต่ถ้าเรามิได้ทดลองดูด้วยตัวเองแล้ว ภายในระยะเวลาอันสั้น เราจะต้องลืมเรื่องที่อ่านนั้น ไปอย่างแน่นอน วิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราจดจำมันไว้ได้ ก็คือ เขียนหัวข้อต่าง ๆ ที่จะต้องทำลง และปฏิบัติไปตามนั้น
ดังนั้น จึงใคร่จะขอแนะนำให้ได้ “ตอกย้ำ” ความรู้อันเป็นประโยชน์ ที่เราได้รับมาจากบทนี้ลงไว้ อย่าปล่อยให้มันผ่านเลยไปง่าย ๆ ขอให้เริ่มลงมือปฏิบัติ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ในทันทีจงมองหน้าบุคคลที่คุณกำลังพูดหรือสนทนาอยู่ด้วย
ใครก็ตาม ที่คำพูดของเขา มีคุณค่าแก่การรับฟัง ย่อมมีคุณค่าสำหรับเราที่จะมอง เพราะมันจะช่วยให้เรา สามารถตั้งสมาธิอยู่สิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ได้จงแสดงออกถึงความสนใจอย่างลึกซึ้ง ในสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ ถ้าเราเห็นด้วยกับสิ่งที่เขากำลังพูด ก็จงผงกศีรษะรับ ถ้าเขาเล่าเรื่องน่าสน ใจ จงใช้วิธีการยิ้ม สนองรับในทุกขั้นตอน แห่งคำพูดของเขาเอนตัวเข้าไปหาบุคคลที่กำลังพูดอยู่เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า เราพร้อมที่จะเอนตัว เข้าไปหาบุคคลที่กำลังพูด ถึงเรื่องที่น่าสนใจให้เราฟัง ขณะเดียวกัน เราก็พร้อมที่จะถอยออกห่าง จากบุคคลที่พูดเรื่องไร้สาระตั้งคำถาม การตั้งคำถาม เท่ากับเป็นการบอกให้ผู้ที่กำลังสนทนาอยู่กับเรา ได้ทราบว่า เรายังคงฟังเขาอยู่อย่างขัดจังหวะ แต่จงใช้วิธีขอให้เขาเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้เราฟังมากขึ้น คนส่วนมาก จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ถ้าเราจะไม่ขัดจังหวะขึ้น ในขณะที่เขากำลังพูดอยู่ และปล่อยให้เขาพูดต่อไปจนจบแต่เขาจะมีความภาคภูมิใจยิ่งขึ้นกว่านั้น ถ้าเราตั้งคำถามขึ้นในทำนองว่า “ คุณจะช่วยเล่าตรงจุดที่ว่า…ให้ผมฟังอีกสักครั้งได้ไหมครับผมอยากจะทำความเข้าใจให้ดีขึ้น” หรือ “ผมอยากจะขอความรู้เพิ่มเติม อีกสักหน่อย ตรงที่คุณพูดว่า…”จงมุ่งอยู่ที่หัวข้อในการสนทนา จงอย่าเปลี่ยนหัวข้อในการสนทนา จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง จะพูดจบเสียก่อนไม่ว่าเราจะมีความกระวนกระวาย ที่อยากจะเปลี่ยนเรื่องพูดสักเท่าไรก็ตาม
จงใช้ประโยคคำพูดของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องย้ำยืนยันในความเข้าใจหลังจากที่อีกฝ่ายหนึ่ง พูดเรื่องของเขาจบลงแล้ว จงทวนถามเขาด้วยประโยคคำพูด ที่เขาได้กล่าวมาแล้ว วิธีการนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการพิสูจน์ให้เขาเห็นว่า เรารับฟังเรื่องที่เขาพูดเท่านั้น แต่เท่ากับเป็นการทำความเข้าใจกับตัวเราเองว่าเรามิได้มีความเข้าใจ ในเรื่องที่เขากำลังพูด ไปในทางตรงข้าม

การทำให้ผู้อื่นมองเห็นในสิ่งที่เราเห็น มีสารสำคัญ คือ

เมื่อเรามีความคิดเห็นขัดแย้งกับใครสักคนหนึ่ง เป้าหมายเรา ไม่ควรจะเป็นการเอาชนะในการโต้เถียง
แต่ควรจะหาวิธีที่จะให้อีกฝ่ายหนึ่ง เปลี่ยนแนวความคิดของเขา และมองเห็นในเหตุการณ์เช่นที่เราเห็น เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะไม่เอาความคิดของเราเข้าไปทำร้าย อัตตาของผู้อื่น ขณะเดียวกัน เราก็จะต้องหาวิธีที่จะใส่ แนวความคิดของเราเข้าไปในจิตใต้สำนึก หรืออัตตาของเขาให้ได้ และนอกจากนั้น เรายังควรที่จะคิดหาทางออกไว้ให้เขาด้วย
ต่อไปนี้ เป็นบันได 6 ขั้น ที่เราควรจะนำไปพิจารณา และใช้ให้เป็นประโยชน์
1. ให้เขาได้มีโอกาส ระบายความคิดเห็นของตนเองออกมา
2. ทิ้งช่วงเวลาสักนิด ก่อนที่เราจะตอบคำถามของเขาออกไป
3. อย่าตั้งความหวังว่า เราจะต้องเป็นฝ่ายชนะ 100 เปอร์เซ็นต์
4. จงเสนอแนวความคิดของเรา ให้อยู่ในทางสายกลางและตรงต่อความเป็นจริง
5. ใช้วิธีพูดผ่านบุคคลที่ 3
6. ช่วยรักษาหน้าให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง

วิธีได้รับความร่วมมือและเพิ่มพลังทางสมอง

1. ถ้าเราต้องการให้ผู้อื่นให้ความช่วยเหลือกกับเรา เราจะต้องขอความช่วยเหลือจากเขา ทั้งด้านความคิดและทางด้านแรงกาย
2. จงทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง มีความรู้สึกว่า ปัญหาของเราคือปัญหาของเขา
3. จงใช้หลักการ “รวบรวมความคิดเพื่อการบริหาร” โดยให้สมาชิกแต่ละคนในทีมของตน มีสิทธิในการที่จะแสดงความคิดเห็นว่า งานควรจะดำเนินไปในรูปแบบใด
4. เมื่อเราต้องการจะให้ใครสักคนหนึ่ง ทำอะไรเพื่อเราจงทำให้เขาได้เข้ามาเป็นสมาชิกในทีมของเรา อย่างเพียงแต่พูดว่า “ขอคำแนะนำที่ดีให้ผมหน่อยสิ”
5. จงจัดตั้ง “ธนาคารสมอง” ขึ้น และใช้แนวความคิดต่าง ๆ ที่รวบรวมมาได้นั้น ให้เป็นประโยชน์
6. เราจะต้องแน่ใจว่า เมื่อจะขอคำแนะนำจากใครนั้น ๆ เรามีความต้องการ ที่จะได้คำแนะนำนั้นจริง ๆอย่าขอคำแนะนำ เพียงเพราะเราต้องการความเห็นใจ หรือความสงสารเท่านั้น

วิธีใช้พลังปาฏิหาริย์ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

1. การที่เรายกย่องสรรเสริญผู้อื่น ด้วยความจริงใจ ย่อมสามารถสร้างพลังให้เกิดขึ้นกับเขาได้ เช่นเดียวกับการให้ชีวิตแก่จิตใจของเขา
2. บุคคลที่มีความรันทดท้อใจ ทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพ หรือไม่ก็ไม่สามารถจะทำตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้นั้น เนื่องมาจากเขาขาดความนับถือในตนเอง การยกย่องเขา เปรียบเสมือนยาวิเศษ ที่ช่วยบำรุงเลี้ยง ความนับถือตนเองของเขา ให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้และยังสามารถเปลี่ยนแปลง ลักษณะนิสัยของเขาและยังสามารถ ให้เป็นไปในทางที่ดีได้อีกด้วย
3. จงรู้จักการให้เครดิต แก่บุคคลอื่น ในสิ่งที่เขากระทำแสดงออกถึงความพอใจ ในการกระทำของเขา ด้วยการกล่าวคำว่า "ขอบคุณ"
4. จงพร้อมที่จะกล่าววาจา ที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา เราจะต้องจำไว้ว่า ความกตัญญูนั้น มิใช่สิ่งที่เกิดมีขึ้นได้เองตาม
ธรรมชาติและใช่ว่า มนุษย์ทุกคน จะมีอยู่อย่างเสมอเหมือนกัน
5. จงรู้จักเพิ่มความสุขให้กับตนเอง รวมทั้งความสงบในจิตใจ โดยพยายามที่จะแสดงออกถึงความชื่นชม และยกย่องสรรเสริญในผู้อื่น อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง

การวิจารณ์ผู้อื่น โดยไม่เกิดความขุ่นเคือจงจำไว้ว่า ในการวิจารณ์ หรือการตำหนินั้น ถ้าจะให้ได้รับผลสำเร็จ จะต้องตั้งอยู่บนบันทัดฐาน และเป้าหมายที่มีคุณค่า ทั้งตัวของเราเอง และอีกฝ่ายหนึ่ง จงอย่าตำหนิ หรือวิจารณ์ผู้ใด เพียงเพราะเราต้องการจะเสริมอัตตาของตนเอง และถ้าเราต้องการจะแนะนำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับเขา เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะเข้าไปแตะต้องในอัตตาของเขา ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ข้อควรจำ 7 ประการ ที่ควรจะได้ทดลองปฏิบัติ

1. การวิจารณ์ หรือการตำหนิ ควรจะต้องกระทำอย่างเป็นการส่วนตัว
2. คำวิจารณ์ หรือคำตำหนิ ที่สมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยคำพูดที่มีเมตตา
3. จงวิจารณ์ หรือตำหนิ แต่เฉพาะในเรื่องของการกระทำมิใช่เรื่องของตัวบุคคล
4. พร้อมที่จะตอบคำถาม
5. ขอร้องในเรื่องของความร่วมมือ อย่าใช้วิธีเรียกร้อง หรือบังคับ
6. การตำหนิโทษเพียงครั้งเดียว ถือว่าเป็นการพอเพียงแล้ว
7. จงทำให้เรื่องยุติลง บนพื้นฐานแห่งความเป็นมิตร

อ้างอิง:นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/

มนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นเริ่มจากการสร้างสัมพันธ์เมื่อแรกพบ โดยการยิ้ม "รอยยิ้ม" เป็นธรรมชาติ ภาษาร่างกายที่แทนความหมายที่ดีมากมาย
อ้างอิง: บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm

การบริหารงานบุคคล

- มีการพัฒนาครู และบุคลากรอื่นให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ
- ครูมีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ครูมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- มีความรู้ ความสามารถในการบริหารการจัดการ มีภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และวิสัยทัศน์
- มีการพัฒนาครู และบุคลากรอื่นให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ - ครูมีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ครูมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์
- มีความรู้ ความสามารถในการบริหารการจัดการ มีภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และวิสัยทัศน์

อ้างอิง:โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL: http://www.pwk.ac.th/data_school/hope2.html

มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

ดร. สวัสดิ์ บรรเทิงสุข
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ความหมายขององค์การ(Organizations):
กล่าวโดยทั่วไป องค์การคือกลุ่มของบุคคลที่มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างมีระบบมีหน้าที่ที่แน่นอน มีจุดหมายที่แน่นอน และตลอดจนมี การกระทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้ Hicks กล่าวว่า "องค์การคือโครงสร้างที่จัดทำขึ้นอย่างมีกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลร่วมกัน ปฏิบัติหรือ กระทำร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้" 1 แม้แนวความคิด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลย ีจะมีมากขึ้น เป็นลำดับ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการณ์ต่าง ๆ แต่ลักษณะของ "องค์การ" ก็ยังคงความหมายที่ชัดเจนมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่ Mooney และ Reiley 2 ให้คำจำกัดความของ องค์การไว้ว่า องค์การหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้มี การทำงาน จนนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายร่วมกันได้ องค์การจะประกอบไปด้วยหน้าที่ หรือภาระกิจที่สัมพันธ์และ สอดประสานกัน อย่างแนบแน่น จนมีความเกี่ยวพันธ์กันระหว่างหน้าที่กลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การนั้น ๆ ด้วย
เมื่อองค์การมีความหมายเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว จึงมีประเด็นที่สมควรพิจารณาให้ละเอียดไปอีกระดับหนึ่ง คือ
1) องค์การประกอบด้วยบุคคล (Persons)
2) บุคคลในองค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้องและปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกันอย่างมีระเบียบ หรืออย่างมีโครงสร้าง (Organizational Objectives)
3) บุคคลในองค์การต่างก็มีจุดมุ่งหมายทั้งที่เป็นระดับส่วนบุคคลและ ส่วนรวมอยู่ตลอดเวลา (Personal Objectives และ Organizational Objectives)

2. ธรรมชาติขององค์การ:

ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดขึ้นตามความหมายขององค์การ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ย่อมทำให้เกิดสภาวะการณ์ภายในองค์การที่คล้าย ๆ กันประการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การใดก็ตาม นั่นคือ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลภายในองค์การหาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นจนบรรลุวัตถุประสงค์ง่ายดาย แต่องค์การแทบทุกองค์การจะมีอุปสรรค ความไม่สะดวก ความไม่ราบรื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย จนแทบจะกลายเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งขององค์การไปเสียแล้ว แต่ ตราบใดที่อุปสรรคและความไม่ราบรื่นเกิดขึ้นเพียงระดับหนึ่งที่พอจะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปสู่ จุดหมายปลายทางได้เป็นส่วนใหญ่ได้แล้ว ก็สมควรที่จะกล่าวว่า องค์การนั้น ๆ ยังอยู่ในภาวะปกติวิสัย ในทางตรงกันข้าม หากองค์การใดองค์การหนึ่งเต็มไปด้วยความไม่ราบรื่นนานัปการ จนตกกระทบถึงจุดหมายปลายทางขององค์การเป็นต้นว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ในทางคุณภาพ และได้ผลน้อยกว่าที่คาดในทางปริมาณเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวว่า องค์การควรได้รับการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะองค์การเช่นนี้อยู่ในสภาวะปกติ ความนัยที่กล่าวถึง
สาเหตุที่จะทำให้องค์การใดองค์การหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ปกติได้อย่างไรหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับ บุคลากรในองค์การ กล่าวคือหากปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์การเป็นไปในรูปแบบหนึ่ง ก็จะเกิดสภาวะหรือผล (Out Put) แบบหนึ่งขึ้นในองค์การนั้น ซึ่งย่อมแตกต่างไป จากสภาวะการณ์ ของในอีกองค์การหนึ่ง ที่ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลกรเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเปลี่ยนแปรก็จะทำให้ผลงานหรือสภาวะการณ์ในองค์การนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุป ปฏิสัมพันธ์ต่อกันของบุคคลในองค์การใด ๆ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จขององค์การนั้น ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยทีเดียว
ดังนั้น ในขณะที่มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการวางแผน และการจัดองค์การให้มีสิทธิภาพ โดยเน้นการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องพิจารณาโดยประณีตนั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงประเด็นของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งเป็นสำคัญด้วย ทั้งนี้เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องของบุคคล เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์

3. ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations):

กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ
1) ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่ จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์
2) ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ
อย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้าง
Birtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า " เป็นเรื่องพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัต ิของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของ บุคคล ในการที่จะเข้าใจและได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขาและความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขาและผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น" 1
พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า "มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน" 1 สมควรกล่าวย้ำไว้อีกด้วยว่า ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) และมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) นั้นแตกต่างกัน แต่ต่างก็เป็นเรื่องของบุคคล โดยตรง
หากจะมีคำถามว่า ปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่นั้น อาจจะมิใช่ประเด็นหลักหรือคำถามที่สำคัญ แต่เพื่อให้เห็นและเข้าใจความแตกต่างกับป้องกันมิให้มีความเข้าใจว่า ทั้วสองสิ่งนี้คือสิ่งเดียวกัน จึงสมควรที่จะพิจารณาเฉพาะในที่นี้เพื่อสะดวกแก่การอธิบายบางประการโดยอาศัยข้อเปรียบเทียบเพียง 3 ประการ ดังแผนภูมิ

ปฏิสัมพันธ์( Interactions ) มนุษยสัมพันธ์( Human Relations )
1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลในวงงาน หรือในองค์การ 1.เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลโดยทั่วๆ ไปมิใช่เฉพาะองค์การ
2.เป็นการกระทำที่เน้นเอาบทบาท หรือ หน้าที่เป็นแนวทาง 2.เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแห่ง ความเป็น มนุษย์เป็นพื้นฐาน

3. มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และ ชัดเจนเมื่อบทบาทหน้าที่ เปลี่ยนแปลง 3.เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงนิสัย ใจคอและน้ำใจไมตรี

แผนภูมิ เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์และมนุษยสัมพันธ์

1) เงื่อนไขเฉพาะขององค์การ
2) เงื่อนไขทั่วไปขององค์การ
3) ลักษณะการจัดองค์การ (Organizings) การสั่งการ (Directings) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffings) และการควบคุมงาน (Controllings) เป็นต้น
4) ทฤษฎีและแนวความคิดทางการบริหาร (Management Thought) เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์และมนุษยสัมพันธ์ :
เมื่อพิจารณาจากความหมาย และความแตกต่างของปฏิสัมพันธ์และมนุษยสัมพันธ์ (Interactions and Human Relations) แล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ กล่าวโดยสรุป ทั้งปฏิสัมพันธ์และมนุษยสัมพันธ์ จะมีความใกล้ชิดเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเอื้ออำนวยต่อกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพิจารณาปรากฏการณ์ของปฏิสัมพันธ์ และมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องประสานและสอดคล้องกันดุจเหรียญ ซึ่งต้องมีทั้งสองด้าน จะขาดด้านใดด้านหนึ่งเสียมิได้ ฉันใดก็ฉันนั้น กล่าวคือ หากมนุษยสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การเป็นไปด้วยดี ก็จะเป็นสิ่งกระตุ้นและชักนำให้ปฏิสัมพันธ์ในองค์การนั้นดำเนินไปด้วยดี และถ้าหากปฏิสัมพันในองค์การเป็นไปอย่างราบรื่นก็จะเป็นผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์โดยทั่วไปของบุคคลในองค์การนั้น ๆ เป็นไปอย่างแนบแน่นองค์การบรรลุจุดมุ่งหมายได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง หากใช้แผนภูมที่ I เป็นสื่อนำความคิดในที่นี้ก็จะสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะและรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ ย่อมส่งผลต่อลักษณะและรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ขององค์การนั้น ๆ จนก่อให้เกิดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การได้ในที่สุด
5. การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ
นับตั้งแต่หน่วยงานเล็ก จนถึงหน่วยงานใหญ่ องค์การระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ ย่อมจะให้ความสำคัญต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การของตนอยู่เสมอ ปัญหามีอยู่ประการเดียวก็คือ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้นจะเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก จนไม่อาจกระทำได้
การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ควรเป็นเรื่องของทางวิชาการแทนการปล่อย ปะละเลยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่เนื่องจากผลเสียของการละเลยเรื่องมนุษยสัมพันธ์นี้ไม่ส่งผลชัดเจนขึ้นทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ เสื่อมโทรมและร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นไปอย่างเชื่องช้า เช่นเดียวกับโรคฟัน มักจะปล่อยทิ้งไว้จนถึงระดับหนึ่ง เท่านั้นจึงจะไปรับการรักษาเยียวยาจาก ทันตแพทย์
แท้ที่จริงแล้วการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งและสามารถกระทำหรือก่อให้เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้โดยการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น
1) การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา
2) การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น กระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมสัมพันธ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมนุษยสัมพันธ์ในองค์การใด ๆ จะเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไรหรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย เช่น
6. สรุป
1) บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นและชี้ให้เห็นความสำคัญของมนุษสัมพันธ์ในองค์การ โดยการยกประเด็น ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) ในองค์การมาเป็นเครื่องชี้นำ, เปรียบเทียบและแสดงความสัมพันธ์ ของปฏิสัมพันธ์กับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
2) กรณีการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การนั้น มิได้แสดงเป็นรายละเอียดไว้ เพราะเห็นว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเฉพาะเจาะจงลงไป จึงแสดงไว้เป็นหัวข้อเท่านั้น
3) ผู้เสนอบทความนี้ มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นอย่างมากในทุกองค์การ และประสิทธิภาพของมนุษยสัมพันธ์ จะมีมากเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ อีกด้วย เช่น เงื่อนไขขององค์การ รูปแบบและทฤษฎีหรือแนวความคิดในการบริหารองค์การ เป็นต้น

อ้างอิง: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Online]. Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm